ที่มาของชื่อ ตักศิลา มีผู้รู้อธิบายไว้แตกต่างกัน เซอร์ จอห์น มาร์แชล นักโบราณคดีชาวอังกฤษ กล่าวว่า คำว่าตักศิลา แปลตรงตัวว่า หินขัด จึงน่าจะมีความหมายว่า เมืองหินตัด แต่อย่างไรก็ตาม ดร. อะหมัด ฮะซาน ดานี นักโบราณคดีชาวปากีสถานไ้ด้แย้งว่า คำทั้งสองสามารถแปลไดได้ว่า เนินเขาอันเป็นที่อยู่ของตักษะหรือตักกะ ซึ่งเป็นพญางูที่สำคัญในปกรณัมฮินดู ได้เช่นกัน โดยโยงเข้ากับชื่อภาษาเอร์เซียของเมืองว่า มาระกะลา ซึ่งหมายถึงป้อมบนเนินเขาพญางู ซึ่งคำแปลนี้สอดคล้องกับเรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตะ...
มีสำนักอาจารย์ทิศาปาติโมกข์ สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ที่เล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป..บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ อาทิ พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ และองคุลีมาล พันธุลกุมาร เจ้าชายมหานิ
การศึกษาในตักศิลาและแหล่งอื่นๆ ในอินเียสมัยโบาณนั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสถาบันการศึกษาที่มีโครงสร้างเป็นระเบียบชัดเจนเช่นทุกวันนี้ หากแต่เป็นการฝากตัวเข้าไปอยู่กับสำนักอาจารย์ต่าง ๆ จนกว่าจะจบหลักสูตร ซึ่งผู้ที่เข้ามาเรียนก็จะเป็นลูกหลานของครอบครัววรรณะสูงที่รำรวย นอกจากนี้ วิชาที่เปิดสอนก็จะไม่ใช่วิชาระดับพื้นฐาน ซึ่งสามารถเรียนได้ที่บ้าน แต่เป็นวิชาการข้นสูง อันได้แก่
พระเวททั้ง 4 และศิลปะ 18 คือ
- อังษรศาสตร์
- นิติศาสตร์
- นิรุกติศาสตร์(ว่าด้วยกำเนิดและวิวัฒนาการของคำ)
- ฉันทศาสตร์(ว่าด้วยการประพันธ์)
- รัฐศาสตร์
- ยุทธศาสตร์
- ศาสนศาสตร์
- โหราศาสตร์
- ชโยติศาสตร์หรือดาราศาสตร์
- คณิตศาสตร์
- คันธัพพศาสรต์(ว่าด้วยดนตรีและนาฎศิลป์)
- สัตวศาสตร์(ว่าด้วยเรื่องการศึกษาลักษณะของสัตว์)
- วาณิชศาสตร์(ว่าด้วยหลักการค้า)
- ภูมิศาสตร์
- โยคศาสตร์(ว่าด้วยกลศาสตร์)
- มายาศาสตร์(กลอุบายการรบ)
เมืองตักศิลากำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เป็นนครหลวงแห่งแค้วนคัฯธาระเห็นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป ที่สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแค้วนและรุ่งเรืองมานับพันปี มีความรุ่งเรื่องถึงขีดสุดในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักศิลาให้มีชื่อสเียกิติตศัพท์ขจรขจรยไปทั่ว พร้อมๆ ดับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ต่อมาตักศิลก็ตกอยู่ภายใต้อารยธรรมอีกมากมายอาธ อารยธรรมกรีก อารยธรรมฮินดู
ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชาติเฮพธาไลต์ หรือชาวฮั่นได้ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายทำให้ตักศิลาพินาศสาบสูญนับแต่นั้นมา
"อเล็กซานเดอร์พิชิตจักวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย"จึงยกทัพบุ อินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายสงคราม
เมื่อพ.ศ. 216 ทรงรบเข้ามาถึงกรุงตักกศิลา แคว้นคันธาระ เมืองที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์ พระเจ้าอัพิราชไม่ทรงต่อต้านเพราะเห็นว่า ตนเองมีกำลังอำนาจไม่เข้มแข็งพอจะต้านศัตรูต่างแดนได้ จึึงเปิดเมืองต้อนรับอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพรเองค์ก็เพียงให้ตักศิลาเป็นเมืองขึ้นต่อมาซิโดเนียเท่านั้นแล้วให้ปกครองตามเดิม แล้วทรงขอให้ตักศิลาส่งทหารมาช่วยรบปัญจาบ 5,000 คน ซึ่งพระเจ้าอัมพิราชาก็ยินยอม
เมื่อพระองค์ยกทัพเข้ามาทางภาคเหนือของอินเดียในปี พ.ศ. 217 โดยเข้าสู่บริเวฯลุ่ม แม่น้ำสินธุ แล้วบุกตะลุยลงมาสู่เมืองนิเกีย แค้วนปัญจาบ ในพระเจ้าโปรัส หรือ พอรุส หรือ พระเจ้า เปารวะ ซึ่งเป็นผู้เข้ามแข็งในการรบ มีพระสมญาว่า "สิงห์แห่งปัญจาบ" เมื่อได้รับแจ้งข่าวหบบรรดามหาราชแห่งอินเดียยว่ามีศึกชาวตะวันตก ผมสีทองตาสีฟ้า ยกทัพข้ามถูเขาฮินดูกูชเข้า ผ่ายอินเดียระดมกำลังพลทหารราบ ทหารม้า และรถศึก และกองทัพช้าง รอรับ กองทัพกรีกพร้อมทหารตักศิลาเป็นพันธมิตร
ทหารม้าของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ไม่เคยสู้รบกับช้า ประกอบกับเกิดความสับสนอลหม่านจึงบังเกิดความแตกตื่น ช้างศึกอาละวาดเหยียบทั้งทหารตนและทหารกรีก และ ทหารหอกยาวนับหมือนของพระอง๕ืพยายามต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทหารหาออันมีระเบียบวินัยเกิดบ้าเลื่อดบุกตะลุย ทำร้ายไม่ว่าจะเป็นทหารฝ่ายใด การรบวันนั้นสิ้นสุดโดยการหย่าศึกา ทหารบาดเจ็บล้มตายทั้งสองฝ่ายแต่ถึงอย่างไรพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ทรงได้รับชัยชนะ...
เมื่อเสร็จศึกครั้งนี้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ตระเตรียมยกทัพเข้าตีแค้วนมคธเนื่อจากได้สดับความาังคั่งสมบูรณ์ของมคธ แต่ทหารที่ร่วมศึกกับพระองค์ไม่ได้กลับบ้านกลับเมืองพากันเบื่อหน่ายการรบ โดยให้ความเห็นว่าถ้าตีมคธได้ก็คงตีแค้วนอื่นต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด ประกอบกับ ทหารบางคนลังเลและก่อกบฎไม่ยอมสู้รบ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ฯจึงจำพระทัยเลิดทัพกลับ..
ตักศิลาถูกทำลายหลายครั้ง เช่นพวกหูนะพวกฮั่น และที่สำคัญที่สุดถูกทำลายโดยกองทัพมุสลิมเนื่องจากตักศิลาเป็นเมืองหน้าด่านของอินเดีย...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น