วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Yamato gata senkan

     เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะ เป็นเรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นIJNดำเนินการจัดสร้างขึ้นระวห่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ 72,000ตัน ทำให้ยะมะโตะเป็นชั้นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดและติดอาวุธหนักที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา เรือชั้นนี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 460มม.(18.1นิ้ว) 9 กระบอกซึ่งเป็นปืนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการติดตั้งให้กับเรือรบ เรือประจัญบานชั้นนี้สร้างแล้วเสร็จตามแผน 2 ลำ(ยะมะโตะและมุซาชิ)ส่วนลำที่ 3 (ชินะโนะ)ดังแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินระหว่างการก่อสร้าง    vlcsnap-3039534
      เรือประจัญบานยะมะโตะ เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ ตั้งตามชื่อ “ยะมะโตะ”ซี่งเป็นจังหวัดโบราณในประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือประจัญยานชั้นยะมะโตะลำแรกของกางทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น  เรื่อประจัญบานมูซาชิที่อยู่ในชั้นเดียวกัน เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดและมีอาวุธทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้ ด้วยระวางขับน้ำ 72,800ตันและปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้อง 460 มิลลิเมตร (18นิ้ว) ทั้งคู่จมลงในระหว่างสงคราม
      ปี 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่ความเป็นชาตนิยมอย่างเข้มข้น การเคลื่อนไหวนี้เรียกร้องให้มีการขยายตัวของจัรวรรดิญี่ปุ่นออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉพียงใต้ การที่จะผดุงจักรวรรดิที่กว้างใหญ่ที่มีระยะถึง 4,800กม. จากประเทศจีนถึงหมู่เกาะมิดเวย์ จำต้องมีกองเรือขนาดใหญ่จึงจะควบคุมดินแดนญี่ปุ่นได้ และเมื่อญี่ปุ่นถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติในปี 1934 จากกรณีมุกเดน และประกาศยกเลิกสนธิสัญญาทั้งหมดที่ญี่ปุ่นเคยทำไว้ ทำให้การออกแบบเรือประจัญบานไม่ถูกจำกัดตามสนธิสัญญาและสามารถสร้างเรือรบที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศมหาอำนาจทางทะเลอื่นๆ
      ญี่ปุ่นต้องการรักษาอาณานิคมที่ผลิตทรัพยากรไว้ทำให้นำปไส่ความเป็นไปได้ของการเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพอันดับแรกของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็มีอำนาจทางอุตสหกรรมมากกว่าญี่ป่นซึ่งคิดเป็น 32.2เปอร์เซ็นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่งโลกในขณะที่ญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งเพียง 3.5 เปอร์เซีนต์ ของการผลิตทั่วโลก นอกจากนี้สมาชิกคนสำคัญหลายคนของรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกายงสัญญว่า ไจดอาชนะญี่ปุ่นในการแข่งขันด้านนาวีด้วยอัตรส่วนสามต่อหนึ่ง”ดังนั้น อำนาจทางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจึงไม่มีหวังที่จะแข่งขันชิงชัยกับสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุนี้ เงือนไขการออกแบบเรือประจัญบานลำใหม่จึงต้องเหนือกว่าแบบลำต่อลำเมื่อเทียบกับเรือของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในเรือแบบเดียวกัน เรือประจัญบานที่ออกแบบแต่ละลำต้องมีความสามรถในการต่อสู้กับเรือหลวงฝ่ายศัตรูได้พร้อมกันที่ละหลายลำ และต้องไม่มีค่าใช้จ่ายมากเท่ากับสหรัฐอเมริกาในการสร้างเรือแระจัฐบลาน ผู้บัญชากาองทัพบกและกองทัพเรือของญี่ปุ่นจำนวนมากหวังว่าเรือเหล่านี้จะขู่ขวัญสหัฐอเมริกาในการเข้าระงับการรุกรานในมหาสมุทรแบซิฟิกของญี่ปุ่น
     การวางแผนสร้างเรือชั้นประจัญบานใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นหลังจากญี่ปุ่นได้ออกจากสันนิบาติชาติและประกาศยกเลิกสนธิสัญญานาวิกวอชิงตันและสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอน หลังจากการพิจารณาแล้วจึงเลือกแบบเรือ 2 แบบจาก 24 แบบระยะทำการ 4,9001ไมล์ทะเลกับ 7,200ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16 นอต แบบทั้งถูกนำมาศึกาในข้อมูลขั้นต้นครั้งสุดท้าย และปรับปรุงครั้งสุดท้ายในเดือน มีนาคม 1937 โดยพลเรือตรี ฟุกุดะ เคนจิ มีระยะทำการ 7,200 ไมล์ทะเลยกเลิกเครื่องยนต์ลูกปสมดีเซลใช้แค่เพียงกังหันไอน้ำ  เครื่องยนต์นั้นต้องกการ “การซ่อมแซมอย่างมากและการบำรุงกักษาบ่อยครั้ง”เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ซึ่งสาเหตุเกิดจาก “ข้อบกพร่องในการออกแบบขั้นพื้นฐาน และเมื่อเครื่องยนต์เกิดเสียไม่สามรถซ่อมแซมได้ เกราะหนา 200 มม.ที่ใช้ป้องกันบริเวณนี้กลายเป็นตัวขัดขวางในการที่จะเปลี่ยนเครื่องยต์ใหม่แทนที่เครื่องเก่า แบบสุดท้ายมีมาตรฐานระวางขับน้ำ 64,000 ตัน มีระวางขับน้ำเต็มที่ 69,988ตัน ทำเป็นแบบชั้นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเรือประจัยบานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างมา ปืนใหญ่หลักในแบบเป็นปืนขนด 460มม. 9 กระบอก แบ่งเป็น 3 ป้อม ป้อมละ 3 กระบากซึ่งมีน้ำหนักกมากกว่าเรือพิฆาตในยุคทศวรรษที่ 1930 ในท้ายที่สุ ดเรือประจัญบานชั้นยะมะโตมีการเตรียมการจะสร้างทั้งสิ้น 5 ลำ


     ยุทธภัณฑ์ อาวุธยุทธภัณฑ์ของเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะเป็นปืนขนาด 46 ซม./ลำกล้อง 45(18.1นิ้ว) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถติดตั้งในเรือรบได้ รวมทั้งสิ้นสามป้อม แต่ละป้อมหนัก 2,774 ตัน ปืนแต่ละกระบอกยาว 21.13ม.(69.3ฟุต) หนัก 147.3เมตริกตัน (145ตัน)กระสุนที่ใช้เป็นกระสุนเจาะเกราะระเบิดแรงสูงยิงได้ไกล 42 กิโลเมตร ที่อัตรายิง 1.5ถึง 2 นัดต่อนาที ปืนหลักยสามารถยิงกระสุนต่อต้านอากาศยาน 3 ชิกิ สึโจะดัง (กระสุนรวม 3 แบบ) นหัก 1,360 กิโลเมตร (3,000 ปอนด์)ได้ สายชนวนถูกตั้งเวลาให้ระเบิดเมื่อยิงออกไปได้ไกลเพียงพอเมื่อระเบิดกระสุนจะแตกออกจะกลายเป็นชิ้นเหล็กจำนวนมาก และปล่อยหลอดที่บรรจุระเบิดเพลิงจำนวน 900 ชิ้น เป็นรูปทรงกรวยหันไปทางอากาศยานที่บินเข้ามา หลอดจะลุกไหม้เป็นเวลา 5 วินาที่ที่อุณหภูมิ 3,000 องศาเซลเซส(5,430 องศาฟาเรนไฮน์)ก่อนจะกลายไปเป็นเพลิงรอบๆ ไกล 5 เมตร ซึ่งมีสัดส่วนถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของกระสุนหลักบนเรือ แต่ไม่ได้ใช้เพื่อต่อต้านอากาศยามนัก เพราะจะเกิดความเสียหายที่ลำกล้องปืนหลักเมือยิ่งด้วยกระสุนชนิดนี้ กระสุนจะสร้างม่านเพลิงเพื่อใหอากาศยานที่เข้าโจมตีไม่สามรถบินผ่านได้ อย่างไรก็ตาม นักบินฝ่ายสหรัฐเห็นว่าเป็นเพียงดอกไม่ไฟมากกว่าอาวุธต่อต้านอากาศยาน
      เรือชินะโนะมีอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ต่างไปจากเรือในชั้นเนื่องจากเรือได้รับการดัดแปลง ในฐานะที่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับบทบาทในการสนับสนุน จึงมีการติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานมากเป็นพิเศษ ปืนบนเรือประกอบด้วยปืน 5 นิ้ว 16 กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 1 นิ้ว 125 กระบอก และจรวดต่อสู้อากาศยาน 336 ลูกในฐานยิงจรวดลำกล้อง 5 นิ้ว 28 ลำกล้อง 12 ฐาน ปืนเหล่านี้ไม่เคยได้ใช้ต่อสู้กับเรือฝ่ายศัตรูเลย
      เกราะ จากการออกแบบเพื่อให้สามรถต่อสู้กับเรือประจัญบานฝ่ายข้อศึกได้พร้อมกนที่ละหลายลำ ยะมะโตะจึงได้รับการติดตั้งเกราะโลหะหนาดังที่อธิบายโดยนักประวัติศาสตร์นาวี ว่า “เป็นระดับการป้องกันที่ไม่มีใครเทียบเท่าในการต่อสู้กันซึ่งหน้า เกราะหลักข้างลำเรือหนา 410 มม.และผนักหนา 355 มม.ถัดมาจากเกราะข้างลำเรือ นอกจากเกราะข้างลำเรือ นอกจากนี้รูปร่างของตัวเรือด้านบนมีความก้าวหน้าในการออกแบบเป็นอย่างมาก ลักษณะที่โค้งไปด้านข้างของเกราะนั้นเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและให้โครงสร้างที่แข็งแกร่างในขณะที่ได้นำหนักที่เกมาะสม เกราะของป้อมปืนหลักนั้นหนากว่าเกราะข้องลำเรือด้วยความหนาถึง 650 มม. แผ่นเกราะกาบเรือและป้อมปืนหลักทำจากเหล็กทำแข็งแบบวิกเกิส์ซึ่งเป็นเกราะโลหะผิวหน้าแข็ง เกราะดาดฟ้าหนา 75 มม.ทำมาจากโลหะผสมนิกเกิล-โครเมียม-โมลิบดีนัม จากการทดสอบวิถีกระสุนพิสูจน์ว่าดาดฟ้าที่เป็นโลหะผสมนั้นเหนือกว่าแผ่นโลหะวิกเกอส์เนื้อเดียว 10-15 เปอร์เซ็นต์ และถ้าหากนิเกิลมีปริมาณสูงสามารถทำให้แผ่นโลหะสามารถม้วนงอโดยไม่เกิดการแตกหักขึ้น
     มีการนำการเชื่อมโลหะแบบการเชือมอาร์ค ซึ่งเป็นการเชื่อมโลหะแบบใหม่ในสมัยนั้นมาใช้กับเรือในชั้น เพื่อเพื่มความแข็งแรงทนทานให้กับเกราะชั้นนอก ด้วยเทคนิคนี้ เกราะข้างส่วนล่างจึงได้รับการเพิ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรือซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิถีกรสุนของเรือประจัญบานขั้นโทะซะ และกระสุนชนิดใหม่แบบ 91 ของญี่ปุ่นที่สามารถเคลื่อตัวไปในน้ำได้ไกลและยังใช้เสริมความแข็งแกร่งให้กับตัวเรือทั้งหมด เมื่อรวมแล้วเรือชั้นยะมะโตะประกอบไปด้วยห้องผนึกน้ำ 1,147 ห้อง ซึ่ง 1,065 ห้องอยู่ใต้เกราะดาดฟ้าเรือ
     อย่างไรก็ตาม เกราะของเรือชั้นยะมะโตะยังคงมีจะอ่อนที่ร้ายแรงหลายจุด ซึ่งเป็นเหตุให้เรือในชั้นอับปางลง โดยเฉพาะจุดรอยต่อระหว่างกอบเรือล่างและกาบเรือบน ที่กลายเป็นจุดอ่อนใต้เส้นแนวน้ำที่อ่อนไหวต่อการโจมตีด้วยตอร์ปิโดจากเครื่องบิน นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนทางโครงสร้างบริเวณหัวเรือ ซึ่งมีเกราะบาวกว่าปกติ ตัวเรือ ชินะโนะ มีโครงสร้างอ่อนแอที่สุด มีการติดตั้งเกราะน้อยและไม่มีห้องผนึกน้ำเมื่อเวลาเรืออับปาง
     เรื่อประจัญบานมูซาชิ เป็นรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรรดิญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งสองและเป็นเรือธงแห่งกองเรือผสม ตั้งชื่อตามจังหวัดมูซาชิซึ่งเป็นชื่อจังหวัดในสมัยโบราณของญี่ปุ่น เป็นเรือลำที่สองในชั้นยามโตะต่อจากเรือประจัญบานยามาโตะ เป็นเรือที่หนักและติดอาวัธหนักที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ 72,800 ตันและติดตั้งปืนใหญ่ 460 มม. 9 กระบอก


     มูซาชิและยามาโตะได้รับการสร้างขึ้นให้สามารถต่อสู้กับเรือหลวงฝ่ายตรงข้ามได้ทีละหลายลำพร้อมกัน เป็นวิธีที่จะชดเชยความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่ด้อยกว่ากองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เรือแต่ละลำในชั้นยามาโตะนั้นมีระวางขับน้ำมากกว่า 70,000 ตัน และหวังกันว่าอำนาจการยิงของมูซาชิและเรืออื่นในชั้นจะสามารถชดเชยความต่างชั้นจากอำนาจทางอุตสาหกรรมของสหรัฐได้
     อำนาจการยิงของปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร ปืนใหญ่ 1 กระบอกกับกระสุน 1 ลูกนั้นมีน้ำหนักรวม ประมาณเกือบ 2 ตัน(1,845 กิโลกรัม)แบบ 94 มีระยะยิงไกลสุด 42,000ม.(26.1ไมล์)โดย มีจอมกระสุนวิถีสูงกว่าความสูงของภูเขาไฟฟูจิ ถึง 2 เท่าความเร็วต้น 780/วินาที สามารถทะลุเกราะเหล็ที่หนา 430 มิลลิเมตร ได้ เรดาร์ของเรือประจัญบานมุซาชิ สามารถตรวจจับเครื่องบินที่เข้ามโจมตีได้ตั้งแต่ระยะห่าง 240 กิโลเมตร และเครื่องฟังเสียงใต้น้ำสามรถตรวจจับลูกตอร์ปิโดที่วิ่งเขาหาเรือได้ตั้งแต่ระยะห่าง 5,000เมตร
      จากเริ่มก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน ยะมะโตะ และมูซาชิ ได้กลายเป็นสิ่งที่แสดงออกในเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น โดยเฉพาะยะมะโตะ เมื่อก่อสร้างเสร็จสิ้น เรือได้เป็นตัวแทนถึงความเป็นเลิศทางวิศวกรรมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น นอกจากนี้ทั้งจากขนาด ความเร็ว อำนาจการยิงของเรือทั้งสองลำแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศญี่ปุ่นและความพร้อมที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนจากมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นรูปธรรม ชิเงะรุ ฟุโดะมิ เสนาธิการประจำส่วนปฏิบัติการของกองเสนาธิการกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น บรรยายถึงเรือทั้งสองลำว่า “เป็นดั่งสัญลักษณ์ทางอำนาจของกองทัพเรือที่จัดเตรียมไว้ให้แก่ทหารและความเชื่อมั่นอย่างที่สุดในกองทัพเรือของพวกเขา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...