วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ฺBalance of power

จีนแดงได้พยายามเสริมสร้างกำลังอำนาจทางทหารของตนขึ้นใหม่ โดยรัสเซียให้ความช่วยเหลือ ในระยะแรกเพื่อพัฒนาประเทศโดยมิต้งกังวลกับภัยจากไต้หวัน หรืออเมริกา แต่เมื่อสัมพันธภาพระหว่างจีนกับรัสเซียได้ดำเนินมาถึงปี 1956 รัสเซยแสดงตนเป็นมหามิตรที่วางใจไม่ได้ โดยการที่ไม่เต็มใจสนับสนุนและช่วยเหลือจีนสร้างระเบิดนิวเคลียร์ และเจรจาลดอาวุธกับอเมริกาในลักษณที่เสมือนจะมีไมตรีต่อกัน  จีนแดงระหนักถึงความจำเป็นของการบยื่นได้ด้วยตนเอง  จีนได้เริ่มโครงการณ์สร้างระเบิดนิวเคลียร์นับแต่นั้นมา  จีนประสบความสำเร็จแม้ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัสเซีย ถึงกระนั้นกำลังอำนาจทางทหารยังล้าหลังอเมริกาและรุสเซียอยู่มาก ตราบใดที่ยังไม่สามารถพัฒนากำลังให้เสมอกับมหาอำนาจ จีนแดงถือว่ายังไม่มีกำลังอำนาจทางทหารที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง
     จีนแดงไม่อยู่ในฐานะที่จะรุกรานชาติใด สงครามหมายถึงการสินยเปลืองกำลังผู้คน สูญเสยกำลังทางเศรษฐกิจ และเสียงต่อการสูญเสียอำนาจ จีนแดงได้รับบทเรียนจากสงครามเกาหลีที่จะทำให้จีนระมัดระวังตนเองมิให้เพลี่ยงแล้ถลำตัวเข้าสงครามโดยไม่จำเป็นเด็ดขาด

     ในฐานะที่เป็นชาติที่มีกำลังอำนาจทางทหารยังไม่เข้มแข็งแต็มที่ จีนไม่สามารถเสี่ยงยั่วยุให้เกิดสงครามได้ การเป็นฝ่ายริเริ่มสงครามนั้นมิได้เป็นนโยบายของจีน ดังคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีจีน นาย จู เอนไล ย้ำแล้วย้ำอีกหลายครั้งให้โลกรู้ว่า “จีนจะไม่เป็นฝ่ายริเริ่มก่อสงครามกับสหรัฐอเมริกา” ซึ่งเท่ากับเป็นการเชื้อเชิญสหรัฐอเมริกาโดยตรง
     ไม่มีมหาอำนาจใดแม้จะอุมการ์แตกต่างกันจะยินยอมให้จีนแดงขยายอำนาจโดยมุ่งมาที่ภูมิภาคเอซยอาคเนย์ ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวจะกระทบกระเทืนถึงดุลอำนาจซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งไม่มีมหาอำนาจใดที่จะยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจโดยพลการ มหาอำนาจต่าง ๆ เพียงแต่ยิยิมหรือจำยอมรับว่าจีนแดงสนับสนุนขบวนการปฏิวัติในเอเซียอาคเนย์ แต่จะขัดขวางทันที่ถ้าจีนอกงใช้กำลังทหารรุกรานชาติใดในภูมิภาคนี้
     ในกรณีการรุกรานชาติใด ๆ ในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์โดยเฉพาะที่เป็นแหล่งจุดยุทธศาสตร์สำคัญ หรือเป็นมหามิตรของสหรัฐอเมริกา เช่น ประเทศไทย จีนแดงจำต้องพิจารณาโดยรอบคอบถึงการเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาซึ่งประกาศเจตจำนงอย่างเด็ดเดียวที่จะประกันเอกราชบูรณภาพของชาติต่าง ๆ ในเอเซยอาคเนย์ ประเทศไทยเป็นกุญแจไปสู่เสถียรภาพความมั่นคงของภูมิภาคนี้ ณ ที่ประชุมกัลกัคตา เมื่อปี 1951 ว่า ประเทศไทยเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการเปลี่ยนเอเซียอาคเนย์เป็นคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาคเสมือนเป็นหัวใจหรือแกนกลางของภูมิภาคนี้โดยตรง ถ้าครอบครองไทยได้ หรือสามารถทไปทยกลายเป็นคอมมิวนิสต์ได้ ภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ย่อมจะมีทางโอนเอียงเป็นคอมมิวนิสต์
     แบบอย่างของ เมา เซ ตุง
ตามทัศนาะของเมา เช ตุง โลกนี้มีความขัดแย้งอย่างแตกต่างเป็นตรงกันข้ามอยางสำคัญยิ่งสอลประทเภท ได้แก่ ประเภทที่มีลักษณะโดยเฉพาะ และที่มีลักษณะเป็นสากลนิยมทั่วไป จีนแดงได้แยกลักษณะไว้ว่า ประเภทที่มีลักษณะโดยเฉพาะเป็นความขัแย้งแตกต่างกันของผลประโยชน์และอำนาจอิทธิพลภายในกลุ่มชนโดยเฉพาะและภายในรัฐอาณาจักร ส่วนประเภทที่มีลักษณะแบบทั่วไปนั้นเป็นความขัดแย้งแตกต่างระหว่งลัทธิจักรวรรดินิยมกับประเทศที่ด้อยพัฒนา การขจัดความขัดแย้งแตกต่างกันในประเภที่ทเป็ฯสกลทั่วไปนี้ต้องดำเนินการโดยใช้กำลังอาวุธทำสงครา สงครามประเภทนี้คือ สงครามปฏิวัติ เป็นการปฏิวัติ ระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมือง สงครามประเภทนี้มีหลักการสำคัญยิ่งสองหลักการ คือ หลักยึดความสนับสนุนจากมวลชน และหลักยึดพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ของ มาร์คซ์ และเลนิน ถ้า ปราศจากสองหลักการนี้ ขบวนการคอมมิวนิสต์จะยืนหยัดอยู่มิได้ ในการต่อสู้เพื่อำนาจระหว่างมวลชนที่ถูกกพขี่กับฝ่ายรัฐบาล มวลชนนั้นจะต้องมีพรรคการเมืองของตนเองที่มีการบริหารงานอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีกำลังกองทัพของตนเองที่มีการบริหารงานอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีกำลังกองทัพของตนเอง
     เมา เช ตุงได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “สงคราม”ว่า เป็นการต่อเนื่องของการเมือง และได้ย่ำถึงความสำคัญของอำนาจการเมืองว่า “อำนาจทางการเมืองนั้นย่อมได้มาจากปลายกระบอกปืน” กล่าวคือ อำนาจทางการเมืองได้มาจากการใช้กำลังอาวุธต่อสู้แย่งชิง การปฏิวัติจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้วิธีเดียว คือการทำสงครามใช้กำลังแย่งชิงอำนาจ ตามหลักการของเมา เช ตุง ถือว่า “..การใช้กำลังกองทัพยึดอำนาจขจัดปัญหาข้อขัดแย้งทั้งมวลเป็นแกนกลางของภาระงานและเป็นแบบอย่างสูงสุดของการปฏิวัติ”
     สงครามปฏิวัติเป็นภาระอันหนักหน่วงมาก ต้องอาศัยกำลังพลังอำนาจทางทหารอีกประการหนึ่ง สงครามปฏิวัติเป้นสงครามของมวลชน กระทำโดยมวลชนและจะบรรลุถึงชัยชนะได้ก็ด้วยมวลชน การเรียกหาเกณฑ์กำลังผู้คนมวลชนนี้จะก่อให้เกิด “ห้วงมหรรณฑ อันกว้างใหญ่ ไพศาลของมนุษยชาติ” และจะดึงดูดให้สัตรูก้าวถลำลงไปโดยนัยนี้ มวลชนคือพลังสำคัญของการปฏิวัติ มวลชนนี้จะมีแต่ในรัฐที่ด้อยพัฒนา และส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกสิกร สงครามที่กระทำโดยมวลขนนี้เองที่เมา เช ตุงเรียกว่าสงครามประชาชน.. ในขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า..ปฏิวัติ  สงครามนี้โดยเนื้อแท้คือสงครามประชาชนต่อต้านรัฐบาลและอิทธิพลจักรวรรดินิยมภายนอก จึงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกันว่าสงครามประชาธิปไตยแห่งชาติ มุ่งสร้างระบอบประชาธิปไตยและขับไล่อิทธิพลการเมืองของต่างชาติ  สงครามนี้มีสองระดับ คือ
- สงครามที่นำโดยชนชั้นกลาง มุงกอบกู้เอกราชโดยต่อต้านระบบศักดินาสวามิภักดิ์ และลัทธิจักรวรรดินิยม
- สงครามนำโดยคอมมิวนิสต์ มุ่งเปลี่ยนระบอบการปกครอง ระบบเศรษกิจและสังคม

      พรรคคอมมิวนิสต์จะเกณฑ์ประชาชนมาเป็ฯกองโจรและสร้างกองทัพของตนเองขึ้นทั้งกองทัพ และกองโจรนี้ต้องได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างถี่ถ้วยให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทั้งกองทัพ และกองโจรนี้ต้องได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างถี่ถ้วยให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในลัทธิอุดมการณืทางการเมือง ที่สำคัญ คือ ลัทธิมาร์คซ์ และเลนิน และฝ่นการฝึกอบรมทางทหารที่สำคัญ พรรคคอมมิวนิสต์ต้องเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพแดงและเป็นผู้นำมวลชน จะให้กองทัพหรือมวลชนนำการปฏิวัติมิได้โดยเด็ดขาด นโยบายชองพรรคและนโยบายจุดมุ่งหมายของมวลชน นโยบายของพรรคและนโยบายจุดมุ่งหมายของมวลชน ต้องได้รับการพิจารณาถือเป็นหลักในการกำหนด นโยบาย มวลชนมีส่วนกำหนดนโยบายของพรรค แต่นโยบายพรรคจะกำหนดนโยบายมวลชนมิได้กล่าวคือ การกำหนดนโยบายของพรรคต้องคำนึงถึงความต้องการและผลประโยชน์ของมวลชนเป็นหลักเสมอ ทั้งนโยบายพรรคและนโยบายของมวลชนจึงต้องดำเนินควบคู่กันไป
     สงครามระหว่างรัฐบาลกับคอมมิวนิสต์จะต้องใช้กลยุทธกองโจร คราบเท่าที่คอมมิวนิสต์ยังไม่เข้มแข็งพอ กลยุทธกองโจรนี้จึงถืกันว่าเป็นขั้นต้นของสงครามปฏิวัติ หน้าที่สำคัญสุดของกลยุทธแบบกองโจรนี้คือการเกณฑ์กำลังผู้คนฝึกอบรมให้มีการศึกษาและเข้าใจลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างลึกซึ้งและการโฆษณาชวนเชื้อ
     การใช้ยุทธวิธีกองโจนนี้มักจะใช้ควบคู่กับการถ่วงยือเยื้อสงคราม สงครามปฏิวัติจึงมีลักษณะเป็นสงครามนอกแบบแตกต่างจากสงครามตามที่นิยมกัน ตามปกติของสงครามทั่วไป มักจะมีกำหนดเวลและสถานที่กระทำสงครามกัน ผลชัยชนะหรือแพ้จะประกฏเฉพาะในการรบแนวต่าง ๆ และตามกำหนดเวลา แต่สงครามปฏิวัติมิได้เป็นไปเช่นนั้นการได้เปรียบเสียเปรียบและการเหนือกว่าในแนวรบนั้นไม่คงที่เสมอไป กำลังทางทหาร หรืออำนาจทางทหารในสงครามประเภทนี้เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน เมื่อฝ่ายตรงข้ามพยายามจะทุ่มกำลังปราบปราม สงครามปฏิบัติก็จะใช้วิธีการถ่วงยืดเยื้อมิให้สงครามยุติลงได้ นานเท่านนานตรบใดที่ขบวนการปฏิวัติยืนหยัดต่อต้านอยู่ อีกฝ่ายก็จะต้องสิ้นเปลื่องกำลังผู้คน ทรัพยากรธรรมชาติมากเป็นลำดับ สงครามถ้วงยือเยื้อจึงเป็นสงคราททดสอบความอดทนว่าฝ่ายใดทนทานได้มากกว่าก็จะมีทางได้ชัยชนะ ในการทำสงครามประเภทนี้ย่อมไม่มีการระบุแนวรบให้ตายตัวและไม่กำหนดเวลารบ กองโจรอาจจะปรากฎตัวปฏิบัติการที่ใดเวลใดก็ได้ โดยอีกฝ่ายไม่อาจจะคาดคะเนได้ เพราะกองโจรเป็นฝ่ายอยู่ในที่กำบังที่อีฝ่ายสุดที่จะตามเข้าไปปราบปรามได้โดยง่าย
     ดังนั้นการดำเนินนโยบายต่างประทเศของจีนนั้นมิได้ดำเนินไปโดยปราศจากเหตุผลปัจจัยใด ๆ เป็นพื้นฐาน ความปรวนแปรของสถานะการณ์โลก โลกทรรศน์ของจีนอิทธิพลลัทธิดมการณ์ สังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ ตลอดจนอิทธพลแนวความคิดทฤษฎีทางการเมืองของเมาเซตุง ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญส่งเสริม ของจีนแดงแต่ที่เป็นปัจจัยสำคัญสุดในการกำหนดวินิจฉัยนโยบายต่างประเทศ ปัจจัยเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐอาณาจักร ส่วนการเผยแพร่อุดมการณ์เป็นความมุ่งหมายที่สำคัญรองลงมา..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...