นบีมุฮัมมัด
นบีมุฮัมมัดเกิดที่นครมักะหฺ ค.ศ. 570 บิดาเป็นชาวเผ่ากุเรซ ได้เสียชีวิตตั้งแต่ ทารกยังอยู่ในครรภ์ มารดาเป็นชาวเผ่า ซุหฺเราะหฺ เมือเกิดมาผู้เป็นปู่จึงขนานนามว่า มุฮัมมัด
เมื่อเกิดเพียงไม่นาน ต้องไปอาศัยกับแม่นำ ซึ่งเป็นประเพณีตั้งเดิมของชาวอาหรับ เมื่อต้องการให้บุตรของตนเติบโตในชนบท เพื่อสัมฟัสกับวัฒนธรรมของชาวอาหรับพื้นเมือง
เมื่ออายุ 6 ขวบสูญเสียมารดา จึงมาอยู่ในอุปการะของปู่ สองปีต่อมาปู่สิ้นชีวิต จึงมาอยู่ในอุปการะของลุง ซึ่งเป็นผู้มีเกิยรติคนหนึ่งในเผ่ากุเรช
มุฮัมมัดไม่รู้หนังสือเหมือนกับชาวอาหรับทั่งไป ท่านอ่านและเขียนไม่ได้ ในวัยหนุ่มได้รับการยกย่องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ แต่งงานเมื่ออายุ 25 กับเศรษฐีนีผู้เป็นหม้าย ผู้ได้ยินกิตติศัพท์แลห่งคุณธรรม และความสามารถในการค้าขาย และมีอายุแก่กว่า ท่าน 15 ปี ทั้งสองได้ใช้ชีวิตครองคู่กันเป็นเวลา 25 ปีมีบุตรีด้วยกับ 4 คน
อายุ 30 ปี ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสหพันธ์ฟุดูล อันเป็นองค์การพิทักษ์สาธารณภัยประชาชน
อายุ 35 ปี เกิดมีกรณีขัดแย้งในการบูรณะกะอฺบะหฺ ในเรื่องที่ว่าผู้ใดที่จะเป็นผู้นำหิน อัลฮะญัร อัลอัสวัด ไปประดิษฐานไว้ที่เดิม อันเป็นเหตุให้คนทั้งเมืองเกือบจะรบราฆ่าฟันกันเอง เพราะแย่งหน้าที่อันมีเกียรติ หลังจากถกเถียงในที่ประชุมเป็นเวลานาน จึงมีมติว่า ผู้ใดก็ตามที่ที่เป็นครแรกที่เข้ามาใน อัลมัสญิด อัลฮะรอม ทางประตูบะนีชัยบะหฺ ในวันนั้นจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไร ปรากฎวาม มุฮัมมัด เป็นคนเดินเข้าไปเป็นคนแรก ท่านจึงมีอำนาจในการชี้ขาด โดยท่านเอาผ้าผืนหนึ่งปูลง แล้วท่านก็วางหินดำลงบนฝืนผ้านั้น จากนั้นก็ให้หัวหน้าตระกูลต่าง ๆ จับชายผ้ากันทุกคน แล้วยกขึ้นพร้อม ๆ กัน เอาไปใกล้ ๆ สถานที่ตั้งของหินดำนั้น แล้วท่านก็เป็นผู้นำหินดำนั้นไปประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม
เมื่ออายุ 40 ปี ท่านได้รับ วะฮฺยู(การวิวรณ์)จากอัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้า ในถ้ำฮิรออ์ ซึ่งอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งนอกเมืองมักะหฺ โดยทูตสวรรค์ญิบรลเป็นผู้นำมาบอกเป็นครั้งแรก เรียกร้องให้ท่านรับหน้าที่เป็นผู้เผยแผ่ศาสนาของอัลลอหฺ ตามที่ศาสดามูซา(โมเสส)และอีซา (เยซู) เคยทำมา นั้นคือประกาศให้มาลมนุษย์นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว ท่านได้รับพระโองการติดต่อกันเป็นเวลา 23 ปี พระโองการเหล่านี้รวบรวมขึ้นเป็นเล่นเรียกว่าคัมภีร์ อัลกุรอาน
นมุสลิมถูกคว่ำบาตรไม่สามารถทำธุรกิจกับผู้ จนต้องอดอยากเพราะขาดรายได้และไม่มีที่จะซื้ออาหาร
ปีที่ 5 หลังสาส์นอิสฃาม สาวกกลุ่มหนึ่งต้องหนีออกจากมักกะหฺเข้าลี้ภัยในอบิสสิเนีย
ปีที่ 10 หลังสาส์นอิสลาม เป็นปีแห่งความโศกเศร้า เนื่องจาก ภรรยาของผู้เป็นลุงผู้ให้การอุปการะได้เสียชีวิต
ปีที่ 11 ชาวมะดีนะหฺ 6 คน เข้าพบท่านศาสดาเพื่อขอรับอิสลาม ในปีที่ 12 ชาวมะดีนะหฺ 12 คน เข้าพบท่านศาสดาเพื่อทำสัญญาอัลอะกอบะหฺครั้งที่ 1 โดยให้สัตยาบันว่าจะเคารพภักดีอัลลอหฺเพียงองค์เดียว และในปีที่ 13 มีชาวมะดีนะหฺ 75 คน เข้าพบท่านศาสดาเพื่อทำสัญญา อัลอะกอบะหฺ ครั้งที่ 2 โดยให้สัตยาบันว่าพวกเขาจะสนับสนุนและช่วยเหลือท่าน ศาสดาพร้อมทั้งบรรดาศอฮาบะหฺที่อพยพไปอยู่ที่มะดีนะหฺ
ท่านศาสดาอพยพจากมักกะหฺโดยมีอะบูบักรฺร่วมเดินทางไกลด้วย มุสลิมจึงถือเอาการอพยพเป็นจุดเริมของศักราชอิสลาม ซึ่งเรียกว่า ฮิจญเราะหูศักราช
ท่านจัดการทั้งปวงที่มะดีนะห์ เวลาผ่านไป 8-10 ปี เมื่อพร้อมแล้ว ท่านจึงนไกลังคน 10,000 ยกไปมักกะห์ พวกมักกะห์ออกมายอมสยบ ท่านสัญญาจะนิรโทษให้ ในการเข้าเมืองมักกห์ครั้งนี้ทั้งสอลฝ่ายมีผู้ล้มตายเพียง 30 คน ท่านนบีมุฮัมมัดจัดการการปกครองในมักกะห์เรียบร้อย แล้วเผยแพร่อิสลามต่อไป และในอีก 2 ปีต่อมาจึงขยายเข้าสู่ซีเรียและอิรัก
เมือท่านอายได้ 65 ปี จึงเสด็จสู่สวรรค์ โดยชาวมุสลิมถือว่าท่านขึ้นสู่สวรรค์ที่เมืองเยรูซาเล็ม
นิตยสาร TIME ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคน 1974 หน้า 32-33 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Who Were History 's Great Leaders? ใครคือผู้นำ ที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์? โดยนักจิตวิเคราะห์ชาวอเมริกัน คือ จูลส์ มาสเซอร์แมน Jules Masserman โดยวางเกณฑ์กล้าง ๆ ในกาคัดเลือไว้ว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลได้นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ 3 ประการต่อไปนี้ได้สำเร็จ นั่นคือ
1 ให้ความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้ใต้ปกครอง
2 สร้างระเบียบทางสังคมที่่ทำให้คนที่อยู่อาศัยในนั้นมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
3 สร้างระบบความเชื่ออย่างหนึ่งให้แก่สังคม
นายจูลส์ มาสเซอร์แมนได้ให้ความเห็นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าว และสรุปว่าผู้ที่ปฏิบัติได้ครบหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ และดีกว่านั้น คือ นบีมุหัมหมัด
หลังจากนั้นอีกสี่ปี ในปี ค.ศ. 1978 มีหนังสืออกมาอีกเล่มชือ The 100 - A Ranking of The Most Influential Persons in History 100 ลำดับบุคคลผุ้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งเปขียโดย ไมเคิล เอช.ฮาร์ท Michael H. Hart นักดารารศาสตร์ชาวอเมริกันและเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่นหนึ่งในเวลานั้น หนังสือเล่นนนี้ได้จัดลำดับบุคคลสำคัญ ๆ ในแขนงสาขาต่าง ๆ จำนวน 100 คนที่เห็นว่าเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ โดย 10 อันดับแรก มีดังนี้
1 นบีมุฮัมมัด 6 เซนต์ ปอล
2 ไอเเซค นิวตัน 7 ไซหลุน
3 พระเยซูคริสต์ 8 โยฮาน กูเต็นเบิร์ก
4 พระพุทธเจ้า 9 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
5 ขงจื้อ และ 10 อับเบิร์ต ไอน์สไตน์
และได้แสดงความเห็นไว้หลายแงหลายมุม อาทิ
- เป็นผู้เดียวในประวัติศาสตร์โลกที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้านศาสนาและด้านโลกวัตถุ ( หน้า 4,33)
- เป็นผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดย ตัวท่านเองและความศรัทธาอันแข็งแกร่งในพระเจ้าทที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว(หน้า 34-35)
- เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลาม "ประการแรก นบีมุฮัมมัดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอิสลาม ในคริสตศาสนานั้นผู้มีบทบาทในการพัฒนาศาสนาคริสต์คือ เซนต์ ปอล ที่เป็นผู้พัฒนาวิชาการคริสตศาสนาและเป้ฯผู้เปลี่นยแปลงศาสนาที่สำคัญและเป็นผู้เขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ของคัมภีร์ใหม่
นบีมุฮัมมัดเป็นผู้รับผิดชอบต่อทั้งศาสนศาสตร์และหลักการทางศัลธรรมและจริยธรรมของอิสลาม นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นผู้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่และการวางรากฐานการปฏิบัติศาสนกิจของอิสลามด้วย" (หน้า39)
- เป็นผู้นำทางโลกและทางศาสนาที่มีอิทธพลยิ่งใหญ่ อัรกุรอานเป็นสิ่งสำคัญต่อมุสลิม อิทธิพลของนบีมุฮัมมัดผ่านทางคัมภีร์กุรอานจึงมีความิย่งใหญ๋มาก เป็นพลังผลักดัยอยู่เบื้องหลังการพิชิตของชาวอาหรับ หากกล่าวอีกนัยหนึ่ง นบีมุฮัมเป็นผู้มีอิทธิพลต่อมุสลิมในการพิชิตต่างๆ ของมุสลิม โดยผ่านอัรกุรอ่าน ซึ่งเป็นแง่มุมทั้งทางโลกและทางศาสนา(หน้า 39-40)
- บุคคลเดียวที่มีอิทธพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ "ดังนั้น เราจะเห็นว่าการพิชิตของของพวกอาหรับในศตวรรษที่ 7 ยังมีบทบาทสำคัญต่อไปในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเรื่อยมากระทั้งปัจจุบัน" "การรวมกันของอิทธิพลทางโลกและศาสนาอย่างไม่มีอะไรมาเสมอเหมือนได้นี้เองที่ทำให้ผมรู้สึกว่านบีมุฮัมมัดสมควรที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นบุคคลเดียวที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัิติศาสตร์มนุษยชาติ"(หน้า 40)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น