วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563

White Butterfly II...(Butterfly effect)

           ทฤษฎี ผีเสื้อขยับปีก..เป็นทฤษฎีที่ค้นพบในปี 1976 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เอ็น ลอว์เร็นซ์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ที่ใช้ชีวิตกับการป้อนข้อมูลตัวเลขเข้าแบบจำลองคณิตศาสตร์ ตัวเลขดังกล่าวปรกติแล้ว มักประกอบด้วยตัวเลขหลังจุดทศนิยมหลายหลัก มีัวันหนึ่งเกิดขี้เกียจป้อนตัวเลขหลังจุดทศนิยมหลายๆหลัก เลยปัดเศษทศนิยมออก ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่สำคัญเลยในทางสถิติ เพราะที่ตัดออกเป็นหลักที่สี่หลังจุดทศนิยม ซึ่งก็เป็นเพียงแค่หนึ่งในหมื่นที่น้อยมากๆ  แค่พอกลับมาดูผลการจำลองอากาศที่เกิดขึ้น กลับต้องตกใจ เพราะสภาพอากาศที่จำลองขึ้นมีความแตกต่างกันออกไป จากการพยากรณ์แบบเดิมที่เึคนใส่ตัวเลขหลังจุดทศนิยมทั้งหมดอย่างสุดขัุ้้ว สรุปได้ว่า แค่ผีเสื้อยับปีกในไทย อาจไปทำให้เกิดทอร์นาดโดในอเมริกาได้ ในทางตรงข้าม เราก็อาจหยุดทอร์นาโดที่กำลังก่อตัวได้ ด้วยการทำให้เกิดลมเล็กๆ ก็อาจตเป็นไปได้ที่จะทำให้ทอร์นาโดเปลี่ยนทิศ หรือลดวามรุนแรงลงได้
           ตัวอย่างในด้วนสังคมศาสตร์ ขอเร่ิมด้วยครู่ใหญ่ชขาวญี่ปุ่น ติดสมการชุดหนึ่งไว้หน้าห้องเรียนเป็นการเปรียบเทียบระหว่างผลคูณขจอง 0.99 กับ 1.01 ซึ่ีงตัวเลขต่างกันเพียง 0.02 ซึ่งต่างกันน้อยมาก แต่เมื่อคูณกันซ้ำๆ  365 วัน ผลลัพธ์กลับต่างกันอย่างสิ้นเชิืง ครูใหญ่ท่านนี้ กำลังพู๔ถึง "ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก" ที่เราตค้องพยายามทำ แต่ถ้าเราถอยแม้เพียงก้าวเล็กๆ เราอาจแพ้อย่างไม่เห็นฝุ่น แต่หากเราพยายามอีก และทำต่อเนื้องด้วยระยะเวลานาน ผลที่ได้อาจไปไกลกว่าอย่างคิดไม่ถึง
            การสะท้อนความจริงนี้เรื่องการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลพวงจากใครที่พยายามพัฒนาองค์กร ซึ่งมักพบคำถภามว่าเมื่อเราเริ่มแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเปลี่ยนแปลงรนะยะเวลาสั้นๆ จะไปทำอะไรได้ จริ์แล้วในทาง Organization Development-OD มีวิธีการสร้าง "Butterfly Effect ซึ่งทุกศาสตร์ ประยุกต์ใช้หลักการนี้ได้ กล่าวคือ
            Heard-of-it จะทำอะไรสักอย่างเพียงให้คนได้ยินก่อน เมื่อเคยได้ยินได้ฟังแล้ว....
            Try-it ลองทืำดู กล่าวคึอเมื่อได้ยินได้ฟังในสิ่งๆ หนึ่งใดๆ แล้ว กระทั้งเข้าใจในระดับหนึ่ง เพื่อจะให้แน่ใจในความคิดของตนจึงต้องเกิดการลองทำ ถึงจะรู้ผลลัพท์ฺ 
            Like-it แล้วจะเห็นว่ามีใครสัุกคนในกลุ่มนั้นชอบสิ่งที่กระทำอยู่
            Champion-it สุดท้ายก็จะมีใครสักคน สนับสนุนสิ่งที่ทำนั้น พอถึงจุดนี้ ก็นจะไม่ต้องพยายามาก เพราะคนทีสนับสนุนสิ่งที่ทำนั้นจะไปสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อๆไป..ทำให้สิ่งที่เกิดจากความคิดริเร่ิมนั้นขยายวงกว้างไปอย่างที่คิดไม่ถึง...
            แม้เราไม่ได้เป็นคนสำคัญอะไร เราเป็นเพียงผีเสื้อธรรมดาๆ เพียงเราคิดอะไรดีๆ แล้วลองกระพือปีกเล็กๆ ของเรา เราก็สร้างการเปลียนแปลงให้กับอนาคตของเราได้แล้ว มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ ลอง "ขยับปีกผีสื้อ" ในตัวคุณดู...



                           "บางส่วนจาก ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก The Butterfly Effect โดย ภิญโญ รัตนาพันธุ์"


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...