ชาตินิยม คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็ฯมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ บางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุกๆเรื่องการกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจักว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม..
เยอรมัน มีสภาพเช่นเดียวกับอิตาลี คือเป็นกลุ่มรัฐย่อยๆ ที่เข้ารวมกันในนามของสมรพันธรัฐเยอรมัน นโปเลียนยกเลิกอาณาจักรนี้ พร้อมกันนั้นได้รวมดินแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีเป็นของฝรั่งเศส จัดตั้งดินแดนส่วนบริเวณตอนกลาง ตั้งขึ้นเป็นสมาพันธ์รัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส และผลักดันออสเตรียออกจากเยอรมนีไปทางตะวันออก และโดดเดียวปรัสเซียให้อยู่ตามลำพัง ให้มีฐานะเป็นัฐกันชนภายใต้ร่มเงาเขตอิทธิพลรัสเซีย การกระทำของนโปเลียนก่อให้เกด การรวมตัวของพลังชาตินิยมขึ้นอย่างเงียบๆ
ศตวรรษที่ 19 ลัทธิโรแมนติคกับลัทธิชาตินิยมมีอิทธิพลเท่าเทียมกัน ในการพัฒราด้านความคิดของชาวเยอรมัน นักเขียน กวี นักแต่งเพลง ของสมัยโรมแมนติค ได้สอดใส่ความรู้สึกชาตินิยมไว้ในผลงานของตนอย่างเต็มที่ การเชิดชูวีรบุรุษที่จะสามรถรวมเยอมันเข้าไว้ด้วยกัน นักปรัชญาและนักเขียนพยายามวิพากษ์วิจารณ์ชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรมเยอรมันที่สูงส่งกว่าชาติอื่น ๆ Volk เฮเกลใช้กฎไดอาเลคติคอธิบายให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่จะมีพื้นฐานมาจากการไม่เป็นอันเหนึ่งอันเดียวกัน ความแข็งแกร่งจะเกิดขึ้นจากความอ่อนแด และ เฟรดริค ลิส ได้ชี้ให้เห็นถึงพลังทางเศรษฐกิจที่จะมีส่วนทำให้ความใฝ่ฝันของชาวเยอรมันเป็นจริงขึ้นมา
ความคิดเสรียิยมเป็นพลังสำคัญเช่นเดียวกับชาตินิยม ชนชั้นกลางชาวเยอรมันต้องการการปกครองแบบรัฐสภา และฐบาลยื่นมือเข้าช่วยเหลือตนบ้างด้านเศรษฐกิจ ต่างมีความเห็นต้องกันว่า การรวมเยอรมนีจะสนองความต้องการทั้ง 2 ประการได้ กลุ่มเสรีนิยมดำเนินการในสภาแฟรงเฟิร์ด การพ่ายแพ้ของกลุ่มเสรีนิยม ได้เปลี่ยนมาเป็นความคิดปฏิกิริยา และจะเห็ฯว่าลัทธิทหาร และลัทธิการเมืองที่แสดงอำนาจ เป็นทางเดียวที่จะทำให้ประเทศเป็นปึกแผ่นได้
ปรัศเซียแสดงท่าที่เป็นผู้นำของรัฐเยอรมันทั้งหมด ศตวรราที่ 19 เยอรมนียังเป็ฯประเทศกสิกรรมที่ล้าหลังจะมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่บ้างก็เป็นจำนวนน้อย เยอรมันเคยได้รับการพัฒนามาบ้างโดยนโปเลียน แต่ทักอย่างหยุ่ดชงักลง มีเพียงปรัสเซียที่ก้าวไปข้าหน้า แผนการณ์ที่จะรวมเยอรมันของปรัสเซียถูกตระเตรียมไว้เป็นที่แน่นอแล้ว แต่ถูกขัดขวางโดยออสเตรีย แผนการณ์จึงถูกเลื่อนไปอีกระยะหนึ่ง
เกิดความไม่สงบในปรัสเซียการเพิ่มกำลังทหารทำให้สภาผู้แทนซึ่งมีกลุ่มเสรีนิยมคุมเสียช้างมาก เกิดการเผลิญหน้าระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติและอาจนำมาซึ่งสงครามกลางเมือง บิสมาร์ค ๔กเรียกตัวมาแก้สถานการณ์ ข้ามราดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีปรัสเซีย บิสมาร์คเป็นอนุรักษ์นิยมพอๆกับแมทเทอนิค แต่วิธีการแตกต่างกัน แมทเทอนิคต่อต้ากการปฏิวัติ แต่บิสมาร์คเป็นผู้น้ำปฏิวัติ และใช้มันให้เป็นประโยชน์ บิสมาร์คสำนึกถึงสถานการณ์ที่แท้จรเง เขาเขียนจดหมายถึงภริยา โดยกล่าวว่า “ เวลาของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชได้สิ้นสุดลงแล้ว และการปกครองโดยผู้แทนทของประชาชนจะต้องเป็นจริงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เราจะต้องพยายามดึงอำนาจให้อยู่กับพระมหากษัตริย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” ..
บิสมาร์คอ้งเสมอว่าต้องการทำให้เยอรมรีเป็นปึกแผ่นรวมกัน แต่แท้จริงเป็นการแบ่งแยกเยอรมนีกับออสเตรีย และยังใช้กำลังทหารเอาชัยเหนือออสเตรียและฝรั่งเศสและยังทำให้อาณาจักรทั้งสองมีสภพจอมปลอมว่ายิ่งใหญ่และเป็นเอกราชต่อไปอีก เขาสนองความต้องการของคนเยอรมันเรื่องสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป แต่เพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นของตนเอง เท่านั้น แต่บิสมาร์คมีความสามารถควบคุมเยอรมันไว้มิให้ก่อความรุนแรงได้
บิสมาร์คเป็นคนหลอกลวง ไม่ว่าจะเรื่องส่วนตัว หรือนโยบายการเมือง ใช้วิธีการ blood and iron ในขณะที่พูดถึงสันติภาพ แสดงตนเป็นพลเรือน แต่ใช้วิธีการทางการทหาร รวมทั้งมีอิทธิพลเหนือนายพลเยอรมันอีกด้วย บิสมาร์คเป็นบุคคลแบบผู้ดียุงเกอร์(Junker คือผุ้ดีชนบท ปรัสเซีย ชอบดื่ม ชอบต่อสู้ แต่ก็ใช้มันสมอง) เป็นนักชาตินิยมปรัสเซีย แต่มิใช่ชาตินิยมเยอรมันใฝ่ฝันที่จะเห็นความยิ่งใหญ่ของปรัสเซีย
บิสมาร์คมีนโยบายแสวงหาความมั่งคงทังภายในและภายนอก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำเพื่อป้องกันอันตราย นโยบายภายใน บิสมาร์คมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความสมดุลทางการเมือง เขาใช้ทั้งกลุ่มเสรีนิยมและยุงเกอร์สนับสนุนซึ่งกันและกัน ดึงเสียงโรมันคาทอลิคด้วยลัทธิชาตินิยม แล้วกลับใช้กลุ่มคาทอลิคกำจัดพวกชาตินิยมหัวรุนแรง ด้านเศรษฐกิจเขาพยายามสร้างระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง กสิกรรมเพื่อกลุ่มยุงเกอร์ และอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของเยอรมันยุคใหม่ และเพื่อทำลายฝ่ายอนุรักษ์นิยม แต่บิสมาร์คก็กลัวทั้งพวกชาตินิยมและพวกสังคมนิยมในขณะเดียวกัน เขาจึงพยายามเพียงเลื่อนเหตุวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นไว้ชัวระยะยหนึ่ง ซึ่งก็ล้มเหลวและความล้มเหลวของบิสมาร์คก็คือความล้มเหลวของฝ่ายอนุรักษ์นิยม .. เยอรมันก้าวมาเป็นหนึ่งของมหาอำนาจของโลก โดยบิสมาร์คไม่สามารถจะยับยั้งได้อีกต่อไป
วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น