วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Midaway

      หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาเบิร์ล ประเทศไทยถูกเลือกเป็นสถานที่เริ่มต้นการทัพมาลายา ซึ่งเป็นชุดเหตุกาณ์การรบระหว่างกองทัพสัมพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริติชมาลายา การรบส่วนใหญ่เป็นการรบทางบก ยุทธการนี้เป็นที่จดจำจากการใช้ทหารรบจักรยาน ซึ่งช่วให้กองกำลังสามารถขนย้ายยุทธปัจจัยและเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วในภูมิประเทศที่เป็นป่าทึบ  กรมทหารช่างหลวงอังกฤษทำลายสะพานนับร้อยแป่งระหว่างการถอย ซึ่งช่วยถ่วงเวลาการรุกญี่ปุ่นได้เล็กน้อย เมื่อญี่ปุ่นยึดสิงค์โปร์ได้สำเร็จปรากฎว่าสหราชอาณาจักรสูญเสียทหารกว่าหมื่นนาย
     ฮ่องกง คราวน์โคโลนี ของอังกฤษ ถูกโจมตีและพ่านยปพ้โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน
     มกรา 1942 ญี่ปุ่นรุกรานพม่า อินเดียตะวันออกของดัตซ์ นิวกีนี หมู่เกาะโซโลมาน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และราบูล หลังจากกองทัพสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา ในสังคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนน  ทหารอินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลียและดัตซ์ตกเป็นเชลยกว่า 130,000 คน รวมทั้งบาหลีและติมอร์ เครื่องบินญี่ปุ่นเกือบจะกำจัดแสนยานุภาพทางอากาศเกือบทั้งหมดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉพียงใต้  และกำลังโจมตีออสเตเรียตอนเหนือ
    ยุทธนาวีชวาปลายเดือนกุมภาพันธ์ปี 1941 กองเรือญี่ปุ่นได้ชัชนะครั้งใหญ่ กองทัพอินเดียตะวันออกของดัตซ์ในเวลาต่อมาสิ้นสุดด้วยการยอมจำนนของกองทัพสัมพันธมิตรบนเกาะชวาสุมาตรา การโจมตีมหาสมุทรอินเดียโดยเรือบรรทุกเครื่องบิน กองเรืออังกฤษถูกขับไล่จากมหาสมุทรอินเดีย อันเป็นการเปิดทางสำหรับการรุกรานพม่าและอินเดีย
    อังกฤษถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า ถนนสายพม่าอันเป็นเส้นทางเสบียงของสัมพันธมิตรให้แก่กองกำลังชาตินิยมจีน กำลังชาตินิยมจีนบางส่วนถูกจัดวางเพื่อขัดขวางคอมมิวนิสต์มิใช่ญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้น กำลังชาตินิยมจีนส่วนใหญ่เป็นขุนศึกซึ่งเป็นพันธมิตรกับ เจียง ไค เชค ซึ่งความพ่ายแพ้ของพวกขุนศึกนำเจียง ไค เชค ไปสู่การสูญเสียอำนาจ ฝ่ายญี่ปุ่นแสวงหาประโยชน์จากความขาดความสามัคคีนี้

      ความเป็นมากองทัพญี่ปุ่นเมื่อครั้งเริ่มสงครามจีน -ญี่ปุ่น
จักรวรรดินาวีญี่ปุ่น  ยึดแบบมาจากราชนาวีอังกฤษซึ่งเป็นกองทัพเรือชั้นแนวหน้าและทรงอานุภาพมากที่สุดในโลกในเวลานั้น มีที่ปรึกษาทางทหาชาวอังกฤษไปให้ความรู้และให้คำปรึกษาในการก่อร่างสร้างอกงทัพเรื่อ มีการส่งนักเรียนไปเข้ารับการศึกษาและฝึกงานในราชนาวีอังกฤษ ตลอดเวลาที่ได้ที่ปรึกษาชาวอังกฤษ ญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับวิชาการปืนและวิชาการเดินเรือ หลักนิยมในขณะนั้นของญี่ปุนไม่ได้หวังพึ่งอานุภาพของเรือประจัญบาน แต่ให้ความสำคัญกับการใช้เรือรบขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง อย่างเรือลาดตระเวน และเรือตอร์ปิโต ในการเข้าปะทะกับเรือข้าศึกทีมีขนาดใหญ่กว่า
     เรือรบหลักของญี่ปุนหลายลำต่อมาจากอู่เรือในอังกฤษและฝรั่งเศษ และในญี่ปุ่น
กองทัพบกญี่ปุน การพัฒนากองทัพบกญี่ปุ่นในช่วงแรกของยุคเมจิ มีแนวคิดตามแบบของกองทัพบกฝรั่งเศส มีที่ปรึกษาทางทหารของฝรั่งเศสเดินทางไปยังญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 1073 เริ่มมีการตั้งโรงเรียนทหารและโรงงานสร้างปืนใหญตามแบบตะวันตก
      ภายหลังญี่ปุ่นเปลี่นยแปลงรูปแบบมาเป็นกองทัพบกเยอรมัน โดยเฉพาะแบบฉบับของกองทัพปรัสเซีย ปละประยุต์หลักนิยม รูปแบบและโครงสร้างของกองทัพมาให้เหมาะสมกับญี่ปุ่น ต่อมาที่ปรึกษาทางทหารชาวเยอรมัน ได้เสนอแนะให้มีการปรับโครงสร้างสายการบังคับบัญชาของกองทัพใหม่ โดยแบ่งเป็นกรมและกองพล ปรับปรุงเรื่องการส่ง กำลังบำรุง การขนส่งและอื่น ไลมีการจัดตั้งกรมทหารปืนใหญ่และกรมช่างที่มีสายการบังคับบัญชาเป็ฯอิสระ
     กองทัพญี่ปุ่นมีการจัดกำลังแบบสมัยใหม่ เป็นแองทัพที่มีรูปแบบการฝึกตามแบบกองทัพของชาติตะวันตก มีความพร้อมทั้งยุทโธปกรณ์และยุธปัจจัย นาทหารได้รับการศึกษาจากต่างประเทศและมีความรู้ทางยุทธวิธีและทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างดี
     เมื่อครั้งเริ่มสงครามกับจีน กองทัพบกแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิมีกำลังพลถึง 120,000 นายจัดเป็น 2 กองทัพ 5 กองพล
     นายพลเรือยามาโมโต้  แม่ทัพเรือญี่ปุ่นต้องเสียเวลากับแผนการของกองทัพบกที่เตรียมบุกออสเตรเลีย ทัพเรือจึงจำเป็นต้องส่งกำลังทางเรือกระจายออกไปเพื่อสนับสนุนการยึดพอร์ตเมอเรสบี้ ในขณะที่การบุกอร์ตเมอร์เสบี้กำลังอยูในขั้นเตรียมการ เสนธิกาของยามาโมโตก็ร่างแผน ยุทธการโจมตีและยึดเกาะมิดเวย์เสร็จสิ้นแล้ว
     มิดเวย์ เป็นเกาะทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะฮาวายญี่ปุ่นต้องการยึดเกาะมิดเวย์และใช้เป็นฐานทัพเพื่อบุกโจมตีหมู่เกาะฮาวายและชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา มิดเวย์เป็นเกาะเล็กๆ ที่เป็นกุญแจสำคัญในแผนการของยามาโมโต จากชื่อของเกาะเองทำให้ทราบว่าที่ตั้งอยู่เกือบจะศูนย์กลางของมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งเป็นที่ตั้งหน้าด่านที่สำคัญที่สุดสำหรับสหรัฐที่ใช้ในการส่งเครื่องบินตรวจการณ์ลาดตระเวน ซึ่งถ้าตกอยู่ในความยึดครองของญี่ปุ่นก็จะกลายเป็นลิ่มตอกเข้ตามแนวป้องกันสามเหลี่ยมซึ่งมีฐานทัพอยู่ทางฝั่งตะวันตก และที่ตรงยอดอยู่ที่ เพิร์ล ฮาเบอร์
     ยามาโมโต้รู้ดีว่าหากโจมตีมิดเวย์ กองเรือแปซิฟิคจะต้องออกมาป้องกัน แกรต้อสู้ที่อยู่กลจากญี่ปุ่นขนาดนี้ต้องเป็นปัญหาอย่างแน่นอน แต่ก็เห็นเป็นโอกาสที่จะทำให้กองเรือบรรททุกเครื่องบินสหรัฐมาติดกับ ซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่าคุ้มกับการเสี่ยง

     ญี่ปุ่นไม่ล่วงรู้เลยว่า ฝ่ายข่าวกรองของกองทัพเรือสหรํฐอเมริกาสามารถถอดรหัสญี่ปุ่นในยุทธการมิดเวย์ได้หมดสิ้น กาองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ เอนเตอร์ไพร์และฮิร์เนต ได้เคลื่อพลจากเพิร์ลฮาเบิร์ล เข้าประจภจุดป้องกันมิดเวย์ อีก 3 วันต่อมา เรื่อยอร์คทาวน์ก็ซ่อมเสรจและเดินทางตามมา
     แม่ทัพเรือสหรัฐได้สั่งให้จัดกองเรือในศึกมิดเวย์ครั้งนี้ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องยิน 3 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 7 ลำ เรือพิฆาต 14 ลำ เรือดำน้ำ 18 ลำออกเดินทางไป นอกจากนี้ฐานทัพสหรัฐฯที่เกาะมิดเวย์ยังมีเขี้ยวเล็บป้องกันอย่างดี ทั้งปืนใหญ่รักษาฝั่ง ปืนต่อสู้อากาศยาน และเครื่องบินรบแบบ p-40 และเครื่องบินทิ้งระเบิด b17 อีกจำนวนหนึ่งรอรับมือ
      ยามาโมโต้และเสนาธิการของเขากำลังดำเนินการตามแผนยุทธการของเขาโดย จัดกองเรือเป็น 3 กองกำลัง กองกำลังโจมตีลวงภายใต้การบัญชาการของนายพลเรือโอโวซายานำกำลังเรือบรรทุกเครื่องยิน 2 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 1 ลำ เรือประจัญบาน 3 ลำและกองเรือคุ้มกันจำนวนหนึ่ง เข้าทำการโจมตีลวงที่หมู่เกาะอาลิวเชียน รัฐอลาสกาโดยเฉพาะฐานทัพในดัช ฮาร์เบอร์ ของสหรัฐฯ ที่มีหน้าที่รักษาทะเลแบริ่งและกดดันหมู่เกาะคูริลทางเหนือของญี่ปุ่น
     กองเรือโจมตีหลักภายใต้การบัญชาการของนายพลเรือนากูโม ผู้นำการโจมตีเพิร์ลฮาเบิร์ล ประกอบไปด้วยเรือบรรทุกเครืองบิน 4 ลำคือ เรือ อะกากิ ซึ่งเป็นเรือธงของนากูโม เรือคากะ เรือฮีโรยุ และรือโซริยุ  กองเรือที่ 3 ที่เป็นกลังหนุนบัชาการโดย ยามาโมโต้เอง โดยจะตามห่างๆ เป็นกองกำลังในการยึดครองมิดเวย์  เมื่อเทียบกับกองทัพเรือสหรัฐแล้วญี่ปุ่นมีกำลังมากกว่า 4:1
     ยามาโมโต้เป็นกังวลมาที่สุดคือตำแหน่งของกองเรือกองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ ฝ่ายเสนาธิการจึงเสนอยุทธการ k โดยใช้เรือดำนิ้ลาดตระเวนหากองเรอบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ” ขณะที่กองเรือนากูโมเดินทางใกล้ถึงมิดเวย์ ยุทธการ k ก็ต้องยกเลิก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัฐสหรับยามาโมโต้ เขาต้องรู้ให้ได้ก่อนเริ่มยุทธการมิดเวย์ว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯอยู่ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์หรือไม่..ข่าวการยกเลิกยุทธการ k มาถึงยามโมโต้เมื่อกองเรือของเขาออกทะเลมาครั้งทางแล้ว ยิ่งทำให้แผนกของยามาโมโตเสียงเพิ่มขึ้นอีก ถ้าหากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯเกิดโผล่มาอย่างไม่รู้ตัวกองเรือของนากูโมก็จะเกิดอันตราย ซึ่งยามาโมโต้ไม่สามารถที่ส่งข่าวเตือนนากูโมเพราะเสี่ยงต่อการถูกดักฟัง นากูโดกำลังเดินทางไปสู่กับดัก
      กองเรือโจมตีลวงลงมือตาแผนการที่วางไว้ สหรัฐฯล่วงรู้ถึงแผนการจึงแทบจะไม่เกิดผลใดๆ เครื่องบินจากมิดเวย์เข้าโจมตีกองเรือยกพลขึ้นบกแต่ด้วยความอ่อนด้อยประสบการและความคล่องตัวของเครื่องบินจึงถูกยิงตกเป็นว่าเล่น การโจมตีไร้ผล กองเรือนากูโมไม่รู้เรื่องการโจมตีครั้งนี้ วิทยุสื่อสารถูกบิด เครื่องบินตรวจการสหรัฐฯรายงานชัดเจนระบุจำนวนเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่นว่ามี 4 ลำ มิดเวย์ส่ง เครื่องบินลาดตระเวนหาตำแน่งกองเรือแต่ไม่พบ
     ยุทธนาวีเปิดฉากในวันที่ 4 มินายน 1942 นากูโมสั่งเรือบรรทุกเครื่องบินทั้ง 4 ลำ ส่งเครื่องบินท้งระเบิดและเครื่องขับไล่คุ้มกัน 108 เครื่อง โจมตีมิดเวย์ สัญญานเตื่อนภัยดังทั่วฐานทัพมิดเวย์ ฝูงบินญี่ปุ่นฝ่าด่านเข้ามาได้อย่างสะดวก เข้าถึงตัวฐานทัพท่านกลางการบิงต่อสู้ของปืต่อสู้อากาศยานทุกขนาด ฝูงบินญี่ปุนได้รับชัยชนะ
     ภายใน 5 นาทีที่ทราบข่าวยอร์คทาวส่งเครื่องบิน 57 เครื่อง เรื่อบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐทั้ง 3 ลำ ส่งเครื่องบินเขาโจมตีกองเรือญี่ปุ่นโดยที่นากูโมไม่รู้ว่าเรื่อบรรทุกเครื่องบินสหรัฐที่ สามลำส่งเครื่องบินเข้าโจมตีกองเรือของตน
    เครื่องบินญี่ปุ่นเข้าโจมตีฐานทัพมิดเวย์ระลอกที่ 2 การสู้รบโดยเครื่องบินไม่สามารถทำอันตรายให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นได้เนื่องจากความด้อยประสบการณ์ของนักบินสหรัฐ แต่ด้วยความโชคดีของกองบินทิ้งระเบิดที่บังเอิญพบกองเรือพิฆาตญี่ปุ่นและคาดว่าจะเดินทางกลับไปสู่กองเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งก็จริงดังคาด เรือบรรทุกเครื่องบินของญีปุ่นจึงถูกจมลงสู้ก้นทะเล
    ความพลิกผันของโชคชะตา กองบินทิ้งระเบิดเพียงกองบินเดียวสามารถทำลายเรือบรรทุกเครืองบินญี่ปุ่นรวดเดียว 3 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 1 ลำ และกับเครื่องบินนาวีสหรัฐ” 18 ลำ ยุทธการมิดเวย์พินาศลง !
    ญี่ปุ่นยังเหลือฮิโรยุอีกหสึ่งลำ ซึ่งทางสหรัฐฯต้องการที่ทำลายเรือลำที่  4 นี้ จึงเกิดการสู้รบกับยอร์คทาวน์ ซึ่งเป็นการปะทะกันทางอากาศอย่างดุเดือน ยอร์คทาวน์ได้รับความเสียหาย ทางฝ่ายญี่ปุ่นรายงานว่าสามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯซึ่งไม่ตรงกับความจริง และทำให้ทางญี่ปุ่นเข้าใจว่าอเมริกา เหลือเรือบรรทุกเครื่องบินอีกเพืยงลำเดียว จึงคิดจะพลิกสถานการณ์
     ญี่ปุ่นคิดว่าหากสู่กัน 1:1 ญี่ปุ่นต้องจมเรือสหรัฐฯได้ก่อน จึงส่งเครื่องบินปล่อยตอบิโดขึ้นบินโดยบินไปโจมตียอร์คทาวน์ซึ่งญี่ปุ่นคิดว่าเป็นเอนเตอร์ไพร์ และสามารถจมเรือได้ ญี่ปุ่นเข้าใจว่าตนเองเป็นฝ่ายชนะ แต่ความเป็นจริงญี่ปุ่นโจมตีเรือลำเดิม 2 ครั้ง การขาดความระแวดระวังเนื่องจากเข้าใจว่าเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯถูกจมลงหมดแล้ว เย็นวันเดียวกันนั้น เครื่องบินนาวีสหรัฐฯจึงทำการทิ้งระเบิดจากมุมสูง ฮิโรยุ จมลงสู่ก้นทะเลในเวลาตี 2 ของวันใหม่
    7 มิถุนายน 1942 มีการตรวจพบว่าเรือบรรทุกเครืองยินสหรัฐฯ4ลำถ้าหากเป็นความจริงจะมีเท่ากับที่ยามาโมโต้มีอยู่หากรวมกันได้ ที่ประชุมเสนาธิการจึงลงความเห็นว่าควรถอนกำลังกลับ
     ความสูญเสียของญี่ปุ่นในครั้งนี้ เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ ได้แก่ อะกากิ คากะ ฮิโรยุ และโซริยุ เรือลาดตระเวณหนัก 1 ลำ เครื่องบินรบ 322 เครื่อง ทหารเรือ 3,500นาย ในขณะที่สหรัฐฯสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินยอร์คทาวน์เนื่องจากเสียหายหนัก เครื่องบิน 150 เครื่อง ชีวิตทหาร 307 นาย

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:United state of Amarica :KMT:CCP

     การโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และเพื่อให้การรบดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  2 กุมพาพันธ์ 1942 สหรัฐอเมริกาส่งนายพลโจเซฟ สติลเวลล์ และกองกำลังส่วนหนึ่งเข้าไปจีน การผนึกกำลังครั้งนี้ไม่นานนักความขัดแย้งก็เริ่มปรากฎ
     นายพล สติลเวลล์ ผู้มีบุคคลิกที่ค่อนข้างมุทะลุดุดันมีความคิดว่าการเข้าร่วมรบเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถกองทัพจีนให้อยู่ในวิสัยที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธภาพ จึงปรับปรุงกองทัพจีนทั้งหมด และรวมถึง เชียง ไค เชคจะต้องจริงจังกับการขับไล่ญี่ปุนออกจากพม่า เพื่อเปิดเส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัย เข้าสู่แผ่นดินจีนอีครั้งหนึ่ง
     แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างนั้น แต่เชียง ไค เชค ไม่เห็นด้วยกับนายพลอเมริกา  เชียง ไค เชคมีความมั่นใจว่ากำลังเท่าที่มีอยู่สามารถต่อสู้กับญี่ปุ่น หรือเหล่าขุนศึกซึ่งเป็นฐานอำนาจนิยมกษัตริย์ และรวมไปถึงกำลังกองโจรคอมมิวนิสต์ เชียงเห็นว่า สิ่งที่สหรัฐฯต้องกการทำคือยุติสงครามกับญี่ปุ่นซึ่งเป็นศัตรูโดยตรงของสหรัฐฯเอง หาใช่ทำเพื่อจีนไม่อีกทั้งยังเห็นความหาดำเนินตามแผนของนายพลสติลเวลล์ สามารถขับไล่ญี่ปุ่นออกไปได้ แต่ศัตรูภายในยังอยู่และจะจัดการอย่างไรกับศัตรุกลุ่มนี้
     ในการนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในกองทัพ เชียงไม่ต้องการมากนัก เชียง ไค เชค มีความคิดเช่นเดียวกับผู้ปกครองจีนรุ่นเก่า ที่มักต่อต้านเทคโนโลยีตะวันตก และว่าถ้ากองทัพจีนล้าหลังเขาจะปกครองง่ายกว่า เขาเห็นว่าการได้ทหารหัวใหม่ประจำการในกองทัพย่อมไม่เป็นผลดี โดยตัวอย่างในหลายประเทศทั่วโลกที่ทหารหัวใหม่มักก่อการปฏิวัติ สิ่งที่เชียง ไค เชค สนใจคือนโยบายการสู้รบทางอากาศ โดยใช้กองบินพยัคฆ์เวหาที่อยู่ใตการบัญชาการของนาพล อคร์ เซนโนลต์ ทิ้งระเบิดเข้าใส่กองกำลังญี่ปุ่น วิธีการเช่นนี้ เชียง ไค เชค เห็นว่า นอกจากจะใช้ได้ผลแล้วยังมีส่วนช่วยให้เขาสามารถคงรูปแบบของกองทัพจีนเดิมไว้ได้อีกทางหนึ่งด้วย
      ความไม่ลงรอยของผุ้นำทั้ง 2 สังเกตได้ว่า เชียง ไค เชค สนใจกับการปราบปรามคอมมิวนิสต์มากกว่า ที่จะคิดสู้กับญี่ปุ่น นายพลสติลเวลล์เห้ฯว่าญี่ปุ่นเป็นปัญหาที่สำคัญกว่า
      หากเชียง ไค เชค ทุ่มเทการพัฒนากองทัพให้เข้มแข็งเพื่อไว้สู้กับคอมมิวนิสต์ในอนาต เป็นเหตุให้ละเลยการต่อสู้กับญี่ปุ่น นายพลสติลเวลล์ควจะต้องต่อต้าน ซึ่งหนทางสู่ความเป็นใหญ่ของ เชียง ไค เชค ไม่เกี่ยวกับทางทหาร ในทางกลับกัน โอกาสของเชีย ไค เชค ที่จะมีชัยชนะเหนือคอมมิวนิสต์มีทางเป็นไปได้มาก ถ้าหากเชียง ไค เชค ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายพลสติลเวลล์ แต่จากการที่เขาไม่ต่อต้านญี่ปุ่น นอกจากจะเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจแก่กองทัพแล้ว ยังทำลายภาพพจน์ของเขาในฐานะนักต่อสู้ชาตินิยมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
      ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ผุ้นำทั้งสอง จึงหันหลังให้กัน และเมื่อกล่าวถึง เชียง ไค เชค นายพลสติลเวลล์ มักจะใช้คำว่า “ชั่วช้าสามานย์”และ “ไม่เก่งอย่างที่คิด” เป็นคำอธิบายคุณลักษณะของเชียงไค เชค พร้อมกับการยุยงนายทหารหนุ่มของกองทัพก่อรัฐประหาร แม้จะไม่มีผลทางปฏิบัติก็ตา  ส่วน เชียง ไค เชค เองก็ไม่อาจดำเนินการอย่างเด็ดขาดได้ เพราะติดทีผลประโยชน์มหาศาลที่สหรัฐฯจัดหามาให้ แต่อย่างไรก็ดีเชียง ไค เชค ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้นายทหารผู้นี้สร้างอิมธิพลเหนือกองทัพ การยุติความบาดหมางครั้งนี้โดยทางวอชิงตัน ประธานาธิบดี รูสเวลต์ตัดสินใจย้ายนายพลสติลเวลล์ออกจากจีน และส่งนายพลวีคไม่เยอร์มาดำรงตำแหน่งแทน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทหารทั้งสองก็กลับสู่สภาพเดิม
      เมื่อเข้ามารู้เห็นกับการสู้รบมากขึ้น สหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความสนใจกับกลุ่มชาตินิยมกลุ่มใหม่ นั้นคือพรรคอคมมิวนิสต์ เนืองจากความต้องการที่ตรงกัน 2 สิ่งคือ ความต้องการที่จะต่อต้านญี่ปุ่นและขับไล่ออกจากจีน  นอกจากนี้สหรัฐฯยังต้องการพันธมิตรไว้คอยช่วยเหลือนักบินสหรัฐที่ถูกยิงตกโดยเฉพาะทางภาพเหนือของจีน ซึ่งสหรัฐฯและประเทศคอมมิวนิสต์ในขณะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่การให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ของสหรัฐฯที่มีต่อประเทศคอมมิวนิสต์หลายต่อหลายประเทศโดยเฉพาะรัสเซีย แต่ในจีนและเวียดนามนั้นความช่วยเหลือของสหรัฐติดขัดอยู่ที่พันธมิตรที่สำคัญ คือ เชียง ไค เชค
     ในขณะที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกเช่นกัน เนืองจากกองกำลังที่มีขนาดใหญ่ขาดอาวุธที่ทันสมัย  และนอกจากนี้เมา เช ตุง ยังมองการณ์ไกลไปถึงเมื่อสงครามกับญี่ปุ่นเสริจสิ้นแล้วสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับก๊กมินตั๋งคงจะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนแลถ้าสหรัฐอเมริกายังคงให้ความช่วยเหชือแก่ก๊กมินตั๋งก็จะไม่เป็นผลดีแต่อย่างไรต่อพรรค CCp และต่อจีน ซึ่งตรงกับการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกา และนอกจากนี้ เมา เช ตุง ยังต้องการแยหตัวเป็นอิสระในการปกครองประเทศโดยปราศจากการชี้นำจาสหภาพโซเวียต บทเรียที่ได้รับจากสตาลินไม่เป็นที่ประทับใจนัก  และโซเวียตเองก็มีปัญหาภายในจึงไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่พรรคคอมมินิสต์จีนได้ สหรัฐฯอเมริกาจึงเป็นชาติเดียวที่ เมา เชา ตุง ต้องการคบหาเป็นพันธมิตรด้วย
      “ผู้แทนดิซี่”เป็นชื่อที่รู้จักกันในการพบปะกันอย่างลับๆ ระหว่าง เมา เช ตุง และตัวแทนจากวอชิงตันที่เมืองเยนาน ซึ่งภาพพจน์ของพรรคซีซีพีที่เขาได้พบเห็นคือ “มั่นคง เป็นที่ยอมรับ”จากคนจีนทั้งมวลโดย เฉพาะชาวไร่ชาวนา
      ความลังเลใจของสหรัฐฯคือเมือการเป็นพันธมิตรกับพรรค ccp หมายถึงต้องละทิ้งมิตรเก่า คือ ก๊กมินตั๋ง ซึ่งสหรัฐก็ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ และเชียง ไค เชค คือผุ้นำของรัฐบาลที่ได้อำนาจมาด้วยความถูกต้อง เป็นที่ยอมรับของคนจีน และกองทัพ เชียง ไค เชค มีอาวุธที่ทันสมัยกว่า จำนวนพลมากกว่า ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ต่อสู้กับญี่ปุ่นและประการสุดท้าย เชียง ไค เชค และภรรยา ของเขาต่างก็เป็นที่รู้จักและนิยมในหมู่อเมริกัน ภาพพจน์ของเชียง จึงเป็น “ผุ้นำในการต่อต้านการขยายอำนาจของจักรพรรดิ”

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Stalingrad

      สตาลินเป็นผุ้บัญชาการทหารสูงสุดควบคุม อำนาจทางการเมืองและการทหาร ได้เข้าตัดสินยุทธวิธีทาทหารและมีส่วนรับผิดชอบความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญหลายครั้ง ในขณะที่ฮิตเลอร์เข้าแทรกแซงการตัดสินใจทางการทหารบ่อยครั้งและโยกย้ายผุ้บัญชาการทหารระดับสูง การโจมตีจึงไม่บังเกิดผลเต็มที่นัก ฮิตเลอร์ยึดหลักจิตวิทยาเอาชนะแลเม่งหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ฮิตเลอร์ตัดสินใจมุ่งสู่ตะวันออก สู่สตาลินกราดบนฝั่งแม่น้ำโวลก้าและเข้าขัดคอเคซัสซึ่งเป็นบ่อน้ำมัน แล้วจึงวกกลับขึ้นเหนือเข้าโจมตีมอสโก แทนการบุกมอสโกในทันที
     ก่อนหน้านั้นฤดุใบไม้ร่วง ปี 1941 เมื่อทัพเยอรมันบุกประชิดมอสโกเจ้าหน้าที่รัฐบาลและคณะทูตได้ย้ายไปอยู่ที่กุยบีเซฟบนฝั่งแม่น้ำโวลก้า
      ทัพโซเวียตหยุดกำลังเยอรมันที่โวโรเนซ ขวางการรุกคืบของนาซีสู่แดนตอนกลางของแม่นำโวลก้า ทัพนาซี่มุ่งเป้าไปทางใต้สู่คอเคซัสไปหยุดอยู่ที่แหล่งน้ำมัน สตาลินกราดกลายเป็นหัวใจของการบที่ตัดสินแพ้ชนะ กองทัพภาคที่ 6 ของนายพลฟอน เปารุส ยึดเมืองไว้ได้เป็นส่วนใหญ่แต่ต้องสูญเสียอย่างมากและไม่สามารถข้ามฝั่งโวลก้าเพื่อล้มสตาลินกราดได้ โซเวียตป้องกันเมืองของตนเองอย่างยอมตาย โดยได้กำลังสนับสนุนเสบียงและอาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน ทัพโซเวียตสามารถตัดแนวทัพรูมาเนียและอิตาลีให้ขาดจากกาองทัพภาคที่ 6 ของฌอยรมนีได้ ฟอนเปารุสต้องยอมปราชัย ซึ่งมีผลต่อจิตวิทยาและเป็นจุดหักเหทางการยุทธ
     สงครามในสมรภูมินี้ใช้เวลาในการสู้รบทั้งสิ้น 6 เดือน เป็นสงครามที่เกิดความสูญเสียทั้งกำลังทหารพลเรือน และทรัพย์สิน จำนวนมาก สตาลินกราดตั้งตามชื่อของผุ้นำการยึดเมืองนี้จึงมีผลต่อขวัญและกำลังใจร่วมถึงการเล่งผลทางจิตวิทยาต่อทหารเป็นอย่างมาก
      สตาลินกราด หรือ วอลโกกราด เป็นสมรภูมิรบที่บ้าคลั่ง ฝ่ายหนึ่งต้องการยึด ทำลาย อีกฝ่ายต้องรักษามาตุภูมิ กองศพมากมายแม่น้ำโวลกากลายเป็นสีเลือด การรุกเข้าสู่สาลินกราด ทุกเมตร ทุกหลาเต็มไปด้วยการต่อสู้อย่างนองเลือด เยอรมันพยายามทำลายตึกรามต่าง ๆ ด้วยปืนใหญ่และการทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน แต่สตาลินกราดเป็นเมืองสมัยใหม่ การโจมตีของเยอรมันจึงเพียงทำลายรูปทรงอาคารเท่านั้น ตึกที่พังทลายเป็นเสมือนป้อมปรากการให้ฝ่ายรัสเซีย ที่ใช้ทุกซอก ทุกมุมของตัวอาคารที่พังทลาย ต่อต้านทหารเยอรมัน ภายหลังการต่อสู้อย่างหนัก เยอรมันก็เข้าถึงใจกลางเมืองได้ และมุ่งหน้าสู่เขตอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโรงงานขนาดหนัก
      29 กันยายน นายพลซุยคอฟ เข้าตีตอบโต้ และ เกออร์กี้ จูคอฟ นายพลรัสเซียได้เตรียมกำลังคอยตอบโต้เยอรมันที่อ่อนล้า ภายใน 24 ชั่วโมง กองทหารเยอรมัน และรูเมเนีย  ถูกตีแตกและถูกโอบล้อมทหารเยอรมันกว่า 270,000 นายตกอยู่ในวงล้อมในสตาลินกราด ฝ่ายเสนาธิการเสนอต่อฮิตเลอร์ให้เยอรมันถอนกองทัพที่ 6 ออกจากสตาลินกราด ในขณะที่การโอบล้อมยังไม่แน่นหนา แต่ฮิตเลอร์ให้การปฏิเสธพร้อมกับออกคำสั่งให้ทหารเยอรมันสู้จนคนสุดท้าย
      การรบในครั้งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงระเบียบวินับและความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่าย แม้ว่าจะเป็นวินัยที่ได้มาจากสายบังคับบัญชาที่เข้มงวดและเหี้ยมโหด ในช่วงแรกของการรบ โซเวียตเป็นฝ่ายตั้งรับ โดยตั้งมั่นอยู่ในเมืองสตาลินกราด เป็นช่วงที่โซเวียตสูญเสียทหารไปเป็นจำนวนมาก ทหารที่เกณฑ์เข้ามาใหม่ทั้งหมด เฉลี่ยมีชีวิตอยู่ไม่ถึงหนึ่งวัน กระนั้นฝ่ายโซเวียตยังสามารถทีจะคงวินัยในหมู่ทหารไว้ได้ ทหารโซเวียตจำนวนมากยอมที่จะสละชีวิตมากกว่าการถอยหรือการถูกจับเป็นเชลย “ทหารของโรดิมสเตฟได้สู้และตายที่นี่ เพื่อมาตุภูมิของตน” เป็นข้อความที่เขียนไว้บนกำแพงที่สถานีรถไฟหลักของเมือง
      กองทัพเยอรมันก็สามารถแสดงถึงวินัยทีสามารถคงไว้ได้อย่างน่าทึ่ง แม้ว่าจะถูกกองทัพโซเวียตโอบล้อมอยู่ในเมือง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายเยอรมันต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบ โดยถูกตัดขาดจากกำลังสนับสนุนทำให้เสบียงร่อยหลอลงเรื่อยๆ ทั้งยังขาดเครื่องนุ่งห่มที่จะต่อสู้กับความหนาวของรัสเซีย ทหารเยอรมันอดอาหารและหนาวตายเป็นจำนวนมากในช่วงหลังของการปิดล้อม อย่างไรก็ดี ทหารก็ยังปฏิบัติตามระเบียบวินัยและเชื่อฟังคำสั่งของนายทหารที่มียศสูงกว่า
      ในการต่อสู้ครั้งนี้ผู้นำทั้งสองฝ่ายต่างออกคำสั่งให้สู้จนตัวตายห้ามถอยและยอมให้แก่ฝ่ายตรงข้ามเป็นอันขาด นายพลฟรีดริช พอลลุม แห่งกองทัพเยอรมันเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะสู้ต่อไปเขาจึงฝ่าฝืนคำสั่งโดยตรงของผู้นำนาซี คือยอมจำนนต่อฝ่ายโซเวียตในที่สุด
      สตาลินกราด ถูกขนานนามว่า เป็นเมืองหุ้มเกราะ เป็นสมรภูมิที่มีทหารเสียชีวิตมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2  ความรักชาติของคนรัสเซียเป็นสิ่งที่ช่วยให้รักษาเมืองไว้ได้ เรื่องราวของเด็กหนุ่มเลี้ยงเเกะจากแคว้นอูราเป็นทั้งสิ่งบำรุงขวัญฝ่ายรัสเซียและทำลายขวัญฝ่ายตรงข้ามชื่อเสียงของเขาทำให้พลตรีเยอรมันมือดีที่สุดซึ่งเป็นอาจารย์อยู่ที่โรงเรียนพลซุ่มยิงต้องเดินทางจากเบอร์ลินเพื่อมากำจัดเขาโดยเฉพาะแต่สุดท้าย  Vassali Zaitsev เป็นฝ่ายชนะ
     น้ำตาแห่งความยินดี เสียงโห่ร้อง ดังทั่วสตาลินกราด เมื่อสิ้นสุดสงครามประชากรครึ่งเมืองเสียชีวิต ควาพลัดพรากจากคนที่รัก จากครอบครัว ความพินาศของเมือง เป็นสิ่งที่สงครามทิ้งไว้




วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Yamato gata senkan

     เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะ เป็นเรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นIJNดำเนินการจัดสร้างขึ้นระวห่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ 72,000ตัน ทำให้ยะมะโตะเป็นชั้นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดและติดอาวุธหนักที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา เรือชั้นนี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 460มม.(18.1นิ้ว) 9 กระบอกซึ่งเป็นปืนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการติดตั้งให้กับเรือรบ เรือประจัญบานชั้นนี้สร้างแล้วเสร็จตามแผน 2 ลำ(ยะมะโตะและมุซาชิ)ส่วนลำที่ 3 (ชินะโนะ)ดังแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินระหว่างการก่อสร้าง    vlcsnap-3039534
      เรือประจัญบานยะมะโตะ เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ ตั้งตามชื่อ “ยะมะโตะ”ซี่งเป็นจังหวัดโบราณในประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือประจัญยานชั้นยะมะโตะลำแรกของกางทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น  เรื่อประจัญบานมูซาชิที่อยู่ในชั้นเดียวกัน เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดและมีอาวุธทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้ ด้วยระวางขับน้ำ 72,800ตันและปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้อง 460 มิลลิเมตร (18นิ้ว) ทั้งคู่จมลงในระหว่างสงคราม
      ปี 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่ความเป็นชาตนิยมอย่างเข้มข้น การเคลื่อนไหวนี้เรียกร้องให้มีการขยายตัวของจัรวรรดิญี่ปุ่นออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉพียงใต้ การที่จะผดุงจักรวรรดิที่กว้างใหญ่ที่มีระยะถึง 4,800กม. จากประเทศจีนถึงหมู่เกาะมิดเวย์ จำต้องมีกองเรือขนาดใหญ่จึงจะควบคุมดินแดนญี่ปุ่นได้ และเมื่อญี่ปุ่นถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติในปี 1934 จากกรณีมุกเดน และประกาศยกเลิกสนธิสัญญาทั้งหมดที่ญี่ปุ่นเคยทำไว้ ทำให้การออกแบบเรือประจัญบานไม่ถูกจำกัดตามสนธิสัญญาและสามารถสร้างเรือรบที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศมหาอำนาจทางทะเลอื่นๆ
      ญี่ปุ่นต้องการรักษาอาณานิคมที่ผลิตทรัพยากรไว้ทำให้นำปไส่ความเป็นไปได้ของการเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพอันดับแรกของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็มีอำนาจทางอุตสหกรรมมากกว่าญี่ป่นซึ่งคิดเป็น 32.2เปอร์เซ็นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่งโลกในขณะที่ญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งเพียง 3.5 เปอร์เซีนต์ ของการผลิตทั่วโลก นอกจากนี้สมาชิกคนสำคัญหลายคนของรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกายงสัญญว่า ไจดอาชนะญี่ปุ่นในการแข่งขันด้านนาวีด้วยอัตรส่วนสามต่อหนึ่ง”ดังนั้น อำนาจทางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจึงไม่มีหวังที่จะแข่งขันชิงชัยกับสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุนี้ เงือนไขการออกแบบเรือประจัญบานลำใหม่จึงต้องเหนือกว่าแบบลำต่อลำเมื่อเทียบกับเรือของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในเรือแบบเดียวกัน เรือประจัญบานที่ออกแบบแต่ละลำต้องมีความสามรถในการต่อสู้กับเรือหลวงฝ่ายศัตรูได้พร้อมกันที่ละหลายลำ และต้องไม่มีค่าใช้จ่ายมากเท่ากับสหรัฐอเมริกาในการสร้างเรือแระจัฐบลาน ผู้บัญชากาองทัพบกและกองทัพเรือของญี่ปุ่นจำนวนมากหวังว่าเรือเหล่านี้จะขู่ขวัญสหัฐอเมริกาในการเข้าระงับการรุกรานในมหาสมุทรแบซิฟิกของญี่ปุ่น
     การวางแผนสร้างเรือชั้นประจัญบานใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นหลังจากญี่ปุ่นได้ออกจากสันนิบาติชาติและประกาศยกเลิกสนธิสัญญานาวิกวอชิงตันและสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอน หลังจากการพิจารณาแล้วจึงเลือกแบบเรือ 2 แบบจาก 24 แบบระยะทำการ 4,9001ไมล์ทะเลกับ 7,200ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16 นอต แบบทั้งถูกนำมาศึกาในข้อมูลขั้นต้นครั้งสุดท้าย และปรับปรุงครั้งสุดท้ายในเดือน มีนาคม 1937 โดยพลเรือตรี ฟุกุดะ เคนจิ มีระยะทำการ 7,200 ไมล์ทะเลยกเลิกเครื่องยนต์ลูกปสมดีเซลใช้แค่เพียงกังหันไอน้ำ  เครื่องยนต์นั้นต้องกการ “การซ่อมแซมอย่างมากและการบำรุงกักษาบ่อยครั้ง”เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ซึ่งสาเหตุเกิดจาก “ข้อบกพร่องในการออกแบบขั้นพื้นฐาน และเมื่อเครื่องยนต์เกิดเสียไม่สามรถซ่อมแซมได้ เกราะหนา 200 มม.ที่ใช้ป้องกันบริเวณนี้กลายเป็นตัวขัดขวางในการที่จะเปลี่ยนเครื่องยต์ใหม่แทนที่เครื่องเก่า แบบสุดท้ายมีมาตรฐานระวางขับน้ำ 64,000 ตัน มีระวางขับน้ำเต็มที่ 69,988ตัน ทำเป็นแบบชั้นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเรือประจัยบานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างมา ปืนใหญ่หลักในแบบเป็นปืนขนด 460มม. 9 กระบอก แบ่งเป็น 3 ป้อม ป้อมละ 3 กระบากซึ่งมีน้ำหนักกมากกว่าเรือพิฆาตในยุคทศวรรษที่ 1930 ในท้ายที่สุ ดเรือประจัญบานชั้นยะมะโตมีการเตรียมการจะสร้างทั้งสิ้น 5 ลำ


     ยุทธภัณฑ์ อาวุธยุทธภัณฑ์ของเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะเป็นปืนขนาด 46 ซม./ลำกล้อง 45(18.1นิ้ว) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถติดตั้งในเรือรบได้ รวมทั้งสิ้นสามป้อม แต่ละป้อมหนัก 2,774 ตัน ปืนแต่ละกระบอกยาว 21.13ม.(69.3ฟุต) หนัก 147.3เมตริกตัน (145ตัน)กระสุนที่ใช้เป็นกระสุนเจาะเกราะระเบิดแรงสูงยิงได้ไกล 42 กิโลเมตร ที่อัตรายิง 1.5ถึง 2 นัดต่อนาที ปืนหลักยสามารถยิงกระสุนต่อต้านอากาศยาน 3 ชิกิ สึโจะดัง (กระสุนรวม 3 แบบ) นหัก 1,360 กิโลเมตร (3,000 ปอนด์)ได้ สายชนวนถูกตั้งเวลาให้ระเบิดเมื่อยิงออกไปได้ไกลเพียงพอเมื่อระเบิดกระสุนจะแตกออกจะกลายเป็นชิ้นเหล็กจำนวนมาก และปล่อยหลอดที่บรรจุระเบิดเพลิงจำนวน 900 ชิ้น เป็นรูปทรงกรวยหันไปทางอากาศยานที่บินเข้ามา หลอดจะลุกไหม้เป็นเวลา 5 วินาที่ที่อุณหภูมิ 3,000 องศาเซลเซส(5,430 องศาฟาเรนไฮน์)ก่อนจะกลายไปเป็นเพลิงรอบๆ ไกล 5 เมตร ซึ่งมีสัดส่วนถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของกระสุนหลักบนเรือ แต่ไม่ได้ใช้เพื่อต่อต้านอากาศยามนัก เพราะจะเกิดความเสียหายที่ลำกล้องปืนหลักเมือยิ่งด้วยกระสุนชนิดนี้ กระสุนจะสร้างม่านเพลิงเพื่อใหอากาศยานที่เข้าโจมตีไม่สามรถบินผ่านได้ อย่างไรก็ตาม นักบินฝ่ายสหรัฐเห็นว่าเป็นเพียงดอกไม่ไฟมากกว่าอาวุธต่อต้านอากาศยาน
      เรือชินะโนะมีอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ต่างไปจากเรือในชั้นเนื่องจากเรือได้รับการดัดแปลง ในฐานะที่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับบทบาทในการสนับสนุน จึงมีการติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานมากเป็นพิเศษ ปืนบนเรือประกอบด้วยปืน 5 นิ้ว 16 กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 1 นิ้ว 125 กระบอก และจรวดต่อสู้อากาศยาน 336 ลูกในฐานยิงจรวดลำกล้อง 5 นิ้ว 28 ลำกล้อง 12 ฐาน ปืนเหล่านี้ไม่เคยได้ใช้ต่อสู้กับเรือฝ่ายศัตรูเลย
      เกราะ จากการออกแบบเพื่อให้สามรถต่อสู้กับเรือประจัญบานฝ่ายข้อศึกได้พร้อมกนที่ละหลายลำ ยะมะโตะจึงได้รับการติดตั้งเกราะโลหะหนาดังที่อธิบายโดยนักประวัติศาสตร์นาวี ว่า “เป็นระดับการป้องกันที่ไม่มีใครเทียบเท่าในการต่อสู้กันซึ่งหน้า เกราะหลักข้างลำเรือหนา 410 มม.และผนักหนา 355 มม.ถัดมาจากเกราะข้างลำเรือ นอกจากเกราะข้างลำเรือ นอกจากนี้รูปร่างของตัวเรือด้านบนมีความก้าวหน้าในการออกแบบเป็นอย่างมาก ลักษณะที่โค้งไปด้านข้างของเกราะนั้นเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและให้โครงสร้างที่แข็งแกร่างในขณะที่ได้นำหนักที่เกมาะสม เกราะของป้อมปืนหลักนั้นหนากว่าเกราะข้องลำเรือด้วยความหนาถึง 650 มม. แผ่นเกราะกาบเรือและป้อมปืนหลักทำจากเหล็กทำแข็งแบบวิกเกิส์ซึ่งเป็นเกราะโลหะผิวหน้าแข็ง เกราะดาดฟ้าหนา 75 มม.ทำมาจากโลหะผสมนิกเกิล-โครเมียม-โมลิบดีนัม จากการทดสอบวิถีกระสุนพิสูจน์ว่าดาดฟ้าที่เป็นโลหะผสมนั้นเหนือกว่าแผ่นโลหะวิกเกอส์เนื้อเดียว 10-15 เปอร์เซ็นต์ และถ้าหากนิเกิลมีปริมาณสูงสามารถทำให้แผ่นโลหะสามารถม้วนงอโดยไม่เกิดการแตกหักขึ้น
     มีการนำการเชื่อมโลหะแบบการเชือมอาร์ค ซึ่งเป็นการเชื่อมโลหะแบบใหม่ในสมัยนั้นมาใช้กับเรือในชั้น เพื่อเพื่มความแข็งแรงทนทานให้กับเกราะชั้นนอก ด้วยเทคนิคนี้ เกราะข้างส่วนล่างจึงได้รับการเพิ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรือซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิถีกรสุนของเรือประจัญบานขั้นโทะซะ และกระสุนชนิดใหม่แบบ 91 ของญี่ปุ่นที่สามารถเคลื่อตัวไปในน้ำได้ไกลและยังใช้เสริมความแข็งแกร่งให้กับตัวเรือทั้งหมด เมื่อรวมแล้วเรือชั้นยะมะโตะประกอบไปด้วยห้องผนึกน้ำ 1,147 ห้อง ซึ่ง 1,065 ห้องอยู่ใต้เกราะดาดฟ้าเรือ
     อย่างไรก็ตาม เกราะของเรือชั้นยะมะโตะยังคงมีจะอ่อนที่ร้ายแรงหลายจุด ซึ่งเป็นเหตุให้เรือในชั้นอับปางลง โดยเฉพาะจุดรอยต่อระหว่างกอบเรือล่างและกาบเรือบน ที่กลายเป็นจุดอ่อนใต้เส้นแนวน้ำที่อ่อนไหวต่อการโจมตีด้วยตอร์ปิโดจากเครื่องบิน นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนทางโครงสร้างบริเวณหัวเรือ ซึ่งมีเกราะบาวกว่าปกติ ตัวเรือ ชินะโนะ มีโครงสร้างอ่อนแอที่สุด มีการติดตั้งเกราะน้อยและไม่มีห้องผนึกน้ำเมื่อเวลาเรืออับปาง
     เรื่อประจัญบานมูซาชิ เป็นรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรรดิญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งสองและเป็นเรือธงแห่งกองเรือผสม ตั้งชื่อตามจังหวัดมูซาชิซึ่งเป็นชื่อจังหวัดในสมัยโบราณของญี่ปุ่น เป็นเรือลำที่สองในชั้นยามโตะต่อจากเรือประจัญบานยามาโตะ เป็นเรือที่หนักและติดอาวัธหนักที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ 72,800 ตันและติดตั้งปืนใหญ่ 460 มม. 9 กระบอก


     มูซาชิและยามาโตะได้รับการสร้างขึ้นให้สามารถต่อสู้กับเรือหลวงฝ่ายตรงข้ามได้ทีละหลายลำพร้อมกัน เป็นวิธีที่จะชดเชยความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่ด้อยกว่ากองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เรือแต่ละลำในชั้นยามาโตะนั้นมีระวางขับน้ำมากกว่า 70,000 ตัน และหวังกันว่าอำนาจการยิงของมูซาชิและเรืออื่นในชั้นจะสามารถชดเชยความต่างชั้นจากอำนาจทางอุตสาหกรรมของสหรัฐได้
     อำนาจการยิงของปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร ปืนใหญ่ 1 กระบอกกับกระสุน 1 ลูกนั้นมีน้ำหนักรวม ประมาณเกือบ 2 ตัน(1,845 กิโลกรัม)แบบ 94 มีระยะยิงไกลสุด 42,000ม.(26.1ไมล์)โดย มีจอมกระสุนวิถีสูงกว่าความสูงของภูเขาไฟฟูจิ ถึง 2 เท่าความเร็วต้น 780/วินาที สามารถทะลุเกราะเหล็ที่หนา 430 มิลลิเมตร ได้ เรดาร์ของเรือประจัญบานมุซาชิ สามารถตรวจจับเครื่องบินที่เข้ามโจมตีได้ตั้งแต่ระยะห่าง 240 กิโลเมตร และเครื่องฟังเสียงใต้น้ำสามรถตรวจจับลูกตอร์ปิโดที่วิ่งเขาหาเรือได้ตั้งแต่ระยะห่าง 5,000เมตร
      จากเริ่มก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน ยะมะโตะ และมูซาชิ ได้กลายเป็นสิ่งที่แสดงออกในเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น โดยเฉพาะยะมะโตะ เมื่อก่อสร้างเสร็จสิ้น เรือได้เป็นตัวแทนถึงความเป็นเลิศทางวิศวกรรมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น นอกจากนี้ทั้งจากขนาด ความเร็ว อำนาจการยิงของเรือทั้งสองลำแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศญี่ปุ่นและความพร้อมที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนจากมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นรูปธรรม ชิเงะรุ ฟุโดะมิ เสนาธิการประจำส่วนปฏิบัติการของกองเสนาธิการกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น บรรยายถึงเรือทั้งสองลำว่า “เป็นดั่งสัญลักษณ์ทางอำนาจของกองทัพเรือที่จัดเตรียมไว้ให้แก่ทหารและความเชื่อมั่นอย่างที่สุดในกองทัพเรือของพวกเขา

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Shoah

Shoah เป็นคำภาษาฮิบรูในความหมายว่า “เหตุหายนะใหญ่หลวง ความฉิบหาย มหันตภัยและการทำลายล้าง” ซึ่งปรากฎในหนังสือในกรุงเยรูซาเล็ม ต่อมาได้แปลเป็น “การล้างชาติโดยนาซีต่อชาวยิวในโปแลนด์”โดยก่อนหน้านั้น คำว่า “Shoah”เป็นคำที่ใช้บรรยายถึงพรรคนาซีว่าเป็นความหายนะใหญ่หลวง
holoscaust เริ่มปรากฎใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ในความหมาย “การตายของคนกลุ่มใหญ่อย่างรุนแรง”ในปัจจุบันใช้อธิบายถึงการล้างชาติโดยนาซีเท่านั้น holocaust เป็นการแปลความหมายมรจากคำว่า shoah

     ขบวนการล้าชาติของพรรคนาซี เกิดจากากรแบ่งแยกเชื้อชาติระหว่างพวกชนชาติเชื้อสายอารยันและพวกที่ไม่มีเชื่อสายอารยันโดยมุ่งเป้าไปที่ชาวยิว การทำลายล้างชนชาติยิวเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเพมือพรรคนาซีได้ขึ้นนำประเทศเยรมันโดยฮิตเลอร์ ชาวยิในเวลานั้นถุกกดขี่ข่มเหงในทุกรูปแบบ พรรคนาซีออกกฎหมายหว่า 400 มาตราเพื่อริดรอนสิทธิชาวยิว ชาวยิวจำนวนหนึ่งอพยพไปยังปาเลสไตน์ ท้ายสุดพรรคนาซีไล่ต้อนชาวยิวไปอยู่อาศัยที่บริเวณกักกัน ถูกใช้แรงงานหนักชาวยิวมากมายในสภานกักกันตายเพราะความหิวโหย
     ค่ายกักกัน นาซีเยรมันจัดตั้งค่ายกักกันขึ้นตลดออินแดนยึดครองของตน ดดยตั้งใจที่จะคุมขังนักโทษการเมืองและผุ้ต่อต้านซึ่งแตกต่างจากค่ายมรณะที่เป็นค่ายทีสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการสังหารประชากรจำนวนมาเพียงอย่างเดียว
     แม้ค่ายกักกันจะไม่ได้ออกเเบบอย่างเป็นระบบเพื่อสังหารหมู่โดยเฉพาะแต่นักโทษในค่ายกักกันก็เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายหรือไม่ก็ถูกประหารชีวิต
     ค่ายมรณะ หรือ Death camp สร้างโดยนาซีเยอรมันระหว่งสงครามโลกรั้งที่สองเพื่อเป็นสถานที่สำหรับสังหารผู้คนเป็นจำนวนล้านอย่างมีระบบ การพันธุฆาตชาวยิวเป็น “วิธีการแก้ปัญหาสุดท้ายของปัญหาชาวยิว
    ในปี 1942 ตำรวจที่ตำบลลุบินโอดีโล โกลบ็อกนิก ได้สร้างค่ายมรณะแรกขขึ้นตามคำสั่งของ"ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์”ตามปฏิบัตการไรน์ฮาร์ดซึ่งเป็นการปฏิบัติการที่มีจุดมุ่งหมายในการกำจัดชาวยิงจากแผ่นดินเยอรมัน ในระยะแรกร่างของผุ้ถูกสังหารถูกผังในหลุมศพนิรนามแต่ต่อมาก็เปลี่ยนไปใช้การเผา นักโทษส่วนใหญ่ที่ถูกนำมายังค่านมรณะมีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดอยู่ไม่เกินสงถึงสามชั่วโมง
       ความทารุณของสงคราม นอกจากจะแสดงออกโดยการเข่นฆ่ากันในสนามรบ ยังมีเรื่องราวที่ทำให้โลกตะลึกอีกมากมายหลังจากสงครามยุติลง และหนึ่งในนั้นคือการคุมขังนักโทษและปฏิบัติต่อนักโทษโดยเรียกว่าพวก “ต่ำกว่ามนุษย์”นั้น สร้างความสยดสยองและความสลดหดหู่ทิ้งไว้เป็นสิ่งเตื่อนความจำให้ระลึกถึงความโหดร้ายของสงคราม
       ค่ายกักกันเอาชวิตซ์ “เอ้าท์ชวิตซ์เป็นภาษาเยอรมัน ที่ใช้เรียกเมือง Oswiecim ที่อยู่ทางเหนือของโปแลนด์ ที่ถูกยึดและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันเอ้าท์ชวิตซ์เป็นค่ายกักกันและค่านมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
     ผู้บังคับบัญชาการของค่าย รูดอล์ฟ เฮิสส์ Rudolf Hoss ให้การในการพิจารณาคดีที่นูเรมเบิร์กว่าประชากรถึงราว 3 ล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอ้าชวิทซ์แป่งนี้แต่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอ้าท์ชวิตซ์เบียร์เคเนาปรับตัวเลขเป็น 1.1 ล้านคน ร้อยละ90 เป็นชาวยิว จากเกือบทุกประเทศในยุโรป ผุ้ประบชะตากรรมเกือบทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมก๊าซโดยใช้ก๊าซ Zyklon B การเสียชีวิตอื่นมาจากความอดอย่าง การบังคับใช้แรงงาน การขาดการดูแลทางสุขภาพ การถูกสังหารตัวต่อตัว และการทดลองทางการแพทย์
      เอ้าชวิตซ์ ประกอบด้วยค่ายกักกันขนาดใหญ่ 2 แห่งและค่ายย่อมอีก 36 แห่ง โดยใช้เป็นที่สังหารหมู่ขาวยิว ยิปซี กว่า 1.1 ล้านคน ณ ค่ายแห่งนี้
       โรงพยาบาลของหน่วยเอส.เอส.เป็นที่ทำการทดลองโดยใช้มนุษย์เป็นเครื่องทดลอง
นายแพทย์ โจเซฟ เมงเกเล Dr.Josef Mengele นายแพทย์หนุ่ม ผู้จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมิวนิกด้วยวัย 24 ปี เป็นสมาชิกพรรคนาซีได้รับฉายาว่า เทพแห่งความตาย Ang of Death เป็นผู้ซึ่งตัดสิ้นว่าเชลยที่ถูกส่งมาโดยทางรถไป เมืองลงมาสู่ค่ายแล้วเขาจะเป็นคนที่ที่ชัว่า คนนี้อยู่ทางซ้าย คนนั้นอยู่ทางขวา(ทางซ้าอย คือ ถูกส่งเข้าห้องรมแก๊สพิษ ทางขวา ถูกนำปไช้แรงงาน หรือใช้ในการทดลอง) ในการควบคุมการแพร่ระบาดของเหาเขาใช้วิธีเผาที่พักที่มีการระบาด พร้อมกับผู้ป่วยที่เป็นนั้นทั้งเป็น เขาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในหารใช้แก๊สพิษไซคลอนบี ในการสังหารหมู่ การทดลองของเขามีดังนี้
- การทดลองเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกาย ทางพันธุกรรม

- การเปลี่ยนสีตาโดยการฉีดสารเคมีเข้าสู่ลูกตของเด็ก
- การสูญเสียอวัยวะ แขน ขาทั้งความสามารถในการทนความเจ็บปวด การรับกษ การทดลองของเขาคือการนำเชลย มาตัดแขนตัดขา เผ้าดูอาการว่าจะทนพิษบาดแผลได้นานเท่าไร ที่เวลาต่าง ๆ ต้องใช้การช่วยเหลือ หรือประถมพยาบาลอย่างไร จึงสามารถช่วยชีวิตได้ทัน เป็นต้น
แพทย์หญิง เฮอร์ทา โอเบอร์ฮอยเซอร์ Dr.Herta Oberheuser ทำการทดลองเกี่ยวกับการรักษาบาดแผล ที่เกิดจากสงคราม ซึ่งการที่จะได้ตัวอย่างที่เกาะสมต่อการทำลองต้องใช้เวลา เธอจึงสร้างบาดแผลต่าง ๆ ที่ต้องการขึ้นมา โดยการ ผ่าร่างกายของเชลยให้เกิดบาดแผล แล้วใส่เศษดอน ต้นไม่ใบหญ้า เศษกระจก เศษเหล็ก เป็นการจำลองแผลจากสงครามและรอจนอักเสบอย่างรุนแรง แล้วทำการรักษา
- บาดแผไฟไหม้ เธอกีดร่างกายเหบื่อ แล้วใส่สาร Phophorous ลงในแผล แล้วจุดไฟ จะเกิดการลุกไหม้อย่างแรง ทำให้เกิดแผลไฟไหม้รุนแรง
     ในการทดลองต่อสู้กับความหนาว เชลยจะถูกแช่ในน้ำเย็นจัด หัวหน้าการทดลองคื อนายแพทย์ ซิ
กมุนด์ ราสเชอร์ Sigmund Rascher และผลการทดลองทำให้ทราบเป็นครั้งแรกว่า ถ้าอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ต่ำกว่า  25 องศาเซลเซียส มนุษย์จะเสียชีวิต ทั้งยังศึกษาด้วยวิธีต่างสำหรับผุ้ที่เกิดอาการ เกิดสภาวะหนาวจัด Hypothermia ซึ่งการทดลองมีทั้งการ สอ่งด้วยหลอดไฟความร้อน การฉีดน้ำร้อนเข้าสู่กระเพาะ ลำไส้ การให้ความร้อนโดยร่างกายโดยใช้เชลยหญิงให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วย การแช่ในน้ำร้อน(เป็นวิธีที่ดีที่สุด)การทกลองนี้เป็นหนึ่งในการเตรียมพร้อมเพื่อนจะนำไปสู่การบุกยึดรัสเซีย
     High Altitude การทดลองความกดอากาศสูง โดยการนำเชลยไปอยู่ในห้องควบคุมแรงดัน แล้วทำการลดแรงดันไปเรื่อย ๆ เพื่อจำลองสภาพความสูงที่ 20,000 เมตรจากพื้นดิน และลดปริมาณออกซิเจนในอากาศ เพร้อมทั้งบันทึกผลการทดลองที่ความดันต่างฟ กันจนถึงความดันสุดท้ายที่มนุษย์จะเสียชีวิต การทดลองนี้ทำเพื่อหาระบบป้องกันนักบินขับไล่ของเยอรมัน จากการดีดตัวออกจากเครื่องบิน
     การทดลองผลของมัสทาร์ทแก๊ส ผลจากากรได้รับพิษ การักษาพยาบาล


วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Bernard Law Montgomery

      เยอรมันทำการขับไล่สัมพันธมิตรออกจากแนวกาลาซากองทัพรถถังมุ่งหน้าไปยังอียิปต์ทิ้งทิ้งทหาร 33,000 นายพร้อมอาวุธจำนวนมากไว้ที่โทรบรุ  เมือ่รอมเมลยกทัพมาถึงโทรบุรคและยึดโทรบรุดคืนได้ในวันที่ 21 มิถุนายน 1942 การสูญเสียป้อมปืนเป็นการสูญเสียครั้งำคัญของอังกฤษรองจากการสูญเสียสิงคโปร์
    ในการถอยครั้งนี้นับเป็นโชคดีอีกครั้งของอังกฤษ เนื่องจากว่าในขั้นมีคำสั่งถอยไปยังเมอร์ซา มาทรุธ แต่ได้มีการยเกเลิกคำสั่งโดยให้ถอยลึกเข้าไปอีก ไปยังบริเวณอาลาเมน กองทัพที่ 8 จึงรอดพ้นจากกองทัพรอมเมลที่ตามมายังเมอร์ซา มาทรุธในวันต่อมา ทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินี่ต่างคาดการณ์ว่ารอมเมลจะยัดอียิปต์ได้ในเวลาไม่กีวัน
      ยุทธการ เอว อาลาเมนครั้งที่ 1 นั้นต่างคิดว่าจะเผด็จศึกได้โดยเร็ว แต่เนื่องจากความอ่อนเพลียและขาดแคลนเครื่องกระสุนรอมเมลจึงสั่งหยุดทัพ ในจังหวะนี้เองฝ่ายอังกฤษเร่งทำการเสริมกำลัง ปลายเดือนกรกภา รอมเมลจึงรุกฝ่ายอังกฤษแต่ สัมพันธมิตรสามารถหยุดการบุกของรอมเมลไว้ได้ รอมเมลจึงถอยทัพและสร้างแนวป้องกันตรงนั้น

      เชอร์ชิล เดินทางมาตรวจดูสถานการณ์การรบที่ไคโร ออซิลแลคบอกว่าต้องเลื่อนการโจมตีกองทัพอรอมเมลออกไปนกว่าจะถึงเดือนกันยายน เพื่อให้ทหารอังกฤษเคยชินกับสภาพดินฟ้ากากาศกก่อน เชอร์ชิลล์ไม่ประสงค์อย่างนั้นจึงปลดออซิเลคออกจากตำแหน่าง และ แต่งตั้งนายพลเอบร์นารด์ ลอว์ มอนโกโมรี แต่มอนโกโมรีกลับของเลื่อนการโจมตีรอมเมลออกไปนานกว่าที่ออซินเลคขอไว้ก่อนหน้านี้
      ก่อนหน้านี้ทั้งที่อังกฤษมีความเหนือกว่าทั้งทัพอากาศ กำลังพลและกำลังสนับสนุนแต่กระนั้นอังกฤษก็ได้รับแต่ความปราชัยครั้งแล้วครั้งเล่า แผนการแรกของมอนโกโมรี่คือการเพิ่มขวัญกำลังใจของทหารอังกฤษในอียิปต์ โดยเขียนเอกสารมอบให้เหล่านายทหารของกองทัพตัวเองอ่านให้นายทหารใต้บังคับบัญชาฟังดังๆ  ความว่า
- เมื่อข้าพเจ้า(มอนต์โกเมอรี่)ได้เข้ามาบัญชาการกองทัพที่แปด ข้าพเจ้าก็ขอกล่าวว่าคำสั่งของข้พาะเจ้า ทำลายรอมเมลและกองทัพและเป้าหมายนี้ก็จะสำเร็จในเวลาอันสั้น
- ตอนนี้เราพร้อมแล้ว สงครามครั้งนี้จะกลายเป็นสงครามครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดหักเหครั้งสำคัญของมหาสงครามโลกนี้ สาตาของทั้งโลกกำลังจดจ้องมาที่พวกเราด้วยกระหายใคร่รู้ว่า ผลของสงครามจะหันไปในทิศทางใดซึ่งพวกเราก็จะตอบคำถามของเขาเหลช่านั้นได้ว่า หันมายังทิศทางของเรา
- เรามีเครื่องมือชั้นหนึ่ง รถถังชั้นดี ปืนต่อต้านรถถังชั้นเยี่ยม กระสุนมากมายปืนใหญ่หลากหลาย แพวกเราก็ยังได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศที่ดีที่สุดใสโกลนี้ทั้งหมด เหนื่อสิ่งอื่นใดสิ่งสำคัญที่สุดของพวดเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นทั้งนายทหารหรือพลทหารคนใด ควรจะเข้าสู่สงครามอันนี้ด้วยายตาที่มองไปข้อาหน้าที่จุดหมายทีจะสู้และฆ่าฟันศัตรธ และชนะสงครามแลหากว่าเราทำผลนั้นได้สำเร็จได้ด้วยกัน เราก็จะขับไลศัตรูขึ้นเหนือพ้นไปจากแอฟริกา
- ยิ่งชนะสงครามครั้งนี้ เร็วเท่าไร เราก็ยิ่งจะได้กลับบ้านพบหน้าครอบครัวเร็วเท่านั้น
- ดังนั้นทหารทุกคนและนายทหารทุกท่าน จงเข้าสู่สงครามนี้ด้วยใจฮึกเหิมและทำหน้าที่ของทุกคนให้สมบูรณ์ตราบใดที่เขาเหล่านั้นมีลมหายใจอยู่ในกายและข้าพเจ้าจะไม่ให้ใครหน้าไหนยอมแพ้ตราบใดที่เข้าเหล่านั้นไม่บาดเจ็บปลุอยู่ในสภาพต่อสู้ได้ขอพวกเราจงอธิษฐานให้พระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ในสงคราม ขอโปรดจงมอบชัยชนะแก่พวกเราด้วยเทอญ
      เบอร์นาร์ด ลอว์ มอนต์โกเมอรี่  Bernard Law Montgomery เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1887 เกิดในครอบครัวทหาร แต่ในวัยเด็ก มอนโกโมลี่ไม่ชอบการเป็นทหาร ในวัยหนุ่มมอนต์โกเมอรี่เป็นนักเลงอังกฤษขนานแท้ แปลกที่ไม่กินเหล้าและไม่สูบบุหรี่ ก่อเรื่องวิวาทเพื่อนร่วมสถาบันโรงเรียนนายร้อย ผลคือมอนต์โกเมอรี่โดยไล่ออก แต่กลับมารรับราชการทหารในตำแหน่งนายร้อย เมื่อได้รับคำสังให้ประจำการที่อินเดีย ก็ออกลายวิวาททำลายข้าวของในคลับแห่งหนึ่งในอินเดีย
     แต่ด้วยความดีเดือดในสงครามโลกครั้งที่ 1 มอนโกเมอรี่สู้กับศัตรูแบบไม่กลัวตาย พาลูกน้องไปตายมากมายและตนเองขึ้นบัญชีเป็นบุคคลหายสาบสูญ 7 วัน กว่าจะพาสังขารกลับฐานบัญชาการอังกฤษได้ เขาได้รับเหรียญกล้าหาญจากสมรภูมิ Ypres ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายพันหลังจบสงคราม ชื่อของมอนต์โกเมอรี่จึงเป็นที่รู้จักกันทั้งกองทัพ

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:SS

     ทัพแดงไม่สามารถต้านทานการบุกแบบสายฟ้าแลบหรือ บลิทคลิซ ของเยรมันได้จึงถอนร่านจาแนวชายแดน นายพลไฮนส์ กัสเดอร์เลี่ยนนำรถถังยุกถึงสโมเลนส์ ซึ่งห่างมอสโกเพียง 22ถไม่ล์ภายในสี่สัปดาห์ ขณะเดียวกันทัพเหนือก็บุกฝ่าบอลติกไปยังเลนินกราด กลังทัพรุสเวียหลายแสนคนยอมจำนน ประชาชนในโปแลนด์ตะวันออก บอลติกและฮุเครนให้การต้อนรับเยอรมัน
     ฮิตเลอร์สั่งให้ยึดคีเยฟก่อนในขณะที่ กัตเดอร์เรียนต้องกการยึดมอสโกโดยเร็ว  เยอรมันได้เชลยศึกราว 600,000 คนที่อูเครนส่วนใหญและล้อมเลนินกราดไว้ได้ แต่กว่าจะถึงชานเมืองมอสโกก็เสียเวลาไปมากและเข้าเดือนธันวาคมต้นฤดุหนาว เยอรมนีเสียกำลังและขาดแคลนเสื้อผ้าและยานพาหนะที่เหมาะสม รุสเซียจึงสามารถทำการรุกเยอรมันคืนได้เป็นครั้งแรกในยุทธการมอสโก รุสเซียยึดเส้นทางสู่เลนินกราดและยึดรอสตอฟได้ ฮิตเลอร์จึงไม่สามารถเอาชนะรุสเวียได้อย่างที่ต้องการ
      เยอรมันยึดครองดินแดนโซเวียดได้ราว 400,000ตารางไมล์และประชาชนราว 65 ล้านคน อยอรมันมีโครงการที่จะใช้แผ่นดินรุสเซียเป็นแหลงผลิดอาการและแรงงานบังคับ ในเรื่อนี้เจ้าหน้าที่เยอรมันในแดนยึดครองมีความเห็นขัดแย้งกัน ผู้นำทหารและเจ้าหน้าที่ต่างประเทศเห็นว่าควรเอาชนะใจชาวรุสเซีย โดยที่พรรคนาซีและหน่วยตำรวจลับเกสตาโปกลับปฏิบัติต่อชาวรุสเซียเหมือนไม่ใช่มนุษย์
       ชาวรัฐเสียพร้อมจะให้ความร่วมือกับเยอรมันอยู่แล้ว เนื่องจากความต้องการเสรีภาพในการนับถือศาสนา ปกครองตนเองและเลิกระบบรวม บริวารของนาพล เกอริง หัวหน้าหน่วยเกสตาโปถืออำนาจปฏิบัติฉกฉวยเอารัดเอาเปรียบในดินแดนที่ยึดมาได้อย่างโหดเหี้ยม นโยบายตะวันออก ที่จะสร้างอาณานิคมเยอรมันโดยใช้ทรัพยากรโซเวียตจึงไม่ได้ผล กองกำลังกว่าดล้าง ขจัดพวกที่ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ยิวและพวกก่อการใต้ดินอย่างทารุณ คนบริสทุธิ์รวมทั้งผุ้หญิงและเด็กหลายพันคนต้องตกเป็นเหยื่อ ผู้นำโซเวียตจึงกลับมาได้รับการสนับสนุนอย่างมากมาย
    สตาลินผู้ซึ่งเก็บตัวเงียบอยู่นานประกาศทางวิทยุให้ชาวโซเวียตร่วมใจกันต่อต้านพวกบุกรุกที่พยายามกดขี่ชาวโซเวียตให้เป็น “ทาสรับใช้เจ้านาย และบารอนเยอรมันและจฟื้นฟูระบอบซาร์และขุนนางที่ดินขึ้นอีก”
      SS ไฮน์ริช ฮิม์เลอร์ SS= Schutztaffel หมายถึง “กองอารักขา” หรือเหล่าคุ้มกัน เป็นองค์การกึ่งทหาร ภายใต้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และพรรคนาซี ก่อตั้งขึ้นบนอุดมการณ์นาซี เอสเอสภายใต้บังคับบัญชาของ ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์มีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติหลายครั้งระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง “ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ เป็นผู้บัชาการหน่วยเอส เอส ผู้บัญชาการทหารและสมาชิกระดับสูงของพรรคนาซี ในตำแหน่งหัวหน้าตำรวจเยอรมันและรัฐมนตรีมหาดไทย ซึ่งควบคุมตำรวจและกองกำลังความมั่นคงทั้งหมด รวมทั้งเกสตาโปด้วย เป็นผู้มีอำนาจเต็มทั่วไปสำหรับฝ่ายปกครองของไรซ์ทั้งหมด ฮิมม์เลอร์เป็นหนึ่งในผุทนงอำนาจที่สุดของฮอโลคอสต์ ในฐานะผุ้ควบคุมดูแลค่ายกักกัน ค่ายมรณะ และ”กำลังรบเฉพาะกิจ”ซึ่งมักใช้เป็นหน่วยพิฆาตซึ่งปฏิบัติหน้าที่หลังแนวหน้าเพื่อฆาตกรรมชาวยิว พวกคอมมิวนิสต์ และ “พวกต่ำกว่ามนุษย์”ในดินแดนยึดครอง
       เอสเอสก่อตั้งในปี 1925 ภายใต้ชื่อ “ซาล-ชุทซ์” (อารักษ์หอประชุม)ตั้งใจให้เกิดความปลอดภัยแก่การประชุมของพรรคนาซี และเป็นหน่วยคุ้มกันส่วนบุคคลของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์  เนื่องจากช่วงแรกของการก้าวขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองของฮิตเลอร์นั้นบังไม่ได้รับการสนับสนุนจากองทัพเยอรมันอย่างเต็มที่ ซึ่งฮิตเลอร์ก็ไม่ไว้ใจกองทัพเท่าไรนัก เอสเอสจึงเกิดจากฮิตเลอร์และไฮนริช ฮิมม์เลอร์ซึ่งร่วมมือกันกำจัดแอร์นสท์ เริมและหน่วยอารักขาเดิมที่เป็นทหารผ่านศึกและอดีตหน่วยเสรีเยอรมันหรือ เอสเอ จนหมดและเปลี่ยนเป็น “ชุทซ์ชทัฟเฟิล”เติบโตขึ้นจากรูปแบบหน่วยกึ่งทหารขนาดเล็กซึ่งเป็นหนึ่งในองค์การที่ใหญ่และทรงอำนาจที่สุดในนาซีเยอรมัน
      การคัดเลือกทหารที่จะเข้าหน่วยเอสเอสจะต้องเป็นชายเลือดเยอรมันพันธ์แท้แบบพวกอารยัน สูงอย่างน้อย 180 เซนติเมตร กำลังพลของเอสเอสจะได้รับการอบรม ปลูกฝังให้จงรักภักดีต่อผู้นำของเขาอย่างเหนี่ยวแน่น และปราศจากการตั้งคำถามสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น ได้รับการฝึกฝนอย่างหนัก และถูกปลูกฝังอุมการณ์ของนาซี ถูกปลูกฝังแนวความคิดเรื่องความเป็นเลิศของชนชาติอารยันเพื่อการสร้างชาติไปสู่ไร่ซ์ที่สาม รวมทั้งมีการเกณฑ์เด็กชายและหญิงชาวเยอรมันทังหมดให้เข้าหน่วยยุวชนฮิตเลอร์เพื่อเป็นหลักสูตรวิชาทหาร ให้เข้ารับการเป็นทหารและหน่วยเอสเอส
      วิธีการต่อสู้ รุสเซียใช้ยุทธวิธีแบบเก่าตอบโต้เยอรมนี (ลักษณะคล้ายกับ การรบแบบมองโกล)คือล่าทัพ หลีกหนีออกจากวงล้อมให้ศัตรูรุกตามจนหลุดเข้ามาในเขตรุสเซียขาดการติดต่อกับพวกและกองกำลังซุ่มอยู่จะเข้าโจมตีแบบกองโจร จากนั้นก็รวมกำลงตีโต้ให้แตกพ่าย และใช้นโยบายทำลายสิ่งที่เอื้ออำนายแก่ข้าศึกในขณะเดียวกัน
       ด้วยความคุ้นเคยกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ “แม่รุสเซียเป็นมิตรที่ชื่อสัตย์ที่สุด”สร้างความลำบากแก่กองทัพเยอรมัน การต่อสู้แบบกองโจรเป็นวิธีที่สตาลินเลือกใช้ตามแนวที่ทัพเยอรมันตั้งมั่นอยู่และโฆษณาปลุกความรู้สึกชาตินิยม
     ตั้งแต่ปี 1941 ประเทศพันธมิตรได้ตกลงร่วมมือกันต่อสู้นาซีเยอรมันและภาคี และช่วยเหลือสหภาพโซเวียตทางด้านการทหาร แม้ว่าวินสตันเชอร์ชิลนายกรัฐมนตรีอังกฤษจะปฏิเสธที่จะคืนคำที่เคยกล่าวโจมตีบอลเชวิคก็ตาม

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...