วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Behavioral (พฤติกรรม)

        การศึกษพฤติกรรมจะช่วยให้ทราบถึงลักษณะนิสัยของมนุษย์ซึ่งประกอบด้วย ความ เชื่อค่่านิยม และบุคลิกภาพ และยังมีสิ่งกำหนดพฤติกรรมและกระตุ้นพฤติกรรมอีกจำนวนหนึ่ง เช่น ทัศนคติ รวมทั้งสถานการณ์ต่าง  จึงเห็นได้ว่า สิ่งที่จะมากำหนดพฤติกรรมมีอยู่มากมาย หากนำมาปรับเข้ากับการวิเราะห์โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์
       สิ่งที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ แยกเป็น ๒ ส่วน
            ๑. ลักษณะนิสัยของมนุษย์
            ๒. สิ่งที่ไม่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยของมนุษย์
            โดยเฉพาะลักษณะนิสัยของมนุษย์จะมีลักษณะ ๓ ประการ คือความเชื่อ ค่านิยม และบุคลิกภาพ นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมอีก เช่น สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมและความเข้มข้นจากสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม ทัศนคติ สภานการณ์
             ในการศึกษาพฤติกจึงต้องใช้หลักจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) สังคมวิทยา (Socialogy) และมนุษย์วิทยา (Anthrology) เข้าช่วย นอกจากนี้ยยังต้องมีการเรียนรู้ทางด้านสถิติเพื่อการจัดสรรข้อมูล รวมทั้งการทดสอบความสัมพันธ์ในด้านการคำนวณ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทราบถึงพฤติกรรมศาสตร์ หรือกล่าวโดยสั้น ๆ ของแนววิเคราะห์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเมือง คือ การนำความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์และจิตวิทยามาผสมผสามช่วยกันอธิบายถึง พฤติกรรมของมนุษย์
            
             ๑. ลักษณะนิสัยของมนุษย์  หมายถึงสิ่ง ๓ ประการนี้คือ ความเชื่อ ค่านิยมและบุคลิกภาพ
             - ความเชื่อ หมายถึงสิ่งที่บุคคลคิดว่า การกระทำบางอย่างหรือปรากฎการณ์บางอย่างหรือสิ่งของบางอย่าง หรือคุณสมบัติของสิ่งของบุคคลบางอย่าง มีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริง ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือการที่บุคคลหนึ่งคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ของข้อเท็จจริง คือเขาคิดว่าข้อเท็จจริงมันเป็นเช่นนั้น ซึ่งความคิดของเขาอันนี้อาจไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็ได้แต่ถ้าเขาคิดว่าความจริงเป็นเช่นนั้นก็คือความเชื่อของเขา
                        การได้มา ความเชื่ออาจจะได้มาโดยการเห็น ได้สัมผัส ได้ยินกับหูหรือได้รับคำบอกกล่าวอ่านจากของเขียนสิ่งพิมพ์ รวมทั้งการคิดขึ้นเอง  ความเชื่อที่ได้มาง่าย อาจเปลี่ยนได้ง่าย
              - ค่านิยม เป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมที่สำคัญ ๆ
                คลีจ คลูซฮอล ให้คำจำกัดความของคำว่าค่านิยมไว้ว่า ค่านิยมคือแนวความคิดทั้งที่เห็นได้เด่นชัดและไม่เด่นชัด ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งเกี่ยกับว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งเป็นความิดที่มีอิทธิพลให้บุคลเหลือกระทำการอันใดอันหนึ่งจากวิชาการที่มีอยู่หลาย ๆ วิธีหรือเลือกเป้าหมายอันใดอันหนึ่งจากหลาย ๆ อันที่มีอยู่
                 เนล สเมลเซอ ให้คำจำกัดความของคำว่าค่านิยมคล้าย ๆ กัน โดยกล่าวว่า ค่านิยมเป็นิส่งที่บอกบุคคลอย่างกว้างๆ ว่าจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในชีวิตเป็นิส่งที่น่าปรารถนาฉะนั้นค่านิยมจึงเป็นเครื่องชี้แนวปฏิบัติอ่ย่างกว้างๆ ให้แก่บุคคล
                ดังนั้นค่านิยมอาจหมายถึงการคำนึง แนวประพฤติปฏิบัติ ว่าอะไรควรหรือไม่ควร เช่นควรจะเป็นคนซื่อสัตย์ อำอะไรก็ต้องทำด้วยความซื่อสัตย์หรืออาจหมายถึง จุดหมายของชีวิต เช่น คนควรจะหาความสุขทางใจให้มากกว่าสะสมความร่ำรวยในทางวัตถุดิบ คิดว่าความสุขทางใจสำคัญว่าการมีวัตถุต่างๆ มากๆ  ลักษณะที่สำคัญอีกอย่างคือ  เป็นลักษณะของความคิดที่ไม่จำเพาะเจาะจง
                           การได้มา ค่านิยมนั้นไอาจได้มาโดยการอ่านคำบอกเล่าหรือคิดขึ้นมาเอง  เช่นปรัชญาของศาสนาพุทธคือการเห็นว่าวัตถุไม่สำคัญเท่าควาสบลทางจิตใจจึงไม่เห็นความสำัญของวัตถุ คือไม่ให้ค่่านิยมแก่วัตถุ ค่านิยมจึงอาจะห้มาโดยการถ่ายทอดจากผู้อื่น คำบอกเล่า จากหนังสือ หรือคิดขึ้นเอง
               - บุคลิกภาพ เป็นอีกส่วนหนึ่งของลักษณะนิสัย คนทั่วไปมักจะนึกถึงบุคลิกภาพในแง่ของลักษณะหน้าตา การแต่งกาย วิธีการพูด วิธีการวางตัว ในที่ต่าง ๆ เพราะฉะนั้นคนที่บุคลิกภาพดีมักจะหมายถึงบุคคลที่รูปร่างหน้าตาดี วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะพูดจาฉะฉานไม่เคอะเขิน และคนที่บุคคลิกภาพไม่ดีก็หมายความถึงบุคคลที่รูปร่างหน้าตาไม่ดี วางตัวไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ พูดจาไม่ฉะฉานงกๆ เงินๆ
                 โรเบิร์ต ลันดิน ให้คำจำกัดความของคำว่าบุคลิกภาพว่า คือเครื่องมือในการกำหนดพฤติกรรมที่มีลักษณะเด่น หลายๆ ประการซึ่งบุคคลได้มาภายใต้สถานการณ์พิเศษ
                 เรย์มอน แคทเทิล ให้คำจำกัดความว่าบุคลิกภาพคือสิ่งที่บอกว่าบุคคลหนึ่งจะทำอะไรา ถ้าเขาอยู่ในสถานการณ์หนึ่ง
                 กอร์ดอน อัลพอร์ต ให้คำจำกัดความว่าบุคลิกภาพว่าคือระบบต่าง ๆ ทางกายและใจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้และเป็นเครื่องกำหนดอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวเองของเขาจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวเขาอย่างไร
                 ดังนั้นบุคลิกภาพคือสิ่งที่บอกว่าบุคคลจะปฏิบัติย่างไรในสถานการณ์หนึ่ง ๆ หมายความว่าถ้าสถานการณ์อย่างเดียวกันแล้ว คน ๒ คน มีพฤติกรรมต่างกัน เราก็อาจจะอธิบายได้ว่าคงเป็นเพราะเขามีบุคลิกภาพที่ต่างกัน และคน ๆ เดียวกันถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่ต่างกันก็ควรจะมีพฤติกรรมต่างกันออกไป
                             การได้มา  การจะอธิบายว่าบุคลิกภาพเกิดขึ้นมาได้อย่างไรนั้นต้องอาศัยทฤษฎีในทางวิชาจิตวิทยา ทฤษฎีหนึ่งคือทฤษฎีแห่งการเรียรรู้ หลักของทฤษฎีนี้บ่งว่าคนหรือสัตว์ ถ้าพฤติกรรมใดนำมาซึ่งรางวัล สัตว์หรือคนๆ นั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมนั้นอีกเมือมีโอกาส แต่ถ้าพฤติกรรมใดนำมาซึ่งการลงโทษ สัตว์หรือคนๆ นั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะไม่ทำเช่นนั้นอีกแม้มีโอกาส

     สิ่งกำหนดพฤติกรรม
๑. สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมและความเข้มข้นของสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม
๒. ทศนคติ
๓. สถานการณ์
                  ๑. สิ่งกระตุ้นพฤติกรรม และความเข้มข้นของสิ่งกระตุ้น
                      พฤติกรรม
      ลักษณะนิสัยของบุคคลคือ ความเชื่อ ค่านิยม บุคลิกภาพ นั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก็จิรงอยู่แต่พฤติกรรมจะเกิดขึ้นยังไม่ได้ถ้าไม่มีสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมนี้จะเป็นอะไรก็ได้ เช่น อาหาร เสียงปืน คำสบประมาท หนังสือ ความหิว ถ้าเราเดินไปตาถนนได้ยินเสียงดังปัง เราก็จะหันไปทางที่มาของเสียงปืนนั้น เสียงปืนนั้นคือสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม เมื่อมองแล้วเห็นคนยืออยู่และกำลังยกปืนเล็งมาทางเรา ๆ ก็จะกระโดดหลบ หรือวิ่งหนี
     สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมนี้มีพลังหรือความเข้มข้น เราจะต้องคำนึงถึงพลังของสิ่งกระตุ้นด้วย สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมอย่างหนึ่งอาจมีพลังในการกระตุ้นพฤติกรรมไม่เท่ากันสำหรับคน ๒ คน
                  ๒. ทัศนคติ คือการที่บุคคลคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง หรือการกระทำอันหนึ่งในทำนองที่ว่าดีหรือไม่ สมควรหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทัศนคตินั้นไม่ใช่พฤติกรรม ทัศนคติเป็นสิ่งที่มาก่อนพฤติกรรมและเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมด้วย ทัศนคติเป็นลักาณะจำเพาะเจาะจงหว่าค่านิยมหรือบุคลิกภาพ เพราะค่านิยมเช่นค่านิยมที่มีต่อระบอบประชาธิปไตย ต่อระบอบคอมมิวนิสต์ ต่อความซื่อสัตย์ ต่อวัตถุ นั้น จะมีลักษณะกว้าง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คนใดคนหนึ่ง
                   ๓. สถานการณ์ หมายถึงสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นบุคคลและไม่ใช้บุคคล ซึ่งอยู่ในสภาวะที่บุคคลกำลังจะมีพฤติกรรม

     "จิตวิทยาสังคม" เป็นการกล่าวถึงการศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลหนึ่งอาทิเช่น การแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก เจตติฯ ที่มีต่อบุคคลอื่นและสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมด้วยวิธีการที่มีระบบระเบียบโดยเฉพาะวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อเข้าใจและทำนายพฤติกรรมต่างก ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ หรือ ..คือสิ่งที่กล่าวถึงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างบุคคลกับบุคคล และบุคคลกับสิ่งแวดล้อมในสังคม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...