สงครามครูเสด หรือ อัลฮุรุบอัศศอลีบียะหฺหรือ อัลฮัมลาส อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า สงครามไม้กางเขน คือสงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่าชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งสำคัญระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11-13
ชาวเติร์ก เป็นคนส่วนใหญ่ของตุรกีในปัจจุบันมีพื้นเพดั้งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนแบ่งเป็นหลายเผ่าเป็นหลายเผ่าด้วยกัน เดิมที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาอัลไตในเอเซียกลาง กระทั่งในราวศตวรรษที่ 6 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและการเมือง ทำให้ชาวเตร์กต้องเร่ร่อนไปในดินแดนต่าง ๆ
ชาวเติร์กเผ่าหนึ่งคือเผ่าเซลจุก เลือกอพยมายังพื้นที่”อนาโตเลีย”(ดินแดนตะวันตกเฉียงใต้ของเอเซียที่เชื่อมต่อระหว่างเอเซียกับยุโรป ปัจจุบันคือพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี) และได้พยายามเข้าตีเมืองเมืองอิซนิก ที่อยู่ใกล้กรุงคอนสแตนโนเปิล แห่งอาณาจักรไบแซนไทน์ เพื่อยึดเป็นเมืองหลวง แต่ว่าไม่สามารถตีเมืองได้จึงถอยไปปักหลักอยู่ในอานาโตเลียตอนกลาง พร้อมสถาปนาอาณาจักแห่งแรกของตนขึ้น โดยเลือกเอาเมืองคอนยาเป็นราชธานี
จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด คือ หลังจากพระเยซูครัสต์สิ้นพระชนม์ แผ่นดินที่พระเยซูคริสต์มีชีวิตอยู่ คือ เมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเธ และเยรูซาเล็มถูกเรียกว่าเป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาวคริสเตียนจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญของชาวซัลจู๊ค(มุสลิม)ด้วยเช่นกัน เมื่อมุสลิมเข้ามามีอำนาจ ครอบครองซีเรีย และเอเชียไม่เนอร์ของไบแซนไทน์ ชัยชนะของซัลจูค(มุสลิม)ในการยุทธที่นามซิเคอร์ทเป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์ และไม่กี่ปีต่อมาซัลจู๊ล(มุสลิม)ก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก
ชนวนเหตุของสงครามครูเสดคือการคุกคามทางทหารต่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลปราการทางตะวันออกของชาวคริสต์ เมืองนี้ตั้งขึ้นโดยคอนสแตนติน จักรพรรดิโรมันองค์แรกที่กลับใจมาเป็นคริสต์ ผู้สืบราชสมบัติต่อจากคอนสแตนติน บนบังลังก์ปห่งไบเซนไทน์ต้องรับมือกับผุ้รุกรานทุกพวกจากเอเชีย พวกไผเซนไทน์เรียกผู้รุกรานเหล่านี้ว่า ซาราคีโนส(Sarakeaos)แปลว่า ชาวตะวันออก และคำว่า ซาราเซ็น (Sarasen)ก็ได้กลายเป็นคำที่ทำให้เกิดมโนภาพถึงนักรบที่เชี่ยวชาญในการต่อสู้อย่างบ้าคลั่ง พวกผู้รุกรานเหล่านี้พวกหลังสุด ดุร้ายที่สุดและเป็นมุสลิมผู้มีศรัทธา คือพวกเซลจุก เติร์ก พวกเขาตีชาวไบเซนไทน์นับพันๆ แตกพ่ายในการรบใกล้แมนซีเคอร์ท พวกเซลจุก เติร์กได้ยึดเอาดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง
จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ทรงตื่นตระหนกเพราะอิสลามกำลังเข้าใกล้กรุงคอนสแตนติโนเปิล จึงได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรี่ที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนช่วยปราบเติร์ก ซึ่งสันตะปาปาก็ตอบรับการของความช่วยเหลือ เพราะนั้นเท่ากับว่า ศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำของนิกายโรมันคาทอลิกโดยสิ้นเชิง อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
(คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เรียกโดยย่อว่า คริสจักรออร์ทอดอกซ์ หรือ คริสตจักรไบแซนไทน์ เป็นคริสจักณที่ใหญ่เป็นที่สองของคริสต์สาสนาในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก โดยแบ่งเป็นคริสจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดรหรือมุขนายกเป็นของตนเอง ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญแอนดรูย์)
แรงจูงใจที่สำคัญ คือ กษัตริย์ผรังเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม อัศวันและขุนางต้องการผจญภัยแสดงความกล้าตามอุดมคติ ทาสต้องการเป็นอิสระ เสรีชนต้องการความรำรวยและแสดงศรัธทาต่อศาสนา รวมทั้งความพยายามของพระสันตะปาปาในอันทีจะรวมคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ให้เข้ากับนิกายโรมันคาทอลิก ภายใต้การบัคับบัญชาของตนผู้เดียว
พระสันตะปาปาเกรกกอรี่ที่ 7 ได้เรียกร้องร้องให้ทำสงครามครูเสด กล่าวถึงควมจำเป็นที่จะต้องทำเพราะเป็นคำสั่งของพระเจ้า แต่ทว่าได้สิ้นพระชนม์ก่อน จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ได้ขอร้องทำนองเดียวกันไปยังพระสันตะปาปาคนใหม่ คือ เออร์บานที่ 2 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทรงเรียกร้องให้ประชาชนทำสงครามครูเสดเพื่อกอบกู้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุง เยรูซาเล็มคืนจากอิสลาม… คำปราศัยของประสันตะปาปา..
“ด้วยพระบัญชาของพระเจ้า ให้เจ้าหยุดยั้งการทำสงครามกันเอง และให้เขาเหล่านั้นหันมาถืออาวุธมุ่งหน้าไปทำลายผู้ปฏิเสธ(มุสลิม)
เมือเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมได้ครอบครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ ผู้นำโลกอิสลามได้เข้ายึดครองดินแดนแห่งนี้ซึ่งเป็นยุคของเคาะหฺลีฟะหฺอุมัร อาณาจักรอิสลามทีเป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และคริสต์ ในปัจจุบันคือ ประเทศ “อิสราเอล” ชาวมุสลิมครอบครอง เมืองนาซาเรธ เลธเลเฮม และเมืองสำคัญทางศาสนาอีกหลายเมือง
วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
อายะฮฺ
"การสู้รบนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว ทั้งๆ ที่มันเป็นที่รังเกียจแก่พวกเจ้า
และอาจเป็นไปได้ว่าการที่พวกเจ้ารังเกียจสิ่งหนึ่ง ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีแก่พวกเจ้า
และก็อาจเป็นไปได้ว่าการที่พวกเจ้าชอบสิ่งหนึ่ง ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายแก่พวกเจ้า
และอัลลอฮ์นั้นทรงรู้ดีแต่พวกเจ้าไม่รู้"
อัล-บะกอเราะฮ.2:216
สำหรับการเผยแพร่ศาสนาอิสลามเป็นไปอย่างยากลำบากในเพาะต้องหลบๆ ซ่อนๆ จากพวกปฏิเสธศรัทธาชาวมักกะฮฺ พวกกุเรซ(ตระกูลเครือญาติของท่านนบีในนครมักกะฮฺ)พยายามทำทุกวิถีทางที่จะขัดขว้างการเติบโตของอิสลามแทนความเชื่อเดิมๆ ที่พวกตนยึดถือ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงถูกปองร้าย กลั่นแกล้ง กล่าวหา หรือแม้กระทั่งลอบสังหาร
ช่วงเวลาเดียกันบรรดาอัครสาวกก็ได้รับการทารุณกรรม ด้วยวิธีที่ไร้มนุษยธรรมเพื่อบังคับในละทิ้งอิสลาม และกลับสู่ศาสนาเดิม
เหตุการณ์เป็นดังนี้ตลอดระยะเวลา 13 ปี แต่ อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ยังไม่ทรงอนุมัติให้มีการตอบโต้ ต่อสู้ใดๆ แต่ยังคงให้สนองตอบด้วยการอดทนอดกลั้น และ้ให้เชื่อมั่นและยำเกรงพระเจ้า การครั้งนี้ยิ่งกลับทำให้จำนวนมุสลิมเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ
กระทั่ง ท่านร่อซูล ศ็อลลััลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ได้รับคำสั่งให้ทำาการลี้ภัย อพยพ จากนครเมกกะฮฺ สูนครมาดีนะฮฺ
อายะฮฺ(บัญญัติ) จึงถูกประทานลงมาซึ่งเป็นอายะฮฺแรกที่อนุญาตให้ทำการต่อสู้กับการถูกข่มเหงรับแก
ช่วงเวลาเดียกันบรรดาอัครสาวกก็ได้รับการทารุณกรรม ด้วยวิธีที่ไร้มนุษยธรรมเพื่อบังคับในละทิ้งอิสลาม และกลับสู่ศาสนาเดิม
เหตุการณ์เป็นดังนี้ตลอดระยะเวลา 13 ปี แต่ อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ยังไม่ทรงอนุมัติให้มีการตอบโต้ ต่อสู้ใดๆ แต่ยังคงให้สนองตอบด้วยการอดทนอดกลั้น และ้ให้เชื่อมั่นและยำเกรงพระเจ้า การครั้งนี้ยิ่งกลับทำให้จำนวนมุสลิมเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ
กระทั่ง ท่านร่อซูล ศ็อลลััลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ได้รับคำสั่งให้ทำาการลี้ภัย อพยพ จากนครเมกกะฮฺ สูนครมาดีนะฮฺ
อายะฮฺ(บัญญัติ) จึงถูกประทานลงมาซึ่งเป็นอายะฮฺแรกที่อนุญาตให้ทำการต่อสู้กับการถูกข่มเหงรับแก
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555
Opium Wars
ฝิ่นเป็นยาเสพย์ติดที่ชาวจีนติดกันอย่างงอมแงมและติดกันมานาน ใน สมัยราชวงศ์ชิง รัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้น เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา
ฝิ่นนำเข้ามาขายในประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ชิงโดยอังกฤษนำเข้าในนามบริษัทอีสต์อินเดีย จำกัดแต่ด้วยวิธีทางเมืองของจีน ทำให้อังกฤษค้าขายกับจีนลำบาก อังกฤษขาดดุลการค้ากับจีน จังหาวิธีด้วยการนำข้าฝิ่นมาขายโดยอ้างว่าฝิ่นเป็นยา ต่อมาชาวจีนจึงติดฝิ่นงอมแงม ประเทศที่ค้าฝิ่นกับจีน ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และรัฐเซีย โดยมีการนำเขาอย่างมโหราฬ ทั้งที่ทางการประกาศห้ามจำหน่ายและสูบฝิ่น แต่ราษฎรทั่งประเทศติดฝิ่น เงินทองหมดไปกับการสูบฝิ่น วิธีการของอังกฤษคือ ใช้กำลังทหารคือกองเรือข่มจีน และติดสินบนพวกขุนนางกังฉินชั้นสูง
รัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวง พรองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวีเป็นตรวจราชการ สอง มณทฑ เป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีย หลิน’รู้ว่าอังกฤษปลูกฝิ่นที่อินเดียมานานแล้ว แต่การปราบปรามการค้าฝิ่นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก จึงต้องใช้กฎหมายของประเทศ ประกาศให้ชุมชนตางชาติทราบว่า การค้าฝิ่นเป็นการผิดกฎหมายของจีน ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย พวกพ่อค้าจีนที่มีความสัมพันธ์อันดีกับต่างชาติรู้ถึงการประกาศของหลิน..พวกเขาจึงระมัดระวังตัว
ขณะนั้น กับตันเรืออังกฤษ ชาล์ส เอลเลียต และนายวิลเลียม จอร์ดีน อยู่ที่มาเก๊าได้ประกาศลาออกจากบริษัทเพื่อเดินทางกลับอังกฤษ
เอเลียตพยายามทุกวิถีทางทั้งติดสินบนและใช้กำลังข่มขู่แต่ไม่เป็นผล
หลินบีบบังคับทางอังกฤษโดยการดึงคนงานทั้งหมดของจีนออกจาโรงงานของอังกฤษ แต่ทางอังกฤษก็ไม่ยอมออกจากโรงงาน
เมือเอเลียตถูกบีบบังคับ จึงแสดงความรับผิดชอบ แต่เห็นจะเป็นการตอบโต้ที่หลินก็คาดไม่ถึงโดยการรับซื้อฝิ่นทั้งหมดจากพ่อค้าชาวอังกฤษที่อยู่ในกวางตง และทำหนังสือไปบอกแก่หลิน แจ้งจำนวนฝิ่นทั้งหมดที่มีอยู่ คือ 20,283 หีบ ราคา กว่า สองล้านปอนด์ ส่งมอบให้หลินเพื่อนำไปทำลาย แต่การนี้เอเลียต ได้ทำการโอนฝิ่นทั้งหมดเป็นของรัฐบาลอังกฤษ
หลินทำการทำลายฝิ่น หลินพยายามกวาดล้างให้ถึงต้นต่อคือแหล่งปลูกฝิ่นหรือที่อินเดีย พยายามหาแหล่งข่าวการขนฝิ่น และมีหนังสือถึงพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษ เพื่อให้อังกฤษยุติการค้าและโรงงานผลิตฝิ่น แต่จดหมายไม่ถูกเปิดอ่าน
เอลเลียต หลังจากที่ทำสัญญาส่งฝิ่นแล้วเขาออกคำสังให้ชาวอักฤษรวมทั้งคนในบังคับอังกฤษออกจากกว่างตงทั้งรวมทั้งให้นำรือสินค้าทั้งหมดออกจากแม่น้ำเพิร์ลรวมทั้งมาเก๊า และฮ่องกง ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้พ่อค้าชาวจีนเห็นเป็นจริง และรอคำตอบจากลอนดอน
เมื่ออังกฤษถอนตัวออกไปแล้วราคาฝิ่นถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้มีการลักลอบขนฝิ่นมาขาย
เกิดเหตุการณืลูกเรืออังกฤษชกต่อยกับคนจีน ทำให้คนจีนถึงแก่ความตาย ซึ่งกามกฎหมายกว่างตงต้องขึ้นศาลจีน แต่เอลเลียตไม่ยอม เอลเลียตได้พิพากษาโดยใช้กฎหมายอังกฤษ ให้จำคุกตามโทษานโทษทั้งหกคนและสุดท้ายได้รับการปล่อยตัว พ้นผิดทังหมด ทำให้หลิน..ไม่พอใจ
จากกรณีนี้หลินจึงนำเอามาเป็นขอ้อ้างเพื่อจะควบคุมชาวต่างชาติ เชาสั่งให้ชาวอังกฤษหยุดทำการค้าขายที่กว่างตง …
หลังจากเหตุการนี้เกิดการปะทะทางเรื่อระหว่างจีนกับอังกฤษ การกล่าวอ้างของเอลเลียตที่เป็นฝ่ายเปิดฉากยิง คือนาทหารจีนไม่มีอำนาจที่จะอนุญาตให้ซื้ออาหารและน้ำได้นอกจากหลินคนเดียว .. การเปิดศึกครั้งนี้จึงกลายเป็นสงครามฝิ่นไปในที่สุด
ในปี พ.ศ. 2385 กองทัพอังกฤษบุกเข้ายึดเมืองนานกิงได้ กระทั้งในทีสุดจีนจำเป็นที่ต้องเจรจาสงบศึกกับอังกฤษ ที่เมือนานากิงนั้เอง และยอมเซ็นสันธิสัญญาที่ชาวจีนถือเป็นความอัปยศที่สุด คือ สนธิสัญญานานกิง
เนื้อหาในสนธิสัญญาฉบับนี้ อังกฤษบังคับให้จีนเปิดเมืองท่าตามชายทะเลเพื่อค้าขายอับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนจีน คนที่ถือสัญชาตอังกฤษ จะไม่ต้องขึ้นศาลจีน รวมทั้งสิทธิใดๆ ที่อังกฤษได้ ต่างชาติอื่นๆ ก็ต้องได้ด้วยแม้ว่าเนื่อหาของสนธิสัญญานี้ จีนจะเสียเปรียบอย่างมาก แต่จีนก็จำต้องเซ็นสัญญา..
Cold War
สงครามเย็น เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่มที่มีอุตมการณ์ทางการเมืองและระบอบการเมืองต่างกัน เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายหนึ่งคือ สหภาพโซเวียต เรียกว่า ค่ายตะวันออก ซึ่ง ปกครองด้วยระบอบคอมมิงนิสต์ อีกฝ่ายหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกา และกลุ่มพันธมิตร เรียกว่า ค่ายตะวันตก ซึ่งปกครองด้วยระบอบเสระประชาธิไตย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งสองฝ่ายได้แข่งขันในด้านการสะสมอาวุธ เทคโนโลยีอวกาศ "การจารกรรม" เศรษฐกิจ และ “สงครามตัวแทน”
จารกรรม คือการล้วงความลับจากคู่แข่งหรือศัตรูเพื่่อให้เปรียบทางการทหาร การเมือง หรือเศรษฐกิจ
จารชน คือ บุคคลที่รัฐส่งไปล้วงความลับจากศัตรูหรือฝ่ายที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งความลับทางการทหาร แต่แาจรวมถึงการล้วงความลับจากตางบริษัท เรียกว่า จารกรรมทางอุตสาหกรรม..
โดยทั่วไป จารกรรมกระทำโดยพลเมืองของประเทศเป้าหมาย ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการกบฎ หลายประเทศถือว่าจารกรรมเป็นความผิดอาญา ต้องได้รับโทษประหารชีัวิตหรือจำคุตลอดชีวิต เช่น สหรัฐอเมริกากำหนดห้จารกรรมเป็นความผิดอาญาขั้นอุกฤษฎ์โทษ สหราชอาณาจักร จาชนต่างชาติจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 14 ปีภายใต้ พระราชบัญญัติความลับของราชการ..
ในระหว่างสงครามเย็น มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับจารกรรมบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับความลับด้านอาวุธนิวเคลียร์ ปัจจุบันใช้สายลับกับการค้ายาเสพติดโดยผิดกฎหมาย และ การก่อการร้าย
การจารกรรม เป็นกิจกรรมทางการข่าวที่มีอันตรายต่อชาติที่ถูกกระทำทั้งในยามปกติและยามสง
คราม ฝ่ายที่ถูกระทำจังต้องใช้ความพยายามอยางเต็มที่ในการต่อต้าน ทำลายล้างข่ายงานจารกรรมนั้นให้หมดสิ้นไป ซึ่งเป็นสายงานด้านการต่อต้านข่าวกรอง
สงครามเกาหลี
เป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(เกาหลีเหนือ)กับสาธารณรัฐเกาหลีใต้ โดย เกาหลีเหนือได้รับการสนับสนุนทางการทหารจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียต ส่วนเกาหลีใต้ได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจกาองค์การสหประชาชาติ
สงครามครั้งนี้เป็นผลมาจากการแบ่งแยกประเทศเกาหลีงการเมืองด้วยข้อตกลงของฝ่ายสัมพันธมิตรในการปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นเมือสิ้นสุดสงครามมหาเอเซียบุรพา กล่าวคือ บริเวฯคาบสมุทรเกาหลีอยู่ภายใต้กาปกครองของจักรวรรดิญีปุ่น กระทั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญีปุ่นประกาศยอมจำนนต่อสหรัฐอเมริก คณะผู้บริหารญีปุ่นฝ่ายอิมริกได้แบ่งให้กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้าปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเขตตั้งแต่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือลงมาส่วนบริเวฯที่อยู่เหนืเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือนั้นอยู่ในความควบคุมของสหภาพโซเวียต
ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งอยางเสรีในคาบสมุทรเกาหลีทำให้ความแตกแยกของประเทศเกาหลีทั้งสองฝั่งร้าวลึกผระเทศเกหลีฝั่งเหนือได้จัดตังรัฐบาลคอมมิวนิสต์ เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ ได้กลายเป็นเส้นแย่งแดนระหว่างเกาหลีโดยปริยาย…
สงครามเวียดนาม
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการเวียดมินห์ ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยโฮจิมินห์ เป็นผู้นำระยะแรก การดำเนินการนั้น เพียงเพื่อหวังว่าจะขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศไปเท่านั้น แต่ในปีค.ศ. 1944 พวกเวียดมินห์ตังกองปัฐชาการกองโจรขึ้นได้โดยได้รับการสนับสนุนกำลังและอาวุธจากสหรัฐฯ
เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน คือ ญี่ปุ่นได้ปลดอาวุธและขังทหารฝรั่งเศสประจำอินโดจีน จึงเป็นเหตุทำให้ฝรั่งเศสนั้นเสียศักดิ์ศรีมาก เพราะขณะเกิดเรื่องนี้ ญี่ปุ่นกำลังจะแพ้สงคราม ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ขาวเวียนามกลุ่มต่างๆ ดิ้นรนเพื่อเอกราช…
กลุ่มเวียดมินห์นั้นได้สั่งให้ประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น ได้ผลดีมากในทางภาคเหนือของประเทศ โดยมีเจตนาแอบแฝงคือป้งกันไม่ให้ฝรั่งเศสกลับมามีอำนาจในเวียดนามอีก จัรพรรดิเบาไต๋ได้สละตำแหน่งประมุข แล้วจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว และวประกาศเอกราชในเวลาต่อมา ความสำเร็จในการยึดอำนาจในครั้งนี้ทำให้พวกคอมมิวนิสต์ที่ปะปนอยู่ในหมู่ชาตินิยมเวียนามสามารถตั้งตนในหมู่คณะชั้นนำของขบวนการปฏิวัติได้อีก
มหาอำนาจผู้ชนะสงครามได้เข้ายึดครองเวียดนาม โดยมีอังกฤษเข้ายึดครองภาคใต้ของเวียดนาม จีนคณะชาติยึดครองทางภาคเหนือของเวียดนาม สำหรับฝรั่งเศษมีทหารเล็กน้อยได้มาถึงไซง่อน แล้วไปยึดตึกที่ทำการของรัฐบาล รื้อฟื้นอำนาจของฝรั่งเศสใหม่
โฮจิมินห์พยายามที่จะเอาชนะฝรั่งเศส โดยเล็งเห็นความเสียเปรียบ จึงได้ทำการรวบรวมชาวเวียดนามที่มีหัวชาตินิยมไปเป็นพวก และเพื่อเป็นการปกปิดการหนุนหลังคอมมิวนิสต์ พร้อมกับแสดงให้ประชาชนเห็นว่าเป็นขบวนการผู้รักชาติโดยสั่งยุบพรรคคอมมิวิสต์อย่างเปิดเผย และจัดตั้ง แนวแห่งชาติ ขึ้นแทน ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์นั้นได้กลายเป็นองค์กรใต้ดิน ดำนินการอย่างลัลๆ ต่อมาเป็นเวลานาน…
วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555
Three Kingdom
กวนอูแทนคุณ
เมือครั้งโจโฉยกทัพเรือเพื่อจะมาตีเกงจิ๋ว ในครั้งนั้นซุนกวน และจิ่วยี่รวมถึงขุนนางทั้งหลายจะไม่ทำการสู้รบ ยังตกลงความมิได้ ทางฝ่ายเล่าปี (จ๊กก๊ก) เห็นว่าหากซุนกวนยอมสวามิภักดิ์แผ่นดินย่อมตกเป็นของโจโฉ จึงสงขงเบ้งไปหาซุนกวนและจิวยี่
ขงเบ้งต้องเจรจาและเกลี้ยกล่อมพร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าหากสวามิภักดิ์ต่อโจโฉเท่ากับยกแผ่นดินในโจโฉ กระนั้นก็ไม่เป็นผล ขงเบ้งจึงว่าแก่ซุนกวนและจิวยี่เป็นทำนองว่า ถ้าเช่นนั้นก็ยก แม่นางเกี้ยวทั้งสอง ซึ่งมีรูปงามและเป็นเมียของซุนกวนและจิวยี่ให้โจโฉจึงหมดเรื่อง กล่าวต่อว่าอันที่จริงโจโฉต้องการแผ่นดินเกงจิ๋ว ที่ยกทัพมาหมายจะได้แม่นางสองเกี้ยวเท่านั้น เมือซุนกวนและจิวยี่ได้ฟังดังนั้นก็โกรธจึงตัดสินใจทัพสงครามกับทัพโจโฉ…
เมือกองทัพเรือโจโฉ บุกเข้ามาจิวยี่เป็นแม่ทัพเข้าต่อสู้กับทัพโจโฉ ด้วยทัพโจโฉมีลี้พลจำนวนมากและมีทหารเอกเป็นจำนวนมากจึงมิหาวิธีที่จะไปรบอย่างไร จึงผูกอุบายเชิญขงเบ้งว่าจะปรึกษาการสงครามแก่โจโฉ โดยให้พี่ชายขงเบ้ง คือ จูกัดกิ๋นมาเชิญโจโฉไปยังกองทัพ
โจโฉรู้ว่าการครั้งนี้ร้ายมากว่าดี แต่จำต้องไป โจโฉบอกวิธีการเอาชนะกองทัพเรือแก่จิวยี้ว่า ไฟและลม ให้เตรียมไฟไว้ด้วยขงเบ้งได้ทำอุบายให้ทัพเรือโจโฉโยงเรือติดกัน หากลำหนึ่งไหม้ไฟก็จะลามไปยังลำอื่นๆ ที่นี้ก็เหลือเพียงลมซึ่งต้องทำพิธีเรียกลม อันที่จริงขงเบ้งมีความรู้ทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ และพยากรณ์ศาสตร์จึงรู้ว่าเดือนใด ปีใด และวันใดลมสลาตันจะพัดมา เมือใกล้ถึงวันทีลมสลาตันจะมา จึงให้จัดทำพิธีและหาทางหนีทีไล่ …
เมือเหตุการณ์เป็นไปดังนี้ทัพเรือโจโฉจึงแตกพ่ายให้แก่จิวยี่
ซุนกวนซึ่งมาตั้งทัพอยู่ ครั้นเห็นแสงเพลิงไหม้ทัพโจโฉจึงรู้ว่าจิวยยี้ชนะกองทัพโจโฉ จึงให้ลกซุนจุดเพลิงขึ้นเป็นสัญญาณ โจโฉและทหารน้อยใหญ๋พากันหนี พอเห็นว่าไกลจากแสงไฟแล้วจึ่งรู้สึกโล่งใจ
โจโฉหัวเราะ สามครั้ง เหตุที่โจโฉหัวเราะ คือ เมื่อถึงที่ที่จะให้ทหารมาซุ่มโจมตี หรือที่คับขันโจโฉมิเห็นทหารจึงหยันความคิดของขงเบ้งและจิวยี่ แต่เมื่อสิ้นเสียงหัวเราะของโจโฉคราใดทหารฝ่ายตรงข้ามจำต้องมาล้อมจับโจโฉทุกทีไป
ในครั้งที่ หนึ่ง จูล่งเป็นผู้มาทำการดักจับโจโฉหนีไปได้
ในครั้งที่ สอง เตียวหุยทำการจับตัวโจโฉ และโจโฉหนีไปได้ ทหารทั้งปวงแตกหนีไป
ในครั้งที่ สาม กวนอูจับตัวได้ และหลีกทางให้โจโฉทำการหลบหนี
“ฝ่ายกวนอูครั้นเปิดทางให้โจโฉแล้ว จึงคุมทหารกลับมาถึงหน้าค่ายแฮเค้าพร้อมกันกับเตียวหุย จูล่ง ในขณะนั้นเตียหุย จูล่งได้ทหารแลม้ากับเครื่องศัสตราวุธสิ่งทของต่างๆ เข้าไปให้ขงเบ้ง ขงเบ้งครั้นรู้ว่ากวนอูมาถึงหน้าค่ายจึพาเล่าปี่ทำเป็นออกไปรับ แล้วว่าแก่กวนอูว่า
ขงเบ้ง: ตัวเราว่าท่านผู้มีน้ำใจช่วยทำนุบำรุงแผ่นดินไปได้ศีรษะโจโฉซึ่งเป็นศัตรูราชสมบัติมา เราออกมารับท่านสด้วยความยินดี (กวนอูได้ฟังดับนั้นก็นิ่งอยู่ )
ขงเบ้ง: ท่านน้อยใจเราหรือว่าไม่ไปรับถึงกลางทาง แล้วว่าแก่ทหารทั้งปวงว่า เหตุใดจึงไม่บอกข่าวให้เรารู้ก่อนจะได้ไปรับกวนอู ..
กวนอู: ข้าพเจ้าจะมารับโทษขงเบ้งแกล้งถามว่า ท่านไปไม่พบโจโฉ จะกลับมาเอาศีรษะเราหรือ ..
กวนอู :ข้าพเจ้าไปนั้นพบโจโฉเหมือนคำท่าน แต่ข้าพเจ้าหามีผีมือไม่ โจโฉจึงหนีไปได้
ขงเบ้ง(หัวเราะ): อันตัวโจโฉหนีไปได้นั้นก็ตามทีเถิด แต่ท่านยังจับทหารมาได้บ้างหรือไม่
กวนอู: ถึงทหารโจโฉนั้นข้าพเจ้าก็จับไม่ได้
ขงเบ้ง(ทำเป็นโกรธ):ตัวท่านไปพบโจโฉแล้ว หากคิดถึงคุณเขาอยู่ จึงมิได้เอาศรีษะมานั้นโทษท่านใหญ๋หลวงนัก ซึ่งสัญญาไว้แก่เรานั้นลืมเสียแล้วหรือ
กวนอู:ข้าพเจ้าสัญญาไว้ว่า ถ้าพบโจโฉแล้วมิได้เอาศีรษะมานั้นก็จะให้ศรีษะข้าพเจ้าแทนตามสัญญา
แล้วชักกระบี่ออกมาจะตัดศรีษะให้ขงเบ้ง ขงเบ้งเห็นกวนอูดังนั้นก็เข้ายุคมือไว้แล้ว
ขงเบ้ง:ซึ่งเราใช้ทานไปทั้งนี้ปรารถนาจะให้ท่าแทนคุณโจโฉ มิได้คิดจะเอาโทษท่าน ซึ่งท่านจะให้ศีรษะเราตามสัญญานั้นก็ขอบใจที่มำได้เสียความสัตย์ สมเป็นชาติทหาร …”
เมือครั้งโจโฉยกทัพเรือเพื่อจะมาตีเกงจิ๋ว ในครั้งนั้นซุนกวน และจิ่วยี่รวมถึงขุนนางทั้งหลายจะไม่ทำการสู้รบ ยังตกลงความมิได้ ทางฝ่ายเล่าปี (จ๊กก๊ก) เห็นว่าหากซุนกวนยอมสวามิภักดิ์แผ่นดินย่อมตกเป็นของโจโฉ จึงสงขงเบ้งไปหาซุนกวนและจิวยี่
ขงเบ้งต้องเจรจาและเกลี้ยกล่อมพร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าหากสวามิภักดิ์ต่อโจโฉเท่ากับยกแผ่นดินในโจโฉ กระนั้นก็ไม่เป็นผล ขงเบ้งจึงว่าแก่ซุนกวนและจิวยี่เป็นทำนองว่า ถ้าเช่นนั้นก็ยก แม่นางเกี้ยวทั้งสอง ซึ่งมีรูปงามและเป็นเมียของซุนกวนและจิวยี่ให้โจโฉจึงหมดเรื่อง กล่าวต่อว่าอันที่จริงโจโฉต้องการแผ่นดินเกงจิ๋ว ที่ยกทัพมาหมายจะได้แม่นางสองเกี้ยวเท่านั้น เมือซุนกวนและจิวยี่ได้ฟังดังนั้นก็โกรธจึงตัดสินใจทัพสงครามกับทัพโจโฉ…
เมือกองทัพเรือโจโฉ บุกเข้ามาจิวยี่เป็นแม่ทัพเข้าต่อสู้กับทัพโจโฉ ด้วยทัพโจโฉมีลี้พลจำนวนมากและมีทหารเอกเป็นจำนวนมากจึงมิหาวิธีที่จะไปรบอย่างไร จึงผูกอุบายเชิญขงเบ้งว่าจะปรึกษาการสงครามแก่โจโฉ โดยให้พี่ชายขงเบ้ง คือ จูกัดกิ๋นมาเชิญโจโฉไปยังกองทัพ
โจโฉรู้ว่าการครั้งนี้ร้ายมากว่าดี แต่จำต้องไป โจโฉบอกวิธีการเอาชนะกองทัพเรือแก่จิวยี้ว่า ไฟและลม ให้เตรียมไฟไว้ด้วยขงเบ้งได้ทำอุบายให้ทัพเรือโจโฉโยงเรือติดกัน หากลำหนึ่งไหม้ไฟก็จะลามไปยังลำอื่นๆ ที่นี้ก็เหลือเพียงลมซึ่งต้องทำพิธีเรียกลม อันที่จริงขงเบ้งมีความรู้ทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ และพยากรณ์ศาสตร์จึงรู้ว่าเดือนใด ปีใด และวันใดลมสลาตันจะพัดมา เมือใกล้ถึงวันทีลมสลาตันจะมา จึงให้จัดทำพิธีและหาทางหนีทีไล่ …
เมือเหตุการณ์เป็นไปดังนี้ทัพเรือโจโฉจึงแตกพ่ายให้แก่จิวยี่
ซุนกวนซึ่งมาตั้งทัพอยู่ ครั้นเห็นแสงเพลิงไหม้ทัพโจโฉจึงรู้ว่าจิวยยี้ชนะกองทัพโจโฉ จึงให้ลกซุนจุดเพลิงขึ้นเป็นสัญญาณ โจโฉและทหารน้อยใหญ๋พากันหนี พอเห็นว่าไกลจากแสงไฟแล้วจึ่งรู้สึกโล่งใจ
โจโฉหัวเราะ สามครั้ง เหตุที่โจโฉหัวเราะ คือ เมื่อถึงที่ที่จะให้ทหารมาซุ่มโจมตี หรือที่คับขันโจโฉมิเห็นทหารจึงหยันความคิดของขงเบ้งและจิวยี่ แต่เมื่อสิ้นเสียงหัวเราะของโจโฉคราใดทหารฝ่ายตรงข้ามจำต้องมาล้อมจับโจโฉทุกทีไป
ในครั้งที่ หนึ่ง จูล่งเป็นผู้มาทำการดักจับโจโฉหนีไปได้
ในครั้งที่ สอง เตียวหุยทำการจับตัวโจโฉ และโจโฉหนีไปได้ ทหารทั้งปวงแตกหนีไป
ในครั้งที่ สาม กวนอูจับตัวได้ และหลีกทางให้โจโฉทำการหลบหนี
“ฝ่ายกวนอูครั้นเปิดทางให้โจโฉแล้ว จึงคุมทหารกลับมาถึงหน้าค่ายแฮเค้าพร้อมกันกับเตียวหุย จูล่ง ในขณะนั้นเตียหุย จูล่งได้ทหารแลม้ากับเครื่องศัสตราวุธสิ่งทของต่างๆ เข้าไปให้ขงเบ้ง ขงเบ้งครั้นรู้ว่ากวนอูมาถึงหน้าค่ายจึพาเล่าปี่ทำเป็นออกไปรับ แล้วว่าแก่กวนอูว่า
ขงเบ้ง: ตัวเราว่าท่านผู้มีน้ำใจช่วยทำนุบำรุงแผ่นดินไปได้ศีรษะโจโฉซึ่งเป็นศัตรูราชสมบัติมา เราออกมารับท่านสด้วยความยินดี (กวนอูได้ฟังดับนั้นก็นิ่งอยู่ )
ขงเบ้ง: ท่านน้อยใจเราหรือว่าไม่ไปรับถึงกลางทาง แล้วว่าแก่ทหารทั้งปวงว่า เหตุใดจึงไม่บอกข่าวให้เรารู้ก่อนจะได้ไปรับกวนอู ..
กวนอู: ข้าพเจ้าจะมารับโทษขงเบ้งแกล้งถามว่า ท่านไปไม่พบโจโฉ จะกลับมาเอาศีรษะเราหรือ ..
กวนอู :ข้าพเจ้าไปนั้นพบโจโฉเหมือนคำท่าน แต่ข้าพเจ้าหามีผีมือไม่ โจโฉจึงหนีไปได้
ขงเบ้ง(หัวเราะ): อันตัวโจโฉหนีไปได้นั้นก็ตามทีเถิด แต่ท่านยังจับทหารมาได้บ้างหรือไม่
กวนอู: ถึงทหารโจโฉนั้นข้าพเจ้าก็จับไม่ได้
ขงเบ้ง(ทำเป็นโกรธ):ตัวท่านไปพบโจโฉแล้ว หากคิดถึงคุณเขาอยู่ จึงมิได้เอาศรีษะมานั้นโทษท่านใหญ๋หลวงนัก ซึ่งสัญญาไว้แก่เรานั้นลืมเสียแล้วหรือ
กวนอู:ข้าพเจ้าสัญญาไว้ว่า ถ้าพบโจโฉแล้วมิได้เอาศีรษะมานั้นก็จะให้ศรีษะข้าพเจ้าแทนตามสัญญา
แล้วชักกระบี่ออกมาจะตัดศรีษะให้ขงเบ้ง ขงเบ้งเห็นกวนอูดังนั้นก็เข้ายุคมือไว้แล้ว
ขงเบ้ง:ซึ่งเราใช้ทานไปทั้งนี้ปรารถนาจะให้ท่าแทนคุณโจโฉ มิได้คิดจะเอาโทษท่าน ซึ่งท่านจะให้ศีรษะเราตามสัญญานั้นก็ขอบใจที่มำได้เสียความสัตย์ สมเป็นชาติทหาร …”
Greco - Persian Wars
สงคราม เป็นสมบัติของมนุษยชาติ เป็นสิ่งคู่กับอารยธรรม ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จวบจนปัจจุบัน และสู่อนาคต ไม่มีจบสิ้น อุบายการทำสครามจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยก็คือ อาวุธยุททโธปกรณ์ และอาวุธยุทโธปกร์นั้นก็วิวัตณน์ไปตามอารยธรรมและเทคโนโลยีของของมนุษยชาติ ซึ่งจะพิจารณาได้จากสงครามหรือการรบตามภูมิภาคต่างๆ ในอายุของเรา….
การใช้กำลังเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป็นเครื่องมือของการดำเนินความสัมพันธ์แบบสุดท้าย หลังจากวิธีการแบบอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้วแต่ในบางยุคบางสมัย ก็มีผู้นำที่นิยมใช้สงครามเป็นเสมือน “เกมส์(พระราชา)”เท่านั้น
ร้อยละแปดสิบถึงเก้าสิบของกิจกรรมของมนุษยชาตินั้น ออกมาในรูปของการใช้กำลัง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หมายความว่า มนุษย์ใช้เวลาไปในการสู้รบ มากว่าเวลาที่เอาไปใช้เพื่อการสร้างสรรค์ สิ่งประดิษย์อันยิ่งใหญ่ของมนุษย์จำนวนมาก เกิดขึ้นด้วยแรงผลักดันในความพยายามที่จะทำลายล้างกัน…
เทพแห่งสงคราม
สงคราม กรีก-เปอร์เซีย คือสงครามของพวกกรีกกับชาวเปอร์เซียที่บุกมาจากทางฝั่งอาหรับเข้ามาทางตอนเหนือ ประวัติศาสตร์ได้จดบันทึกวีรกรรมของชาวสปาร์ตา Spsrta ที่ไปรบขวางพวกเปอร์เซียที่มีเป็นแสนด้วยกำลังคนไม่กีพันที่ช่องเขา”เทอร์โมพีเล”หยุดพวกเปอร์เซียได้หลายวันก่อนถูกทำลาย ถ่วงเวลาให้ชาวกรีกมีเวลาตั้งตัวต่อกรกับชาวเปอร์เซียได้สำเร็จในภายหลัง
สงครามเปโลโปนีเซีย สงครามกลางเมือง ระหว่างรัฐของชาวเอเธนส์มหาอำราจทางทะเลกับชาวสปาต้าร์
ชาวสปาร์ตาได้ขอความช่วยเหลือจากพวกเปอร์เซียให้ช่วยต่อเรือสู้กับชาวเอเธนส์ ตัดเสบียงทางทะเลกระทั่งชาวเอเธนส์อดอย่ากยอมแพ้ไปในที่สุด… หลังจากสงครามครั้งนี้รัฐกรีกก็เริ่มทำสงครามกันเรื่อยมาทำให้เสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว และการมาถึงของชาว มาซีดอน
อเล็กซานเดอร์มหาราช
ในขณะที่รัฐของกรีกแตกกระจัดกระจาย ชาวมาซีดอนทางตอนเหนือก็เรืองอำนาจขึ้นมา ฟิลลิปป์ เป็นผู้ที่เริ่มสร้างฐานอำนาจนำกองทัพบุกรัฐกรีกขึ้นเป็นผู้นำสมาพันธ์กรีกกุมอำนาจไว้ในมือ
หลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียชาวกรีกก็ยังแค้นไม่หาย พยายามอย่างย่งที่จะบุกเข้าไปบ้าง ฟิลลิปป์สร้างกองทัพของเขาบ้างหลังจากที่รวมกรีกไว้ได้ แต่ก็มาถูกสัหาร อเล็กซานเดอร์ลูกชายเพียงคนเดียวขึ้นครองอำนาจ นำทัพสู้กับชาวเปอร์เซียบุกลงไปถึง”อียิปต์” จนชาวเปอร์เซียที่เคยรุ่งเรืองมากที่สุดอาณาจักรหนึ่งต้องมาเสื่อมอำนาจไป…
กรีก ในสมัยก่อนคริสตศักราช 600-500ปี กรีกยังไม่ได้รวมกันเป็นประเทศ หรือชาติรัฐ แต่แยกกัน เป็น นครรัฐ ต่างเป็นอิสระแก่กัน ในคาบสมุทรกรีก แต่ละรัฐมีคุณลักษณะ ความสามารถโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป
เปอร์เซีย มีแสนยานุภาพ และยิ่งใหญ่มาก สามารถปราบปรามและยึดครองอาณาจักรต่าง ๆ ไว้ในอำนาจ เป็นที่ครั้นคร้ามยำเกรงแก่กลุ่มชาติต่าง ๆ ในย่ามนั้น ยุคนั้น โดยทั่วไป มีอาณาเขตกว้างขวาง
สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 1
ในปี 492 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ให้มาร์โดนิอุส เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพข้ามช่องเฮิลสปอนต์..และเรือเดินทัพมายังคาบสมุทรกรีกถูกพายุใหญ่ เรื่อส่วนใหญ่อัปปางจึงต้องเลิกทัพกลับ เมือชนะด้วยกองทัพไม่ได้กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 จึงส่งคณะทูตไปยังรัฐต่างๆ ของกรีกเจรจาให้ยอมส่งส่วย แต่มีบางรัฐไม่ยอม อาทิ เอเธนส์ สปาร์ตาร์ เป็นต้น
สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 2
สงครามมารรธอน
ในฤดูร้อน 490 ปีกอ่นคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 จึงให้ ดาติส และ อาร์ตาเปอร์เนส ซึ่งเป็นหลาน เป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบรัฐกรีก
โดยปกติ รัฐต่างๆ ของกรีกมีจะรบพุ่งกันตามเขตแดนเสมอ คาดกันว่า เมื่อได้รับข่าวศึกนั้น รัฐเอเธนส์จะสามารถรวบรวมทหารและจัดเป็นกองทัพที่สามาถทำการรบได้ไม่เกินหนึ่งหมืน คน
ความช่วยเหลือจากรัฐอื่นๆ
สปาร์ตา สัญญาว่าจะช่วยรัฐเอเธนส์สู้รบ แต่เมือกองทัพเปอร์เซียขึ้นฝั่งที่อ่าวอาราธอนนั้น เป็นวันขึ้น 6 คำ ซึ่งตามความเชื่อของชนชาติกรีกยุคนั้นต้องรอให้พระจันทร์เต็มดวงก่อน จึงจะเดินทัพได้ สปาร์ตาจึงยังไม่สามารถส่งกองทหารไปช่วยได้
พลาตาเอ รัฐเล็กๆ ในแค้วนโบเอเตีย ได้ส่งกำลังทหารที่มีอยู่ไปช่วรัฐเอเธนส์ กำลังทหารของรัฐพลาตาเอที่ส่งไปช่วยรบที่ทุ่งมาราธอนนี้ มีจำนวน 1,000 คน ถึงแม้ว่ากำลังทหารจากพลาตาเอจะมีจำนวนเพียงน้อยนิด เทียบไม่ได้กับกองทัพมหาศาลของฝ่ายรุกราน แต่เก็มไปด้วยความมุ่งมั้น และจิตวิญญาณที่จะมาช่วยเหลือในยามคับขัน ทำให้ชาวเอเธนส์รู้สึกว่า ไม่ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว
ทุ่งมาราธอน อยุ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอัตติกา เหนืออ่าวมาราธอน ห่างจากกรุงเอเธนส์ประมาณ 25 ไมล์ มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม จกาชายฝั่งเป็นที่ราบไปถึงเชิงเขาระยะประมาณ 6 ไมล์ กว้างประมาณ 2 ไมล์ สองข้างกระหนาบด้วย ลำน้ำ ภูเขา และหนองน้ำ รอบทุ่งราบนี้เป็นป่าสน มะกอก ซีดาร์ และไม้พุ่มเตี้ยมีกลิ่นหอ
ม
ความมุ่งหมายของกองทัพทั้งสองที่เผชิญหน้ากันอยู่นั้น ฝ่ายหนึ่ง ต้องการชัยชนะเพื่อแผ่ขยายอำนาจ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง ต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เมื่อกาลเวลาผ่านไป ปรากฎว่า ผลของการรบคราวนี้ไม่ได้เป็นแต่เพียงการพ่ายแพ้ หรือชัยชนะของกองทัพ เท่านั้น แต่มีผลไปถึงความเจริญก้าวหน้า และอารยธรรมของมนุษยชาติมาตราบปัจจุบัน
กรีก กองทัพเล็กๆ มีทหารราบไม่เกิน 11,000 ไม่มีพลธนู ไม่มีทหารม้า ต้งอค่ายอยู่บนเนินเขา สามารถมองเห็นการเคลื่อไหวของข้าศึกได้ทุกระยะ
เปอร์เซีย กองทัพมีรี้พลมากมายมหาศาล ถึง 250,000 คน พลากหลายเชื่อชาต ในเครื่องแต่งกายหลากหลายสีสัน กางเต็นท์เรียงรายกันอยู่รอบอ่าวมาราธอน
กองทัพเปอร์เซียนอกจากจะแตกต่างกันในเรื่องดังกล่าวแล้วยังแตกต่างกันในเรื่อง ภาษา วัฒนธรรม ศรัทธา ความเชื่อ และหลักนิยมในทางทหาร แต่กองทัพเปอร์เซียนั้นคุ้นเคยกับชัยชนะ คือเป็น กองทัพที่ไม่รู้จักแพ้
การวางแผนการรบ เนื่องจากกำลังของกรีกน้อยกว่ายี่สิบห้าเท่าจึงต้องพิจารณาแผนอย่างมาก กลุ่มหนึ่งเห็นว่าควรตั้งค่ายอยู่บนที่สูง ตามทานการบุกโจมตี รอกองกำลังจากสปาตาร์..
อีกกลุ่มเห็นว่า ควรรีบเข้าโจมตีก่อนที่ฝ่ายเปอร์เซียจะพร้อมเต็มที่ แต่การโจมตีก่อน เปจะเป็นการเสียงอย่างสูง ฉะนั้น กรีกจึงต้องพยายามเอาชนะทางปีกให้ได้ก่อน ก่อนที่ส่วนกลางจะปราชัย หรือก่อนถูกทหารม้าเปอร์เซียโอบหลัง และเมือเอาชนะด้านปีกได้แล้ว รีบโอบเขช้าด้านหลังกองทัพเปอร์เซีย
ส่วนทางฝ่ายเปอร์เซีย เป็นกองทัพที่ไม่รู้จักแพ้และมีกำลังมากกว่า จึงพิจารณาได้ว่าแทบจะไม่มีการวางแผนเป็นพิเศษ
ฝ่ายเปอร์เซียถูกจู่โจมด้วยการเข้าตีในรูปแบบที่ไม่เคยประสบมากอ่น กองทัพอันใหญ่โตถูกจำกัดให้อยู่ในพ้นที่แคบ ไม่สามารถใช้กำลังรบให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ จึงปราชัยอยางง่ายดายตามหลักฐานว่าต้องสูญเสียทหารเป็นจำนวน 6,400 คนส่วนที่เหลือถอยลงเรือกลับไปได้ ผ่ายกรีก สูญเสีย 192 คน ซึ่งชัยชนะที่ได้รับจากทุ่งมาราธอนในวันนั้น ทำให้ขวัญและกำลังใจของฝ่ายกรีกเข้มแข้ง เลิกกลังความยิ่งใหญ่จากทางฝ่ายเปอร์เซีย
สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 3
ในปี 481 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซีย เคลื่อนทัพจากเอเซียไมเนอร์ โดยใช้ทางเรื่อในครังแรก เรือรบ 600 ลำ สนับสนุนด้วยเรืออื่นๆ อีก 3,000 ลำ ทางบกเคลื่อนทัพในครั้งที่สองเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นดังครั้งก่อนๆ
เมือฝ่ายกรีกได้รับข่าวสงคราม จึงทิ้งเรื่องบาดหมางระหว่างกัน จัดตั้งสหพันธรัฐกรีก เพื่อรวมพลังต่อต้านเปอร์เซีย
ในขั้นแรกไม่มีแผนการที่ชัดเจนที่จะสู้รบกับกองทัพเปอร์เซีย ทางเลือกที่ได้ตกลงกันคือ เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ และสกันกั้นกองทัพเปอร์เซียทางบก ที่ช่องทางผ่านเทือกเขาทางเหนือ ในขณะที่ กำลังทางเรือผสมของกรีกต้องพยายามดึงกองเรือของเปอร์เซียเข้ามาในพ้อนที่จำกัด
ผู้นำสปาร์ตา “ลีโอนิดัส”นำกำลังทหารสปาร์ตา 300 คน ขึ้นเหนือไปยึดช่องเขาเทอร์โมพเล โดยรัฐต่าง ๆ ส่งกำลังมาร่วมด้วยอีก 6,000
ส่วนกองเรือพันธมิตรกรีก เลือกใช้น่านน้ำอาร์ที่มีซีอุมเป็นพื้นน้ำทำการรบ แผนของกรีกได้ผลดี ฝ่ายเปอร์เซียไม่สามารถทำอะไรได้ที่เทอร์โมพิเลได้ ฝ่ายเปอร์เซียจึงพยายามใช้กองเรือล้อมเกาะยูบัว เพื่อเป็นการสกัดกองเรือฝ่ายกรีกให้อยู่ในช่องยูบัว แต่โชคร้ายกองเรือเปอร์เซียถูกพายุทำลายอีก
การรบที่ช่องเขาเทอร์โมพิเล ลิโอนีดัสได้ต่อสู้ต้านทานทัพเปอเซียอยู่ได้หลายวัน เพราะภูมิประเทศเกื้อกูลแก่ฝ่ายตั้งรับ ทหารเปอร์เซียหาทางล้อมฝ่ายกรีกได้ทหารทั้ง 300 คนของสปาร์ตาจึงพลีชีพที่ช่องเขาเทอร์โมปิเลนั้น และกองทัพเปอร์เซียก็มุ่งสู่ เอเธนส์
การรบทางเรื่อที่ซาลามิส
ทัพเรือกรีกมีจำนวนน้อยกว่าจำเป็นที่จะต้อง “ต้อน” ทัพเรือเปอร์เซียเข้าที่แคบ เพื่อจะใช้ “ความสามารถในการรบชดเชยจำนวนที่น้อยกว่า” เพื่อให้แผ่นสำเร็จ จึงทำการเปิดช่องโหว่ทางด้านหลังไม่มีการปอ้งกันระวัง พร้อมปล่อยข่าว ว่ากองเรือกรีกเกรงกลังเปอร์เซียและไม่ลงรอยกันและยังหาทางหนีทัพ เมือข่าวไปเข้าหู้ฝ่ายตรงข้ามพร้อมกับรูปการที่ไม่มีการระวังหลัง ฝ่ายเปอร์เซียจึงเห็นเป็นการจริง จึงเร่องกองเรือเปอร์เซียเข้าบทขยี้กองเรือกรีก…ติดกับ เมือกองเรือที่ยิ่งใหญ่เข้าไปอยู่ในพื้อนที่ที่จำกัด
เรื่อเอเธนส์มีขนาดใหญ่กว่าแต่มีจำนวนน้อยกว่าจึงสามารถดำเนินกลยุทธได้ง่ายกว่า กองเรือเปอร์เซียเหมือนถูกตรึงอยู่ในพื้นที่จำกัด กองเรือกรีกจึงใช้ขนาดเบียดและทำลายพายของฝ่ายกองเรือเปอร์เซียทำให้ไม่สามารถควบคุมเรือได้… ผลของการรบทางการรบทางเรือที่ซาลามิส เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของกรีก
ลาตาเอ การรบครั้งสุดท้ายของ กรีก-เปอร์เซีย
มาร์โดนิอุสเลือการถอยเข้าไปในแค้วนแสซาลี ในฤดูหนาว เมือหมดฤดูหนาวแล้วก็จะนำทัพมุ่งลงใต้เตรียมทำศึกกับกรีกต่อไปดีก
ทางฝ่ายกรีก นั้นเมือพิจารณาและถกกันอย่างกว้างขวางแล้ว สรุปได้วา จะเข้ารุกต่อกองทัพเปอร์เซียของมาร์โดนิอุส ปรากฎว่า รัฐกรีกรวบรวมรี้พลได้ 8 หมืน เป็นทหารราบล้วนไม่มีทหารม้า แม่ทัพสปาร์ตาเป็นแม่ทัพ นำกองทัพกรีกขึ้นเหนือ สู พลาตาเอ
กองทัพทั้งสองเผชิญหน้ากัน ได้ 8 วัน กองทัพกรีกได้อยู่ในภูมิประเทศที่ได้เปรียบ และฝ่ายเปอร์เซียก็หวังที่จะใช้ทหารม้าตีโต้ตอบ แต่ในสนามรบสิ่งที่ไม่คาดคิดอาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ มาร์โดนิอุสได้รับรู้ถึงการย้ายที่ตั้งของฝ่ายกรีก จึงสังห้เข้าโจมตี ทหารกรีกสู้รบอยางกล้าหาญยิ่ง การบดำเนินอยู่นานไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะกระทั่งมาร์โดนิอุสถูกสังหารในการรบ กองทัพเปอร์เซียขากการควบคุม และบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพ จึง พ่ายแพ้อย่างราบคาบ กำลังส่วนที่รอดชีวิตต้องล่าถอยขึ้นไปทางเหนืออย่างรวดเร็ว
วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555
Turks
คาบสมุทรอาราเบียอยู่ทางตะวันตกสุดทวีปเอเซีย เป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในมหาสมุทรอินเดีย ล้อมรอบด้วยทะเลแดง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่ราบสูงอาร์เมเนียและอ่าวเปอร์เซียปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกลุ่มอาหรับ แต่เดิมดินแดนนี้ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย การดำเนินชีวิตมี 2 แบบคือ
พวกเร่ร่อนตามทะเลทราย มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ ต้องเร่ร่อนหาทุ่งหญ้าและแหล่งน้ำ ทำให้ไม่สามารถหนุดตั้งหลักแหล่งได้ ดำเนินชีวิตอยู่ในกระโจมเรียงรายเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกในการโยกย้าย และพวกอาหรับชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพคาขายมีสำพชีวิตสะดวกสบาย อุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง คุมอำนาจทั้งด้านการเมืองและเศษฐกิจ เมืองใหญ่ๆ เหล่านี้ได้แก่ เมกกะ ยาเทรปซึ่งปัจจุบันคือเมืองเมอินา ในคาบสมุทรอราเบีย
ชาวอาหรับไม่เคยรวมกันได้ ไม่มีบทบาททั้งทางการรบและอารยธรรมแต่กลับมีความสำคัญขึ้นอย่างมากเพราะศาสนาอิสลามเป็นสำคัญ
อาณาจักรมุสลิม แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ระยะ ระหว่าง ค.ศ. 632-1258
- สมัยการปกครองของเคาะรีฟะหฺ ค.ศ. 632-661 มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเมดินา ในประเทศซาอุดิอาระเบียปัจจุบัน
- สมัยปกครองราชวงศ์อุมัยยัค ค.ศ. 661-750 มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองดามัสกัส ในประเทศซีเรียปัจจุบัน
- สมัยปกครองราชวงศ์อับบาสิค ค.ศ. 750-1258 มีศูนย์กลางอยู่ที่แบกแดด ในประเทศอิรักปัจจุบัน
ในศตวาษที่ 11 พวกเซลจุค เติร์ก(เติร์กชนเผ่าหนึ่ง) ภายใต้การนำของ เตอร์โก มัน คุซซ์ ได้ตีเมืองแบกอดดได้ กาหลิบราชวงศ์อับบาสิดได้ประทานตำแหน่างผู้สำเร็จราชการให้กับห้วหน้าพวกเติร์ก เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พวกเซลจุคเติร์ก มีอำนาจในอาณาจักรมุสลิมเกือบสองศตวรรษ
ชัยชนะของพวกเซลจุค เติร์ก ครั้งนี้สร้างความหวาดกลัวให้กับอาณษจักรบิแซนไทน์และสัตะปาปาที่กรุงโรม ในที่สุดพวกคริสเตีนได้จัดกองทัพมาปราบพวกเตร์ก กลายเป็นสงครามครูเสด พวกเซลจุค เติร์ก ได้ยึดดินแดนเหนือซีเรียที่เรียว่า อนาโตเลีย หรือพวมุสลิมเรียกว่า “แผ่นดินโรม” ได้เป็นการถาวร ให้เป็นรัฐขึ้นตรงต่อกาหลิบราชวงศ์อับบาสิด มีชาวเตอร์จากดินแดนอื่น ๆ อพยพเข้ามาอยู่ในรัฐที่ตั้งขึ้นใหม่เพิ่มมากขึ้น เท่านกับเป็นการเริ่มต้นของขบวนการทำให้เป็นเติร์ก “Turkification”
ในระยะต้น สุลต่านของพวกเซลจุค เติร์ก แม้จะป่าเถื่อน ขาดการศึกษา แต่ได้ปกครองประเทศอย่างชาญฉลาด โดยอาศัยชาวเปอร์เซียดำรงตำแหน่างเป็นวิเชียร์ เป็นผู้ทำหน้าที่สำคัญ อาณาจักรมุสลิมได้แผ่ขยายอิทธิพลอย่างกว้างใหญ่ไพศาล การปกครองของพวกเซลจุคเติร์ก ได้ให้สิ่งใหม่แก่ศาสนาอิสลาม คือความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ที่รับมาจากทวีปเอเซียตอนกลางนอกจากนี้ได้นำลัทธิอัศวิน ของพวกยุโรปยุคกลางมาสู่โลกอิสลามด้วย
ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 13 พวกมองโกลภายใต้การนำของจักรพรรดิเจงกิสข่าน เดินทางมาจากตะวันออก และรุรานดินแดนต่าง ๆ ของอาณาจักร มุลสิมอย่างทารุณโหดร้าย เรียกค่าไถ่ตามเมืองต่างๆ ที่ผ่านมาเมืองใดที่คิดสู้รบถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง แต่โชคคดีของอาณาจักรมุสลิมที่รอดพ้นมาได้จากการยึดครองของพวกมองโกล
นัดดาของเจงกิสข่าน ได้นำทัพมารุกรานอาณาจักรมุสลิมและตีเมืองแบกแดดได้ ในที่สุด ราชวงอับบาสิคถูกกวาดล้างอย่างสิ้นเชิง
ในกลางศตวรรษที่ 13 พวกออตโตมาน เติร์ก เริ่มมีอำนาจรุ่งโรจน์ท่ามกลางความยุ่งยากของพวกมุสลิมที่แตกแยกกันเอง ในที่สุดพวกออตโตมาน เติร์กได้รวบรวมพวกเติร์กและมุสลิมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน แต่สมัยของอาณาจักร ออตโตมาน เติร์ก โลกอิสลามได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ประวัติศาสรต์สมัยกลางของอาณาจักรมุสลิมยุติลงในลักษณะของความปั่นป่วนพวกออตโตมาน เติร์กได้เข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ และตั้งเป็นอาณาจักร ออตโตมาน เติร์ก แทนจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่าเป็นการสิ้นสุดยุคกลางด้วย
มหาวิหารอาร์เทมีส
ความสัมพันธ์ระหว่างชาวเติร์กและโลกอาหรับ
.
ในปี ฮ.ศ.22(ค.ศ.642)กองทัพอิสลามยกทัพเพื่อไปพิชิตหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตที่ชาวเติร์กอาศัยอยู่มีการเผชิญหน้าระหว่างแม่ทัพอิสลาม กับ กษัตริย์ชาวเติร์ก กษัตริย์ได้ยื่นข้อเสนอขอทำสัญญาสงบศึก พร้อมกับแสดงท่าทีว่ากองทัพของเขาพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับกองทัพอิสลามในการทำศึก ดังนั้นแม่ทัพจึงพากษัตริย์เติร์กไปพบกษัตริย์ของตน กษัตริย์เติร์กเขียนสารเพื่อแสดงเจตนาของตน ทางฝ่ายอิสลามมีความเห็นตรงกันจึงเขียนสารทำสัญญาสงบศึกหลังจากนั้นกองทัพทั้งสองจึงเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองอัรมันเพื่อร่วมกันโจมตี
เติร์กกับศาสนาอิสลาม
ร้อย 99 ของประชาชกรในประเทศตุรกีนับถือศาสนาอสลาม ชาวเติร์ก ซึ่งแต่เดิมอยู่ในเอเซียกลางเริ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กับคนที่นับถืออิสลาม โดยผ่านทางกองคาราวานสินค้าชาวอาหรับเมือศตวรรษที่ 8 และในศตรวรรษที่ 10 ชาวเติร์กส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
กองทัพอิสลามคงเดินหน้าต่อไปเพื่อเผยแผ่อิสลามและพิชิตเมืองต่างๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอาณาจักรเปอร์เซียกรทั่งการเรียกร้องเชิญชวนสู่อิสลามได้แพร่สะพัดจนครอบคลุมพื้นที่ส่วใหญ่ของบริเวณดังกล่าว และหลังจากที่อาณาจักรเปอร์เซียอันเป็นกำแพงที่สกัดกั้นการเดินหน้าของการเรียกร้องเชิญชวนสู่อิสลามของชาวมุสลิมถูกพิชิตลงอย่างราบคาบโดยกองทัพอิสลาม ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมชาวมุสลิมกับพลเมืองแห่งอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งมีชาวเติร์กรวมอยู่ด้วย จึงเริ่มขึ้นและทยอยกันเข้ารับอิสลามอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับเสนอตัวเข้าเป็นแนวร่วมของอกงทัพอิสลามในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแผ่อิสลามและพิชิตเมืองต่าง ๆ ต่อไป “มีคำกล่าวคำกล่าวที่ว่า อิสลามเผยแพร่ด้วยดาบ”
สมัยการปกครองของเคาะลีหฺ มุอาวียะฮฺ ฯ กองทัพอิสลามสามารถพิชิตเมืองต่างๆ ในเขตพ้นทะเลกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอิสลาม
ชาวเตริก์เริ่มเข้ามามีบทบาทในอาณาจักรอิสลามเนื้องจากเคาะห์ลีฟะหฺต้องการคานอำนาจชาวเปอร์เซีย กระทั่งชาวเติร์กสามารถสร้างอาณาจักรเคียงข้างอิสลาม คือ อาณาจักรของพวกเซลจุก และสภาปนาอาณาจักรของตนนั้นคือพวก ออตโตมาน เติร์ก ในเวลาต่อมา
บัลกาเรีย ตั้งอยู่ด้านเหนือของ กรีซและตุรกี ด้านใต้ ของโรมาเนีย ประเทศในภาพนี้เกือบทั้งหมดเคยตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิมุสลิมออตโตมานเติร์กราว 400-500 ช่วศตวรรษ14-19
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...