วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Bertrayal Yalta

     เป็นคำที่ใช้กันในกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็คซึ่งหมายความถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของกลุ่มประเทศตะวันตกหลายประเทศซึ่งได้ละเลยสนธิสัญญาพันธมิตรและข้อตกลงหลายฉบับในสนธิสัญญาแวร์ซาย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปจนถึงสมัยสงครามเย็นซึ่งมีสาเหตุจากการหลอกลวงและทรยศ ซึ่งเป้นผลมาจากความจริงที่ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกซึ่งแม้จะได้รับการสนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตย การลงนามในสนธิสัญญและก่อตั้งพันธมิตรทางการทหารทั้งก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กระนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกกลับทรยศพันธมิตรของตนในยุโรปกลางโดยการละเลยที่จะปฏิบัติตามข้อผูกมัดตามสนธิสัญญา อาทิ การไม่ช่วยป้องกนนาซีเยอรมันจากการึดครองเชโกสโลวาเกีย แต่กลับบกให้ในข้อตกลงมิวนิก หรือการทอดท้งโปแลนด์ให้รับมือกับเยอรมันและสหภาพโซเวียตตามลำพังระหว่างการบุกครองโปแลนด์ และการลุกฮือในกรุงวอร์ซอ ในปี 1944
     นอกจากนี้ สัมพันธมติรตะวันตกยังได้ลงนามในข้อตกลงยอลตา และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองก็ไม่ให้การป้องกันหรือยื่นมือเข้ามาช่วยเลหือรัฐเลห่านี้จาการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมของสหภาพโซเวียตของสหภาพโซเวียตและระหว่างการปฏิวัติฮังการี 1956 ฮังการีก็ไม่ได้รับทั้งการสนับสนุนทั้งทางทหารและการสนับสนุนในด้านกำลังใจจากฝฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเลยและทำให้การปฏิบัติถูกปราบปรามโดยกองทัพแดงในที่สุ สถานการณ์เดียกันเกิดขึ้นอีครั้งในปี 1968 เมื่อกองทัพร่วมของกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอเพื่อกำจัดยุคฤดูใบไม้ผลิปรากในเชโกสโลวาเกียปละยุติการเปลี่ยนแปลงการปกครองกลัยสู่ระบอบคมอมิวนิสต์ดังเกิม ดังที่ได้เกิดความกังวลในการประชุมยอลต้า แนวคิดของมัก็ถูกโต้เถียงกันโดยนักประวัติศสตร์มองว่าการที่นายรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์และปรธานาธิบดีแห่งสหรัฐแมริกา แผรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากยอมรับความต้องการของผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน ทั้งในการประชุมเตหะรานและในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตามฝ่ายสัมพันธ์มิตรตะวันตกเองก็ได้ประเมินอำนาจของสหภาพโซเวียตผิดไปบ้าง เช่นเดียวกับที่ประเมินนาซีเยอรมันผิดไปหนึ่งทศวรรษก่อนหน้านั้น  แต่ผู้สนับสนุนการประชุมยอลต้ามีแนวคิดว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นการทรยศกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยไม่มีการพิจารณาถึงชะตากรรมของโปแลนด์ในอนาคต
     กองกำลังโปแลนด์เป็นกองกำลังที่ต่อสู้นาซีเป็นเวลายาวนานกว่าประเทศอื่นใดในสงครามโลกครั้งที่สองและทำการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังสหรัฐอเมริกา อังกฤษและโซเวียตในการทัพที่สำคัญหลายครั้งรวมไปถึงในยุทธการแห่งเบอร์ลินครั้งสุดท้าย ซึ่งกองกำลังติดอาวุธโปแลนด์ทางตะวันตกมีกว่า 250,000นายและ กว่าแสนแปดนายทางตะวันออก อีกว่าสามแสนนายทำการรบใต้ดินหรือในกองกำลังกู้ชาติ ในตอนปลายสงครามโลกครั้งสอง  กองทัพโปแลนด์มีจำนวนกว่า 600,000นายโดยที่ไม่นับกองกำลังกู้ชาติ ซึ่งทำให้โปแลนด์มีกองกำลังขนาดใญ่เป้ฯอันดับสี่ในสงคราม
     แต่กระนั้นประธานาธิบดีโรสเวลต์ก็ยังนิ่งนอนใจเมื่อรัฐบาลโปแลนด์ถูกอทนที่ด้วรัฐบาลหุ่นของโซเวียตโดยได้มีข้อสังเกตว่าโรสเวลต์ได้วางแยนที่จะมอบโปแลนด์ให้กับสตาลิน นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เสนอว่า เชอร์ชิลล์กระตุ้นให้โรสเวลต์ดำเนินกิจการทางทหารต่อในทวีปยุโรปแต่ต่อต้านสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติมจากพรมแดนของตนรูสเวลต์ดูเหมือนว่าจะเชื่อใจในการับประกันของสตาลินและปฏิเสธที่จะสนับสนุนการเจจาของเชอร์ชิลล์ในการรักษาเสรีภาพโดยปราศจากการหนุนหลังของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรที่เหนื่อยอ่อน อดอยากและแทบจะสิ้นเนือประดาตัวจึงไม่สามารถดำเนินการตามที่ตั้งใจไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...