ราชวงศ์หยวนเป็นยุคสมัยที่ต้องปกครองผู้คนหลากหลายชนชาติหลายเผ่าพันธ์ โดยมี
ชนชั้นวรรณะในสังคม ก็แบ่งตามชาติพันธ์ โดยชาวมองโกลมีฐานะทางสังคมสูงสุด รองมาเป็นพวกชาวต่างชาติ ต่อมาก็คือ ชาวซ่งเหนือและ ฐานะทางสังคมที่ต่ำที่สุดคือซ่งใต้ ในทั่งนี้ไม่มีการแบ่งฐานะทางสังคมอย่างชัดเจนแต่สะท้อนออกมาทางกฎหมาย ข้อบังคับ สิทธิหน้าที่ต่าง ๆ ของพลเมืองในชาติ
นอกจากนั้นยังมีการแบ่งความสูงต่ำทางอาชีพกระทั่งมีการล้อเลียน ในยุคสมัยนั้นว่า “หนึ่งขุนนางสองข้าราชการ” “เก้าบัณฑิตสิบของทาน” ซึ่งบัณฑิตในสมัยนี้ถูจัดลำดับอาชีพซึ่งอยู่ตำกว่ากระทั้งโสเภณี
มองโกลหลังจากยุคกุบไลข่าน มีการแก่งแย่งอำนาจกันอย่างรุนแรงและหนักหน่วง ระยะเวลาเพียง 25 ปี ราชวงศ์หยวนมีจักรพรรดิถึง 8 พระองค์ บางพระองค์ครองราชเพียง ปีเดียว
ราชสำนักต้าหยวนได้ส่งทหาร ไปบังคับเกณฑ์แรงงานชาวฮั่น เรื่อนแสน เพรือขุดลอกคลอง แม่น้ำ และซ่อมเขื่อนที่พัง และขุนนางยังถือโอกาสโกงเงินค่าแรงจาก มวลชนมีความเจ็บแค้นต่อราชสำนัก ในเวลานั้น จึงเกิดลัทธิดอกบัวขาว ในการรวบรวมเป็นกองทัพชาวนา
และด้วยกลวิธีที่ผนวกับเชื่อของมนุษย์ในยามแร้งแค้น ลัทธิดอกบัวขาว ให้คนออกไปปล่อยข่าวลือว่า “ เมือใดที่มนุษย์หินตาเดียวปรากฎ ก็จะมีการพลิกฟ้าผลัดแผ่นดิน” หลังจากนั้นก็ลอบส่งคนไปทพรู้ปั้นหินมนุษย์ตาเดียวแล้วนำไปฝังบริเวณที่มีการขุดลอกแม่น้ำ เมือชาวบ้านขุดพบรู้ปั้นหิน การต่อต้านมองโกลจึงลุกลามเป็นไฟลามทุ่ง
หลังจากนั้นลัทธิบัวขาวจึงตั้งเป็นกองทัพโพกผ้าแดง และทำศึกกับราชสำนัก กองทัพโพกผ้าแดงเสือมสลายไป จากการเสียชีวิตของผุ้นำ เป็นช่วงเวลาเดียวกับอีกกองกำลังทาใต้ นำโดย “จูหยวนจาง”กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม่จะเป็นเยงลูกชาวนาเกิดในครอบครัวที่ยากจนแต่ได้รับการสนับสนุนทั้งจากกุนซือผุ้ชาญฉลาด และเศรษฐีผู้มั่งคั่ง จึงทำให้กองทัพเติบโตอย่างรวดเร็ว
ปี ค.ศ. 1368 ทั่วทั้งแดนใต้ตกเป็นของจูหยวนจาง จึงสภาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ “ราชวงศ์หมิง” ตั้งเมือง อี๋เทียน และไค
รวมทั้งสิ้นราชวงส์หยวนปกครองแผ่นดินจีน เป็นเวลา 97 ปี จักรพรรดิ์ 11 พระองค์ ทั้งที่เป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งและยกว้างใหญ่ แต่การขูดรีด การกดขี่ และการแบ่งชนชั้น ทำให้เกิดการล่มสลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นอุทาหรณ์ต่อชนชั้นปกครองในราชวงศ์ต่อๆมา ราชวงศ์หยวนเป็นช่วงเวลาที่กำหนดอาณาเขตการปกครองของแผ่นดินจีนในเวลาต่อมา กล่าวคือหลังจากราชวงศ์หยวนถึงราชวงศ์ชิง อาณาเขตของแผ่นดินจีนไม่มีการเปลี่ยแปลงมากนัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น