วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Chagatai Khanate

       จักรวรรดิข่าน จักกาไทย เป็นอาณจักรหนึ่งในจักวรรดิมองโกล ต่อมาเปลี่ยนเป็นเตอร์กิก  280px-Chagatai_Khanate_map_en.svg จักรวรรดิข่านปกครองโดย ข่านจักกาไทย โอรสองค์ที่สองของเจงกิส ข่าน  ซึ่งแยกตัวเป็นรัฐอิสระ
      ช่วงที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดคือปลายศตวรรษที่ 13 จักรวรรดิข่านมีอาณาบิรเวณตั้งแต่ อมูดาร์ยา Amu Draya ทางใต้ของทะเลอารับ จนถึงเทือกเขาอัลไต บริเวณเขตแดนที่ปัจจุบันคือมองโกเลียและจีน
      จักรวรรดิข่าน จักกาไทย รุ่งเรืองมาตั้งแต่คริสทศวรรษที่ 1220 กระทั้งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 แม้ว่าอาณาจักรครึ่งหนึ่งทางตะวันตกจะตกอยู่ใต้จัวรรดิตีมูร์ แต่ยังคงปกครองในดินแดนที่เหลืออยู่ที่ตะวันออก ความสัทพันธ์กับอาณาจักรตีมูร์ นั้น บางครั้งก็ทำสงครามกันบางครั้งก็เป็นพันธมิตรกัน  ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 อาณาจักรที่ยังคงเหลืออยู่นั้นก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองระบบเทวาธิปไตยของ Apaq Khoja และผู้สืบเชื้อสาย โคจินั้น ผู้ครงอเติร์กสถานตะวันออก ภายใต้ดซุงการ์  และในที่สุดประมุขของแมนจู

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Moscow

ซาร์อีวาที่ 3
       ในสมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 แห่งรัสเซีย หรือ พระเจ้าอีวานมหาราช ในยุคของพระองค์ไ้ทรงราบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1480 ทรงขับไล่กองทัพตาตาร์ของพระเจาบาตูข่านออกจากรัสเซียจนหมดสิ้นและทรงทำลาย โกลเดนฮอร์ด Golden Horde ซึ่งประกอบด้วย 3 อาณาจักร ใหญ่ของชาวมองโกล ได้แก่ อาณาจักรไวท์ฮอร์ด ที่ก่อตั้งโ่ดย อ็อกโตไก ข่าน อาณาจักรบบูฮอร์ด ที่ก่อตั้งโดยพระเจ้า บาตูข่าน และอาณาจักรเกรทฮอร์ด ที่ก่อตั้งโดย พระเจ้าเคอชุก มุฮัมหมัด ปิดฉากสองศตวรรษภายใต้การปกครองของมองโกล
     ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 อาณาจักรรัสเซียได้ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ หลังจากพวกมองโกลระส่ำระสาย ผู้นำแป่งอาณาจักรมอสโค ทรงตั้งพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งชาวรัฐเซียทั้งปวง  พระเจ้าอีวานที่ 3 ทรงสภาปนากรุงมอสโกเป็นราชธานี ชาวรัสเซียสมัยนั้นถือว่าพวกตนเป็นทายาทอันชอบธรรมของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์
     พระเจ้าอีวานที่ 3 ทรงอภิเษก 2 ครั้ง มเหสีองค์แรกสิ้นพระชนม์เมืองพระองค์ครองราชย์ได้ 5 ปี  การอภิเษกในครั้งที่ 2 นั้น ทรงสมรสกับ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งไบแซนไทน์ พระเจ้าหลานเธอของจักรพรรดิแป่งอาณาจักรไบแซนไทน์องค์สุดท้าย (จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอสซึ่งสวรรคตเมืองครั้งการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล)
 





  แต่ละส่วนของเมืองแยกออกจากกันโดยมีป้อมปราการล้แมรอบ มีแม่น้ำมอสควาไหลผ่าน พวกช่างฝีมือและกรรมกร อาศัยอยู่ในบริเวณเมืองที่สร้างด้วยไม้ พวกพ่อค้าและพวกขุนนางอาศัยอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเมืองสีขาว (สิ่งอ่กสร้างด้วยหินสีขาว White City) ถัดมาจะเป็นเป็นส่วนที่เรียกว่า Kitatgrod

    ซาร์อีวา ทางนำช่างชาวอิตาลีมาออกแบบสร้างพระราชวังป้อมปราการต่าง ๆ และพระวิหารในพระราชวังเครมลินและที่อื่นๆ ด้วยเช่น ทรงให้สร้างมหาวิหาร เป็นที่สำหรับซาร์ ทำพิธีบรมราชาภิเษกในพระราชวังเครมลินในกรุงมอสโก โปรดให้สร้างวังที่ประทับ และมหาวิหารนอาร์คันเกล มิคาอิล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่ฝั่งพระศพซาร์กษัตริย์แห่งรัสเซียในเวลาต่อมา

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Yaon Dynasty II

  การปกครองในราชวงศ์หยวน
ราชวงศ์หยวนเป็นยุคสมัยที่ต้องปกครองผู้คนหลากหลายชนชาติหลายเผ่าพันธ์ โดยมีimageประชาการเป็นชาวฮั่นมากที่สุด โดยยึดชาวมองโกลเป็นกลุ่มชนหลักในการบริหารประเทศ
      ชนชั้นวรรณะในสังคม ก็แบ่งตามชาติพันธ์ โดยชาวมองโกลมีฐานะทางสังคมสูงสุด รองมาเป็นพวกชาวต่างชาติ ต่อมาก็คือ ชาวซ่งเหนือและ ฐานะทางสังคมที่ต่ำที่สุดคือซ่งใต้ ในทั่งนี้ไม่มีการแบ่งฐานะทางสังคมอย่างชัดเจนแต่สะท้อนออกมาทางกฎหมาย ข้อบังคับ สิทธิหน้าที่ต่าง ๆ ของพลเมืองในชาติ
      นอกจากนั้นยังมีการแบ่งความสูงต่ำทางอาชีพกระทั่งมีการล้อเลียน ในยุคสมัยนั้นว่า “หนึ่งขุนนางสองข้าราชการ” “เก้าบัณฑิตสิบของทาน” ซึ่งบัณฑิตในสมัยนี้ถูจัดลำดับอาชีพซึ่งอยู่ตำกว่ากระทั้งโสเภณี
     มองโกลหลังจากยุคกุบไลข่าน มีการแก่งแย่งอำนาจกันอย่างรุนแรงและหนักหน่วง ระยะเวลาเพียง 25 ปี ราชวงศ์หยวนมีจักรพรรดิถึง 8 พระองค์ บางพระองค์ครองราชเพียง ปีเดียว
    baitashi  การกดขี่ ขมเหงและขูดรีดประชาชน โดยเก็บภาษีในอัตราสูงกว่าต้นราชวงศ์กว่ายี่สิบเท่าตัว รายรับไม่พอกับรายจ่าย คลังหลวงจึงต้องพิมพ์ธนบัตรออกมาอย่างมากมาย ค่าเงินจึงลดลง เกิดปัญหาเงินเฟ้อ เป็นเวลาเดียวกับการเกิดอุทกภัย เขื่อนแม่น้ำฮวงโหไม่ได้รับการบูรณะหลายปี ประชาชนมีความทุกข์ยาก  ตกอยู่ในสภาพ“ผู้คนอดตายเกลื่อนถนน คนเป็นก็ไม่พ้นใกล้เป็นผี”
     ราชสำนักต้าหยวนได้ส่งทหาร ไปบังคับเกณฑ์แรงงานชาวฮั่น เรื่อนแสน เพรือขุดลอกคลอง แม่น้ำ และซ่อมเขื่อนที่พัง และขุนนางยังถือโอกาสโกงเงินค่าแรงจาก มวลชนมีความเจ็บแค้นต่อราชสำนัก ในเวลานั้น จึงเกิดลัทธิดอกบัวขาว ในการรวบรวมเป็นกองทัพชาวนา
    และด้วยกลวิธีที่ผนวกับเชื่อของมนุษย์ในยามแร้งแค้น ลัทธิดอกบัวขาว ให้คนออกไปปล่อยข่าวลือว่า “ เมือใดที่มนุษย์หินตาเดียวปรากฎ ก็จะมีการพลิกฟ้าผลัดแผ่นดิน” หลังจากนั้นก็ลอบส่งคนไปทพรู้ปั้นหินมนุษย์ตาเดียวแล้วนำไปฝังบริเวณที่มีการขุดลอกแม่น้ำ เมือชาวบ้านขุดพบรู้ปั้นหิน การต่อต้านมองโกลจึงลุกลามเป็นไฟลามทุ่งImage (1)
    หลังจากนั้นลัทธิบัวขาวจึงตั้งเป็นกองทัพโพกผ้าแดง และทำศึกกับราชสำนัก กองทัพโพกผ้าแดงเสือมสลายไป จากการเสียชีวิตของผุ้นำ เป็นช่วงเวลาเดียวกับอีกกองกำลังทาใต้ นำโดย “จูหยวนจาง”กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม่จะเป็นเยงลูกชาวนาเกิดในครอบครัวที่ยากจนแต่ได้รับการสนับสนุนทั้งจากกุนซือผุ้ชาญฉลาด และเศรษฐีผู้มั่งคั่ง จึงทำให้กองทัพเติบโตอย่างรวดเร็ว
    ปี ค.ศ. 1368 ทั่วทั้งแดนใต้ตกเป็นของจูหยวนจาง จึงสภาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ “ราชวงศ์หมิง” ตั้งเมือง อี๋เทียน และไคview_resizing_imagesฟง เป็นเมืองหลวงต่อมาอีกห้าเดือน จูหยวนจางบุกตี ต้าตู อันเป็นราชธานีราชวงศ์หยวน กระทั้ง หยวนซุ่นตี่ ต้องลี้ภัยไปทางเหนือจึงเป็นกาลอวสานของราชวงศ์หยวน
    รวมทั้งสิ้นราชวงส์หยวนปกครองแผ่นดินจีน เป็นเวลา 97 ปี จักรพรรดิ์ 11 พระองค์ ทั้งที่เป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งและยกว้างใหญ่ แต่การขูดรีด การกดขี่ และการแบ่งชนชั้น ทำให้เกิดการล่มสลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นอุทาหรณ์ต่อชนชั้นปกครองในราชวงศ์ต่อๆมา ราชวงศ์หยวนเป็นช่วงเวลาที่กำหนดอาณาเขตการปกครองของแผ่นดินจีนในเวลาต่อมา กล่าวคือหลังจากราชวงศ์หยวนถึงราชวงศ์ชิง อาณาเขตของแผ่นดินจีนไม่มีการเปลี่ยแปลงมากนัด

Yaon Dynasty I

      ราชวงศ์หยวน คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1271-1387 ก่อตั้งขึ้นเมือกุบไลข่านโค่นอำนาจราชวงศ์ซ่ง แล้วตั้งราชวงศ์ของชาวมองโกล โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปักกิ่ง(ต้าตู) ทรงเป็นฮ่องเต้พระองค์เดียวที่ชาวจีนยอมรับ
   จักรพรรดิราชวงศ์หยวน

พระนามแต่งตั้ง พระนามข่าน พระนามเดิม ปีครองราชย์(ค.ศ.)
ไท่จู่ เจงกิส ข่าน เตมูจิน 1206-1227
รุ่ยจง โตลุยข่าน โตลุย 1228
ไท่จง วอเคอไต ข่าน วอเคอไต 1229-1241
ติ้งจง กูยุก ข่าน กูยุก 1246-1248
เสียนจง มองเก้ ข่าน มองเก้ 1251-1259
ซื่อจู กุบไล ข่าน กุบิไล 1260-1294
เฉินจง เตมูร์ ข่าน เตมูร์ 1294-1307
หวู่จง คูลุก ข่าน Qayshan 1308-1311
เหรินจง อายูบาร์ดา ข่าน อายูบาร์ดา 1311-1320
อินจง ชิดิบาลา จีจิน ข่าน ชิดิบาลา 1321-1323
จินจง(ไท่ติงตี้) เยซุน เตมูร์ ข่าน เยซุน เตมูร์ 1323-1328
____(เทียนซุนตี้) ราจิบาก ข่าน ราจิบาก 1328
เหวินจง จายาตู ข่าน Toq Temur 1328-1329,1329-1332
หมิงจง คูบุกตู ข่าน Qosghila 1329
หนิงจง รินชินบาล ข่าน รินชินบาล 1332
ฮุ่ยจง(Shundi) อูคานตู ข่าน Toghan-Temur 1333-1370

       การปกครองประเทศจีนของมองโกล แม้มองโกลจะใช้ระบบการปกครองของจีน แต่ชาวจีนฮั่นก็รับรู้ถึงความไม่ยุติธรรม ในทางสังคมและการเมือง ตำแหน่งสำคัญๆ ต่าง ๆ ในส่วนกลางและภูมิภาคจะผูกขาดโดยชาวมองโกล และจางชาวต่างชาต มาทำหน้าที่ในตำแหน่างที่หาชาวมองโกลทำไม่ได้ และในทางกลับกันก็จ้างชาวจีนเข้าไปทำงานในดินแดนที่ไม่ใช่ประเทศจีน
       ในช่วงที่หยวนปกครองจีน วัฒนธรรมมีการพัฒนาแบบปสมปสานในด้านต่าง ๆ การติดต่อสัมพันธ์กัลเอเซียตะวันตก ยุโรป เพ่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เครื่องดนตรีตะวันตกถูกนำมาใช้ในศิลปะการแสดงของจีน ศาสนาต่าง ๆ เข้าสู่ประเทศจีนและเปลี่ยนแปลงศาสนาของชาวจีนจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไร ลัทธิขงจื้อและระเบียบการสอบเข้ารับราชการ ก็ถูกฟื้นฟูนำมาใช้ใหม่ด้วยความหวังว่าจะสามารถรักษchina75าความเป็นระเบียบในสังคมชาวฮั่นได้
        จากการค้าที่รุ่งเรือง และการเดินทางกล้างไกล ชาวมองโกลริเริ่มคิดทำธนบัตรขึ้นใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในและนอกประเทศ 
         ดินปืนหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ๋ของจีน หลักฐานของจีนกล่าวว่า การประดิษฐ์ดินปืนนั้นมาจากประทัดที่ใช้ขัยไล่ภูตฝี โดยการนำดินประสิวและกำมะถันมาห่อรวมกันในกระดาษ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการใช้ดินปืน สมัยซ่งมีการนำดินปืนมาประดิษฐ์อาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเฉพาะซ่งใต้มีการนำมาใช้มากขึ้น 250px-Yuan_chinese_gun
      กวอโส่วจิ้ง (ยั่วซือ) นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และนักชลประทาน
กุบไลข่านทรงมีราชโองการให้กวอโส่วจิ้งกับหวังสุน (นักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่งในสมัยนั้น) แก้ไขปรับปรุงปฏิทินเสียใหม่ให้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น กวอโส่วจิ้งจึงเสนอให้จัดสร้างหอดูดาวที่เมืองหลวงต้าตู และจุดสังเกตการโคจรของดาวตามสถานที่ต่าง ๆ อีก 26 แห่งทั่วประเทศจีน และก็เริ่มลงมือสังเกตุการด้วยตัวเอง เขาใช้เวลา 4 ปีในการรวบรวมข้อมูล และก็สามารถจัดทำปฏิทินฉบัยใหม่ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1280 โดยความแม่นยำของปฏิทินฉบับนี้คือ กำหนดว่า 1 ปี สุริยคติเท่ากับ 365.2425 ซึ่งผิดไปจากการคำนวฯของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเพียง 26 วินาที
ในปี ค.ศ. 1292 กวอโส่วจิ้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผุ้รับผิดชอบหอดูดาวและการชลประทานของเขตเมืองหลวง เขาทำข้อเสนอเกียวกับการสร้างคอล “ต้ายวิ่นเหอ” และออกแบบแนวคลองที่ถูต้องตามหลักวิชาการ งานขุคอลเสร็จสิ้นลุล่วงภายในเวลาเพียงปีครึ่ง และได้ชื่อว่า “แม่น้ำทงฮุ่ยเหอ” สามารถเชื่อมต่อระหว่างหางโจวภาคใต้ถึงปักกิ่งในภาคเหนือเป็นระยะทางเกือบ 1,800กิโลเมตร

The travels of Marco Polo
      Niccolo และ Maffeo ผุ้เป็นบิดาและลุงของมาร์โคโปโล เดินทางมายังประเทศจีน และได้รับการต้อนรับด้วยไมตรีจิตจากกุบไลข่าน และในการเดินทางครั้งต่อมาเขาจึงพาบุตรชาย มาร์โค โปโล บุตรชายของเขาติดตามมาด้วย
      มาร์โคโปโลเดินทางมาถึงเมืองจีน เมื่ออายุ 21 ปี และรับราชทานจัดงานเลี้ยงในวังหลวง จากนั้นจึงให้ตระกูลโปโลอยู่ถวายงานในชสำนัก ช่วงเวลา 17 ปีที่มาร์โคโปโลอาศัยอยู่ในจีนจึงได้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ มากมาย
      ในหนังสือของมาร์โคโปโล บันทึกถึงรูปร่างของแผ่นดิน สัตว์ พืชพันธ์ต่าง ๆ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ ถ่านหินและนำมัน เขาพรรณาอารยธรรมจีนว่ามีความเจริญเหนือกว่าวัฒนธรรมและเทคโนโลยีของชาวยุโรป เขาระบุว่าแหล่งพลังงานที่ยิ่งใหญ่มีอยู่ 2 อย่างคือ “ดินปืนและบะหมี่”

Singhasari Kingdom

      เป็นอาณาจักรบนเกาะชวา ตะวันตก  อาณาจักรสิงหะส่าหรีอยู่ได้ไม่นานก็ถูกเจ้าชายยากัตวัง แห่งอาณาจักรเคดิรี โจมตีเมืองหลวงในขณะที่พระเจ้าเกอรตานาการา(เกียรตินคร) กำลังบูชาพระศิงะ และเจ้าชายวิชัย ราชบุตรเขย ก็กู้เมืองกลับมาตั้งอาณาจักรมัชปาหิตsinghasari
     พระเจ้าเกียรตินครแห่งชวา ทรงประสบความสำเร็จในหารรวมดินแดนเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรใหญ่ กระทั่งพระองค์ทรงเลี่ยนแปลงศสนาเป็น ศาสนาพุทธแบบตันตระ และสถาปนาสัมพันธไม่ตีด้วยการอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์อาณาจักจามปา พระองค์ทรงแสวงหาทางควบคุมการค้าขายเครื่องเทศที่มีกำไรงาม ซึ่งมีฐานอยู่ในเขตหมู่เกาะโมลุกกะ และต้องอนุรักษ์ให้ชาวชวาเป็นกลางเกี่ยวกับการค้าขาย โดยเฉพาะพระองค์ทรงเกรงว่ากุบไลข่านทรงตั้งพระทัยที่จะกำจัดการควบคุมการค้านี้220px-Amoghapasa_Padang_Roco_Inscription_Front
        ช่วงปี ค.ศ.1293 กาองกำลังทหารราบของแม่ทัพชี่ปีซึ่งได้รับมอบหมายให้บังคับบัญชาทหารราบยกทัพขึ้นฝั่ง แม่ทัพอฏ มู ซุ ควบคุมกองทัพเรือใกล้ชายฝั่ง พระเจ้าเกียรตินครทรงทราบข่าว จึงส่งกองทัพขนาดใหญ่ไปยังจุดที่จะมีการขขึ้นบก คือ ที่ จามปา และ คาบสมุทร มาเลย์ แต่การทั้งหนี้ศัตรูที่ไม่ใช่มองโกลกับเป็นผู้สังหารพระองค์นั้นคือ พรเจ้าชัยขัติติยวงศ์ผู้นำรัฐเคดิรี ทำให้อำนาจตกอยู่อยู่กับ เจ้าชายวิชัย (ราชบุตรเขย) ผู้ทรยศโดยเข้ากับมองโกลทั้งนี้เนื่องจากมีจุดประสงค์ที่จะปราบปรามผุ้ก่อการปฏิบัติ จึงร่วมมือกับคนนอก และสุดท้ายมองโกลเข้าโจมตีรัฐเคดีรี และประหารพระเจ้าชัยขัตติยวงศ์ 
    และหลังจากทำการปราบปรามพวกปฏิวัติโดยการยืมมือมองโกลสำเร็จแล้ว จึงวางแผนที่จะเป็นอิสระจากมองโกลและสุดท้ายก็สามารถหลุดรอดจากเงื้อมือทหารมองโกลทั้งทัพบกและทัพเรือ และยังทำการขับไล่ทหารมองโกลออกจากดินแดนสำเร็จ

Annan Jumpa

   อาณาจักรจามปา เป็นอาณาจักรโบราณอยู่ทางใต้ของจีน อยู่ทางเหนือของฟูนั้นปัจจุบันคือ เมืองเว้ กว่างนาม ถัวเถีย แผนรับและ ญาจางเนื่องจากสมัยก่อนพื้นท่นี้เป็นเขตทุรกันดาร จีนจึงไม่สามารถครอบครองพื้นที่นี้ได้ dehu53zg (1) 220px-VietnamChampa1
   ชนชาติจามสื้อบเชื้อสายจากชาว มาลาโยโพลินีเชียน พวกจามเป็นชาวทะเลมีความสามารถางการเดินเรื่อ ได้มีผู้เขียนเรื่องของชาวหลินยี่ หรือชาวจามว่า ชาวบ้านสร้างบ้านด้วยอิฐแฃะวฉาบด้วยปูน หญิงและชายมีผ้าผ้ายฝืนเดียห่อหุ้ร่างกาย และเจาะหูห้อยห่วเหล็ก ผู้ดีใส่รองเท้าหนัง พวหไพร่เดินเท้าเปล่า พระราชาทรงพระมาลาทรงสูง ทรงช้าง และห้อมล้ามด้วยบริพารถือธงและกลดกั้น
     ราชวงศ์เลของชาวเวียนามยกมาตี ชาวจามเสียชีวิตและถูกจับเป็นเชลยจำนวนมากและสูญความเป็นชาติในที่สุด ตกเป็นเมืองขึ้นของญวน และบาส่วนอพยพมาใน อาณาจักรสยาม

   อันนัม ยุคที่อยู่ใต้อิทธิพลของจีน (ก่อน ค.ศ. 111-938) ราชวงศ์ฮั่นบักอาณาจักนามเวียดและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน เวียนดนามอยู่ใต้อิทธิพลของจีนนานถึง พันปี ซึ่งเป็นช่วงที่ได้อิทธเพลและรับวัฒนธรรมหลายอย่างจากจีน150px-Nguyen_Trai A6
     - อาณาจักรแรกของชาวเวียดนาม คืออาณาจักร นามเวียด (อาณาจักรทางตอนเหนือ) เป็นเมืองขึ้นของจีนมานาน เวียดนามจึงเป็นประเทศเดียวในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่
     - ทางตอนกลางและใต้ เป็นที่ตั้งของอาณาจักรจามปา (ปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อย ทางต้อนใต้ของประเทศเวียดนาม)
      เมื่อเป็นเอกราชจากจีน ช่วงต้นราชวงศ์ถังเวียดนามก็สถานปนาราชวงศ์เล และในสมัยนี้สามารถเอาชนะพวกจาม ทำให้อาณาจักรกว้างขวาง และมีการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศอยางสำคัญมากมายมีการส่งเสร้มพุทธศาสนากับลัทธิขงจื้อกับลัทธิเต๋า และย้ายเมืองหลวงมาที่ กรุงฮานอย
      กุบไลข่าน ส่งทูตเชิญ พระเจ้าตรัน ถั่น ทอน กษัตริย์อาณาจักรอันนัม และพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 แห่งอาณาจักรจามปาเสด็จไปเยื่อนอาณาจักรมองโกล แต่ไม่มีกษัตริย์องค์ใดเสด็จไป เมือไม่มีการตอบสนอง กุบไลข่านจึงตัดสินพระทัยโจมตี  โดยส่งเรื่อและทหารเข้ายึดเมืองหลวงอาอุษา จีน ancient-china-battle ณจักรจามปา ซึ่งก็สามารถยึดได้ โดยที่พระจ้าชัยอินทราวรมันที่ 6 นำทัพถอยไปซ่อนอยู่ตามภูเขากุบไลข่านสงกำลังเสริมไปช่วย แต่ประสบปัญหาหลายประการ จากความไม่คุ้นเคยกับภูมประเทศ อากาศร้อนชื้นซึ่งทหารมองโกลไม่สันทัด และโรคภัยต่าง ๆ กุบไลข่านจึงส่งกำลังเสริมไปอีกเส้นทางหนึ่งโดยใช้เส้นทางของอาณาจักรอนนัมเป็นทางผ่าน แต่กษัตริย์อันนัมปฏิเสธไม่ยอมให้ใช้ดิอนแดนของอาณาจักรอันนัมในการบุกจามปา มองโกลจึงต้องทำสงครามกับอาณาจักรอันนัม ผลของสงครามทั้งอันนัม และจามปานั้น แม้จะไม่มีการสู้ถึงขั้นแพ้ชนะเนื่องจากมองโกลเคลื่อนทัพด้วยความลำบาก แต่แล้วทั้งสองอาณาจักรก็ต้องยอมสวามิภักดิ์ โดยส่งบรรณาการไปสวามิภักดิ์กุลไลข่านทั้งสองอาณาจักร

tribute

    กุบไลข่านส่งกองทัพแผ่อำนาจลงทางใต้เพื่อล้มล้างราชวงศ์ซ่งทางตอนใต้ของจีน ซึ่งผลจากการยกทัพตามไล่ล่าดังกล่าว เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้กองทัพมองโกลรุกรานมายังเขตยูนนาน และโจมตี อาณาจักรน่านเจ้า
    หลักฐานในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโยทัยกับราชวงศ์มองโกล สรุปไว้ว่า กุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการยกทัพไปปราบปรามแค้วนต่าง ๆ ทางใต้ มี สุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่น ๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฎว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่ต๋าไม่เห้นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่าง ๆ มาสวามิภักดิ์ก่อน ต่อเมือไม่ยอมจึงยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรกว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อ
เสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...