เส้นทางสายไหมเรื่มต้นจากเมืองฉางอันของจีน ผ่านเอเซียกลาง มายังตักศิลาแห่งคันธาระ เข้าสู่โยนกหรือแบคเตีรย ต่อไปยังแบแดด จนถึงชายฝั่งของทะเลเมติเตอเรเนียนเชื่อมต่กจักรวรรดิโรมัน อารยธรรมจีน อินเดีย และเปอร์เซียจึงถูกเชื่อมเข้าด้ยกันผ่านเส้นทางสายไหม
เส้นทางสายไหม คือเส้นทางการค้าของโลกยุคโบราณ เชื่อมต่ดจีนกับกรุงโรม เริ่มต้นจากนครซีอานหรือ ฉางอาน ในเขตลุ่มแม่น้ำหวงโฮ ผ่านตรงไปทิศตะวันตกเข้าสู่ นครตุงหวาง เส้นทางผ่านทะเลทรายทากลิมากัน ที่เมืองโคทานและเมืองกุจจะ ทางแยกใหญ่อยู่ที่เมืองคาชการ์ Khaksarและทุ่งเปอร์กาน่า Ferhana ใจกลางทวีปเอเซียพอดี เส้นทางแยกตะวันตกสู่นครซามาร์คานด์ (อุซเบกีสถานในปัจจุบัน) นครเมิร์ฟ ใช้เส้นางเลียบทะเลสาปแคสเปี้ยน เข้าสูนครฮามาดัน ปาล์ไมล่า ในเปอร์เซียโบราณ ไมสู่เมือง่ท่าอันติโอค ดามัสกันและเมืองท่าไทร์ที่ซีเรีย ก่อนจะลงทะเลเมดิเตอริเนียนเดินทางไปสู่กรุงโรม
อีกเส้นทางหนึ่ง แยกจากคาชการ์ ใจกลางทวีปเอเชี ลงมายังนครบุคครล่า Bukhara เส้นทางนี้เป็นเส้นทางผ้าไหมสายย่อยทางทิศใต้ เดินทางจากบุคคล่าลงสู่นครเบคเตรีย นครกปิศะหรอืเมืองเบคราม ในลุ่มแม่น้ำคาบูล Kapisa Bagram ประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน เข้าสู่เมืองบามิยาน Bamian นครปิศะและบามิยาน ในแค้วนคันธารราฐ เป็นจุดแวะพักถ่ายสินค้า ตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า จุดพักแรม และทางสามแยกอีกจุดหนึ่งระหว่าง อินเดีย จีน และโรม
ทางแยกตะวันตกเดินทางไปสู่นครเฮรัต ไปเชื่อมกับเส้นทางไหมในเปอร์เซีย ส่วนทางทิศตะวันออกของนครบามิยานและนครกปิศะ เส้นทางสายไหมจะตัดผ่านช่อเขาไคเบอร์ ไปยับนครเปษวาร์ (ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน)เข้าสู่นครตักศิลา นครแห่งวิทยาการและมหาวิทยาลัยในเขตลุ่มแม่น้ำสินธุ
เส้นทางผ้าไหมที่นครตักศิลา จะแยกออกเป็นสองเส้นทาง เส้นทางตะวันออกจะมุ่งหน้าเข้าสู้แคว้นปัญจาบ เข้าสู่นครมถุราในลุ่มน้ำยมุนาและเมืองต่างๆ ในลุ่มน้ำคงคา ออกสู่อ่าวเบงกอลที่แคว้นกามรูป(พิหาร) อีกเส้นทางหนึ่งจะเดินทางลงสู่ทิศใต้ ตามลำน้ำสินธุออกสู่ทะเลอาหรับ เป็ฯเส้นทางกองคาราวานการค้าทางน้ำสู้แคว้นทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย เช่น แคว้นคุชราต เสาราษฎร์ และมหาราษฎร์ เป็นต้น
การสำรวจเส้นทางตะวันตกในครั้งแรกๆ เกิดขึ้นจากการรุกรานของพวกฉงนู ที่ตั้งถ่นฐานอยู่ทางตะวันตกเฉยงเหนือ เข้าไปในใจกลางทวีป เผ่าฉงนูเป็นเผ่าขนาดใหญ่สามารถปราบปรามชนเผ่าเร่ร่อนเผ่าอื่น หลายเผ่าได้เป็นผลสำเร็จ และเร่มหันกลับเข้ามารุกรานจีน ทำให้ชายแอนตะวันตกสั่นคลอน จักรพรรดิฮั่นวู่ตี้ จึงใช้นโยบายการทูตผสมผสามกับการทำสงคราม โดยสร้งความสัมพันธ์อันดีกับเผ่ายุชชิ คูซาน หรือ ชาวกูษณะ ..และเมืองตะวันตกมีเสถียรภาพ และความปลอดภัย จักรพรรดิฮั่นจึงส่งราชทูตและนักสำรวจ เอินทางไปสู่อาณาจักรปาเที่ยน เปอร์เซีย ซีเรีย ไปจนถึงกรุงโรม ความสัมพันธ์และการติดต่อกันระหว่างฮั่นและโรม ทำให้เส้นทางที่เคยสำตวจถูกเปิดใช้ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีอาณาจักรศกะ ปาเที่ยในเอเซียกลางและแคว้นคันธารราฐ เป็นคนกลางของการติดต่อค้าขาย
ต่อมมชนเผ่ายุชชิหรือชาวกุษาณะแผ่อินทะพลเข้าครอบครองทุ่งเฟอร์กาน่า ซามาร์คานด์ แค้วนคันธาราฐ ขชายอิทธิพลไปถึงแคว้นปัญจาบ และแคว้นมคธราฐในลุ่มน้ำคงคาแทนอาณาจักรชาวปาเที่ยน เส้นมางสายผ้าไหมจึงเสถียรภาพขึนมาใหม่ พระเจ้ากนิษกะ ผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับจักรวรรดิของชาวกษาณะ
ในรัชสมัยพระเจ้าฮั่นเม่งตี่ พุทธซัฒนธรรมและศิลปวิทยาการจากดินเดียเริ่มเดินทางเข้าสู่ประทเศจีน มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนเป็นครั้งแรก วัฒนธรรมจีนดั่งเดิมโดยเฉพาะลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า ต่างยอมรับและปสมปสามกับพุทธศาสนาที่แผ่อิทธิพเข้ามาได้อยางลงตัว ..
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-11 เส้นทางสายผ้าไหม ยังคงเป็นเส้นทางสายหลักที่สำคัญในการเดินทางติดต่อค้าขาย และการและเปลี่ยนทางวัฒนธรมระหว่างภูมภาค อินเดียและจีน แต่ในบางครั้งก็ประสบปัญหาความปลอดภัย..
บางครั้งเส้นแยกทางตะวันออกของบามิยานกถูกตัดขาดจาก ตักศิลาและแคว้นปัญจาบ เมือฮั่นขาวเผ่าเร่ร่อนขนาดใหญ่จากทางตะวันตกเฉียงเหนือ ลุกลงมายุดครองและทำลายบ้านเมืองในอินเดียเหนือ บางอาณาจักรก็รอดพ้นจากการทำลายล้าง บางอาณาจัก บ้านเมืองคงเหลือแต่ซากปรักหักพัง แต่เส้นทางผ้าไหมสายใต้ก็ยังคงถูกใช้งานอยูเสมอๆ ในเวลาต่อมา โดยมีราชวงศ์คุปตะของอินเดีย อาณาจักรปาเที่ย กุษณะ ศกะ -ซินเถียน ต่างผลัดกันเข้าครอบครองแค้วนคันธารราฐ ที่เป็นเสมือนจุดกึ่งกลางของเส้นทางสายฝ้าไหมทางทิศใต้นี้เพื่อเป็นคนกลาง..
ในยุคสมัยที่การค้าเฟื่องฟู ผู้คนจากหลายเผ่าพันธ์ ต่างภาษาและวัฒนธรรม เดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันโดยเส้นทางสายผ้าไหมที่เชื่อโลกยุคโบราณเข้าหากัน พ่อค้าวานิชจำนวนมากนำกองคาราวานสินค้าจากจีน โรมัน เอเซียกลาง อินเดีย ออกมาค้าขายแลกเปลี่ยนกับโลกภายนอก
เส้นทางสายไหมยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์และเปลี่ยน ถ่ายทอด รับส่งและปสมปสานทางวัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความก้าวหน้าหลายด้านของจีนถูส่งไปยังโลกตะวันตก เช่นการถลุงเหล็ก การทำเครื่องเคลือบ การหล่อสำริด..ในขณะที่จีนก็รับสิ่งใหม่ๆ อาทิ พิชพรรณการละเล่นและดนตรีจากเอเชียตะวันตก รวมทั้งศิลปะวิทยการอีกมากมาย…