องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ
ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ
- สืบสาวเหตุปัจจัย
- แยกแยะส่วนประกอบ
- สามัญลักษณะ – มองเห็นลักษณะพื้นฐานร่วมกันของสิ่งต่างๆ
- อริยสัจจ์ – คิดแยกแยะ แก้ปัญหา
- อรรถธรรมสัมพันธ์ – เข้าใจว่าหลักการ (ธรรม) นี้ มีจุดมุ่งหมายอะไร (อรรถ)
- เห็นคุณ โทษ ทางออก
- รู้คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม – รู้คุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนี้ รู้คุณค่าที่เสริมขึ้นมา
- เร้่าคุณธรรม
- อยู่กับปัจจุบัน
- วิภัชชวาท – คิดจำแนกแยกแยะให้ครบถ้วนทุกแง่มุม ทุกขั้นตอน ทุกทางเลือก
...
วิภัชชวาท
ความจริงวิภัชชวาท ไม่ใช่วิธีคิดโดยตรง แต่เป็นวิธีพูดหรือการแสดงหลักการแห่งคำสอนแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การคิดกับการพูดเป็นกรรมใกล้ชิดกันที่สุด ก่อนจะพูดก็ต้องคิดก่อน สิ่งที่พูดล้วนสำเร็จมาจากความคิดทั้งสิ้น ในทางธรรมก็แสดงหลักไว้ว่า วจีสังขาร(สภาวะที่ปรุงแต่งคำพูด) ได้แก่วิตกและวิจาร ดังนั้น จึงสามารถกล่าวถึงวิภัชชวาทในระดับที่เป็นความคิดได้ ยิ่งกว่านั้นคำว่าวาระต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่าวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีความหมายลึกซึ้งเล็งไปถึงระบบความคิดทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาแห่งระบบคำสอนทั้งหมด ที่เรียกกันว่าเป็นลัทธิหนึ่ง ศาสนาหนึ่งหรือปรัชญาสายหนึ่ง เป็นต้นคำว่าวิภัชชวาทนี้ เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา เป็นคำสำคัญคำหนึ่งที่ใช้แสดงระบบความคิดที่เป็นแบบของพระพุทธศาสนาและวิธี คิดแบบวิภัชชวาท
วิภัชชวาท เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา หรือเป็นคำหนึ่งที่แสดงระบบความคิดของพระพุทธศาสนา
การคิดแบบวิภัชชวาทนี้แบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
จำแนกในประเด็นของความจริง
- จำแนกตามประเด็นด้านต่าง ๆ ตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้น ๆ คือมองหรือกล่าวตามความเป็นจริง ให้ตรงประเด็นและครบทุกประเด็น ไม่นำเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาสรุปในภาพรวม เช่น กล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งว่าเขาดีหรือไม่ดี ก็ชี้ตามความเป็นจริงว่า เขาดีอย่างไร หรือเขาไม่ดีอย่างไร แต่ไม่เหมารวมว่าเขาดีทุกด้าน หรือไม่ดีทุกด้าน เป็นต้น
- จำแนกโดยมองหรือแสดงความจริงของสิ่งนั้น ๆ ให้ครบทุกแง่ ทุกด้าน ทุกประเด็น คือ เมื่อมองหรือพิจารณาสิ่งใดไม่มองแคบ ๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียว แง่เดียว หรือไม่มองในด้านเดียวของสิ่งนั้น ๆ เช่น เขาดีในแง่ใด ด้านใด หรือไม่ดีในแง่ใด ด้านใด เป็นต้น เป็นลักษณะเสริมในข้อแรก
จำแนกโดยส่วนประกอบ
จำแนกโดยส่วนประกอบ คือวิเคราะห์แยกแยะออกไปให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ เช่น มีองค์ประกอบย่อยอะไรบ้าง การคิดในลักษณะนี้ตรงกับวิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบจำแนกโดยลำดับ
จำแนกโดยลำดับ คือ แยกแยะวิเคราะห์เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เช่น การคิดแบบอริยสัจ หรือการคิดแบบวิธีการวิทยาศาสตร์จะต้องคิดเป็นไปตามลำดับขั้นตอนคือ คิดวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น –> ตั้งสมมติฐาน –> ทดลอง –> วิเคราะห์ –> สรุปผล เป็นต้นจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย คือสืบสาวสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์สืบทอดกันมาของสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทำให้มองเห็นความจริงที่สิ่งทั้งหลายไม่ได้ตั้งอยู่ลอย ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นอิสระจากสิ่งอื่น ๆ และไม่ได้ดำรงอยู่โดยตัวของมันเอง แต่เกิดขึ้นด้วยอาศัยเหตุปัจจัย จะดับไปและสามารถดับได้ด้วยการดับที่เหตุปัจจัย การคิดจำแนกในแง่นี้ เป็นวิธีคิดข้อสำคัญมากอย่างหนึ่ง ตรงกับวิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา ซึ่งได้อธิบายไว้ในบทว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์ ทำให้คนโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดความเห็นสุดทางข้างใดข้างหนึ่ง ความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์ ทำให้คนโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดความเห็นสุดทางสืบทอดกัน เนื่องด้วยปัจจัยย่อยต่าง ๆ ความมีหรือไม่มีไม่ใช่ภาวะเด็ดขาดลอยตัว ภาวะที่เป็นจริงเป็นเหมือนอยู่กลางระหว่างความเห็นเอียงสุดสองอย่างนั้น ความคิดแบบจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยช่วยให้มองเห็นความจริงนั้น และตามแนวคิดนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมอย่างที่เรียกว่าเป็นกลาง ๆ คือไม่กล่าวว่า สิ่งนี้มี หรือว่าสิ่งนี้ไม่มี แต่กล่าวว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี หรือว่านี้มีในเมื่อนั้นมี นี้ไม่มีในเมื่อนั้นไม่มี การแสดงความจริงอย่างนี้ นอกจากเรียกว่าอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบาทแล้ว ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามัชเฌนธรรมเทศนา จึงอาจเรียกวิธีคิดแบบนี้อีกอย่างหนึ่งด้วยว่า วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรมเทศนา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรมการจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยนั้น นอกจากช่วยไม่ให้เผลอมองสิ่งต่าง ๆ หรือปัญหาต่าง ๆ อย่างโดดเดี่ยวขาดลอย และช่วยให้ความคิดเห็นได้เป็นสายไม่ติดตันแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงการที่จะให้รู้จักจับเหตุปัจจัยได้ตรงกับผลของมัน หรือให้ได้เหตุปัจจัยที่ลงตัวพอดีกับผลที่ปรากฏด้วย ความที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับความสับสนที่มักเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป 3 อย่างคือ
- การนำเอาเรื่องราวอื่น ๆ นอกกรณี มาปะปนสับสนกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี
- ความไม่ตระหนักถึงภาวะที่ปรากฏการณ์หรือผลที่คล้ายกัน อาจเกิดจากเหตุปัจจัยต่างกัน และเหตุปัจจัยอย่างเดียวกัน อาจไม่นำไปสู่ผลอย่างเดียวกัน ต้องตระหนักด้วยว่า เหตุปัจจัยอย่างเดียวกันที่ยกขึ้นพิจารณานั้น ไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยทั้งหมดที่จะให้ได้รับผลอย่างนั้น ความจริงสภาพแวดล้อมและเรื่องราวอื่น ๆ ก็เป็นปัจจัยร่วมด้วยที่จะให้เกิดหรือไม่ให้เกิดผล อย่าง นั้น
- การไม่ตระหนักถึงเหตุปัจจัยส่วนพิเศษนอกเหนือจากเหตุปัจจัยที่เหมือนกัน กล่าวคือคนมักมองเฉพาะแต่เหตุปัจจัยบางอย่างที่ตนมั่นหมายว่าจะให้เกิดผล อย่างนั้น ๆ ครั้นต่างบุคคลทำเหตุปัจจัยอย่างเดียวกันแล้ว คนหนึ่งได้รับผลที่ต้องการ อีกคนหนึ่งไม่ได้รับผลนั้น ก็เห็นไปว่าเหตุปัจจัยนั้นไม่ให้ผลจริง เป็นต้น
จำแนกโดยเงื่อนไข
จำแนกโดยเงื่อนไข คือมองหรือแสดงความจริงโดยพิจารณาจากเงื่อนไขต่าง ๆ ประกอบด้วย ยกตัวอย่างเช่น อาจพิจารณาปัญหาทางการศึกษาว่า ควรปล่อยให้เด็กพบเห็นสิ่ง ๆ ต่าง ๆ ในสังคม เช่น เรื่องราวต่าง ๆ หรือการแสดงต่าง ๆ ทางสื่อมวลชน อย่างอิสระเสรีหรือไม่ หรือแค่ไหนเพียงไร ถ้าตอบตามแนววิภัชชวาทในข้อนี้ จะต้องวินิจฉัยได้โดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้คือ- ความโน้มเอียง ความพร้อม นิสัย ความเคยชินต่าง ๆ ของเด็กแต่ละคนที่ได้สะสมไว้โดยการอบรมเลี้ยงดู และอิทธิพลทางวัฒนธรรม เป็น เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เป็นอย่างไรบ้าง พอที่จะรับรู้สื่อต่าง ๆ เหล่านั้นได้หรือไม่
- เด็กรู้จัดคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือคิดแบบแยบคาย รอบคอบ แยกแยก ฯลฯ ได้หรือไม่
- เด็กมีกัลยาณมิตร คือ มีบุคคลหรืออุปกรณ์คอยชี้แนะแนวทางความคิดความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อสิ่งที่พบเห็นอย่างไรบ้าง
- ประสบการณ์ หรือสิ่งที่เด็กได้พบเห็นนั้น มีลักษณะหรือมีคุณสมบัติที่เร้า กระตุ้น หรือยั่วยุ รุนแรงมากน้อยถึงระดับใดดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นคำตอบของคำถามดังกล่าวว่าควรให้เด็กได้ดูสื่อหรือไม่ควรดู อย่างไร
วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง
วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง วิภัชชวาทปรากฏบ่อย ๆ ในรูปของการตอบปัญหาและท่านจัดเป็นวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง ในบรรดาวิธีตอบปัญหา 4 อย่าง มีชื่อเฉพาะเรียกว่า วิภัชชพยากรณ์ ซึ่งก็คือการนำเอาวิภัชชวาทไปใช้ในการตอบปัญหา หรือตอบปัญหาแบบวิภัชชวาทนั่นเองเพื่อความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนี้ พึงทราบวิธีตอบปัญหา (ปัญหาพยากรณ์) 4 อย่างคือ
- เอกังสพยากรณ์ การตอบแง่เดียว คือตอบอย่างเดียวเด็ดขาด เช่น ถามว่า จักษุไม่เที่ยงใช่ไหม ? พึงตอบได้ทีเดียวแน่นอนลงไปว่า ใช่
- วิภัชชพยากรณ์ การแยกแยะตอบ เช่น ถามว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงได้แก่จักษุใช่ไหม พึงแยกแยะตอบว่า ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น แม้โสตะ ฆานะ เป็นต้น ก็ไมเที่ยง
- ปฏิปุจฉาพยากรณ์ การตอบโดยย้อนถาม เช่น จักษุฉันใด โสตะก็ฉันนั้นโสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้น ใช่ไหม ? พึงย้อนถามว่า มุ่งความหมายแง่ใด ถ้าถามโดยหมายถึงแง่ใช้ดูหรือเห็น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามุ่งความหมายแง่ว่าไม่เที่ยง ก็ใช่
- ฐปนะ การยั้งหรือหยุด พับปัญหาเสีย ไม่ตอบ เช่น ถามว่า ชีวะกับสรีระคือสิ่งเดียวกัน ใช่ไหม? พึงยับยั้งเสีย ไม่ต้องตอบ