วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Kamakura-jidai

     อยู่ในยุคกลางของการแบ่งประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ยุค คะมะกุระ เป็นยุคที่เริ่มต้นการปกครองระบบศักดินาโดยจักรพรรดิเป็นผู้มีอำนาจการปกครอง แต่เพียงในนามรัฐบาลทหารที่เรียกว่า คะมะระ บะกุฟุ ซึ่งมีโชกุนเป็นหัวหน้าปกครองประเทศในนามจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหาร “โยริโตโมะ” แห่งตระกูล “มินาโมโต้” TairaKiyomori02 ไดรับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนแรกจัดตั้งรัฐบาลทหารมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมือง คะมะกุระ จักรพรรดิประทับที่เมืองเฮอัง
     ใน ค.ศ. 1274 กุบไลข่านตระเตรียมกำลังผสมมองโกลและเกาหลีเข้ารุกรานญี่ปุ่น หลังจากส่งทูตมายังญี่ปุ่นแต่ถูกฆ่าตายทั้งหมด กองทัพผสมข้ามทะเลมาเทียบท่าที่อ่าว ฮะกะตะ บนเกาะคิวชู เรียกว่า การรุกรานปีบุงเอ
     ฝ่ายญี่ปุ่นมีโชนะ ซุเกะโยะชิ ผู้ปกครองคิวชู นำทัพญี่ปุ่นเข้าต่อสู้กับกองทัพผสมมองโกล-โครยอ แต่ไม่สามารถทัดทานกองทัพผสมได้ กระทั้งลมพายุพเข้าอ่าวฮะกะตะ ทำลายเรือของทัพมองโกลไปมาก จึงทำให้ฝ่ายมองโกลต้องถอยหนี 1_display
     ชาวญี่ปุ่นยกย่องลมนี้ว่าเป็น คะมิกะเซะ หรือลมที่เทพเจ้าส่งมาเพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากผู้รุกราน
      ในปี ค.ศ. 1275และในปีค.ศ. 1279 กุบไลข่านส่งทูตมาอีกครั้ง และคณะทูตมองโกลก็ถูกสังหาร ทางฝ่ายญี่ปุ่นมีการเตรียมตัวต้อนรับศึกอย่างเต็มที่
      และในที่สุดปี ค.ศ. 1281 กุบไลข่านจึงส่งทัพเรือเข้ารุกรานญี่ปุ่นอีกครั้งเรียกว่า การรุกรานปีเคอัง โดยใช้ทั้งกองทัพเรือของอาณาจักรโครยอ ทัพเรื่อราชวงศ์ซ่งใต้ ขนาดมหึมา โดยวางแผนให้กองเรื่อทั้งสองสมทบกันเพือรุกรานญี่ปุ่น แต่ทัพเรื่อซ่งเกิดการล่าช้า ทัพเรื่อเกาหลีจึงเข้าโจมตีฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นก็เตรียมการมาดีจึงสามารถต้านทานได้ และลมพายุ คะมิคะเซะ ก็พัดเข้ามาอีกครั้งทำลายทัพเรือเกาหลีจนต้องล่าถอยไปอีก และหลังจากนั้นมองโกลไม่รุกรานญี่ปุ่นอีกเลย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...