วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

60’s

     การเลือกตั้งในปี 1960 พรรคเดโมเครตส่งจอห์น เอฟ.เคเนดี้ เข้ารับเลื่อกในตำแหน่งประธานาธิบดี ลินตอน บี.จอห์นสัน รับเลือกในตำแหน่งรอบประธานาธิบดี พรรครีพลับบริกันส่งริชาร์ด เอ็ม.นิกสัน รับเลือกในตำแหน่งประธานาธิบดี เฮนรี่ ซี.ลอจ รับเลือกในตำแหน่งรอบปรธานาธิบดีในช่วงแรกของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ผู้สันทัดทางการเมืองส่วนใหญ่เชื่อว่าริชาร์ด เอ็ม.นิกสันจะชนะการเลือตั้งเพราะนิกสันเป็นที่รู้จักของคนอเมริกันและมีความได้เปรียบลมีประสบการณ์การบริหารประเทศในตำแหน่างรองประธานาธิบดีเป็นเวลาแปดปีในสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ ทั้งชูประเด็นจะนำมาซึ่งสันติภาพ และความมั่งคั่งสู่อเมริกา สำรับจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ คนอเมริกันรู้จักไม่มากนัก แต่เพราะเป็นคนหน้าตาดี บุคลิกดี ฐานะดีและมีภรรยาสวยเป็นที่สะดุดตาช่วยเสริมให้ภาพและเรื่องราวของจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร โทรทัศน์มีส่วนช่วยจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โทรทัศน์มีส่วยช่วยจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ เป็นอย่างมาก เพราะมีการรณรงค์หาเสียงแบบเผชิญหน้ากันทางโทรทัศน์ถึงสื่ครั้ง เป็นครั้งแรกในการเมืองสหรัฐอเมริก แม้นจอห์น เอฟ. เคนเนดี้จะมีอายุน้อยเพียง 43 ปี แต่ภาพที่ออกมาทางดทรทัสน์บ่งบอกถึงความสุขุม มั่นใจและตอบฃคถ-มอย่งฉะฉานเฉียบคม เรียกเสียงสนับสนุนได้เป็นอย่งมากจากคนอเมริกัน จอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ชูประเด็นจำเป็นต้องเลือกผู้นำที่มองการไกล รู้ขึดความสามารถที่แท้จริงของสหรัฐอเมริกาในการดำเนืนนโยบายต่างประเทศ และเป็นที่พึ่งแก่ผุ้ยากไร้ด้อยโอกาส ภายใต้แผนชายแดนใหม๋ ผลการลงคะแนนปรากฏว่าจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ชนะ
     ทศวรรษที่ 60 ผู้เขียนตำราประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา เรียกประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาช่วงนี้ว่า หกสิบที่ปี่นป่วนโกลาหลสับสนวุ่นวาย และผู้รู้บางท่านเรียกประวัติศาสตร์ช่วงนี้ว่า สมัยแห่งความรุนแรง
     ทศวรรษเริ่มด้วยความสดใส คนอเมริกันศรัทธาในประธานนาธิบดีจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ผุ้นำหนุ่มวัย 44 ปี ประกาศแผนชายแดนใหม่ มุ่งให้เป็นที่พักพิงแก่ผู้ยากไร้ เยาวชนอเมริกันให้การสนับสนุนในอุดมการ์ ร่วมมีความคิดสร้างสรร มีความใฝ่ฝันมุ่งมั่นดำเนินการตาที่ผุ้นำกำหนด ทุกอย่างดูเหมือนจะดำเนินไปด้วยดี แต่กลับจบลงด้วยความเศร้าสลด เริ่มโดย ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองดัลลัส เท็กซัสในวันที่ 22 พฤศจิกายน 1963,มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองเมมฟีส,เทนเนสซี ในวันที่ 4 เมษายน 1968 และโรเบิร์ท เอฟ.เคนเนดี้ ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองลอสแอนเจลลิส,แคลิฟอร์เนียในวันที่ 6 มิถุนายน 1968

       สองปัญหาภายในประเทศที่ไม่ได้รับการแก้ไขนำสู่การประท้วงก่อความโกลาหลวุ่นวายได้แก่ ที่อยู่อาศัยเสือมโทรม  ความยกจน ผุ้สูงอายุไม่มีเงินเพียงพอเพื่อการรักษาพยาบาล คนงานไร้ฝีมือ ต้อง
ตกงานเพราะนายจ้างนำเครื่องจักรทุ่นแรงใช้ในโรงงาน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยของรัฐขาดครูอาจารย์ผุ้สอน ขอดอุปกรณ์การเยนและเรียกันอย่างแอดัด มีการแบ่งแยกเหยียดผิด ในการทำงาน การศึกษาและที่อยู่อาศัยรวมถึงต่อต้านการ่วมในสงครามเวียดนาม คนอเมริกันผิดดำประท้วงเพราะต้องการให้เลิกการแบ่งปยกเหยียดผิดเรียกร้องการมีสิทธิเท่าเทียมคนอเมริกันผิวขาว เรียกร้องความสนใจและต่อต้านการเข้าร่วมในสงครามเวียดนาม คนอเมริกันผิวขาวดดยเฉพาะเยาวชนอเมริกันส่วนใหญ่เกิดหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 มีความเป็นอยู่สุขสบาย ในปี 1964 เมื่อลินคอน บี.จอห์นสันนำสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามเวียดนามมีการเกณฑ์ทหารทำให้เยาวชนอเมริกันโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษามองสังคมอเมริกันเป็นสังคมไม่น่าอยู่มีการประท้วงเกิดกลุ่มขบวนการพูดเสรี และกลุ่มสมาคมนิสิตนักศึกษาเพื่อสังคมประชาธิปไตย นำโดยทอม เฮเดน และแอล ฮาเบอร์ ที่มิชิแกน สมาชิกส่วนใหญของทั้งสองกลุ่มนักศึกาเป็นคนอเมริกันผิวขาว จัดอยู่ในชนชั้นกลางของสังคมอเมริกัน สมาคมทั้งสองเรียกร้องสันติภาพ เลิกการแบ่งแยกเหยียดผิด ให้รัฐบาลสนใจดูแลทุกข์สุขประชาชนขจัดความยกจนให้หมดไป และให้ทหารเลิกเข้ายุ่งเกี่ยวกับพลเรือ เช่น เลิกการเกณฑ์ทหาร เลิกให้ทุนนักวิชาการทำงานวิจัยของกระทรวงกลาดหม และเลิกการผลิตอาวุธรายแรงเพื่อนำใช้ปราบปรามศัตรู ขณะเดียวกัน เยาวชนอเมริกันมีความสับสนทางจิตใจจัดตั้งกลุ่มซ้ายใหม และกลุ่มต่อต้านวัฒนธรรม เยาชนทั้งสองกลุ่มต่อต้านวัฒนธรรมเดิมคือไม่ต้องการมุ่งมั่นทำงานเพื่อความก้าวหน้าและความมั่นคงของชีวิต ไม่ต้องการยึดมั่นใรกฎข้อบังคับและระเบียบวินัย ไม่ยึดมั่นในสถาบันครอบครัว ไม่มีความภูมิใจในบรรพบุรุษ ค่านิยมใหม่ที่เกิดขึ้นคือ ไม่ติดกับวัตถุนิยมแต่จะแสวงหาความเชื่อใหม่เป็นที่พึ่งทางใจมุ่งที่ปรัชญาและศาสนาโลกตะวันออก ชื่นชอบแนวคิดและผลงานของเมเซตุงและฟิเดล คัสโตร มีเพศสัมพันธ์เปิดเผย เรียกหาความรักและสันติภาพ มีความเป็นอยู่เรียบง่ายไปวัน ๆ  และแสวงหาความสุขใจ
ด้วยการเสพกัญชา และยาหลอนประสาท ฮิปปี้หรือบุปผาชน เป็นรูปแบบใหม่ของเยาวชนอเมริกันในทศวรรษที่ 1960 ที่เบื่อสังคม การเมืองและวัฒนธรรมของอเมริกันเดิม ต้องการลืมปัฐหา คลายความเหวา คลายความเครียด ด้วยกาเสพกัญชาและยาหลอนประสาท เรียกหาความรักโลกีย์แลสันติภาพด้วยคำขวัญ “เมคเลิฟ น็อตวอร์” พอใจอยงุ่รวมกันเป็นชุมชนเช่นที่ซานฟรานซิสโก แบ่งปันความรัก ความรับผิดชอบ ทรัพย์สิน กินอยู่ และใช้สอยร่วมกัน ฮิปปี้นิยมใช้เสื้อผ้าเก่า สวใรองเท้าแตะหรือรองเท้าสาน ไว้ผมยาว สะพายถุงย่าม ห้อยสร้อยคอลูกประคำทีละหลายเส้น ชอบเพลงร็อค เพราะท่วงทำนองตื่นเต้นเร่าร้อนมีชีวิตชีวา วงดนตรีที่เยาวชนอเมริกันชอบมากคือ เดอะ บีเทิลส์,เดอะ วูดสต็อก,เดอะ โรลิ่งสโตนส์ เทศการดนตรีกลางแจ้งที่ยิวยอร์กโดยวง วูดสต็อก มีผุ้เข้าชมประมาณ สี่แสนคน ปลายทศวรรษที่ 1960 ฮิปปี้เสื่อมความนิยม มีสภาพเป็นคนข้างถนนหรือขอทาน และกลางทศวรรษ 1970 ฮิปปี้หมดไปจากสังคมเยาวชนอเมริกัน เนื่องจากสงครามเวียดนามยุติลง(1975) คนอเมริกันผิวดำรบการศึกษาเพี่มมากขึ้นสามารถยกสถานภาพตนเองในสังคมขึ้นทัดเทียมหรือใกล้เคียงคนอเมริกันผิวขาว การแบ่งแยกเหยียดผิวค่อยๆ หมดไป อย่างไรก็ตามสรุปได้ว่าอเมริกายุค 1960 ยังคงสกัดกั้นต่อต้านการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์  เศรษฐฏิจมีทั้งเฟื่องฟู ภาวะเงินเฟ้อ และธุกิจถอถอยซบเซา คนอเมริกันนิยมมีบ้านอยู่อาศัยบริเวณชานเมืองมากกว่าในเมือง สหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้ามากในงานวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโยโลยี นำสู่การผลิตยาใหม่ ๆ รักษาโรค และนำความก้าวหน้าในงานโครงการอวกาศ และขบวนการเรียกร้องสิทธิอำอย่างเป็นระบบ ทวีความรุนแรงขึ้นคนอเมริกันกล้าต้อต้านการดำนเนินโยบายต่างประเทศของรัฐบาลในเรื่องนำสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามเวียดนามด้วยการประท้วง นับวันทวีความรุนแรงขึ้น และประการสุดท้ายสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับมลภาวะ การฆาตกรรมและความรุนแรงอันเนื่องจากคนอเมริกันไม่พอใจสภาพที่เป็ยอยู่และไม่พอใจรัฐบาล สหรัฐฯช่วงทศวรรษ 1960 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสองคนคือ ประธานาธิบดีจอห์ เอฟ.เคนเนดี้ ด้วยแผนชายแดนใหม่ มุ่งใช้เป้นที่พึ่งแก่ผู้ยากไร้ และประธานาธิบดีลินคอม บี. จอห์นสัน ด้วยแผนสังคมที่ยิ่งใหญ่ มุ่งใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตคนอเมริกัน

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

China:World Comunist:World

       จีนแสวงหาอำนาจแข่งกับรัสเซียในโลกคอมมิวนิสต์ จีนมุ่งไปยังเอเซียอาคาเนย์ ภูมิภาคบ้านใกล้เรือนเคียง จีนแดงเริ่มนโยบายเรียกร้องให้ภูมิภาคนั้นต่อต้านลัทธิจัรกวรรดิน์นิยมอเมริกา ขณะนั้น ทั้งภูมิภาคยังมีภาวะการเมืองที่ไม่แน่นอนนัก อำนาจอิทธิพลขจองอเมริกาปรากฏเด่นชัดในเวียดนาม และลาว ทั้งสองประเทศได้รับความช่วยเหลือจากอเมริกามหาศาลเพื่อให้ดำรงคงความเป็นรัฐต่อไปด้เป็นการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ภายในคุกคาม ความช่วยเหลือแก่ลาวมากมายนี้ประจวบกับรัฐบาลลาวเองมีทีท่านิยมโลกเสรีมากกว่า ทำให้เวียดนามเหนือและลาวแดง ภายใต้การสนับสนุนของจีนแดงได้ก่อการร้ายขึ้นทั่วประเทศในปี 1959 ภาวะปั่นป่วนเนื่องจากรัฐบาลมิได้วางตัวเป็นกลาง และภัยคอมมิวนิสต์ ได้เป็นปัจจัยก่อเกิดรัฐประหารโดยผู้รักชาติจากฝ่ายทหารขึ้น ในเดือนสิงหาคม 1960 แต่แล้วรัฐบางใหม่ภายใต้การสนับสนุนของอเมริกาก็ยึดอำนาจคืนได้อีก

      วิกฤตการณ์ในลาวยังความตระหนกมาสู่ประเทศเพื่อบ้าน คือไทย นายกรัฐมนตรีสุวรรมาขอให้สหภาพโซเวียตรัสเซียช่วย รัสเซียส่งอาวุธยุทโธปกรณ์มาให้ทางอากาศ ส่วนใหญ่อาวุธเหล่านี้ไปอยู่ในมือฝ่ายลาวแองซึ่งมีกำลังเพิ่มมากขึ้นพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการล้มรัฐบาลลาวและเป็ฯกลำงแก่พวกเวียตนามเหนือให้แทรกซึมเวียดนามใต้ได้อย่างดี ความช่วยเหลือของรัสเซยทางทหารก่อเกิดวิกฤติการณ์ความตึงเครียดขึ้น จนเกิดข้อสงสัยกันว่า รัฐเซียจะเข้าไปมีบทบาทแข่งกับอเมริกาและจีนแดงอย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด และจริงจังเพียงใด ต่อข้อสงสัยนี้ และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่มิให้โลกเสรีเข้าใจผิด ครุสเซฟได้กล่าวสุทรพจน ณ ที่ประชุมมอสโคว์ ว่า ขบวนการปลดแอกที่เกิดขึ้นนรัฐต่าง ๆ นั้นแม้จะเป็ฯขบวนการอมมิวนิสต์ รัฐบาลรัสเซียจะสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางทหารเท่านั้น ซึ่งหมายถึง รัฐเซียจะไม่ใช้กำลังทหารของตนเอข้าแทรกแซงช่วยเหลือฝ่ยคอมมิวนิสต์พื้นเมืองต่อต้านรัฐบาล จีนแดงถือว่า คำประกาศเป็นการปฏิเสธของรัสเซียที่จะไม่ยอมรับควาเป็นผู้นำโลกอมมิวนิสต์ จีนแดงประณามว่ารัสเซยถือนโยบายเอาตัวรอด
     สิ่งที่ทำให้จีนแดงแน่ใจยิ่งขึ้น คือการที่รัสเซียดำเนินนโยบายสมานฉันท์กับอเมริกามากขึ้น ประธานาธิบดีสหรัฐคใหม่คือ จอห์น เอฟ เคนเนดี้ มีทีท่าต้องการความร่วมมือกับรัสเซย ต่างฝ่ายต่างประณีประณอมกันทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นสถานะการณ์ในลาวหนักแล้วทหารเวียดนามเหนือข้ามพรมแดนเข้ามาในลาว ถุกถามเสถียรภาพความมั่นคงของลาวและประเทศเพื่อนบ้าน คือ ไทยและเวียนามใต้ อเมริกาและรัสเซยได้ร่วมปรชุม ณ วียนนา ตกลงในหลักการที่จะให้ลาวเป็นกลาง ตามข้อตกลงเดิม ณ ที่ประชุมเจนีวา ได้มีการประชุมเจนีวาครั้งที่สองในเดือนพฤษภาคม ผุ้แทนจีนแดงเรียกร้องให้ยุบเลิกองค์การ ซีโต้ ซึ่งขณะนั้นมีทีท่าว่า ถ้าสงครามลาวจะขยายตัวมาถึงไทย ทหารจากองค์การนี้จะเข้าสงครามคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจีนแดง แต่ข้อเรียกร้องนี้มิได้รับความสนใจจากบรรดประเทศต่าง ๆ ที่เข้าประชุม
     ที่ประชุมลงมติให้ยุติการยิง และกำหนดลาวเป็นเขตปลอดทหาร ถึงกระนั้น ทหารเวียดนามเหนือก็ยังคงปรากฎอยู่ในลาว วิกฤติการณ์ในลาวสั่นสะเทือนเสถียรภาพความั่นคงของจีนแดงมิใช่น้อย เพราะถ้าตกลงกันมิไดในระหว่งมหาอำนาจ ลาวก็อาจเป็นยุทธภูมิของโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ ซึ่งจีนแดงไม่ปรารถนา เพราะสงครามใกล้ประเทศตน จีนแดงพยายามหลีกเลี่ยงเต็มที่ ดังเห็นไดจากกรณีที่จีนแดงบีบังคับเวียดนามเหนือมิให้ใช้กำลังรวมประเทศ
     คอมมิวนิสต์ในลาว ขบวนการประเทศลาวนั้นมิได้มีพลังอำนจเพื่อขึ้นเท่าที่ควร เพราะเวียดนามเหนือพอใจทีจะเห็นพรรคคอมมิวนิสต์ลาวมีอำนาจในทีราบสูงภาพเหนือใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังอาวุธและเสบียงอาหารส่งเสริมแก่สงครามเวียดนามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนจีนแดงไม่ต้องการที่จะเสี่ยงเผชิญหน้าอเมริกา ทั้งจีนแดงและเวียดนามเหนือจึงมิได้หนุนหลังลาวแดงให้ทำสงครามล้มอำนาจรัฐบาลลาว อีกประการหนึ่งการเมืองในเอเซียอาคเนย์ ถ้าเล่นเสียงเกินไปก้เป็นอันตรายต่อตนเอง จีนแดงได้เลือยุทธภูมิใหม่ที่ไกลตัวเองแล้ว คือ อัฟริกา
     ตั้งแต่ปี 1960 อัฟริกาเพิ่งจะได้รับเอกราชมากขึ้น จักรวรรดิ์ใหญ่น้อยของยุโรปค่อย ๆ สลายตัวลงก่อเกิดช่องว่างแห่งอำนาจขึ้นในอัฟริกา อเมริกาก็ดี รัสเซียก็ดี ก้าวเข้าไปแทนที่จีนแดงถือเป็นนิมิตหมายของพลังปฏิวัติเหนือพลังจักรวรรดินิยมในอัฟริกาจีนแดงเริ่มแสดงตนเป็นผู้นำโดยปริยาย จีนแดงถือทวีปนี้เป็นที่มาแห่งแนจเดียรติภูมิของจีนแดงในการก่อเกิดปฏิวัติตามแบบจีนแดงซึ่งจะมีอำนาจอิทธิพลพอที่จะดึงดุดความสนใจของอเมริกาจากอาเซียนมาสู่อัฟริกา ตลอจนการทุ่มกำลังความช่วยเลืหแก่อาเซียนและอัฟริการวมทั้งการใช้กำลังทหารจะทำให้อเมริกาต้องอ่อนกำลังด้วยเผชิญศึกหลายด้าน เสมือนคนไข้ถูกภัยไข้เจ็บคุกคามจนหมดแรง
      ตามนโยบายกร่อนกินอำนาจอเมริกานี้ จีนแดงได้ส่งเสริมการปฏิวัติขึ้นในที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ คองโก ทั้งที่เป็นของเบลเยี่ยมและฝรั่งเศส บูรุนดี สาธารณรับอัฟริกากลาง ผู้นำจีนแดงได้เดินทางไปเยื่อรัฐเหล่านี้เป็นการผูกสัมพันธไมตรีและหาสมัครพรรคพวกด้วยในเวลาเดียวกัน จีนแดงถือว่าอนาคตของการปฏิวัติสดใจ่งนักในอัฟริกา คองโกเป็นกรณีตัวอย่างที่จีนแดงหวังที่จะให้มีการปฏิวัติขึ้น ณ ไคโร (อียิปต์) จู เอน ไหล ยอมรับว่าการเชื่อมันพันธไม่ตรีกับโลกอาหรับและอัฟริกานั้นค่อนข้องจะล่าช้า การมาเยือนอาหรับและอัฟริกานั้น จีนแดงมีจุดประสงค์เรียกร้องให้มีการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และต้องการมิตรภาพตลอดจนความร่วมมือจากโลกอาหรับและอัฟริกา เป็นการเผยแพร่สปิริตอันดีมิให้ลืมไปจากใจโลกที่สาม ในขณะเดียวกัน ก็ยืนหยัดในหลักการสนับสนุนส่งเสริมการปลดแอกและต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม
     แต่ในขณะที่จีนแสดงบทบาทเจ้าตำรับการปฏิวัติในอัฟริกา พรมแดนจีนทางตอนใต้ติดอินเดียเริ่มเกิดความตึงเครียดขึ้นที่ละน้อย เพราะการเจรจาระหว่างจีนแดงกับอินเดียยังไม่ยุติลงได้ แม้จูเอน ไล จะเดินทางไปเจรจาด้วยตนเอง จีนแดงคงไม่มีจุดประสงค์ที่จะก่อศึกหรือควมตึงเครียดดวยกรณีพิพาทพรมแดนกับอินเดียในระยะนั้น เพราะจีนแดงเริ่มแตกแยดกับรัสเซียแล้ว จีนไม่ต้องการศัตรูทั้งรัสเซียและอินเดียกระหนาบอย่างแน่นอน การที่อินเดียผูกมิตรกับรัสเซีย ซึงแม้แต่ครุสซอฟก็เดินทางไปเยื่อนอินเดียซึ่งเป็นการข้ามหน้าข้ามตาจีนเป็นอันมากซึ่งมีข้อสังเกตว่า รัสเซยเริ่มแสวงหาอิทธิพลในอาเซียนมากขึ้นแข่งกับจีนแดง เป็นหมายที่สำคัญคือ อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึงสองชาตินี้มีสัมพันธภาพไม่ราบรื่นกับจีนแดง
     อินโดนีเซียไม่มีข้อตกลงกับจีนแดงเรื่องชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนิเวีย ต่อมาอินโดนีเญียทนรอมิได้ จึงต่อต้านพ่อค้าคนจีนมากขึ้นกดขค่ต่าง ๆ  จีนแดงได้ประท้วงอย่างแข็งขัน ซึ่งแทนที่สัมพันธภาพจะเลวร้ายลงกับดีขึ้น เพราะการที่รัสเซียเข้าแทรกแซง รัสเซียแข่งขันกับจีนในการช่วยเหลืออินโดนีเซีย เป็นเหตุให้จีนต้องรักษาไม่ตรีกับอินโดนีเซียให้ดีที่สุด
     กรณีอินเดีย อินเดียรุกล้ำเข้าไปในดินแดนจีนเอง ผลจากโครงกรณ์กระโดดล้ำหน้าที่ล้มเหลวผลักดันให้ผู้นำในทณฑลนั้นอพยพข้ามพรมแดนไปสู่รัสเซีย รัสเซียให้ควมสนับสนุนเต้ฒที่ วิกฤติการณ์ในลาวที่ตึงเครียด กระตุ้นให้ไทยของกำลังทหารอเมริกา ทหรอเมริกาได้มาประจำในไทยเป็นครั้งแรกที่ทหารอเมริกาประจำในประเทศย่ายเอเซียอาคเนย์ ซึ่งคุกคามเสถียรภาพของจีนแดง ยิ่งหว่านั้น ในปีเดียวกันความไม่สงบภายในประเทศเนื่องจากโครงการณ์กระโดดล้ำหน้าล้มเหลว และกรณ๊พิพาทชายแดกับอินเดียคุกกรุ่น ส่งเสริมห้ไต้หวันเคลื่อไหวกำลัง แสดงท่าที่จะยกพลขึ้นบก
     วิกฤตณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ที่เป็นอันตรายแก่จีนแดงมาที่สุดคือ แผนยกพลขึ้นบกของไต้หวัน เพราะมุ่งจะทำลายคอมมิวนิสต์โดยตรง จีนตระหนักดีว่าตนจะพึ่งพารัสเซียมิได้โดยแน่ จีนจำต้องใช้ความสามารถทางการทูตเจรจากับอเมริกา ณ วอร์ซอร์มิหใข้แทรกแซงช่วยไต้หวัน อเมริกาเองต้องการผูกมิตรกับจีน จึงยินยิมตกลง

     จีนประชุมกำลังแสนยานุภาพกว่า หกล้านคน ประจัญหน้ากับไต้หวัน เตรียมพร้อมที่จะปกป้องกำนาจเต็มที่ ว่าไปได้หวันมีโอกาสจะแสดงความสามารถได้ดีตาทที่ได้สัญญาแก่ชาวจีนเสมอมาว่าจะยกพลขึ้นบกทำลายล้างคอมมิวนิต์ ถ้าเพียงแต่สหรัฐอเมริกาจะยินยอมเห็นด้วยและสนับสนุนไต้หวัน แต่อเมริกไม่ต้องการเปลี่ยนสถานะเดิม นโยบายสองจีนเป็นที่ยอมรับของมหาอำนาจโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ อเมริกาไม่ต้องการหนุนหลังไต้หวัน ด้วยเกรงจะก่อให้เกิดความตรึงเครียด อันหมายถึงการที่อเมริกาและรัสเซียอาจต้องเข้าร่วมสงครามช่วยพัมธิมตรของตนด้วยความจำเป็น
     ความแตกแยกระหว่างรัสเซียและจีนแดงในระยะนั้น ยังไม่มีผู้ใดภายนอกปลงใจเชื่อนัก อเมริกาจึงมีเหตุที่จะต้องระมัดระวังไว้ก่อน แผนยกพลขึ้นบกของไต้หวันจึงล้มเหลวโดยปริยาย
     จีนระดมกำลังมุ่งสู่พรมแดนตะวันตกและใต้ทันที่ เมื่อมีการปะทะกันหลังจากจีนได้ยื่นคำขาดให้อินเดียถอนกำลังทหารมมิให้รุกล้ำเข้าไปในดินแดนที่กำลังเป็นกรณีพิพาท รัสเซียได้พยายามร้องขอให้อินเดียยินยอมแต่อินเดียยังคงก้าวต่อไป สงครามระหว่างจีนและอินเดียจึงเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็วโดยจำกัดขอบเขตเฉพาะในดินแดนที่เป็นกรณีพิพาทโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายจีน
    ในขณะเดียวกัน วิกฤติการ์คิวบาได้คุกรุ่นพร้อมีที่จะระเบิด สืบเนื่องมาจากการที่รัสเซียตั้งฐญานทัพจรวดขับเคลื่อนนิวเคลียร์ไว้ในคิวบาคุกคามอเมริกา อเมริกได้ยื่นคำขาดให้รัสเซียถอนฐานทัพ มิฉะนั้นจะใช้กำลัง สถานการณ์โลกตรึงเครียด จีนแดงกลังมีความพอใจ จีแดงสนับสนุนรัสเซียเต็มที่ในกรณีคิวบา ในขณะเดียวกัน จีนแดงก็ฉวยโอกาสดำเนินการตอบโต้อินเดียดังที่กล่าวมา
    ครั้งรัสเซียถอนฐานทัพจากคิวบา คิวบาแสดงความไม่พอใจ จีนเริ่มประณามรัสเซียว่ายอมผ่อนปรนโดยไม่จำเป็น  ฝ่ายรัสเซ๊ยมิได้รอช้าที่จะประณามจีนแดงว่าเจตนารอคอยความหายนะจากการเผชิญหน้ากันระหว่างรัสเซียและอเมริกา รัสเซยตราหน้าจีนแดงว่า ม้าคลั่งสงครามล้างโลก ทั่วโลกเองก็เห็นพ้องกับรัสเซียในภายหลัง
       จีนในโลกคอมมิวนิสต์ และในสังคมโลกช่วงทศวรรษที่ 1950-1960 นั้นเป็นนโยบายที่ทั้งแสวงหาสันติภาพแลส่งเสริมการปฏิวัติโลก ในช่วงระยะเวลานั้นเองที่พันธมิตรกลายเป็นศัตรู รัสเซียคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจีนแดง อันตรายกว่าภัยอเมริกาหลายเท่า โลกคอมมิวนิสต์แตกแยก จีนตัดสินใจสร้างอาวุธนิวเคลียร์ นโยบายจีนแดงเริ่มเน้นหนักการพึงพาตนเอง และเน้นหลักการปฏิวัติโลก นโยบายที่ขัแย้งกันอยู่ในลักษณะ คือ แสวงหาสันติภาพโดยอยู่ร่วมกันดดยสันติและการสนับสนุนขบวนการปลดแอก เป็นลักษณะเด่นชัดและเป็นปัญหาแก่จีนมิใช้น้อย มหามิตรกลายเป็นศัตรู ศัตรูของจีนเพิ่มเป็นสามประเทศ คือ รัสเซีย อเมริกา และอินเดีย คุกคามเสถียรภาพของจีนแดง นโยบายล้อมกรอบจีนแดงแผ่ขยายวงล้ำเข้าไปในโลกคอมมิวนิสต์ และเข้าไปในโลกที่สาม อเมริกาเข้ามามีอิทธิพลในเอเซียอาคเนย์ ภัยทั้งสามด้านปรากฎเป็นเงาดำทะมึนคุกคามจีนแดง

vietnam war

ข้อตกลงเจนีวาปี 1954 นำสู่การเกิดสงครามเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงเจนีวาจักรพรรดิเบาไดนำการปกครองในเวียตนามใต้แต่งตั้งให้โงดินเดียม เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 1955 เวียดนามใต้หรือรัฐแห่งเวยดนามเปลี่ยนชื่อประเทฆใกม่ว่าสาธารณรัฐเวียดนาม และเปลี่ยนแกรปกครงเป็นสาธารณรัฐมีโงดินเดียมเป็นประธานาธิบดี นำการบริหารประเทศช่วงปี 1955-1963 ภายใต้การสนับสนุนของimages (14) สหรัฐอเมริกา การปกครองของโงดินเดียมมีการทุจริตในวงการเมือง ยึดถือพวกพ้อง ที่ดินส่วนใหญ๋เป็ฯของคนรวยชาวเวียดนามส่วนใหญ่ยากจนโดยเฉพาะเกษตรกรไม่มีที่ดินเป็นของตนเองในการทำเกษตรกรรมการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมมีน้อยมาก และโงดินเดียมไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเจนีวา ในประเด็นปฏิเสธจัดการเลือกตั้งในเวียดนามใต้ในเดือนกรกฎาคม อันมีผลทำให้เวยดมินในเวียดนามใต้ซึ่งไม่ศรัทธาในโงดินเดียมอยู่แล้วไม่พอใจ เวียดมินในเวียดนามใต้ประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลโงดินเดียมภายใต้ชื่อว่าเวียดกง รวมตัวจัดตั้งแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติมุ่งปฏิบัติการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจรัฐบาลโงดินเดียม ปฏิบัติการสู้รบแบบกองโจร เวียดนามเหนือภายใต้การนำของโฮจิมินให้การสนับสนุนยุทธปัจจัยแก่เวียดกงด้วยเส้นทางจากเวียดนามเหนือผ่านลาวและกัมพูชาสู่เวียดนามใต้เรียกเส้นทางนี้ว่าเส้นทางโฮจิมิน The Ho Chi Minh Trail
    สงครามเวียดนามเริ่มจากสงครามกลางเมือง The Civil War โดยชาวเวียดนามสองกลุ่มเพื่อการตัดสินใจการมีรูปแบบรัฐบาลปกครองประเทศ จากสงครามกลางเมืองพัฒนากลายเป็นข้อขัอแย้งระหว่างประเทศดึงสหรัฐอเมริกาให้ต้องเข้าร่วมสงครามเป็นเวลายาวนาน พวกเวียดมินและเวียดกงเรียกสงครามเวียดนาม ว่าสงครามเพื่อการปลดแอกชาติ อันหมายถึง เวียดนามเหนือต้องการยุติการสนับสนุนของสหรับอเมริกาที่ให้แก่เวียดนามใต้และรวมเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้เป็นชาติเดียวกัน ในสงครามเวียดนามครั้งนี้จีนและรุสเซียให้การสนับสนุนด้านยุทธปัจจัยเท่านั้นแก่เวียดนามเหนือที่ให้แก่เวียดกง สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนเวียนามใต้
     สงครามเวียดนาม เป็นข้อพิพาททางทหารยุคสงครามเย็นที่เกิดในเวียดนาม ลาวและกัมพูชา สงครามเวียดนามเกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งและมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพัมธมิตรคอมมิวนิสต์เป็ฯคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่น ๆ เป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ติดอาวุธเบาซึ่งได้รับการสั่งการจากเวียดนามเหนือสู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ กองทัพประชาชนเวียดนาม ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ๋เข้าสู่ยุทธการกำลังสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้อาศัยความได้เปรียบทางอากาศและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏฺบัติการค้นหาและทำลายซึ่งวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ รัฐบาลสหรัฐมองว่ากาเข้ามามีส่วนในสงครามเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใจ้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัด ที่ใหญ่กว่า รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียกงมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มต้นสู้กับฝรั่งเศสโดยได้รับการสนับนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้น การเข้ามามีส่วขจองสหรัฐเพ่มขึ้นในช่วงต้นคริสตทศวรรษ ที่ 1960 โดยมีระดับทหารเพ่มเป็นสามเท่า และเพิ่มอีสามเท่าในเวลาต่อมา ไน่วยรบของสหรัฐถูกจัดวางเพื่อปฏิบัติการข้ามพรหมแดน ดดยลาวและกัมพูชาถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก การเข้ามามี่ส่วนในสงครามของสหรัฐถึงขีดสุด ขณะเดียกับการรุกตรุษญาว หลังจานี้ กำลังภาคพื้นดินของสหรัฐค่อย ๆ ถูกถอนออก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยลายที่เรียกว่าการแผลงเป็นเวียดนาม แม้จะมีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสโดยภาคีทุกฝ่ายเมื่อแล้วก็ตาม การรบยังคงดำเนินต่อไป
     การแทรกแซงของสหรัฐเร่มต้นต่างจากการเข้าสู่สงครามเกาหลี เนื่องจากปัญหาการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรวมชาติเวียดนาม เพราะเกรงว่าชาวเวียดนามจะเลือกโฮชิมินห์ ซึ่งเป็นวีรบุรุษกู้ชาติเวียดนามทั้งสองส่วนมีวิถะชีวิตต่างกันและนิยมความคิดทางการเมืองไม่ตรงกัน เวยดนามเหนือส่วนใหญ่เกษตรกรยากจน เสียเปรียบเจ้าของที่ดิน จึงนิยมคอมมิวนิสต์ ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากสหภาโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่รบกับฝรั่งเศส สิ่งที่สำคัญคือ ความนิยมในตัววีรบุรุษ ผุ้นำขบวนการชาตินิยมคือ โฮชิมินห์ หากมีการเลือกตั้งประชาชนทั่วไปมีแนวโน้มจะเลือกโฮชิมินห์ วีรบุรุษของตน โดยไม่สนใจลัทธิการเมือง สหรัฐจงเข้ามาสนับสนุนเวียดนามใต้แทนฝรั่งเศส เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเกรงว่าผู้นิยมคอมมิวนิสต์จะได้ชัยชนะและทำให้เวียดนามเป็นคอมมิวนิสต์การยกเลิกการเลือกตั้งประธานาธิบดีทำให้เวียดนามเหนือประกาศสงครากับเวียดนามใต้อีกครั้งเพื่อใช้กำลังรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน สหรัฐมีความเชื่อทฤษฎีโดมิโน คือ เมื่อชาติหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ชาติที่อยู่ใกล้เคียงจะถูกคุกคามแลตกอยู่ในอิทธิพลคอมมิวนิสต์ด้วย เช่นเดียวกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก จึงเข้ามาปกป้องประเทศในเอเซียตะวันออกเฉพียงใต้มิหใปนไปตามนโยบายวาทะทรูแมนและแผนการมาร์แชล
      สหรัฐอเมริกาเร่มส่งที่ปรึกษาทางทหารและส่งอาวุธยทธปกรณ์ เพื่อพัฒนากองทัพให้กับเวียนามใต้ ตั้งแต่สมัยประธานาธิบีไอเซนเฮาว์และประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ต่อมาเมืองเคเนดีเสียชีวิตจากการลอบสังหารที่ดัลลัส เท็กซัส รองประธานาธิบดีจอห์นสันได้รับตำแหน่งผุ้นำสหรัฐแทน ได้ส่งกำลังพลนับแสนคสพร้อมอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ามาสกัดกั้นการคุกคามของคอมมิวนสิต์ในเวียนาม ทำให้สงครามเวียนามขยายตัวและรุนแรงมากขึ้น
     ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือมีกองทัพเวียดมินห์ สำหรับการรบเต็มรูปแบบและมีขบวนการเวียกง เป็นประชาชนทั่วไปที่นิยมคอมมิวนิสต์หรือถูกบังคับให้เป็นคอมมิวนิสต์ ปฏิบัติการแทรกซึมและบ่อนทำลายอยู่ทั่วไปในเวียดนามใต้ ทำให้ยากต่อการปราบปราม และทำให้สื่อต่าง ๆ เสนอภาพเสมือนทหารสหรัฐรังแกประชาชนเวียนามที่อ่อนแอกว่า
     ในช่วงแรกของสงคราม เวียดนามเหนือได้ใช้ยุทธวิธียกกำลังทำสงครามเต็มรูปแบบกับกองทัพสหรัฐ บุกเข้าใต้เส้นขนานที่ 17 และสังหารประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แม้จะไม่ได้ชัยชนะแต่ทำให้ชาวเวียดนามใต้เกิดความเกรงกลัวอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนืออย่างมาก จึงมักยอมิข้ากับเวียดนามในฐานกองกำลังเวียดกง ปฏิบัติการแทรกซึม บ่อนทำลายในเวียดนามใต้
    สหรัฐและพัมธมิตรในองค์การ SEATO ได้ระดมความร่วมมือทางทหารเข้ารบในเวียดนามแต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะส่วนใหญเวียดนามเหนือและเวียดกงรบแบบกองโจร ลอบวางระเบิดและซุ่มโจมตี ทำให้ทหารเวียดนามใต้และทหารราวิกโยธินสหรัฐเสียชีวิตจำนวนมาก จึงใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้ทั่วโลกประณามการกระทำของสหรัฐอเมริกา
     CIA ของสหรัฐฯยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลเวยดนามใต้บ่อยครั้ง แต่ในที่สุดก็ไม่สามรถแก้ปัญหาการคอรับชั้นในรัฐบาลที่ตั้งขึ้นได้ ทำให้งบประมาณที่สหรัฐให้ไปปรับปรุงกองทัพหรือพัฒนาชนบท กลับไปตกอยู่ในมือของข้าราชการระดับสูงและนายทหารของเวียดนามใต้
     การรบในเวียดนามซึ่งทำให้สหรัฐสูญเสียทหารจำนวนมาก เพราะไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศและมีความกดดันจากการเผชิญกับเวียดกงที่รบในประเทศตนเอง ยากต่อการเอาชนะimages (17)
     คนหนุ่มสาวในสหรัฐจึงเดินขบวนเรียกร้องสันภิภาพทั่วประเทศ เรียกร้องให้ถอนทหารจากสงครามเวียดนาม เมื่อมีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีจอนห์นสันจึงไม่ลงสมัครอีก ทำให้นิกสันซึ่งเสนอนโยบายถอนทหารสหรัฐออกจากเวียดนามและลดบดบาททางทหารทั่วดลกได้รับชนะการเลือกตั้งเป็นประธานธิบดีคนต่อมา นิกสันจึงเจรจากับจีน สนับสนุนนโยบายจีนเดียวแลกกับการให้จีนยอมรับการถอนทหารจากเวยนามตั้งแต่ปี 1973 หลังจากนั้นสหรัฐได้ตกลงถอนทหารจนสิ้นสุดในเดือนเมษายน 1975 กองทัพเวียดนามเหนือเข้ายึดครองไซ่ง่อนได้สำเร็จและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น โฮจิมินห์ซิตี้

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

vietnam war(Communist World)

วิกฤตการณ์เวียดนามทำให้จีนเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ จากการที่คอมมิวนิสต์ในเวยดนามใต้ที่เรียกตัวเองว่าเวียดกง ทวีการก่อการร้ายในเวียดนามใต้ รัฐบาลเวียดนามใต้ภายใต้การสนับสนุนของอเมริกากดขี่พวกถือศสนาพุทธอย่างรุนแรง สองปัจจัยก่อเกิดการล้มอำนาจรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน 1963 ทหารเร่มเข้ามาเล่นการเมืองแย่งชิงอำนาจกันเป็นเหตุใก้การเมืองิวียดนามใต้ปราศจากความมั่นคง เวียดกงก่อการร้ายรุนแรง โดยเเสดงทีท่าเด่นชัดว่ามีเวียดนามเหนือให้ความช่วยเหลือ คามเก่งกล้าของ
เวียดนามเหนือได้ทำให้โลกคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะจีนแดงเริ่มหวั่นวิตกในปี 1964  เวียดนามหนือท้าทายอเมริกาและขู่คุกคามว่า ถ้าอเมริการุกรานเวียดนามเหนือ เวยดนามเหนือจะหันไปปรึกษากับจีนแดงและโลกคอมมิวนิสต์ ความเป็นพันธมิตรโดยพฤตินัยระหว่งจีนแดงกับเวียดนามเหนือได้สร้างความหนักใจให้แก่จีนแดง ดังเช่นที่รัสเซียเคยรู่สึกผูกพันต่อจีนแดงในกรณีพิชิตใต้หวัน จีนแดงเร่มเฝ้าดูท่าทีของอเมริกาในเวยนามใต้ เมื่อทูตอเมริกาคนต่อมาล้วนเป็นทหารยศนายพล ได้ทำให้จีนแดงเร่มวิตกอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกัน เวียดนามเหนือก็หนุนหลังเวียตกงมากยิ่งขึ้น จนดูประหนึ่งว่าสามารถคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของเวียนามใต้ เมื่อทูตอเมริกาคนต่อมาล้วนเป็นทหารยศนายพล ได้ทำให้จีนแดงเริ่มวิตกอย่างจังจัง ในขณะเดียวกัน เวียดนามเหนือก็หนุนหลังเวียตกงมากยิ่งขึ้น จนดูประหนึ่งว่าสามารถคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของเวียดนามใต้ได้มิใช่น้อย จีนแดงตระหนักดีว่าอเมริกายึดถือทฤาษฎีโดมิโน เวียดนามใต้เป็นกรณีตัวอย่างทดสอบ ถ้าเวียดนามต้เป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่น ๆ จะเป็นตาม ครั้งแล้วการปะทะกันได้เกิดขึ้นเมื่อเวียดนามเหนือโจมตีเรือพิฆาตของอเมริกาในอ่าวตังเกี่ย อเมริกาได้ตอบโต้โดยการโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศ วิกฤตการณ์ตังเกี๋ย ในเดือนสิงหาคม 1964 สร้างความวิตกในแก่จีนอย่างยิ่งด้วยเกรงสงครามจะอุบัติขึ้นใกล้พรมแดนของตน จีนแดงเตือนอเมริกาว่า จีนจะใช้กำลังเข้าแทรกแซงในวิกฤตการณ์เวยดนาม ถ้าอเมริการุกรานเวียดนามเหนือและ ลาวภาคเหนือ โดยนัยนี้ จีนแดงยินยอมให้เวียดนามเหนือรวมเวียดนามใต้ได้ถ้าสงครามเผชิญหน้าอเมริกาจะมีขอบเขตจำกัด ณ ยุทธภูมิแห่งเวียดนามใต้  แต่จะไม่ยินยอมในกรณีที่เวียนามใต้ภายใต้การสนับสนุนของอเมริการวมเวียดนามเหนือ จีนแดงยังต้องการให้มีเวียดนามที่เป็นคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศ หรือกึ่งประเทศเป็นรัฐกันชนเพื่อนบ้าน เพื่อความปลอดภัยของจีนแดงเอง
     พฤติกรรมของจีน ทำให้รัฐเซียหนักใจมากที่สุด คือ ความสำเร็จทางการทูตของจีนแดงที่สามารถผูกมิตรกับฝรั่งเศส ถึงกับฝรั่งเศสรับรองจีนแดง  รัสเซียซึ่งฝังใจมานาน มีความหวาดกลัวการถูกกระหนาบหน้าหลังด้วยศัตรูทีทรงกำลังแสนยานุภาพในที่นี้ รัสเซียกลัวทั้งฝรั่งเศสซึ่งหนุนเยอรมัน และจีนที่อยูประชิดพรมแดนตะวันออก ขณะนั้นเยอรันตะวันตกมีทีที่ปรารถนานิวเคลียร์เช่นกัน โดยมีความสนิทสนมกับอเมริกา รัสเซียระแวงกับการที่จะมีฝรั่งเศสและเยอรมัน ซึ่งล้วนเป็ฯมหาอำนาจที่จะมีนิวเคลียร์ในอนาคตมาเป็นประเทศเพื่อบ้าน
   จากความน่าวิตกนี้ประกอบกับจีนแดงได้เสนอร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ที่สูญเสียดินแดนกับรัสเซียในการเจรจาเรื่องดินแดนใหม่ ซึ่งเป็นข้อวิตกแก่รัสเซียมาก รัสเซียจึงเตือจีนว่ จีนจะประสบชะตากรรมทำนองเดียวกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ถ้าจีนเรียกร้องต้องการแผ่ขยายดินแดนล้ำเข้าไปในพรมแดนของรัสเซีย..ความบาดหมางกัยอย่งเปิดเผยนับแต่ปี 1963 ได้ทำให้บรรดาคอมมิวนิสต์ทั่งโลกพยายามเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ย แต่ไร้ผลโดยสิ้นเชิง ความพยายามของรัสเซียที่จะขจัดจีนแดงออกไปจากทางประจวบเหมาะกับเกิดวิกฤษติทางการเมืองในรัสเซียเอง รัสเซียเริ่มตระหนักถึงภัยของจีนมากขึ้นทุกที
    ครุสเซฟดำเนินนโยบายสัมพันธ์อันดีกับเยอรมันตะวันตก ทำให้ฝ่ายปฏิปักษ์ของครุเซฟหวาดวิตกมาก เพราะภัยที่แท้จริงในทัศนะของบุคคลกลุ่มนี้คือภัยเยอรมันมิใช้ภัยจากจีนแดง ครุสเซฟดำนินนโยบายต่างประเทศค่อนข้างจะเป็นเอกเทศ และเป็นนโยบายค่อนข้างรุนแรง อาทินโยบายประณามสตาลิน กระทั่งรัฐบริวารกระด้างกระเดื่อง การดำเนินนโยบายต่างประเทศต่ออเมริกากระทั่งตระบัดมิตรกับจีนแดง และนโยบายที่ดำเนินผิดพลาดที่สุดในกรณีคิวบา ครุสเซฟคิดจะสั่งสอนจีนแดง ด้วยการคิดวางแผนบุกและยึดครองชินเดียง ซึ่งเป็นศูนย์ค้นควาอาวุธนิวเคลียร์ของจีนแดง ซึ่งเป็นที่หวาดวิตกของกลุ่มชั้นผุ้นำของรัสเซียมาก ในวันที่ 15 ตุลาคม 1964 รัสเซียประกาศปลดครุสเซฟออกจากตำแหน่งท่ามกลางความพิศวงของประชาคมโลก

    วันต่อมาจีนทดลองอาวุธนิวเคียร์ลูกแรด จีนแดงกำลังก้าวมาเป็นมหาอำนาจ ในขณะที่รุสเซียเปรียนตัวผู้นำ และวิกฤตการณ์ในอินโดจีนได้ทวีวามสลับซับซ้อนมากขึ้นในการดึงอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้อง
     จีนแสดงความกระตื้อรื้อล้นที่จะฟื้นฟูสัมพันธภาพอันดีกับรัสเซีย จูเอนไล นำคณะผู้แทนจีนเข้าร่วมฉลองวันครบรอบปฏิวัติ ณ มอสโคว์ เป็นการเชื่อสัมพันธ์ไมตรี แสดงท่าทีว่าจีนแดงมีความเป็นมิตรต่อผุ้นำใหม่รัสเซีย คือ นายโคลิกิน นายกรัฐมนตรี และนายเบรสเนฟ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ แต่รัสเซียยังคงดำเนินนโยบายต่างประเทศตามแนวของครุสเซฟ การเปลี่ยนผุ้นำย่อมไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนนโยบายเพียงแต่เปลี่ยนผู้นำใหม่ที่มีวิธีการใหม่ในการดำเนินนโยบายเดิมหลักการเดิมเท่านั้นเองความสัมพันธ์ของจีนและรัสเซียนั้นยังคงอึมครึมแต่แล้วก็มีสถานการณ์หนึงเข้าขัดจังหวะซึ่งส่งผลดีแก่รัสเซีย คือ วิกฤ๖การ์ในอินโดจีน
     7 กุมภาพันธ์ 1965 สหรัฐอเมริกาเร่มกลยุทธโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศจีนวิตกเสถียรภาพความมั่นคงของตนนมาก เมื่อนายโคชิกิน นายกรัฐมนตรีรัฐเซียเยือนปักกิ่งในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เขาได้รับการต้อนรับขับสู่อย่งดี มีการเปิดการเจรจาเรื่องเวียดนามเหนืออย่งเคร่งเครียด รัสเซียเสนอให้รัฐ
คอมมิวนิสต์ที่เกี่ยวข้องเปิดการเจรจากับสหรัฐอเมริกาด้วยปัญหาอินโดจีน โดยมิคำนึงถึงอทธิพลฐานะของจีนแดงในภูมิภาคเท่าใดนัก รัสเซียมุ่งจะป้งกันมิให้วิกฤติการณ์ในอินโดจีนขยายตัวออกไป นโยบายของรัสเซียจึงขัดกับจีนแดงอย่างรุนแรง นักศึกษาจีนประท้วงหน้าสถารทูตอเมริกาในมอสโคว์ทั้งนี้การที่จีนแดงประท้วงมีผลกระทบกระเทือนไปถึงการเตรียมประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกด้วย บรรดาพรรคคอมมิวนิสต์ส่วนใหญไม่เห็นด้วยที่รัสเซียจะใช้เสียงที่ประชุมบีบจีนแดงให้ปฏิบัติตามความประสงค์ของรัสเซีย ณ ที่ประชุมซึ่งมีขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม บรรดาพรรคคอมมิวนิสต์อาเซียนรวมทั้งเวียดนามเหนือและจีนแดงไม่เข้าร่วมประชุม เป็ฯการท้าทายรัสเซียอย่างอาจหาญ รัสเซียได้แต่เรียกร้องให้โลกคอมมิวนิสต์ให้โลกคอมมิวนิสต์ร่วมกันพิทักษ์เวียดนามเหนือ ความคิดที่จะบีบบังคับให้ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกต้องเลิกราไปชั่วขณะหนึ่ง
      ในขั้นต้นข้อเรียกร้องของรัสเซียเพื่อ “ปฏิบัติการร่วมกัน” ค่อนข้างจะได้ผลจีนแดงค่อยๆ ยินยอมให้รัสเซียขนส่งอาวุธทางรถไฟฝ่านจีนได้ แต่แล้วรัสเซียได้สำแดงเจตนาที่แท้จริงออกมาว่าควรมีมีการประชุมระหว่งรัสเซีย จีนแดง และเวียดนามเหนือ เพื่อพิจารณาการขนส่งอาวุธทางรถไฟและทางอากาศฝ่ายจีนแดง

     วิกฤตการณ์เวียดนามดูจะมีความเกี่ยวข้องกับสัมพันธภาพระหว่างจีนแดงกับรัสเซียอย่างแยกกันไม่ออกจีนแดงถือว่ารัสเซียต้องทุ่มความช่วยเลหือแก่เวียดนามเหนือ ในฐานะเป็นผุ้นำโลกคอมมิวนิสต์ รัสเซียควรปฏิบัติเช่นนั้น แต่รัสเซียก็มิอาจจะเสี่ยงเช่นนั้น ด้วยเกรงว่าการแทรกแซงทางทหารโดยตรงในวิกฝฟตการณ์เวียดนามจะเป็นการยั่วยุให้รัสเซียต้องเผชิญหน้ากับอเมริกา รัสเซียเลี่ยงพันธกรณีความรับผิดชอบในกรณีเวียดนามด้วยการตั้งกติกาว่า ควรเป็นควมช่วยเหลือร่วมกัน คือ โลกคอมมิวนิสต์ทั่งมวลร่วมกัน
     ทั้งรัสเซียและจีนแดง ต่างไม่ปรารถนาที่จะเข้าแทรกแซงทางทหารในสงคราเวียดนาม ต่างไม่ต้องการเสี่ยงเผชิญหน้าอเมริกา แต่ในแนวทางเดียวกัน ต่างก็อ้างตนเป็นมิตรในยามยากร่วมอุดมการณ์กับเวียดนามเหนือ ต่างผลักดันให้อีกฝ่ายเข้าสงครามเพื่อรอคอยความหายนะ วิกฤตการณ์เวียดนามได้กลายเป็นเครื่องพิสูจน์ความหมายของพันธกรณีทางอุดมการณ์ในการปฏิวัติโลกที่โลกคอมมิวนิสต์ได้แสดงเสมอมา

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ฺBalance of power

จีนแดงได้พยายามเสริมสร้างกำลังอำนาจทางทหารของตนขึ้นใหม่ โดยรัสเซียให้ความช่วยเหลือ ในระยะแรกเพื่อพัฒนาประเทศโดยมิต้งกังวลกับภัยจากไต้หวัน หรืออเมริกา แต่เมื่อสัมพันธภาพระหว่างจีนกับรัสเซียได้ดำเนินมาถึงปี 1956 รัสเซยแสดงตนเป็นมหามิตรที่วางใจไม่ได้ โดยการที่ไม่เต็มใจสนับสนุนและช่วยเหลือจีนสร้างระเบิดนิวเคลียร์ และเจรจาลดอาวุธกับอเมริกาในลักษณที่เสมือนจะมีไมตรีต่อกัน  จีนแดงระหนักถึงความจำเป็นของการบยื่นได้ด้วยตนเอง  จีนได้เริ่มโครงการณ์สร้างระเบิดนิวเคลียร์นับแต่นั้นมา  จีนประสบความสำเร็จแม้ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัสเซีย ถึงกระนั้นกำลังอำนาจทางทหารยังล้าหลังอเมริกาและรุสเซียอยู่มาก ตราบใดที่ยังไม่สามารถพัฒนากำลังให้เสมอกับมหาอำนาจ จีนแดงถือว่ายังไม่มีกำลังอำนาจทางทหารที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง
     จีนแดงไม่อยู่ในฐานะที่จะรุกรานชาติใด สงครามหมายถึงการสินยเปลืองกำลังผู้คน สูญเสยกำลังทางเศรษฐกิจ และเสียงต่อการสูญเสียอำนาจ จีนแดงได้รับบทเรียนจากสงครามเกาหลีที่จะทำให้จีนระมัดระวังตนเองมิให้เพลี่ยงแล้ถลำตัวเข้าสงครามโดยไม่จำเป็นเด็ดขาด

     ในฐานะที่เป็นชาติที่มีกำลังอำนาจทางทหารยังไม่เข้มแข็งแต็มที่ จีนไม่สามารถเสี่ยงยั่วยุให้เกิดสงครามได้ การเป็นฝ่ายริเริ่มสงครามนั้นมิได้เป็นนโยบายของจีน ดังคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีจีน นาย จู เอนไล ย้ำแล้วย้ำอีกหลายครั้งให้โลกรู้ว่า “จีนจะไม่เป็นฝ่ายริเริ่มก่อสงครามกับสหรัฐอเมริกา” ซึ่งเท่ากับเป็นการเชื้อเชิญสหรัฐอเมริกาโดยตรง
     ไม่มีมหาอำนาจใดแม้จะอุมการ์แตกต่างกันจะยินยอมให้จีนแดงขยายอำนาจโดยมุ่งมาที่ภูมิภาคเอซยอาคเนย์ ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวจะกระทบกระเทืนถึงดุลอำนาจซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งไม่มีมหาอำนาจใดที่จะยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจโดยพลการ มหาอำนาจต่าง ๆ เพียงแต่ยิยิมหรือจำยอมรับว่าจีนแดงสนับสนุนขบวนการปฏิวัติในเอเซียอาคเนย์ แต่จะขัดขวางทันที่ถ้าจีนอกงใช้กำลังทหารรุกรานชาติใดในภูมิภาคนี้
     ในกรณีการรุกรานชาติใด ๆ ในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์โดยเฉพาะที่เป็นแหล่งจุดยุทธศาสตร์สำคัญ หรือเป็นมหามิตรของสหรัฐอเมริกา เช่น ประเทศไทย จีนแดงจำต้องพิจารณาโดยรอบคอบถึงการเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาซึ่งประกาศเจตจำนงอย่างเด็ดเดียวที่จะประกันเอกราชบูรณภาพของชาติต่าง ๆ ในเอเซยอาคเนย์ ประเทศไทยเป็นกุญแจไปสู่เสถียรภาพความมั่นคงของภูมิภาคนี้ ณ ที่ประชุมกัลกัคตา เมื่อปี 1951 ว่า ประเทศไทยเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการเปลี่ยนเอเซียอาคเนย์เป็นคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาคเสมือนเป็นหัวใจหรือแกนกลางของภูมิภาคนี้โดยตรง ถ้าครอบครองไทยได้ หรือสามารถทไปทยกลายเป็นคอมมิวนิสต์ได้ ภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ย่อมจะมีทางโอนเอียงเป็นคอมมิวนิสต์
     แบบอย่างของ เมา เซ ตุง
ตามทัศนาะของเมา เช ตุง โลกนี้มีความขัดแย้งอย่างแตกต่างเป็นตรงกันข้ามอยางสำคัญยิ่งสอลประทเภท ได้แก่ ประเภทที่มีลักษณะโดยเฉพาะ และที่มีลักษณะเป็นสากลนิยมทั่วไป จีนแดงได้แยกลักษณะไว้ว่า ประเภทที่มีลักษณะโดยเฉพาะเป็นความขัแย้งแตกต่างกันของผลประโยชน์และอำนาจอิทธิพลภายในกลุ่มชนโดยเฉพาะและภายในรัฐอาณาจักร ส่วนประเภทที่มีลักษณะแบบทั่วไปนั้นเป็นความขัดแย้งแตกต่างระหว่งลัทธิจักรวรรดินิยมกับประเทศที่ด้อยพัฒนา การขจัดความขัดแย้งแตกต่างกันในประเภที่ทเป็ฯสกลทั่วไปนี้ต้องดำเนินการโดยใช้กำลังอาวุธทำสงครา สงครามประเภทนี้คือ สงครามปฏิวัติ เป็นการปฏิวัติ ระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมือง สงครามประเภทนี้มีหลักการสำคัญยิ่งสองหลักการ คือ หลักยึดความสนับสนุนจากมวลชน และหลักยึดพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ของ มาร์คซ์ และเลนิน ถ้า ปราศจากสองหลักการนี้ ขบวนการคอมมิวนิสต์จะยืนหยัดอยู่มิได้ ในการต่อสู้เพื่อำนาจระหว่างมวลชนที่ถูกกพขี่กับฝ่ายรัฐบาล มวลชนนั้นจะต้องมีพรรคการเมืองของตนเองที่มีการบริหารงานอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีกำลังกองทัพของตนเองที่มีการบริหารงานอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีกำลังกองทัพของตนเอง
     เมา เช ตุงได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “สงคราม”ว่า เป็นการต่อเนื่องของการเมือง และได้ย่ำถึงความสำคัญของอำนาจการเมืองว่า “อำนาจทางการเมืองนั้นย่อมได้มาจากปลายกระบอกปืน” กล่าวคือ อำนาจทางการเมืองได้มาจากการใช้กำลังอาวุธต่อสู้แย่งชิง การปฏิวัติจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้วิธีเดียว คือการทำสงครามใช้กำลังแย่งชิงอำนาจ ตามหลักการของเมา เช ตุง ถือว่า “..การใช้กำลังกองทัพยึดอำนาจขจัดปัญหาข้อขัดแย้งทั้งมวลเป็นแกนกลางของภาระงานและเป็นแบบอย่างสูงสุดของการปฏิวัติ”
     สงครามปฏิวัติเป็นภาระอันหนักหน่วงมาก ต้องอาศัยกำลังพลังอำนาจทางทหารอีกประการหนึ่ง สงครามปฏิวัติเป้นสงครามของมวลชน กระทำโดยมวลชนและจะบรรลุถึงชัยชนะได้ก็ด้วยมวลชน การเรียกหาเกณฑ์กำลังผู้คนมวลชนนี้จะก่อให้เกิด “ห้วงมหรรณฑ อันกว้างใหญ่ ไพศาลของมนุษยชาติ” และจะดึงดูดให้สัตรูก้าวถลำลงไปโดยนัยนี้ มวลชนคือพลังสำคัญของการปฏิวัติ มวลชนนี้จะมีแต่ในรัฐที่ด้อยพัฒนา และส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกสิกร สงครามที่กระทำโดยมวลขนนี้เองที่เมา เช ตุงเรียกว่าสงครามประชาชน.. ในขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า..ปฏิวัติ  สงครามนี้โดยเนื้อแท้คือสงครามประชาชนต่อต้านรัฐบาลและอิทธิพลจักรวรรดินิยมภายนอก จึงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกันว่าสงครามประชาธิปไตยแห่งชาติ มุ่งสร้างระบอบประชาธิปไตยและขับไล่อิทธิพลการเมืองของต่างชาติ  สงครามนี้มีสองระดับ คือ
- สงครามที่นำโดยชนชั้นกลาง มุงกอบกู้เอกราชโดยต่อต้านระบบศักดินาสวามิภักดิ์ และลัทธิจักรวรรดินิยม
- สงครามนำโดยคอมมิวนิสต์ มุ่งเปลี่ยนระบอบการปกครอง ระบบเศรษกิจและสังคม

      พรรคคอมมิวนิสต์จะเกณฑ์ประชาชนมาเป็ฯกองโจรและสร้างกองทัพของตนเองขึ้นทั้งกองทัพ และกองโจรนี้ต้องได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างถี่ถ้วยให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทั้งกองทัพ และกองโจรนี้ต้องได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างถี่ถ้วยให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในลัทธิอุดมการณืทางการเมือง ที่สำคัญ คือ ลัทธิมาร์คซ์ และเลนิน และฝ่นการฝึกอบรมทางทหารที่สำคัญ พรรคคอมมิวนิสต์ต้องเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพแดงและเป็นผู้นำมวลชน จะให้กองทัพหรือมวลชนนำการปฏิวัติมิได้โดยเด็ดขาด นโยบายชองพรรคและนโยบายจุดมุ่งหมายของมวลชน นโยบายของพรรคและนโยบายจุดมุ่งหมายของมวลชน ต้องได้รับการพิจารณาถือเป็นหลักในการกำหนด นโยบาย มวลชนมีส่วนกำหนดนโยบายของพรรค แต่นโยบายพรรคจะกำหนดนโยบายมวลชนมิได้กล่าวคือ การกำหนดนโยบายของพรรคต้องคำนึงถึงความต้องการและผลประโยชน์ของมวลชนเป็นหลักเสมอ ทั้งนโยบายพรรคและนโยบายของมวลชนจึงต้องดำเนินควบคู่กันไป
     สงครามระหว่างรัฐบาลกับคอมมิวนิสต์จะต้องใช้กลยุทธกองโจร คราบเท่าที่คอมมิวนิสต์ยังไม่เข้มแข็งพอ กลยุทธกองโจรนี้จึงถืกันว่าเป็นขั้นต้นของสงครามปฏิวัติ หน้าที่สำคัญสุดของกลยุทธแบบกองโจรนี้คือการเกณฑ์กำลังผู้คนฝึกอบรมให้มีการศึกษาและเข้าใจลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างลึกซึ้งและการโฆษณาชวนเชื้อ
     การใช้ยุทธวิธีกองโจนนี้มักจะใช้ควบคู่กับการถ่วงยือเยื้อสงคราม สงครามปฏิวัติจึงมีลักษณะเป็นสงครามนอกแบบแตกต่างจากสงครามตามที่นิยมกัน ตามปกติของสงครามทั่วไป มักจะมีกำหนดเวลและสถานที่กระทำสงครามกัน ผลชัยชนะหรือแพ้จะประกฏเฉพาะในการรบแนวต่าง ๆ และตามกำหนดเวลา แต่สงครามปฏิวัติมิได้เป็นไปเช่นนั้นการได้เปรียบเสียเปรียบและการเหนือกว่าในแนวรบนั้นไม่คงที่เสมอไป กำลังทางทหาร หรืออำนาจทางทหารในสงครามประเภทนี้เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน เมื่อฝ่ายตรงข้ามพยายามจะทุ่มกำลังปราบปราม สงครามปฏิบัติก็จะใช้วิธีการถ่วงยืดเยื้อมิให้สงครามยุติลงได้ นานเท่านนานตรบใดที่ขบวนการปฏิวัติยืนหยัดต่อต้านอยู่ อีกฝ่ายก็จะต้องสิ้นเปลื่องกำลังผู้คน ทรัพยากรธรรมชาติมากเป็นลำดับ สงครามถ้วงยือเยื้อจึงเป็นสงคราททดสอบความอดทนว่าฝ่ายใดทนทานได้มากกว่าก็จะมีทางได้ชัยชนะ ในการทำสงครามประเภทนี้ย่อมไม่มีการระบุแนวรบให้ตายตัวและไม่กำหนดเวลารบ กองโจรอาจจะปรากฎตัวปฏิบัติการที่ใดเวลใดก็ได้ โดยอีกฝ่ายไม่อาจจะคาดคะเนได้ เพราะกองโจรเป็นฝ่ายอยู่ในที่กำบังที่อีฝ่ายสุดที่จะตามเข้าไปปราบปรามได้โดยง่าย
     ดังนั้นการดำเนินนโยบายต่างประทเศของจีนนั้นมิได้ดำเนินไปโดยปราศจากเหตุผลปัจจัยใด ๆ เป็นพื้นฐาน ความปรวนแปรของสถานะการณ์โลก โลกทรรศน์ของจีนอิทธิพลลัทธิดมการณ์ สังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ ตลอดจนอิทธพลแนวความคิดทฤษฎีทางการเมืองของเมาเซตุง ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญส่งเสริม ของจีนแดงแต่ที่เป็นปัจจัยสำคัญสุดในการกำหนดวินิจฉัยนโยบายต่างประเทศ ปัจจัยเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐอาณาจักร ส่วนการเผยแพร่อุดมการณ์เป็นความมุ่งหมายที่สำคัญรองลงมา..

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

SEATO : The Southeast Asia Collective Defense Treaty of 1954

     ข้อตกลงเจนีวาปี 1954 กำหนดจัดการดินแดนอินโดจีนคือหนึ่งในลาวและกัมพูชาให้ยุติการสู้รบ ถอนทหารฝรั่งเศสและเวยดมินออกจากพื้นที่ จัดตั้งรัฐบาลและให้มวลประเทศทั้งหลายในโลกยอมรับในเอกราช และความเป็นกลางของลาวและกัมพูชา สองในเวียดนามให้ยุติการสู้รบกำหนดเส้นแบ่งดินแดนเวียดนามอย่างเป็ฯการชั่วคราวที่เส้นขนาน 17 องศาเหนือ เวียดมินภายใต้การนำของโฮจิมินถือครองดินแดนเวียดนามเหนือเส้นขนาน 17 องศาเหนือเรียกเวียดนามเหนือ มีกรุงฮานอยเป็นศูนย์กลางการปกครอง รัฐแห่งเวียดนามภายใต้การนำของจักรพรรดิเบาได๋ถือครองดินแดนเวยดนามใต้เส้นขนาน 17 องศเหนือเยกร้องเวียดนามใต้ มีกรุงไซง่อนเป็นศูนย์กลางการปกครองและกำหนดจัดการเลือกตั้งในเดื่อนกรกฏาคม ในดินแดนเวียดนามเพื่อการรวมดินแดนนำสู่ การจัดตั้งรัฐบาลและการมีเอกราชที่สมบูรณ์ในอนาคต สามกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากแคนาดา โปแลนด์และอินเดียเพื่อคบวบคุมดูแลให้รัฐบาลเวยดนามทั้งสองปฏิบัติตามข้อตกลงทุกประการ สหรัฐอเมริกาและรัฐแห่งเวยดนามไหนด้วยกับการกำนหดการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม เพราะเกรงว่าเวียดมินจะชนะคุมเสียงข้างมากในรัฐสภา ลัทธิคอมมิวนิสต์จะแผ่ขยายทั่วดินแดนเวียดนาม และจะนำเวียดนามสู่การเป้นสมาชิกโลกคอมมิวนิสต์หรือโลกตะวันออก ภายใต้ขอ้ตอลงเจนีวา ในเวียดนามใต้จักรพรรดิเบาได๋แต่งตั้งให้โงดินเดียมเป็นนายกรัฐมนตรี และสหรัฐอเมริกาเริ่มจัดส่งคณะที่ปรึกษาอเมริกันทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารเข้าช่วยพัฒนาเวียดนามใต้
     ข้อตกลงเจนีวาปี 1954 นำสู่การเกิดสงครามเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงเจนีวาปี 1954 จักรพรรดิเบาได๋นำการปกคอรงในเวียดนามไต้แต่งตั้งให้โงดินเดียม เป้นนายกรัฐมนตรีในปี 1955 เวียดนามใต้หรือรัฐแห่งเวียดนามเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่ว่าสาธารณรัฐเวียดนาม และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณัฐมีโดนเดียนเป็นประธานาธิบดี นำการบริหารประเทศ สหรัฐฯให้การสนับสนุนประธานาธิบดีโงดินเดียม ภายใต้การปกครองของโงคิมเดียมมีการทุจริตในวงการเมือง ยึดมั่นในระบบพวกพ้อง ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของคนรวย ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ยากจนโดยเฉพาะอยางยิ่งเกษตรกรไม่มีดินแดนเป็นของตนเองในการทำเกษตรกรรมการปฏิรูปเศรษฐฏิจและสังคมมีน้อยมาก และโงดินเดียมไม่ปฏิบยัติตามข้อตกลงเจนีวา ในประเด็นปฏิเสธจัดการเลือกตั้งในเวียดนามใต้ในเวียดนามใต้ซึ่งไม่ศรทธาในโงดินเดียมอยู่แล้วไม่พอใจ ในปี 1957 เวียดมินในเวยดนามใต้ประกาศตนเป็นศัตรูกับรัฐบาลโงดินเดียมภายใต้ชื่อว่าเวียดกง รวมตัวจัดตั้งแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติ มุ่งปฏิบัติการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจรัฐบาลโงดินเดียม ปฏิบัติการสู้รบแบบกองโจร เวียดนามเหนือฝ่านลาวและกัมพูชาสู่เวียดนามใต้ เรียกเส้นทางนี้ว่าเส้นทางโฮจิมิน อันถือเป็นการเริ่มต้นสงครามเวียดนาม


    สงครามเวียดนาม
    เริ่มจากสงครามกลางเมือง  โดยชาวเวียดนามสองกลุ่มเพื่อการตัดสินใจการทีรูปแบบรัฐบาลปกครองประเทศ จากสงครามกลางเมืองพัฒนากลายเป็นข้อขัดแย้งระหว่างประเทศดึงสหรัฐอเมริกาให้ต้องเข้าร่วมสงครามเป็นเวลายาวนาน พวกเวียดมินและเวียดกงเรียกสงครามเวียดนามว่าสงครามเพื่อการปลดแอกชาติ อันหมายถึงเวียตนามเหนือตองการยุติการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาที่ให้แก่เวียดนามครั้งนี้จีนและรุสเซียให้กาสนับสนุนด้านยุทธปัจจัยเท่านั้นแก่เวียดนามเหนือที่ให้แก่เวียดกง สหรัฐใหนการสนับสนุนเวียดนามใต้เริ่มด้วยการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญอเมริกัทั้งฝ่ายพลเรื่อนและฝ่ายทหารจำนวน 675 คนให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเวียดนามใต้และยุทธปัจจัยช่วงปี 1955-1961 มูลค่าปีละกว่า สองพันล้านดอลล่า ด้วยเกรงกลัวต่อการขยายลัทธิคอมมิวนิสต์จากเวียดนามสู่เอเซียตะวันออกเฉพียงใต้
     สหรัฐปกป้องการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในเอเซยตะวันออกเฉียงใต้ด้วยองค์การสนธิสญญาเอเว๊ญตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีโต้ คอมมิวนิสต์ประสบความสำเร้๗ในการขยายอิทธิพลอย่างมากในเอเซียกล่าวคือ ในปี 1954 คอมมิวนิสต์ประสบความสำเณในการขยายอิทธิพลอย่างมากในเอเซียกล่าวคือ จีนคอมมิวนิสต์ยึดครองแผ่นดินใหญ่จีนได้ ในสงครามเกาหลี จีนคอมมิวนิสต์เข้าช่วยเกาหลีอย่างเปิดเผย ในสงครามอินโดจีน รุสเซียและจีนคอมมิวนิสต์หนุนเวียดมินต้านการกลับมามีอำนาจของฝรังเศสในอินโดจีน กองกำลังฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ สหรัฐเกรงการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสตจากอนโดจีสู่เอเซยตะวันออกเฉฑียงไต้ นำการหาทางสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 1954 การจัดตั้งเร่มด้วยในกรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ พันธมิตรแปดชาติคือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไทย ปากีสถาน และฟิลิปินส์ ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาปัองกันร่วมกันในเอเซยตะวนออกเฉพียงใต้ กำหนดร่วมกันจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กำหนดร่วมกันจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวัออกเฉียงใต้หรือซีโต้ จุดมุ่งหมายของซีโต้คือชาติสมาชิกเป็นพันธมิตรกับทางกองกำลังทหารให้ความสำคัญเพื่อการคงความมั่นคงทางการเมืองและต่อต้านการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Никита Сергеевич Хрущёв

     นิกิต้า เซเกรเยวิช ครุสซอฟ เป็น เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากโจเซฟ สตาลิน นิกิต้า เซเกรเยวิช ครุสซอฟ เกิดเมือ่ 15 เมษายน ปี 1894  ในครอบครั้วของแรงงานขุดเหมือแร่ ในหมู่บ้านคาลินอฟกา ในยุคจักวรรดิรับเซียใกล้กับพรหมแดนยูเครนปัจจุบัน บิดาคือ เซอร์เกย์ ครุสซอฟ นิโกโนโรวิช และแม่ชื่อ เคสิเนีย อิวาโนว์  ครุสซอฟได้เรียนหนังสนือแค่สี่ปี และต้องทำงานตั้งแต่อายุ 12 ปี เร่มจากกาทำงานเป็นคนเก็บผลไม้อายุ 14 ปี ครอบครัวย้อยไปทำเหมืองใหล้ ๆ กับเมืองยุซอฟก้า มันเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เจริญแห่งหนึ่งงของประเทศ ครุเซฟ ทำงานหลายแห่งก่อนที่จะได้ทำงานในโรงงานเหล็ก แต่ไม่นานก็ถูกไล่ออกและได้งานใหม่ที่เหมืองถ่านหินใกล้กับเมืองรุตเชนโกโว่ ปี 1914 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์ทหารซึ่งโรงงานดังกล่วต้องทำงานส่งให้เหมืองหลายสิบแห่ง ปี 1918 เข้าเป็นสมาชิกของพรรคบอลเชวิค แต่ก็ยังคงทำงานในเหมืองถ่านหินต่อไปและก็เข้าเรียนหนังสือที่นิคทอุตสาหกรรมโดเนตส์ เขาทำงานให้กับพรรคในพื้นที่ของเมืองเคียฟและดอนบาส์ส
    ครุสซอฟรู้จักกับหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ในยูเครนคือ กาจาโนวิชนิสัยของครุสชอฟ สร้างความประทับใจให้กับกาจาโยวิชมาก ต่อมาเขาจึงเป็นผู้สนับสนุนให้ครุสซอฟมาเรียนหนังสือต่อในมอสโควครุสซอฟอยู่ในกองทัพแด่งนแถบเมืองรุตเชนโกโว่ จนได้รับเลือกเป็นคระกรรมการฝ่ายการเมืองของหน่วย 1974 ไรเฟิลที่ 9 ปี 1931 ครุสซอฟได้เข้าเป็นสมาชิกแลทำงานกับพรรคคอมมิวนิสต์ในมอสโคว กระทั้งปี 1938 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์อันกับที่หนึ่ง ประจำยูเครน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีบทบาทอย่างมากในฐานะนายทหารระดับสูง จนเมืองสงครามโลกยุติก็มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลยูเครน จนธันวามคม 1949 ก็ย้ายจากยูเครนกลับมายังมอสโคว
     ปี 1953 อสัญกรรมของสตาลิน ลาเวรนติ เบเรีย หัวหน้าหน่วยตำรจลับของสตาลิน ได้ขึ้นเป็นรองประธานสภารัฐมนตรีลำดับที่หนึ่งและรัฐมนตรีกิจการภายในในทันที ถือเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโซเวียต หลังจากนั้นกนึ่งวันพันธมิตรของครุสซอฟ กอร์กี มาเลนคอฟ ได้กลายเป็นประธานสภารัฐมนตรีหุ่นเชิดและเบเรียครองอำนาจทุกอย่าง เบเรียมีนโยบายที่จะออกจากเยอมันตะวันออกและหันไปทางสหรับอเมริกาทำให้คณะกรรมการพรรคหลายคนไม่พอใจ และไม่ไจในตัวเบอรีย โดยเฉฑาะครุสซอฟเป็นคนที่ต่อต้านเบเรยอย่างเปิดเผย แต่ว่าไม่สามารถทำอะไรเบเรียได้จนกระทั่งเมือเกิดการลุกฮือของประชาชนในเยอมันตะวันออก สมาชิกพรรคหบายคนกังวลว่านั้นเป็นนธยบายที่ผิดพลาดและจะทำลายโซเวียต  มาเลนคอฟหันไปช่วเหลือครุสซอฟ ครุสซอฟทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากเบรียทำให้เบเรียถูกจับตัว หลังจากนั้นครุสเซฟจึงได้รับแต่งตั้ให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งโซเวียต และก็ได้ตำรังตำแหน่ง ประธานสภารัฐมนตรีควบคู่กันไป
    ครุฟซอฟทำให้โลกตกตะลึงด้วยการฝ่ายคลายความเข้มงวดในระบบสตาลิน พร้อมทังประณามความดหดร้ายของสตาลิน ในที่สุดทุกที่ที่มีรูปปั้นสตาลินจะถูกทุบทิ้ง เพลงชาติที่มีชื่อสตาลินก็ถูกลบออกศพของสตาลินก็ย้ายจากวลาดิมีร์ ไปผุ้งอยู่ในกำแพงวังเครมลิน ซึ่งการประณามสตาลินในครั้งนั้นประนเหมา เจ๋อ ตุง ผุ้นำจีนเกดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตตกต่ำกระทั่งทำให้เกิดการแบ่งแยกอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ออกเป็นสองแบบ คือ อุดมการณ์ลัทะคอมมิวนิสต์แบบผสมรวมกับระบบทุนนิยมของรัสเซียและ อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิม การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และโซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต
    โลกคอมมิวนิสต์
ทันทีที่ครุเชฟกล่าวสุนทรพจน์ลับในที่ประชุมสภาของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซียครั้งที่ 20 โลกคอมมิวนิสต์ได้เกิดความระสำระสายเป็นคลื่อใต้น้ำ สุนทรพจน์ลับนั้นมีจุดมุ่งหมายต่อโลกคอมมิวนิสต์ว่า คณะผุ้นำใหม่ต้องการที่จะทำลายความเชื่อถือดั้งเดิมอันงมงายเรื่อสตาลินผุ้ยิ่งให่ญ่ที่ผุ้หนึ่งผู้ใดจะแตะต้องล่วงละเมิดมิได้ และคณะผู้ใหม่จะคัดเหลือสรรแต่สิ่งที่ยังเป็นคุณประธยชน์ของสตลินไว้เท่านั้น จริงอยู่สุนทรพจน์ลับนั้นโดยเนื้อหาแล้ว มิได้มีความตอนใดวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับโลกคอมมิวนิสต์ในสมัยสตาลิน แต่สุนทรพจน์ลับได้ทำลายความเชื่อมั่นเดิมของโลกคอมมิวนิสต์ที่มีต่อสตาลินและทไห้เกิดความไม่แน่ใจในทิสทางของรุสเซียที่จะมีต่อโลกคอมมิวนิสต์ สุนทรพจน์ลับนั้นได้ยอมรับแนวความคิดของยูโกสลาเวย เรือ วิถีทางหลากหลายไปสู่ลัทะสังคมนิยและความแตกต่างของบรรดรัฐบริวารในก้านวิธีการ แบบอย่าง พฤติกรรมและนโยบาย แต่สุนทรพจน์ลับมิได้กำหนดขอบเขตแห่งเสรีภาพและความเป็นอิสระส่วนตนสำหรับรัฐบริวาร อีกทั้งก่อให้เกิดความสับสนยิ่งขึ้นด้วยการที่สุนทรพจน์ย้ำว่า แบบอย่างรุสเซียในการจัดตังสังคมย่อมจเสอดคลอ้กงกับแบบอย่างของรัฐบริวารที่มีระบอบประชาธิไตยแห่งประชารชน สุรทรพจน์ลับมิได้ให้รายละเอียดว่า สิ่งใดรุสเซียถือว่าสามารถจะอดทนอดกลั้นมีขันติธรรมได้ และสิ่งใดเป็นข้อต้องห้ามในการสร้างลัทธิสังคมนิคม
     นโยบายใหม่ของครุสฟอาจเป็นที่ยอรับโดยทางการของจีน แต่จีนถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยมิได้ปรึกาหารือจีน รุสเซียถือตนเป็นผุ้นำบงการกำหนดวินิฉัยนโยบายโดยพลการ จีนย่อมถือว่า ดดยเหนื้อแท้แล้ว รุสเซยมิได้ถือตนเป็นมหมิตรเสมอกันทั้ง ๆ ที่รุสเซียได้ยืนยันกับจีนว่าจะดำเนินนโยบายของโลกคอมาวนิสต์โดยปรึกาหารือกับจีนก่อนทุกครั้ง จีจึงถือว่า รุสเซยได้สบประมาทจีนมาก การเปลี่ยนแปลงนโยบายดดยไม่ปรึกษากับจีนเช่นนี้ ยังเป็นการสร้างความหวามระแวงแคลงใจในเจตนารมณ์ของรุสเซียมากกว่า นโยบายนั้นอาจเป็นกลวิธีมากกว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ในการเผลิญลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
     เบื้องหลังการดำเนินนโยบายนั้น คือ การที่รุสเซยดำเนินการทูตเพื่อสมานฉันท์ กับสหรัฐอเมรกา เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดของภาวะสงครามเย็น จนถึงขึ้นที่อาจจะเป็นการยุติภาวะสงครามเย็นและมีการปรับความเข้าใจอันดีต่อกันจนเป็นมิตรที่ดีต่อกัน สัมพันธภาพสองเส้า เช่นั้นเคยปรากฎมาแล้วในภายหลังสงครามดลกครั้งที่ 2 จีนวิตกว่าตนอาจถูกตระบัดมิตร อีกทั้ง อุดมการณ์แห่งการอยู่ร่วมกันดดยสันติแบบรุสเซียนั้นมีลักษณะแตกต่างกับจีนมาก จีนดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติกับโลกที่สาม แต่รุสเซียมุ่งดำเนินนโยบายนั้นกับโลกที่สามและโลกเสรีด้วย ความแตกต่างกันทางอุดมากร์จึงเป็นได้ชัดและต่างก็จะดำเนินนโยบายต่างประเทศไปคนละทิสทาง ท้ายสุดย่อมนำไปสู่ความแตกต่างในด้านลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างโฃกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีด้วย
     แม้ครุสซอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตกาณ์ขีปนาวุธคิวบา ซึ่งได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจานี้เขายัวส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบบอคอมมิวนิสต์ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจโดยคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...