วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Okinawa

                 “ซากุระลาต้นในวันนี้ จะบานซะพรั่งที่ คุดัน”

     (คุดันคือ พื้นที่หนึ่ในโตเกียวซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าในศาสนาชินโต “ยาสุกุนิ” ซึ่งเป็นที่สถิตของป้ายชื่อเพื่อสักการะดวงวิญญาฯของทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในสงคราม ซึ่งเชื่อกันว่ายังคงเร่ร่อนอยู่ในบริเวณนั้น แม้ในปัจจุบันก็ยังมัการเคารพสักการะเช่นเก่าก่อน)

images
     โอกินาวา คือเกาะใหญ่หนึ่งในหมู่เกาะริวกิว ห่างจากโตเดียวผระมาณ  400  ไม่ล์ทะเล เป็นามรภูมิตสุดท้ายในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่ญี่ปุ่นจะถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู
     ญี่ปุ่นในอดีตนั้น ชาตินิยมยูชาลัทธิทหารที่สืบทอดคติแบบซามูไร ที่เรียกว่า “บูชิโด”ไม่มีการยอมแพ้ การยึดถือในหมู่ทหารในการทำ “ฮาราคีรี”(การคว้านทองตนเอง) เพื่อราชพลี มีการปลูกฝั่งว่า จะต้องไม่ตกเป็นเฉลยไม่ว่ากรณีใดๆ ความเชื่อที่ว่าส่งผลให้เกิดความสูญเสียชีวิตกว่าแสนคนทั้งสองฝ่าย
       ยุทธการโอกินะวะ หรือชื่อรหัส ปฏิบัติการภูเขาน้ำแข็ง Operation Iceberg เป็นการสู้รบบนหมู่เกาะริวกีวของโอกินะวะและเป็นสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่ที่สุดในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก กว่า 3 เดือน การดำเนินการสู้รบแบบกระโดดไปทีละเกาะอันยาวนาน สัมพันธมิตรก็ได้เข้ามาใกล็ประเทศญี่ปุ่น สัมพันธมิตรวางแผนที่จะใช้โอกินะวะที่เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นฐานบินสำหรับปฏิบัติการตามแผนการบุกแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อรหัส ดาวน์ฟอลซึ่งถูกยกเลิกเมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนหลังการทิ้งระเบิดนิวเลียร์
    4 กองพลจากกองทัพสหรัฐและนาวิกโยธิน 2 กองพล ต่อสู้บนเกาะขณะที่นาวิกโยธินเป็นกองหนุนลอยลำแต่ไม่ยกพลขึ้นฝั่ง การบุกได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ กำลังรบสะเทินน้ำสะเทินบก และกองทัพอากาศยุทธวิธี ยุทธการนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า Typhoon of steel (ไต้ฝุ่นเหล็ก)ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่ เทะสึ โนะอะเมะ “ฝนเหล็ก” เทะสค โนะ โบฟู “ลมเหล็กกรรโชก”เป็นชื่อเรียกที่มาจากความโหดร้าย กระสุนปืนที่ปลิวว่อนความรุนแรงของการโจมตีแบบกามิกาเซ่ และจำนวนเรือและยายพาหนะของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จู่โจมสู่เกาะ เป็นการบที่มีจำนวนคนตายหรือได้รับบาดเจ็บสูงสุดสมรภูมิหนึ่งในสงครามมหาสมุทรแปซิฟก ญี่ปุ่นสูญเสียทหารกว่า แสนนาย สัมพันธมิตรสูญเสียทหารกว่า 50,000 นาย ประชาชนเสียชีวิตจากภัยสงครามมากกว่าแสนคน
     กองกำลังภาคพื้นดิน กองทัพที่ 10 มีกำลังพลทหาร 102,000 นาย และนาวิกโยธิน 91,000 นาย บังคับบัญชาโดยพลโท ซิมมอน โบลิเวอร์ บักเนอร์ จูเนียร์ มี 2 กองทัพน้อยใต้บังคับบัญชา
     กองกำลังภาคพื้นดินของญี่ปุ่น(กองกำลังป้องกันหลัก)ประกอบด้วยทหาร 67,000 นายจกากองทัพภาคที่ 32 และกองทหารของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น อีก 9,000 นาย มีกองหนุนเป็นชาวริวกีวที่เกณฑ์มากว่า 40,000 คนกองหนุนส่วนหลังอี่ 24,000 คนและกรรมกรอีก 15,000 คน องค์กรเด็กชายมัธยมต้นชั้นปีสุดท้าย “หน่วยอาสาสมัครเหล็กและเลือด” 1,500 คนปฏิบัติการในแนวหน้า และมีการจัดตั้งนักเรียนฮิเมะยุริ 600 คนเป็นหน่วยพยาบาล
     เรือยามาโต้ ได้รับคำสั่งให้เข้าปฏิบัติการซึ่งเรียกว่า “ดอกเบญจมาศลอยน้ำ”โดยมีภารกิจให้ทำการล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกจาน่านน้ำในเกาะโอกินาวา เพื่อเปิดโอกาสให้ฝูงบินกามิกาเซ่ซึ่งเป็นอาวุธเพียงอย่างเดียวที่สร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นอย่างมากเข้าโจมตีกองทัพเรือสหรัฐ  ปฏิบัติการครั้งนี้เรียกว่า “วันเวย์ทิคเก็ต” คือมีน้ำมันเชื่อเพลิงเพียงแค่เทียวเดียว ! ทางเรือยามาโต้เองก็รู้ว่าการส่งเรือประจัญบานไปล่อเครื่องบินหลายร้อยลำก็เท่ากับส่งลูกเรือกว่า 3,000 กว่าคนไปตาย ซึ่งไม่ต่างจากฝูงบินกามิกาเซ่ที่บรรทุกระเบิดขนาดหนักเพื่อบินเข้าชนเรือรบอเมริกา เรื่อยามาโต้จึงได้รับฉายาว่า “ยักษ์ใหญ่แห่งกามิกาเซ่”
     สุดท้ายเรือยามาโต้เดินทางไปไม่ถึงโอกินาว่า สหรัฐอเมริกาสามารถจับสัญญาณวิทยุได้ส่งเครื่องบินกว่า 400 ลำรุมทิ้งระเบิดรือยามาโต้เป็นเวลาเกือบสองวัน และยามาโต้ก็จมลงสู่ก้นทะเลพร้อมลูกเรือเกือบ 2,500 นาย รอดชีวิตเพียง 269 คนเท่านั้น

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Berlin



เบอร์ลินตั้งอยู่ยนแม่น้ำสปรี และฮาเฟลทางตะวันออกเฉยงเหนือของเยอรมันห้อมล้อมด้วยรัฐบราเดนบวร์ก มีพื้นที่ 891 ตารางกิโลเมตร ในสมัยก่อน เบอร์ลินเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรานเดนบวร์กก่อนจะแยกการปกครองออกเป็นนครรัฐต่างหากรัฐหนึ่งชื่อเบอร์ลินนั้นไม่ทราบที่มา แต่อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยคำภาษาโปลาเบียนเก่า ซึ่งหมายความว่าหนองน้ำ สงครามสามสิบปีทำให้เบอร์ลินได้รับความเสียหายใหญ่หลวง บ้านเรื่อนหนึ่งในสามเสียหายประชากรลดเหลือครึ่งเดียว เฟรเดอริก วิลเลียม “เจ้าชายผู้ยิ่งใหญ่”ซึ่งสืบอำนาจเป็นผุ้ปกครองต่อจาก จอร์จ วิลเลี ยม ผู้บิดา ได้ริเริ่มนโยบายส่งเสริมการอพยพย้ายถิ่นและเสรีภาพในการนับถือศษสนาด้วยกฤษฎีกาแห่งพอทสดัม เฟรเดอริกได้เสนอที่ลี้ภัยให้กับพวกฮิวเกอโนต์ซึ่งเป็นพวกโปตเตสแตนท์ชาวฝรั่งเศส ฮิวเกอโนต์กว่า หมื่นห้ามัน ได้มายังบรานเดนบวร์ก หกพันคนตั้งถ่นฐานในเบอร์ลิน ปีพ.ศ. 1700 ร้อยละยี่สิบของผู้อยู่อาศัยในเบอร์ลินเป็นชาวฝรั่งเศส และอิทธิพลทางวัฒนธรรมของนั้นมีต่อเบอร์ลินเป็นอย่างมาก   ผู้อพยพอื่นๆ จำนวนมากมาจาก โบฮิเมีย โปแลนด์ และซาลซ์บูร์ก…
     กองทัพแดงเข้าประชิดปรัสเซียภายใต้การบัญชาการของจอมพล จอร์จี้ ซูคอฟ เยรมันล่าถอยครั้งใหญ่กองทัพโซเวียตปลดปล่อยลิธัวเนีย ทัพโซเวียตข้ามแม่นำโอเดอร์เพื่อเข้าตีเยอรมัน เยอรมันในเบลเยี่มมล่าถอยแนวต้านทานแห่งสุดท้ายของเยอรมันที่แม่นน้ำไรน์แตก รัสเซียปลดปล่อยบูดาเปสต์ โดยเวียตฌจมตีเยอรมันในฮังการี กองทัพ
     การรบแห่งเบอร์ลินเป็นสมรภูมิสุดท้ายแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภาคพื้นยุโรปและเป็นหนึ่งในสมรภูมิที่สำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพแดงขนาดมหึมาบุกขยี่กองทัพนาซีตอลดทางกระทั่งกรุงเบอร์ลิน
     เยอรมันโจมตีตอบโต้โดยใช้กองทัพที่สร้างขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่า วิสตูลา Army Group Vistura ภายใต้การบัญชาการของนายพลเฮนริก ฮิมเลอร์ ผู้บัญชาการของหน่วนเอสเอส แต่ก็ประสบความล้มเหลว นอกจากนี้กองทัพเยอรมันยังขาดน้ำมันในการต่อสู้และผลิตอาวุธ
     การสู้รบรอบๆ กรุงเบอร์ลินเปิดฉากขึ้น กองกำลังป้องกันเบอร์ลินประกอบด้วย ทหารจากกองทัพบกเยอรมัน ทหารในหน่วย SS ประจำกรุงเบอร์ลิน ยุวชนฮิตเลอร์ ตำรวจและประชาชนอาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์และด้วยศักดิ์ศรีของชนชาติเยอรมัน เยอรมันจึงจำเป็นต้องต่อสู้ไปจนถึงที่สุด บ้างก็ถูกฆ่า บ้างก็ยกธงขาวยอมจำนน กองทัพแดงรุกต่อกระทั้งถึงศูนย์กลางกรุงเบอร์ลิน “อเล็กซานเดอร์พาซ”สถานที่ตรงนี้ในช่วงศตวรรษที่ 19 กษัตริย์ของรัสเซียพระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ได้มาเยือนกรุงเบอร์ลิน เยอรมันจึงตั้งชื่อสถานที่ที่กำลังก่อสร้างในขณะนั้นให้เป็นชื่อของพระองค์รวมทั้งตลาดสาธารณะ บริเวณนี้เป็นสถนีขนส่งมวลขนของกรุงเยอร์ลิน อยู่ใจกลางเมืองและใกล้ๆกับแม่น้ำสพรี เกิดการต่อสู้กันอย่างหนักที่สภาไรค์ชดาร์ก ฝ่ายเอยมันต้องรักษาสภาไว้ให้ได้เพราะเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งอำนาจของพรรคนาซีและฮิตเลอร์ ฝ่ายโซเวียตก็ต้องการยึดไว้ให้ได้ เพื่อนำธงแดงของสหภาพโซเวียตไปโบกบนสภาเป้นการประกาศชัยชนะ และแสดงการล่มสลายของนาซีและฮิตเลอร์เช่นกัน การต่อสู้แบบประชิดตัวเป็นไปอย่างดุเดือด ทหารต่างด้าวในหน่วย SS มีฝีมือในการรบเพราะการกรำศึกมามากและเชื่อในลัทธิสงครามที่ว่าเยอรมันจะไม่มีวันแพ้
      นายพลเฮนิกซี่ถูกปลดออกจาตำแน่งผู้บังคับบัญชากากรป้องกันกรุงเบอร์ลิน เนื่องจากปฏิเสธคำสังที่ให้หยุดยั้งกองทัพแดงเนืองจากเห็นว่าไม่มีประโยชน์อีกต่อไปที่จะต้านทานกองทัพแดง ฮิตเลอร์แต่งตั้ง นายพล สติวเอนท์ เข้ารับตำแหน่งในวันต่อมา คือวันที่ 30 เมษายน ซึ่งเป็นวันเดียวกับฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมในบังเกอร์ผู้นำพร้อมกับ เอวา บราวน์ ภรรยาของเขา ซึ่งพึ่งแต่งงานกอ่นหน้านี้เพียงวันเดียว
     ในที่สุดผุ้บัญชากากรป้องกันกรุงเบอร์ลินนายพลไวด์ลิงค์ ก็ยอมจำนนต่อกองทัพแดงและยกเมืองให้แก่สหภาพโซเวียตควบคุมในวันที่ 2 พฤษภาคม 1945
       Victory in Europe Day หรือ Ve Day คือวันที่ 7-8 พฤษภาคม 1945 วันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของนาซีเยอรมัน หลังจากฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายในวันที่ 30 เมษายน ตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมันตกเป็นของ คาร์ล เดอนิตช์ เขาลงนามในสนธิสัญญายอมจำนนในวันที่ 7 พฤษภาคม ในเมืองแรมส์ ฝรั่งเศสและวันที่ 8 พฤษภาคม ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมัน
     การเฉลิมฉลอง ในวันนั้น ได้มีการจัการเฉลิมฉลองกันครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงลอนดอน ซึ่งประชาชนชาวอังกฤษกว่าล้านคนได้พากันมาเฉลิมฉลองกันในบรรยากาศการเล่นรืนเรองในการสิ้นสุดสงครามในทวีปยุโรป แม้ว่าการปันส่วนอาหารและเสื่อฝ้าจะยังคงกินเวลาต่อไปอีหลายปี และในความเป็นจริงแล้วการปันส่วนอาหารกินเวลายาวนานยิ่งกว่าช่วงเวลาของสงครามอีก ฝูงชนได้มารวมตัวกันที่จัตตุรัสทราฟัลการ์ ไปจนถึงพระราชวังบักกิงแฮม ที่ซึ่งพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชินีเอลิซาเบธและนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์และเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตได้รับอนุญาติให้เดินปะปนอยู่กับฝูงชนที่มาชุมนุมนั้น และมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองด้วย
     ในสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน ผู้ซึ่งจัดงานวันเกิดครบรอบ 61 ปีของเขาเอง ได้อุทิศชัยชนะเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนก่อนหน้าแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต เพราะว่าเขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ยุติสงคราม โรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมไม่กี่เดือนก่อนหน้าการยอมจำนนจะเกิดขึ้น ในวันที่ 12 เมษายน ฝูงชนจำนวนมากมารวมตัวกันที่ ชิคาโก ลอสแองเจิลลิส ไม่อามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทม์สแควร์ ในนครนิวยอร์ก
     สหภาพโซเวียตและประชาชนจำนวนมากได้จัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะ ในมหาสงครามของผู้รักชาตอันยิ่งใหญ่ในวันที่ 9 พฤษภาคมแทน

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Bertrayal Yalta

     เป็นคำที่ใช้กันในกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็คซึ่งหมายความถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของกลุ่มประเทศตะวันตกหลายประเทศซึ่งได้ละเลยสนธิสัญญาพันธมิตรและข้อตกลงหลายฉบับในสนธิสัญญาแวร์ซาย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปจนถึงสมัยสงครามเย็นซึ่งมีสาเหตุจากการหลอกลวงและทรยศ ซึ่งเป้นผลมาจากความจริงที่ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกซึ่งแม้จะได้รับการสนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตย การลงนามในสนธิสัญญและก่อตั้งพันธมิตรทางการทหารทั้งก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กระนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกกลับทรยศพันธมิตรของตนในยุโรปกลางโดยการละเลยที่จะปฏิบัติตามข้อผูกมัดตามสนธิสัญญา อาทิ การไม่ช่วยป้องกนนาซีเยอรมันจากการึดครองเชโกสโลวาเกีย แต่กลับบกให้ในข้อตกลงมิวนิก หรือการทอดท้งโปแลนด์ให้รับมือกับเยอรมันและสหภาพโซเวียตตามลำพังระหว่างการบุกครองโปแลนด์ และการลุกฮือในกรุงวอร์ซอ ในปี 1944
     นอกจากนี้ สัมพันธมติรตะวันตกยังได้ลงนามในข้อตกลงยอลตา และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองก็ไม่ให้การป้องกันหรือยื่นมือเข้ามาช่วยเลหือรัฐเลห่านี้จาการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมของสหภาพโซเวียตของสหภาพโซเวียตและระหว่างการปฏิวัติฮังการี 1956 ฮังการีก็ไม่ได้รับทั้งการสนับสนุนทั้งทางทหารและการสนับสนุนในด้านกำลังใจจากฝฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเลยและทำให้การปฏิบัติถูกปราบปรามโดยกองทัพแดงในที่สุ สถานการณ์เดียกันเกิดขึ้นอีครั้งในปี 1968 เมื่อกองทัพร่วมของกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอเพื่อกำจัดยุคฤดูใบไม้ผลิปรากในเชโกสโลวาเกียปละยุติการเปลี่ยนแปลงการปกครองกลัยสู่ระบอบคมอมิวนิสต์ดังเกิม ดังที่ได้เกิดความกังวลในการประชุมยอลต้า แนวคิดของมัก็ถูกโต้เถียงกันโดยนักประวัติศสตร์มองว่าการที่นายรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์และปรธานาธิบดีแห่งสหรัฐแมริกา แผรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากยอมรับความต้องการของผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน ทั้งในการประชุมเตหะรานและในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตามฝ่ายสัมพันธ์มิตรตะวันตกเองก็ได้ประเมินอำนาจของสหภาพโซเวียตผิดไปบ้าง เช่นเดียวกับที่ประเมินนาซีเยอรมันผิดไปหนึ่งทศวรรษก่อนหน้านั้น  แต่ผู้สนับสนุนการประชุมยอลต้ามีแนวคิดว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นการทรยศกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยไม่มีการพิจารณาถึงชะตากรรมของโปแลนด์ในอนาคต
     กองกำลังโปแลนด์เป็นกองกำลังที่ต่อสู้นาซีเป็นเวลายาวนานกว่าประเทศอื่นใดในสงครามโลกครั้งที่สองและทำการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังสหรัฐอเมริกา อังกฤษและโซเวียตในการทัพที่สำคัญหลายครั้งรวมไปถึงในยุทธการแห่งเบอร์ลินครั้งสุดท้าย ซึ่งกองกำลังติดอาวุธโปแลนด์ทางตะวันตกมีกว่า 250,000นายและ กว่าแสนแปดนายทางตะวันออก อีกว่าสามแสนนายทำการรบใต้ดินหรือในกองกำลังกู้ชาติ ในตอนปลายสงครามโลกครั้งสอง  กองทัพโปแลนด์มีจำนวนกว่า 600,000นายโดยที่ไม่นับกองกำลังกู้ชาติ ซึ่งทำให้โปแลนด์มีกองกำลังขนาดใญ่เป้ฯอันดับสี่ในสงคราม
     แต่กระนั้นประธานาธิบดีโรสเวลต์ก็ยังนิ่งนอนใจเมื่อรัฐบาลโปแลนด์ถูกอทนที่ด้วรัฐบาลหุ่นของโซเวียตโดยได้มีข้อสังเกตว่าโรสเวลต์ได้วางแยนที่จะมอบโปแลนด์ให้กับสตาลิน นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เสนอว่า เชอร์ชิลล์กระตุ้นให้โรสเวลต์ดำเนินกิจการทางทหารต่อในทวีปยุโรปแต่ต่อต้านสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติมจากพรมแดนของตนรูสเวลต์ดูเหมือนว่าจะเชื่อใจในการับประกันของสตาลินและปฏิเสธที่จะสนับสนุนการเจจาของเชอร์ชิลล์ในการรักษาเสรีภาพโดยปราศจากการหนุนหลังของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรที่เหนื่อยอ่อน อดอยากและแทบจะสิ้นเนือประดาตัวจึงไม่สามารถดำเนินการตามที่ตั้งใจไว้

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Auschwitz

     การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ คือ การกระทำอย่างเป็นระบบและไตรต่องไว้ก่อนเพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกุล่มชนทางศษสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ “อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้าเผ่าพันธ์ หมายถึง “การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศษสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม กระทำให้สมาชิกของกลุ่มถึงแก่พิกลพิการอย่างหนักทางกายภาพหรือจิตภาวะ กระทำโดยไตรตรองหรือโดยคากการณ์ไว้แล้วเพื่อให้เกิดแก่หรือนำพามาสู่สมาชิกของกบุ่มซึ่งทุกขเวทนาในสภาพความเป็นอยู่ กระทำโดยมาตรการใด ๆ เพื่อมิให้มีการถือกำเนิดของทารกภายในกลุ่ม หรือใช้กำลังนำพาผู้เยาว์ในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง
     โดยในคำปรารภแห่งอนุสัยญาดังกล่าว ว่าได้เกิดกรณีตัวอย่างในการฆ่าล้างเผ่าพันูขึ้นแล้วหลายครั้งหลายคราในประวัติศาสตร์โลก แต่ที่จริงแล้วคำว่า “genocide”นั้นเพิ่งได้รับการประดิษฐ์โดยนายราฟาเอล เลมคิม นักนิติศาสตร์โปแลนด์ ยิว ปละประชาคมโลกเพ่งยอมรับนิยามของ “ฆ่าล้างเผ่าพันธ์” อย่างเป็นทางการภายหลังความหายนะที่นูเรมเบิร์ก
     ปัจจุบัน ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะดำเนินกระบวนยุติธรรม แต่ก่อนหน้านี้ระหว่างที่ประชุคมโลกกำลังช่วยกันประดิษฐ์ศาลดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการของคณะตุลาการเฉพาะกิจระหว่างประเทศจนกระทั่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหวางประเทศมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฏาคม 2002
      นอกจากนี้ นับแต่อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันูมีผลใช้บังคับในเดือนมกรตั้งแต่ปี 1948 เป็นต้นมา กว่า แปดสิบประเทศทังโลกใช้และปรับปรุงกฏหมายภายในเพื่ออนุวัติอนุสัญญาดังกล่าว
     ปัจจุบัน ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะเเนนกระบวนยุติธรรม แต่ก่อนหน้านี้ระหว่งที่ประชาคมโลกกำลังช่วยกันประดิษฐ์ศาลดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการเฉพาะกิจระหว่างผระเทศกระทั้งธรรมนูญกรุงโรมวาด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม 2002
      ชาวยิวเป็นชนที่ไม่มีแผ่นดิน เป็นชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่แถบชายแดนของปาเลสไตล์ เมือประชกรยิวเพิ่มมากขึ้น จนเกิดปัญหาเรืองที่อยู่ บางประเทศจึงโอบอุ้มเข้าไปในประเทศ และประเทศที่รับเข้าไปมากที่สุดคือ เยอรมัน ฮิตเลอร์เริ่มรู้สึกว่าชาวยิวมุ่งเป้ามาที่เยอรมัน ซึ่งยิวแรกซึมอยู่ทั่งอยเรมัน และรอให้เยอรมันล่มสลาย คนยิวมีความฉลาดหลักแหลม เข้าทำงานในทุกธุรกิจของเยรมัน โดยเฉพาะธุรกิจรถยนต์ ซึ่งขณะนั้นเยอรมันเป็ฯผุ้ผลิดตายแรกที่ส่งรถยนต์ออกขาย เมื่อเวลาเนินนานชาวยิวเป็นเจ้าของทุกธุรกิจ ยกเว้นทางด้านการทหาร..
      ขบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ยิวเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อฮิตเลอร์ขึ้นปกครองประเทศโดยชอบธรรมตามกฏหมาย ฮิตเลอร์โยนความผิดและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดในเยอรมันในเวลานั้นว่าเป็นความผิดของชาวยิว พรรคนาซีไล่ต้อนชาวยิวไปอยู่อาศัยในบริเวณกักกัน ชาวยิวต้องมารับเคราะห์โดยไม่รู้ว่านาซีต้องการสิ่งใดกันแน่ ชาวยิวบางคนฆ่าตัวตายเพราะความหมดหวัง
     ในความเป็นจริงแล้วในครั้งที่ฮิตเลอร์ยังไม่ขึ้นครองอำนาจก็มีขบวนการต่อต้านชาวยิวอยู่ก่อนแล้ว ประเทศที่ร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน โรมาเนียต้องรับผิดชอบในการตายของชาวยิวมากกว่าประเทศอื่น ที่เข้าร่วมกับเยอรมัน โรมันเนียสังหารชาวยิวร้อยละ 10 ที่เมืองเบสซาราเบีย ทางตอนเหนือของเมืองบูโกวิน และเมืองทรานสนิสเตรีย ส่วนการสังหารครั้งใหญ่อีกหลายครั้ง
     และอีกเหตุผลหนึ่งคือการแปรพักตร์ของชาวยิวไม่ส่งเสบียงให้กองทัพเยอมันในแนรบตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่ 1เป็นเหตุให้เยอรมันแพ้สงคราม  และเหตุผลที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือเหตุทางการเมือง
     ชาวยุโรปเกลียดยิวอยู่ก่อนแล้ว จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ก่อนยุคกลางชาวยิวเมืออยู่ในประเทศไหนก็เกาะกลุ่มกันและกีอกันคนนอก สร้างสังคมปิดเล็กๆ ใของตนในสังคมใหญ๋ของประเทศอื่นๆ เป็นเพราะชาวยิวไม่ยอมรวมกับชนชาติอื่น การปล่อยเงินกู้ ศาสนาคริสต์หากคิดดอกเบี้ยจะผิดหลักศาสนามีเพียงชาวยิวที่ปล่อยเงินกู้และคิดดอก ชาวคริสต์บางกลุ่มยังเชื่อว่าชาวยิวคือกลุ่มคนที่สังหารพระเยซู โดยยืมมือโรมัน ความเกลียดชังยิวจึงเป็นแรงที่ฮิตเลอร์ใช้ปลุกระดมคนในชาติซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี
     เอาชวิทซ์ เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุด หลังการบุกครองโปแลนด์ “ออซเฟียนชิม”ของโปแลนด์ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมันและเปลียนชือ่เป็นเอาชวิทซ์ ซึ่งเป็นชื่อในภาษาเยอรมัน ประชาการกว่า สามล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันนี้ ร้อยละ 90 เป็นชาวยิวจากเกือบทุกประเทศในยุโรป วันปลดปล่อยค่ายกักกันคือวันที่ 27 มกราคม 1945 โดยกองทัพแดงของโซเวียต และเป็นวันที่รำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์นานาชาติ

WWII:1945

     มกราคม
- กองทัพอเมริกายกพลขึ้นบกบนเกาะลูซอน ฟิลิปปินส์ ทัพอากาศสหรัฐอเมริกาโจมตีบนเกาะไต้หวัน .. กองทัพที่ 1 และกองทัพที่ 3 ของสหรัฐอเมริกาได้เชื่อมต่อกันหลังจากยุทธการแห่งรอยโป่งยุทการแห่งรอยโป่งจบลง กองทัพโซเวียตปิดล้อมกรุงบูดาเปสต์ ปลดปล่อยค่ายกักกันเอาชวิตช์และกรุงวอร์ซอว์ซึ่ง
ภาพหลังได้ก่อตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดโปแลนด์..รูสเวลต์ ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สามของสหรัฐแมริกา แฮรร์รี่เอส. ทรูแมนเป็นรองประธานาธิบดี..กองทัพโซเวียตรุกกรุงปรัสเซียตะวันออก ทัพเยอรมันต้องล่าถอยครั้งใหญ่ กองทัพโซเวียตปลดปล่อยลิธัวเนีย กองทัพโซเวียตข้ามแม่น้ำโอเดอร์เพื่อเข้าตีนาซีเยอรมัน ซึ่งห่างจากกรุงเบอร์ลินไม่เกิน 50 ไมล์
    
กุมภาพันธ์
- กองทัพสหรัฐเข้าสู่มะนิลา..กองทัพอเมริกันยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวจิมา..อเมริกาปลดปล่อยมะลิลาได้สำเร็จ
- การประชุมยอลต้า
- กองทัพเยอรมันล่าถอยจากเบลเยี่ยม..แนวต้านของเยอรมันแห่งสุดท้ายแตกจากแม่น้ำไรน์..โซเวียตปลดปล่อยบูดาเปสต์
      มีนาคม
- โซเวียตโจมตีเยอรมันในฮังการี..กองทัพเอเมริกันเดินเท้าข้ามสะพานเรมาเกนสู่แผ่นดินเยอรมัน..เยอรมันพ่ายในฮังการี…กองทัพสัมพันธมิตรชะลอการบุกของตน และให้กองทัพโซเวยตยึดกรุงเบอร์ลิน..โซเวียตเข้าประเทออสเตรีย และกองทัพพันธมิตรตะวันตกยึดเมืองแผรงก์เฟิร์ต โซเวียตตีได้เมืองดันชิก นายพลดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวน์ ออกอากาศและเรียร้องให้เปยรมันยอมแพ้
     เมษายน
- กองทัพโซเวียตเข้าโจมตีกรุงเวียนา..การรบที่ Konigsberg สิ้นสุดลงโดยโซเวียตเป็นฝ่ายชนะ..โซเวียตได้ชัยที่เวียนนา..ทัพโซเวียตกับทัพอเมริกาบรรจบกันที่แม่น้ำ เอลเบ
-เรือประจัญบายยามาโตะจม..ฝูงบินกามิกาเซ ของญี่ปุ่นบุกดจมตีกองเรือของสหรัฐที่โอะกินะวะอย่างต่อเนื่อง..โตเกียวถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก
- ประธานาธิบดีแฟลงกิน ดี. โรสต์เวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรม แฮร์รี่ เอส.ทรูแมนขึ้นเป้ฯประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
-มุสโสลินีถูกจับกุมตัว โดยกองกำลังปาร์ติชานของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีในขณะพยายามหลบหนีออกจากอิตาลี มุสโสลินีถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยข้อหาทรยศต่อชาติโดยคำตัดสินลับหลังของคณะลูกขุนแห่งคณะกรรมการปลดแอกแห่งชาติ ร่างของมุสโสลินี และอนุภรรยาและผู้นิยมฟาสซิสต์ประมาณ 15 คนถูกแขวนประจานที่เมืองมิลาโน
- ฮิตเลอร์แต่งงานกับอีวาบราวน์ ฮิตเลอร์กับภรรยาฆ่าตัวตาย โดยใช้ทั้งยาพิษและปืน โจเซฟ เกบเบิลส์ได้ขึ้นเป็นมุขมนตรีแห่งไรซ์และพลเรือเอก คาร์ล เดอนิตช์ รับแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งไรซ์

 พฤษภาคม
- การรบในอิตาลีสิ้นสุด
-ย่างกุ้งเป็นอิสระ
-ทหารเยอรมันในเนเธอร์แลนด์ยอมจำนนอย่างเป็นทางการ..เดนมาร์คได้รับการปลดปล่อยโดยทัพสัมพันธมิตร..นาซีเยอรมันยอมจำนนอย่างไม่เป็นทางการโดยประธานาธิบดีคาร์ล เอนิต
ช์ การหยุดยิงเริ่มเมือง 0.01 น. และเป็นวันแห่งชับชนะในยุโรป และนาซีเยอรมันยอมจำนนอย่างเป็นทางการ  กองบัญชาการกองทัพกลุ่มกลางของเยอรมันในเชโกสโลวาเกียยอมจำนนสงครามโลครั้งที่สองในทวีปยุโรปยุติลง
- เมืองนะโงะยะ ในญี่ปุ่น ถูกโจมตีอย่างหนัก..การทิ้งระเบิดอย่างหนักที่เมือโยโกฮามา ซึ่งเป็นเมืองท่าและฐานทัพเรือที่สำคัญของญี่ปุ่น
     มิถุนายน
- กองทัพเรืออเมริกันถูกไต้ฝุ่นในแปซิฟิกไดรับความเสียหาย
- สัมพันธมิตรบรรลุข้อตกลงในการแบ่งเยอรมันออกเป็นสี่ส่วน
- เมืองโอชะกะ ในญี่ปุ่น ถูกโจมตีอย่างหนัก..ทัพญี่ปุ่นถอนกำลังออกจากประเทศจีน มีการลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติที่ซานฟานซิสโก

กรกฎาคม
- พลเอก ดังลาส แมคอาเธอร์ ประกาศว่าฟิลิปปินส์ได้เป็นอิสระแล้ว..
- นอร์เวย์..อิตาลีประกาศสงครามกับญี่ปุ่น
-สหรัฐอเมริกาทำการทดสอบนิวเคลี่ยร์ที่นิวเม็กซิโก
-การประชุมที่พอตสดัมผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรตกลงร่วมกันในเจตจำนงให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข ประธานาธิบดีทรูแมนบอกเป็นัยให้ทุกฝ่ายทราบว่าสหรัฐอเมริกามีอาวุนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง
- เรือประจัญบานฮารุนะ ของญี่ปุ่นถูกจมโดยทัพอากาศสหรัฐฯ เรืออินเดียนาโปลิส ถูกจม โดยเรือดำน้ำญี่ปุ่น กองทัพอากาศสหรัฐโจมตีเมืองโคเบอะและนะโงะยะ
     สิงหาคม
- “ Little Boy” ถูกทิ้งที่ฮิโรชิมา
-สหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับฐ๊ป่นและการโจมรีแมนจูเรียเริ่มต้นขึ้น
- “Fat Man”ถูกทิ้งที่เมืองนะงะซะกิ สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตทรงประกาศทางวิทยุถงการยอมจำนนของประเทศญี่ปุ่น กองทัพญี่ปุ่นในแมนจูเรีย ยอมจำนนต่อสหภาพโซเวียต.. นายพลแม็คอาเธอร์เข้าควบคุมการบังคับบัญชากองทัพญี่ป่นในกรุงโตเกียว
     กัยยายน
-  ผู้บัญชาการของกองทัพจักรวรรดิญี่ป่นทั่วไปยอมจำนนต่อกองกำลังฟิลิปินส์และอเมิรกันในภาคเหนือของฟิลิปปินส์..ญี่ปุนลงนามในสัญญายอมจำนน บนดาดฟ้าเรือรบมิสซูรี อ่าวโตเกียว  สิงคโปร์ ได้เป็นอิสระอย่างเป็นทางการโดยการปลดปล่อยขจองกองกำลังอังกฤษ

WWII:20 July plot

     เป็นชื่อเรียกแผนการลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ภายในกาองบัญชาการสนาม “รังหมาป่า”ใกล้เกบเมืองรัสเทนบูร์กแคว้นปรัสเซียตะวันออก เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม ค.ศ. 1944 เป็นความพยายามของขบวนการกู้ชาติเยอรมันเพื่อที่จะทำลายรัฐบาลนาซีความล้มเหลวทั้งในการบอลสังหารฮิตเลอร์และรัฐประหารนำไปสู่การจับกุมประชาชนกว่า 7,000 คนโดยเกสตาโปและจากการบนทึกของการประชุมกิจการกองทัพรเอฟือเรอร์ระบุว่ามีการประหารชีวิตประชาชนกว่า ห้าพันคน และทำให้ขบวนการกู้ชาตที่จัดตั้งในเยอรมันล่มสลายลง
     กลุ่มสมคบคิดได้วางแผนล้มล้างรัฐบาลนาซีได้ปรากฎขึ้นในกองทัพบกเยอรมัน ตั้งแต่ปี 1938 มาแล้ว  และในองค์การข่าวกรองทหารเยอรมัน (อับเวร์)คณะผุ้นำแผนสมคบคิดในช่วงแรกรวมไปถึงพลโท ฮันส์ โอสเตอร์ พลเอกลุควิค เบค และจอมพลเอาวิน ฟอน วิทเซลเบน โอสเตอร์เป็นหัวหน้าของสำนักงานข่าวกรองทางทหาร เบคเคยเป็นหัวหน้ากองเสนาธิการแห่งกองบัญชาการกองทัพเยอรมัน ฟอน วิทเซลเบนเป็นอดีตผู้บัญชาการกองทัพที่ 1 แห่งเยอรมันและอดีตผู้บัญชากากรสูงสุดของกองบัญชาการกองทัพเยอรมันด้านตะวันตก จากนั้น พวกเขาได้ติดต่อกับพลเรือนที่โดดเด่นหลายคน รวมไปถึงคาร์ล โกอแรเดแลร์ อดีตนายกเทศมนตรีไลป์ซิก และเฮลมุท เจมส์ กรัฟ ฟอน มอสท์เคอผุ้เป็นลูกชายของหลานวีรบุรุษสงครามฝรั่งเศษ-ปรัสเซีย
     แผนการที่จะล้มล้างและป้องกันสงครามครั้งใหม่ที่ฮิตเลอร์จะเป็นริเริ่มขึ้นเป็นอันต้องล้มเลิกไป เนืองจากความลังเลใจของพลเอกฟรานซ์ ฮัลเดอร์ และพลเอกวัทเทอร์ ฟอน เบราคิทซ และความล้มเหลวของขาติตะวันตกในการรับมือกับท่าที่แข็งกร้าวของฮิตเลอร์กระทั่งปี  1939 กลุ่มทหารผู้สมคบคิดเลื่อนกำหนดการของแผนลอบสังหารออกไปหลังจากความนิยมในตัวฮิตเลอร์เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากากรได้รับชัยชนะในยุทธการที่ฝรั่งเศส…

  ช่วงปลายปี 1943 กระแสสงครามได้ย้อนกลับมายังเยอรมันผุ้ก่อการในกองทัพและพันธมิตรที่เป็นพลเรือนเชื่อว่าฮิตเลอร์จะต้องถูกลอบสังหารเพื่อที่จะได้มีการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกยอมรับ และมีการเจรจาสันติภาพให้ทันเวลาเพื่อป้องกันการรุกรานเยอรมันของโซเวียต
     กลุ่มเสนาธิการหนุ่ม ได้แบ่งปันความเชื่อมี่นอย่างกว้างขวางในบรรดานายทหารกองทัพบก ว่าเยอรมันกำลังถูกนำสู่หายนะและฮิตเลอร์จะถูกปลดเป็นบางครั่งที่ศีลธรรมทางศาสนาของเขายับยั้งมิให้ชื่อว่าการลอบสังหารเป็นวิถีทางที่ถูกต้องในการจุดวัตถุประสงค์นั้นอย่งไรก็ตาม หลังยุทธการสตาลินกราด จึงได้ข้อสรุปว่าการไม่ลอบสังหารฮิตเลอร์จะเป็นความชัวร้ายทางศีลธรรมยิ่งกว่า..ความเด็ดขาดแบบใหม่ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในบรรดาขวยนการกู้ชาติเมืองเทรสคคอว์ได้รับมอบหมายหน้าในแนวรบด้านตะวันออกสเตาฟ์เฟนแบร์กก็รับผิดชอบในการวางแผนและดำเนินการบอลสังหารฮิตเลอร์
     พลเอกออลบริตซ์เสนอยุทธศาสตร์ใกม่ในการก่อรัฐประหารต่อฮิตเลอร์ กองทัพหนุน มีแผนปฏิบัติการที่เรียกว่า ปฏิบัติการวัลคือเรอ ซึ่งตาหลักจะใช้ในเหตุกาณ์ที่เกิดความระสำระสายในบ้านเมืองอันเกิดจากการทิ้งระเบิดในหัวเมืองต่างๆ หรือการก่อจลาจลของแรงงานทาส..พลเอกออลบริตซ์เสนอว่าแผนการดังกล่าวต้องการความช่วยเลหือจาทัพหนุนในจุดประสงค์เพื่อก่อรัฐประหารได้
     ระหว่างปี 1943-1944 ได้มีความพยายามของพันเอกเทรสคคอว์ และพันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์กที่จะให้หนึ่งในผุ้สมคบคิดเข้าใกล้ฮิตเลอร์ และสังหารเข้าด้วยระเบิดมือ หรือปืนพกลูกโม่ทั้งหมดสี่ครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ การลอบสังหารฮิตเลอร์เร่อมยากขึ้นตามลำดับเมื่อสถานการณ์สงครามเริ่มเลวร้ายลง ฮิตเลอร์เร่มที่จะไม่ปรากฎตัวต่อสาธารณะแลเดินทางมายังกรุงเบอร์ลินไม่กี่ครั้ง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ “รังหมาป่า” ใกล้กับรัสเทนบูร์กในปรัสเซยตะวันออกโดยมีการเดินทางไปพักผ่อนเป็นบางครั้งที่สถานที่ส่วนตัวในแถบภูเขาของรัฐบาวาเรีย โอแบร์ซัลซแบร์กใกล้กับแบร์ซเทสกาเดน สถานทีทั้งสองนี้มีการคุ้มกันอย่างแน่นหนาและแทบจะไม่พบคนที่ฮิตเลอร์ไม่รู้จักหรือไว้ใจ ฮิมม์เมอร์และหน่วยเกสตาโปเริ่มสงสยต่อการมีอยู่ของแผนการลอบสังหารฮิตเลอร์และสงสัยโดยเฉพาะนายทหารแห่งกองเสนาธิการ ซึ่งเป็นเหล่งกบดานของผุ้ลอบสังหารฮิตเลอร์จำนวนมาก
      เมื่อย่างเข้าฤดูร้อนของปี 1944 หน่วนเกสตาโปเริ่มสืบใกล้ถึงตัวของผู้สมคบคิดมีความรู้สึกว่าเวลากำลังจะหมดลง ทั้งในสนามรบ ซึ่งในแนวรบด้านตะวันออกทหารเยอรมันเร่มถอยทัพเต็มรูปแบบ และฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกในฝรั่งเศส ในวันที่ 6 มิถุนายนและในเยอรมัน ซึ่งพื้นที่ในการลงมือถูกจำกัดมากขึ้นทำให้เกิดความเชื่อที่ว่าการลงมือครั้งต่อไปจะเป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับคณะสมคบคิด จนถึงขณะนี้แกนกลางของผู้สมคบคิดเร่มคิดถึงตัวเองว่าเป็นผู้มีเคราะห์ร้ายซึ่งการกระทำของพวกเขาเป็นไปในเชิงสัญลักาณ์มากกว่าความเป็นจริง จุดประสงค์ของการสมคบคิดเร่มถูกมองโดยผุ้ก่อการบางคนว่าเป็นไปเพื่อรักษาเกียรติยศของตัวเอง ครบครัวกองทัพแลพะยเมน แทนที่จะเป็นไปเพื่อเปลี่ยนแปลงบันทึกแห่งประวัติศาสตร์ผู้ก่อการเตีรยมก่อรัฐประหารใหญ่ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมเพมือพวกเขาสามารถชักชวนเออร์วิน รอมเมล ผู้มีชื่อสเยงเข้าร่วมคณะได้
     เมื่อสเตาฟ์เฟนแบร์กส่งข้อความถึงเทรสคอว์ผ่านร้อยโทไฮนริช กรัฟ ฟอน เลฮ์นดอรฟฟ์-สไตนอร์ดเพื่อถามไถ่ถึงเหตุผลในความพยายามลอบสังหารฮิตเลอร์โดยปราศจากเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเทรสคอว์ตอบว่า “การลอบสังหารจะต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าจะแลกด้วยอะไรก็ตาม และแม้ว่าจะล้มเหลวเราต้องลงมือในกรุงเบอร์ลิน สำหรับจุดประสงค์ในการลงมือนั้นไม่สำคัญอีกแล้วไม่ว่าอยางไรขบวนการกู้ชาติเยอรมันจะต้องก้าวต่อไป ต่อหน้าสายตาของโลกและประวัติศาสตร์เมือเปรียบเทียบกับสิ่งเหล่านั้นแล้ว อย่างอื่นก็ไม่มีความสำคัญอะไรเลย ฮิมม์เลอร์ได้มีการสนทนาอย่างน้อยหนึ่งครั้งกับฝ่ายต่อต้านที่เป็นที่รู้จั โดยในเดือนสิงหาคม ปี 1943 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ปรัศเวีย โจฮินเนส
โพพิตซื ผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครื่อข่ายของโกแอร์เดแลร์มาพบเขาและยื่นข้อเสนอให้ฮิมม์เลอร์เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ตอ่ต้านเพื่อลแกกับการสนับสนุนของกลุ่มต่อต้านหากเขาดำเนินการเพื่อถอดฮิตเลอร์และรับประกันการเจรจายุติสงคราม ไม่มีข้อมูลใด ๆ จากการนัดพบกันดับกล่าว แต่โพพิตซืไม่ถูกจับกุมและฮิมม์เลอร์ก็ไม่ได้กระทำการใด ๆ ในการสืบหาเครือข่ายต่อต้านซึ่งเขาทราบแล้วว่ากำลังปฏิบัติการอยู่ภายใต้ระบบราชการ จึงมีความเป็นไปได้ที่ว่า ฮิมม์เลอร์ ทราบดีว่าไม่อาจเอาชนะในสงครามนี้ได้ การปล่อยให้การลอบสังหารฮิตเลอร์เกิดขึ้นเพื่อว่าตนอาจจะได้รับการสืบทอดเป็นทายาทของฮิตเลอร์และจะสมารถตกลงสันติภาพได้
     เทรศคคอว์และผุ้ก่อการวงในไม่มีเจตนาจะถอดฮิตเลอร์เพียงเพื่อที่ว่าให้คนของหน่วย SS ที่น่าสะพรึงกลัวขึ้นมาแทน และแผนการคือจะต้องฆ่าทั้งสองคนหากเป็นไปได้ ความพยายามลอบสังหารครั้งแรกของสเตาฟฟ์เฟนแบร์กถูกยกเลิกเนื่องจากฮิมม์เลอร์ไม่ได้อยู่กับฮิตเลอร์..
      ก่อนวันที่ 20 กรกฎาคม..
     1 กรกฏา สเตาฟ์เฟนแบร์กได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าทเสนาธิการของพลเอกฟรอบ ตำแหน่งนี้เปิดโอกาสให้เขาสามารถเข้าร่วมการประชุมทางทหารไม่ว่าที่รังหมาป่าในปรัสเซียตะวันออกหรือแบร์ซเทสกาเดนและอาจเป็ฯโอกาสสุดท้ายที่เผยออกมา ในการสังหารฮิตเลอร์ด้วยระเบิดหรือปืนพก ขณะเดียวกันก็ได้รับพันธมิตรที่สำคัญใหม่เพิ่มขึ้นซึ่งรวมไปถึงพลเอกคาร์ล-ไฮนริช ฟอน สทีลพ์นาเกลผู้บัญชาการทหารเยอรมันในฝรั่งเศส ผู้ซึ่งจะเข้าควบคุมกรุงปารีสเมื่อฮิตเลอร์ถูกสังหารแล้วและเจรจาสญญาสงบศึกในทันที่กับกองทัพสัมพันธมิตรฝ่ายรุกรานตามที่หวังเอาไว้ ถึงตอนนี้แผนการได้เตรียมการไว้สมบูรณ์แล้ว

     วันที่ 7 กรกฎาคม พลเอกสไทฟฟ์เกือบจะสังหารฮิตเลอร์ที่การแสดงเครื่องแบบใหม่ที่ปราสาทแคลสส์ไฮษ์ ใกล้กับซัลซบูรก์แล้วอย่างไรก็ตาม สเตาฟ์เฟนแบร์กจึงตัดสินใจจะทำสองภารกิจไปพร้อมกันทั้งลอลสังหารฮิตเลอร์เมือเขามีโอกาส และจัดการแผนการในกรุงเบอร์ลินไปพร้อมกัน  ในวันที่ 11 กรกฎาคมสเตาฟ์เฟนแบร์กเข้าร่วมการประชุมทางทหารของฮิตเลอร์โดยพกระเบิดไว้ในกระเป๋าเอกสารของเขาแต่เนื่องจากผู้ก่อการได้ตัดสินใจแล้วว่า ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์และแฮร์มันน์แต่เนื่องจากผู้ก่อการได้ตัดสินใจแล้วว่า “ฮน๋ริช ฮิมม์เลอร์และแฮร์มันน์เกอริงควรจะถูกฆ่าไปพร้อมกันหากแผนการระดมพลตามปฏิบัติการวางคิรีจะมีโอกาสสำเร็จ เขาจึงถอยกลับในนาทีสุดท้ายเพราะฮิมม์เลอร์ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ซึ่งอันที่จริงแล้วซึ่งไมปกติวิสัยที่ฮิมม์เลอร์จะเข้าประชุมทางทหาร
     15 กรกฏาคม สเตาฟ์เฟนเบิร์กบินมายังรังหมาป่าอีกครั้งหนึ่ง แต่เงื่อนไขดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแผนการของสเตาฟ์เฟนเบิร์ก คือ วางกระเป๋สเอกสารบรรจุระเบิดที่มีตัวจับเวลาไว้ในห้องประชุมของฮิตเลอร์ก่อนจะถอนตัวออกจากการประชุม รอจนเกิดระเบิดขึ้นแล้วบินกลับไปยังกรุงเบอร์ลินและเข้าร่วมกับผู้ก่อการคนอื่นที่เบนด์เลอร์บล็อก ปฏิบัติการวาลคีเรอ จะเริ่มต้นขึ้นและกองทัพหนุนก็จะทำการควบคุมเยอรมันทั้งหมด และณะผู้นำนาซีทั้งหมดก็จะถูกจับกุมเบคก็จะได้รับการแต่ตั้งให้เป็นประมุขของรัฐ ขณะที่คาร์ล ฟรีดริช เกอดีเลอร์นักการเมืองอนุรักษนิยมและผู้ต่อต้านนาซี ก็จะหกลายเป็นนายกรัฐมนตรีและวิตเลเบนก็จะเป็นผุ้บัญชาการทหารสูงสุด แต่แผนการดังกลาวต้องถูกยกเลิกไปในนาที่สุดท้ายอีกครั้ง เพราะแม้ว่าฮิมม์เลอร์กับเกอริงจะเข้าประชุมด้วย แต่ฮิตเลอร์ออกจากการประชุมในช่วงสุดท้ายสเตาฟ์เฟนเบิร์กสามารถยับยั้งระเบิดและป้องกันการถูกตรวจพบได้

การลอลสังหาร  20 กรกฎาคม1944
     18 กรกฎามีข่าวลือว่าเกสตาโปทราบข่าวการสมคบคิดและอาจถูกจับกุมได้ตลอดเวลาเป็นที่ชัดเจนว่าข่าวลือดังกล่าวไม่เป็นความจริง แต่มีข่าวรู้สึกว่าตาข่ายกำลังใกล้เข้ามาและโอกาสสังหรฮิตเลอร์ครั้งต่อไปจะต้องลงมือเพราะอาจไม่มีโอกาสครั้งต่อไป สเตาฟ์เฟนเบิร์กบินมายังรังหมาป่าเพื่อเข้าร่วมประชุมทางทหารของฮิตเลอร์อีกครั้งพร้อมกับประเป๋าเอกสารซึ่งบรรจุระเบิดไว้เช่นเดิมโดยที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดไม่ถูกตรวจค้นตัวเลข กระเป๋าถูกนำไปวางไว้ที่โต๊ะประชุมของฮิตเลอร์และมีนายทหารอีกว่า 20 นาย หลังจากนั้นไม่กี่นาทีสเตาฟ์เฟนเบิร์กได้รับโทรศัพท์ที่เตรียมไว้สำหรับทางออก ระเบิดทำงานในช่วงเที่ยงของวันนั้น ซึ่งทำลายห้องประชุม นายทหารสามคนและนักเขียนชวเลขได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมาแต่ฮิตเลอร์รอดซีวิต เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ในห้องประชุมซึ่งได้รับการป้องกันแรงระเบิดโดยขาโต๊ะประชุมกางเกงของฮิตเลอร์ถูกไฟเผาและขาดรุ่งริ่ง และเขาเยื่อแก้วหุทะลุเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ที่รอดชีวิตในห้องนั้น
     ฮิตเลอร์ยังมีชิวิตอยู่! ความสับสนเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินที่พาสเตาฟ์เฟนแบร์กหลบหนีลงจอดและเขาโทรศัพย์มาจากสนามบินและว่าแต่จริงแล้วฮิตเลอร์เสียชีวิต! พลเอกฟรอมม์ ได้โทรศัพท์ไปสอบถามยังรังหมาป่าและได้รับการยืนยันว่าฮิตเลอร์ยังคงมีชีวิตอยู่ ขณะเดียวกัน ผู้บัญชาการแคว้นทหารเขตยึดครองฝรั่งเศสประกาศปลดอาวุธเอสดี และเอสเอส ฟอน คลุจ และถามเขาให้ติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตเพียงเพื่อจะได้รับแจ้งว่าฮิตเลอร์ยังมีชีวิตอยู่

      สเตาฟ์เฟนแบร์กและแฮแลร์บล็อก ฟรอมม์เปลี่ยนฝ่ายและพยายามจับกุมตัวสเตาฟ์เฟนแบร์กซึ่งคาดว่าเป็นการกระทำไปเพื่อปกป้องตนเองจากความผิดออลบริวและสเตาฟ์เฟนแบร์กจึงกักตัวเขาไว้และออลบริซได้แต่งตั้งให้พลเอกอีราช เฮิพแนร์ปฏิบัติหน้าทีแทนเขา
      ฮิมม์เลอร์เข้าควบคุมสถานการ์และออกคำสังยอเลิกปฏิบัติการวาลคิเรอ ของออลบริซในหลายพื้นที่ รัฐประหารยยังคงดำเนินต่อไป นำโดยนายทหารซึ่งเชื่อว่าฮิตเลอร์เสียชิวิตแล้วผู้บัฐชการนครและผู้ร่วมก่อการ พลเอกพอล ฟอน ฮาเซอ ออกคำสั่งให้กองพลกรอสส์คอยท์ชลันต์ภายใต้บังคับบัญชาของพันตรีออทโท แอร์นสก์ เรแมร์ ให้เข้าควบุมวิลเฮลมสทราสส์และจับกุมรัฐมนตรีระทรวงโฆษณการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ในเวียนนา ปราก และอีกหลายแห่งทหารได้เข้าควบคุมสำนักงานพรรคนาซีและจับกุมกอซไลแตร์และนายทหารเอสเอส
      ความสับสนเนื่องจากไม่ทราบว่าฮิตเลอร์ยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ นั้นในช่วงหัวคำเมื่อฮิตเลอรพอจะสามารถจะโทรศัพท์ได้เขาโทรศัพท์หาเกิบเบิส์ที่กระทรวงโฆษณการเกิบเบิลส์จัดการให้ฮิตเลอร์พูดโทรศัพท์กับพันตรีเรแมร์ผู้บัการกำลังซึ่งล้อมกระทรวงอยู่นั้นหลังจายืนยันแล้วว่าเขายังมีชีวิตอยู่ฮิตเลอร์จึงออกคำสั่งให้เรแมร์เข้าควบคุมสภานการณ์ในเบอร์ลินพันตรีเรแมร์ออกคำสั่งให้ทหารของเขาล้อมและปิดเปบนด์แลรบ เมื่อเรแมร์เข้าควบคุมสถานการณ์ในกรุงเบอร์ลินและมีการบอกต่อๆ กัน ว่าฮิตเลอร์ยังมีชีวิตอยู่สมาชิกร่วมขบวนการที่ไคอยเด็ดเดียวเท่าใดนักในเอบร์ลินก็เริ่มเปลี่ยนฝ่ายเกิดการต่อสู้ขึ้นในเบนด์แลร์บล็อกระหว่างนายทหารที่สรับสนุนและคัดค้านรัฐประหาร
     23.00 20 กรกฎา 1944 ฟรอมม์เข้าควบคุมสถานการณ์อีกครั้งโดยหวังว่าการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีอย่างกระตือรือร้นนี้จะช่วยตนได้ เบคผุ้ตระหนักว่าสถานการณ์สิ้นหวังยิงตัวตาย ฟรอมม์จัดศาลทหารเฉพาะกาลขึ้น มีการประหารชีวิตที่ลานด้านนอกซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพื่อป้องกันการถูกเปิดโปงว่าเขาเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนด้วยยังมีคนอื่นถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ท้ายที่สุดฟอร์มม์ถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตในเดือนมีนาคมปีถัดมา
     ด้วยความโกรธเกรี้ยวของฮิตเลอร์ เกสตาโปองฮิมม์เลอร์ทำการล้อมจับเกือบทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการดังกล่าว มีผู้ถูกจับกุมในแผนการครั้งนี้ 5,000-7,000 คนและราว 200 คนถูกประหารชีวิต ในการจับกุมนั้นเพียงตกเป็นต้องสงสัยแม้ไม่ใช้ผู้ที่ร่วมขบวนการก็ถูกจับกุมแล้วซึ่งเป็นการฉวยโอกาสของเกสตาโป    
     บางคนถูกจับกุมให้สรภาพโดยการทรมาน และหลายคนจบชีวิตตัวเองก่อนการตัดสินของตน เอลวิล รอมเมล ยอมตายอย่างสมเกียติร มากกว่าการยอมขึ้นศาล ซึ่งมักจะได้รับการตัดสินที่เอนเอียงไปทางอัยการ  เทรสคคอว์เองก็ทำอัตวินิบาตกรรมหนึ่งวันหลังจากรัฐประหารที่ล้มเหลวโยการใช้ระเบิดมือ กอ่นตาย เทรศคคอว์กล่าวแก่ฟาเบียน ฟอน ชลาเบรนดอร์ฟฟ์ว่า “โลกกำลังประฯมเราในตอนนี้ แต่ผมเชื่อว่าเราทำสิ่งที่ถูก ฮิตเลอร์เป็นศัตรูสำคัญไม่เฉพาะแต่กับเยอรมันเท่านั้นแต่กับโลกทั้งใบด้วย เมื่อไม่กี่ชัวฌมงก่อน ผมเข้าเผ้าพระเจ้าเพื่อทูลว่าอะไรที่ผมได้ทำและถูกทิ้งไว้ยังไม่ได้ทำผมทราบว่าผมจะสมารถ
พิสูจน์ได้ว่าอะไรที่ผมทำและถูกทิ้งไว้ยังไม่ได้ทำผมทราบว่าผมจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าอไรที่ผมทำให้การต่อสู้กับฮิตเลอร์พระเจ้าให้สัญญาแก่อับราฮัมว่าพระองค์จะไม่ทรงทำลายโซ่ตรวนหากสามารถพบผุ้ชอบธรรมได้สิบคนในนครและผมฟว่างวาพระจเจะไม่ทรงทำลายเยอรมัน ไม่มีใครในหมู่พวกเราอาจคร่ำครวญการตายของตัวได้ผู้ซึ่งยินยอมเข้าร่วมวงกับเราถูกสวมเสื่อคลุมแห่งเนศซุส บูรณภาพแห่งศีลธรรมของมนุษย์เริ่มขึ้นเมื่องเขาพร้อมสละชีวิตตนเองเพื่อสิ่งที่เขาเชื่อ
    การไต่สวนและการประหารชีวิตผู้สมรู้ร่วมคิดดำเนินมากระทั่งวันสุดท้ายของสงคราม ฮิตเลอร์ถือเอาว่าการรอดชีวิตของเขานั้นเป็น “ช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ในประวัติศาสตร์”และมอบหมายให้มีการจัดทำเครื่องอิสรยาภรณ์ เหรียญผู้บาดเจ็บ 20 กรกฎาคม 1944 ซึ่งฮิตเลอร์มอบให้ผู้ที่อยู่กับเขาในห้องปะชุมในเวลานั้น เหรียญ   

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:OstFront Continued

     ไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เจ้าชายไมเคิล ประสูติที่ปราสามเปเรส ในเมืองซินายอา ประเทศโรมาเนียเป็นพระโอรสในมกุฎราชกุมารคาโรลกับเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก เจ้าชายไมเคิลได้รับประกาศให้เป็นทายาทสืบบัลลังก์พระองค์ต่อไปและได้ขึ้นครองราชสมบัติหลังจากพระปิตุลาเสด็จสวรรคตเมืองเดือน กรกฎาคม 1927


      พระยศผู้สำเร็จราชการแทนซึ่งรวมเข้ากับเจ้าชายนิโคลัสแห่งโรมาเนีย ผู้เป็นสมเด็จอาของพระองค์ พระสังฆราช มิรอน คริสที่ และผู้พิพากษาสูงสุดของประเทศได้ทำหน้าที่แทนเจ้าชายไมเคิลซึ่งพระชมมายุเพียง 5 ชันษา  ในปี 1930 สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียได้เสด็จกลับประเทศภายใต้คำเชื้อเชิญของนักการเมืองที่ไม่พอใจในผุ้สำเร็จราชการและได้ประกาศตนเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียโดยทางรัฐสภาถอดพระเจ้าชายไมเคิลออกจากราชบัลลังก์ให้ดำรงพระยศเป็ฯมกุฎราชกุมารด้วยตำแหน่ง “แกรนด์วออิวอดออฟเอลา-ลูเลีย” เดือนพฤศจิกา1939 เจ้าชายไมเคิลได้เข้าร่วมวุฒิสภาโดยรัฐธรรมนูญปี 1940 ได้กำหนดให้พระองค์มีตำแหน่างในสภาเมื่อมีพระชนมายุครบ 18 ชันษา ปี 1941 ผู้นิยมนาซีเยอรมันต่อต้านพรรคบอลเชวิคนายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน เอนโตเนสคู ได้กระทำรัฐประหาร ต่อต้านสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 22 ซึ่งแอนโตเนสคูเรียกพระองค์ว่าผุ้ต่อต้านนาซี แอนโตเนสคูด้ยกเลิกรัฐธรรมนูญและล้มล้างระบบรัฐสภาและก่อตั้งเจ้าชายไมเคิลขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียอีกครั้งเมื่อมีพระชนมายุ 18 ชันษาพระองค์ได้สาวมงกุฏเหล็กแห่งโรมาเนียและได้รับการแต่งตั้งโดยพระสังฆราชา นิโคดิม มันที่นู แห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ บูคาเรสต์ วันที่ 6 กันยายน ปี 1941 พระองค์ทรงได้รับพระยศเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพและทรงแต่งตั้งและมอบหมายนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจเต็ม ซึ่งในความเป็นจริงพระองค์ทรงมีอำนาจเพียงในนาม
     ในปีเดียวกันนั้นเอง เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายอักษะต้องถอยล่น เผด็จการทหารของนายกรัฐมนตรีจอมพล เอียน เอนโตเนสคู ยังคงปกครองโรมาเนีย สิงหาคม 1944 โซเวียตจำเป็นต้องโจมตีโรมาเนียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พระราชาธิบดีได้เข้าร่วมกับนักการเมืองฝ่ายพันธมิตร กระทการัฐประหารนายกรัฐมนตรีแอนโตเนสคู แต่งตั้ง คอนสแตนติน เซนาเทศคู และทำการส่งอแนโตเนสคูให้โซเวียตทำการประหารชีวิต   1 กันยายน 1944 พระองค์ทรงขอสงบศึกกับกองทัพแดงและได้ประกาศพักรบกับอังกฤษและอเมริกา อย่างไรก็ตามก็ไม่สามรถหยุดโซเวียตที่จับกุมทหารชาวโรมาเนียกว่า แสนสามนาย ถูกส่งไปยังโซเวียต
     ในการประชุมที่เตหะราน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 เชอร์ชิล รูสเวลท์ และสตาลินได้พบปะกัน รุสเซียแจ้งไทราบว่า ตนไม่ยินยอมให้มีการปฏิบัติการรบตามแผนโอเวอร์ลอร์ด ด้วยถือว่า จะเป็นการยกพลขึ้นบกที่บอลข่านโดยมีเจตนาอำพรางที่จะปิดล้มรุสเซียมิให้กลืนบอลข่านและยุโรปตะวันออก รุสเซียยืนกรามให้ยกพลขึ้นบกฝรั้งเศสภาคเหนือเป็นทางลัดตัดสู่เบอร์ลิน อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญในการประชุมครั้งนั้นคือ การที่รุสเซียจะประกาศจัดตั้งรัฐบาลโปแลนด์ และเชโกสโลวะเกียพลัดถ่นที่เป็นคอมิวนิสต์

     ในการประชุมครั้งนั้น ได้มีการตกลงปักปันพรมแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก กล่าวคืโปแลนด์ดินแดนตะวันออกให้แก่รุสเซีย โดยจะได้รับชดเชยเป็นดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก กล่าวคือโปแลนด์เสียดินแดนตะวันออกให้แก่รุสเซีย โดยจะได้รับชดเชยเป็นดินแดนปรัสเซียตะวันออกให้แก่รุเสเซีย โดยจะได้รับชดเชยเป็นดินแดนในยุโรปดินแดนปรัสเซียตะวันออก และขยายพรมแดนโปแลนด์ตะวันตกไปจดแม่น้ำโอเดอร์ ซึ่งเท่ากับได้ดินแดนไซลีเซียตอนบน ของเยอรมันด้วย
     ส่วนการลงโทษเยอรมันนั้น รุสเซียเสนอให้ยกเลิกผู้ชำนาญการทางทหารของเยอรมันเสียแต่พันธมิตรไม่เห็นด้วย เมื่อพิจารณาพื้นที่ยึดครองเยอรมันตามแผนของสหรัฐแมริการุสเซียก็ไม่ตกลงเห็นชอบเช่นกัน
     ด้วยความต้องการที่จะให้รุสเซียร่วมสงครามแปซิฟิกเพื่อปราบญี่ปุ่นและเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ ทำให้พันธมิตรจำต้องยอมผ่อนปรนให้แก่รุสเซยในเรื่องการขยายพรมแดนแม้เมือยินยอมเช่นนั้นก็มิได้หมายความว่า รุสเซียจะร่วมสงครามแปซิฟิก จึงเป็นการผ่อนปรนโดยรุสเซยไม่มีภาระผูกพันอันใดเป็นข้อแลกเปลี่ยน
      เมื่อได้สิ่งที่ตนต้องการแล้ว รุสเซียก็ยินดีในความร่วมอในการปราบเยอมันอย่างจริงจัง ดังปรากฎจากการที่รุสเซียได้รับรุกต่อไปตามกลยุทธสตาลินที่เรียกว่า “รบรุกนับสิบ” เพื่อสลายพลังอันกล้าแข็งของทัพเยอรมัน และพันธมิตรเองก็ได้เปิดแนวรบตะวันตก (ตามที่รุสเซียต้องการ)ขึ้นที่ฝรั่งเศสภาคเหนือซึ่งถือว่าเป็นการประสานงานกันในการรบรุกบีบเยอรมันทั้งสองด้าน แผนการดังกล่าวนี้รุสเซียให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันด้วยถือว่าเป็นกายิงปืนนัดเดียวได้เหยื่อถึง 2 ราย กล่วคือ การที่รุสเซียรุกไล่เยอรมันออกจากยุโรปตะวันออกเ ป็นการประบเยอมันตามแผนประสานงานกับพันธมิตร เปละเป็นโอกาสเหมาะที่รุสเซียจะเข้ายึดครองอินแดนยุโรปตะวันออกที่รุเซียได้อ้างว่าต้องการปลดแอกให้ด้วย
     กรกฏาคม 1944 รุสเซียเข้ายึดครองภูมิภาคทะเลบอลจิกและโปแลนด์สองเดือนต่อมา ได้ยึดครองรูเมเนียและบับแกเรีย การรุกคือบหน้าสู่ลุ่มน้ำดานูบ และเข้าไปในบอลข่านเช่นนั้น ทำให้พันธมิตรตื่นตระหนก และเพียรพยายามที่จะมิให้รุสเซียเข้ายึดครองกรีซ ซึ่งจะทำให้รุสเซียสามารถแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลครอบงำน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียน
     ตั้งแต่มิถุนายน ค.ศ. 1944 มาแล้วที่อังกฤษได้ตั้งข้อเสนอแก่รุสเซียดังต่อไปนี้
1 แบ่งบอลข่านโดยรุสเซียมีอำนาจอิทธิพลในบัลแกเรียและรูเมเนีย
2 อังกฤษเข้าควบคุมกรีซ
     ข้อเสนอนี้ รุสเซียยอมรับในหลักการ ในเดือนตุลาคม โดยมีการเจรจาเพิ่มเติมว่า
1 รุสเซียมีอำนาจครอบงำฮังการี รูเมเนีย และบัลแกเรีย ในอัตราส่วน 75-80 เปอร์เซ็น
2 รุสเซียมีอำนาจครอบงำยูโกสลาเวยในอัตราส่วน 50 เปอร์เซ็น
     รุสเซียให้คำมั่นที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในและแทรกแซงทางทหารในบรรดารัฐดังกล่าวข้างต้น
     เมื่อตกลงกันได้ในการแบ่งสรรอำนาจผลประโยชน์ต่อกันแล้ว รุสเซียได้รุกคืบหน้าเข้ายึดครองออสเตรียและปรสเซยตะวันออกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 การรุกคืบหน้าและเข้ายึดครองดินแดนบอลติก ยุโรปตะวันออก และบอลข่านนั้น เป็นการปฏิบัติการที่ต่อเนื่องกันมาตามลำดับในระหว่างปี 1943-1945 สิ่งที่รุสเซียต้องการจากพันธมิตรคือ ต้องการให้พันธมิตรรับรองอำนาจอิทธิพลรุสเซียในอินแดนเหล่านั้น ซึ่งเป็นการยากยิ่งสำหรับพันธมิตรจึงได้มีการประชุมขึนที่เมืองยัลตา สภาพความเป็นจริงทีประจักษ์แก่ฝ่ายพันธมิตรคือ การที่รุสเซียยึดครองยุโรปตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ กองทัพพันธมิตรเพื่องรุกมาถึงแม่น้ำไรน์ ในขณะที่อกงทัพรุสเซียกำลังจะข้ามแม่น้ำโอเดอร์เพื่อเข้าโจมตีกรุงเบอร์ลิน สภาพนี้เป็นภูมิหลังของการประชุมที่พันธมิตรตระหนักดีว่าตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...