มีการวางรากฐานของจักรวรรดิอังกฤษตั้งแต่อังกฤษและสกอตแลนด์ยังเป็นราชอาณาจักรที่แยกจากกัน หลังโปรตุเกศและสเปนประสบความสำเร็จในการสำรวจโพ้นทะเล ถึงกระนั้นอังกฤษก็ไม่มีความพยายามทีจะก่อตั้งอาณานิคมอังกฤษเพิ่มเติมอีกในทวีปอเมริกเรื่อยมากระทั้งรัชสมัย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 การปฏิรูปโปรแตสแตนต์ทำให้อังกฤษทรงให้นักเดินเรือส่วนตัว จอห์น ฮิว์กินส์ และฟรานซิส เดรก ทำการโจมตีปล้นทาสตามเรือสเปนและโปรตุเกสซึ่งแล่นออกจกาชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายระบบการค้าแอตแลนตกิ ความพยายามดังกล่าวถูกยับยั้ง และเมื่อสงครามอังกฤษสเปนทวีความรุนแรงขึ้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงอนุญาตให้ขยายโจมตีแบบโจรสลัดไปจนถึงเมืองท่าของสเปนในทวีปอเมริกาและการเดินเรือที่แล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกลับมา ซึ่งเรือนี้เต็มไปด้วยทรัพย์สมบัติซึ่งขนกลับจากโลกใหม่ ขณะเดียวกัน นักเขียนที่มีอิทธิพล อาทิ ริชาร์ด ฮัคลุยต์ และจอห์นดี เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า “จักรวรรดิอังกฤษ” และเริ่มผลักดันในมีการก่อตั้งจักรวรรดิที่เป็นของอังกฤษเอง ซึ่งในเวลานั้น สเปนได้สร้างถิ่นฐานอย่างมั่นคงในทวีปอเมริกา ส่วนโปรตุเกสได้สร้างสถานีการค้าและค่ายทหารจากชายฝั่งทวีปแอฟริกา และบราซิลถึงจีนและฝรั่งเศสเองก็ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ซึ่งต่อมาภายหลังกลายเป็นอาณานิคมนิวฟรานซ์ แม้วาอังกฤษจะมาที่หลังในการล่าอาณานิคมแต่อังกฤษก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์ คล้ายกับการรุกรานของชาวนอร์มัน
ในปี ค.ศ. 1603 สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ ได้ทรงสืบราชบัลลังก์อังกฤษต่อมา และได้ทรงเจรจาในสนธิสัญญาลอนดอน ในการยุติความบาดหมางกับสเปน หลังจากการสงบศึกกับคู่แข่งที่สำคัญ ความสนใจของอังกฤษเปลี่ยนจากการหาผลประโยชน์จากดครงสร้างพื้นฐานทางอาณานิคมของชาติอื่นมาเป็นกิจการการก่อตั้งอาณานิคมโพ้นทะเลเป็นของตนเอง จักวรรดิอังกฤษได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยการก่อตั้งนิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะเล็กๆ แถบคาริบเบียน ตลอดจนการจัดตั้งบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ชื่อ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เพื่อทำการค้าขายกับทวีปเอเชีย ในช่วงนี้จนไปถึงการสูญเสียสิบสามอาณานิคม หลังจากการประกาศอิสรภาพสหรัชอเมริกา ไปจนถึงส้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้รับกล่าวถึงในเวลาต่อมาว่าเป็น “จักรวรรดิอังกฤษที่หนึ่ง”
“จักรวรรดิอังกฤษที่สอง” การปกครองอินเดียของบริษัท การดำเนินการ บริษัทอินเดียตะวัน ออกของอังกฤษให้ความสำคัญกับการค้ากับอนุทวีปอินเดีย เพื่อที่จะได้ไม่อยู่ในฐานะที่จะท้าทายอำนาจของจัรวรรดิโมกุลอันเกีรยงไกร บริษัทได้รับสิทธิการค้า ช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิโมกุลเริ่มเสื่อมอำนาจและบริษัทอินเดียตะวันออกกำลังต่อสู้กับบริษัทคู่แข่วสัญชาติฝรั่งเศสในสงครามคาร์นาติก ซึ่งกองกำลังอังกฤษ ภายใต้การนำของโรเบิร์ต คลิฟ สามารถเอชนะฝรั่งเศสและพันธมิตรชาวอินเดีย บริษทัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษจึงปกครองอ่าวเบงกอล และเป็นอำนาจทางทหารและทางการเมืองทียิ่งใหญ่ของอินเดีย การยึดครองอินเดียของบริษัทประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์ การกบฎในอินเดีย ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษยุติบทบาทลง และอินเดียถูกปกครองโดยตรงภายใต้บริติชราช
การสูญเสียสิบาสมอาณานิคม และความสัมพันธ์กับสหรับอเมริกา
ความสัมพันธ์ระหว่างสิบสามอาณานิคมและอังกฤษเริ่มตึงเครียดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอยางยิ่งความไม่พอใจในความพยายามของรัฐสภาอังกฤษที่จะปกครองและเก็ภาษีชาอาณานิคม โดยปราศจากความยินยอม โดยสรุปเป็นสโลแกนว่า “ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน” ความไม่เห็นด้วยในการรับประกันสิทธิความเป็นชาวอังกฤษ ได้ทำให้เกิดการปฏิวัติอเมริก และประกาศอิสรภาพในเวลาต่อมา..
“ความมั่นคงของประชาชาติ” โดยอดัม สมิธ ได้โต้แย้งว่าอาณานิคมมีมากเกินไป และควรนำระบบการค้าเสรีเข้ามาแทนนโยบายพาณิชยนิยมแบบเก่า ซึ่งเป็นลักษณะของการขยายอาณานิคมในช่วงแรก ซึงย้อกลับไปจนถึงลัทธิคุ้มครอง ของสเปนและโปรตุเกส สมิธยืนยังมุมมองที่ว่า การควบคุมทางการเมือไม่จำเป็นต่อความสำเร็จในทางเศรษฐกิจ ความตึงเครียรระหว่างชาติทั้งสองทวีขึ้นระหว่างสงครามนโปเลียน อังกฤษพยายาที่จะขึดขวางการค้าระหว่างสหรัฐกับฝรั่งเศสและส่งคนขึ้นเรื่ออเมริกาเพื่อเกณฑ์ลุกเรือสัญชาติอังกฤษแต่กำเนิดให้เข้าสูราชนาวี สหรัฐจึงประกาศสงคราม ทั้งสองฝ่ายพยายามที่จะเพ่มค่าใช้จ่ายของฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด แต่ประสบความล้มเหลวทั้งสองฝ่าย สันธิสัญญาเก้นท์ จึงเกิดขึ้น เหตุการในทวีปอเมริกามีอิทธิพลต่อนโยบายของอังกฤษในแคนาดา พวกรอยังลิสต์ที่แพ้สงครามปฏิวัติได้อพยพออกจากอเมริกาภายหลังการประกาศอิสรภาพ รัฐบาลอังกฤษแบ่งนิบรันสวิกออเป็นอาณานิคมต่างหาก จัดตั้งมณฑลอัปเปอร์แคนาดา ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ และโลว์เออร์แคนาดา ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างประชาคมอังกฤษและฝรั่งเศส และรูปแบบการปกครองคล้ายคลึงกับที่ใช้ในอังกฤษ โดยมีเจตนาเพิ่มอำนาจของจักรวรรดิและ ไม่อนุญาตให้อยู่ภายมต้การปกครองของประชาชน ซึ่งได้นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกา
แปซิฟิก หลังจากสูญเสียสิบสามอาณานิคม สภานการณ์บังคับให้มีการหาสถานที่ใหม่สำหรับขนส่งนักโทษ และรัฐบาลอังกฤษได้ให้ความสนใจไปยังดินแดออสเตรเลียซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ ชายฝั่งด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เรื่อขนนักทษมายังนิวเซาท์เวลส์และในเวลาต่อมาอาณานิคมมีประชากรอาศัยอยูถึง 56,000 คน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นนักโทษ อดีตนักโทษ หรือผู้สืบสกุลของนักโทษเหล่านี้ อาณานิคมออสเตรเลียได้กลายมาเป็นแหล่งส่งออกขนแกะและทองอันสร้างรายได้มหาศาล
ในระหว่างทางยังได้เดินทางไปถึงนิวซีแลนด์ ปฏิสัมพันธระหวางประชกรพื้นเมืองของมาวรี และชาวยุโรปจำกัดอยู่เพียงภารแลกเปลี่ยนสินค้าเท่านั้น บริษัทนิวซีแลนด์ประกาศแยนที่จะซื้อที่ดินขนาดใหญ่และก่อสร้างอาณานิคมในนิวซแลนด์และร่วมสงนามในสนธิสัญญาไวทังกิ โดยกับตันวิลเลียม ฮอบสัน และหัวหน้าชนเผ่ามาวรีอีกราว 40 คน ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเอกสารก่อตั้งนิวซีแลนด์ แต่ความแตกต่างในการตีความข้อความในเอกสารภาษามาวรีและภาษาอังกฤษ ซึ่งก็หมายความว่ามันจะยังคงเป็นที่มาของความขัดแย้งต่อไป
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น