นักวิชาการด้านการศึกษาคนดำได้วิเคราะห์โดยเชื่อมโยงประเด็น white Supermacy กับการเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐฯ ว่ามีพื้นฐานมาจากการเกิดขึ้นของแรงงานทาศผิวดำที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ระบบทุนนิยมของสหรัฐฯ นำไสู่สังคมแห่งการแบ่งชนชั้นโดยมีเชื้อชาติเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งในบทความวิชาการของ "คอลิต้า นิโคลส์ แฟร์แฟค" ได้ชี้ให้เห็นว่า ในยุคค้าทาสที่มีการใช้แรงงานทาสเพื่อประโยชน์ในการทำเกษตรกรรมในพื้นที่อาณานิคมของอังกฤษ ช่วยหล่อหลอมความคิดว่าคนผิวสีโดยพื้นฐานเป็นผุ้ที่อ่อนแอกว่าเพราะเป็นเพียงแรงงานไร้ซึ่งอำนาจ ต้องตกอยุ่ใต้การควบคุมของคนผิวขาว ทัศนคติลบต่อคนผิวสีจึงถูกปลูกฝังในสังคมอเมริกันและยุโรปมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแนวคิดยึดยุโรปเป็นศูนย์กลาง ได้นำไปสู่การใช้สถาบันหรือนโยบายตางๆ ทางการเมือง เศรษฐกิจและการค้า กฎหมาย สวัสดิการต่างๆ ตลอดจนการศึกษา เป็นเครื่องมือในการกีดกันคนผิวสีไม่ให้ได้รับสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกับคนผิวขาว
นอกจากนี้ยงมีงานวิจัย ที่เสนอว่า กระแสการเหยียดเชื้อชาติ และ "ไว้ท์ ซูเปอร์เมซี่" ดำเนินอยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจรัฐด้วยยกตัวอยางกรณีที่สภาคองเกรสพิจารณาเห็นชอบให้พระราชบัญญัติกีดกันชาวจีน ปี 1882 มีผลบังคับใช้เพื่อเป็นมาตรการปกป้องประโยชน์ของคนอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจาการอพยพเข้ามาของกลุ่มแรงงานชาวจีนในยุคตื่นทาองตั้งแต่ช่วงปี 1848 พระรชบัญญัติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นวาการแบ่งแยกทางเชื้อชาติและ "ไวท์ ซูเปอร์เมซี่" ในสังคมอเมริกัน ถุกขับเคลื่อนไปด้วยโครงสร้างอำนาจทางกฎหมายร่วมด้วย จึงเห็นได้ว่ารัฐได้บังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่จำกัดเพียงคนผิวสีเท่านั้น
นอกจากปัญหาการเหยียดเชื้อชาติในอเมริกาจะเร่ิมต้นจากประวัติศสตร์สมัยอาณานิคมอังกฤษแล้ว ภูมิภาคยุโรปยัวมีอิทธิพลในการส่งต่อกระแสความเกลี่ยดชังทางชาติพันธุ์มายังสหรัฐฯ ด้วย ดดยในงานวิจัยของ พีท เซมิ และ โรเบิร์ต ฟัทรีล ได้อธิบายอิทธิพลของลัทะินาซีใหม่ที่ตกทอดมาจากระบอบนาซีเยอรมันในสมัยสงคราม ว่าได้นำไปสู่การสนับสนุนความคิดคนขาวเป็นใหญ่ภายใต้วามเชื่อเร่องความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติอารยัน เนื่องจากชาวอเมริกันผิวขาวต่างต้องการกลับมาเป็นใหญ่เหนือชนชาติอื่นที่มิใช่อารยัน ในสภาวะที่โลกมีการแลเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย นขาวจึงรู้สึกว่าตนถุกคุกคามจากชนชาติอืน รวมทั้งเชื้อชาติอารยันอันสูงส่งและบริสุทธิ์ของตนกำลังถุกลอทอนคุณค่าด้วยเช่นกัน ดังนั้น กระแสการเหยียดเชื้อชาติจึงกลับมามีความเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นในอเมริกา ภายใต้การขับเคลื่อนลัทะินาซีใหม่โดยขบวนการเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐฯ ที่สั่งสมความเกลี่ยดชังในคนผิวสีจนนำไปสู่การก่อความรุนแรง เช่นกลุ่ม "คู คลัค แคลน" KKK ที่มีการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วยการขับเคลื่อนและแพร่กระจายลัทะินาซีใหม่ในสหรัฐฯ ช่วงปลายศตวรรษที่ 20...
ในบทความวิจารณ์ของ คาส มัดด์ ได้อธิบายที่มาของความนิยมในมวลชนต่อระบอบการปกครองแบบประชานิยมขวาจัด ในยุคหลังสงครามแย็นไวว่ากระแสฝ่ายขวาประชานิยมได้ปรากฎอย่างชัดเจนจึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2010 ดดยมีสาเหตุหลักมาจากเหตุกาณ์ก่อการร้าย 9/11 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและุสังคม การเพ่ิมขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศ ซึ่งล้วนสืบเนื่องมาจากกระแสดลกาภิวัตน์และการอพยพย้ายถ่ินฐานหลายประเทศจึงเล็งเห็นวาปัฐหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงของรัฐ ในช่วงทศวรรษดังกล่าวเราจึงเห็นผุ้นำหลายประเทศในยุดรปจากพรรคการเมืองฝ่ายขวาได้รับคะแนนนิยมและชนะการเลือกตั้ง ผุ้นำในยุคนี้ต่างมีทัศนคติเชิงลบต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ในศตวรรษที่ 21 สหรัฐฯเผชิญปัญหาการก่อความรุแแรงโดยกลุ่มขวาจัดที่เพิ่มมากขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งรายงานวิจัยหนึ่งระบุว่า กลุ่มหัวรุนแรงขวาจัดในสหรัฐฯ ได้ก่ออาชญากรรมเพ่ิมขึ้น "..ระหว่างปี 2007-2017 ในเกือบทุกมลรัฐ และการเคลื่อนไหวของลัทธินาซีใหม่ที่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้นในสังคมอเมริกัน ในต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา นอกจากกระแสนิยมขวาจัดจะเกิดขึ้นจากความเกลียดกลัวคนต่างชาติจนนำไปสู่การก่ออาชญากรรมของกลุ่มหัวรุนแรงแล้ว ฝ่ายขวาประชานิยมยังก้าวขึ้นมาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางสืบเนืองจากวิกฤติทุนนิยมที่สงผลให้ประชาชนหลายกลุ่มต้องเปชิญกับภาวะความไม่มั่นคงทางเศราฐกิจอีกดั้วย โดยตังแต่สิ้นสุดสงครามเย็น การล่มสลายขงอค่ายคอมมิวนิสต์ทำให้ระบบเศราฐกิจทุนนิยมกลายเป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนการเมืองและเศรษฐกิจ จนนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคมทั่วทุกมุมโลก
อธิบายว่า เนื่องจากระบอบการเมืองฝ่ายซ้ายไม่อาจแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเพื่อสร้างการกระจายรายได้อยางเป็นธรรมได้อย่างแท้จริง ทำให้มวลชนจำนวนมากหันมาหวังพึงระบอบอนุรัาษ์นิยมฝ่ายขวาซึ่งได้อาศัยความดกระและความเกลียดชังของกลุ่มประชาชนที่กำลังตกทุกข์ไ้ยากาสร้างเป็นวาทกรรมการเมืองเพื่อเป็นพื้นที่แบ่งปันความรู้สึกร่วมกันของมวลชนและผุ้นำทางการเมือง เห็นไ้จากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา อุดมการณืประชานิยมขวาจัดที่ขึ้นมามีชัยชนะเหนือการเมืองฝ่ายเสรีในหลายภูมิภาค ล้วนแล้วแต่มีสาเหตะมาจาการดำเนินนดยบายเศราฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่นำไปสู่การแปลงทรัพย์สินของรัฐให้เป็นของเอกชน ทำให้กลุ่มนายทุนและทุนต่างชาติเข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศมากขึ้น และได้เข้ามาพรากความกินดีอยุ่ดีของประชาชนคนทั่วไปด้วย เพราะรัฐที่มีภาระหนี้่สินมหาศาลก็ไม่สามารถเข้ามาช่วยเยียวยาประชาชนให้ได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเท่าเที่ยม "คาพัว" สรุปว่า วิกฤติทุนนิยมได้สร้างความโกธเคืองแก่ประชาชนขนานใหญ่ เพราะพวกเขารู้สึกว่าถูกทอดทิ้งจากการปกป้องคุ้มครองของรับที่มีนโยบายเื้อประดยชน์ต่อชนชาติอื่นที่อพยพเข้ามาในประเทศมากขึ้น ดังเช่นวิกฤติเศราฐกิจในสหรัฐฯ ปี 2008
การเข้ามามีบทบาทอย่างโดดเด่นของฝ่ยขวาอนุรักษ์นิยมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจึงสะท้อนความไม่พอใจของประชาชนต่อการพัฒนาเศรษกิจของรัฐแบบเสรีนิยมใหม่ทีททำให้พวกเขารุ้สึกลายเป็นคนชายขอบที่สูญเสียผลประดยชน์ไปจากสังคมแสหลัก อีกทั้งระบอบการเมืองฝ่ายซ้ายก็ไม่อาจแก้ปัญหาช่องว่างทางรายได้ที่เกิดขึ้น มวลชนจึงหันไปพึ่งพิงฝ่ายขวาประชานิยมที่มุ่งหมายจะเข้ามาลดบทบาทของชาวต่างๆ ชาติและขจัดอิทธิพลของทุนต่างชาติ ตามที่ สเลวอจ ซิซีค ได้วิเคราะห์การสร้างวาทกรรมของฝ่ายประชานิยมเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามภายนอก ด้วยการสร้างตราบาปแก่ผุ้อพยพลี้ภัยต่างๆ ว่าได้เขามาแย่งงานที่ควรจะเป็นคนในชาติไป รวมทั้งเข้ามาก่อเหตุล่วงละเมิดทางเพศในกลุ่มสตรี "..วาทกรรมฝ่ายประชนิยมจึงเป็นการแบ่งแยกระหว่างพวกเราและพวกเขา เพื่อยกย่องความเป็นพวกพ้องเดียวกันของกลุ่มคนให้สุงส่งเหนือคนอื่น.."
ที่มา : https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=8355&context=chulaetd