วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Raffaello Sanzio,

   raphae11  ราฟาเอล ซันซิโอ เป็นจิตรกรชาวอิตาลี ในยุคสมัยเรอเนซองส์ ราฟาเอลอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปี และน้อยกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี ราฟาเอลเดินทางมายังฟลอเรนซืเพื่อศึกษางานของ ดาวินชี และมีเกลันเจโล และมาอยู่ที่กรุงโรม เขาพากเพียรเขียนภาพเพื่อให้ทัดเทียมกับศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองที่เขายกย่อง
      ราฟาเอลได้เขียนจิตรกรรมฝาผนังหลายชิ้นในนครวาติกัน ซึ่งถือกันวาเป็นผลงานขั้นสูงสุดในยุคฟื้นผูศิลปวิทยาที่สามารถรวมความสงบนิ่งไว้กับความสมดุลได้อย่างกลมกลืน ราฟาเอลได้รับการแต่งตั้งเป็นสถาปนิกผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ และมีส่วนร่วมในการวางผังเมืองกรุงโรม
     งานจิตรกรรมในระยะหลังมีความเรียบง่ายและมีความใหญ่โตมากขึ้น แต่ยังคงรักษาความมีชีวิตชีวาของงานยุคต้นของเขาไว้ได้ งานของของระฟาเอลที่แสดงถึงความงามของผู้หญิงเป็นผลงานที่มีอิทธิพลต่อศิลปินกลุ่ม สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกโรมัน (นีโด-คลาสสิค) เป็นอย่างมาก
     ราฟาเอลมีความใกล้ดสนิดสนมกับเจ้าผู้ครองนครและพระสันตะปาปามากในช่วงปลายของชีวิต ราฟาเอลเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปี ศพของราฟาเอลได้รับการฝังไว้ที่มหาวิหารแพนเธอนอนในกรุงโรมโดยพระบัญชาของพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 
     ห้องราฟาเอล Raphael Roomsหรือ Stanze di Raffaello เป็นห้องชุดสี่ห้องภายในห้องชุดที่ประทับของพระสันตะปาปาภายในวัง พระสันตะปาปาในนครรัฐวาติกันเป็นห้องชุดที่มีชื่อเสียงจากจิตกรรมาผาฝนังที่เขียนโดยราฟาเอล และชาเปลซิสติน โดย ไมเคิลแอนเจโล  ซึ่งเป็นงานชิ้นเอกของศิลปะเรอเนซองส์
    สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ทรงจ้างราฟาเอล ให้ตกแต่งภายในห้องชุดใหม่ทั้งหมด ซึ่งอาจจะทรงประสงค์ที่จะทำให้ดีกว่าพระสันตะปาปาองค์ก่อน ผู้ทรงเป็นปรปักษ์ เพราะห้องเหล่านี้อยู่เหนือห้องบอร์เจีย ของพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์โดยตรงพอดี ห้องชุดราฟาเอลอยู่บนชั้นสามที่มีทิวทัศน์ทางด้านใต้ของลานเบลเวเดียร์ ในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “ห้องราฟาเอล”อันประกอบด้วย
  

ห้องคอนแสตนติน 

  
7814608998_b4a7e8faf4_z
“ห้องคอนแสตนติน เป็นห้องที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสี่ห้อง ภาพในห้องนี้เริ่มเขียนหลังจากราฟาเอลเสียชีวิตแล้ว เป็นห้องที่อุทิศให้แก่ชัยชนะของคริสต์ศาสนจักรต่อผู้นอกศาสนา จิตรกรรมฝาผนังแสดงความขัดแย้งของจักพรรดิคอนแสตนติน เป็นงานที่เขียนโดย จานฟรานเชสโค เพ็นนิ,จุยลิโอ โรมาโน และราฟาเอลลิโน เดล โคลเล



“ทิพยทัศน์ของกางเขน”                                             “จักรพรรดิคอนแสตนตินอุทิศดินแดน”               “จักรพรรดิคอนแสตนตินรับศีลจุ่ม”                         “ยุทธการสะพานมิลเวียน”          


ห้องเฮลิโอโดรัส

0eliodopraffaello-sanzio-view-of-the-stanza-di-eliodoro




ภาพที่อยู่ในห้อง “เฮลิโอโดรัส” ประกอบด้วย “การพบปะระหว่างพระสันตะปปาเลโอกับอัตติลา”  “การปลดปล่อยนักบุญปีเตอร์”  “การขับเฮลิโอโดรัสออกจากวัด”  “ปาฎิหาริย์ที่โบลเซนา” ตามลำดับ





ห้องเซนยาทูรา

     เป็นห้องแรกที่ตกแต่งโดยราฟาเอล เป็นห้องที่ใช้เป็นห้องสมุดของพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งเดิมเป็ฯห้องที่ประชุมทางศาลของพระสันตะปาปา จิตรกรนำความหมายของห้องทางคริสต์ศานปรัชญาและความยุติธรรมในการศาลมาแปรเป็นภาพโดยใช้สัญลักษณ์ภาพกลม Tando เหนือผนังตรงกลาง หัวใจของภาพเขียนในห้องนี้คือความมีสติปัญญาในทางโลกและทางธรรมและความสัมพันธ์อันดีของความคิดเรอเนซองส์ในด้านมนุษยนิยมระหว่างคริสต์จักรและปรัชญากรีก ห้องถูกใช้เป็นที่ลงนามเอกสารสำคัญต่าง ๆ ของสันตะปาปา (ห้องลายเซ็นต์)





     ห้องเซนยาทูรา Stanza della Segnatura ประกอบดวยภาพ“ปุจฉาวิสัชชาเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์” ภาพที่อยู่ด้านบนกลับห้ว“โรงเรียนแห่งเอเธนส์” คือภาพที่อยู่ด้านล่างสุดในมุมปกติ “ภูเขาพาร์นาสสัส” ภาพที่อยู่ทางด้านขวามือและ“คุณธรรมสามอย่าง”คือภาพที่อยู่ทางซ้ายมือ ส่วนภาพตรงกลางนั้นคือ เพดานของห้องเซนยาทูรา


ห้องเพลิงไหม้ในเมือง

     ตั้งชื่อตามภาพ “เพลิงไหม้ในเมือง” ที่เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงภาพสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 4 ทำสัญญาณให้พระเพลิงที่เผาผลาญบริเวฯหนึ่งของกรุงโรมไม่ไกลจากวาติกันให้หยุด โดยการให้พร ห้องนี้เตียมไว้สำหรับเป็นห้องดนตรีของพระสันตะปาปาองค์ต่อจากจูเลียส คือ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10  ภาพ”เพลิงไหม้ในเมือง” ราฟาเอลเพียงแต่ร่าง และเสียชีวิตไปก่อน ผู้เขียนคือผู้ช่วยของราฟาเอล







   “เพลิงไหม้ในเมือง” วาดจาก หนังสือพระสันตะปาปา ที่เป็นคำบรรยายของเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นในแขวงหนึ่ง
ของกรุงโรมในปี ค.ศ. 847 ตามตำนาน สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 4 ทรงทำให้ไฟสงบโดยการประทานพร
ชายหนุ่มที่แบกชายแก่บนหลังทางมุมซ้ายของภาพสะท้อนหัวเรื่องของตำนานคลาสสิกของเอเนียสและอันคิซิส
หนีเพลิงไหม้ที่ทรอย ซึ่งมีความหมายเป็นนัยว่าโรมคือกรุงทรอยใหม่ ส่วนอีก สามภาพคือ “พิธีราชาภิเษกของชาร์เลอมาญ
“ยุทธการออสเตีย” และ”คำสัตย์ปฏิญาณของพระสันตะปาปาลีโอที่สาม”

Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni

       Michelanglo di Lodovico Buonarroti Simoni มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดังชาวอิตาลี ศิลปินผู้เข้าถึง 3 ศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขาไม่ เป็นเพียงผู้ที่เข้าถึงแต่เพียงศาสตร์ด้านวิจิตรศิลป์ แต่เขายังเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม และประติมากรรมอีกด้วย เขาเติบโดที่เมืองฟลอเรนซ์ ใช้ชีวิตอยุ่ในกรุงโรมช่วง อายุ 21-26 ปีมีเกลันเจโลสร้างปะติมากรรมรูปเดวิด  เมืออายุ 26  จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมน ความสำเร็จจากงานชิ้นนี้ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี 
 
มิเกเอลเจโล เกลียด ดาวินชี่ ทั้งที่เป็นคนในยุคสมัยเดียวกัน อายุอ่อนกว่า ดาวินชี่ เพียง 22 ปี นัยว่าเดินคนละทาง มิเกเอลเจโล ในช่วงปี ค.ศ. 1497-1500 มีเกลันเจโล ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกช้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ Pieta ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม 

   เมื่ออายุ 30 ปี เขาไถกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่ออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็ฯอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสภาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม  ก่อนถึงมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ข้าหน้าจะเป็นลานกว้าง Piazza San Pietro(St.Pietro Square) ล้อมรอบด้วยเสาดอริค 284 ต้น และรูปปั้นนักบุญ 96 รูป ตรงกลางลานมีเสาโอลิสก์จากอียิปต์ ด้านหน้ามหาวิหาร โดมขนากมหึมาที่ครอบมหาวิหารออกแบบโดยไมเคิลแองเจโล ตัววิหารสร้างโดยศิลปินหลายคนใช้เวลาสร้างรวม 150 ปี

มหาวิหารนักบุญเปโตรเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกัน สร้างทับวิหารเดิมที่ชื่อเดียวกัน โดมของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์สูงโดดเด่น โบสถ์นี้ตั้งอยู่ในเนื้อที่ ประมาณ 2.3 เฮกตาร์จุคนได้กว่า 60,000 คน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิที่สุดที่หนึ่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ที่ตั้งโบสถ์เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ฝังร่างของ นักบุญเปโตร ซึ่งเป็นหนึ่งในอัตคทูตของพระเยซู
     ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมืองวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1506 บนโบสถ์แบบคอนแสดนทีน และเสร็จเมือปี ค.ศ. 1626 แต่เดิมนั้นมหาวิหารนักบุญเปโตร มิได้เป็นสถานที่พำนักประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปาเช่นปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังควเป็นโบสถ์สำคัญแห่งหนึ่ง  ซึ่งเป็นโบสถ์ที่ตั้งอยู่ในตัวนครรัฐวาติกัน และมีเนื้อที่มาก การทำพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปาก็จะมาทำกันที่นี่ MichelangeloBuonarroti


     เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายปยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะ The Last Judgment  ซึ่งใช้เวลาในการเขียนถึง 6 ปี มีเกเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 90 ปี
     The last Judment   “การตัดสินครั้งสุดท้าย” เป็นจิตกรรมฝาผนังที่เขียนภายในชาเปลซิสตินในนครรัฐวาติกัน สิบปีหลังจากเขียนเพดานซาเปลซิสติน
    ชาเปล เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่ ขนาดมหาวิหาร ไปถึงวัดน้อยเล็กๆ ข้างทาง ชาเปลหรือวัดน้อยที่เป็นส่วยหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร,วัดใหญ่ๆ,ปราสาท,วัง,คฤหาสน์,วิทยาลัย,โรงพยาบาล,คุก, หรือสุสานบางครั้งสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอยางหนึ่งเป็นพิเศษ
     ชาเปลซิสติน เป็นชาเปลภายในวังพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระสันตะปาปาตั้งอยู่ในนครรัฐวาติกัน ชาเปลซิสตินมีชื่อเสียงในทางสถาปัตยกรรมเพราะเป็นสถานที่ที่ทำให้ระลึกถึงวัดโซโลมอนใน พันธสัญญาเดิม,การตกแต่ง,จิตรกรรมฝาผนังโดยจิตกรผู้มีชื่อเสียงในยุคเรอเนซองส์รวมทั้ง ไมเคิล แอนเจโล ผู้วาดเพดานของชาเปลที่เป็นที่เลื่องลือ และสุดท้ายคือความสำคัญในการเป็นสถานที่ทถพิธีทางศษสนาของพระสันตะปาปาโดยเฉพาะการเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่
michelangelo-creation-adam-
   
เพดานชาเปลซิสติน เป็นจิตรกรรมฝาผนังบนเพดาน ภาพเขียนบนเพดานเป้ฯส่วนหนึ่งของหัวข้อใหญ่ในการตกแต่งภายในทั้งหมดของชาเปลที่รวมทั้งจิตกรรมฝาผนัง “การตัดสินครั้งสุดท้าย” และภาพเขียนอื่น ๆ โดยกลุ่มจิตกรชั้นนำของยุคเรอเนซองส์ ที่รวมทั้งซานโดร บอตติเชลลีและเปียโต เปรูจิโน และพรมทอแขวนผนังชุดใหญ่โดยราฟาเอล หัวใจของภาพทั้งหมดสะท้อนปรัชญาของ โรมันคาทอลิก
    หัวใจของภาพเขียนบนเพดานเป็นฉากเก้าฉากจากพระธรรมปฐมกาลตั้งแต่วันที่ 1ถึงวันที่ 9  ในบรรดาเก้าภาพ ภาพที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือภาพพระเจ้าสร้างอาดัม ที่กลายมาเป็นรูปสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักพอๆกับ “โมนาลิซ่า” 

800px-Michelangelo_-_Sistine_Chapel_ceiling_-_7th_bay
800px-Michelangelo_-_Sistine_chapel_ceiling_-_bay_8 
800px-Michelangelo_-_Sistine_Chapel_ceiling_-_7th_bay
800px-Michelangelo_-_Sistine_Chapel_ceiling_-_6th_bay
799px-Michelangelo_-_Sistine_chapel_ceiling_-_bay_5
799px-Michelangelo_-_Sistine_Chapel_ceiling_-_4th_bay
800px-Michelangelo_-_Sistine_Chapel_ceiling_-_3rd_bay
800px-Michelangelo_-_Sistine_chapel_ceiling_-_Second_bay
799px-Michelangelo_-_Sistine_chapel_ceiling_-_bay_1

Last Judgment การพิพากษาครั้งสุดท้าย ตามหลักอวสานวิทยาศาสนาคริสต์ หมายถึง วันที่พระเจ้าทรงพิพากษาบรรดาประชาชาติต่าง ๆ ซึงจะเกิดขึ้นหลังจากการคืนชีพของบรรดาผู้ตายและการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซู ซึ่งเป็นหัวข้อที่นิยมกันมากในงานศิลปะ


sistinechapel





วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Da Vinci

leonardo-da-vinci-paintings.006 
 
      เลโอนาร์โด ดา วินชี  เป็นชาวอิตาเลียน(ค.ศ.1452-1519) เป็นอัจฉริยะบุคคล มีความสามารถหลากหลาย มีผลงานทั้งศิลปะ มากมาย  ผลงานที่มีชื่อเสียง อาทิ โมนาลิซ่า  พระกระยาหารมื้อสุดท้าย  ทั้งยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิศวกรรมโยธาด้วย





23218-attachment

                                                                                                                                  วิทูเวียนแมน
เป็นการพิสูจน์ทฤษฎี ของ “มอร์คัส วิทรูเวียส โพลิ ออ” ซึ่งเป็นนักเขียน สถาปนิก และวิศวกร แห่งอาณาจักรโรมัน มีหน้าที่น้างเครื่องกลต่าง เพื่อใช้ในการทำสงคราม ในยุคสมัยของเขา เขาไม่ใช้คนสำคัญหรือมีชื่อเสียงแต่อย่างใด นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า วิทรูเวยสเป็นผู้เขียนตำราชื่อ “เดออาร์คิเท็คทูร่า” หรือรู้จักกันในนามของ “เท็น บุคส์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์” เป็นหนังสือเล่มเดียวเกียวกับสถาปัตยกรรมในยุคนั้นที่มีหลักฐานหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน 
    ข้อความที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด และยังคงใช้กันมาต่อเนื่องกระทั่งปัจจุบัน คือ สถาปัตยกรรม ต้องมี คุณลักษณะสามประการ ได้แก่ เฟริมเนส คือ ความแข็งแรง คอมมอดิตี้ หรือ ใช้การได้ และ ดีไรท์ ความคงทน
     แนวคิดสำคัญอีกประการของวิทรูเวียสคือ แนวคิดเกี่ยวกับการมองสถาปัตยกรรมเป็นการสร้างสรรค์เลียนแบบองค์ประกอบของธรรมชาติ เพราะมนุษย์ต้องใช้วัสดุจากธรรมชาติมาสร้างสถาปัตยกรรม ภาษาของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นต้องมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งหลักการนี้ชาวกรีกได้มีการนำไปเป็นพื้นฐานในการพัฒนาองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่น เสาดอริก ไอโอนิค ทุกสัดส่วนที่เกิดขึ้นนั้น มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่งานอันเป็นสุดยอดแห่งการสร้างสรรค์ของธรรมชาติได้แก่ร่างกายของมนุษย์ นั่นเอง davinci19
      แนวคิดเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ดังกล่าวได้รับการนำไปถ่ายถอดเป็นภาพเขียนที่ที่มีชื่อเสียงชื่อ “วิทรูเวียนแมน” หรือมนุษย์ของ วิทรูเวียส ซึ่งเขียนโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี ด้านบนและด้านล่างของภาพ เต็มไปด้วยตัวอักษรหลายบรรทัดซึ่ง ลีโอนาร์โด บันทึกไว้ด้วยตัวอักษรแบบกลับด้าน ถอดความได้ว่า “ภาพนี้วาดเพื่อเป็นการศึกษาสรีระของร่างกายมนุษย์เพศชาย ตามที่ถูกบันทึกไว้โดยวิทรูเวียส”

ก่อนหน้าเลโอนาร์โด หลายคนได้วาดภาพวิทรูเวียนเมน โดยพยายามยัดคนลงไปในจตุรัสที่อยู่ในศมีของวงกลม มีจุดศูนย์กลางเดียวกันได้ผลลัพธ์เป็นคนที่สัดส่วนแปลกไป เช่นวิทรูเวียนแมน ของเซซารีอาโน ค.ศ.1521
davinci18
     เลโอนาร์โด ใช้ข้อมูลการศึกษาของตนเองมาเปรียบเทียบกับคำอธิบายของวิทรูเวียส จึงแก้รายละเอียดในขอ้สรุปของวิทรูเวียสได้ คือคนกางแขนขาจะตกอยู่ในกรอบจตุรัสและวงกลมได้จริง แต่ตัวจตุรัสและวงกลมไม่สัมพันธ์กัน และไม่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน ในขณะที่สะดือเป็นจุดศูนย์กลางของคนในวงกลมจริง แต่จุดศูนย์กลางของคนในจตุรัสจะอยู่ต่ำลงมา

      เลโอนาร์โดศึกษาสัดส่วนมนุษย์และระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ มาโดยตลอดและเป็นคนเดียวที่ศึกษาข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบ  เขาศึกษาร่างกายของม้าเพื่อทำประติมากรรมให้สฟอร์ซา และสามารถสรุปภาพรวมสัดส่วนร่างกายมนุษย์ และพิสูจน์ทฤษฎี ของวิทรูเวีนสได้สำเร็จ


davinci-shoulderslargeเลโอนาร์โดศึกษากายวิภาพมนุษย์พร้อมระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งก่อนหน้าเลโอนาร์โด ไม่เคยมีใครศึกษาและบันทึกกายวิภาคมนุษย์อย่างละเอียดและถูกต้อง แม้ว่าในวงการแพทย์จะตระหนักถึงความจำเป็นในองค์ความรู้นี้ก็ตาม การผ่าศพเพื่อศึกษาอวัยวะภายใน จะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนนอกศาสนาทำงานให้ซาตาน สฟอร์ซาซึ่งเป็นฮิวแมนนิสต์ผุ้มีอิทธิพลกล้าสนับสนุนและอนุญาตให้เลโอนาร์โด ผ่าศพในสตูดิโอได้ การครหาและข่าวลือต่างๆ ถึงกับกล่าวหาว่าเลโอนาร์โดเป็นพวกเล่นแร่แปรธาตุที่พยายามปลุกผีฟื้นชีวิต และยังถูกทางศาสนากล่าวประจานในที่สาธารณะอีกด้วย
     เลโอนาร์โด ผ่าศพกว่า 30 ศพศึกษาแทบทุระบบรวมถึงระบบเลื่อดและระบบประสาท ทั้งผ่าทั้งวาด ซึ่งเขาต้องค่อยๆ แซะเนื้อเยื้อเพื่อให้เห็นการโยงใยของทั้งระบบที่ละระบบ และผ่าสมอง จากนั้นก็เปรียบเทียบโครงสร้างมนุษย์และกายวิภาพของสัตว์ต่างๆ และสามารถสรุปข้อเหมือนและข้อแตกต่างของกายวิภาคคนและสัตว์



Mona-lisa-through-glass

                                                                                                                                   โมนาลิซา
โมนา ลิซ่า หรือ ลาโชกงด์ คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เชนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร เป็นภาพสตรียิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ Musee du Louver กรุงปารีส ประเทสฝรั่งเศส ราคาประเมิน 22,337,782,886 บาท  เมือปี 2006 
    “โมนาลิซ่า” นั้นได้ถูกตั้งขึ้นโดย จอร์โจ วาซารี ศิลปิน และนักชัวประวัติชาวอิตาลี หลังจากดา วินชีเสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์ได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั้งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีชา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด
    คำว่า “โมนา” ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนน่า คุณผู้หญิง หรือ มาดาม ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ “มาดาม ลิซ่า” แต่ในปัจจุบันบางก็ใช้คำว่า “มอนนา ลิซ่า”


     ภาพโมนสลิซ๋าว่าโดย ดา วินชี ซึ่งใช้เวลาในการวาดถึง 4 ปี คือ ตั้งแต่ ค.ศ.1503-1507 ในปี ค.ศ. 1516 ดา วินชีนำ “โมนาลิซ่า”จากอิตาลีไปฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Luce ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และทรงให้ ดา วินชี่ วาดพระบรมฉายาลักษณ์ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงชื้อ “โมนาลิซ่า” ในราคา 40,000 เอกือ
      ดา วินชี เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ฝรั่งเศส เมืออายุได้ 67 ปี ซึ่งได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผุ้ติดตามเขา ฟรานเชสโก เมลชิ และเมื่อฟรานเชสโก เมลชิ เสียชีวิตก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกเร่มกระจัดกระจาย ต่อมา “โมนาลิซ่า” ถูกนำไปเก็บไว้ที่พระราชวังฟงเตนโบล และพระราชวังแวร์ซาย ตามลำดับ หลังปฏิวัติฝรั่งเศสถูกนำไปเก็บที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในราชวังดุยเลอรี และในที่สุดก็ได้หลับมาที่พิพิธพันธ์เหมือนเดิม
   ในช่วงสงคราม ฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ภาพถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนในที่ลับในประเทศฝรั่งเศสเมือปี 1911  “โมนาลิซ่า”ถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งใช้เวลากว่า 2 ปี นางจึงจะกลับมา ซึ่งได้พบที่เมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี ปัจจุบันดูแลรักษาอย่างดีในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ฝรั่งเศส
     โมนาลิซา เป็นภาพเขียนครึ่งตัว portrait สุภาพสตรีผมยาว มีผ้าคลุม  หวีผมแสกกลาง เสื้อคลุมสีดำเรียบเห็นใบหน้าเกือบตรง ลำตัวบิดเล็กน้อย มือขวาวางคว่ำสัมปัสข้อมือซ้ายที่วางราบอยู่บนที่วางแขนของเก้าอี้ เบื้องหลังเป็นภาพทิวทัศน์ สงบเงียบ บรรยากาศเร้อนลับ ชวนฝัน
ภาพส่วนขยายนัยน์ตาและรอยยิ้ม ของ

542996-topic-ix-1
รอยยิ้มโมนาลิซ่า   ลักษณะรอยยิ้มของ โมนา ลิซ่ามีการตีความไปต่าง ๆ นานา รอยยิ้มนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในงานเขียนของ ดาวินชี เอง แต่มีผู้เห็นว่าภายใต้รอยยิ้มยากที่จะหยั่งของ โมนา ลิซ่า แฝงไว้ด้วย ปริศนาอมตะแห่งอิสตรี the-secret-of-mona-lisas-smile-lies-in-leonardos-painting
   - ซิกมันด์ฟรอยด์ “ลีโอนาร์โดหลงไหลรอยยิ้มของ โมนา ลิซ่า”  
   - วอลเทอร์ เพเทอร์ พรรณนาไว้ว่า “เธอมีอายุแกกว่าหินผาที่ห้อมล้อมเธอ ประดุจหนึ่งปีศาจดูดเลือด เธอได้ตายมาแล้วหลายคราและหยั่งรู้ความลึกลับแห่งหลุ่มศพ” 
   ในศตวรรษที่ 19 เธอถูกโจรกรรม 2 ปี โดยไปพบที่บ้านเกิดเธอที่ฟรอเรนซ์ คนรุ่นใหม่ยังคงค้นหาปริศนาของเธอ แม้ว่าจะมีความคลางแคลงใจว่าจะไม่ใช่ ลิซ่าคนเดิม
   - ศาสตราจารย์ มาร์กาเร็ต ไลวิงสโตน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า รอยยิ้มของโมนาลิซ่า จะปรากฎเมื่อเราจอจ้องที่ส่วนอื่น ๆ ของรูป แต่รอยยิ้มนั้นจะหายไปทันที เมื่อเราจ้องไปที่ริมฝีปากเพียงอย่างเดียว และที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกระบวนการการส่งข้อมูลของสายตาทให้เราเห็นเช่นนั้น การมองของมนุษย์มีสองแบบ เรียกว่า โฟเวียล เป็นการมองเฉพาะจุด เพื่อเก็บรายละเอียด แต่อาจจะไม่เหมาะกับการมองแสงเงา ส่วนอีกแบบคือการมองแบบเพอริเฟอรอล ซึ่งเป็นการมองส่วนรอบนอก ความลับของรอยยิ้มบนใบหน้า โมนาลิซานั้นขึ้นอยู่กับระยะสายตาของผุ้ชม และเราจะเห็นรอยยิ้มนั้นก็ต่อเมือเรามองแบบเพอริเฟอรอล เวลาที่ชมภาพคนส่วนมากจะมองที่ใบหน้าตรงๆ จะไม่มองเป็นจุด ๆ หรือเฉาพะที่ ซึ่งศาสตราจารย์ไลวิงสโตน ได้ยกตัวอย่างของผลลัพธ์ที่เกิดจากากรมองตัวอักษรบนหน้าหนังสือ
       เวลาที่เรามองตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่ง เราก็จะมองตัวอักษรอื่น ๆ ได้ค่อนข้างลำบาก หรือมองได้ไม่ถนัด และลีโอนาร์โด ก็ได้นำวิธีนี้มาใช้ในการวาดภาพโมนาลิซา รอยยิ้มของภาพวาดนี้จะปรากฎก็ต่อเมือเรามองที่ดวงตา หรือส่วนอื่น ๆ บนใบหน้าที่ไม่ใช้ริมฝีปากของเธอ
   - ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ออกมา ในความเห็นอย่างชัดเจนว่า ยิ้มที่ปรากฎอยู่บนภาพของโมนาลิซา นั้นเป็นยิ้มที่เปี่ยมสุข ถึง 83 เปอร์เซนต์ ผลวิเคราะห์อารมณ์บนใบหน้าของโมนาลิซา ยังแสดงอารมณ์อื่น ๆ ออกมาอีกว่า ใบหน้าของเธออีก 9 เปอร์เซ็น แสดงถึงความชิงชัง 6 เปอร์เซ็นต์ แสดงถึงความหวาดกลัว และแสดงอารมณ์โกรธผ่านใบหน้าเดียวกันออกมา 2 เปอร์เซ็น
       ซอฟแวร์การจดจำอารมณ์ เป็นโปรแกรมที่พวกเขาพัฒนาขึ้น โดยร่วมมือกับนักพัฒนาจากมหาวิทยาลัย อิลลินอยส์ เพื่อใช้กับผลงานชิ้นเอกของ ดาวินชี่ อย่างไรก็ตาม หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า บรรดาผุ้ร่วมงานต่างรู้ดีว่าผลการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นไปตามหลักวิทยศาสตร์ ซอฟต์แวร์ลิ้นดังกล่าวไม่ได้ออกแบบมาให้จดจำอารมณ์หรือสีหน้าที่แสดงออกมาเป็น “เลสนัย” ดังนั้นจึงไม่สามารถตรวจจับร่องรอยแห่งชู้สาว และความรังเกียจที่หลาย ๆ คนอ่านได้ผ่านดวงตาของเธอโมนา ลิซอร์ย
  104780 - คริสโตเฟอร์ เทย์เลอร์ และลีโอนอยด์ คอนต์เซวิช แห่งสถาบันวิจัยทางจักษุสมิธ-แคตเทิลเวลล์ ในซานฟรานซิสโกเชื่อว่า เหตุที่โมนาลิซายิ้มโปรยปรายได้ขนาดนี้ก็เพราะ “นอยซ์” หรือมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นในระบบการับรู้ทางสายตาของผู้ที่มองภาพอันบันลือโลกนี้ นักวิจัยทั้ง 2 ได้นำภาพวาดโมนาลิซาบันทึกลงคอมพิวเตอร์ แล้วสุ่มใส่นอยซ์ลงในภาพหลาย ๆ แบบ แต่ในภาพคือจุดสีเล็กที่เกิดขึ้นบนภาพ ทำให้ภาพไม่ชัด อย่างเช่นการดูโทรทัศน์ที่สัญญาณไม่ดีก็จะทำให้เห็นภาพเป็นจุด ๆ นั้นคือ “นอยซ์”
       ผลการพินิจดูภาพ โมนาลิซา ที่มีนอยซืมาฉาบไว้นั้น เป็นไปตามความคาดหมายของคริสโตเฟอร์และลีโอนอยซ์ กล่าวคือ นอยซ์ส่วนที่อยู่ตรงมุมปาก ทำปากของโมนาลิซายกขึ้น จึงทำให้โมนาลิซามีใบหน้าเปื้ยนยิ้มอิ่มเอมมีความสุข ส่วนนอยส์อีกภาพหนึ่งที่อยู่บนปากของโมนาลิซากลับทำให้รูปปากแบนลง ภาพนี้เลยทำให้โมนาดูเศร้าสร้อย
        อย่างไรก็ตาม จุดรบกวนหรือ นอยซ์เหล่านี้ มีผลต่อผู้สังเกตการณ์ที่มาดูภาพโมนาลิซาที่เคย ๆ เห็น เกิดการรับรู้ที่แตกต่างออกไปจากเกิมได้อย่างประหลาดใจ 
        เทย์เลอร์  เปิดเผยว่า ระบบการรับภาพในสมองของมนุษย์ทั่งไปจะเปลี่ยนไปตามสิ่งรบกวน และอย่างกรณีภาพโมนาลิซาฉาบนอยซ์ไว้เช่นกัน เมื่อผุ้มอง เห็ฯภาพที่ม่เม็ดสีเล็ก ๆ ไม่ชัดอยู่บนภาพ อนุภาคโฟตอนหรือหน่วนพลังงานของรังสีแสงที่จอตา (เรตินา) รับเข้ามาก็จะเป็นลักษณะแกว่งไปมา จากนั้นเซลล์รับแสงที่จอตาก็จะอ่านค่าเม็ดสีที่มองเห็นผิดเพี้ยน และในที่สุดการรับรู้เม็ดสีที่ผิดเพี้ยนนี้ก็ถูกส่งต่อไปยังประสาท และสมองในที่สุด
        “ สิ่งรบกวนโดยธรรมชาติเหล่านี้ ทำให้คนทั่งไปมองภาพ “โมนาลิซา” แล้วเห็นภาพชิ้นนี้เปลี่ยนไป มากกว่าที่จะเห็นเหมือนแต่ก่อนว่าโมนาลิซามีการแสดงสีหน้าที่น่าสงสัยลักลับ “นอยซ์” ทำให้ภาพวาดช้นนี้มีพลังจนถึงปัจจุบัน” พร้อมกับกล่าวว่า ที่ดาวินชี วาดโมนาลิซาได้ออามาจนลือลั่นขนาดนี้ เพราะดาวินชีรู้ได้ด้วยสัญชาติญาณศิลปินของเขาว่า “นอยซ์” สามารถสร้างการรับรู้ที่แตกต่างของคนต่างออกไป
eye2
ดวงตาโมนาลิซ่า 
     ในการค้นหาปริศนาดาวินชี่ นอกจากรอยยิ้มที่น่าพิศวงแล้วดวงตายังเป็นสิ่งที่เป็นจุดสนใจ ว่าดาวินชี่จะซ่อนปริศนาอะไรไว้หรือเปล่า โดยในการค้นคว้าล่าสุด นักวิจัยชาวอิตาเลียน ค้นพบว่าeyeในดวงตาข้างซ้ายมีอักษร ce โดยบางคนว่าน่าจะเป็น b มากกว่า  และในดวงตาข้างขวา มีอักษร lv และสะพานตรงส่วนโค้งทางด้านหลังมีตัวเลข 72 หรือ l2
    มีผู้ตั้วข้อสังเกตว่า อาจจะไม่ใช่รหัสของดาวินชี่ แต่อาจเป็นเพียงความบังเอิญหรือผิดพลาดของผู้ที่มาซ่อมแซมภาพเท่านั้น 
    ซิลวาโน วินเซติ ประธานกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมของอิตาลี ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลป์ชื่อดังด้วย ยืนยันว่า สัญลักษณ์ดังกล่าว เป็นของแท้จากพู่กันดาวินชี่แน่นอน และไม่ได้เกิดจากความบังเอิญแต่ประการใด เพราะดาวินชี่เป็นคนขี้เล่น และชอบซ่อนความลับไว้ตรงนั้นตรงนี้ โดยเฉพาะในผลงานของเขาเสมอจึงเป็นไปไม่ได้ว่าจะไม่มีอะไรซ่อนไว้ในภาพสุดรักของเขา แต่ก็ยังเป็นปัญหาคือ “สารลับ”ต้องการสื่อถึงอะไร
       นอกจากนี้ยังมีการค้นพบสัตว์ต่างๆ ที่เป็นภาพพื้นหลังอยู่ในลักษณะกลับหัวทางด้านซ้ายและขาวของรูปอีกด้วย



1282222480
                                                                                                                    พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย

ซันตามาเรียเดลเลกราซีเอ Santa Maria delle Grazie หรือพระแม่มาแห่งพระหรรษทาน เป็นโบสถ์และคอนแวนด์ของคณะดอมินิกัน ตั้งอยู่ที่มิลาน ประเทศอิตาลี เป็นที่ตั้งของจิตรกรรมฝาผนัง “พระกระยาหารมื้อสุดท้าย” ที่เขียนโดย เลโอนาร์โด ดา วินชีภายในหอฉันของคอนแวนต์
    ดยุคแห่งมิลาน ฟราเชสโคที่ 1 สฟอร์ชาเป็นผู้สั่งให้สร้างคอนแวนต์ของคณะดอมินิกัน และโบสถ์ในวังที่เป็นที่ตั้งของชาเปลที่อุทิศให้แก่พระแม่มารีแห่งหรรษทาน สถาปนิกคือกุยนิฟอร์เด โซลารี คอนแวนต์สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1469 และโบสถ์มาสร้างเสร็จที่หลัง
       พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper เป็นจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ให้แก่ผู้อุปถัมภ์ดยุก โลโดวิโค สฟอร์ชา เป็นภาพที่มาจากพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูก่อนที่พระองค์จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขนซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากคัมภีร์ไบเบิ้ล ภาพวาดนี้ไม่สามรถเคลื่อย้ายได้ ภาพวาดนี้ยังเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และยังเป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลก
        ภาพกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นภาพที่บรรยายให้เห็นถึงปฏิกิริยาของแต่ละอัครสาวกในช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง คือเมื่อพระเยซูได้ทำนายว่า หนึ่งในผู้ร่วมโตะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์ โดยชื่อของอัครสาวกถูกระบุจากต้นฉบับ ในศตวรรษที่ 19 โดยเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
   lastsup3- บาร์โทโลมิว,เจมส์ ลูกของอัลเฟียส และแอนดูรว์ ทั้งกลุ่มแสดงอาการตกใจ
  site_0093_0001-464-0-20090514104754 - จูดาส์ อิสคาริออท,ปีเตอร์ และจอห์น จูดาส์ใส่ชุดสีเขียวและสีน้ำเงินผงะถอยหลังเมื่อแผนถูกเปิดโปงอย่างกะทันหัน  ปีเตอร์มีท่าทางโกรธและในมือขวาถือมีดชี้ออกจากพระเยซู และอัครสาวกที่อยุน้อยที่สุด จอห์นดูเหมือนจะเป็นลม
  cristolastsupper - พระเยซู แมธทิว จูด แทดเดียส4d341d30317323ae94f2c2cc93a5d69e
   - ทอมัส,นักบุญเจมส์ใหญ่ และ ฟิลลิป ทอมัสแสดงท่าทางหงุดหงิด เจมส์ดูตะลึงพร้อมยกมือขึ้นกลางอากาศ ส่วนฟิลลิปดูเหมือนกำลังขอคำอธิบาย
   -มัทธิว,จูด แทดเดียส และไซมอนซคลลอท ทั้งทัทธิว และจูด แทดเดียส หันไปคุยกับไซมอน
    


องค์ประกอบของภาพมีพระคริศต์อยู่ตรงกลาง พระพักตร์สงบนิ่ง ดาวินชีสามารถถ่ายทอดอารมณ์และท่าทางของเหล่าสาวกแต่ละองค์ได้อย่างน่าสนใจ เส้นอันเกิดจากความโกลาหลของบุคคลในภาพที่เคลื่อนไหวไปมาขัดแย้งกับท่าทางของพระคริสต์ที่นิ่งเฉย ฉากหลังมีการใช้หลักทัศนีวิทยา ให้เส้นพุ่งตรงเข้าหาพระคริสต์ที่อยูตรงกลาง ด้านหลังสุดมีหน้าต่างจำนวน 3 บานเผยให้เห็นภาพทิวทัศน์ที่สามารถมองทะลุออกไปไกลช่วยให้งานจิตรกรรมมีความลึกคล้ายภาพที่มองเห็นจริงในธรรมชาติ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพัฒนาการในงานจิตรกรรมสมัยเรอเนสซองซ์ และควบคุมโทนสีและบรรยากาศของภาพให้ดูมือสลัวเพื่อต้องการแสดงบรรยากาศที่ศักดิ์สิทธิ์และลึกลับ และมีการไล่น้ำหนักแสงเงาเลียนแบบธรรมชาติได้อย่างน่าอัศจรรย์
 



Renaissance

“เรอเนสซองซ์” หมายถึงการเกิดใหม่ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวทิยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14-17  เป็นการระลึกถึงศิลปกรีกและโรมันในอดีตซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั่วยุโรป300px-Mona_Lisa _fst_peter_fdavid_fRenaiss2_0

     
สงครามครูเสด เป็นเหตุที่ทำให้ยุโรปได้ติดต่อและใกล้ชิดกับโลกมุสลิม จึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกและตะวันตก อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนทั้งความคิด วัฒนธรรม ของดินแดนทั้งสองนี้ ความรู้ของประชาชนที่มีความเจริญก้าวหน้าในแถบตะวันออกเป็นแรงดันทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางสติปัญญาขึ้นในแถบตะวันตก สงครามครูเสด จึงมีบทบาทสำคัญในการนำมาซึ่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป




 คริสตจักร พ่อค้าผู้ร่ำรวย ชนชั้นสูงในตระกูลต่าง ๆ ทั้งในมิลาน ฟรอเลนซ์ และสฟอร์ซา เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินในยุคนี้  การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จ ผลงานของศิลปินมีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ศิลปินในหลายคนในยุคนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกตลอดกาล อาทิ ลีโอนาร์โด ดา วินชี, มีเกลันเจโล ราฟาเอล เกิดสำนักศิลปะ และเกิดมีศิลปินระดับอัจฉริยะมากมาย 
การเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจัตกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกนิยมเป็นเครื่องจูงใจ
การฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นหนึ่งใน 20 แค้วนของสาธารณรัฐอิตาลีซึ่งมีเมืองฟลอเรนซ์ เป็นเมืองหลวง ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สิลปกรรม สถาปัตยกรรม ศาสนา วัฒนธรรม และอุตสหกรรม เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีโรงงานผลิตเสื้อผ้า เสื้อนุ่งห่ม เครื่องหนัง จำนวนมาก เป็นที่ตั้งของหอเอนเมืองปิซา เป็นแคว้นที่มีทิวทัศน์งดงามและมีไวด์รสชาติเยี่ยม



  2 provinces_of_tuscany_map
     ตระกูลเมดิชิ เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13-17 สมาชิกสามคนของตระกูลได้เป็นสันตะปาปา คือ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11 และนักปกครองของฟลอเรนซ์เอง โดยเฉพาะ ลอเรนโซ เดอ เมดิชิ เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญ ๆ ในสมัย เรอเนสซองส์ และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ



 ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดิชิสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดิชิและตระกูลสำคัญอื่นๆ ของประเทศ อิตาลีในสมัยนั้น เช่น ตระกูลวิสคอนติ ตระกูลสฟอซาร์ ตระกูลจากมิลาน อาทิ ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา ตระกูลอกนซากา จากมานตัว และตระกูลอื่น ๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิปละเรอเนสซองส์ และสถาปัตยกรรมเรอเนสซองส์
    การอุปถัมภ์ศิลปะและสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะในสมัยเรอเนสซองส์ ตอนต้นและตอนที่รุ่งเรืองที่สุด งานศิลปะของฟลอเรนซืเกือบทั้งหมดในสมัยนั้นเป็นอิทธิพลของตระกูลนี้แทบทั้งสิ้น 
   จิโอวานนี ดิ บิชชิเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนแรกของตระกูล ช่วงมาซาชิโอ และจ้างฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ให้บูรณะบาซิลิกาซานโลเร็นโซที่ ฟลอเรนซ์ เมื่อ ปี ค.ศ. 1419 โคสิโม เอด เมดิชิเป็นผู้อุปถัมภ์งานของ โดนาเทลโล และฟราแอนเจลิโค  และศิลปินคนสำคัญของตระกูลคือ มีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี ซึ่งทำงานให้กับตระกูลนี้หลายคน เลโอนาร์โด ดา วินชี่ ก็เคยมาทำงานกับตระกูลนี้อยู่ 7 ปี ต่อมาสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ก็อุปถัมภ์ราฟาเอล และ สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 จ้างมีเกลันเจโลเขียนผนังหลังแท่นบูชาของ ชาเปลซิสติน ตระกูลเมดิชิมีส่วนสำคัญในการก่อสร้างชาเปลซิสทีน ตระกูลเมดิชีให้การสนับสนุนศิลปินมาโดยตลอด แต่มาหยุดเมือสมัยเฟอร์ดินานโดที่ 2 เมื่อกาลิเลโอ ผู้เป็นครูลูกหลานในตระกูลนี้ ถูกกล่าวหาโดยศาลศาสนาโรมัน ว่าคำสอนของกาลิเลโอเป็นคำสอนนอกรีต แต่ตระกูลเมดิชิก็ปกป้องกาลิเลโออยู่หลายปี จนกาลิเลโอตั้งชื่พระจันทร์ทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสฯตามชื่อลูกหลานของตระกูลนี้

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...