1. สรรพสิ่งสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว พึ่งพาอาศัยกัน บังคับกำหนดซึ่งกันและกัน ด้วย
เหตุนี้ ในการมอง
ศึกษาค้นคว้า และรับรู้ปรากฏการณ์ใด ๆ
ถ้าหากมองมันเป็นปรากฏการณ์ที่มีความสัมพันธ์อันแยกออกจากกันมิได้กับ
ปรากฏการณ์ที่ห้อมล้อมอยู่รอบ
ๆ และถูกบังคับกำหนดโดยปรากฏการณ์ที่ห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ
แล้ว ก็จะเข้าใจและพิสูจน์ให้เห็นจริงได้
กล่าวคือสรรพสิ่งมีบริบทของมันเสมอ
หลักวัตถุนิยมวิภาษวิธี หรือการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุของมาร์กซ์
3.สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจากปริมาณไปสู่คุณภาพ กระบวนการพัฒนาใด ๆ ล้วนเป็นกระบวนการที่มิใช่มีแต่การเพิ่มพูนขึ้นแบบง่าย ๆ หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะทางปริมาณ แต่คุณภาพไม่เปลี่ยน หากแต่เป็นกระบวนการพัฒนาจากการเปลี่ยนแปลงทางปริมาณที่ไม่เด่นชัดและแฝงเร้น ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดถึงแก่น
การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพมิใช่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แต่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กะทันหัน มันแสดงออกในรูปแบบก้าวกระโดด จากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง และมิใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากเกิดขึ้นอย่างมีกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นผลจากการสั่งสมของการเปลี่ยนแปลงทางปริมาณที่ไม่เด่นชัดและเชื่องช้าจำนวนมาก
4. มูลเหตุแห่งการพัฒนา เปลี่ยนแปลง และดับสูญของสรรพสิ่ง มาจากปัจจัยภายในซึ่งแฝงไว้ด้วยความขัดแย้งสรรพสิ่งล้วนมีด้านตรงข้ามและด้านกลับ มีด้านอดีตและอนาคต มีทั้งสิ่งที่กำลังเน่าเปื่อยและสิ่งที่กำลังพัฒนา การต่อสู้ของด้านที่เป็นปฏิปักษ์กัน การต่อสู้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ ระหว่างสิ่งที่กำลังดับสูญกับสิ่งที่เกิดใหม่ ระหว่างสิ่งที่เน่าเปื่อยกับสิ่งที่พัฒนา ก็คือเนื้อหาภายในของ "กระบวนการพัฒนา" และ "การแปรเปลี่ยนจากการเปลี่ยนแปลงทางปริมาณไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ" นั่นเอง
วิภาษวิธีเห็นว่า กระบวนการพัฒนาจากขั้นต่ำไปสู่ขั้นสูง มิใช่ดำเนินไปโดยอาศัยการคลี่คลายอย่างปรองดองของปรากฏการณ์ หากแต่อาศัย
1. การเปิดเผยความขัดแย้งที่ดำรงอยู่มาแต่ดั้งเดิมในตัวของสรรพสิ่งและปรากฏการณ์เอง
2. การยึดกุม "การต่อสู้ของแนวโน้มที่เป็นปฏิปักษ์กัน" ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่บนพื้นฐานของความขัดแย้งเหล่านั้
วิภาษวิธี พูดถึง “ความเปลี่ยนแปลง” — สิ่งต่างๆย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีอะไรหยุดนิ่ง ดังนั้นคนที่พูดว่า อะไรๆมีมานานแล้ว ไม่เปลี่ยนแปลง ก็ไม่จริง เช่น รูปแบบสังคม ความเชื่อ ภาษา ทุกอย่างย่อมอยู่กับการเปลี่ยนแปลง วิภาษวิธี พูดถึง “ความขัดแย้ง” — สิ่งต่างๆเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างคู่รัก ชนชั้น ความขัดแย้งระหว่างความคิดในหัวเรา หรือแม้แต่ความขัดแย้งที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น การที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ก็เกิดจากความขึงตรึงของ แรงโน้มถ่วงและพลังงานหลายๆอย่าง เป็นต้น
วิภาษวิธีให้ความสนใจกับ “ความสัมพันธ์” – สิ่งต่างๆในโลกไม่ใช่ “สิ่ง” หรือ thing เฉยๆ แต่ “สรรพสิ่ง” ในตัวมันเองเป็นความสัมพันธ์ชุดหนึ่ง และสรรพสิ่งอยู่ท่ามกลางความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆด้วยพร้อมๆกัน ดังนั้นเราจะเข้าใจโลก สังคม รวมทั้งความคิดในหัวเรา โดยไม่มองว่ามันเป็นความสัมพันธ์ไม่ได้
กฎว่าด้วยความขัดแย้งแบบไดเลคติคเป็นทฤษฎีของนัก ปฏิวัติ จะเป็นนักปฏิวัติแบบสังคมนิยมหรือประชาธิปไตยก็แล้วแต่ ย่อมเข้าใจเรื่องกฎเกณฑ์ของความขัดแย้งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้น เชิงของวัตถุเป็นแนวทางอันเป็นมูลเหตุของการ ” ปฏิวัติ “ แบบวิทยาศาสตร์สังคมได้เป็นอย่างดี วัตถุนิยมวิภาษวิธี หรือกฎไดเลคติค ตามทฤษฎีที่เฮเกล (HEGEL) พูดถึงการดำรงอยู่ของสิ่งหนึ่งที่มีอีกสิ่งหนึ่งเข้ามา ก่อให้เกิดการขัดแย้ง สิ่งใหม่ที่เข้ามานั้นตามทฤษฎีจะเรียกว่า “ ปฏิกิริยา” (ANTI THESISX สภาวะขัดแย้งระหว่าง ANTI THESIS กับ “ กิริยา” ( THESIS) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูป ไม่สามารถดำรงรูปเก่าได้ เกิดการเปลี่ยนรูปใหม่มาเป็น SYNTHESIS ซึ่งก็หมายถึง “ สหกิริยา “ การเกิดการขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้คือการปฏิวัติ เป็นสหกิริยาที่เกิดจากการสังเคราะห์เอาส่วนที่ดีของตัวเก่าและใหม่มารวมกัน ไว้ กล่าวโดยสรุปกฎนี้ว่าด้วยเรื่องการมีอยู่ของสรรพสิ่ง มีของเก่า มีของใหม่ เกิดความขัดแย้งกันระหว่างของสองสิ่ง เกิดปฏิกิริยาและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงในที่สุด การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงนี้คือการ “ปฏิวัติ” เป็นข้อสรุปที่ว่าหากมีเหตุปัจจัยของการขัดแย้งในลักษณะนี้ในสถานการณ์ หนึ่งๆ ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เกิด “การปฏิวัติ” ไม่ได้นั่นเองตามกฎเกณฑ์ ในสถานการณ์ที่สุกงอมตามกฎไดเลคติดที่ว่า ” การปฏิวัติ “ จึงย่อมดีกว่าการไม่ปฏิวัติแน่นอน อันนี้เป็นกฎ อุปมาดั่งเช่นว่า........ถ้าคุณสมบัติของน้ำตรงกันข้ามกับไฟ มีความขัดแย้งกัน แต่ถ้าเอากาน้ำไปตั้งบนเตาร้อนๆ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นตามลำดับ อุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงนี่เราเรียกปฏิรูป (Reform) น้ำจะร้อนไปเรื่อยๆไปจนถึงขั้น จุดเดือด และเป็นจุดที่ไม่สามารถรักษารูปทรงเดิมไว้ได้ กลายเป็นควันพวยพุ่งออกมา การเปลี่ยนรูปทันทีอย่างนี้เรียกว่าการปฏิวัติ (Revolution)
คาร์ลมาร์กซ์ เอาทฤษฎีนี้มาศึกษาเป็นการใหญ่ เกิดข้อสงสัย เลยไปค้นคว้าเอาทฤษฎีของ ลุดวิก ฟอยเออบัค ( LUDWIG FEUERBACH) ซึ่งเป็นคนละขั้ว ฟอยเออบักบอกว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแต่เป็นวัตถุนิยม ไม่ใช่จิต แต่ว่าวัตถุนิยมมันเป็นธรรมชาติของมันเองและมีกลไกแต่ไม่ได้บอกว่ากลไกเป็น อย่างไร มาร์กซ์ก็เลยผสมสองทฤษฎีนี้เข้าด้วยกันที่เรียกว่า “ วิภาษวิธีวัตถุนิยม ”
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งมีความใกล้เคียงกับหรือคล้ายคลึงกับทฤษฎีดังกล่าวนั้น เป็นธรรมนิยาม เป็นความจริงแท้ของธรรมชาติทั้งปวง การจะยกจิตขึ้นไตรลักษณ์ได้นั้นต้องผ่านการฝึกฝน..ผ่านการปฏิบัติอย่า่งยิ่งยวด... เมื่อเข้าใจธรรมชาติและหลักของธรรมชาติของสรรพสิ่งแล้ว จึงค่อยๆพิจารณาปัญหา เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ปัญหาย่อมไม่เหมือนกัน สถานที่แต่ละสถานที่ปัญหาย่อมไม่เหมือนกัน คนแต่ละก็ย่อมมีัปัญหาที่แตกต่างกัน พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือญาณที่สามารถกำจัดกิเลสได้อย่างหมดสิ้น อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค ทุกข์คือการพิจารณาถึงปัญหาและสภาวะการณ์ซึ่งทุกข์ในทางพุทธศาสนายังแบ่งออกเป็น ทุกข์ ๑๐ มีทุกข์จร ทุกจากความโศกเศร้าเป็นต้น สมุหทัย เหตุแห่งทุกข์ เป็นการดูที่เผลคือทุกข์นั้นๆ ว่ามีเหตุที่มาอย่างไร และไรเรียงลำดับขึ้นตอนของเหตุแห่งทุกข์กระทั่งถึงตัณหา อันมีวิภาวะตันหาเป็นต้น..นิโรธ คือภาวะการณ์ที่ประสงค์ คือความสงบสันติจากทุกข์ต่างๆ และมรรคคือวิธีดับทุกข์หรือวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งประสงค์ คือความสงบสันติ ซึ่งเป็นการกระทำการปฏิบัติเพื่อไปยังเป้าหมายหรือไปยังผลที่ต้องการ คือจากเหตุที่ถูกต้องไปสู่ผลที่ต้องการ ในทีนี้ยังไม่ขอกล่าวถึงเรื่องปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นบรมสุขที่แม้แต่พระพุทธองค์ ยังทรงเสวยวิมุตติสุขหลังจากที่ตรัสรู้โดยการเข้านิโรธสมาบัติ พิจารณาปฎิจจสมุปบาทเป็นเวลาถึงเจ็ดวัน เป็นธรรมซึ่งละเอียดกระทั่งเกิดความไม่แน่ใจว่าจะมีมนุษย์ผู้ใดสามารถเห็นแจ้งแทงตลอด กระทั่งเกิดความลังเลใจเมื่อครั้งก่อนการที่จะเผยแพร่พระศาสนา.....
หากพิจารณาความคลายคลึงกันของกฎวิภาษวิธีวัตถุนิยม แล้วคงเป็นการเข้าใจหรือมองเห็นถึงสรรพสิ่งตามที่เป็นโดยธรรมชาติ เพียงเท่านนั้นเอง...!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น