กุบไลข่านส่งกองทัพแผ่อำนาจลงทางใต้เพื่อล้มล้างราชวงศ์ซ่งทางตอนใต้ของจีน ซึ่งผลจากการยกทัพตามไล่ล่าดังกล่าว เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้กองทัพมองโกลรุกรานมายังเขตยูนนาน และโจมตี อาณาจักรน่านเจ้า
หลักฐานในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโยทัยกับราชวงศ์มองโกล สรุปไว้ว่า กุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการยกทัพไปปราบปรามแค้วนต่าง ๆ ทางใต้ มี สุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่น ๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฎว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่ต๋าไม่เห้นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่าง ๆ มาสวามิภักดิ์ก่อน ต่อเมือไม่ยอมจึงยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรกว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อ
เสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย
วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Pagan Myanmar
ประวัติศาสตร์พม่ามีความยาวนานและซับซ้อน มีประชากรหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฎได้แก่ มอญ ชาวพม่าได้อพบยพมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีน และทิเบต เข้าสู้ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของ ประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทย อีกด้วย
อาณาจักรพุกาม เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกมิได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั้งพระเจ้าอโรธา สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าได้สำเร็จ และเมืองทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ อาณาจักพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า
ในปี ค.ศ. 1273 กุบไลข่าน ทรงส่งคณะทูตมายังอาณาจักรพุกาม เพื่อให้ยอมจำนน ไม่เพียงแต่กษัตริย์พม่าไม่ยอมจำนนเท่านั้นยังเข้าโจมตี รัฐใต้ปกครองของมองโกลแถบยูนนาน
กุบไลข่านมีพระราชโองการให้แม่ทัพนาเซอร์ อัลดิน ขุนนางชาวมุสลิม นำทัพโจมตีอาณาจักรพุกาม มองโกลมีชัยเหนือพม่ายึดประชากรร่วมแสนครอบครัวตามชายแดนพม่า
ต่อมา กุลไลข่านส่งกองทัพเพื่อพิชิตอาณาจักรพุกาม ภายใต้การนำทัพของพระนัดดา อีเซน เตมูร์ แม่ทัพอีเซนต์นำทัพบุกถึงเมืองหลวงพม่าและยึดเมืองหลวงอาณาจักรพม่าได้ พระเจ้านรธิหบดีจึงยมอจำนนต่อมองโกลและส่งเครื่องบรรณาการ เป็นการสวามิภักดิ์ ต่อมาพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์
อาณาจักรพุกาม เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกมิได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั้งพระเจ้าอโรธา สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าได้สำเร็จ และเมืองทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ อาณาจักพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า
ในปี ค.ศ. 1273 กุบไลข่าน ทรงส่งคณะทูตมายังอาณาจักรพุกาม เพื่อให้ยอมจำนน ไม่เพียงแต่กษัตริย์พม่าไม่ยอมจำนนเท่านั้นยังเข้าโจมตี รัฐใต้ปกครองของมองโกลแถบยูนนาน
กุบไลข่านมีพระราชโองการให้แม่ทัพนาเซอร์ อัลดิน ขุนนางชาวมุสลิม นำทัพโจมตีอาณาจักรพุกาม มองโกลมีชัยเหนือพม่ายึดประชากรร่วมแสนครอบครัวตามชายแดนพม่า
ต่อมา กุลไลข่านส่งกองทัพเพื่อพิชิตอาณาจักรพุกาม ภายใต้การนำทัพของพระนัดดา อีเซน เตมูร์ แม่ทัพอีเซนต์นำทัพบุกถึงเมืองหลวงพม่าและยึดเมืองหลวงอาณาจักรพม่าได้ พระเจ้านรธิหบดีจึงยมอจำนนต่อมองโกลและส่งเครื่องบรรณาการ เป็นการสวามิภักดิ์ ต่อมาพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์
Kamakura-jidai
อยู่ในยุคกลางของการแบ่งประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ยุค คะมะกุระ เป็นยุคที่เริ่มต้นการปกครองระบบศักดินาโดยจักรพรรดิเป็นผู้มีอำนาจการปกครอง แต่เพียงในนามรัฐบาลทหารที่เรียกว่า คะมะระ บะกุฟุ ซึ่งมีโชกุนเป็นหัวหน้าปกครองประเทศในนามจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหาร “โยริโตโมะ” แห่งตระกูล “มินาโมโต้” ไดรับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนแรกจัดตั้งรัฐบาลทหารมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมือง คะมะกุระ จักรพรรดิประทับที่เมืองเฮอัง
ใน ค.ศ. 1274 กุบไลข่านตระเตรียมกำลังผสมมองโกลและเกาหลีเข้ารุกรานญี่ปุ่น หลังจากส่งทูตมายังญี่ปุ่นแต่ถูกฆ่าตายทั้งหมด กองทัพผสมข้ามทะเลมาเทียบท่าที่อ่าว ฮะกะตะ บนเกาะคิวชู เรียกว่า การรุกรานปีบุงเอ
ฝ่ายญี่ปุ่นมีโชนะ ซุเกะโยะชิ ผู้ปกครองคิวชู นำทัพญี่ปุ่นเข้าต่อสู้กับกองทัพผสมมองโกล-โครยอ แต่ไม่สามารถทัดทานกองทัพผสมได้ กระทั้งลมพายุพเข้าอ่าวฮะกะตะ ทำลายเรือของทัพมองโกลไปมาก จึงทำให้ฝ่ายมองโกลต้องถอยหนี
ชาวญี่ปุ่นยกย่องลมนี้ว่าเป็น คะมิกะเซะ หรือลมที่เทพเจ้าส่งมาเพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากผู้รุกราน
ในปี ค.ศ. 1275และในปีค.ศ. 1279 กุบไลข่านส่งทูตมาอีกครั้ง และคณะทูตมองโกลก็ถูกสังหาร ทางฝ่ายญี่ปุ่นมีการเตรียมตัวต้อนรับศึกอย่างเต็มที่
และในที่สุดปี ค.ศ. 1281 กุบไลข่านจึงส่งทัพเรือเข้ารุกรานญี่ปุ่นอีกครั้งเรียกว่า การรุกรานปีเคอัง โดยใช้ทั้งกองทัพเรือของอาณาจักรโครยอ ทัพเรื่อราชวงศ์ซ่งใต้ ขนาดมหึมา โดยวางแผนให้กองเรื่อทั้งสองสมทบกันเพือรุกรานญี่ปุ่น แต่ทัพเรื่อซ่งเกิดการล่าช้า ทัพเรื่อเกาหลีจึงเข้าโจมตีฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นก็เตรียมการมาดีจึงสามารถต้านทานได้ และลมพายุ คะมิคะเซะ ก็พัดเข้ามาอีกครั้งทำลายทัพเรือเกาหลีจนต้องล่าถอยไปอีก และหลังจากนั้นมองโกลไม่รุกรานญี่ปุ่นอีกเลย
ใน ค.ศ. 1274 กุบไลข่านตระเตรียมกำลังผสมมองโกลและเกาหลีเข้ารุกรานญี่ปุ่น หลังจากส่งทูตมายังญี่ปุ่นแต่ถูกฆ่าตายทั้งหมด กองทัพผสมข้ามทะเลมาเทียบท่าที่อ่าว ฮะกะตะ บนเกาะคิวชู เรียกว่า การรุกรานปีบุงเอ
ฝ่ายญี่ปุ่นมีโชนะ ซุเกะโยะชิ ผู้ปกครองคิวชู นำทัพญี่ปุ่นเข้าต่อสู้กับกองทัพผสมมองโกล-โครยอ แต่ไม่สามารถทัดทานกองทัพผสมได้ กระทั้งลมพายุพเข้าอ่าวฮะกะตะ ทำลายเรือของทัพมองโกลไปมาก จึงทำให้ฝ่ายมองโกลต้องถอยหนี
ชาวญี่ปุ่นยกย่องลมนี้ว่าเป็น คะมิกะเซะ หรือลมที่เทพเจ้าส่งมาเพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากผู้รุกราน
ในปี ค.ศ. 1275และในปีค.ศ. 1279 กุบไลข่านส่งทูตมาอีกครั้ง และคณะทูตมองโกลก็ถูกสังหาร ทางฝ่ายญี่ปุ่นมีการเตรียมตัวต้อนรับศึกอย่างเต็มที่
และในที่สุดปี ค.ศ. 1281 กุบไลข่านจึงส่งทัพเรือเข้ารุกรานญี่ปุ่นอีกครั้งเรียกว่า การรุกรานปีเคอัง โดยใช้ทั้งกองทัพเรือของอาณาจักรโครยอ ทัพเรื่อราชวงศ์ซ่งใต้ ขนาดมหึมา โดยวางแผนให้กองเรื่อทั้งสองสมทบกันเพือรุกรานญี่ปุ่น แต่ทัพเรื่อซ่งเกิดการล่าช้า ทัพเรื่อเกาหลีจึงเข้าโจมตีฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นก็เตรียมการมาดีจึงสามารถต้านทานได้ และลมพายุ คะมิคะเซะ ก็พัดเข้ามาอีกครั้งทำลายทัพเรือเกาหลีจนต้องล่าถอยไปอีก และหลังจากนั้นมองโกลไม่รุกรานญี่ปุ่นอีกเลย
Goryeo
ราชวงศ์โครยอ ค.ศ.918-1392 สมัยโครยอลัทธิขงจื้อเขามาในเกาหลีอย่างเต็มตัว เป็นสมัยที่ทหารปกครอง และการยึ่ดครองโดยมองโกลทำให้วัฒนธรรมมองโกลหลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่องมากในสมัยนี้ มีกาพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาเกาหลีเป็นฉบับแรก คือ พระไตรปิฎกโคเรียนะ เก็บไว้ที่วัด แฮอินซา
ปี ค.ศ. 1225 วอเคอไตข่าน Ogedei Khan สงแม่ทัพซาร์ไต นำทัพมองโกลเข้าบุกโครยอ ราชสำนักย้ายหนีไปที่เกาะคังฮวา ผู้นำทหารชเวอูพยายามจะสู้พวกมองโกล มองโกลใช้เวลากล่าว 30 ปีจึงปราบคาบสมุทรเกาหลี…
โครยอยอมแพ้ต่อมองโกลอย่างเป็นทากการใน ค.ศ. 1270 และส่งบรรณาการให้ราชวงศ์หยวนจักรพรรดิกุบไลข่าน อาณาจักรโครยอกลายเป็นประเทศราชของราชวงศ์หยวน องค์ชายโครยอต้องเสด็จไปยังกรุงปักกิ่งแต่พระเยาว์เพือ่รับการสอนและ การปลูกฝังแบบชาวมองโกล รวมทั้งรับพระนามภาษามองโกล และอภิเษกกับเจ้าหญิงมองโกลด้วย
ช่วงเวลาที่เกาหลีอยู่ภายใต้การยึดครองของมองโกลเป็นช่วงเวลาที่เกาหลีมีการติดต่อกับโลกภายนอกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับประเทศจีนซึ่งพระราชวงศ์และชนชั้นปกครองของโครยอล้วนแต่เดินทางไปเมืองปักกิ่งและนิยมชมชอบวัฒนธรรมมองโกล ชนชั้นสูงพูดภาษามองโกล มีชื่อเป็นภาษามองโกล การเข้ามาของลัทธิ ขงจื้อใหม่ ของ จูจื่อ ปราชญ์สมัยราชวงศ์ซ่ง กำลังรุ่งเรืองอยู่ในประเทศจีนขฯนั้น ได้กลายมาเป็นที่นิยมของชนช้นสูง ของเกาหลีแทนที่ พระพุทธศาสนา
เมืองราชวงศ์หยวนถูกล้มล้างโดยราชวงศ์หมิง โคยอก็หันไปสวามิภักดิราชวงศ์หมิง มองโกลจึงเข้าไปสนับสนุนขุนนางโคยอ แล้งลอบปลงพระชนม์พระเจ้าคงมิน ราชสำนักหันมาหามองโกลอีกครั้ง และเพื่อขจัดอำนานราชวงศ์หมิงออกไปจากโคยอ “ชเวยอง”เห็นว่าควรบุกจีนราชวงศ์หมิง แต่ “ลีซองกเย”กลับไม่เห็นด้วยเพราะตอนนั้นราชวงศ์หมิงมีความแข็งแกร่งมาก เมือยกทัพไปถึงกลางทาง ลีซองกเย กลับเปลี่ยนใจหันกลับมาบุกราชวังสังหาร ชเวยอง และปราบภิเษกตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์โจซอน
ปี ค.ศ. 1225 วอเคอไตข่าน Ogedei Khan สงแม่ทัพซาร์ไต นำทัพมองโกลเข้าบุกโครยอ ราชสำนักย้ายหนีไปที่เกาะคังฮวา ผู้นำทหารชเวอูพยายามจะสู้พวกมองโกล มองโกลใช้เวลากล่าว 30 ปีจึงปราบคาบสมุทรเกาหลี…
โครยอยอมแพ้ต่อมองโกลอย่างเป็นทากการใน ค.ศ. 1270 และส่งบรรณาการให้ราชวงศ์หยวนจักรพรรดิกุบไลข่าน อาณาจักรโครยอกลายเป็นประเทศราชของราชวงศ์หยวน องค์ชายโครยอต้องเสด็จไปยังกรุงปักกิ่งแต่พระเยาว์เพือ่รับการสอนและ การปลูกฝังแบบชาวมองโกล รวมทั้งรับพระนามภาษามองโกล และอภิเษกกับเจ้าหญิงมองโกลด้วย
ช่วงเวลาที่เกาหลีอยู่ภายใต้การยึดครองของมองโกลเป็นช่วงเวลาที่เกาหลีมีการติดต่อกับโลกภายนอกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับประเทศจีนซึ่งพระราชวงศ์และชนชั้นปกครองของโครยอล้วนแต่เดินทางไปเมืองปักกิ่งและนิยมชมชอบวัฒนธรรมมองโกล ชนชั้นสูงพูดภาษามองโกล มีชื่อเป็นภาษามองโกล การเข้ามาของลัทธิ ขงจื้อใหม่ ของ จูจื่อ ปราชญ์สมัยราชวงศ์ซ่ง กำลังรุ่งเรืองอยู่ในประเทศจีนขฯนั้น ได้กลายมาเป็นที่นิยมของชนช้นสูง ของเกาหลีแทนที่ พระพุทธศาสนา
เมืองราชวงศ์หยวนถูกล้มล้างโดยราชวงศ์หมิง โคยอก็หันไปสวามิภักดิราชวงศ์หมิง มองโกลจึงเข้าไปสนับสนุนขุนนางโคยอ แล้งลอบปลงพระชนม์พระเจ้าคงมิน ราชสำนักหันมาหามองโกลอีกครั้ง และเพื่อขจัดอำนานราชวงศ์หมิงออกไปจากโคยอ “ชเวยอง”เห็นว่าควรบุกจีนราชวงศ์หมิง แต่ “ลีซองกเย”กลับไม่เห็นด้วยเพราะตอนนั้นราชวงศ์หมิงมีความแข็งแกร่งมาก เมือยกทัพไปถึงกลางทาง ลีซองกเย กลับเปลี่ยนใจหันกลับมาบุกราชวังสังหาร ชเวยอง และปราบภิเษกตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์โจซอน
วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Eighth Crusade
เกิดขึ้นระหวางปี ค.ศ. 1271-1272 เป็นสงครามที่ต่อสู้กันใน “ตะวันออกใกล้” ระหว่างผู้นับถือศาสนาคริสต์และผู้นับถืออิสลาม ในครั้งนนี้มุสลิมเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งเป็นผลทำให้สงครามครูเสดยุติลง และอาณาจักรครูเสดต่าง ๆ ในบริเวณเลแวนต์ (อัชชาม หมายถึงบริเวณเมดิเตอร์เรเนียตะวันออก แต่ในความหมายทางภฺมิศาสตร์หมายถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวัตก ทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมอิเตอร์เรเนียน โดยทาเทือกเขาทอรัฐเป็นเขตแดนทางตอนเหนือ ทะเลทรายอาหรับทางใต้ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาซากรอส)
ทางฝ่ายคริสเตียนมีกำลังคนทั้งสิ้น ประมาณ60,000 คน โดยมีผู้นำที่รวามทั้ง สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งเนเปิดลส์, สมเด็จพระเจ้าฮิวจ์ที่ 3 แห่งไซปรัส, เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษ, โบฮีมอนด์ที่ 6 แห่งอันติโอค, อบาคา ข่าน แห่งมองโกลเลีย และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอาร์มีเนีย
ทางฝ่ายมุสลิมมีกำลังคนที่ไม่ทราบจำนวนโดยมีไบบาร์สเป็นู้นำ
ในการนับจำนวนครั้งของสงครามครูเสดนั้นบางครั้งก็ว่าครั้งที่ 8 เป็นครั้งสุดท้ายบ้าง บ้างก็ว่ามี 9 หรือ 10 บาง ดังนั้นจึงเรียกครั้งนี้ว่าสงครามครูเสดครั้งสุดท้ายในยุคกลาง
เมือพระเจ้าหลุ่ยส์ ที่ 9 แห่งฝรั่งเศษไม่สามารถยึดตูนิสได้ใน ครุเสดครั้งที่ 7 เวิร์ดแห่งอังกฤษก็เสด็จไปเอเคอร์เพื่อเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 8 แต่เป็นสงครามที่ทางฝ่ายคริสเตียนพ่ายแพ้ ซึ่งในช่วงเวลานั้นอำนาจของพวก “มัมลุ้ก” ในอียิปต์ขยายตัวมากขึ้นและผลของสงครามนำมาซึ่งการสลายของที่มั่นต่าง ๆ ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนในขณะเดียวกัน
ก่อนหน้านั้นพระเจ้าหลุ่ยส์ที่ 9 ยกทัพมาทางทะเลเมืองยกพลขึ้นบกจึงยึดเมือง ที่อยู่ในความปกครองคือ อัล-มาลิก-อัศ-ศอลิห นัจญ์มุดดีน อัยยูบ ซึ่งกำลังป่วยและเสียชีวิตในระหว่างที่พวกครูเสดเข้ายึดเมือง ดิมยาต ภรรยาของอัยยูบคนหนึ่ง คือ ชะญัร อัล-ดูร ปิดข่าวการตายของอัยยูบไว้ถึง 3 เดือน กระทั่งลูกชายของอัยยูบเดินทางกลับมาจากเมโสโปเตเมีย นางจึงได้แจ้งข่าว ลูกของศอลิห มีเรื่องไม่ลงรอยกับพวกบ่าว(มัมลู้ก) ชะญัร อัล-ดูร จึงได้ลอบวางยา และสถาปนาตนเองเป็นราชินีของพวกมุสลิมมีน แต่อนาจปกครองจริงๆ อยู่ที่พวกมัมลู้ก และในที่สุดพวกมัมลู้ก ก็สถาปนาราชวงศ์ของตนเองคือ มัมูกิยฮฺ โดย มัมลุกอัยบัก และเกิดการทะเลาะกับวงศ์ของ ซาลาดีน และราชวงศ์มัมลูกกิยะฮฺก็นมาแทนที่ราชวงศ์อัยยูบิยะฮฺ
พวกมุสลิมที่แตกมาจากแบกแดด หลังจากการล้มเคาะห์ลีฟะฮฺแห่งแบกแดดแล้ว เผ่าทำลายดามัสกัส และทำการรุกรานซีเรียเรื่อยมา เหล่ามุสลิมถอยล่นมารวมกันอยู่กับพวกมัมลู้ก และยับยั้งการรุกรานของพวกมองโกลไว้ได้โดยพวกมัมลู้กนี่เอง...
ครั้งสุดท้ายที่มีการเคลื่อนไหว ที่จะทำให้เกิดสงครามครูเสด โดยปิอุสที่ 2 และเมืองโป๊ปสิ้นพระชนม์สงครามครูเสดก็ยุติลงพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของโป๊ปองค์นี้
วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555
Kinghts of Temple of Solomon (Templar knights )
อัศวินเทมพลาร์ เป็นคณะทหารคริสเตียนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เป็นองค์กรอยู่เกือบสองศตวรรษในสมัยกลาง
คณะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นองค์กการที่ได้รับบริจากทรัพย์สินอย่างมากมายตลอดคริสตจักรและเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในแง่สมาชิกและอำนาจเทมพลาร์เป็นหนึ่งในหน่วยรบที่มีฝึมือที่สุดในสงครามครูเสด
อัศวินเทมพลาร์ก่อตั้ง จากชนชั้นสูงปรังเศส พร้อมกับอัศวินผู้ติดตามอีก 8 คน ก่อตั้งกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายในการปกป้องผู้แสวงบุญในดินแดนศักดิ์สิทธิ กษัตริย์ แห่งเยรูซาเล็ม ได้อนุญาตให้ทั้ง 9 ไปอาศัยอยู่ที่บริเวณทิศใต้ของ Temple Mount ซึ่งทั้งชาวคริสต์และสลามถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ โดยชาวคริสต์เชื่อว่าโปสถ์แห่งนั้นตั้งอยู่บนซากปรักหักพักของ วิหารแห่งโซโลมอน และมุสลิม นั้น กาหลิบแห่งอิสลาม เคยสร้าง วิหาร โดมทองแห่งเยรูซาเล็มซึ่งภายในบรรจุก้อนหินที่ศาสดามูฮัมหมัดได้รับจากสวรรค์ ณ ที่ตรงนั้น และโดยการอาศัยอยู่ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิเช่นนี้ทำให้ในภายหลังมีเรื่องเล่าขานกันว่า พวกเขาได้พบ “จอกเหล้าองุ่นที่พระเยซูคริสต์ใช้ในการรับประทานอาษรมื้อสุดท้าย) The Holy Grail
ในช่วงเริ่มแรก พวกอัศวินไช้ชีวิตอย่างสมถะ ประทังชีวิตด้วยของบริจาก จึงได้รับการขนานนามว่า อัศวินผู้ยากไร้ และจากการที่อาศัยอยู่ในสถานที่ศักดิสิทธิ จึงได้รับการขนานนามว่า “อัศวินแห่งโบสถ์โชโลมอน”
เก้าปีต่อมา เชื่อเสียของอัศวินผู้สมถะ มีผุ้บริจาคทรัพย์สินเงินทาองมากมาย ทั้งที่ดอน และเงินทองมากมาย ชนชั้นสูงชาวยุโรปหลายคนนังส่งลูกหลายของตัวเองให้เข้าร่วมกลุ่มด้วย จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว และพวกเขาได้รับเกียรติจากสันตปาปา อินโนเซนต์ที่ 2 ประกาศให้พวกอัศวินเทมพลาร์อยู่เหนือกฎหมายของทุกประเทศ ไม่ต้องเสียภาษี และสามารถเดินทางผ่านดินแดนใดก็ได้โดยมิให้ผู้ใดขัดขวาง
กลุ่มอัศวินเทมพลาร์นั้น สมาชิกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
- อัศวิน ถูกฝึกฝนในแบบของทหารม้าหนัก แต่งกายด้วยสีขาวและสัญลักษณ์กางเขนสีแดง
- Sergeants มาจากชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่าอัศวิน ทำหน้าที่ในฐานะทหรม้าเบา พวกนี้จะสวมชุดสีนำตาบ
- The serving brothers ทำหน้าที่ทางจิตวิญญาณและทางศาสนาให้กลุ่มพวกอัศวินเทมพลาร์เข้าร่วมสมรภูมิสำคัญ ๆ ในดินแดนแถบนี้ในฐานะกองทหารชั้นยอด และยังเคยเข้าร่วมกับ กองทัพ หลุยส์ แห่งฝรั่งเศษ และ ริชาร์ดใจสิ่งแห่งอังกฤษในการบในดินแดนปาเลสไตน์
อัศวินเทมพลาร์เริ่มใช้ระบบซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของระบบธนาคาร เนื่องจากกลุ่มเทมพลาร์มีทรัพย์สินจำนวนมหาศาล และเริ่มให้ผู้แสวงบุญชาวสเปนยืมเงินสำหรับใช้เดินทางไปดินแดนศึกดิ์สิทธิ โดย เมือมีผู้แสวงบุญในยุโรปประสงค์จะเดินทางไปดินแดนศักดิ์สิทธิ พวกเขาจะนำทรัพย์สินทั้งหมดของตนไปฝากไว้กับฐานของอัศวินเทมพลาร์ในประเทศของตน ซึ่งทางอัศวินเทมพลาร์จะออกใบเสร็จซึ่งจดบันทึกรายการทรัพย์สินที่ฝากไว้ให้ผู้แสวงบุญติดตัวไป และเมือผู้แสวงบุญกำลังเดินทางไปดินแดนศักดิ์สิทธิ หากต้องการใช้เงินเมือไร ก็นำใบเสร็จนี้ไปยื่นต่ออัศวินเทมพลาร์ที่เจอระหว่างทาง และนำทรัพย์สินของตนออกมาใช้ เพื่อป้องกันการถูกปล้นกลางทาง
นอกจามีระบบฝากเงินแล้ว ด้วยความร่ำรวยจึงมรหลายต่อหลายคนในยุโรปเข้ามรยืมเงิน การคิดดอกเบี้ยเป็นข้อห้ามของศาสนจักร พวกอัศวินเทมพลาร์จึงใช้วิธีคิด “ค่าเช่า” แทน
อัศวินแทมพลาร์กลายเป็ฯกลุ่มที่ร่ำรวยและมีอำนาจอย่างมาก ครอบครองที่ดินทั้งในยุโปรและตะวันออกกลาง สร้างปราสาทและโบสถ์มากมาย ค้าขายสินค้าทั้งส่งออกและนำเข้า มีกองทัพเรือของตัวเอง และครอบครองเกาะไซปรัสทั้งหมด
เมือกรุงเยรูซาเลมพ่ยต่อสุลต่าย ซาลาดิน การสนับสนุนจากยุโรปก็ตกต่ำลง กษัตริย์ ฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ได้ยืมเลินจำนวนมาจากอัศวินเทมพลาร์เพื่อใช้ในการทำสงครามกับอังกฤษ แต่ไม่มีเงินพอจะใช้คืน… จึงสั่งสอบสวนผุ้นำ ในฐานะเป็นพวกนอกรีต
ในวันศุกร์ที่ 13 ค.ศ. 1307 ฟิลิปจับกุมตัวสมาชิกอัศวินเทมพลาร์ทั้งหมดในฝรั่งเศส กล่าวหาว่าพวกอัศวินเทมพลาร์บูชาปีศาจบาโฟเมต (ซาตาน) เป็นพวกนอกรีต และสั่งประหารซึ่งทำให้ฟิลิปรอดพ้นจากการเป็หนี้พวกอัศวินเทมพลาร์ และยังยึดทรัพย์สินทั้งหมดของพวกอัศวินเทมพลาร์ด้วย และยังมีตำนานความเชื่อ ทั้งในวันที่เหล่าอัศวินถูกจับ ก็เชื่อว่าเป็น ศุกร์ที่ 13 วันแห่งความโชคร้าย และยังเชื่อด้วยว่าเหล่านอัศวินที่อาศัยอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิอาจจะพบอะไรบ้างอย่างเช่น ได้ครอบครัววัตถุศักดิ์สิทธิ เช่น จอกศักดิ์สิทธิ หรือการได้พบ Cropper Scroll “ม้วนบันทึกทองแดง” ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้พวก Knight Templar ถูกข้อกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีต( คือส่วนหนึ่งของคัมภีร์ Dead Sea Scrolls และ Lilth of Dead Sea ซึ่งมีการค้นพบในถ้ำคูมรัม เป็นคัมภีร์โบราณที่เกี่ยวกับศาสตร์ลึกลับที่เขียนไว้เป็นรหัสลับ ต้องมีการติดต่อกับวิญญาณต่าง ๆ จึงจะเข้าใจ และคัมภีร์นี้เองเป็นที่มาของลัทธินอสติค และในขณะนั้นทางวาติกัน ได้สั่งหามไม่ให้มีการเผยแพร่คัมภีร์นี้ออกสู่สาธารณะ ถึงแม้อัศวินเทมพลาร์จะล่มสลาย แต่ยังคงเหลือสมาชิกอีก 100 กว่าคนหลงเหลือในยุโรป กองเรือของพวกอัศวินเทมพลาร์ได้หลบซ่อนตัวเองและตั้งชื่อใหม่ ว่า “ The Knights of Christ”
วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555
xiangyang
เซียงหยาง อยู่ในตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลหูเป่ย เป็นจุดยุทธศสตร์ที่สำคัญของราชวงศ์ซ่ง ที่ตั้งเมืองเซี่ยงหยาง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฮั่น Han เป็นเมืองหน้าด่านทางน้ำ เพราะแม่น้ำฮี่นเป็นเส้นทางเข้าสู่แม่น้ำแยงซี หากตีได้เมืองเซียงหยาง มองดกลสามารถรุกคือบเข้ายึดเมืองสำคัญๆ ได้อย่างง่ายดายดดยไม่ต้องใช้กองทัพม้า เพียงส่งกองเรื่อไปตามแยงซี ก็จะยึดเมืองต่างๆ ได้โดยสะดวก ฉะนั้นชะตากรรมของเซียงหยาง ก็คือซะตากรรมของซ่ง ซึ่งมองโกลทราบในเรื่องนี้เป็นอย่างดี
กุบไลข่านเมืองขึ้นครองจักรวรรดิมองโกลแล้ว จึ้งเตรียมไพร่พลที่จะบุก ราชวงศ์ซ่ง จากภูมิประเทศแผ่นดินซ่ง ที่มีแม่น้ำแยงซีเป็นปราการทางธรรมชาติ และภูเขาที่สลับซับซ้อน มองโกลจึงจัดเตรียมกำลังจากทหารม้า มาเป็นทหารราบ และกองเรือ
ราชวงศ์ซ่งนั้นไม่เน้นนโยบายทางการทหาร ไม่ให้มีทหารตามหัวเมือง หากส่วนกลางหรือจักรพรรดิเข้มแข็งกองทัพก็จะเข้มแข็งตาม ครั้งตั้งแต่รบกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์จิน ราชวงศ์ซ่งเลือกจะยอมเจรจาสงบศึกมาโดยตลอด แม้จะเป็นรัฐบรรณาการก็ยังยอม ฉะนั้นจุดชี้เป็นชี้ตายของศึกครั้งนี้ก็อยู่ที่เมืองเซียงหยาง ฝ่านเฉิง
มองโกลเคลื่อนพลลงจากทางเหนืออย่างรวดเร็วและโจมตีเมืองต่าง ๆ อย่างหนัก บรรดาแม่ทัพนายกองล้วยสวามิภักดิ์ มองโกลจัดการแผ่นดินสองฝั่งแม่น้ำแยงซีแล้ว กองทัพมองโกลจึงเคลื่อนพลทั้งทางบกและทางน้ำ
และเข้าสู่สมรภูมิ เซี่ยงหยาง และฝ่านเฉิง ทั้งสองเมืองนี้เป็นเมืองอกแตก คือมีแม่น้ำฮั่นไหลฝ่านกลางเมือง เช่นเดียวกับ บูดาและเปสต์ในฮังการี
ในการล้อมเมืองเซี่ยงหยางนี้ใช้เวลาในการล้อม 5 ปี เกือบเข้าปี่ 6 (ค.ศ.1267-1273) จึงจะตีแตก ดังที่ได้อธิบายถึงภูมิประเทศของเมืองประกอบกับกำแพงเมืองเซียงหยางที่สูงใหญ่และป้องกันการโจมตีจากเครื่องยิง ต่างๆ ด้านหน้าแม่น้ำฮั่นที่มีความกล่าวกว่า150 เมตรเป็นปราการธรรมชาติอย่างดียิ่ง และภูเขาใหญ่เป็นปิดล้อมทั้งซ้ายและขวาและด้านหลังของเมืองอย่างแน่นหนา
ในการล้อมเพื่อจะให้ชาวเมืองหมดเสบียงและออกมาสวามิภักดิ์ แต่การล้อมเมืองลักษณะนี้ไม่ได้ผลเพราะสามารถออกไปหาเสบียงหรือส่งทหารเข้าปล้นค่ายหรือลอบออกไปหากำลังหนุนทางน้ำได้ ดังนั้นจึงเป็นการชิงเชิงยุทธศาสตร์เหนือน่านน้ำฮั่น
มองโกลจึงทำการโจมตีฝานเงกอ่นมองโกลทำการตัดขาดการติดต่อทางบกของทั่งสองเมืองโดยทำลายสะพานระหว่างเมืองทั่งสองเพื่อที่จะต้องงปิดทางแม่น้ำระหว่างสองเมืองจึงทำให้เกิดการรบทางน้ำหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งกว่าจะยึดฝางเฉิงได้ใช้เวลาเป็นปี กองทหารฝานเฉิงลอบลงเรือหนีไปเซี่ยงหยางในที่สุด มองโกลยึดน่านน้ำทางตะวันกตไว้ได้
กองทัพมองโกลเปิดฉากการโจมตีโดยส่งกองเรือรบระดมยิงกำแพงเมืองอย่างหนักเพื่อให้กองทหารราบบุกยึดหัวหาด ซึ่งก็ได้ผล แต่มองโกลไม่สามารถเข้าตีเมืองได้ การเข้าตีเมืองในแต่ละครั้งมองโกลต้องสูญเสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก มองโกลจึงตัดสินใจล้อมเมืองไว้
เมื่อเซี่ยงหยางถูกล้อม “ชาวซ่ง” ไม่ส่งกองทัพมาช่วย โดยอ้างว่าเมืองนี้มี “เทวดาสถิตย์อยู่” และมองโกลจะต้องย้อนกลับไปเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...