วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:1945

     มกราคม
- กองทัพอเมริกายกพลขึ้นบกบนเกาะลูซอน ฟิลิปปินส์ ทัพอากาศสหรัฐอเมริกาโจมตีบนเกาะไต้หวัน .. กองทัพที่ 1 และกองทัพที่ 3 ของสหรัฐอเมริกาได้เชื่อมต่อกันหลังจากยุทธการแห่งรอยโป่งยุทการแห่งรอยโป่งจบลง กองทัพโซเวียตปิดล้อมกรุงบูดาเปสต์ ปลดปล่อยค่ายกักกันเอาชวิตช์และกรุงวอร์ซอว์ซึ่ง
ภาพหลังได้ก่อตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดโปแลนด์..รูสเวลต์ ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สามของสหรัฐแมริกา แฮรร์รี่เอส. ทรูแมนเป็นรองประธานาธิบดี..กองทัพโซเวียตรุกกรุงปรัสเซียตะวันออก ทัพเยอรมันต้องล่าถอยครั้งใหญ่ กองทัพโซเวียตปลดปล่อยลิธัวเนีย กองทัพโซเวียตข้ามแม่น้ำโอเดอร์เพื่อเข้าตีนาซีเยอรมัน ซึ่งห่างจากกรุงเบอร์ลินไม่เกิน 50 ไมล์
    
กุมภาพันธ์
- กองทัพสหรัฐเข้าสู่มะนิลา..กองทัพอเมริกันยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวจิมา..อเมริกาปลดปล่อยมะลิลาได้สำเร็จ
- การประชุมยอลต้า
- กองทัพเยอรมันล่าถอยจากเบลเยี่ยม..แนวต้านของเยอรมันแห่งสุดท้ายแตกจากแม่น้ำไรน์..โซเวียตปลดปล่อยบูดาเปสต์
      มีนาคม
- โซเวียตโจมตีเยอรมันในฮังการี..กองทัพเอเมริกันเดินเท้าข้ามสะพานเรมาเกนสู่แผ่นดินเยอรมัน..เยอรมันพ่ายในฮังการี…กองทัพสัมพันธมิตรชะลอการบุกของตน และให้กองทัพโซเวยตยึดกรุงเบอร์ลิน..โซเวียตเข้าประเทออสเตรีย และกองทัพพันธมิตรตะวันตกยึดเมืองแผรงก์เฟิร์ต โซเวียตตีได้เมืองดันชิก นายพลดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวน์ ออกอากาศและเรียร้องให้เปยรมันยอมแพ้
     เมษายน
- กองทัพโซเวียตเข้าโจมตีกรุงเวียนา..การรบที่ Konigsberg สิ้นสุดลงโดยโซเวียตเป็นฝ่ายชนะ..โซเวียตได้ชัยที่เวียนนา..ทัพโซเวียตกับทัพอเมริกาบรรจบกันที่แม่น้ำ เอลเบ
-เรือประจัญบายยามาโตะจม..ฝูงบินกามิกาเซ ของญี่ปุ่นบุกดจมตีกองเรือของสหรัฐที่โอะกินะวะอย่างต่อเนื่อง..โตเกียวถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก
- ประธานาธิบดีแฟลงกิน ดี. โรสต์เวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรม แฮร์รี่ เอส.ทรูแมนขึ้นเป้ฯประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
-มุสโสลินีถูกจับกุมตัว โดยกองกำลังปาร์ติชานของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีในขณะพยายามหลบหนีออกจากอิตาลี มุสโสลินีถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยข้อหาทรยศต่อชาติโดยคำตัดสินลับหลังของคณะลูกขุนแห่งคณะกรรมการปลดแอกแห่งชาติ ร่างของมุสโสลินี และอนุภรรยาและผู้นิยมฟาสซิสต์ประมาณ 15 คนถูกแขวนประจานที่เมืองมิลาโน
- ฮิตเลอร์แต่งงานกับอีวาบราวน์ ฮิตเลอร์กับภรรยาฆ่าตัวตาย โดยใช้ทั้งยาพิษและปืน โจเซฟ เกบเบิลส์ได้ขึ้นเป็นมุขมนตรีแห่งไรซ์และพลเรือเอก คาร์ล เดอนิตช์ รับแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งไรซ์

 พฤษภาคม
- การรบในอิตาลีสิ้นสุด
-ย่างกุ้งเป็นอิสระ
-ทหารเยอรมันในเนเธอร์แลนด์ยอมจำนนอย่างเป็นทางการ..เดนมาร์คได้รับการปลดปล่อยโดยทัพสัมพันธมิตร..นาซีเยอรมันยอมจำนนอย่างไม่เป็นทางการโดยประธานาธิบดีคาร์ล เอนิต
ช์ การหยุดยิงเริ่มเมือง 0.01 น. และเป็นวันแห่งชับชนะในยุโรป และนาซีเยอรมันยอมจำนนอย่างเป็นทางการ  กองบัญชาการกองทัพกลุ่มกลางของเยอรมันในเชโกสโลวาเกียยอมจำนนสงครามโลครั้งที่สองในทวีปยุโรปยุติลง
- เมืองนะโงะยะ ในญี่ปุ่น ถูกโจมตีอย่างหนัก..การทิ้งระเบิดอย่างหนักที่เมือโยโกฮามา ซึ่งเป็นเมืองท่าและฐานทัพเรือที่สำคัญของญี่ปุ่น
     มิถุนายน
- กองทัพเรืออเมริกันถูกไต้ฝุ่นในแปซิฟิกไดรับความเสียหาย
- สัมพันธมิตรบรรลุข้อตกลงในการแบ่งเยอรมันออกเป็นสี่ส่วน
- เมืองโอชะกะ ในญี่ปุ่น ถูกโจมตีอย่างหนัก..ทัพญี่ปุ่นถอนกำลังออกจากประเทศจีน มีการลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติที่ซานฟานซิสโก

กรกฎาคม
- พลเอก ดังลาส แมคอาเธอร์ ประกาศว่าฟิลิปปินส์ได้เป็นอิสระแล้ว..
- นอร์เวย์..อิตาลีประกาศสงครามกับญี่ปุ่น
-สหรัฐอเมริกาทำการทดสอบนิวเคลี่ยร์ที่นิวเม็กซิโก
-การประชุมที่พอตสดัมผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรตกลงร่วมกันในเจตจำนงให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข ประธานาธิบดีทรูแมนบอกเป็นัยให้ทุกฝ่ายทราบว่าสหรัฐอเมริกามีอาวุนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง
- เรือประจัญบานฮารุนะ ของญี่ปุ่นถูกจมโดยทัพอากาศสหรัฐฯ เรืออินเดียนาโปลิส ถูกจม โดยเรือดำน้ำญี่ปุ่น กองทัพอากาศสหรัฐโจมตีเมืองโคเบอะและนะโงะยะ
     สิงหาคม
- “ Little Boy” ถูกทิ้งที่ฮิโรชิมา
-สหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับฐ๊ป่นและการโจมรีแมนจูเรียเริ่มต้นขึ้น
- “Fat Man”ถูกทิ้งที่เมืองนะงะซะกิ สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตทรงประกาศทางวิทยุถงการยอมจำนนของประเทศญี่ปุ่น กองทัพญี่ปุ่นในแมนจูเรีย ยอมจำนนต่อสหภาพโซเวียต.. นายพลแม็คอาเธอร์เข้าควบคุมการบังคับบัญชากองทัพญี่ป่นในกรุงโตเกียว
     กัยยายน
-  ผู้บัญชาการของกองทัพจักรวรรดิญี่ป่นทั่วไปยอมจำนนต่อกองกำลังฟิลิปินส์และอเมิรกันในภาคเหนือของฟิลิปปินส์..ญี่ปุนลงนามในสัญญายอมจำนน บนดาดฟ้าเรือรบมิสซูรี อ่าวโตเกียว  สิงคโปร์ ได้เป็นอิสระอย่างเป็นทางการโดยการปลดปล่อยขจองกองกำลังอังกฤษ

WWII:20 July plot

     เป็นชื่อเรียกแผนการลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ภายในกาองบัญชาการสนาม “รังหมาป่า”ใกล้เกบเมืองรัสเทนบูร์กแคว้นปรัสเซียตะวันออก เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม ค.ศ. 1944 เป็นความพยายามของขบวนการกู้ชาติเยอรมันเพื่อที่จะทำลายรัฐบาลนาซีความล้มเหลวทั้งในการบอลสังหารฮิตเลอร์และรัฐประหารนำไปสู่การจับกุมประชาชนกว่า 7,000 คนโดยเกสตาโปและจากการบนทึกของการประชุมกิจการกองทัพรเอฟือเรอร์ระบุว่ามีการประหารชีวิตประชาชนกว่า ห้าพันคน และทำให้ขบวนการกู้ชาตที่จัดตั้งในเยอรมันล่มสลายลง
     กลุ่มสมคบคิดได้วางแผนล้มล้างรัฐบาลนาซีได้ปรากฎขึ้นในกองทัพบกเยอรมัน ตั้งแต่ปี 1938 มาแล้ว  และในองค์การข่าวกรองทหารเยอรมัน (อับเวร์)คณะผุ้นำแผนสมคบคิดในช่วงแรกรวมไปถึงพลโท ฮันส์ โอสเตอร์ พลเอกลุควิค เบค และจอมพลเอาวิน ฟอน วิทเซลเบน โอสเตอร์เป็นหัวหน้าของสำนักงานข่าวกรองทางทหาร เบคเคยเป็นหัวหน้ากองเสนาธิการแห่งกองบัญชาการกองทัพเยอรมัน ฟอน วิทเซลเบนเป็นอดีตผู้บัญชาการกองทัพที่ 1 แห่งเยอรมันและอดีตผู้บัญชากากรสูงสุดของกองบัญชาการกองทัพเยอรมันด้านตะวันตก จากนั้น พวกเขาได้ติดต่อกับพลเรือนที่โดดเด่นหลายคน รวมไปถึงคาร์ล โกอแรเดแลร์ อดีตนายกเทศมนตรีไลป์ซิก และเฮลมุท เจมส์ กรัฟ ฟอน มอสท์เคอผุ้เป็นลูกชายของหลานวีรบุรุษสงครามฝรั่งเศษ-ปรัสเซีย
     แผนการที่จะล้มล้างและป้องกันสงครามครั้งใหม่ที่ฮิตเลอร์จะเป็นริเริ่มขึ้นเป็นอันต้องล้มเลิกไป เนืองจากความลังเลใจของพลเอกฟรานซ์ ฮัลเดอร์ และพลเอกวัทเทอร์ ฟอน เบราคิทซ และความล้มเหลวของขาติตะวันตกในการรับมือกับท่าที่แข็งกร้าวของฮิตเลอร์กระทั่งปี  1939 กลุ่มทหารผู้สมคบคิดเลื่อนกำหนดการของแผนลอบสังหารออกไปหลังจากความนิยมในตัวฮิตเลอร์เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากากรได้รับชัยชนะในยุทธการที่ฝรั่งเศส…

  ช่วงปลายปี 1943 กระแสสงครามได้ย้อนกลับมายังเยอรมันผุ้ก่อการในกองทัพและพันธมิตรที่เป็นพลเรือนเชื่อว่าฮิตเลอร์จะต้องถูกลอบสังหารเพื่อที่จะได้มีการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกยอมรับ และมีการเจรจาสันติภาพให้ทันเวลาเพื่อป้องกันการรุกรานเยอรมันของโซเวียต
     กลุ่มเสนาธิการหนุ่ม ได้แบ่งปันความเชื่อมี่นอย่างกว้างขวางในบรรดานายทหารกองทัพบก ว่าเยอรมันกำลังถูกนำสู่หายนะและฮิตเลอร์จะถูกปลดเป็นบางครั่งที่ศีลธรรมทางศาสนาของเขายับยั้งมิให้ชื่อว่าการลอบสังหารเป็นวิถีทางที่ถูกต้องในการจุดวัตถุประสงค์นั้นอย่งไรก็ตาม หลังยุทธการสตาลินกราด จึงได้ข้อสรุปว่าการไม่ลอบสังหารฮิตเลอร์จะเป็นความชัวร้ายทางศีลธรรมยิ่งกว่า..ความเด็ดขาดแบบใหม่ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในบรรดาขวยนการกู้ชาติเมืองเทรสคคอว์ได้รับมอบหมายหน้าในแนวรบด้านตะวันออกสเตาฟ์เฟนแบร์กก็รับผิดชอบในการวางแผนและดำเนินการบอลสังหารฮิตเลอร์
     พลเอกออลบริตซ์เสนอยุทธศาสตร์ใกม่ในการก่อรัฐประหารต่อฮิตเลอร์ กองทัพหนุน มีแผนปฏิบัติการที่เรียกว่า ปฏิบัติการวัลคือเรอ ซึ่งตาหลักจะใช้ในเหตุกาณ์ที่เกิดความระสำระสายในบ้านเมืองอันเกิดจากการทิ้งระเบิดในหัวเมืองต่างๆ หรือการก่อจลาจลของแรงงานทาส..พลเอกออลบริตซ์เสนอว่าแผนการดังกล่าวต้องการความช่วยเลหือจาทัพหนุนในจุดประสงค์เพื่อก่อรัฐประหารได้
     ระหว่างปี 1943-1944 ได้มีความพยายามของพันเอกเทรสคคอว์ และพันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์กที่จะให้หนึ่งในผุ้สมคบคิดเข้าใกล้ฮิตเลอร์ และสังหารเข้าด้วยระเบิดมือ หรือปืนพกลูกโม่ทั้งหมดสี่ครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ การลอบสังหารฮิตเลอร์เร่อมยากขึ้นตามลำดับเมื่อสถานการณ์สงครามเริ่มเลวร้ายลง ฮิตเลอร์เร่มที่จะไม่ปรากฎตัวต่อสาธารณะแลเดินทางมายังกรุงเบอร์ลินไม่กี่ครั้ง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ “รังหมาป่า” ใกล้กับรัสเทนบูร์กในปรัสเซยตะวันออกโดยมีการเดินทางไปพักผ่อนเป็นบางครั้งที่สถานที่ส่วนตัวในแถบภูเขาของรัฐบาวาเรีย โอแบร์ซัลซแบร์กใกล้กับแบร์ซเทสกาเดน สถานทีทั้งสองนี้มีการคุ้มกันอย่างแน่นหนาและแทบจะไม่พบคนที่ฮิตเลอร์ไม่รู้จักหรือไว้ใจ ฮิมม์เมอร์และหน่วยเกสตาโปเริ่มสงสยต่อการมีอยู่ของแผนการลอบสังหารฮิตเลอร์และสงสัยโดยเฉพาะนายทหารแห่งกองเสนาธิการ ซึ่งเป็นเหล่งกบดานของผุ้ลอบสังหารฮิตเลอร์จำนวนมาก
      เมื่อย่างเข้าฤดูร้อนของปี 1944 หน่วนเกสตาโปเริ่มสืบใกล้ถึงตัวของผู้สมคบคิดมีความรู้สึกว่าเวลากำลังจะหมดลง ทั้งในสนามรบ ซึ่งในแนวรบด้านตะวันออกทหารเยอรมันเร่มถอยทัพเต็มรูปแบบ และฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกในฝรั่งเศส ในวันที่ 6 มิถุนายนและในเยอรมัน ซึ่งพื้นที่ในการลงมือถูกจำกัดมากขึ้นทำให้เกิดความเชื่อที่ว่าการลงมือครั้งต่อไปจะเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับคณะสมคบคิด จนถึงขณะนี้แกนกลางของผู้สมคบคิดเร่มคิดถึงตัวเองว่าเป็นผู้มีเคราะห์ร้ายซึ่งการกระทำของพวกเขาเป็นไปในเชิงสัญลักาณ์มากกว่าความเป็นจริง จุดประสงค์ของการสมคบคิดเร่มถูกมองโดยผุ้ก่อการบางคนว่าเป็นไปเพื่อรักษาเกียรติยศของตัวเอง ครบครัวกองทัพแลพะยเมน แทนที่จะเป็นไปเพื่อเปลี่ยนแปลงบันทึกแห่งประวัติศาสตร์ผู้ก่อการเตีรยมก่อรัฐประหารใหญ่ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมเพมือพวกเขาสามารถชักชวนเออร์วิน รอมเมล ผู้มีชื่อสเยงเข้าร่วมคณะได้
     เมื่อสเตาฟ์เฟนแบร์กส่งข้อความถึงเทรสคอว์ผ่านร้อยโทไฮนริช กรัฟ ฟอน เลฮ์นดอรฟฟ์-สไตนอร์ดเพื่อถามไถ่ถึงเหตุผลในความพยายามลอบสังหารฮิตเลอร์โดยปราศจากเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเทรสคอว์ตอบว่า “การลอบสังหารจะต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าจะแลกด้วยอะไรก็ตาม และแม้ว่าจะล้มเหลวเราต้องลงมือในกรุงเบอร์ลิน สำหรับจุดประสงค์ในการลงมือนั้นไม่สำคัญอีกแล้วไม่ว่าอยางไรขบวนการกู้ชาติเยอรมันจะต้องก้าวต่อไป ต่อหน้าสายตาของโลกและประวัติศาสตร์เมือเปรียบเทียบกับสิ่งเหล่านั้นแล้ว อย่างอื่นก็ไม่มีความสำคัญอะไรเลย ฮิมม์เลอร์ได้มีการสนทนาอย่างน้อยหนึ่งครั้งกับฝ่ายต่อต้านที่เป็นที่รู้จั โดยในเดือนสิงหาคม ปี 1943 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ปรัศเวีย โจฮินเนส
โพพิตซื ผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครื่อข่ายของโกแอร์เดแลร์มาพบเขาและยื่นข้อเสนอให้ฮิมม์เลอร์เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ตอ่ต้านเพื่อลแกกับการสนับสนุนของกลุ่มต่อต้านหากเขาดำเนินการเพื่อถอดฮิตเลอร์และรับประกันการเจรจายุติสงคราม ไม่มีข้อมูลใด ๆ จากการนัดพบกันดับกล่าว แต่โพพิตซืไม่ถูกจับกุมและฮิมม์เลอร์ก็ไม่ได้กระทำการใด ๆ ในการสืบหาเครือข่ายต่อต้านซึ่งเขาทราบแล้วว่ากำลังปฏิบัติการอยู่ภายใต้ระบบราชการ จึงมีความเป็นไปได้ที่ว่า ฮิมม์เลอร์ ทราบดีว่าไม่อาจเอาชนะในสงครามนี้ได้ การปล่อยให้การลอบสังหารฮิตเลอร์เกิดขึ้นเพื่อว่าตนอาจจะได้รับการสืบทอดเป็นทายาทของฮิตเลอร์และจะสมารถตกลงสันติภาพได้
     เทรศคคอว์และผุ้ก่อการวงในไม่มีเจตนาจะถอดฮิตเลอร์เพียงเพื่อที่ว่าให้คนของหน่วย SS ที่น่าสะพรึงกลัวขึ้นมาแทน และแผนการคือจะต้องฆ่าทั้งสองคนหากเป็นไปได้ ความพยายามลอบสังหารครั้งแรกของสเตาฟฟ์เฟนแบร์กถูกยกเลิกเนื่องจากฮิมม์เลอร์ไม่ได้อยู่กับฮิตเลอร์..
      ก่อนวันที่ 20 กรกฎาคม..
     1 กรกฏา สเตาฟ์เฟนแบร์กได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าทเสนาธิการของพลเอกฟรอบ ตำแหน่งนี้เปิดโอกาสให้เขาสามารถเข้าร่วมการประชุมทางทหารไม่ว่าที่รังหมาป่าในปรัสเซียตะวันออกหรือแบร์ซเทสกาเดนและอาจเป็ฯโอกาสสุดท้ายที่เผยออกมา ในการสังหารฮิตเลอร์ด้วยระเบิดหรือปืนพก ขณะเดียวกันก็ได้รับพันธมิตรที่สำคัญใหม่เพิ่มขึ้นซึ่งรวมไปถึงพลเอกคาร์ล-ไฮนริช ฟอน สทีลพ์นาเกลผู้บัญชาการทหารเยอรมันในฝรั่งเศส ผู้ซึ่งจะเข้าควบคุมกรุงปารีสเมื่อฮิตเลอร์ถูกสังหารแล้วและเจรจาสญญาสงบศึกในทันที่กับกองทัพสัมพันธมิตรฝ่ายรุกรานตามที่หวังเอาไว้ ถึงตอนนี้แผนการได้เตรียมการไว้สมบูรณ์แล้ว

     วันที่ 7 กรกฎาคม พลเอกสไทฟฟ์เกือบจะสังหารฮิตเลอร์ที่การแสดงเครื่องแบบใหม่ที่ปราสาทแคลสส์ไฮษ์ ใกล้กับซัลซบูรก์แล้วอย่างไรก็ตาม สเตาฟ์เฟนแบร์กจึงตัดสินใจจะทำสองภารกิจไปพร้อมกันทั้งลอลสังหารฮิตเลอร์เมือเขามีโอกาส และจัดการแผนการในกรุงเบอร์ลินไปพร้อมกัน  ในวันที่ 11 กรกฎาคมสเตาฟ์เฟนแบร์กเข้าร่วมการประชุมทางทหารของฮิตเลอร์โดยพกระเบิดไว้ในกระเป๋าเอกสารของเขาแต่เนื่องจากผู้ก่อการได้ตัดสินใจแล้วว่า ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์และแฮร์มันน์แต่เนื่องจากผู้ก่อการได้ตัดสินใจแล้วว่า “ฮน๋ริช ฮิมม์เลอร์และแฮร์มันน์เกอริงควรจะถูกฆ่าไปพร้อมกันหากแผนการระดมพลตามปฏิบัติการวางคิรีจะมีโอกาสสำเร็จ เขาจึงถอยกลับในนาทีสุดท้ายเพราะฮิมม์เลอร์ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ซึ่งอันที่จริงแล้วซึ่งไมปกติวิสัยที่ฮิมม์เลอร์จะเข้าประชุมทางทหาร
     15 กรกฏาคม สเตาฟ์เฟนเบิร์กบินมายังรังหมาป่าอีกครั้งหนึ่ง แต่เงื่อนไขดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแผนการของสเตาฟ์เฟนเบิร์ก คือ วางกระเป๋สเอกสารบรรจุระเบิดที่มีตัวจับเวลาไว้ในห้องประชุมของฮิตเลอร์ก่อนจะถอนตัวออกจากการประชุม รอจนเกิดระเบิดขึ้นแล้วบินกลับไปยังกรุงเบอร์ลินและเข้าร่วมกับผู้ก่อการคนอื่นที่เบนด์เลอร์บล็อก ปฏิบัติการวาลคีเรอ จะเริ่มต้นขึ้นและกองทัพหนุนก็จะทำการควบคุมเยอรมันทั้งหมด และณะผู้นำนาซีทั้งหมดก็จะถูกจับกุมเบคก็จะได้รับการแต่ตั้งให้เป็นประมุขของรัฐ ขณะที่คาร์ล ฟรีดริช เกอดีเลอร์นักการเมืองอนุรักษนิยมและผู้ต่อต้านนาซี ก็จะหกลายเป็นนายกรัฐมนตรีและวิตเลเบนก็จะเป็นผุ้บัญชาการทหารสูงสุด แต่แผนการดังกลาวต้องถูกยกเลิกไปในนาที่สุดท้ายอีกครั้ง เพราะแม้ว่าฮิมม์เลอร์กับเกอริงจะเข้าประชุมด้วย แต่ฮิตเลอร์ออกจากการประชุมในช่วงสุดท้ายสเตาฟ์เฟนเบิร์กสามารถยับยั้งระเบิดและป้องกันการถูกตรวจพบได้

การลอลสังหาร  20 กรกฎาคม1944
     18 กรกฎามีข่าวลือว่าเกสตาโปทราบข่าวการสมคบคิดและอาจถูกจับกุมได้ตลอดเวลาเป็นที่ชัดเจนว่าข่าวลือดังกล่าวไม่เป็นความจริง แต่มีข่าวรู้สึกว่าตาข่ายกำลังใกล้เข้ามาและโอกาสสังหรฮิตเลอร์ครั้งต่อไปจะต้องลงมือเพราะอาจไม่มีโอกาสครั้งต่อไป สเตาฟ์เฟนเบิร์กบินมายังรังหมาป่าเพื่อเข้าร่วมประชุมทางทหารของฮิตเลอร์อีกครั้งพร้อมกับประเป๋าเอกสารซึ่งบรรจุระเบิดไว้เช่นเดิมโดยที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดไม่ถูกตรวจค้นตัวเลข กระเป๋าถูกนำไปวางไว้ที่โต๊ะประชุมของฮิตเลอร์และมีนายทหารอีกว่า 20 นาย หลังจากนั้นไม่กี่นาทีสเตาฟ์เฟนเบิร์กได้รับโทรศัพท์ที่เตรียมไว้สำหรับทางออก ระเบิดทำงานในช่วงเที่ยงของวันนั้น ซึ่งทำลายห้องประชุม นายทหารสามคนและนักเขียนชวเลขได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมาแต่ฮิตเลอร์รอดซีวิต เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ในห้องประชุมซึ่งได้รับการป้องกันแรงระเบิดโดยขาโต๊ะประชุมกางเกงของฮิตเลอร์ถูกไฟเผาและขาดรุ่งริ่ง และเขาเยื่อแก้วหุทะลุเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ที่รอดชีวิตในห้องนั้น
     ฮิตเลอร์ยังมีชิวิตอยู่! ความสับสนเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินที่พาสเตาฟ์เฟนแบร์กหลบหนีลงจอดและเขาโทรศัพย์มาจากสนามบินและว่าแต่จริงแล้วฮิตเลอร์เสียชีวิต! พลเอกฟรอมม์ ได้โทรศัพท์ไปสอบถามยังรังหมาป่าและได้รับการยืนยันว่าฮิตเลอร์ยังคงมีชีวิตอยู่ ขณะเดียวกัน ผู้บัญชาการแคว้นทหารเขตยึดครองฝรั่งเศสประกาศปลดอาวุธเอสดี และเอสเอส ฟอน คลุจ และถามเขาให้ติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตเพียงเพื่อจะได้รับแจ้งว่าฮิตเลอร์ยังมีชีวิตอยู่

      สเตาฟ์เฟนแบร์กและแฮแลร์บล็อก ฟรอมม์เปลี่ยนฝ่ายและพยายามจับกุมตัวสเตาฟ์เฟนแบร์กซึ่งคาดว่าเป็นการกระทำไปเพื่อปกป้องตนเองจากความผิดออลบริวและสเตาฟ์เฟนแบร์กจึงกักตัวเขาไว้และออลบริซได้แต่งตั้งให้พลเอกอีราช เฮิพแนร์ปฏิบัติหน้าทีแทนเขา
      ฮิมม์เลอร์เข้าควบคุมสถานการ์และออกคำสังยอเลิกปฏิบัติการวาลคิเรอ ของออลบริซในหลายพื้นที่ รัฐประหารยยังคงดำเนินต่อไป นำโดยนายทหารซึ่งเชื่อว่าฮิตเลอร์เสียชิวิตแล้วผู้บัฐชการนครและผู้ร่วมก่อการ พลเอกพอล ฟอน ฮาเซอ ออกคำสั่งให้กองพลกรอสส์คอยท์ชลันต์ภายใต้บังคับบัญชาของพันตรีออทโท แอร์นสก์ เรแมร์ ให้เข้าควบุมวิลเฮลมสทราสส์และจับกุมรัฐมนตรีระทรวงโฆษณการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ในเวียนนา ปราก และอีกหลายแห่งทหารได้เข้าควบคุมสำนักงานพรรคนาซีและจับกุมกอซไลแตร์และนายทหารเอสเอส
      ความสับสนเนื่องจากไม่ทราบว่าฮิตเลอร์ยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ นั้นในช่วงหัวคำเมื่อฮิตเลอรพอจะสามารถจะโทรศัพท์ได้เขาโทรศัพท์หาเกิบเบิส์ที่กระทรวงโฆษณการเกิบเบิลส์จัดการให้ฮิตเลอร์พูดโทรศัพท์กับพันตรีเรแมร์ผู้บัการกำลังซึ่งล้อมกระทรวงอยู่นั้นหลังจายืนยันแล้วว่าเขายังมีชีวิตอยู่ฮิตเลอร์จึงออกคำสั่งให้เรแมร์เข้าควบคุมสภานการณ์ในเบอร์ลินพันตรีเรแมร์ออกคำสั่งให้ทหารของเขาล้อมและปิดเปบนด์แลรบ เมื่อเรแมร์เข้าควบคุมสถานการณ์ในกรุงเบอร์ลินและมีการบอกต่อๆ กัน ว่าฮิตเลอร์ยังมีชีวิตอยู่สมาชิกร่วมขบวนการที่ไคอยเด็ดเดียวเท่าใดนักในเอบร์ลินก็เริ่มเปลี่ยนฝ่ายเกิดการต่อสู้ขึ้นในเบนด์แลร์บล็อกระหว่างนายทหารที่สรับสนุนและคัดค้านรัฐประหาร
     23.00 20 กรกฎา 1944 ฟรอมม์เข้าควบคุมสถานการณ์อีกครั้งโดยหวังว่าการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีอย่างกระตือรือร้นนี้จะช่วยตนได้ เบคผุ้ตระหนักว่าสถานการณ์สิ้นหวังยิงตัวตาย ฟรอมม์จัดศาลทหารเฉพาะกาลขึ้น มีการประหารชีวิตที่ลานด้านนอกซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพื่อป้องกันการถูกเปิดโปงว่าเขาเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนด้วยยังมีคนอื่นถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ท้ายที่สุดฟอร์มม์ถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตในเดือนมีนาคมปีถัดมา
     ด้วยความโกรธเกรี้ยวของฮิตเลอร์ เกสตาโปองฮิมม์เลอร์ทำการล้อมจับเกือบทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการดังกล่าว มีผู้ถูกจับกุมในแผนการครั้งนี้ 5,000-7,000 คนและราว 200 คนถูกประหารชีวิต ในการจับกุมนั้นเพียงตกเป็นต้องสงสัยแม้ไม่ใช้ผู้ที่ร่วมขบวนการก็ถูกจับกุมแล้วซึ่งเป็นการฉวยโอกาสของเกสตาโป    
     บางคนถูกจับกุมให้สรภาพโดยการทรมาน และหลายคนจบชีวิตตัวเองก่อนการตัดสินของตน เอลวิล รอมเมล ยอมตายอย่างสมเกียติร มากกว่าการยอมขึ้นศาล ซึ่งมักจะได้รับการตัดสินที่เอนเอียงไปทางอัยการ  เทรสคคอว์เองก็ทำอัตวินิบาตกรรมหนึ่งวันหลังจากรัฐประหารที่ล้มเหลวโยการใช้ระเบิดมือ กอ่นตาย เทรศคคอว์กล่าวแก่ฟาเบียน ฟอน ชลาเบรนดอร์ฟฟ์ว่า “โลกกำลังประฯมเราในตอนนี้ แต่ผมเชื่อว่าเราทำสิ่งที่ถูก ฮิตเลอร์เป็นศัตรูสำคัญไม่เฉพาะแต่กับเยอรมันเท่านั้นแต่กับโลกทั้งใบด้วย เมื่อไม่กี่ชัวฌมงก่อน ผมเข้าเผ้าพระเจ้าเพื่อทูลว่าอะไรที่ผมได้ทำและถูกทิ้งไว้ยังไม่ได้ทำผมทราบว่าผมจะสมารถ
พิสูจน์ได้ว่าอะไรที่ผมทำและถูกทิ้งไว้ยังไม่ได้ทำผมทราบว่าผมจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าอไรที่ผมทำให้การต่อสู้กับฮิตเลอร์พระเจ้าให้สัญญาแก่อับราฮัมว่าพระองค์จะไม่ทรงทำลายโซ่ตรวนหากสามารถพบผุ้ชอบธรรมได้สิบคนในนครและผมฟว่างวาพระจเจะไม่ทรงทำลายเยอรมัน ไม่มีใครในหมู่พวกเราอาจคร่ำครวญการตายของตัวได้ผู้ซึ่งยินยอมเข้าร่วมวงกับเราถูกสวมเสื่อคลุมแห่งเนศซุส บูรณภาพแห่งศีลธรรมของมนุษย์เริ่มขึ้นเมื่องเขาพร้อมสละชีวิตตนเองเพื่อสิ่งที่เขาเชื่อ
    การไต่สวนและการประหารชีวิตผู้สมรู้ร่วมคิดดำเนินมากระทั่งวันสุดท้ายของสงคราม ฮิตเลอร์ถือเอาว่าการรอดชีวิตของเขานั้นเป็น “ช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ในประวัติศาสตร์”และมอบหมายให้มีการจัดทำเครื่องอิสรยาภรณ์ เหรียญผู้บาดเจ็บ 20 กรกฎาคม 1944 ซึ่งฮิตเลอร์มอบให้ผู้ที่อยู่กับเขาในห้องปะชุมในเวลานั้น เหรียญ   

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:OstFront Continued

     ไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เจ้าชายไมเคิล ประสูติที่ปราสามเปเรส ในเมืองซินายอา ประเทศโรมาเนียเป็นพระโอรสในมกุฎราชกุมารคาโรลกับเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก เจ้าชายไมเคิลได้รับประกาศให้เป็นทายาทสืบบัลลังก์พระองค์ต่อไปและได้ขึ้นครองราชสมบัติหลังจากพระปิตุลาเสด็จสวรรคตเมืองเดือน กรกฎาคม 1927


      พระยศผู้สำเร็จราชการแทนซึ่งรวมเข้ากับเจ้าชายนิโคลัสแห่งโรมาเนีย ผู้เป็นสมเด็จอาของพระองค์ พระสังฆราช มิรอน คริสที่ และผู้พิพากษาสูงสุดของประเทศได้ทำหน้าที่แทนเจ้าชายไมเคิลซึ่งพระชมมายุเพียง 5 ชันษา  ในปี 1930 สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียได้เสด็จกลับประเทศภายใต้คำเชื้อเชิญของนักการเมืองที่ไม่พอใจในผุ้สำเร็จราชการและได้ประกาศตนเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียโดยทางรัฐสภาถอดพระเจ้าชายไมเคิลออกจากราชบัลลังก์ให้ดำรงพระยศเป็ฯมกุฎราชกุมารด้วยตำแหน่ง “แกรนด์วออิวอดออฟเอลา-ลูเลีย” เดือนพฤศจิกา1939 เจ้าชายไมเคิลได้เข้าร่วมวุฒิสภาโดยรัฐธรรมนูญปี 1940 ได้กำหนดให้พระองค์มีตำแหน่างในสภาเมื่อมีพระชนมายุครบ 18 ชันษา ปี 1941 ผู้นิยมนาซีเยอรมันต่อต้านพรรคบอลเชวิคนายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน เอนโตเนสคู ได้กระทำรัฐประหาร ต่อต้านสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 22 ซึ่งแอนโตเนสคูเรียกพระองค์ว่าผุ้ต่อต้านนาซี แอนโตเนสคูด้ยกเลิกรัฐธรรมนูญและล้มล้างระบบรัฐสภาและก่อตั้งเจ้าชายไมเคิลขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียอีกครั้งเมื่อมีพระชนมายุ 18 ชันษาพระองค์ได้สาวมงกุฏเหล็กแห่งโรมาเนียและได้รับการแต่งตั้งโดยพระสังฆราชา นิโคดิม มันที่นู แห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ บูคาเรสต์ วันที่ 6 กันยายน ปี 1941 พระองค์ทรงได้รับพระยศเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพและทรงแต่งตั้งและมอบหมายนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจเต็ม ซึ่งในความเป็นจริงพระองค์ทรงมีอำนาจเพียงในนาม
     ในปีเดียวกันนั้นเอง เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายอักษะต้องถอยล่น เผด็จการทหารของนายกรัฐมนตรีจอมพล เอียน เอนโตเนสคู ยังคงปกครองโรมาเนีย สิงหาคม 1944 โซเวียตจำเป็นต้องโจมตีโรมาเนียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พระราชาธิบดีได้เข้าร่วมกับนักการเมืองฝ่ายพันธมิตร กระทการัฐประหารนายกรัฐมนตรีแอนโตเนสคู แต่งตั้ง คอนสแตนติน เซนาเทศคู และทำการส่งอแนโตเนสคูให้โซเวียตทำการประหารชีวิต   1 กันยายน 1944 พระองค์ทรงขอสงบศึกกับกองทัพแดงและได้ประกาศพักรบกับอังกฤษและอเมริกา อย่างไรก็ตามก็ไม่สามรถหยุดโซเวียตที่จับกุมทหารชาวโรมาเนียกว่า แสนสามนาย ถูกส่งไปยังโซเวียต
     ในการประชุมที่เตหะราน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 เชอร์ชิล รูสเวลท์ และสตาลินได้พบปะกัน รุสเซียแจ้งไทราบว่า ตนไม่ยินยอมให้มีการปฏิบัติการรบตามแผนโอเวอร์ลอร์ด ด้วยถือว่า จะเป็นการยกพลขึ้นบกที่บอลข่านโดยมีเจตนาอำพรางที่จะปิดล้มรุสเซียมิให้กลืนบอลข่านและยุโรปตะวันออก รุสเซียยืนกรามให้ยกพลขึ้นบกฝรั้งเศสภาคเหนือเป็นทางลัดตัดสู่เบอร์ลิน อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญในการประชุมครั้งนั้นคือ การที่รุสเซียจะประกาศจัดตั้งรัฐบาลโปแลนด์ และเชโกสโลวะเกียพลัดถ่นที่เป็นคอมิวนิสต์

     ในการประชุมครั้งนั้น ได้มีการตกลงปักปันพรมแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก กล่าวคืโปแลนด์ดินแดนตะวันออกให้แก่รุสเซีย โดยจะได้รับชดเชยเป็นดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก กล่าวคือโปแลนด์เสียดินแดนตะวันออกให้แก่รุสเซีย โดยจะได้รับชดเชยเป็นดินแดนปรัสเซียตะวันออกให้แก่รุเสเซีย โดยจะได้รับชดเชยเป็นดินแดนในยุโรปดินแดนปรัสเซียตะวันออก และขยายพรมแดนโปแลนด์ตะวันตกไปจดแม่น้ำโอเดอร์ ซึ่งเท่ากับได้ดินแดนไซลีเซียตอนบน ของเยอรมันด้วย
     ส่วนการลงโทษเยอรมันนั้น รุสเซียเสนอให้ยกเลิกผู้ชำนาญการทางทหารของเยอรมันเสียแต่พันธมิตรไม่เห็นด้วย เมื่อพิจารณาพื้นที่ยึดครองเยอรมันตามแผนของสหรัฐแมริการุสเซียก็ไม่ตกลงเห็นชอบเช่นกัน
     ด้วยความต้องการที่จะให้รุสเซียร่วมสงครามแปซิฟิกเพื่อปราบญี่ปุ่นและเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ ทำให้พันธมิตรจำต้องยอมผ่อนปรนให้แก่รุสเซยในเรื่องการขยายพรมแดนแม้เมือยินยอมเช่นนั้นก็มิได้หมายความว่า รุสเซียจะร่วมสงครามแปซิฟิก จึงเป็นการผ่อนปรนโดยรุสเซยไม่มีภาระผูกพันอันใดเป็นข้อแลกเปลี่ยน
      เมื่อได้สิ่งที่ตนต้องการแล้ว รุสเซียก็ยินดีในความร่วมอในการปราบเยอมันอย่างจริงจัง ดังปรากฎจากการที่รุสเซียได้รับรุกต่อไปตามกลยุทธสตาลินที่เรียกว่า “รบรุกนับสิบ” เพื่อสลายพลังอันกล้าแข็งของทัพเยอรมัน และพันธมิตรเองก็ได้เปิดแนวรบตะวันตก (ตามที่รุสเซียต้องการ)ขึ้นที่ฝรั่งเศสภาคเหนือซึ่งถือว่าเป็นการประสานงานกันในการรบรุกบีบเยอรมันทั้งสองด้าน แผนการดังกล่าวนี้รุสเซียให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันด้วยถือว่าเป็นกายิงปืนนัดเดียวได้เหยื่อถึง 2 ราย กล่วคือ การที่รุสเซียรุกไล่เยอรมันออกจากยุโรปตะวันออกเ ป็นการประบเยอมันตามแผนประสานงานกับพันธมิตร เปละเป็นโอกาสเหมาะที่รุสเซียจะเข้ายึดครองอินแดนยุโรปตะวันออกที่รุเซียได้อ้างว่าต้องการปลดแอกให้ด้วย
     กรกฏาคม 1944 รุสเซียเข้ายึดครองภูมิภาคทะเลบอลจิกและโปแลนด์สองเดือนต่อมา ได้ยึดครองรูเมเนียและบับแกเรีย การรุกคือบหน้าสู่ลุ่มน้ำดานูบ และเข้าไปในบอลข่านเช่นนั้น ทำให้พันธมิตรตื่นตระหนก และเพียรพยายามที่จะมิให้รุสเซียเข้ายึดครองกรีซ ซึ่งจะทำให้รุสเซียสามารถแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลครอบงำน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียน
     ตั้งแต่มิถุนายน ค.ศ. 1944 มาแล้วที่อังกฤษได้ตั้งข้อเสนอแก่รุสเซียดังต่อไปนี้
1 แบ่งบอลข่านโดยรุสเซียมีอำนาจอิทธิพลในบัลแกเรียและรูเมเนีย
2 อังกฤษเข้าควบคุมกรีซ
     ข้อเสนอนี้ รุสเซียยอมรับในหลักการ ในเดือนตุลาคม โดยมีการเจรจาเพิ่มเติมว่า
1 รุสเซียมีอำนาจครอบงำฮังการี รูเมเนีย และบัลแกเรีย ในอัตราส่วน 75-80 เปอร์เซ็น
2 รุสเซียมีอำนาจครอบงำยูโกสลาเวยในอัตราส่วน 50 เปอร์เซ็น
     รุสเซียให้คำมั่นที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในและแทรกแซงทางทหารในบรรดารัฐดังกล่าวข้างต้น
     เมื่อตกลงกันได้ในการแบ่งสรรอำนาจผลประโยชน์ต่อกันแล้ว รุสเซียได้รุกคืบหน้าเข้ายึดครองออสเตรียและปรสเซยตะวันออกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 การรุกคืบหน้าและเข้ายึดครองดินแดนบอลติก ยุโรปตะวันออก และบอลข่านนั้น เป็นการปฏิบัติการที่ต่อเนื่องกันมาตามลำดับในระหว่างปี 1943-1945 สิ่งที่รุสเซียต้องการจากพันธมิตรคือ ต้องการให้พันธมิตรรับรองอำนาจอิทธิพลรุสเซียในอินแดนเหล่านั้น ซึ่งเป็นการยากยิ่งสำหรับพันธมิตรจึงได้มีการประชุมขึนที่เมืองยัลตา สภาพความเป็นจริงทีประจักษ์แก่ฝ่ายพันธมิตรคือ การที่รุสเซียยึดครองยุโรปตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ กองทัพพันธมิตรเพื่องรุกมาถึงแม่น้ำไรน์ ในขณะที่อกงทัพรุสเซียกำลังจะข้ามแม่น้ำโอเดอร์เพื่อเข้าโจมตีกรุงเบอร์ลิน สภาพนี้เป็นภูมิหลังของการประชุมที่พันธมิตรตระหนักดีว่าตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Kamikaze

mqdefault    คะมิกะเซะ หรือเรียกเป็นทางการว่า กองกำลังจูโจมพิเศษ เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่าลมสวรรค์ หรือลมแห่งเทวะ คะมิกะเซะในภาษาญี่ปุ่น ถูกนำมาใช้เรียกลมสลาตัน และนำมาใช้เป็นชื่อฝูงบินและนักบินคะมิกะเซะเท่านั้น ต่างไปจากในภาษาอังกฤษที่ชาวตะวันตกนำคำๆนี้มาใช้เรียกการโจมตีแบบพลีชีพ คำๆนี้ถูกนำมาใช้เรียกอากาศยานพลีชีพของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งบรรทุกระเบิดและพุ่งเข้าชนเรือ และคำนี้ยังหมายถึงนักบินผู้บังคับอากาศยานประเภทนี้ด้วย
kamikaze-team-with-dog     คะมิ หมายถึง เทพเจ้า และ คาเซะ หมายถึงลม เมื่อนำมารวมกันแล้ววหมายถึงลมแห่งสวรรค์ และยังหมายถึง ลมพายุไต้ฝุ่นที่ให้กองทัพเรือของจี กว่าว 4,500 ลำ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการบุกเข้าโจมตีญี่ปุ่นในสมัย จักรพรรดิจีนกุบไลข่าน
     นวาโท อะไซกิ ทาไม อาจารย์สอน การบินทหาเรือ สอบถามนักเรียการบิน 23 คนในกลุ่มว่ามีใครสนใจจะเข้าร่วม ในกองกำลังโจมตีพิเศษ โดยทั้งหมดตกลงที่จะเข้าร่วมปฏิบัติการครั้งนี้ ต่อมามีมาเข้าร่วมอีก 1 นาย จึงรวมเป็น 24 คน
SAMS-TshirtKamikazePilot-Gray-2     หน่วยพิเศษนี้ประกอบไปด้วย 4 หน่วยย่อยคือหน่วยชิคิชิมา หน่วยยามาโตะ หน่วยอาซาฮิ และหน่วยยามซาคูรา ซึ่งนำมาจากบทกว่าเกียวกับความรักชาติ ที่ประพันธ์โดย โมโตริ โนรินากะ
    หลักฐานที่เชื่อถือได้ในการปฏิบัติการของหน่วยพิเศษหน่วยนี้คือกรโจมตีเรือลาดตระเวนหนัก ของออสเตรเลีย เรือถูกเครื่องบินญี่ปุ่น บรรทุกระเบิดหนัก 200 กิโลกรัมพุ่งเข้าชนกลางทะเล นอกเกาะเลเต เครื่องบินลำนี้ปะทะเข้ากับ ส่วนโครงสร้างเหนือดาดฟ้าใหญ่ของเรือ เหนือสะพานเดินเรือเกิดการระเบิด น้ำมันลุกไหม้และซากปรักหักพังกระจัดกระจาย เป็นวงกว้าง แต่ระเบิดหนัก 200 กิโลกรัมที่ติดมากับเครื่องบิน ไม่เกิดการระเบิด มีคนเสียชีวิตบนเรืออย่างน้อย 30 คน แต่กการโจมตีครั้งนี้ไม่ได้มาจากเครื่องบินคะมิกะเซะของหน่วยโจมตีพิเศษ ภายใต้การนำของ นาวาโท ทาไม่ แต่เป็นการปฏิบัติการของนักบินญี่ปุ่นไม่ทราบนาม
      เดือนตุลา 1944 ฝูงบินคะมิกะเซะ ซึ่งประกอบเวย เครืองบินซีโร่ จำนวน 5 ลำ นำโดย เรือโท เซกิ ได้เข้าโจมตี เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันของสหรัฐฯ แม่จะมีเครื่องบินเพียงลำเดียวที่พุ่งชนเครื่องเรือได้สำเร็จ แต่ก็ส่งผลเกินคุ้มสามารถจมเรือได้
ดู kami-kaze
     มกราคม 1945 ได้ถูกฝูงบินคะมิคะเซะโจมตีถึงหกครั้ง มีทหารประจำเรือเสียชีวิตถึง 86 นายแต่เรือก็รอดจากการถูกทำลายมาได้เรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตร ลำอื่นๆ ที่รอดจากการระเบิดและจมลงทะเล แม้จะถูกฝูงบินคะมิกะเซะโจมตีซ้ำหลายครั้งในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น เรือบรรทุกเครื่องยินขนาดใหญ่ ของสหรัฐจำนวน
2 ลำดูอัลบั้มทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Leyte Gulf

jtrade_route
ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีพทรัยากรธรรมชาตอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะยาพารา และยังเป็นเส้นทางส่งกำลังเสริมและการสนับสนุนในการบุกโจมตีเกาะบอร์เนียว และสุมาตรา และเป็นแหล่งน้ำมันของที่ส่งไปยังญี่ปุ่น อเมริกาเห็นว่าฟิลิปปินส์เปนจุดยุทธศาสตร์ที่จะต้องยึดให้ได้เพราะเป็นกุญแจที่จะบุกญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นที่ เติมเชื่อเพลิงในการเข้าโจมตี
     ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต หรือยุทธนาวีทะเลฟิลิปินส์ครั้งที่ 2 เป็นยุทธนาวีที่ใหญ่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 และใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์operationsho-go_map
     สมรภูมิในทะเลบริเวณใกล้กับเกาะเลย์เต ซามาร์และลูซอนของประเทศฟิลิปินส์ ในเดือนตุลาคม 1944 ระหว่างสัมพันธมิตรกับจักรวรรดิญี่ป่น การจู่โจมเกาะเลย์เตเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะโดเดี่ยวญี่ปุ่นจกาบรรดาประเทศที่ญี่ปุ่นเข้าขึดครองในเอเชียตะวันออกเฉียใต้และยึดครองแปล่งน้ำมันซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในกองทัพและอุตสาหกรรม 0 (1)
     กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ป่น ระดมเรือรบที่เหลือทั้งหมดในบริเวณนั้นเข้าต่อสู้เพื่อยับยั้งการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ถูกขับไล่ล่าถอยโดยกองเรือที่ 3 และกองเรือที่ 7 ของกองทัพเรือสหรัฐ กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวและสูญเสียอย่งใหญ่หลวงจนไม่สามารถฟื้นตัวได้อีกในภายหลัง เรือรบขนาดใหญ่ที่เลือรอดก็ปราศจากน้ำมันเชื้อเพลิงต้องจอดทิ้งอยู่ในฐานทัพจนสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกสงบลง





การรบที่อ่าวเลย์เต ในเดือนตุลาคม พลเอก ดักลาส แมคอาเธอร์ข้นบกที่อ่าวเลย์เต พร้อมกับกล่าวว่า “ผมกลับมาแล้ว” ญี่ปุ่นต้องการยึดคืนจึงได้นำแผน โช-1 มาใช้ เป็นแผนที่ต้องการล่อกองเรือสหรัฐอเมริกามาทำลาย โดยใช้กำลัง 3 กองเรือ
    
กองกำลังทางทะเลของญี่ปุ่นimages (5)
- กองเรือภาคเหนือ อยู่ในการบังคับบัญชาของนายพลเรือ โอซาวา ใช้เป็นกองเรือล่อ ให้กองเรือบรรทุกเครื่องยบินของสหรัฐอเมริกาออกห่างจาก อ่าวเลย์เตประกองด้วยเรือบรรทุก เครื่องซุยกักุ เรือบรรทุกเครื่องบินเบา ซุยโฮ ชิโตเซ และซิโตยา กับเรือประจัญบานดัดแปลง เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน ไฮยูการ และอเซ
- กองเรือภาคกลาง อยู่ในการบังคับบัญชาของนายพลเรือ คูริตะ จะแล่นผ่านช่องแคบซาน เบอร์ดิโนถึงอ่าวเลย์เตเข้าโจมตีกองเรือสหรัฐอเมริกา ที่ป้องกันอ่าวเลย์เตประกอบด้วยเรือประจัญบานเก่า 3 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 10 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 2 ลำ  เรือพิฆาต 15 ลำ
- กองเรือภาคใต้ ประกอบด้วย กองเรือของนายพลเรือ ชิมา และกองเรือของนายพลเรือ นิชิมูรา แล่นฝ่านช่องซูบิกาเข้าโจมตีกองเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเลย์เต พร้อมกับนายพลเรือ คูริตะ กองเรือ นายเรือ ชิมา มีเรือลาดตระเวนหนัก 2 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 1 ลำ เรือพิฆาต 4 ลำ กองเรือของนายพลเรือ นิชิมูรา มีเรือประจัญบานเก่า 2 ลำ เรือลาดตระเวนหนักโมกามิ และเรือพิฆาต 4 ลำ
     images (4) กองกำลังทางทะเลของสหรัฐอเมริกา
- ในอ่าวเลย์เต กำลังส่วนใหญ่เป็นกองทัพเรือที่ 7 มีเรือบรรทุกกำลังยกพลขึ้นบก 2 ลำ เรือสินค้าหลายลำ เรือยกพลขึ้นบกกำลังระดมยิงฝั่งและยิงสนับสนุนประกอบด้วยเรือประจัญบาน เก่า 6 ลำ เรือลาดตระเวนและเรือพิฆาตหลายลำอยู่ยใต้การบังคับบัฐชาของพลเรือตรี เจสเซ บี โอล เดนดอร์ฟ
- ด้านนอกทางตะวันออกอ่างเลย์เตเป็นหน่วยเรือบรรทุกเครื่องบินเฉาะกิจของกองทัพรเอที่ 7  มีเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน 18 ลำ มีเรือพิฆาตและเรือพิฆาตคุ้มกันจำนวนมากทำหน้าที่เรือฉาก0
- ด้านตะวันออกเกาะลูซอน เป็นกองเรือเฉพาะกิจที่ 38 ของพลเรือเอก ฮาลเซย์ประกอบด้วยหมู่เรือเฉพาะกิจ 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเรือประมาณ 23 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 2 ลำ เรือประจัญบานใหม่ 3 ลำ เรือลาดตระเวน 2 ลำ เรือพิฆาต 14 ลำ กองเรือของนายพลเรือโอชาวา ทำงานสำเร็จภารกิจ คือ สามารถล่อกองเรือบรรทุกเครื่องยินของฮาลเซย์ขึ้นไปทางเหนือจนไกลจากอ่าวเลย์เต เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน จึงไม่สามารถจะมาช่วยกองเรือของตนที่อ่าวเลย์เต เพมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน จึงไม่สามารถจะมาช่วยกองเรือของimages (9) ตนที่อ่าวเลย์เตได้ ทั้งนี้เพราะกองทัพเรือที่ 3 นายพลเรือ นิมิตซ์ ออกคำสังให้ปฏิบัติ 2 ภารกิจ คือ นายพลเรือ ฮาลเซย์ ทำหน้าที่คุ้มกันและสนับสนุนกำลังรบที่ฟิลิปปินส์ และถ้ามีโอกาสทำลายข้าศึก ให้ถือว่าเป็นภารกิจจำเพราะที่สำคัญ  นายพลเรือ ฮาลเซย์ ถือปฏิบัติตามข้อหลัง จึงทำให้มาช่วยกองเรือที่อ่าวเลย์เตไม่ได้ตามกำหนดเวลา
      การยกพลขึ้นบก อย่งเป็นทางการเริ่มในวันที่ 17 ตุลา พร้อมกับหน่วยทำลายกับระเบิดหน่วยที่ 6บริเวณระหว่างเกาะ 3 เกาะ คือ Suluan Dinagat และเกาะ Homonhon  บริเวณปากอ่าวเลย์เต หน่วยเรนเจอร์(หน่วยทหารเคลื่อที่เร็ว)
    กองกำลังที่ 6 ต่อสู้อย่างเต็มกำลั135160-004-22879368 ง กองทหารม้าที่ 1 ยึดเมืองสำคัญของเกาะเลย์เตได้ นายพล แมคอาเธอร์ จัดงานเลี้ยงฉลองเพื่อเรียกขวัญกำลังใจให้กับกองกำลังและพี่น้องประชาชนท้องถ่อน ณ เกาะเลย์เต
      กองกำลังสหรัฐ ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นบนเกาะแบบข้ามวันข้ามคืนและสามารถยึดครองเนื่อที่ของเกาะเหนือ 7 วันหลังจากยกพลขึ้นบก กองทหารม้าบุกเข้าไปในหุบเขา และสร้างความเสียหายให้กับอู่ต่อเรือ Carigara
     สนามบินญี่ปุ่นถูกบุกโจมตีถึง 4 แห่งแบบฉับพลัน ความยากลำบากเนื่องทัพอากาศญี่ปุ่นไม่สามารถลงจอดได้ เป็นเหตุให้กองกำลังทางอากาศญี่ปุ่น กว่า  200 ลำ บุกโจมตีกองเรืออเมริกาบริเวณชายหาด เครื่องบินกามิกาเซ่ ถือกำเนิดในยุทธการเลย์เต
   images (6)   ภาคพื้นทะเล การสู้รบมีหลายแบบ การใช้กำลังเรือบรรทุกเครื่องบิน การดวลปืนใหญ่เรือ สงครามตอร์ปิโดของเรือดำน้ำ และเรือพิฆาตหรือกระทั้งการต่อสู้ของเรือผิวน้ำของกองเรือที่ 7 ในการคุ้มกับเรือบรรทุกเครื่องบิน การใช้ยุทธวิธีโบราณ  เรื่อคุ้มกันเรือบรรทุกเครื่องยิน ทำหน้าที่ เสมือนส่วนทะลวงและคุ้มกันเบื้องหน้า กองเรือล่อหลอกอยู่ที่แห่งหนึ่ง.. การยกธงขาวยอมแพ้ซึ่งมีให้เห็นไม่มากนัก  ที่ยุทธนาวีเลย์เตนี้มีให้เห็นลำหนึ่งเป็นเรือของออสเตรเลีย เรือลาดตระเวน 3 ปล่อง ชั้น คันที่ เรือชักธงขาวขึ้นที่พรวนซ้าย มองเห็นชัดเจน เรื่อที่สร้างแหวงแนวของเครื่อจักรภพอังกฤษลำนี้ปัจจุบันเปลี่ยนมือไปเป็นของโคลัมเบีย… การโจมตีเรือที่ทรงพลังอำนาจ อย่างยามาโต้ และมูซาชิ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าแม้จะมีพลังอำนาจเพียงใดแต่ยังคมีความเปราะบางต่อการโจมตีทางอากาศ..
    USSPicking5

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Liberation of Paris

     ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กรุงปารสได้อยู่ในแนวหน้าของการรบ โดยรอดจากการโจมตีของเยอรมันไปได้ กรุงปารีสกลายเป็นที่สวนสนามแห่งชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรและเป็นที่เจรจาสันติภาพอีกด้วย ในช่วงระหว่างสงคราม กรุงปารีสได้มีชื่อเสียงจากศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ และชีวิตยามค่ำคืน เมื่องนี้ได้กลายเป็นศูนย์รวมชองจิตกรชื่อดังทั่งโลก        
    มิถุนายน 1940 ห้าสัปดาห์หลังจากการเริ่มต้นของสงครามแห่งฝรั่งเศส กรุงปารีสตกอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพนาซีเยอรมัน  กรุงปารีสยืนหยัดท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยไม่ได้รับความเสียหายใดๆ เนื่องจากภายในกรุงปารสไม่มีเป้าทางยุทธศาสตร์สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตรในการวางระเบิด และด้วยความสวยงามทางวัฒนธรรม พลเอกดีทริช ฟอน โชลทิทซ์ General der Infanterich von Choltitz นายทหารเยอรมันขัดคำสั่งของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในการทำลายกรุงปารีสและอนุสาวรีย์ที่สำคัญก่อนการถอนทหารเยอรมันออกจากปารีส ชาวฝรั่งเศสบางคนมองเขาว่าเป็นผู้ช่วยเหลือกรุงปารีส
     18 มิถุนายน เดอ โกล เตรียมตัวที่จะปราศรัยแก่คนฝรั่งเศฝ่านทางวิทยุ BBC ในกรุงลอนดอน คณะรัฐมนตรีของอังกฤษได้พยายามบล็อกคำปราศรัยครั้งนั้น แต่วินสตัน เชอร์ชิลล์ ก็ได้ยับยั้งมติคณะรัฐมนตรีไว้ได้ ในประเทศฝรั่งเศส เดอ โกล Appel du 18 June น่าจะเป็นที่ได้ยินของคนทั้งชาติในเย็นวันนั้น แต่ในความเป็นจริงมีผู้ได้ยินคำประกาศนั้นน้อยมาก เดอ โกลยังไม่เป็นที่รู้จักกันฝรั่งเศสตอนนั้น คำปราศรัยของเขาเป็นเหมือนความเพ้อฝัน วลีที่ว่า ฝรังเศสแพ้จากการรบ แต่ยังมิได้แพ้สงคราม นั้นแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแน่วแนของชาร์ล เดอ โกล  เขามีส่วนร่วมในการต่อต้านการบุกรุกของเยอรมันและประกาศว่า “ไฟแห่งการต่อต้านของฝรั่งเศสจะไม่ดับลง”
     ในไม่ช้าท่ามกลางความวุ่นวาย งุ่นงง และยุ่งเหยิงของประเทศฝรั่งเศส ข่าวที่ว่ามีนายพลชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงลอนดอนได้ปฏิเสธที่จะยอมแพ้หรือสงบศึกกับเยอรมันและได้ประกาศว่าสงครามยังดำเนินต่อไป  ได้กระจายจากปากสู่ปาก และจนวันนี้คำปราศรัยของเขานั้นเป็นที่จดจำและโด่งดังที่สุดอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
      ในลอนดอน ชาร์ล เดอ โกล ได้ก่อตั้งและดำเนินการแนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศส ในขณะที่สหรัฐอเมริกาให้การยอมรับรัฐบาลวิซีฝรั่งเศสแต่สหราชอาณาจักรรัฐบาลของวินสตัน เชอร์ชิลล์ให้การสนับสนุนชาร์ล เดอ โกล ทั่งที่รักษาระดับความสัมพันธ์กับรัฐบาลวิซีฝรั่งเศสอยู่
     เดือนกรกฎาคม ปี 1940 ศาลทหารได้ตัดสินให้ชาร์ล เอด โกล จำคุกเป็นเวลา 4 ปี(โดยที่เจ้าตัวไม่อยู่) และการตัดสินครั้งที่ 2 ในเดือนสิงหาปีเดียวกัน ตัดสินประหารชีวิตเนื่องจากทรยศและทำการกบฏต่อรัฐบาลวิซีฝรั่งเศส
    ในการปฏิบัติต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกานั้น เขายืนหยัดตลอดเวลาในการยืนหยัดสิทธิเสรีภาพในฐานะตัวแทนคนฝรั่งเศส แต่บ่อยครั้งบที่เขาถูกฝ่ายสัมพันธมิตรลืม ภรรยาเซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ ผุ้ซึ่งชื่นชมในตัวเอด โกล เคยเตือนเขาว่า อย่างเหลียดพันธมิตมากกวาศัตรู แต่เดอ โกลตอบกลับไปว่า ฝรั่งเศสไม่ม่เพื่อนมีแต่หุ้นส่วน


     สถานการณ์ดังกล่าวมีความซับซ้อน เดอ โกล ไม่ไว้วางใจจุดประสงค์ของสหราชอาณาจักและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากนักการเมืองระดับสูงของสหรัฐฯนั้นไม่ไว้วางใจแนวร่วมปลดปล่อยฝรั้งเศส ในทางกลับกัน สหรัฐอเมริกาก็ยังให้การยอมรับรัฐบาลวิซีฝรั่งเศสแทน
     เขาทำงานร่วมกับกลุ่มการต่อต้านของฝรั่งเศสและผุ้สนับสนุนการครอบครองเมืองขึ้นฝรั่งเศสบริเวณแอฟริกา ต่อมาหลังภารกิจ Oparation Torch ทหารอังกฤษและอเมริกันยกพลบุกเมืองขึ้นฝรั้งเศสในอแฟริกาเนหือ เดอ โกล ย้ายกองบัญชการไปยังเมืองแอลเจียร์ ประเทศแอลจีเรีย หลังจากนั้น เดอ โกลก็ได้เป็นประธานร่วม และภายหลังเป็นประธารคณะกรรมมาธิการปลดปล่อยแห่งชาติแบบเต็มตัว
     ระหว่างภารกิจการปลดปล่อยฝรั่งเศสนั้น ทหารอังกฤษและอเมริกันก็ได้ยกพลขึ้นผืนแผ่นดินใหญ่ที่ประเทศฝรั่งเศสในภารกิจ Operation OverLord เดอ โกลก็สถาปนา แนวร่วมการปลดปล่อยฝรั่งเศสในผืนแผ่นดินใหญ่ฝรั่งเศส หลีกเลี่ยง รัฐบาลทหารสัมพันธมิตรเพื่อครอบครองดินแดน เขานั่งเครื่องฯจากประเทศแอลจีเรียมายังฝรังเศสก่อนการเป็นเสรีภาพของกรุงปารีส และได้เคลื่อนที่เข้าไปบริเวณแนวหน้าใกล้ ๆ เมื่องหลวงพร้อมกับทหารสัมพันธมิตร เขาได้กลับมายังกรุงปารีสในไม่ช้า และได้กลับเข้าทำงานในกระทรวงระหว่างสงคราม และได้ประกาศว่าสาธารณรัฐที่ 3 ยังคงอยู่ต่อไปและปฏิเสธการปกครองของวิซีฝรั่งเศส
     ภายหลังการนำของชาร์ล เดอ โกล ผู้ที่ได้ทำการต่อต้านและต่อสู้เพื่อฝรั่งเศสมาก่อนหน้านี้เเล้วซึ่งสามารถเคลื่อนกองทัพ กองทัพหนึ่งของฝรั่งเศสในบริเวณแนวตะวันตกได้ โดยการกระทำภารกิจยกพลขึ้นทางตอนใต้ของฝรั่งเศส Operation Dragoon ซึ่งสามารถทำให้ 1 ใน 3 ของประเทศฝรั่งเศสเป็นเสรีจากกองทัพเยอรมันได้ ทหารกลุ่มนีเเรยกว่า กองทัพฝรั่งเศสกลุ่มแรก ทำให้กองทัพฝรั่งเศสนั้นไดเข้าร่วมในการต่อสู้กับเยอมันทางทหารพร้อมเพรียงกับทหารอังกฤษโดยปริยาย และยังได้ยึดดินแดนที่กองทัพเยอรมันครอบครองไว้คืนมาอีกด้วยและส่งผลถึงการที่ฝรั่งเศสมีส่วนร่วมในสนธิสัญญการยอมแพ้ของเยอรมันด้วย ไปกวานั้นฝรั่งเศสยังมีโอกาสที่จะควบคุม 1 ใน 4 ส่วนของประเทศเยอรมันหลังสงครามอักด้วย
      จากปฏิบัติการ “โอเวอร์ลอร์ด”สู่การปลดปล่อยปารีส ชาร์ล เดอโกล ได้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะการแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ปี่ 1944 และหลังจากการประกาศอิสรภาพของกรุงปารีส รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้แต่งตั้งตัวเองอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 สิงหาคม อีกทั้งได้รับการรับรองให้เป็ฯรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 24 ตุลาคม 1944
     จากอิสรภาพของสาธารณรัฐฝรั่งเศสนเดือนสิงหาคมและกันยายนรัฐบาลวีซีย้ายไปยังเมืองซิกมาริงเงินในเยอรมันและได้กลายเป็นรัฐบาลที่ถูกเนรเทศ เปแตงยังคงเป็นผู้นำต่อมาจนถึงเดือนเมษายน ปี 1945 ภายหลังเปแตงถูกพิจารณาประหารชีวิตในข้อหากบฏ แต่ต่อมาภายหลังได้รับการลดทอนโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต                        

WWII:Battle of Normandy

     นอร์มังดีเป็นสมรภูมิที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเลือกที่จะยกพลขึ้นบกทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเพื่อรบกวนแนวหลังของเยอรมัน โดยบุกข้ามช่องแคบอังกฤษจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประทเษอังกฤษ(เมืองพอร์ทสมัธ)มายังหัวหาดนอร์มังดีภายมต้แผนปฏิบัติกาโอเวอร์ลอร์ด หรือที่รู้จักกันว่า วันดี-เดย์
     กองกำลังฝ่ายสัมพันธิมิตรนั้นประกอบด้วยทหารจากหลายประเทศด้วยกัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา นอกจานี้ทหารจากกองกำลังฝรั่งเศสเสรี และโปแลนด์ได้เข้าร่วมกับกองกำลังสัมพันธมิตรด้วย เมื่อทจู่โจมจากเกาะอังกฤษเข้าสู่ฝรั่งเศสได้แล้ว ยังมีกองทหารจากหลายประเทศเข้ามาร่วมกับพันธมิตรหลังจากนั้นด้วย ได้แก่ เบลเยี่ยม เชโกสโลวาเกีย กรีซ เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์
     การบุกหัวหาดนอร์มัดีเริ่มต้นตั้งแต่คือวันที่ 5 มิถุนายน โดยเครื่องบินท้งพลร่มและเครื่องร่อนลงมา และกองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มเปิดการทิ้งระเบิดกองทัพเยอรมันที่ประจำอยู่ตามเมืองริมชายฝั่งของฝรั่งเศส รวมถึงการยิงปืนใหญ่จากเรือรบพันธมิตร กระทั่งการบุกข้ามทะเลของกองกำลังหลักเริ่มต้นขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 6 และต่อจากนั้นอีก 2 เดือน จนถึงการปลดปล่อยปารีสในปลายเดือนสิงหาคม 1944 เป็นอันสิ้นสุดภาระกิจ
    ในแผนดังกล่าว ถูกหนดไว้คือวันที่ 5 มิถุนา จะมีพลริ่มลงไปหลังแนวป้องกันก่อน เพื่อตัดกำลังและคุมสะพานไม่ใด้พวกเยอรมันที่อยู่หลังแนวรบ ส่งกำลังมาหน้าแนวได้ทัน ได้มีการทิ้งห่นพลร่มปลอมในบางจุดด้วย
      เช้าวันที่ 6 กองทัพเรือขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ยาตราเข้าอ่าวนอร์มังดี บนหาดมีเครื่องกีดขวางมากมาย แม้แต่เรือเล็กก็ไม่สามารถเข้าใกล้ตัวหาดได้มากนัก บนหาดถูกต่อต้านโดยปืนใหญ่ ปืนกลหนัก เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนต่อต้านรถถังจำนวนมาก ทั้งยังมีรั่วลวดหนามคูดักรถถัง และกับระเบิดบนหาด ทหราเสียชีวิตมากมายก่อนจะยึดหัวหาดได้ โดยเฉพาะที่หาดโฮมาฮ่า
     แผนการรับมือครั้งนี้ โดย จอมพล รอมเมลคือต้องการสร้าง
เครื่องกีดขวางและเครื่องป้องกันหาดต่าง ๆ บนหาดให้มากที่สุด เพราะเมื่อหาดถูกบุก หาดจะถูกป้องกันพวกพันธมิตร จะต้องตายคาหาด แต่ฮิตเลอร์ไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าการตั้งรับควรอยู่หลังแนวหาดมากกว่า คือควรจะจัดการกับพวกสัมพันธมิตรบนบกหลังแนวดีกว่า  จึงดึงกำลังสำคัญ เช่น หน่วยยานเกราะเกือบทั้งหมดไปอยู่ส่วนหลัง เหลือเพียงกองพลยานเกราะที่ 21 กองพลเดียว พร้อมกับกองพลทหารราบ 38 กองพล วางกลังอยู่ตั้งแต่เมืองท่าคาเล่ย์ของฝรั่งเศส ขึ้นเหนือไปถึงฮอลเเลนด์ และเลยลงไปทางใต้ถึงชายแดนสเปน แนวตั้งรับของเยอรมันมีระยะทางที่ยาวมาก กำลังทหารเยอรมันจึงไม่เพียงพอต่อการต่อต้านการยกพลขึ้นบก ในขณะเดียวกัน ลูฟวาฟเฟ ของเยอรมันก็มีเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินทิ้งระเบิดนอ้ยเกินกว่าจะรับมือได้
     กำลังฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะยกพลขึ้นบกประกอบด้วย กองพลทหารราบที่ 39 กองพล(สหรัฐ 20 กองพล อังกฤษ 3 กองพล แคนาดา 1 กองพล  และฝรั่งเศสอิสระ1 กองพล โปแลนด์ 1 กองพลเครื่องบินขับไล่ กว่า 5,000 ลำ เครื่องร่อน 2,600 ลำ เรือรบและเรื่ออื่นๆ กว่า 6,000 ลำ ซึ่งแม้จะนวนทหารราบจะใกล้เคียงกัน แต่ด้วยแนวรบที่ตั้งรับเป็นระยะยาวจึงทำให้จำนวนทหารฝ่ายเยอมันกระจายออกในขณะที่ ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรรวมกันเป็นจุดเดียว
     เยอรมันเชื่อว่าการยกพลขึ้นบกจะมีขึ้นในฤดูร้อนของปี 1944 โดยมีการเตรียมการขนานใหญ่ที่สามารถสังเกตเห็นได้ในอังกฤษ ฝ่ายสัมพันธมิตเองก็พยายามลวงฝ่ายเยอรมันว่าการยกพลขึ้นบกจะมีขึ้นที่คาเล่ย์ สายลับทั้งสองฝ่ายต้องทำงานกันอย่งหนัก สายลับสัมพันธมิตรพยายามปล่อยข่าวสถานที่ยกพลขึ้นบกหลายห่ง จนสายลับเยอรมันในอังกฤษเกิดความสับสน นายพล ดไวท์ ดี.ไอเซนฮาว ผู้บัญชาการสุงสุดในยุทธการครั้งนี้ ก็วางแผนที่จะเริ่มการยกพลขึ้นบกในวันที่ 5-7 มิถุนายน ในเวลารุ่งเช้า แต่สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย คลื่นลมบริเวณช่องแคลอังกฤษแรงราวกับทะเลคลั่ง การปฏิบัติการจึงต้องเลื่อนออกไปอีก 24 ชม.กระทั่งเช้าวันที่ 6 นายพล ไอร์เซนฮาวน์จึงตัดสินใจที่จะเริ่มการยกพลขึ้นบก
   ฝ่ายเยอมันสับสนกับข่าวการยกพลขึ้นบก ข่าววิทยุจาสถานกระจายเสียงจากกรุงลอนดอนของอังกฤษ สามารถรับฟังได้อย่างชัดเจนในฝรั่งเศส ซึ่งมักจะส่งข่าวให้พวกใต้ดินในฝรั่งเศส ฝ่านทางข้อความที่เป็นรหัสลับ ออกข่าวเป็นบทกวี ซึ่งเป็นสัญญาณให้หน่วนใต้ดินฝรั่งเศสทราบว่าการบุกกำลังจะเกิดขึ้น เยอรมันจับรหัสนี้ได้ แต่สภาพอากาศที่เลวร้าย ทะเลมีคลื่อลมแรง เยอรมันตายใจ ไม่คิดว่าการยกพลจะเกิดขึ้นในสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างนี้ จอมพลรอมเมลเอง ก็เดินทางกลับเยอรมัน ไม่มีใครคาดคิดว่าการยกพลกำลังจะเกิดขึ้น
     คือนวันที่ 5 ต่อเช้าวันที่ 6 พันธมิตรส่งพลร่มเข้าโจมตีตามจุดต่างๆ ของเมือง โดยปล่อยหุ่นและปะทัดเข้าปะปนมากับพลร่มเพื่อสร้างกลลวง การปฏิบัติการดังกล่าว บางคนกล่าวว่าเป็นปฏิบัติการฆ่าตัวตาย เนื่องจากการเข้ามาในเขตของข้าศึกโดยไม่มีกำลังสนับสนุน การสู้รบจึงเป็นไปด้วยความลำบาก แต่ด้วยความกล้าหาญของทหารหาญซึ่งต่อสู้กระทั่งกองกำลังสมทบมาถึง
     หาดโอมาฮ่า สถานะการณ์รุนแรงที่สุด ซึ่งกองพลทหารราบของสหรัฐ ได้รับการสนับสนุนด้วยรถถังเพียง 5 คัน การต้อนรับในหาดนี้เยอรันมีประสบการณ์จากกองพลที่ 352 แม้จะมีการระดมยิงจากปืนเรือก่อนขึ้นหาด แต่กองพลเยอรมันส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเสียหายความสูญเสียมีมากกกระทั่งนายพลโอมาร์ แบรดลีย์ ของสหรัฐฯ พิจารณาถึงการจะถอนตัวจากหาดนี้ แต่ในที่สุดอเมริกันก็สามารถยึดหาดโอมาฮ่าได้..
     หาดโกลด์ กองพลทหาราบที่ 50 และกองพลน้อยยานเกราะที่ 8 ของกองทัพอังกฤษที่พรั่งพร้อมด้วยรถถัง และอาวุธหนัก บุกเข้าโจมรีแนวต้านทานของเยอรมันตลอดแนวชายหาด การสู้รบที่หนักหน่วงที่สุด เกิดขึ้นที่หมูบ้านเล็ก ๆ ซึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นป้อมปรากการ มีการวางปืนใหญ่ขนาด 75 มม. จำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถยิงครอบคลุมได้ทั้งหาด รถถังอังกฤษ 4 ใน 5 คันถูกทำลายทันทีเมื่อถึงหาดโกลด์ อังกฤษต่อสู้อย่างยืนหยัดนานกว่า 8 ชม.โดยปราศจากการสนับสนุนจากอาวุธหนักเช่นรถถัง การต่อสู้แบบประชิดตัวในที่สุดทหารอังกฤษก็สามารถรถกเข้าไปถึง 13 กม.จากหัวหาดโกลด์
     สิ้นสุดวันอันยาวนาน The longest day ฝ่ายสัมพันธมิตรกว่า 150,000 คน สามารถยึดครองพื้นที่ กว่า 200 ตารางกิโลเมตรตามแนวหาดนอร์มังดี นับจากวัน ดี-เดย์เป็นต้นมาเยอรมันก็เร่มเป็นฝ่ายถอย และเป็นการเริ่มต้นของการปลดปล่อยฝรั่งเศสพร้อมๆกับการเริ่มต้นของการล่มสลายของระบอบปกครองนาซี..

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...