วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Comparative History

แนวการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ
แนวการวิเคราะห์ลักษณะนี้ไม่ได้เริ่มที่ทฤษฎีหรือให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการตั้งข้อสมมติฐานในลักษณะต่างๆ แต่ให้ความสนใจกับการเปรียบเทียบวิวัฒนาการของสังคมตั้งแต่สองสังคมขึ้นไป
ผลงานการวิเคราะห์ลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ มีการหาข้อมูลมาสนับสนุนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ ปัจจัยที่ให้ความสนใจมากก็คือปัจจัยที่นักวิเคราะห์กระบวนการทางสังคมเพิกเฉย ได้แก่เรื่อง สถาบัน วัฒนธรรม และผู้นำ ตลอดจนรูปแบบต่าง ๆ ของการพัฒนาทางการเมือง
Moore ได้แบ่งกระบวนการที่จะนำบ้านเมืองไปสู่ความทันสมัย 3 รูปแบบคือ การปฏิวัติประชาธิปไตย โดยนายทุนและชนชั้นกลางอย่างในอังกฤษและอเมริกา เริ่มเปลี่ยนแปลงโดยชนชั้นสูงเช่นในเยอรมันและญี่ปุน และการเปลี่ยนแปลงขบวนการชาวไร่ชาวนาอย่างในรัสเซีย และจีน
Black ได้แบ่งขั้นของการเปลี่ยนแปลงไปสูความทันสมัยเป็น 4 ขั้น ซึ่งทุกสังคมจะต้องวิวัฒนาการไปตามขึ้นต่าง ๆ ดังนี้คือ
- การประสบกับสิ่งท้าทายจากความเป็นทันสมัย
- ผู้นำที่มีความเป็นทันสมัยผนึกกำลังเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคมจากสังคมชาวไร่ชาวนาแบบชนบท เป็นสังคมอุตสาหกรรมเมืองขึ้นมา
- บูรณภาพแห่งสังคมซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดระเบียบโครงสร้างทางสังคมใหม่เพื่อให้รับกับความเป็นทันสมัย
Huntington ให้ความสำคัญกับสถาบันทางการเมืองมาก โดยเขาได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมทีเป็นทันสมัยกับสังคมที่พัฒนาแล้วนั้นแตกต่างกันที่สถาบัน กล่าวคือ สังคมที่เป็นทันสมัยอาจมีโครงสร้างทางสังคม เศษฐกิจและการเมืองที่หลายหลากและสลับซับซ้อนสุง มีอำนาจทางเมืองที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยมีเหตุมีผล เป็นอำนาจทางการเมืองแห่งรัฐ มีกฎหมายที่บังคับใช้หรือให้ความเสมอภาคกับบุคคลทุกคนในสังคมและมีการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับสูง กระบวนการนี้จะมีผลให้แรงกดดันหรือความตึงเครียดอันเนื่องมาจากการที่ประชาชนเรียกร้องจะเพิ่มมากขึ้น ในการที่สังคมจะอยู่รอดต่อไปได้จึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองโดยการปรับปรุงให้สถาบันทางการเมืองเพียงพอทีจะสนองตอบต่อข้อเรียกร้องที่เพิ่มขึ้นให้ได้
จึงอาจกล่าวได้ว่า เสถียรภาพทางการเมืองขึ้นกับสัดส่วนระหว่างประสิทธิภาพของสถาบันทางการเมือง กับอัตราการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นอง
แนวการศึกษาแบบประวิศาสตร์เปรียบเทียบนี้เริ่มศึกษาที่วิวัฒนาการของสังคม พยายามที่จะจัดแบ่งวิวัฒนาการนี้ออกเป็นแบบแผนต่าง ๆ แล้วสร้างข้อสมมติฐานว่าความแตกต่างกันในแต่ละแบบแผนนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวใดบ้าง แนวการศึกษาแบบนี้จึงให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ มากกว่าการคิดค้นระบบทฤษฎีที่เป็นนามธรรม หรือหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการคำนวณเชิงปริมาณ ด้วยเหตุนี้ผลสรุปต่าง ๆ ของแนวการวิเคราะห์แบบนี้จึงมักจะต้องมีการอธิบายกันเป็นตัวอักษร ซึ่งง่ายที่คนโดยทั่วไปจะเข้าใจกว่าการอธิบายโดยใช้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน










วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นะบี

   




  นบีมุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัดเกิดที่นครมักะหฺ  ค.ศ. 570 บิดาเป็นชาวเผ่ากุเรซ ได้เสียชีวิตตั้งแต่ ทารกยังอยู่ในครรภ์ มารดาเป็นชาวเผ่า ซุหฺเราะหฺ เมือเกิดมาผู้เป็นปู่จึงขนานนามว่า มุฮัมมัด
    เมื่อเกิดเพียงไม่นาน ต้องไปอาศัยกับแม่นำ ซึ่งเป็นประเพณีตั้งเดิมของชาวอาหรับ เมื่อต้องการให้บุตรของตนเติบโตในชนบท เพื่อสัมฟัสกับวัฒนธรรมของชาวอาหรับพื้นเมือง
   เมื่ออายุ 6 ขวบสูญเสียมารดา จึงมาอยู่ในอุปการะของปู่  สองปีต่อมาปู่สิ้นชีวิต จึงมาอยู่ในอุปการะของลุง ซึ่งเป็นผู้มีเกิยรติคนหนึ่งในเผ่ากุเรช
   มุฮัมมัดไม่รู้หนังสือเหมือนกับชาวอาหรับทั่งไป ท่านอ่านและเขียนไม่ได้ ในวัยหนุ่มได้รับการยกย่องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ แต่งงานเมื่ออายุ 25 กับเศรษฐีนีผู้เป็นหม้าย ผู้ได้ยินกิตติศัพท์แลห่งคุณธรรม และความสามารถในการค้าขาย และมีอายุแก่กว่า ท่าน 15 ปี ทั้งสองได้ใช้ชีวิตครองคู่กันเป็นเวลา 25 ปีมีบุตรีด้วยกับ 4 คน
    อายุ 30 ปี ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสหพันธ์ฟุดูล อันเป็นองค์การพิทักษ์สาธารณภัยประชาชน
    อายุ  35 ปี เกิดมีกรณีขัดแย้งในการบูรณะกะอฺบะหฺ ในเรื่องที่ว่าผู้ใดที่จะเป็นผู้นำหิน  อัลฮะญัร อัลอัสวัด ไปประดิษฐานไว้ที่เดิม อันเป็นเหตุให้คนทั้งเมืองเกือบจะรบราฆ่าฟันกันเอง เพราะแย่งหน้าที่อันมีเกียรติ หลังจากถกเถียงในที่ประชุมเป็นเวลานาน จึงมีมติว่า ผู้ใดก็ตามที่ที่เป็นครแรกที่เข้ามาใน อัลมัสญิด อัลฮะรอม ทางประตูบะนีชัยบะหฺ ในวันนั้นจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไร ปรากฎวาม มุฮัมมัด เป็นคนเดินเข้าไปเป็นคนแรก ท่านจึงมีอำนาจในการชี้ขาด โดยท่านเอาผ้าผืนหนึ่งปูลง แล้วท่านก็วางหินดำลงบนฝืนผ้านั้น จากนั้นก็ให้หัวหน้าตระกูลต่าง ๆ จับชายผ้ากันทุกคน แล้วยกขึ้นพร้อม ๆ กัน เอาไปใกล้ ๆ สถานที่ตั้งของหินดำนั้น แล้วท่านก็เป็นผู้นำหินดำนั้นไปประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม
 
       เมื่ออายุ 40 ปี ท่านได้รับ วะฮฺยู(การวิวรณ์)จากอัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้า ในถ้ำฮิรออ์ ซึ่งอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งนอกเมืองมักะหฺ โดยทูตสวรรค์ญิบรลเป็นผู้นำมาบอกเป็นครั้งแรก เรียกร้องให้ท่านรับหน้าที่เป็นผู้เผยแผ่ศาสนาของอัลลอหฺ ตามที่ศาสดามูซา(โมเสส)และอีซา (เยซู) เคยทำมา นั้นคือประกาศให้มาลมนุษย์นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว ท่านได้รับพระโองการติดต่อกันเป็นเวลา 23 ปี พระโองการเหล่านี้รวบรวมขึ้นเป็นเล่นเรียกว่าคัมภีร์ อัลกุรอาน
  นมุสลิมถูกคว่ำบาตรไม่สามารถทำธุรกิจกับผู้ จนต้องอดอยากเพราะขาดรายได้และไม่มีที่จะซื้ออาหาร
  ปีที่ 5 หลังสาส์นอิสฃาม สาวกกลุ่มหนึ่งต้องหนีออกจากมักกะหฺเข้าลี้ภัยในอบิสสิเนีย
  ปีที่ 10 หลังสาส์นอิสลาม เป็นปีแห่งความโศกเศร้า เนื่องจาก ภรรยาของผู้เป็นลุงผู้ให้การอุปการะได้เสียชีวิต

 ปีที่ 11 ชาวมะดีนะหฺ 6 คน เข้าพบท่านศาสดาเพื่อขอรับอิสลาม ในปีที่ 12 ชาวมะดีนะหฺ 12 คน เข้าพบท่านศาสดาเพื่อทำสัญญาอัลอะกอบะหฺครั้งที่ 1  โดยให้สัตยาบันว่าจะเคารพภักดีอัลลอหฺเพียงองค์เดียว และในปีที่ 13 มีชาวมะดีนะหฺ 75 คน เข้าพบท่านศาสดาเพื่อทำสัญญา อัลอะกอบะหฺ ครั้งที่ 2 โดยให้สัตยาบันว่าพวกเขาจะสนับสนุนและช่วยเหลือท่าน ศาสดาพร้อมทั้งบรรดาศอฮาบะหฺที่อพยพไปอยู่ที่มะดีนะหฺ
   ท่านศาสดาอพยพจากมักกะหฺโดยมีอะบูบักรฺร่วมเดินทางไกลด้วย มุสลิมจึงถือเอาการอพยพเป็นจุดเริมของศักราชอิสลาม ซึ่งเรียกว่า ฮิจญเราะหูศักราช
   ท่านจัดการทั้งปวงที่มะดีนะห์ เวลาผ่านไป 8-10 ปี เมื่อพร้อมแล้ว ท่านจึงนไกลังคน 10,000 ยกไปมักกะห์ พวกมักกะห์ออกมายอมสยบ ท่านสัญญาจะนิรโทษให้ ในการเข้าเมืองมักกห์ครั้งนี้ทั้งสอลฝ่ายมีผู้ล้มตายเพียง 30 คน ท่านนบีมุฮัมมัดจัดการการปกครองในมักกะห์เรียบร้อย แล้วเผยแพร่อิสลามต่อไป และในอีก 2 ปีต่อมาจึงขยายเข้าสู่ซีเรียและอิรัก
   เมือท่านอายได้ 65 ปี จึงเสด็จสู่สวรรค์ โดยชาวมุสลิมถือว่าท่านขึ้นสู่สวรรค์ที่เมืองเยรูซาเล็ม






     นิตยสาร TIME ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคน 1974 หน้า 32-33 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Who Were History 's Great Leaders? ใครคือผู้นำ ที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์? โดยนักจิตวิเคราะห์ชาวอเมริกัน คือ จูลส์ มาสเซอร์แมน Jules Masserman โดยวางเกณฑ์กล้าง ๆ ในกาคัดเลือไว้ว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลได้นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ 3 ประการต่อไปนี้ได้สำเร็จ นั่นคือ
     1 ให้ความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้ใต้ปกครอง
     2 สร้างระเบียบทางสังคมที่่ทำให้คนที่อยู่อาศัยในนั้นมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
     3 สร้างระบบความเชื่ออย่างหนึ่งให้แก่สังคม

นายจูลส์ มาสเซอร์แมนได้ให้ความเห็นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าว และสรุปว่าผู้ที่ปฏิบัติได้ครบหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ และดีกว่านั้น คือ นบีมุหัมหมัด
      หลังจากนั้นอีกสี่ปี  ในปี ค.ศ. 1978 มีหนังสืออกมาอีกเล่มชือ The 100 - A Ranking of The Most Influential Persons in History 100 ลำดับบุคคลผุ้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งเปขียโดย ไมเคิล เอช.ฮาร์ท  Michael H. Hart นักดารารศาสตร์ชาวอเมริกันและเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่นหนึ่งในเวลานั้น หนังสือเล่นนนี้ได้จัดลำดับบุคคลสำคัญ ๆ ในแขนงสาขาต่าง ๆ จำนวน 100 คนที่เห็นว่าเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ โดย 10 อันดับแรก มีดังนี้

1 นบีมุฮัมมัด                                                       6 เซนต์ ปอล
2 ไอเเซค นิวตัน                                                  7 ไซหลุน
3 พระเยซูคริสต์                                                   8 โยฮาน กูเต็นเบิร์ก
4 พระพุทธเจ้า                                                     9 คริสโตเฟอร์  โคลัมบัส
5 ขงจื้อ                                                    และ    10 อับเบิร์ต ไอน์สไตน์






และได้แสดงความเห็นไว้หลายแงหลายมุม อาทิ
- เป็นผู้เดียวในประวัติศาสตร์โลกที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้านศาสนาและด้านโลกวัตถุ ( หน้า 4,33)
- เป็นผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดย ตัวท่านเองและความศรัทธาอันแข็งแกร่งในพระเจ้าทที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว(หน้า 34-35)
- เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลาม "ประการแรก นบีมุฮัมมัดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอิสลาม ในคริสตศาสนานั้นผู้มีบทบาทในการพัฒนาศาสนาคริสต์คือ เซนต์ ปอล ที่เป็นผู้พัฒนาวิชาการคริสตศาสนาและเป้ฯผู้เปลี่นยแปลงศาสนาที่สำคัญและเป็นผู้เขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ของคัมภีร์ใหม่
   นบีมุฮัมมัดเป็นผู้รับผิดชอบต่อทั้งศาสนศาสตร์และหลักการทางศัลธรรมและจริยธรรมของอิสลาม นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นผู้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่และการวางรากฐานการปฏิบัติศาสนกิจของอิสลามด้วย" (หน้า39)
- เป็นผู้นำทางโลกและทางศาสนาที่มีอิทธพลยิ่งใหญ่ อัรกุรอานเป็นสิ่งสำคัญต่อมุสลิม อิทธิพลของนบีมุฮัมมัดผ่านทางคัมภีร์กุรอานจึงมีความิย่งใหญ๋มาก เป็นพลังผลักดัยอยู่เบื้องหลังการพิชิตของชาวอาหรับ หากกล่าวอีกนัยหนึ่ง นบีมุฮัมเป็นผู้มีอิทธิพลต่อมุสลิมในการพิชิตต่างๆ ของมุสลิม โดยผ่านอัรกุรอ่าน ซึ่งเป็นแง่มุมทั้งทางโลกและทางศาสนา(หน้า 39-40)
- บุคคลเดียวที่มีอิทธพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ "ดังนั้น เราจะเห็นว่าการพิชิตของของพวกอาหรับในศตวรรษที่ 7 ยังมีบทบาทสำคัญต่อไปในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเรื่อยมากระทั้งปัจจุบัน" "การรวมกันของอิทธิพลทางโลกและศาสนาอย่างไม่มีอะไรมาเสมอเหมือนได้นี้เองที่ทำให้ผมรู้สึกว่านบีมุฮัมมัดสมควรที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นบุคคลเดียวที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัิติศาสตร์มนุษยชาติ"(หน้า 40)



วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

South-East Asian Game

     กีฬาซีเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะววันออกเฉียงใต้  ซึ่งจัดขึ้นในทุกสองปี (ปีเว้นปี) ดำเนินการแข่งขันโดย สมพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสภาโอลิมปิกแป่งเอเชีย

     ประเทศสมาชิกประกอบด้วย
1.  ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา 2. ธงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลาว           3.ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
4.ธงของสหภาพเมียนมาร์ พม่า       5.ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์      6.  ธงชาติของไทย  ไทย    
7. ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  เวียดนาม 8. ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน   9.ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนิเซีย

10.ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์  11.ธงชาติของประเทศติมอร์ตะวันออก ติมอร์ตะวันออก

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในครั้งแรกเริ่มนั้นใช้ชื่อว่ากีฬาแหลมทอง โดยมีจุดเริ่มต้นเมืองวันที่ 22 พฤษภาคน พ.ศ. 2501 องค์กรการกีฬาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าร่วมการแข่งขันดีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกันจัดการประชุม เพื่อก่อตั้งองค์กรการกีฬาระดับภูมภาค โดยหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อดีตรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแป่งประเทศไทย และผุ้ก่อตั้อองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ( การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) เสนอว่าควรจัดการแข่งขันกีฬา ระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
   

  สหพันธ์กีฬาแหลมทอง (SEAP Games Federation) จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการสมาชิกผุ้ก่อตั้ง ประกอบด้วย ไทย,มลายา,เวียดนามใต้,ราชอาณาจักรลาว,พม่า,ราชอาณาจักรเขมร, (สหลังจกนั้น สิงคโปร์จึงเข้าร่วมเป็นสมาชิก)

       เซียบเกมส์ ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 12-17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ในปี พ.ศ. 2520 จึงเปลี่ยนชื่อสมาพันธ์ เป็น สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และชื่อการแข่งขันเป็น กีฬาซีเกมส์  ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพรวม 6 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมืองปี 2550 เป็นการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 จัดขึ้นที่นครศรีธรรมราช
   
        ส่วนการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 27 ปี 2013  ที่จะมาถึงนั้นจัดขึ้นที่ประเทศพม่า ณ กรุง เนปิดอ "เนปิดอ เกมส์" โดยจะกรจายแข่งขันทั้งหมด 4 เมือง  ซึ่งจะเปิดฉากขึ้น ณ กรุงเนปอดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในวันที่ 11 ธ.ค. 2013

Sun Wu :Lesson 5

     อันการปกครองไพร่พลมาก ให้เสมือนหนึ่งปกครองไพร่พลน้อย ก็ด้วยการจัดกำลังพล การบัญชาไพร่พลมาก ให้เสมือนหนึ่งบัญชาไพร่พลน้อย ก็ด้วยการจัดอาณัติสัญญาณ
     ไพร่พลสามทัพมิพ่ายเมือสู้ข้าศึก ก็ด้วยการรบสามัญและพิสดารการุกรบข้าศึกา ประหนึ่งเอาหินทุ่มไข่ ก็ด้วยการใช้แข็งตีอ่อน

     อันการรบนั้น สู้ศึกด้วยรบสามัญ ชนะด้วยรบพิสดารฉะนั้นผู้สันทัดการรบพิสดาร จักไร้สิ้นสุดดุจฟ้าดิน จักมิเหือดแห้งดุจสายน้ำ จักหยุดหรือหวนรบดุจเดือนตะวัน จักตายหรือกลับฟื้นดุจฤดูกาล
     เสียงมีเพียงห้าเสียง ห้าเสียงพลิกผัน จึงฟังมิรู้เบื้อ
     สีมีเพียงห้าสี ห้าสีพลิกผัน จึงดูมิรู้หน่าย
     รสมีเพียงห้ารส ห้ารสพลิกผัน จึงลิ้มมิรู้จาง
     สถานะศึกมีเพียงสามัญ และพิศดาร สามัญและพิศดารพลิกผัน จึงเห็นมิรู้จบ สามัญและพิศดารพัวพันหันเหียน ดุจวงกลมที่มิมีจุดเริ่มต้น จักมีที่สิ้นสุดได้ไฉน ?
     ความแรงของกระแสน้ำไหลเชี่ยว สามารถพัดหินลอยเคลื่อน นี้คือพลานุภาพ
     ความเร็วยามเหยี่ยวบินโฉบ สามารถพิชิตส่ำสัตว์ นี้คือช่วงระยะ
     เหตุนี้ ผู้สันทัดการรบ จึงมีพลานุภาพเหี้ยมหาญ มีช่ววงระยะสั้น พลานุภาพเหมือนหนึ่งเหนี่ยวน้าวเกาทัณฑ์  ช่วงระยะเหมือนหนึ่งปล่อยเกาทัณฑ์สู่เป้าหมาย

     การรบจักซับซ้อนสับสน แม้อลหม่านก็มิควรระส่ำระสายการรบจักชุลมุนวุ่นวาย หากขบวนทัพเป็นระเบียบก็จะมิพ่าย
     ความวุ่นวายเกิดจากความเรียยบร้อย ความขลาดกลัวเกิดจากความกล้าหาญ ความอ่อนแอเกิดจากความเข้มแข็ง จักเรียบร้อยหรือวุ่นวาย อยู่ที่การจัดกำลังพล จักกล้าหาญหรือขลาดกลัว อยู่ที่พลานุภาพ จักอ่อนแอหรือเข้มแข็ง อยู่ที่รูปลักษณ์การรบ

     ฉะนั้น ผู้สันทัพการเคลื่อนทัพข้าศึก พึงสร้างรูปลักษณ์ให้ข้าศึกต้องคล้อยตาม พึงวางเหยือล่อ ให้ข้าศึกรีบฉวย ให้หวั่นไหวด้วยผลประโยชน์ จึงพิชิตด้วยกำลัง
      ฉะนั้น ผู้สันทัพการรบ พึงแสวงหาจากพลานุภาพ มิพึงเรียร้องจากผุ้อื่น จึงจะสามารถเลือกเฟ้นคนซึ่งใช้พลานุภาพเป็นผู้ใช้พลานุภาพจักประหนึ่งรุนท่อนซุงและก้อนหิน ธรรมชาติของท่อนซุงและก้อนหิน อยู่ที่ราบก็นิ่ง อยู่ที่ลาดก็เคลื่อน ที่เป็นเหลี่ยมก็หยุดที่กลมเหลี้ยงก็กลิ้ง พลานุภาพของผุ้สันทัดการรบ จึงประดุจผลักหินกลมลงจากภูเขาสูงแปดพันเซียะ นี้ก็คือพลานุภาพ

๋Jhuyaunjang

     กองทัพภายใต้การนำของจูหยวนจางบุกเข้ายึดจี๋ซิ่ง (นานกิงในปัจจุบัน) และเปลี่ยชื่อเป็นอิ้งเทียนฝู่ จากนั้นก็ค่อย ๆ ขยายกองำลังเรื่อย ๆ สามารถพิชิตกองทัพของเฉินโหย่วเลี่ยง เอาชนะกองกำลังจางซื่อเฉิง กระทั้งชนะกองกำลังตามแนวชายฝั่งเจ้อเจียงของฟังกั๋วเจิน ได้ จึงตั้นตนเป็นฮ่องเต้
       ในการปฏิบัติต่อขุนนางนั้น  แม้ในช่วงต้นของการสถาปนาราชวงศ์ จะมีกาปูนบำ1268621537เหน็จและพระราชทานตำแหน่งให้กับขุนนางที่มีผลงาน ทว่าเพื่อที่จะรวบอำนาจให้รวมศูนย์ไว้ที่องค์ฮ่องเต้ และการมีนิสัย ขี้ระแวง ทำให้ในรัชกาลหงอู่มีการประหารฆ่าขุนนางผู้มีคุณูปการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกรณีสำคัญเช่นกรณี หูเหวยยง กับหลันอี้
    หูเหวยยงเป็นทหารในกองทัพติดตามจูหยวนจางที่เหอโจว เป็นที่ปรึกษาที่สำคัญตั้งแต่ก่อนจะครองราชย์ กระทั่งได้ดำรงตำแหน่งอัครเสนาบดีในเวลาต่อมา หูเหวยยงได้รับความโปรดปราฯจากมิงไท่จู่เป็นอย่างยิ่ง และเริ้มมีอิทธิพลและกุมอำนาจต่าง ๆ ไว้ในมือ มีขุนนางจำนวนมากที่มาเป็นสมัครพรรคพวกมากมาย จนมักทำการโดยพลการเสมอ  อาทิ ฎีกาที่เหล่รขุนนางเขียนถวายฮ่องเต้ หากมีฎีกาใดที่ไม่เป็นประโยชน์กับตนก็จะไม่ยอมถวายขึ้นไป
     หูเหวยยงถูกกล่าวหาว่ามีความคิดเป็นกบฎ หมิงไท่จู่รับสั่งให้ประหารหูเหวยยงพร้อมทั้งถือโอกาสใหนการกวาดล้างวงศ์ตระกูลและสมัครพรรคพวกทั้งหมด นอกจากนั้นภายหลังยังมักจะอาศัยข้ออ้างการเป็นพรรคพวกของหูเหวยยงเป็นอาวุธในการปกคีอง คือ เมื่อระแวงสงสัยผู้ใด ทั่คาดว่าอาจจะเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ ก็จะถูกประหารด้วยข้อกล่าวหาดังกล่าว
     หลันอี้ เป็นแม่ทัพที่สร้างผลงานในการศึกอย่างมากมาย  จนได้รับการพระราชทานบรรดาศักดิเป็นเหลียงกั๋วกง แต่ด้วยความถือดีที่มีผลงาน จึงใช้อำนาจบาตรใหญ๋ ไม่รักษากฎหมาย และไม่รักษาธรรมเนียมจารีตของความเป็นขุนนางกับฮ่องเต้ ภายหลังถูกจับตัวในข้อหาเตียมก่อการกบฎ โดยการลงโทษในครั้งนี้มีผู้ถูกประหารกว่า หมื่นห้าพันคน
      จากความระแวงนั้น imagesหลังจากเกิดเหตุการทั้งสองแล้ว จูหยวนจางจึงสั่งยกเลิกระบบอัครเสนาบดี แล้วแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 6 กระทรวงแต่ละทรวงมีเจ้ากระทรวง หนึ่งคน กับผู้ช่วยอีก สองคน และทั้ง6 กระทรวงขึ้นตรงต่อฮ่องเต้ และจากความระแวงนี้ ทำให้กิดการจัดตั้งหย่วยงานสำคัญในการตรวจสอบ คือ สำนักงานตรวจการ และหย่วยงานองครักษ์เสื้อแพรา เพื่อให้เป็นหย่วยงานพิเศษในการตรวจสอบขุนนางในราชสำนักและราษฎรทั่วราชอาณาจักร จากนั้นทรงแต่งตั้งพระโอรสให้ไปเป็นเจ้ารัฐประจำอยู่ในหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายหนึ่งเพื่อเพิม่ความแข็งแกร่งและศักยภาพในกาป้องกันชาวมองโกลจาทางเหนือ และอีด้านหนึ่งเป็นมาตรการป้องกันการร่วมมือระหว่างเหล่าองค์ชายกับขุนนางกังฉินในชสำนักเพื่อชิงราชบัลลังก์ และมีการป้องกันการใช้อำนาจบาตรใหญ่ขององค์ชายต่างๆ จึงบัญญัติไว้ว่า หากมีความจำเป็นให้สามารถถอดถอนจากเจ้ารัฐเหล่านี้ได้

    มาตรการต่างๆ นี้ เป็นการสร้างระบบรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จขึ้น โดยเฉพาะการยกเลิกตำแหน่งเสนาบดี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบสังคมการปกครองจีน 

Ottoman

    อาณาจักรอุษมานียะฮ์หรือออตโตมานเติร์กเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1299 สถาปนาโดย อุษมาน และ7_33 ท่านอุษมานประกาศตนเป็นปาชะห์ปกครองอาณาจักรออตโตมานที่แค้วนโซมุตทางทิศตะวันตกของอนาโตเลีย จึงเป็นสุลต่านองค์แรกแห่งราชอาณาจักรออตโตมาน
    ในช่วงเซจจุกเติร์กเสือมอำนาจ  ชาวเติร์กกลุ่มหนึ่งอพยพเปอร์เซีย ในกลางทศวรรษที่ 13 Ertugrul ได้รพาเผ่าของตนอพยพหลัหนีการโจมตีของพวก “มองโกล” เมื่ออพยพมาถึงอนาโตเลีย แล้ว Ertugrul เสียชีวิตบุตรชายคือ ออสมัน ขึ้นเป็นผู้นำแทน และเมือเซลจุกเติร์กเสื่อมอำนาจจึงสถาปนาอาณาจักรออสโตมันขึ้น
    
    2996580967_49b4e33124   อาณาจักรไบแซนไทน์ กำลังเสื่อมอำนาจลงในขณะที่อาณาจักรออตโตมัน กำลังเข้มแข็งขึ้น กำแพงกรุงสแตนติโนเปิลเป็นสิ่งเดียวที่ขวางการโจมตีของออตโตมัน แต่ก็ไม่สามารถต้านทานได้นาน เดือน พฤษภา ปี ค.ศ. 1453 อาณาจักรโรมันตะวันออก จึงปิดฉากลง หลังอยู่มาเป็น เวลากว่า 1,123 ปี มีจักรพรรดิปกครองรวม 82 พระองค์ จากหลายราชวงศ์ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย ทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่เสียกรุงคอนสแตนติโนsuleymaniyemosque1 เปิล
      ชัยชนะ ได้เปิดโอกาสในชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไลเข้าสู่อาณาจักอนาโตเลีย และเปิดทางสูจักรวรรดิออตโตมันอันยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
      สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงได้รับการขนานนามว่า ฟาติ เมห์เมต “ฟาติ” หมายความว่า “ผู้พิชิต” ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวง มายังกรุงสแตนติโนเปิล และเปลี่ยนชื่อเป็น อิสลามบูล ภายหลังมีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกี นครอิสลามบูลเปลี่ยนชื่อเป็น “อิสตันบูล”
       ในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี  นับตั้งแต่สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทรงสามารถยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ อาณาจักรออตโตมันแผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิมในเวลาต่อมา จักรวรรดิออตโตมันขยายอำนาจครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ ตะวันออกกลาง (เอเซีย) แอฟริกาเนือ และยุโรบบอลข่านConstantinople-in-the-16th-century-centre-of-ottoman-empire

     สุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด อาณเขตได้แผ่ขยายออกไปอยางกล้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตีย ทิตะวันออกจรด คาบสมุทรเรเบีย ทิศเหนือจรดค่บสมุทรไครเมีย ทิศใต้จระซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกขนานนามพระองค์ว่า “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ๋”  ในตุรกีท่านได้รับสมัญญานามวา “สุไลมาน ผู้พระราชทานกฎกหมาย”  สุไลมานสิ้นพระชนม์ในระหว่าทำสงครามในฮังการี ในปี ค.ศ. 1566 รวมสิริมายุ 74 พรรษา ครองราช 46 ปี “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่”เป็น 1 ใน3 สิ่งที่ชาวตุรกีภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตริย์ชาติตน



หลังสิ้นยุคสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมัน ก็เสื่อมลงเป็นลำดับ กินเวลาถึง 300 ปีก่อนจะล่มสลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
    ในศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจในยุโรป เริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรรวรรดิออตโตมัน และตั้งคำถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อ “ดุลยอำนาจในยุโรป”
    ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า “คนป่วยแห่งยุโรป” โดยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผุ้ตั้งในเชิงดูหมิ่น ออตโตมาน เมือครั้งเข้าร่วมสงคราม ไครเมีย กับอังกฤษและฝรั่งเศษ ต่อต้านรัสเซียน ในปี ค.ศ. 1854

Ilkhanate

    อิลข่าน หรือ อิลคาเนธ เมื่อเปอร์เซียตกเป็นอยู่ใต้อำนาจ อาณาจักรมองโกล ฮูลากูจึงแยกตัวIlkhanate_in_12561353 ออกมาตั้งอาณาจักรเพื่อปกครองบริเวณในเขตเปอร์เซีย โดยที่เรียกว่า House of Hulagu ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของมองโกลในเปอร์เซีย ในช่วงศัตวรรษที่ 13 มีอาณาเขตตั้งแต่ อาเซอร์ไบจาน และตอนกลาง และตะวันออกส่วนหนึ่ง ของตุรกีในปัจจุบัน และบริเวณที่เป็น Khwarezmid Empire ทั้งหมด ซึ่งเริ่มสู้รบตั้งแต่สมัยเจงกิสข่าน และฮูเลกูเป็นผู้พิชิตอาณาจักรนี้220px-HulaguAndDokuzKathun


   อาณาจักรอิลข่านคือทั้งหมดของ อิรัก อิหร่าน เติร์กเมนิสถาน อัมม์เมเนีย อาร์เซอไบจาร จอร์เจีย ตุรกี และ ตะวันออกของ อัฟกานิสถาน ทางใต้ของปากีสถาน
    อิลข่าน ประกอบด้วยศาสนาต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่ จะนับถือ ศาสนาพุทธและ คริสต์ และหลังจากนั้น อิสลามจึงเข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรอิลข่าน

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...