อู่ฮั่นยังไม่ปรากฎชื่อ ในสมัยวสันทฤดู หรือในยุคสมัยเลียดก๊ก มีเพียงหูเป่ย ซึ่งเป็นเมืองเอกอยู่ในรัฐฉู่ ในยุคสมัยสามก๊ก ได้มีการทำยุทธนาวี ที่เรารู้จักกันในชื่อ ยุทธการเชกแพค หรือ ยุทธการผาแดง ซึ่งอยู่ที่ตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ห่างจาก อู่ฮั่นในปัจจุบัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 32 กิโลเมตร ยุทธนาวีครั้งนั้น เป็น หนึ่งในสามยุทธการทางการสหารที่ใหญ่ที่สุดในยุคสามก๊ก และเป็นสงครามที่เปิดฉากก๊กทั้งสามให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนตั้งแต่จบสงครามครั้นนั้น..
ยุทธการที่อู่ฮั่น เป็นที่รู้จักกันดีของชาวจีนว่า "การป้องกันอู่ฮั่น" และที่ญี่่ปุ่นได้เรียกขานว่า การยึดครองอู่ฮั่น เป็นการสุ้รบขนาดใหญ่ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การต่อสุ้รบครั้งนี้ได้เกิดขึ้นในบริเวณหลายพื้นที่ของมณฑล อันฮุย เหอหนาน เจียงซี เจ้อเจียง และหูเป่ย ซึ่งกินเป็นเวลานานกว่าสี่เดือนครึ่ง ยุทธการนี้เป็นการรบที่ยืดเยื้อยาวนาน ขนาดใหญ่ และสำคัญมากที่สุดในช่วงรยะยแรกในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ สอง ทหารของกาองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนจำนวนกว่า ล้านนาย จากเขตสงครามที่ 5 และ 9 ภายมต้การบังคับบัญชาโดยตรงจาก เจียงไคเชก เพื่อป้องกันอู่ฮั่น จาก กองทัพพื้นที่จีนตอนกลางของกองทัพจักรวรรดิญีุ่ป่น ภายมต้การนำของ ชุนโรกุฮาตะ ฝ่ายกองทัพจีนยังได้รับการสนับสนัดจากกลุ่มทหารอาสสมัครโซเวียด กลุ่มนักบินอาสาสมัคจากกองทัพอากาศโซเวียต..
แม้การสู้รบได้จบลงด้วยการเข้ายึดครองอู่ฮั่นในที่สุดโดยกองทัพญี่ปุ่น แต่ก็ได้ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและล้มตายอย่างมากต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 1.2 ล้านนายที่ได้ีการรวมกันโดยประมาณ...
อู่ฮั่น ตั้งอยู่ครึ่งทางต้นน้ำของแม่น้ำแยงซี เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของจีนมีประชากร 1.5 ล้านคนในปลายปี ค.ศ. 1938 แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำฮันชุย ได้ไหลผ่านแบ่งเมืองเป็นสามเขตได้แก่ อู่ชาง,ฮั่นโจวและฮันหยาง อูชางเป็นศุนย์กลางทางการ เมืองฮันโข่วเป็นย่านการค้าและฮันยางเป็นเขตอุตสาหกรรม หลังจากเสร็จสิ้นการสร้างเส้นทางรถไฟเยว่ฮัน ความสำคัญของอู่ฮั่นในฐานะศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญในกิจการภายในของจีนได้รับการจัดตั้งขึ้น มันยังทำหน้าที่เป็นจุดผ่านแดนที่สำคัญสำหรับความช่วยเหลือจกต่างประเทศที่ย้ายเข้ามาจากท่าเรือทางใต้
หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ยึดครองเมืองหนานจิง หน่วยงานรัฐบาลจีนคณะชาติและกองบัญชาการกองทัพได้หนีไปตั้งอยุ่ในอู่ฮั่นแม้ว่าเมืองหลวงถูกย้ายไปยังฉฝชิ่ง อู่ฮั่นจึงกลายเป็นเมืองหลวงแห่งสงครามอย่างแท้จริงเมื่อเร่ิมภารกิจในอู่ฮ่น ความพยายามทำสงครามของจีนจึงมุ่งเน้นไปที่การปกป้องอู่ฮั่นจากการครอบครองโดยญี่ปุ่น จักวรรดิญีุ่ปุ่นและศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพญี่ปุ่นประจำจีนต่างคาดหวังว่าเมืองอุ่ฮั่นจะล่มสลายพร้อมด้วยการยอมแพ้ของชาวจีนภายในหนึ่งหรือสองเดือน..https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99
ยุทธการเขื่อนแตก..เป็นหนึ่งในยุทธการที่จะป้องกันอู่ฮั่น
...รัฐบาลจีน ได้ระดมกลังทหาร มาจากกองพันทหารช่าง เครื่องจักรกลงานดินรวมทั้งเกณฑ์ประชาชนในพื้นที่เข้าทำลายคันกั้นน้ำของแม่น้ำเหลืองที่ตำบลเซ่าโค่ว เนื่องจากเป้นจุดที่คันกั้นน้ำม่ีความหนาน้อยที่สุด การขุดเกือบจะสำเร็จ แต่ต้องหยุดไปด้วยสาเหตุที่ไม่แน่ชัด เปลี่ยนที่ขุดใหม่าที่ตำบลฮั่วหยวนโคว่ หลังจากที่ได้รับอนุมัติการขุดก็เริ่มต้นอีกครั้ง และเพื่อไม่ให้ทหารญี่ปุ่นรู้ จึงใ้เพียงพลัวสนามของทหารดดยไมใช้เครื่องจักรช่วย จุดที่ถูกเลือกเป็นโค้งน้ำที่กระสแน้ำไหลเบียดริมฝั่งด้านทิศใต้ดังนั้นเมือถูกเจาะน้ำจะพุ่งตรงออกทางช่องที่เปิด ทางจีนไม่ได้ขุดช่องทางระบายน้ำเล็กๆ แต่ต้องการสร้างสภาวะเขื่อนแตกให้น้ำทะลักออกทันที่จำนวนมากเพื่อให้กระแสน้ำท่วมทำลายกองทัพญี่ปุ่น ดังนั้นจึงขุดดินเพื่อทำให้คันกั้นน้ำบอบบางลงเป็นแนวยาวประมาณ 300 เมตรพอได้ที่ก็เจาะช่องให้นำ้ออกสองจุดหัวท้าย พอน้ำเริ่มไหลก็จะกัดเซาะแนวคันกั้นน้ำที่ถูกทำให้บอบบางที่อยู่ระหว่างกลาง และเชื่อมต่อกันเป็นช่องทางน้ำขนาดใหญ่
การขุดเจาะน้ำทำทั้งกลางวันและกลางคืนแข่งกับเวลาที่ทหารญี่ปุ่นกำลังรุกคืบใกล้เข้ามาทุกขณะ โดยกองบัญชาการที่อู่ฮั่นจะติตต่อสอบถามความคืบหน้าเกือบทุกชั่วโมง ในทีสุด ทหารช่างก็เร่ิมปล่อยน้ำผ่านช่องทางที่ขุด ในตอนแรกทางน้ำยังเล็ก แต่วันรุ่งขึ้นเกิดผนตกใหญ่บริเวณ้นน้ำ ระดับในแม่น้ำเหลืองสูงขึ้น ทำให้ช่องที่ถูกเจาะขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว เพียงไม่นานแม่น้ำเหลืองก็ไหลทะลักออกทางคันกั้นน้ำที่ถูกทำลาย จนมวลน้ำของแม่น้ำเหลืองได้เปลี่ยนเส้นทางไปการไหลหลักเข้าสู่ที่ราบของมณฑลเหอหนานแทนท่จุไหลงงทะเลที่อาวไปไห่
น้าท่วมได้แผ่ขยายพื้นที่ออกไป ทำให้การรุกของญี่ปุ่นต้องหยุดชะงักไปชั่วคราว อย่างไรก็ตามทิศทางการไหลของน้ำได้เป็นไปตามที่ทางจีนคาดการณ์ไว้ คือผ่ากลางมณฑ,เหอหนานไปลงแม่น้ำฮวย และทำให้แม่น้ำฮวยเอ่อล้นท่วมสองฝั่งไปจนถึงทะเลสาบหงเจ๋อในมณฑลเจียงซู โดยที่สุดแล้วน้ำท่วมได้ทำใหเกิดแถบที่ลุ่มหนองบึงที่ยาวมากกว่า 400 กิโลเมตร ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนกองทัพผ่าน ทำให้แผนการเข้าตีอู่ฮั่นจากทางด้านเหนือของญี่ปุ่นต้องยกเลิกไป
...เนืองจากทางการจีนไม่ได้ประกาศเตือนให้ประชาชทราบล่วงหน้า เพราะคาดหวังว่าน้ำท่วมจะสามารถทำลายกองทัพญี่ปุ่นได้บางส่วน โดยในระหว่าสงครามทางจีนเคยคาดว่ามีทหารญีุ่ป่นจมน้ำตายในอุทกภัยครั้งนี้ไม่ก่าหมื่นน แต่หลักฐานของทางญี่ปุ่นไม่มีบันทึกถึงความสูญเสีย ในปัจจุบันพบว่าตอนที่เกิดน้ำท่วมนั้นแนวหน้าของญี่ปุ่นยังเคลื่อมาไม่ถึงบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม หรือมิฉะนั้นก็สามารถอยหนีได้ทัน จึงเชื่อว่าไม่มีทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ส่วนทางด้านจีน เนื่องจากไม่มีการประกาศเตือนภัย จึงมีแต่คนในพื้นที่ใกล้เขื่อนเท่านั้นที่รู้ข่าวและเตรียมตัวได้ทัน ส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปต้องเผชิญกับน้ำท่วมโดยไม่รู้ตัว ผู้คนพากันหนีน้ำขึ้นไปรอความช่วยเหลืออยู่บนหลังคา แต่เนื่องจากเป็นภาวะสงครามทำให้วมช่วยเหลือมีมาน้อย
ในบงพื้นที่ระดบน้ำค่อยๆ สูงๆ ขึนจนท่วมมิดหลังคาบ้านชนบทที่มักจะมีชั้นเดียว ทำให้มีคนจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะถูกน้ำท่วมพื้นที่บริเวณนั้นมีคนอยู่อาศัยประมาณ 12 ล้านคน เราไม่รู้ว่าจำนวนผุ้เสียชีวิตที่แนนอน เพราะอยู่ในระหว่างสงครามจึไม่มีการสำรวจมาก ก่อนที่จะถูกน้ำท่วมพื้นที่บริเวณนั้นมีคนอู่อาศัยประมาณ 12 ล้านคน เราไม่รู้ว่าจำนวนผุ้เสียชีวิตที่แน่นอน เพราะอยู่ในะหว่างสงครามจึงไม่มีการสำรวจความเสียหาย อย่างไรก็ตาม หลังสงครามในปี 1948 ได้มีการสำรวจ ประเมินว่ามีผุ้เสียชีวิตประมาณ 800,000 คน..และในเหตุการน้ำท่วมครั้งนี้ปรากฎว่ามีทหารญี่ปุ่นได้นำเรือออกช่วยเหลือประชาชนชาวจีนผุ้ประสบภัยที่ติดอยู่ตามหลังคาบ้านด้วย...ผลกระทบจากเหตุการน้ำท่วมในครั้งมีตามอีกมากมาย..ที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ในเหอหนานถูกน้ำท่วมกลายเป็นที่ทำการเกษตรไม่ได้..ประชากรอดอยากถึงขั้นเกิดเหตุการคนกินเนื้อคน..ประชาชนชาวจีนที่อดอยากหนีไปเข้าฝ่ายญี่ปุ่น..และมีการกล่าวโทษกันว่าใครเป็นผู้ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในครั้งนั้น..กระทั้งหลังสงครามความจริงจึงปรากฎ....https://pantip.com/topic/39298677
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น