Glasnost&Perestroika

     นโยบายกาสนอสต์ คือ การ “เปิด”ประเทศให้กว้างขึ้น ให้เป็ประชาธิปไตยมากขึ้น ดดยให้ปรชาชนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตน
     นโยบายเปเรสตรอยกา คือ การ “ปรับ”สภาพเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพโซเวียตให้คลายจากความชะงักงัน เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนชาวโซเวียตให้ดีกว่าเดิม
      มิคคาอิล กอร์บาชอฟ ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายทั้ง 2 มาปฏิรูปการปกครองให้เป็น
ประชาธิปไตยมากขึ้น มีการจัดตั้งสมัชชาผู้แทนประชาชนขึ้น ประกอบด้วยสมาชิก 2,250 คน ดดยรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสได้เลือกตั้งบุคคลที่ตนเชื่อมั่นและศรัทธาในความสามารถ ซึ่งก่อนหน้านี้จะต้องเป็นผู้ที่รัฐเป็นผู้กำหนดตัวไว้ มีการให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชน ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการชุมนุมกัน และเลือกนับถือศาสนา ปล่อยนักโทษการเมือง ล่าสุดสมัชชาผู้แทนประชาชนได้ลงมติด้วยเสียงข้างมากให้กอร์บาชอฟเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจลริหารอย่างหว้างขวาง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติต่าง ๆ ของประเทศ
     แต่กอร์บาชอฟประสบความล้มเหลวด้ารเศรษฐกิจและสังคม เพราะชาวโซเวียตยังคงดำรงชีวิตอย่างยากแค้นต่อไป อาหารและปัจจัยในการดำรงชีวิตยิ่งขาดแคลนมากขึ้นกว่าเดิม เงินเฟ้อ และราคาสินค้าแพงขึ้นมาก
      ชาวโลกจึงพากันตั้งคำถามว่า “ประธานาธิบดีอาร์บาชอฟจะไปรอดหรือไม่”ขณะดียวกันนโยบายกลาสนอสต์ก็ได้นำผลกระทบมาสู่โซเวียตโดยปริยาย โดยประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก 6 ประเทศ ถือโอกาส “เปิด”และ “ปรับ”ตนเองเช่นกัน ทำให้ระบบสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ในยุโรปต้องล่มสลายลงทั้งยังเกิดปัญหาเชื้อชาติในโซเวียตติดตามา 15 สาธารณรัฐอันประกอบเป็นสหภาพโซเวียตนั้น ประกอบด้วยประชาชนที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านเชือชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม แต่ที่ตลอดเวลาสามารถอยู่ร่วมกันได้เพราะกลไกการบริหารและควบคุมที่เคร่งครัดเฉียบขาดของพรรคคอมมิวนิสต์ ครั้นเมื่อรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงออกได้ ความรู้สึกเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมจึงปะทุขึ้นอย่างเปิดเผย ดังจะเห็นได้จาการปะทะกันระหว่างชาวอาเซอร์ไบจาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม กับชาวอาร์เมเนีย ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ เพื่อแย่งกันถือสิทธิครอบครองดินแดน นากอร์โน-การาบาฮ์ ซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขได้จนทุกวันนี้
     นอกจากนี้ สาธารณรัฐต่าง ๆ บนชายฝั่งทะเลบอลติกยังพากันเคลื่อไหวเรียกร้องเอกราชและขอแยกตัวเป็นอิสระจากการปกครองของโซเวียต โดยเฉพาะลิทัวเนียได้ตัดสินใจประกาศเอกราช ทำให้ลัตเวีย เอสโตเนีย ประสงค์จะดำเนินรอยตา รวมทั้งรัฐยูเครน จอร์เจีย และมอลตาเวีย ด้วย  กอร์บาชอฟจึงตัดสินใจอย่างเฉียบขาดโดยส่งกำลังทหารไปยังเมืองหลวงของลิทัวเนีย ยึดสำนักงานหนังสือพิมพ์และสำนักงานกรมอัยการ และตัดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ให้เกิดปัญหาร้ายแรงเกิดตามมา คือการล่มสลายของสหภาพโซเวียตถ้าสาธารณรัฐอื่นๆ พากันแยกตัวเป็นอิสระ
     นโยบาย “เปิด”และ “ปรับ” จึงเป็นเสมือนดาบสองคม ทำให้ประธานาธิบดีกอร์บอชอฟต้องตกอยู่ในภาวะลำบาก ถ้าต้องยอมผ่อนตามข้อเรียกร้องของสาธารณรัฐต่าง ๆ สภาพโซเวียตคงเลหือแต่มอสโกและบิรเวณรอบ ๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตไม่สามารถจะยอมได้  เมือเป็นเช่นนี้ชาวโลกจงพากนติดตามผลงานของประธานาธิบดีกอร์บาชอฟอย่างใจจดใจจ่อและเอาใจช่วยเพื่อให้นโยบายดังกล่าวบรรลุผลแม้จะไม่แน่ใจว่าเขาจะสามารถอยู่ในอำนาจได้นานสักเพียงไร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)