วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Perjudice

     Discrimination การแบ่งแยก หรือการแบ่งพรรคแบ่งพวกมีผู้ให้คำจำกัดความดังนี้
          David Dressler  กล่าวว่า คือการกีดกันคนอื่นโดยแบ่งคนอื่นแยกพวกออกไปอย่างไม่ยุติธรรมและเป็นวิธีการที่ไม่มีความเสมอภาค
          Williams ให้คำจำกัดความว่าเป็นการแยกพวกแยกกลุ่มโดยปฏิบัติต่อกลุ่มคนแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไปอยา่งเลือกที่รักมักที่ชัง แล้วแต่ว่าบุคคลเหล่านั้นมาจากกลุ่มสังคมใด
          Simpson and Yinger กล่าวว่า โดยปกติหมายถึงการแสดงออกที่ปรากฎอย่างเปิดเผย หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมเมื่อมีอคติอยู่ในใจ เป็นการปฏิบัติตอบต่อบุคคลโดยแบ่งประเภทของเขาแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นเป็นสมาชิกจากกลุ่มใดแน่ และโดยทั่วไปบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติดังกล่าวจะถูกกีดกันสิทธิ หรือสิทธิพิเศษบางอย่างที่คนอื่นๆ ในสังคมซึ่งไม่ได้มาจากลุ่มชนกลุ่มน้อยจะมี หรือได้รับ
            นอกจากนี้ยังอาจเกิดจาdโดยไม่มีความรู้สึกอคติด้วย เช่นคนๆ หนึ่งปฏิเสธที่จะรับเป็นสมาชิกผู้อุปถัมภ์ของกลุ่มชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง เพราะรู้สึกว่าการทำเช่นนั้นอาจจะกระทบกระเทือนกับธุรกิจของตนที่ดำเนินอยู่ โดยอาจไม่มีอคติอยู่ด้วยเลยเป็นส่วนตัว เพียงรู้สึกว่าตัวอขาต้องคำนึงถึงธุรกิจก่อนอื่นเท่านั้น ดังนี้เป็นต้น
         อคติและ discrimination เกิดขึ้นจากต้นเหตุหลายเรื่อง หรือหลายคน หลายพวก และอาจจะเป็นหลายสิ่งก็ได้ แต่ในที่นี้กล่าวถึงในแง่ที่เกี่ยวข้องในเรื่อง เชื้อชาติ ชาติพันธ์ และคนกลุ่มน้อย
         ลัทธิชาติพันธ์อาธิ ลัทธิชาติพันธ์ในหมู่นาซีที่ถือว่าประชากรของแต่ละเผ่าพันธ์นั้นมีลักษณะทางกายเด่นเฉพาะอย่าและมีคุณลักษณะกรรมพันธ์ทางปัญญาและอารณ์ ไปตามเผ่าพันธ์ทีมีลักษณะทางกายนั้นๆ ซึ่งจะไม่มีการเปล่ียนแปลงไม่วาจะไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร และกลุ่มเผ่าพันธ์นั้นๆ จะประพฤติในวิถีทางของตนอยู่เสมอตลอดไป ด้วยเหตุนี้นาซีจึงเชื่อว่ากลุ่มคนบางกลุ่มเกิดมาเพื่อเป็นนายพวกอื่นๆ และเชื่อว่าชาติพันธ์บางเหล่าเกิดมาเพื่อเป็นทาสหรือเพื่อรับใช้คนอื่น ลักษณะความเชื่อของพวกนาซีโดยพื้นฐานแล้วจะคล้ายคลึงกับทฤษฎี "Negro Inferiority"
        ลักษณะบ่งชี้ทางชาติพันธ์เป็นความแตกต่างทางสังมที่สำคัญอยางหนึ่งที่จะมีผลต่อการแสดงออกและพฤติกรรมของคนเราภายในสังคม
        ทัศนคติทางชาติพันธ์ุกับพฤติกรรมที่แสดงออก
- ในสังคมมนุษย์ส่วนมากแล้ว คนมักมีความโน้มเอียงที่จะชื่นชมกับคุณสมบัติของตัวเองแล้วและจะแสดงออกกับคนนอกกลุ่มที่ต่างชาติพันธ์ุออกไปในทางลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพวกที่มีสถานภาพต่ำต้อยกว่าทั้งหลาย
     ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ที่เป็นแบบตายตัว นั้นเป็นพฤติกรรมที่มีต่อสมาชิกของกลุ่มชาติพันธ์ุที่มาเกี่ยวข้องด้วย และบ่อยครั้งที่ลักษณะนี้ก็มักจะได้รับการยอมรับจากสมาชิกภายในชนกลุ่มนั้นๆ เองด้วย
      ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์แบบตายตัว มักจะเป็นตัวกำหนดวางเงื่อนไขให้คนเรามีปฏิกิริยาโต้ตอบไปในลักษณะใดลัษณะหนึ่ง แนวใดแนวหนึ่ง ในระหวา่งคนกลุ่มใหญ่ กับคนกลุ่มน้อย และมักไม่ค่อยเปลี่ยนง่ายๆ
- องค์ประกอบของโครงสร้างบางอย่างในสังคมก็อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกอคติ หรือ พรีจูดิช Prejudice และการแบ่งพวกแบ่งหล่าต่อชนกลุ่มน้อยได้เช่นเดียวกัน
      ผู้ที่มีอคตินั้นปกติจะประเมินความรู้สึกอคติที่ตัวเองมี น้อยไปกว่าความรู้สึกจริงๆ ที่ตนมีอคติอยู่ คนที่มีอคติมักจะไม่ทันนึกถึงอิทธิพลของความรู้สึกอคติที่จะมีผลต่อการแสดงออกของตน และมักไม่อายที่ตนมีควมรู้สึกเช่นนั้ ตรงข้ามมักจะมองเห็นว่าความรู้สึกรุนแรงหรือความรู้สึกชิงชังของตนที่มีต่อชนกลุ่มน้อยที่ตนไม่ชอบนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมชาติและสาสมกันแล้วกับความประพฤติไม่ดีไม่งามของชนกลุ่มน้อยนั้นๆ ซึ่งตนไม่ชอบ
      ในสหรัฐอเมริกา "แรกเริ่มที่เดียว อคติทางเชื้อชาตินั้นมีจุดเร่ิมจากความจำเป็นทางด้านอุตสาหกรรม ระยะนั้นคนจีนเป็นพวกครต่างด้าวหรือพวกอพยพเข้าเมืองที่ถือกันว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นพลเมืองที่ขยันขันแข็ง อยู่ในระเบียบวินัยดีถือกันว่าเป็นพวกอพยพที่ดีที่สุดสำหรับรัฐแคลิฟอร์เนีย เพราะเป็นพวกขีเหนียวไม่ขี้เหล้าเมายา ว่าง่ายไม่เกะกะระรานใคร เพราะเคารพกฎหมายดี ทั้งยังมีความสามารถรอบด้าน ปรับตัวได้เก่ง...หลายปีต่อมา พวกยุโรปอพบพเข้ามา ปัญหาเกิดขึ้นจากากรที่นจีนไม่เลืองานและขยันทำได้หลายอย่าง ทำให้ก่อสถานการณ์ไปในรูปของการแข่งขันเชื่อดเฉือนกับการทำมาหากินรับจ้างของพวกยิวขาวหรือพวกฝรั่ง ในระยะนี้ใครๆ ก็แยกคนจนที่นั้นออกเป็นพวกต่างหาก ว่าเป็นพวกที่ไม่ยอมทำตัวเข้ากับเจ้าของประเทศ ยึดมั่นในขนบประเพณีกับกฎเกณฑ์กฎหมายเฉพาะของพวกตัวเอง เกิดความรู้สึกว่าพวกคนจีนที่เข้ามานั้นไม่ได้มาตั้งรกรากหลักฐานในอเมริกา แต่เข้ามาเพื่อขนทรัพย์สมบัติ กลับประเทศตน เกิดทัศนคติว่าชาวจีนมีเลห์เหลี่ยม โกหกมดเท็ด..ต่ำกว่าพวกอินเดียแดงที่เคยดูถูก
      ความรู้สึกฯ อย่างนี้มีอยู่ภายในสังคมหนึ่ง ๆมักมีแนวโน้มที่บุคคลในสังคมนั้นๆ จะร่วมรับไปเลียนแบบตามกันไปด้วยอย่างไม่รู้ตัว
     สงครามผิวในสหรัฐอเมริกา คนชาตินิโกร หรือถ้าเรียกให้ถูกต้อง เชื้อชาตินิโกรสัญชาติอเมริกันได้เข้าสมัครสอบและเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี ขณะที่เรียนก็เกิดการจลาจลขึ้น เพราะมีพวกผิดขาวบางคนต่อต้านไม่ให้เข้าเรียน การจลาจลครั้งนี้ร้ายแรงมากมีผู้เสียชีวิตสองน เป็นเหตุให้รัฐบาลกลางต้องส่งทหารและตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์และความปลอดภัย
     ลัทธิเหยียดผิดในสังคมประเทศคอมมิวนิสต์
     การเหยียดผิวมิได้เกิดขึ้นเฉพาะโลกเสรี แม้แต่คอมมิวนิสต์ยังมีลัทธิเหยียดผิว ดังจะเห็นได้จากการแตกกันระหว่างจีนแดงกับรัสเซีย ซึ่่งเป็นชาติผิวเหลือและผิวขาวที่เป็นคอมมิวนิสต์ด้วยกันบาดหมางกัน จีนแดงโจมตรรัสเซียเป็นฝรั่งเหมือนกับอังกฤษและอเมริกา ซึ่งคนผิวดำผิวเหลืองควรจะต่อต้าน...
      การสังหารหมู่ชาวยิว ซึ่งเป็นต้วอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นอคติในเรื่องเกี่ยวกับชาติพันธ์ุ...

      เงื่อนไขของอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก  ความเกี่ยวพันระหว่างการที่คนเราจะมีอคติ มีความรุนแรง หรือมีมิตรภาพไม่ตรีจิตกับคนนอกกลุ่ม หรือกลุ่มชาติพันธ์ที่ไม่ใช่พวกตนนั้นพบว่า สืบเหนื่องมาจากต้นตอหลายอย่างด้วยกันอาจท้าวความจากจุดเร่ิมจากความโน้มเอียงตั้งแต่อดีตในประวัติศาสตร์ ไปจนถึงต้นตอจากแผงผลักดันทางจิตใจในส่วนลึกต่างๆ นานาส่วนบุคคลก็ได้
     - "อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่ใช่เรื่องที่มีมาแต่กำเนิ ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เป็นิส่งที่มีขึ้นที่หลังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัว จะเป็นหน่วยสำคัญที่จะปลูกฝังหรือสร้างอคติ การแบ่งพรรคแบ่งพวกให้กับเด็กในครอบครัวและมักเป็นไปโดยที่ไม่ทันได้ตั้งใจที่จะสร้างภาวะเช่นนั้น"
     "อคติต่างๆ นั้น โดยทั่วไปแล้วจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ กินเวลานานกินเวลาสักระยะหนึ่ง เด็กจะได้รับ จะได้เรียนรู้คุณค่า หรือค่านิยมเกี่ยวกับชาติพันธุ์และรับรู้รับเอาทัศนคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ในแนวต่างๆ ตลอดเวลาที่ไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนอื่นในสังมคสิ่งแวดล้อมครอบตัว อาจเป้นจากผู้ใหญ่จากเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน และจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตของตนเองตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยมาก็ได้ คนจะเรียนรู้ที่จะทึกทัก หรือสรุปเอาว่า กลุ่มใดที่แยกออกไปต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่โรงเรียนหรือภายในชุมนุมชนนั้นๆ ถือว่ามีความด้อยกว่าเดกทึกทักเช่นนั้นด้วยเหตุว่า สังคมคคประพฤติกับพวกนั้นอย่างที่เหยีดพวกนั้นว่าต่ำกว่า ด้อยกว่านั้นเอง..."
      โดยทั่วไปอคติจะก่อตัวเพ่ิมมากขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้นตอนวัยรุ่น ซึ่งอคติที่มีขึ้นจะเกิดควบคู่กันไปกับทัศนคติคต่างๆ ที่ซับซ้อน ก่อตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงวัยนี้ ตลอดจนการแสดงออกที่เป็นอคติ จะมีชัดขึ้น และเป็นไปสม่ำเสมอมากกว่าวัยเด็ก
     อคติกับการแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นไปในทำนองเดียวกับพฤติกรรมแบบอื่นๆ ส่วนมาก ซึ่งจะเป็นไปหรือตามรอยแบบอย่างของขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคมที่ประพฤติปฏิบัติกันมาในชุมชนนั้น ๆ
      ผลจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ประการหนึ่ง คือคนทั้งในกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย ต่างก็รู้ตัวขึ้นใจว่าลักษณะเด่นชัดของชนกลุ่มน้อยคืออะไร เป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปไปให้ความหมาย ขอบเขตข้อจำกัด  ความสัมพันธ์ระหว่างกันควรจะมีแค่ไหน อย่างไร ตลอดจนนำไปสร้างความรู้สึกและความคิดต่อชาติพันธ์อย่างตายตัว ซึ่งกันและกัน
     ผลอีกประการหนึ่งซึ่งสืบเนื่องจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกแยกกลุ่มแยกเหล่าก็คือ สมาชิกในหมู่ชนกลุ่มน้อยมักจะสงสัยตนเอง,เกลียดตัวเอง,มีพฤติกรรมแบบเชื่อถือโชคลาภและหุนหันพลันแล่น,ประพฤติปฏิบัติเกเร ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ข้อบังคับ,มีปมด้อย,ความไม่เป็นสุขภายในครอบครัว,สุขภาพจิตเสื่อมโทรม..
     ในบางกรณีสภาวะที่ก่อร่างสร้างอคติและความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์เป็นแบบตายตัว ขึ้นมาอาจจะค่อนข้างเห็นได้ชัดและองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้อคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกคงอยู่เป็นช่วงเวลาระยะหนึ่งๆ นั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก โดยอาจมององค์ประกอบที่ยังให้อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกคงอยู่เป็น 3 ระดับคือ องค์ประกอบจากโครงสร้างของสังคม ความเป็นมาหรือพ้นฐานของบุคลิกภาพส่วนตัว และวัฒนธรรม

      องค์ประกอบจากโครงสร้างทางสังคม
      การทำตามบรรทัดฐานทางอคติซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมมีอยู่แล้ว
     "เมื่อใดที่อคติและความรู้สึกความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ุแบบตายตัว ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นบรรทัดฐาน อย่างหนึ่งสำหรับสังคมนั้นแล้ว การแสดงออกซึ่งอคติและการแสดงออกซึ่งการแบ่งพวกแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดแจ้งกน่าจะเปนไปเนื่องจากตค้องการ การคยอมรคับจากสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมนั้นๆ
      และการแสดงทัศนคติฉันท์มิตรกับสมาชิกที่เป็นชนกลุ่มน้อย หรือไม่ยอมแบ่งพวกแบ่งกลุ่มแยกตัวต่างหากออกจากพวกคนนอกกลุ่มหรือพวกชนกลุ่มน้อยก็จะมีผลเท่ากับว่าท้าทายบรรทัดฐานแห่งอคติของสังคมนั้ และมักจะจุดชนวนนำมาซึ่งการโต้แย้งไม่ยอมรับ และการตัดสินด้วยวิธีการต่างๆ จาบรรดาสมาชิกในกลุ่ม"
     รูปแบบการมีปฏิกิริยาตอบโต้กัน
     อคติคและการแบ่งพรรคแบ่งพวกจะนำให้เกิดรูปแบบของปฏิกริยาบางอย่างขึ้นมา เพื่อที่จะทำหน้าที่ช่วยรักษาสถานภาพให้คงที่เอาไว้ มีรูปแบบของปฏิกริยาอยู่หลายอย่างที่ช่วยเพิ่มพูนความสามัคคีเหนียวแน่นและเพิ่มพลังอำนาจให้กับกลุ่มในอันที่จะผลักดันการกระทำตามบรรทัดฐานแห่งอคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกนั้นให้เข้มข้นคงตัว องค์ประกอบใดก็ตามที่ทำให้บรรดาสมาชิกในกลุ่มต้องพึงพาอาศัยคนในกลุ่มด้วยกันแล้ว ก็มักช่วยเพิ่มความสามัััคคีของกลุ่มขึ้นไปด้วย
      การสนับสนุนจากผู้นำ
      ความคงอยู่ของอคติและการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยังมาจากการสนับสนุนของหัวหน้าหรือตัวผู้นำกลุ่ม ดังที่เคยกล่าวนั้น พวกผู้นำทางการเมือง เป็นต้น หากเอาใจผู้มีสิทธิออกเสียงเลื่อกตัวด้วยประเด็นของลักษณะเกี่ยวกับบรรทัดฐานบางอย่างทางสังคม บุคคลที่ยึดถือทัศนคติแตกต่างไปจากบรรทัดฐานมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการสมัครรับเลื่อกตั้ง ดังน้นบรรดาผู้นำเล่รนี้เมื่อได้อำนาจแล้วก็จะใช้อิทธิพลแห่งตำแหน่งที่ได้ไปในทางที่จะสนับสนุนส่งเสริมสถานภาพของตนให้ลอยตัว คงตัวอยู่ได้เรื่อยๆ โดยคงรักษาคสภาพความอคติและการแบงพรรคแบ่งพวกที่กลุ่มมีอยู่เอาไว้ เป็นต้น
     ความสัมพันธ์สนับสนุนทารงสิ่งแวดล้อมให้คงความอคตินั้นๆ
     Krech และ Cruchfield ได้สังเกตเห็นว่า ที่ใดซึ่งมีอคติอยู่อย่างแพร่หลายบุคคลจะสามารถสังเกตได้ว่า ที่นั้นมีสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวในรูปแบบต่าง ๆ นานา ที่ต่างก็จะช่วยสนับสนุนเสริมทัศนคติในทางอคติที่มีอยู่เดิมของเขาอย่างมาก
      การแบ่งพวกเกิดขึ้นมาได้จากความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างคนในกลุ่มกับคนนอกกลุ่ม แล้วทัศนคติต่อคนนอกกลุ่มที่มีขึ้นจะมีลักษณะตามบรรทัดฐานที่เป็นอยู่และเท่าที่เห็นพ้องปฏิบัติตามกันมา

      พื้นฐานส่วนตัวทางบุคคลิกภาพ
      อคติเกิดขึ้นและคงอยู่ได้ในแต่ละบุคคลคด้วยเหตุผลเฉพาะตัวทางบุคลิกภาพของแต่ละคนในหลายๆ แง่ ซึ่งจะมองข้ามไม่ได้คือ
       ความขับข้องใจกับการก้าวร้าวโดยใช้วิธีแพาะรับบาป ปกติเมื่อคนเราถูกกีกกั้น ขัดขวางไม่ให้เราสมความต้องการในบางสิ่งบางอย่างเราก็มักจะมีพฤติกรรมแบบก้าวร้าว แต่เมื่อใดสิ่งที่นำมาคับข้องใจมาให้ ไม่สามารถเป็นที่รองรับระบายอารณ์ก้าวร้าว อารมณ์ผิดหวังที่ถูกขัดขวางกีดกันได้ ความรุนแรงทางอารมณ์หรือความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะพุ่งไปสู่คนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวที่เรียกกันว่า "แพะรับบาป"
       ภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่และสถานภาพที่ได้รับ วิธีการป้ายโทษไปยังแพระรับบาปดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด ในที่ที่ซึ่งมีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันอย่างรุนแรง และในที่ซึ่งสถานภาพถูกคุกคาม สภาพการณ์เหล่านนี้ดูเหมือนจะกระตุ้นความรู้สึกอคติได้มากที่สุด
       ความต้องการส่วนบุคคล อาทิ ความไม่ทนต่อความคลุมเคลือกำกวม คนเราจะวุ่นวายใจแตกต่างกันไม่เท่ากันเมื่อพบกับสภาพการณ์ที่สับสนหรือคลุมเคลือคกำกวม พวกที่จัดว่าอยู่ในแบบสุดกู่อาจเป็นในลักษณะที่ว่าต้องการให้ทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ๋วไปเลยทุกอย่าง ทุกเมื่อ ว่าขาว หรือดำ หรืออย่างไรให้แน่นอน กับอีกพวกหนึ่งซึ่งไม่สนใจแยแส ไม่ทุกข์ร้อยวุ่นวายใจเลยแม้แต่สักนิดเมื่อพบสภาพการณ์คลุมเคลือกำกวม โดยคนที่ไม่อดทนต่อสภาวการณ์คลุมเคลือมักจะมีอคติมากกว่าด้วย
       ความต้องการที่จะมีสถานภาพดีกว่าคนอื่น ที่ทำให้จุดชนวนอคติได้ง่ายมาก เพราะความรู้สึกอคติจะทำให้บุคคลที่มีความต้องการนั้น ๆ จัดแยกคนคบางกลุ่มออกไปเสร็จสรรพว่าตำ่ต้อยในทางสถานภาพกว่าตนแน่ๆ แล้วก็อาจจะเกิดความรู้สึกที่จะเลี่ยนแบบอย่างคนพวกเดียวกันโดยอาศัยความอคติเป็นสื่อชักนำ
      Allport กล่าวไว้ว่า "คนเราอาจจะย้อเน้นการยกย่องตัวเอง ชื่นชมกับตัวเองโดยการยกตัวเองไว้เหนือคนอื่น ยกตัวเองดีกว่าคนอื่น เบนความสนใจไปที่คนนอกกลุ่มเพื่อช่วยคงเกียรติภูมิของตัวเองเอาไว้"
     ความต้องการที่จะมีความมั่นคง ความต้องการแบบนี้จะสมใจได้เหมือนกันจากการใช้วิธีการกีดกันคนนอกกลุ่ม มีหลายคนตั้งข้อสังเกตไว้ว่าความขัดแย้งระหว่างคนในกลุ่ม กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกับพวกนอกกลุ่ามจะช่วยนำปสู่การรวมพลังเหนียวแน่นในหมู่สมาชิกของพวกคคนในกลุ่มนั้นๆ ดังนั้น จึงอาจคาดได้ว่าการคกีคดกัคนแบ่งพรรคแบ่งพวก กับความขัดแย้งกับคนนอกกลุ่มมีทางที่จะชวยทำให้บุคคลรู้สึกมั่นคงในการเป็นสมาชิกในกลุ่มที่ตนสังกัดอยู่มากขึ้นและทั้งกินความหมายถึงว่าทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกเป็นพวกเป็นพ้องกับกลุ่มของตนมากขึ้น
      บุคลิกภาพแบบวางอำนาจเผด็จการ เป็นแบบแผนของอุปนิสัยซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยข้องกับอคติเป็นอย่างมาก นักจิตวิทยาที่สำคัญหลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบวางอำนาจมักจะมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ชอบใช้ระเบียบวิธีอย่างเคร่งครัด อบรมสั่งสอนมาอย่างเข้มงวดกวดขันมีการวางเงื่อนไขว่า จะให้ความรักใคร่หรือไม่โดยขึ้นกับว่าได้ทำตัวหรือประพฤติปฏิบัติสอดคล้องกับที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองวางเกณฑ์กำนหดไว้หรือไม่ เพียงใด พ่อแม่หรือผู้ปกครองยอมรับเห็นด้วยกับการแสดงออกต่าง แค่ไหน จึงเกิดความเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกเพื่อให้มีนิสัยยอมตามและรองรับการวางอำนาจข่มขู่บังคม ตลอดจนการถูกกำหนดสถานภาพส่วนตัวไว้แตกต่างออกไป ผลจึงนำไปสู่การขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับอารมณ์แท้จริงของตนได้ ทั้งยังทำให้ก่อเกิดทัศนคติท่าทีที่กระด้าง ไม่มีความยือหยุ่นในการติดต่อหรือคบหาสมาคมกับคนอื่น ได้ง่ายมาก
       บุคลิกภาพและท่าที่ในแนวนี้เป็นพ้ืนฐานการก่อตัวของอคติต่อคนนอกกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มหรือชนกลุ่มน้อย อย่างสำคัญเมื่อเติบโตขึ้น
       ด้วยภาวะที่ต้องเก็บกดความรู้สึกก้าวร้าวเกลียดชังรุนแรงเป็นเวลานาน แต่มาเรียนรู้ว่าการมีอคติกับพวกนอกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มกลับเป็นสิ่งที่สังคมของตนยอมรับและสนับสนุนดังนั้น อติก็จะทำหน้าที่กลายเป็นเสมือนทางออกทางหนึ่งให้แก่ความกดดันที่รู้สึกเกลียดชังอย่างจะก้าวร้าวแต่ไม่เคยแสดงออกได้โดยที่คนในครอบครัวยอมรับมาก่อน
      ความคงที่ทางทัศนคติ บุคคลมักดิ้นรนให้คงตัวอยู่ในภาวะพอดีพอ กันระหว่างอารฒ์การรับรู้ และการแสดงออก  ดังนั้น พลังใด ที่จะมาผลักดันให้เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบส่วนใดส่วนใหนึ่งใน 3 อย่างดังกล่าวจะได้รับการต่อต้าน ตราบเท่าที่ส่วนประกอบอีก 2 ส่วนที่เหลือยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ด้วยหลักการนี้ทำให้คนเราตีความหมยหรือรับรู้การแสดงออกหรือพฤติกรรมของคนนอกกลุ่มหรือคนที่ไม่ใช้พวกตน ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนไปจากที่เป็นจริงที่ควรจะมองหรือรับรู้ ถ้าหากรับรู้เกี่ยวกับคนนอกลุ่มหรือต่างกลุ่มเป็นไปในแบบไหน และมีความพร้อมจะรู้สึกต่อคนเหลานนันไปในแนวใดแล้ว การณ์กลับเป็นว่าคนต่างกลุ่มอกกลุ่มที่ว่านั้นกระทำผิดแผกไปจากแบบที่ตั้งไว้  ก็จะถูกตีความหมายให้ผิดเพี้ยนไปในแนวทางที่ให้สอดคล้องกับความรู้สึกและการรับรู้ที่มีอยู่เดิมแล้ว

     องค์ประกอบทางวัฒนธรรม
     ค่านิยมกับอคติ ทัศนคติที่บุคคลมีต่อชนกลุ่มน้อยอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในลัทธิทางวัฒนธรรมหรือความเชื่อทางวัฒนธรรม ลัทธิทางวัฒนธรรม าหรือความเชื่อทางวัฒนธรรมคือระบบอันซับซ้อนเกี่ยวกับความเชื่อต่าง  และเกี่ยวกับไอเดียนานาประการที่ทั้งหมดต่างสัมพันธ์ื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับค่านิยมทางวัฒนธรรม
      ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็ก จากผลการวิจัยของ Horowizt พบว่าอคติเป็ฯผลสืบเนื่องจากขบวนการเรียรรู้ทางสังคม โดยตรง เขาศึกษาโดยเปรียบเทียบพัฒนาการอคติต่อพวกนิโกร ในหมู่เด็กนักเรียนที่เมืองเทนเนสซี่ หลายต่อหลายกลุ่ม และกลุ่มเด็กที่เมืองนิวอร์ค ทัศนคติในหมู่เด็กจากเทนเนสซี่ กับนิวยอร์คคล้ายคลึงกัน โดยมีแนวโน้มแสดงชัดถึงอคติที่มีต่อนิโกร แต่ความแตกต่างที่น่าสนใจพบว่ามีอยู่ในระหว่างกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ย่านโครงการณ์สหกรณ์เคนะ ที่องคการคอมมิวนิสต์แห่งหนึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ซึ่งแตกต่างจากเด็กกลุ่มอื่น ทั้งหมดระยะที่ทำการวิจัยอยูในช่วงปี 1930 ซึ่งช่วงนั้นคอมมิวนิสต์เน้นอยู่ที่ความเสมอภาคของทุกเชื้อชาติ ดังน้ันเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่เป็นคอมมิวนิสต์ก็จะเรียนรู้ความเชื่อเช่นนี้จากพ่อแม่ของตน
      ทัศนคติต่อชนกลุ่มน้อยจะผสมผสานรวมตัวอย่างซับซ้อนเป็นแบบแผนของความคิดเห็น ท่าทีความรู้สึกและความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งจะสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับค่ีานิยมทางวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด ลัทธิความเชื่อที่มีอยู่แพร่หลายเช่นนั้น ยิ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดมีอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกกีดกันเด่นชัดขึ้น และเมื่อ Prejudice  และ ความรู้สึกนึกคิด..ที่มีต่อชนกลุ่มน้อยแบบตายตัวขยายวงกว้างออกไปทั่วถึงภายในสังคมหนึ่ง ๆ ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กที่จะเป็นไปในลักษณะของการยอมรับเอาลัทธิความเชื่อที่มีอยู่ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมต่อคนกลุ่มน้อย นั้นจะเป็นไปได้อย่งแน่นอน

     

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

group behavior


      เมื่อนักจิตวิทยาสังคมพูดถึงโครงสร้างของกลุ่มนั้น เขามักจะเน้นเป็นพิเศษใน เรื่องของความสัมพันธ์ระดับบุคคล ระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง มากกว่าเรื่องบทบาทของกลุ่มและการศึกษาถึงโครงสร้างของกลุ่มก็มักจะมุ่งไปที่ตรวจดูความใกล้ชิด เช่นอยากอยู่ใกล้ หรืออยากออกห่างกันในระหว่างหมู่สมาชิก

     กลุ่ม  ในทางจิตวิทยา หมายถึง การที่บุคคลคจำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นขึ้นไปมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างหนึ่งอย่างได ดังนั้นบนรถเมย์สาย 17 จึงไม่จัดเป็นกลุ่มเพราะไม่มีใครสนใจใคร ไม่มีการพูดจากัน เกี่ยวข้อง หรือพบปะสังสรรค์กัน แม้ว่าจะเจอหน้ากันทุกวันก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากคนบนรถเมย์ สามคนได้ลงป้ายเดียวกันขณะเดินไปพบผู้ประสบอุบัติเหตและเข้าช่วยเหลือโดยทำหน้าที่ต่างๆร่วมกันพฤติกรรมของบุคคลคทั้งสามได้แปรสภาพเป็นกลุ่มในทางจิตวิทยาแล้ว
      นักจิตวิทยามักเห็นว่า ความใกล้ชิดหรือสภาพทางร่างกายภายนอกไม่ใช่ตัวแปรของการเป็นกลุ่ม แต่ต้องเกิดจากสภาพทางจิตใจที่ทำให้เกิดกลุ่ม
      นอกจากนี้ ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของกลุ่มคือ ความเปลี่ยนแปลงได้ หมายความว่ากลุ่มมิใช่เกิดขึ้นและจะอยู่คงที่ตลอดไป กลุ่มอาจเปลี่ยนแปลงจากความไม่ใช่กลุ่มในตอนแรกมาเป็นกลุ่ม และในขณะเดียวกันก็อาจเปลี่ยนจากกลุ่มเป็นไม่ใช่กลุ่มได้เช่นเดียวกัน
      เชอริฟ Sheriff ให้ข้อคิดว่า มูลเหตุการรวมกลุ่มของมนุษย์มักจะมาจากแรงจูงใจบุคคลจะต้องมีแรงผลักดันบางประการเกิดขึ้นเสียก่อน จึงเกิดมีพฤติกรรมการเข้ากลุ่มขั้น แรงจูงใจที่พูดถึงก็ได้แก่ความเหงา หรือศักดิ์ศรี เกียรติ์ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้บุคคลจะหามาได้ด้วยความลำบากถ้าไม่เข้าร่วมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  การเข้ากลุ่มจึงเป็นวิถีทางที่จะทำให้ความปรารถนาเหล่านี้สัมฤทธิ์ผลขึ้นมาได้
      โครงสร้างของกลุ่ม หมายถึงความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งถาวรของสมาชิกในด้านของการสื่อสาร พลังอำนาจ และความรู้สึกดึงดูดกันระหว่างสมาชิก
      โครงสร้างของกลุ่มจะกำเนิดพร้อมกับกลุ่ม และจัดเป็นหัวใจของพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม เมื่อกลุ่มกำหนดโครงสร้างแล้ว สมาชิกจะมีตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ กน เช่น หัวหน้า ลูกน้อง และความสำคัญก็จะถูกกำหนดให้มีลดหลั่นกันไป
      โครงสร้างของกลุ่ม มักจะเกี่ยวโยงไปถึงผลผลิต และประสิทธภาพของกลุ่มด้วย กลุ่มที่มีการจัดระบบโครงสร้างอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มักจะส่งผลไปถึงผลงานของกลุ่ม ถ้าโครงสร้างของกลุ่มใดเปิดโอกาสให้สมาชิกได้แสดงกิจกรรมตรงตามความถนัด ผลผลิตรวมทั้งขวัญและกำลังใจของสมาชิกในกลุ่มนั้นยอ่มดีตามไปด้วย
      กลุ่มทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ลักษณะบางประการทำให้กลุ่มแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน อาทิ ขนาดของกลุ่ม จุดมุ่งหมายของกลุ่ม ขวัญ การสื่อสารภายในกลุ่ม และความเป็นปึกแผ่นหรือความสามัคคีของกลุ่ม
      ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงลักษณะหรือองค์ประกอบต่างๆ ของกลุ่มเท่านั้น แต่ตามความหมายที่แท้จริงของกลุ่มอยู่ที่การปะทะสัมพันธ์กันระหว่างหมู่สมาชิก การรับรู้ร่วมกันตลอดจนถึงบทบาทความเกี่ยวข้องกัน อันนำไปสู่การเข้าใจถึงพลวัตของกลุ่มต่างหาก
     การขัดแย้งระหว่างกลุ่ม มักจะเกิดจากการที่ความต้องการถูกขัดขวาง บุคคลจะรู้สึกอึดอัด คับข้องใจโดยปกติแล้วการขัดแย้งมีหลายลักษณะ แต่ในที่นี้จะพูดเพียงการขัดแย้งระหวา่งกลุ่มเท่านั้น
      บุคคลเป็นสมาชิกของกลุ่มหลากหลายทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่และบ่อยครั้งที่กลุ่มเหล่านี้มีการแข่งขันหรือขัดผลประโยชน์กันเอง เกิดการปีนเกลียว และอาจรุนแรงถึงกับเป็นศัตรูต่อกัน และพยายามทำทุกวิถีทางให้อีกฝ่ายหนึ่งย่อยยับไป ดังเราจะเห็นจากตัวอย่างของสงครามระหว่างชนชั้น ระหว่างประเทศ หรือระหว่างเผ่าพันธ์ อาจกล่าวได้ว่าการขัดแย้งระหว่างกลุ่มนี้มีทุกยุคทุกสมัย และเกิดควบคู่มากับชาติพันธ์ของมนุษย์ก็ว่าได้
      เมื่อเกิดการขัดแย้งขึ้นระหว่างกลุ่ม สิ่งที่ตามมาก็คือความพยายามหาวิธีการที่จะลดความขัดแย้งนี้ลง การลดความขัดแย้งน้นมีหลายวิธี เช่น การใช้กำลังเข้าปราบปรามคือต่างฝ่ายตค่างกทุ่มกำลังเพ่อที่จะเอาชนะอีกฝ่าย และตามปกตคิแล้วถ้าฝ่ายใดมีทุนรอนและแสนยานุภาพมากกว่า กมักจะสามารถเผดจศึกไปได้ในที่สุด แต่การแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีเอากำลังเข้าหักหาญกันนั้น บ่อยครั้งไม่ได้เกิดผลดีกับฝ่ายใด ความสูญเสียที่เกิดขึ้นดูจะไม่คุ้มค่ากับชัยชนะที่ได้มา
     เมื่อเป็นเช่นนี้ กลุ่มที่มีความขัดแย้งกันมักนิยมใช้วิธีการแก้ปัญหาในลักษณะที่ไม่ต้องใช้กำลังแทน วิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมได้แก่ "การต่อรอง"
      ขบวนการของการต่อรองเป็นที่สนใจของนักจิตวิทยา นักสังคมวิทยา นักเศษฐศาสตร์ รวมทั้งนักคณิตศาสตร์ อาทิที่เป็นที่รู้จักกันเช่น กริทโมเดล GRIT Model ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือร่วมใจกันระหว่างกลุ่มที่มีความขัดแย้ง ลดระดับการแข่งขัน หรือได้รับชัยชนะบนความปราชัยของฝ่ายตรงข้าม
     การแสวงหาจุดหมายร่วมกัน นอกจากวิธีการต่อรองแล้ว ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสามารถแก้ไขได้อีกวิธีหนึ่งก้อคือ การแสวงหาจุดหมายร่วมกัน แต่จุดหมายชนิดนี้จะสำเรจได้ต้องเปนสิ่งที่ทั้ง 2 กลุ่มทำร่วมกันเท่านั้น คือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดจะทำตามลำพังนั้นไม่สำเร้จ วิธีการนำเสนอจุดมุ่งหมายร่วมกัน สามารถลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มลงได้ จึงน่าจะเป็นยุทธวิธีที่น่าจะนำมาใช้ให้แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต ไม่เฉพาะแต่การลดความขัดแย้งในระดับกลุ่มย่อยเท่านนั้น แต่ควรจะประยุกต์ไปใช้ได้กับความขัดแย้งระหวางประเทศหรือเผ่าพันธ์ด้วย


    

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Sigmund Freud

            ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดที่โมเรเวีย เมื่อ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1856 และถึงแก่กรรมในลอนดอน เมื่อ 23 กันยายน ค.ศ.1939 เขาอาศํยอยู่ในเวียนนา เกือบ 80 ปี ในวัยเด็กเขาปรารถนาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ และได้เลือกศึกษาวิชาแพทย์ศษสตร์ในมหาวิทยาลัยเวียนนา ปี 1873 เขาจบการศึกษาใน 8 ปีต่อมา ฟรอยด์ไม่เคยตั้งใจเรียนแพทย์ แต่เนื่องจากงานวิทยาศาสตร์ได้รับค่าตอบแทนน้อย โอกาสก้าวหน้าทางวิชาการจำกัดสำหรับยิว และความจำเป็ฯทางครอบครัวบังคับให้เขาต้องทำงานส่วนตัวซึ่งกลายเป็ฯผลดีให้เขามีเวลาวิจัย ผลิตงานเขียน และได้รับชื่อเสียงโด่งดัง


           ความสนใจในประสาทวิทยา เป็นเหตุให้ฟรอยด์ฝึกฝนการรักษาอาการโรคประสาท ซึ่งอาศัยศิลปการรักษาตามแบบฉบับของสมัยนั้น ฟรอยด์ได้สมัครเป็นลูกศิษย์ของจิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส ชื่อ ยีน ชาโค Jean Chacot เป็นเวลา 1 ปี เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคนิครักษา ชาโคใช้การสะกดจิตในการรักษาอาการฮีสทีเรีย ฟรอยด์ลองใช้การสะกดจิตกับคนไข้แต่เขาไม่พอใจกับผลที่ได้นัก เมื่อเขาได้ทราบว่า โจเซฟ บรูเออร์ Joseph Breuer  ชาวเวียนนาใช้วิธีใหม่รักษาคนไข้โดยการให้พูดถึงอาการและค้นหาสาเหตุ ฟรอยด์ก็ได้เขามาร่วมงานกับบรูเออร์ และพบว่าวิธีการดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการฮีสทีเรีย
           ต่อมาฟรอยด์แยกตัวจากบรูเออร์ เนื่องจากความเห็นขัดแย้งกันเรื่องสาเหตุทางเพศของอาการฮีสทีเรีย ฟรอยด์ เชื่อว่าความขัดแย้งเรื่องเพศเป็นสาเหตุของโรคฮีสทีเรีย บรูเออร์มีความเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องเพศ ฟรคอยอ์ได้พัฒนาความคิดของเขาต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของเขา คือ การแปลความหมายความผัน ซึ่งปลุกความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เขามีลูกศิษย์มากมายหลังจากนั้นไม่นานนัก อาทิ เอิร์นเนซ โจนส์ จากอังกฤษ คาร์ลจุง ชาวซูริค เอ.เอ.บริลล์จากนิวยอร์ก แซนเดอร์ เฟรนซี่ ชาวบูดาเปสท์ คาร์ล อับราฮัม ชาวเบอร์ลิน และอัลเฟรด แอดเล่อร์ ชาวเวียนนา

           ตัวขับเคลื่อนของบุคลิกภาพ
ในสมัยศตวรรษที่ 19 มนุษย์ถูกมองในฐานะระบบพลังงานที่ซับซ้อน พลังงานต่าง  ได้รับมาจากอาหารที่หล่อเลี้ยงร่างกายและถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์หลายอย่างเป็นต้นว่า การหมุนเวียนของโลหิต การหายใจ การเคลื่อนไหว การับรู้ การคิดและการจำ เป็นต้น ฟรอยด์ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างที่นำมาใช้ในการหายใจหรือย่อยอาหาร กับพลังงานในการคิดและการจำฟรอยด์เห็นว่าถ้าเป็นการทำงานทางจิตวิทยา เช่น การคิดก็น่าจะเรียว่าพลังงานจิต ตามความเชื่อเดิม พลังงานอาจแรสภาพไปสู่สภาพต่างๆ แต่ไม่มีการสูญหายไป ดังนั้นพลังงานจิตก็ย่อมจะเปลี่ยนเป็นพลังงานทางกาย หรือในทางกลับกัน อิด id จะเป็นสื่อให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจิตและพลังงานทางกายกลับไปกลับมาและเกิดบุคลิกภาพขึ้น ในการพิจารณาตัวขชับเคลื่อนของบุคลิกภาพหรือสาเหตุที่ทำให้บุคลิกภาพทำงานจึงต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของสิ่งต่อไปนี้
      สัญชาติญาณ Instict เป็นตัวแทนทางจิตวิทยาของการตื่นตัว ภายในร่างกายที่มีมาโดยกำเนิด ตัวแทนทางจิตมีชื่อเรียกว่า wish ความปรารถนา และการตื่นตัวจะรียกว่า ความต้องการ need เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราอาจอธิบายว่าสัญชาติญาณ คือ ธรรมชาติของความปรารถนา คือ เกิดภาวะขาดแคลนอาหารขึ้นตามเนื้อเยื่อของร่างกาย ตัวแทนหรือคำอธิบายทางจิตในสถาพที่คนหิว คือ เกิดความปรารถนาอาหาร หรือเกิดความปรารถนาตอบสนองวามหิวโ๕ดยอคาหารคนั่นเอง ความปรารถนา อยู่ในฐานะของแรงจูงใจที่นำไปสู่พฤติกรรมดังนั้นคนหิวจะแสวงหาอาหารด้วยเหตคุนี้สัญชาตคิญาณ๕ จคึงเปรคียบเสมือนตคัวการคในการขับเคลื่อนบุคลิกภาพ ไม่เพียงแต่ผลักดันบุคลิกภาพเท่านั้น แต่ยังกำหนดทิศทางในการแสดงพฤติกรรมอีกด้วย หรือ กล่าวได้ว่าสัญชาติญาณ ควบคุมและเลือกปฏิบัติทำให้บุคคล มีความไวต่อสิ่งเร้าบางประเภทเป็นพิเศษ เช่น คนหิวจะไวต่อสิ่งเร้าที่เป็นอาหารมากกว่าอย่างอื่น คนที่เกิดความต้องการทางเพศเลือกตอบนสนองสิ่งเร้าที่เย้ายวนทางเพศมากกว่า
     ฟรอยด์เห็นว่า ความตื่นตัวซึ่งเกิดจากการได้รับสิ่งเร้าภายนอกมีบทบาทในการทำงานของบุคลิกภาพน้อยกว่าสัญชาติญาณ และมีความซับซ้อนน้อยกว่าความต้องการภายในร่างกายสิ่งเร้าภายนอกเราสามารถหลีกหนีได้ แต่เราหนีความต้องการภายในไม่ได้ แม้ว่าฟรอยด์จะให้ความสำคัญสิ่งเร้าภายนอกน้อยกว่า เขาก็มิได้ปฏิเสธความสำคัญของมันจะเห็นได้จากการอธิบายทฤษฎีวามวิตกกังวลของฟรอยด์
     การทำงานของสัญชาติญาณ เป็นไปเพื่อลดความเครียด จึงทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมจนกว่าความเครียดจะหมดไปหรือลอน้อยลง aim ของสัญชาติญาณมีลักษณะถอยหลัง เพราะต้องการจะกลับไปสู่สภาพก่อนเกิดความเครียดหรือก่อนเกิดสัญชาติญาณ สัญชาติญาณจึงมีัลักษณะอนุรักษ์ของเก่า การทำงานของสัญชาติญาณจึงเกิดขึ้นซ้ำๆ ตลอดเวลาเป็นวัฏจักรวนเวียนเช่นนี้ ฟรอยด์เรียกลักษณธงานซ้ำแล้วซ้่ำอีกของสัญชาติญษณว่า repetition compulsion
     soure(แหล่งผลิตสัญชาติญาณ) และ aim ของสัญชาติญาณจะคงที่ตลอดชีวิต ยกเว้น แหล่งผลิตจะเปลี่ยนหรือสิ้นสุดลงเนื่องจากวุฒิภาวะทางกาย หรือเกิดสัญชาติญาณใหม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากร่างกายพัฒนาความต้องการใหม่ขึ้นมา ในทางตรงกันข้าม กิจกรรมในการสนองความต้องการจำแนกออกมากมายตลอดเวลา การที่กิจกรรมสนองความต้องการ แตกแยกออกไปมากเนื่องจากพลังงานจิตถูกทดแทนเมือ กิจกรรมสนองตอบบลางอย่างเกิดขึ้นไม่ได้เพราะไม่เหมาะสมขัดกับคุณงามความดีหรือถูกกีดขวาง พลังงานจิตจะหันเหไปสู่กิจกรรมใหม่จนกว่าจะค้นพบกจิกรรมที่เป็นไปได้ พฤติกรรมที่เกิดจากการทอแทน ของพลังงานจิตถือว่าเป็นสิ่งที่สัญชาติหามาได้ เช่นการตอบสนองทางเพศของเด็ก เมื่อถูกบังคับให้เลิกเด็กจะหาสิ่งทดแทน แต่ข้อสำคัญคือ เป้าหมายของสัญชาติญาณมิได้เปลี่ยนแปลง คือการกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อความสุขทางเพศ
     การทดแทนของพลังงานจิต เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของบุคลิกภาพ ความสนใจความชอบ รสนิยม นิสัย และทัศนคติ ล้วนเกิดจากการทอแทนพลังงานจิตของกิจกรรมที่แท้จริงทั้งนั้นหรือกล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สัญชาติญาณแสวงหาได้ในเงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมทฤษฎีการจูงใจของทฤษฎีวางอยู่บนความเชื่อว่าสัญชาติญาณคื้อที่มาของพฤติกรรมของมนุษย์
     ฟรอยด์ ให้ความสนใจกับกับสัญชาติญาตแห่งการอยู่รอด สนองจุดมุ่งหมายในการดำรงไว้ซึ่งชีวิตและการแพร่พันธ์ ความหิว ความกระหาย และความต้องการทางเพศจัดอยู่ในสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด พลังงานที่ก่อตัวขึ้นเพื่อการอยู่รอดเรียกว่า ลิบิโด
     ความต้องการทางเพศ ฟรอยด์เชื่อว่าในปฐมวัยเกือบทุกอย่างที่เด็กกระทำสืบเนื่องจากสัญชาติญาณทางเพศ ซึ่งกระจายอยู่หลายแห่งตามร่างกายสัญชาติญาณทางเพศก็มากมายหลายความว่าเกิดจากบริเวณต่างๆ ของร่างกายที่เกิดวามต้องการนี้ บริเวณร่างกายที่ทำให้เกิดความต้องการทางเพศขึ้นมีชื่อเรียกว่า eroge nous zones ซึ่งหมายถึงบางส่วนของผิวหรือเยื่อบุอัวัยวะที่มีความไวต่อการตื่นตัวสูงมากและบุคคลจะมีความสุขเมื่อปัดเป่าความตื่นตัวให้หมดไป บริเวณนี้ได้แก่ริมฝีปาก และช่องปาก การตอบสนองของบริเวณนี้ได้แก่การดูดกลืน อวัยวะขับถ่ายการตอบสนองคือการขับถ่าย และอวัยวะเพศ การตอบสนองคือการนวดหรือถู ในวัยเด็กสัญชาติญาณทางเพศจะเปนอิสระจากกัน แต่เมือย่างเข้าวัยรุ่นจะปะปนและมีเป้าหมายเพ่ือการสืบพันธ์
      สัญชาติแห่งความตาย ฟรอยด์เรียกว่า สัญชาติญษณแห่งการทำลายอีกชื่อหนึ่งมีการทำงานเด่นชัดน้อยกว่าสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด ท้ายที่สุดคนเราต้องตาย ความจริงอันนี้ทำให้ฟรอยด์กล่าวว่า "จุดมุ่งหมายของทุกชีวิติคือวามตาย" ความปรารถนาอันนี้เป็นจิตใต้สำนึกเขาไม่ได้แจงให้เห็ฯที่มาทางกายของสัญชาติญาณแห่งความตาย และไม่ได้ให้ชื่อพลังงานแห่งความตายไว้ ความเชื่อเบ้องต้นในเรื่องความตายคของฟรอยด์สืบเนื่องจากหลักความคงที่ของเฟชเน่อร์ ซึ่งกล่าวว่าขบวนการต่าง ๆ ของชีวิตมีแนวโน้มเพื่อกลับไปสู่โลกแห่งความไม่มีชีวิต ฟรอยด์อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการมาจากแรงกระทำของจักรวาลต่อสสารที่ไม่มีชีวิต การมีชีวิตเป็นสภาพที่ไม่ควที่และจะถอยกลับไปสู่สภาพไร้ชีวิตตามเดิม
      สิ่งที่หามาด้ของสัญชาติญาณแห่งความตาย คือ แรงขับของความก้าวร้าว ความก้าวร้าวคือ การทำลายตนเองที่เปลี่ยนออกมาเป็นสิ่งอื่นแทนเนื่องจากความปรารถนาความตายถูกขัดขวางโดยสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด ฟรอยด์ใช้เวลานานกว่าจะยอมรับว่าความก้าวร้าวเป็นแรงจูงใจสำคัญและมีอำนาจเช่นเดียวกับความต้องการทางเพศ
     การกระจายและการใช้พลังงานจิต The distribution and utilizaion of Phychic Engery เนื่องจากสัญชาติญษณมีผลให้เกิดการใช้พลังงานของระบบ id ego superego การขับเคลื่อนของบุคลิกภาพ จึงรวมถึงการแจกจ่ายพลังงานของระบบทั้ง 3 ซึ่งแข่งขันกันใช้พลังงานและควบคุมระบบอื่นถ้าระบบหนึ่งเข้มแข้้งขึ้น อีก 2 ระบบจะ่อนแอลง นอกจากพลังงานใหม่เพิ่มขึ้นในระบบ  การทำงานของบุคลิกภาพ ประกอบไปด้วยการทำงานของระบทั้ง 3 ซึ่งย่อมเกิดความขัดแย้งต่อต้านกันของระบบต่างๆ และส่งผลออกมาสู่บุคลิกภาพ
     ความวิตกกังวล Anxiety โลกภายนอกเป็นแหล่งผลิตสิ่งที่นำมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็มีส่วนในการปรับบุคลิกภาพด้วยเนื่องจากมีทั้งอันตรายและความไม่มั่นคงเท่าๆ กับสิ่งทีพึงปรารถนา ด้วยเหตุนี้สิ่งแวดล้อมจึงสามารถเพิ่มความเครียดให้กับบุคคลได้ และมีผลให้เกิดการทำงานของบุคลิกภาพ
      ปฏิกิริยาของบุคคลเมื่อกำลังจะได้รับอันตรายจากภายนอก คือ ความกลัว ถ้าสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความกลัวท่วมท้ันซึ่ง ego ควบคุมไม่ได้ อีโก้ จะเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ฟรอยด์แบ่งความวิตกกังวลออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
             ความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายจากภายนอก
             ความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวว่าจะไม่สามารถควบคุมสัญชาติญาณไว้ได้ ความกลัวในลักษณะนี้เป็นเหตุให้บุคคลแสดงอาการบางอย่างเพื่อจะถูกลงโทษ ความวิตกกังวลมิได้เกิดจากความกลัวสัญชาติญาณนั้น ๆ แต่เกิดวามกลัวการถูกลงโทษ เนืองจากทำตามสัญชาติญาณดังกล่าว มีพื้นฐานมาจากความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายเพราะว่าพ่อแม่และอำนาจต่างๆ ลงโทษเด็กเมือกระทำสิ่งที่รุนแรง
             ความกลัวผิดศีลธรรม เนื่องจากระบบซูเปอร์อีโก้พัฒนาไปไกลมาก ทำให้บุคคลรู้สึกสำนึกบาป เมื่อทำหรือเพียงแต่คิดจะทำสิ่งที่ขัดต่อศีลธรรม มีพื้นฐานมาจากความกลัวอันตรายเช่นกัน
             ความวิตกกังวลที่ไม่สามารถวัดได้ อาทิ การเกิด ชีวิตใหม่ถูกคุกคามโดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนและไม่สามารถจะปรับตัวได้

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Behavioral (พฤติกรรม)

        การศึกษพฤติกรรมจะช่วยให้ทราบถึงลักษณะนิสัยของมนุษย์ซึ่งประกอบด้วย ความ เชื่อค่่านิยม และบุคลิกภาพ และยังมีสิ่งกำหนดพฤติกรรมและกระตุ้นพฤติกรรมอีกจำนวนหนึ่ง เช่น ทัศนคติ รวมทั้งสถานการณ์ต่าง  จึงเห็นได้ว่า สิ่งที่จะมากำหนดพฤติกรรมมีอยู่มากมาย หากนำมาปรับเข้ากับการวิเราะห์โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์
       สิ่งที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ แยกเป็น ๒ ส่วน
            ๑. ลักษณะนิสัยของมนุษย์
            ๒. สิ่งที่ไม่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยของมนุษย์
            โดยเฉพาะลักษณะนิสัยของมนุษย์จะมีลักษณะ ๓ ประการ คือความเชื่อ ค่านิยม และบุคลิกภาพ นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมอีก เช่น สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมและความเข้มข้นจากสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม ทัศนคติ สภานการณ์
             ในการศึกษาพฤติกจึงต้องใช้หลักจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) สังคมวิทยา (Socialogy) และมนุษย์วิทยา (Anthrology) เข้าช่วย นอกจากนี้ยยังต้องมีการเรียนรู้ทางด้านสถิติเพื่อการจัดสรรข้อมูล รวมทั้งการทดสอบความสัมพันธ์ในด้านการคำนวณ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทราบถึงพฤติกรรมศาสตร์ หรือกล่าวโดยสั้น ๆ ของแนววิเคราะห์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเมือง คือ การนำความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์และจิตวิทยามาผสมผสามช่วยกันอธิบายถึง พฤติกรรมของมนุษย์
            
             ๑. ลักษณะนิสัยของมนุษย์  หมายถึงสิ่ง ๓ ประการนี้คือ ความเชื่อ ค่านิยมและบุคลิกภาพ
             - ความเชื่อ หมายถึงสิ่งที่บุคคลคิดว่า การกระทำบางอย่างหรือปรากฎการณ์บางอย่างหรือสิ่งของบางอย่าง หรือคุณสมบัติของสิ่งของบุคคลบางอย่าง มีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริง ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือการที่บุคคลหนึ่งคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ของข้อเท็จจริง คือเขาคิดว่าข้อเท็จจริงมันเป็นเช่นนั้น ซึ่งความคิดของเขาอันนี้อาจไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็ได้แต่ถ้าเขาคิดว่าความจริงเป็นเช่นนั้นก็คือความเชื่อของเขา
                        การได้มา ความเชื่ออาจจะได้มาโดยการเห็น ได้สัมผัส ได้ยินกับหูหรือได้รับคำบอกกล่าวอ่านจากของเขียนสิ่งพิมพ์ รวมทั้งการคิดขึ้นเอง  ความเชื่อที่ได้มาง่าย อาจเปลี่ยนได้ง่าย
              - ค่านิยม เป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมที่สำคัญ ๆ
                คลีจ คลูซฮอล ให้คำจำกัดความของคำว่าค่านิยมไว้ว่า ค่านิยมคือแนวความคิดทั้งที่เห็นได้เด่นชัดและไม่เด่นชัด ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งเกี่ยกับว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งเป็นความิดที่มีอิทธิพลให้บุคลเหลือกระทำการอันใดอันหนึ่งจากวิชาการที่มีอยู่หลาย ๆ วิธีหรือเลือกเป้าหมายอันใดอันหนึ่งจากหลาย ๆ อันที่มีอยู่
                 เนล สเมลเซอ ให้คำจำกัดความของคำว่าค่านิยมคล้าย ๆ กัน โดยกล่าวว่า ค่านิยมเป็นิส่งที่บอกบุคคลอย่างกว้างๆ ว่าจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในชีวิตเป็นิส่งที่น่าปรารถนาฉะนั้นค่านิยมจึงเป็นเครื่องชี้แนวปฏิบัติอ่ย่างกว้างๆ ให้แก่บุคคล
                ดังนั้นค่านิยมอาจหมายถึงการคำนึง แนวประพฤติปฏิบัติ ว่าอะไรควรหรือไม่ควร เช่นควรจะเป็นคนซื่อสัตย์ อำอะไรก็ต้องทำด้วยความซื่อสัตย์หรืออาจหมายถึง จุดหมายของชีวิต เช่น คนควรจะหาความสุขทางใจให้มากกว่าสะสมความร่ำรวยในทางวัตถุดิบ คิดว่าความสุขทางใจสำคัญว่าการมีวัตถุต่างๆ มากๆ  ลักษณะที่สำคัญอีกอย่างคือ  เป็นลักษณะของความคิดที่ไม่จำเพาะเจาะจง
                           การได้มา ค่านิยมนั้นไอาจได้มาโดยการอ่านคำบอกเล่าหรือคิดขึ้นมาเอง  เช่นปรัชญาของศาสนาพุทธคือการเห็นว่าวัตถุไม่สำคัญเท่าควาสบลทางจิตใจจึงไม่เห็นความสำัญของวัตถุ คือไม่ให้ค่่านิยมแก่วัตถุ ค่านิยมจึงอาจะห้มาโดยการถ่ายทอดจากผู้อื่น คำบอกเล่า จากหนังสือ หรือคิดขึ้นเอง
               - บุคลิกภาพ เป็นอีกส่วนหนึ่งของลักษณะนิสัย คนทั่วไปมักจะนึกถึงบุคลิกภาพในแง่ของลักษณะหน้าตา การแต่งกาย วิธีการพูด วิธีการวางตัว ในที่ต่าง ๆ เพราะฉะนั้นคนที่บุคลิกภาพดีมักจะหมายถึงบุคคลที่รูปร่างหน้าตาดี วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะพูดจาฉะฉานไม่เคอะเขิน และคนที่บุคคลิกภาพไม่ดีก็หมายความถึงบุคคลที่รูปร่างหน้าตาไม่ดี วางตัวไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ พูดจาไม่ฉะฉานงกๆ เงินๆ
                 โรเบิร์ต ลันดิน ให้คำจำกัดความของคำว่าบุคลิกภาพว่า คือเครื่องมือในการกำหนดพฤติกรรมที่มีลักษณะเด่น หลายๆ ประการซึ่งบุคคลได้มาภายใต้สถานการณ์พิเศษ
                 เรย์มอน แคทเทิล ให้คำจำกัดความว่าบุคลิกภาพคือสิ่งที่บอกว่าบุคคลหนึ่งจะทำอะไรา ถ้าเขาอยู่ในสถานการณ์หนึ่ง
                 กอร์ดอน อัลพอร์ต ให้คำจำกัดความว่าบุคลิกภาพว่าคือระบบต่าง ๆ ทางกายและใจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้และเป็นเครื่องกำหนดอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวเองของเขาจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวเขาอย่างไร
                 ดังนั้นบุคลิกภาพคือสิ่งที่บอกว่าบุคคลจะปฏิบัติย่างไรในสถานการณ์หนึ่ง ๆ หมายความว่าถ้าสถานการณ์อย่างเดียวกันแล้ว คน ๒ คน มีพฤติกรรมต่างกัน เราก็อาจจะอธิบายได้ว่าคงเป็นเพราะเขามีบุคลิกภาพที่ต่างกัน และคน ๆ เดียวกันถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่ต่างกันก็ควรจะมีพฤติกรรมต่างกันออกไป
                             การได้มา  การจะอธิบายว่าบุคลิกภาพเกิดขึ้นมาได้อย่างไรนั้นต้องอาศัยทฤษฎีในทางวิชาจิตวิทยา ทฤษฎีหนึ่งคือทฤษฎีแห่งการเรียรรู้ หลักของทฤษฎีนี้บ่งว่าคนหรือสัตว์ ถ้าพฤติกรรมใดนำมาซึ่งรางวัล สัตว์หรือคนๆ นั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมนั้นอีกเมือมีโอกาส แต่ถ้าพฤติกรรมใดนำมาซึ่งการลงโทษ สัตว์หรือคนๆ นั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะไม่ทำเช่นนั้นอีกแม้มีโอกาส

     สิ่งกำหนดพฤติกรรม
๑. สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมและความเข้มข้นของสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม
๒. ทศนคติ
๓. สถานการณ์
                  ๑. สิ่งกระตุ้นพฤติกรรม และความเข้มข้นของสิ่งกระตุ้น
                      พฤติกรรม
      ลักษณะนิสัยของบุคคลคือ ความเชื่อ ค่านิยม บุคลิกภาพ นั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก็จิรงอยู่แต่พฤติกรรมจะเกิดขึ้นยังไม่ได้ถ้าไม่มีสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมนี้จะเป็นอะไรก็ได้ เช่น อาหาร เสียงปืน คำสบประมาท หนังสือ ความหิว ถ้าเราเดินไปตาถนนได้ยินเสียงดังปัง เราก็จะหันไปทางที่มาของเสียงปืนนั้น เสียงปืนนั้นคือสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม เมื่อมองแล้วเห็นคนยืออยู่และกำลังยกปืนเล็งมาทางเรา ๆ ก็จะกระโดดหลบ หรือวิ่งหนี
     สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมนี้มีพลังหรือความเข้มข้น เราจะต้องคำนึงถึงพลังของสิ่งกระตุ้นด้วย สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมอย่างหนึ่งอาจมีพลังในการกระตุ้นพฤติกรรมไม่เท่ากันสำหรับคน ๒ คน
                  ๒. ทัศนคติ คือการที่บุคคลคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง หรือการกระทำอันหนึ่งในทำนองที่ว่าดีหรือไม่ สมควรหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทัศนคตินั้นไม่ใช่พฤติกรรม ทัศนคติเป็นสิ่งที่มาก่อนพฤติกรรมและเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมด้วย ทัศนคติเป็นลักาณะจำเพาะเจาะจงหว่าค่านิยมหรือบุคลิกภาพ เพราะค่านิยมเช่นค่านิยมที่มีต่อระบอบประชาธิปไตย ต่อระบอบคอมมิวนิสต์ ต่อความซื่อสัตย์ ต่อวัตถุ นั้น จะมีลักษณะกว้าง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คนใดคนหนึ่ง
                   ๓. สถานการณ์ หมายถึงสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นบุคคลและไม่ใช้บุคคล ซึ่งอยู่ในสภาวะที่บุคคลกำลังจะมีพฤติกรรม

     "จิตวิทยาสังคม" เป็นการกล่าวถึงการศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลหนึ่งอาทิเช่น การแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก เจตติฯ ที่มีต่อบุคคลอื่นและสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมด้วยวิธีการที่มีระบบระเบียบโดยเฉพาะวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อเข้าใจและทำนายพฤติกรรมต่างก ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ หรือ ..คือสิ่งที่กล่าวถึงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างบุคคลกับบุคคล และบุคคลกับสิ่งแวดล้อมในสังคม



วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Yonisomanasikāra/10


องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ

ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ
  1. สืบสาวเหตุปัจจัย
  2. แยกแยะส่วนประกอบ
  3. สามัญลักษณะ – มองเห็นลักษณะพื้นฐานร่วมกันของสิ่งต่างๆ
  4. อริยสัจจ์ – คิดแยกแยะ แก้ปัญหา
  5. อรรถธรรมสัมพันธ์ – เข้าใจว่าหลักการ (ธรรม) นี้ มีจุดมุ่งหมายอะไร (อรรถ)
  6. เห็นคุณ โทษ ทางออก
  7. รู้คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม – รู้คุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนี้ รู้คุณค่าที่เสริมขึ้นมา
  8. เร้่าคุณธรรม
  9. อยู่กับปัจจุบัน
  10. วิภัชชวาท – คิดจำแนกแยกแยะให้ครบถ้วนทุกแง่มุม ทุกขั้นตอน ทุกทางเลือก

...

วิภัชชวาท

ความจริงวิภัชชวาท ไม่ใช่วิธีคิดโดยตรง แต่เป็นวิธีพูดหรือการแสดงหลักการแห่งคำสอนแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การคิดกับการพูดเป็นกรรมใกล้ชิดกันที่สุด ก่อนจะพูดก็ต้องคิดก่อน สิ่งที่พูดล้วนสำเร็จมาจากความคิดทั้งสิ้น ในทางธรรมก็แสดงหลักไว้ว่า วจีสังขาร(สภาวะที่ปรุงแต่งคำพูด) ได้แก่วิตกและวิจาร ดังนั้น จึงสามารถกล่าวถึงวิภัชชวาทในระดับที่เป็นความคิดได้ ยิ่งกว่านั้นคำว่าวาระต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่าวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีความหมายลึกซึ้งเล็งไปถึงระบบความคิดทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาแห่งระบบคำสอนทั้งหมด ที่เรียกกันว่าเป็นลัทธิหนึ่ง ศาสนาหนึ่งหรือปรัชญาสายหนึ่ง เป็นต้น
       คำว่าวิภัชชวาทนี้ เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา เป็นคำสำคัญคำหนึ่งที่ใช้แสดงระบบความคิดที่เป็นแบบของพระพุทธศาสนาและวิธี คิดแบบวิภัชชวาท
       วิภัชชวาท เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา หรือเป็นคำหนึ่งที่แสดงระบบความคิดของพระพุทธศาสนา
       การคิดแบบวิภัชชวาทนี้แบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

จำแนกในประเด็นของความจริง

  1. จำแนกตามประเด็นด้านต่าง ๆ ตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้น ๆ คือมองหรือกล่าวตามความเป็นจริง ให้ตรงประเด็นและครบทุกประเด็น ไม่นำเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาสรุปในภาพรวม เช่น กล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งว่าเขาดีหรือไม่ดี ก็ชี้ตามความเป็นจริงว่า เขาดีอย่างไร หรือเขาไม่ดีอย่างไร แต่ไม่เหมารวมว่าเขาดีทุกด้าน หรือไม่ดีทุกด้าน เป็นต้น
  2. จำแนกโดยมองหรือแสดงความจริงของสิ่งนั้น ๆ ให้ครบทุกแง่ ทุกด้าน ทุกประเด็น คือ เมื่อมองหรือพิจารณาสิ่งใดไม่มองแคบ ๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียว แง่เดียว หรือไม่มองในด้านเดียวของสิ่งนั้น ๆ เช่น เขาดีในแง่ใด ด้านใด หรือไม่ดีในแง่ใด ด้านใด เป็นต้น เป็นลักษณะเสริมในข้อแรก

จำแนกโดยส่วนประกอบ

จำแนกโดยส่วนประกอบ คือวิเคราะห์แยกแยะออกไปให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ เช่น มีองค์ประกอบย่อยอะไรบ้าง การคิดในลักษณะนี้ตรงกับวิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ

จำแนกโดยลำดับ

จำแนกโดยลำดับ คือ แยกแยะวิเคราะห์เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เช่น การคิดแบบอริยสัจ หรือการคิดแบบวิธีการวิทยาศาสตร์จะต้องคิดเป็นไปตามลำดับขั้นตอนคือ คิดวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น –> ตั้งสมมติฐาน –> ทดลอง –> วิเคราะห์ –> สรุปผล เป็นต้น

จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย

จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย คือสืบสาวสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์สืบทอดกันมาของสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทำให้มองเห็นความจริงที่สิ่งทั้งหลายไม่ได้ตั้งอยู่ลอย ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นอิสระจากสิ่งอื่น ๆ และไม่ได้ดำรงอยู่โดยตัวของมันเอง แต่เกิดขึ้นด้วยอาศัยเหตุปัจจัย จะดับไปและสามารถดับได้ด้วยการดับที่เหตุปัจจัย การคิดจำแนกในแง่นี้ เป็นวิธีคิดข้อสำคัญมากอย่างหนึ่ง ตรงกับวิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา ซึ่งได้อธิบายไว้ในบทว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
       ความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์ ทำให้คนโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดความเห็นสุดทางข้างใดข้างหนึ่ง ความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์ ทำให้คนโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดความเห็นสุดทางสืบทอดกัน เนื่องด้วยปัจจัยย่อยต่าง ๆ ความมีหรือไม่มีไม่ใช่ภาวะเด็ดขาดลอยตัว ภาวะที่เป็นจริงเป็นเหมือนอยู่กลางระหว่างความเห็นเอียงสุดสองอย่างนั้น ความคิดแบบจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยช่วยให้มองเห็นความจริงนั้น และตามแนวคิดนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมอย่างที่เรียกว่าเป็นกลาง ๆ คือไม่กล่าวว่า สิ่งนี้มี หรือว่าสิ่งนี้ไม่มี แต่กล่าวว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี หรือว่านี้มีในเมื่อนั้นมี นี้ไม่มีในเมื่อนั้นไม่มี การแสดงความจริงอย่างนี้ นอกจากเรียกว่าอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบาทแล้ว ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามัชเฌนธรรมเทศนา จึงอาจเรียกวิธีคิดแบบนี้อีกอย่างหนึ่งด้วยว่า วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรมเทศนา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรมการจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยนั้น นอกจากช่วยไม่ให้เผลอมองสิ่งต่าง ๆ หรือปัญหาต่าง ๆ อย่างโดดเดี่ยวขาดลอย และช่วยให้ความคิดเห็นได้เป็นสายไม่ติดตันแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงการที่จะให้รู้จักจับเหตุปัจจัยได้ตรงกับผลของมัน หรือให้ได้เหตุปัจจัยที่ลงตัวพอดีกับผลที่ปรากฏด้วย ความที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับความสับสนที่มักเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป 3 อย่างคือ
  1. การนำเอาเรื่องราวอื่น ๆ นอกกรณี มาปะปนสับสนกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี
  2. ความไม่ตระหนักถึงภาวะที่ปรากฏการณ์หรือผลที่คล้ายกัน อาจเกิดจากเหตุปัจจัยต่างกัน และเหตุปัจจัยอย่างเดียวกัน อาจไม่นำไปสู่ผลอย่างเดียวกัน ต้องตระหนักด้วยว่า เหตุปัจจัยอย่างเดียวกันที่ยกขึ้นพิจารณานั้น ไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยทั้งหมดที่จะให้ได้รับผลอย่างนั้น ความจริงสภาพแวดล้อมและเรื่องราวอื่น ๆ ก็เป็นปัจจัยร่วมด้วยที่จะให้เกิดหรือไม่ให้เกิดผล อย่าง นั้น
  3. การไม่ตระหนักถึงเหตุปัจจัยส่วนพิเศษนอกเหนือจากเหตุปัจจัยที่เหมือนกัน  กล่าวคือคนมักมองเฉพาะแต่เหตุปัจจัยบางอย่างที่ตนมั่นหมายว่าจะให้เกิดผล อย่างนั้น ๆ ครั้นต่างบุคคลทำเหตุปัจจัยอย่างเดียวกันแล้ว คนหนึ่งได้รับผลที่ต้องการ อีกคนหนึ่งไม่ได้รับผลนั้น ก็เห็นไปว่าเหตุปัจจัยนั้นไม่ให้ผลจริง เป็นต้น

จำแนกโดยเงื่อนไข

จำแนกโดยเงื่อนไข คือมองหรือแสดงความจริงโดยพิจารณาจากเงื่อนไขต่าง ๆ ประกอบด้วย ยกตัวอย่างเช่น อาจพิจารณาปัญหาทางการศึกษาว่า ควรปล่อยให้เด็กพบเห็นสิ่ง ๆ ต่าง ๆ ในสังคม เช่น เรื่องราวต่าง ๆ หรือการแสดงต่าง ๆ ทางสื่อมวลชน อย่างอิสระเสรีหรือไม่ หรือแค่ไหนเพียงไร ถ้าตอบตามแนววิภัชชวาทในข้อนี้ จะต้องวินิจฉัยได้โดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้คือ
  1. ความโน้มเอียง ความพร้อม นิสัย ความเคยชินต่าง ๆ ของเด็กแต่ละคนที่ได้สะสมไว้โดยการอบรมเลี้ยงดู และอิทธิพลทางวัฒนธรรม เป็น เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เป็นอย่างไรบ้าง พอที่จะรับรู้สื่อต่าง ๆ เหล่านั้นได้หรือไม่
  2. เด็กรู้จัดคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือคิดแบบแยบคาย รอบคอบ แยกแยก ฯลฯ ได้หรือไม่
  3. เด็กมีกัลยาณมิตร คือ มีบุคคลหรืออุปกรณ์คอยชี้แนะแนวทางความคิดความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อสิ่งที่พบเห็นอย่างไรบ้าง
  4. ประสบการณ์ หรือสิ่งที่เด็กได้พบเห็นนั้น มีลักษณะหรือมีคุณสมบัติที่เร้า กระตุ้น หรือยั่วยุ รุนแรงมากน้อยถึงระดับใดดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นคำตอบของคำถามดังกล่าวว่าควรให้เด็กได้ดูสื่อหรือไม่ควรดู อย่างไร
ทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นตัวแปรได้ทั้งนั้น แต่ในกรณีนี้ ยกเอาข้อ 4) ขึ้นตั้งเป็นตัวยืน คำตอบจะเป็นไปโดยสัดส่วนซึ่งตอบได้เอง เช่น ถ้าเด็กมีโยนิโสมนสิการดีจริงๆ หรือในสังคมหรือโดยเฉพาะที่สิ่งมวลชนนั้นเอง มีกัลยาณมิตรที่สามารถจริงๆ กำกับอยู่ หรือพื้นด้านแนวความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศลซึ่งได้สั่งสมอบรมกันไว้โดยครอบ ครัวหรือวัฒนธรรมมีมากและเข็มแข็งจริงๆ แม้ว่าสิ่งที่แพร่หรือปล่อยให้เด็กพบเห็นจะล่อเร้ายั่วยุมาก ก็ยากที่จะเป็นปัญหา และผลที่ต่างๆ ก็เป็นอันหวังได้ แต่ถ้าพื้นความโน้มเอียงทางความคิดกุศลก็ไม่ได้สั่งสมอบรมกันไว้ โยนิโสมนสิการก็ไม่เคยฝึกกันไว้ แล้วยังไม่จัดเตรียมให้มีกัลยาณมิตรไว้ด้วย การปล่อยนั้น ก็มีความหมายเท่ากับเป็นการสร้างเสริมสนับสนุนปัญหา และเป็นการตั้งใจทำลายเด็กโดยใช้ยาพิษเบื่อเสียนั่นเอง

วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง

วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง วิภัชชวาทปรากฏบ่อย ๆ ในรูปของการตอบปัญหาและท่านจัดเป็นวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง ในบรรดาวิธีตอบปัญหา 4 อย่าง มีชื่อเฉพาะเรียกว่า วิภัชชพยากรณ์ ซึ่งก็คือการนำเอาวิภัชชวาทไปใช้ในการตอบปัญหา หรือตอบปัญหาแบบวิภัชชวาทนั่นเอง
เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนี้ พึงทราบวิธีตอบปัญหา (ปัญหาพยากรณ์) 4 อย่างคือ
  1. เอกังสพยากรณ์ การตอบแง่เดียว คือตอบอย่างเดียวเด็ดขาด เช่น ถามว่า จักษุไม่เที่ยงใช่ไหม ? พึงตอบได้ทีเดียวแน่นอนลงไปว่า ใช่
  2. วิภัชชพยากรณ์ การแยกแยะตอบ เช่น ถามว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงได้แก่จักษุใช่ไหม พึงแยกแยะตอบว่า ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น แม้โสตะ ฆานะ เป็นต้น ก็ไมเที่ยง
  3. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ การตอบโดยย้อนถาม เช่น จักษุฉันใด โสตะก็ฉันนั้นโสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้น ใช่ไหม ? พึงย้อนถามว่า มุ่งความหมายแง่ใด ถ้าถามโดยหมายถึงแง่ใช้ดูหรือเห็น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามุ่งความหมายแง่ว่าไม่เที่ยง ก็ใช่
  4. ฐปนะ การยั้งหรือหยุด พับปัญหาเสีย ไม่ตอบ เช่น ถามว่า ชีวะกับสรีระคือสิ่งเดียวกัน ใช่ไหม? พึงยับยั้งเสีย ไม่ต้องตอบ

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...