วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

WWI:Win-Lost

     ความทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อให้เกิดความเกลียดชังและอาฆาตกันอย่างรุนแรงระหว่างประเทศคู่สงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ฝ่ายชนะบีบบังคับฝ่่า่ยแพ้ให้ยอมรับเงื่อนไขในสนธิสัญญาสันติภาพที่รุนแรง โดยเฉพาะสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซาย Treaty of Versailles ที่เยอรมันถูกบับบังคับให้ลงนาม มีผลให้เยอรมนีสูญเสียดินแดนในแก่ประเทศรอบข้าง  สูญเสียพลเมืองคิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนพลเมืองเยอรมันก่อนสงคราม กองทัพบกเยอรมันถูกจำกัดกำลัง ห้ามสร้างอาวุธ ยกเลิกกองเสนาธิการ รวมทั้งส่งมอบเรือรบและอาวูยุทธภันฑ์ทั้งหมดให้แก่ผู้ชนะ
     ประเด็นที่ทำให้ชาวเยอรมันไม่พอใจมากที่สุดคือ สนธิสัญญาแวร์ซายข้อที่ 231 ซึ่งระบุว่าสงครามเกิดจากเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน ซึ่งการยกความผิดให้ตกอยู่กับเยอรมนีฝ่ายเดียวนั้น ทำให้เยอรมนีต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดที่เกิดในการสงคราม การบีบบังคับให้เยอรมนีจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามในอัตราปีละห้าพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากจะเกินกำลังที่จะจ่ายแล้วผู้ชนะนังใช้มาตรการที่ทำให้เศรษฐกิจฝ่ายตรงข้ามต้องทรุดอีก เช่น ต้องส่งมอบเรือพาณิชย์ทั้งหมดและหนึ่งในสี่ของกองเรือประมงและรางรถไฟสำรองทั้งหมดให้แก่ผู้ชนะ ต้องสร้างเรือที่มีระวางบรรทุกสองแสดนตันทุกปี เพื่อชดใช้เรือฝ่ายพันธมิตรที่ถูกจม ต้องส่งถ่านหินจำนวนมหาศาลให้แก่ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียมเป็นรายปี ฝรั่งเศสยังมีอำนาจควบคุมเศรษฐกิจในแคว้นซาร์ ของเยอรมนีซึ่งมั่งคั่งด้วยถ่านหินและเหล็ก ิยอรมนีต้องรับภาระค่าใ้ช้จ่ายของกองทัพฝ่ายพันธมิตรที่ยึดครองแควนไรน์ ..
      การระบุความผิดให้ตกอยู่กับเยอรมัน นั้นทำให้ถูกกีดดันจากสันนิบาติชาติ (ุ้นำทั้งทางการเมืองและการทหารถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม และถูกส่งตัวให้ศาลระวห่างประเทศ พิจารณาความผิด ห้ามการรวมตัวทางการเมืองระหว่างออสเตรียและเยอรมนี
       การปฏิบัติอันเลวร้ายที่ผุ้แทนเยอรมนีได้รับระหว่างการเจรจาขอลดหย่อนมาตรการที่รุนแรง ทำให้คนเยอมันรู้สึกแค้นเคืองอย่างยิ่ง และเชื่อว่าเยอรมนีถูกหักหลัง เพราะบัญญัติ 14 ประการของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ซึ่งเสมือนคำสัญญาว่าเยอรมนีจะได้รับการปฏิบัติอย่างดีในการยอมแพ้สงคราม  
      ประเทศผู้แพ้สงครามอื่นๆ ก็ได้รับการปฏิบัติที่รุนแรง ออสเตรีย-ฮังการี จักวรรดิของราชวงศ์ฮับส์บวร์กถูกแบ่งออกเป็นประเทศเล็กๆ ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นภายหลังสงคราม ออสเตรียและฮังการีถูกแยกออกโดยเด็ดขาด  บัลแกแรียและตุรกีได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตุรกี มุสตาฟา อคมาล ทำากรปฏิบัติและเรียร้องให้มีการเจรจาทำในธิสัญญาฉบับใหม่

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:11/11 /1918

     บัลแกเรียเป็นประเทศของฝ่ายมหาอำนาจกลางที่เจรจาสงบศึกในวันที่ 29กันยายน 1918 และตามมาด้วยจักรวรรดิออตโตมันเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1918

     หลังจากยุทธการวิตโตริโอ เวเนโต ของอิตาลีก็ทำให้ออสเตรีย-ฮังการีถึงจุดจบ การสลายตัวของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี กรุงบูดาเปสต์ ปราก และแซกเกร็บประกาศเอกราช การสงบศึกจัดการโดยทางโทรเลขกับฝ่า่ยสัมพันธมิตรในกรุงปารีส มีการลงนามในวิลลา กิอุสติ  เมื่อวันที่่ 3 พฤศจิกายน 1918 ออสเตรียและฮังการีแยกกันลงนามสงบศึกหลังล้มล้างราชวงศ์ฮัมส์บูร์ก

   


ต้นปี 1917 เยอรมนีประสบปัญหาและความยุ่งยากหลายประการ เนื่องจากประเทศเยรมนีใช้เงินที่มีอยุ่ในการทำสงครามจนหมด เกิดการปั่นป่วนทางภาวะการเงินและเศรฐกิจของประเทศ เสบียงอาหารและวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศไม่พอเลี้ยงทหารและประชาชน การติดต่อกับประเทศที่เป้นกลาง และพันธมิตรของตนถูกขัดขวางจากฝ่ายตรงข้าม โดยอังกฤษทำการปิดล้อมและขัดขวางการติดต่อของเยอรมนีกับโลกภายนอก ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรได้รับความช่วยเหลือจากอาณานิคมของตน และได้รับการสนับสนุนทางการเงินและอาวุธจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
    แม้ในช่วงต้นเยอรมนีจะได้เปรียบคู่ต่อสู้ในหลายด้านแต่เมื่ออเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมนีเนื่องจากสงครามเรือดำน้ำแบบไร้ขอบเขตของเยอรมนีสถานะการณ์จึงเปลี่ยนไป ปลายปี 1917 พันธมิตรของเยรมนีต่างพ่ายแพ้และเรียกร้องความช่วยเหลือจากเยอรมนี ทหารเยอรมันส่วนหญ่ทราบสถานการณ์ประเทศของตนเป็นอย่างดี
    แม้ว่ารัสเซียจะออกจากสงครามและเยอรมนีถอนกำลังพลจากทางตะวันออกมาเสริมทางตะวันตกและทำการรุกครั้งใหญ่แต่เมื่อไม่ประสบความผลใดๆ เยรมนีจึงเริ่มถอย
      8  สิงหาคม 1918 นายพล ฮินเดนบาร์ก และนายพล ลูเดนดอร์ฟแนะนำในห้รัฐบาลเยอรมันหาทางทำสัญญาสงบศึก
       3 ตุลาคม 1918 เจ้าชาย แ็ม็กส์ ฟอน บาเดน  Max von Baden ไดัรับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจักรวรรดิเยอรมนี และติดต่อของทำสัญญาสงบศึกกับประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา วูดโร วิลสันในวันรุ่งขึ้น
     เหตุการณ์ภายในประเทศเยอรมนี
     8 สิงหาคม 1918 ทหารเยอมันไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของกองบัญชาการทหารสูงสุด ที่สั่งทหารว่างอาวุธ โดยเฉพาะทหารเรือไม่พอใจที่จะให้ทหารอังกฤษเข้ายึดเรือรบเยอรมัน
      29 ตุลาคม 1918 ทหารเรือทำการจมเรือทั้งหมดของเยอรมันที่อยู่ ในฐานทัพ
      4 พฤศจิกายน 1918 ทหารเรือและประชาชนในเมืองคีล Kiel ก่อความวุ่นวายและสามารถยึดครองเมืองคีลได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ทหารและประชาชนในเมืองต่าง ๆ เอาเป็ยเยี่ยงอย่าง เกิดความวุ่นวายขึ้นในหลายเมือง  นายพลฮินเดนบวร์ก โทรเลขติดต่อและทูลแนะนำให้จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ขณะนั้นทรงบัฐชาการรบอยู่ที่เมือสปา ในเบลเยี่ยม ให้ทรงสละราชสมบัติ พระองค์ทรงลังเล เจ้าชาย แม็ก วอน บาร์เดน ซึ่งเกรงจะเกิดจราจลเเละเป็นอันตรายต่อเชื้อพระวงศ์และพระมหากษัตริย์เองจึงประกาศการสละราชสมบัติของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 และมกุฎราชกุมารเจ้าชายวิลเฮล์ม
     ฟิลลิปป์ ชเดมันน์ Philipp Scheidemann ผู้นำสำคัญพรรคสังคมประชาธิปไตรเยอรมัน เรียร้องให้เยอรมนีมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ Republik ในวันต่อมาเจ้าชาย Max von Baden จึงมอบตำแหน่างนายกรัฐมนตรีห้กับหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิไตยเยอรมนี นายฟริคริคช์ เอเบอร์ท ในวันเดียวกันจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 เสด็จจากเมืองสปา ลี้ภัยทางการเมืองไปที่ประเทศฮอลแลนด์
     11 พฤศจิกายน 1918 เวลา 11:00น. บนตู้รถไฟในคองเปียญ นายทัททิอัส แอสแบร์เกอร์ Matthias Erzberger ผู้แทนของประเทศเยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับผู้แทนของฝ่ายสัมพันธมิตร นายพลชาวฝรั่งเศส เฟอร์ดินานด์ ฟอค จึงเป็นอันยุติสงครามโลกครั้งที่ 1...
 

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:การตอบโต้

     เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการเกอเก็ทเธอร์  ที่เมืองท่าช่องแคบอังกฤษทางหนือ ทางใต้เริ่มปฏิบัติกรบบลอแชร์และยอร์ค ซึ่งเป้าหมายคือกรุงปารีส ปฏิบัติการมาร์นเริ่มภายหลังต่อมาโดยพยายามจะล้อมแรมส์และเร่ิมต้นยุทธการแม่น้ำมาร์นครั้งที่ 2
    การตีตอบโต้ของสัมพันธมิตรได้ผลและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการรุกร้อยวันในเวลาถัดมา
     20 กรกฏา 1918 กองทัพเยอรมนีถูกผลักดันข้ามแม่น้ำมาร์นโดยไม่บรรลุวัตถุประสงค์ใดๆ
      การรุกร้อยวันโดยฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มในวันที่ 8 สิงหารคม 1918 ในยุทธการอาเมียง ทัพอังกฤษ อยู่ทางปีกซ้าย ทัพฝรั่งเศสอยู่ทางปีกขวา โดยมีกองทัพน้อยออสเตรเลียและแคนาดาเป็นหัวหอกในการโจมตีตรงกลาง  สามารถรุเข้าไป12 กิโลเมตรในดินแดนที่เยอรมนถือครองเพียงเจ็ดชัวโมง
    20 สิงหา 1918 ฝรั่งเศสทางปีกขวาจับกุมเชลยศึก 8,000 คนปืนใหญ่ร้อยกระบอก และยึดครองที่ราบสูง Aisne ซื่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบและสามารถมองเห็นที่ต้องของเยรมนีทางเหนือ
     ในขณะที่กองทัพอังกฤษทางปีกซ้ายรายงานว่าข้าศึกบนแนวรบลดจำนวนลงจากความสูญเสียและล่าถอย คำสังโจมตีด้วยรถถัง 200 คนเพื่อเปิดฉากยุทธการอัลแบ โดยมีจุดมุ่งหมายเจาะแนวรบข้าศึก เพื่อที่จะตีโอบปีกข้าศึกที่อยู่บนแนวรบ
     แนวรบยาว 24 กิโลเมตรของทัพอังกฤษ สามารถสู้รบต่อไปทางปีกซ้ายและส่งผลให้ยึดอัลแบร์กลับคืนได้ในขณะเดียวกัน กองพลนิวซีแลนด์แห่งกองทัพที่ 3 และกองทัพออสเตรเลียนสามารถเจาะแนวและยึด Bapanme ได้จากเยอรมนี แลยังนำการรุกของกองทัพที่ 4 สามารถผลักดันแนวรบไปข้าหน้าและยึดเปรอนน์และมงแซ็ง-เกียงแต็ง ห่างไปทางใต้
     สัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม แรงกดดัน ที่มีต่อข้าศึกนั้นหนักหน่วงและต่อเนื่อง บนแนวรบยาว 113 กิโลเมตร
      2 กันยายน 1918 แคนาดาโอบล้อมแนวฮินเดนแบร์กด้านข้างโดยการเจาะที่ โวทัน Wotan ซึ่งส่งผลสะท้อนกลับตลอดแนวรบดานตะวันตก 6 กองทัพเยอรมนีต้องล่าถอย
     เกือบสี่สัปดาห์หลัการสู้เร่ิมในวันที่ 8 สิงหาคม เชลยศึกเยรมนีถูจับกุมเกิน แสนนาย กองบัญชาการทหารสูงสุดเยรมนีตระหนักว่าพ่ายสงครามแล้วและพยายามบรรลุจุดจบอันน่าพอใจ  ลูเดอร์ดอร์ฟฟ์ เสนอลาออกต่อไกเซอร์ แต่ทรงปฏิเสธ โดยทรงตอบว่า "ฉันเห็นว่าเราต้องทำให้เกิดสมดุล เราเกือบถึงขีดจำกัดอำนาจการต้านทานของเรา สงครามต้องยุติ"
     สภาราชสำนักเยอรมันตัดสิใจว่า ชัยชนะในสนามรบไม่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว  ออสเตรีย-ฮังการีเตือนว่า สามารถทำสงครามได้ถึงเดือนธันวาคมเท่านั้น
   

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:Hutier tactics

      ปี 1918 แนวรบด้ารตะวันตก การรุกฤดูใบไม้ผลิมีจุดประสงค์เพื่อแยกกองัพอังกฤษและฝรั่งเศสออกจากกันด้วยการหลอกและการรุกหลายครั้ง โดยต้องการโจมตีอย่างเด็ดขาดก่อนที่กองกำลังสหรัฐขนาดใหญ่จะมาถึง เริ่มปฏิบัติการในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1918   โดยโจมตีกองทัพอังกฤษที่อเมนส์และสารารถรุกเข้าไปได้ถึง 60 กิโลเมตรนับเป็นความสำเร็จที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน  
     การนำรูปแบบการรบเข้ามาใช้ในสงครามและเพื่อเจาะผ่านแนวสนามเพลาะของผรั่งเศสและัอังกฤษและประสบความสำเร็จ โดยตั้งชื่อยุทธวิธีนี้ตามชื่อพลเอกชาวเยรมนีคนหนึ่ง
     โดยเป็นการแทรกซึมทหารราบขนาดเล็ก เข้าโจมตีจุดที่อ่อนแอ จุดสั่งการและพื้นที่ขนส่ง หลีกเลี่ยงการปะทะหนัก และเมื่อโดดเดียวพื้นที่เป้าหมายได้แล้วจึงส่งทหารราบเข้าบดขยี้ภายหลัง
      แนวหน้าเคลื่อนตัวห่างจากกรุงปารีส 120 กิโลเมตรปืนใหญ่รถไฟยิงกระสุนเข้าใส่กรุงปารีส ชาวปารีสจำนวนมากต้องหลบหนี ความสำเร็จในครั้งจักพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ทรงประกาศให้วันที่ 24 มีนาคมเป็นวันหยุดราชการ เยอรมันจำนวนมากคิดว่าชัยชนะของสงครามอยู่แค่เอื้อม..แต่การหาเป็นเช่นนั้นไม่ หลายคนกล่าวว่าการหยุด 1 วันดังกล่าวเป็นจุดหักเหของสงคราม แต่อย่างไรก็ดีหลังจากหยุดราชการหนึ่งวันดังกล่าว การรุกของเยอรมนีหยุดชะงัก การขาดแคลนรถถัง ปืนใหญ่ ฝ่ายเยอรมนีจึงรุกต่อไม่ได้ ประกอบกับเส้นทางส่งกำลังบำรุงถูกยืออกไปอนเป็นผลจากการรุก
    และยังมีผลมาจากการรบไล่ทหารจากออสเตรเลียซึ่งในขณะนั้นเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษจำนวนสีกองพลที่ถูกไล่บดขยี้แต่สามารถหยุดยั้งการบดขยี้ของเยอรมันได้ กองพลออสเตรียเรียที่ 1 จึงถูกส่งเพื่อหยุดหยั่งยุทธวิธีของเยอรมนี
     อเมริการมาถึงในช่วงที่ทหารของฝรั่งเศสและจักวรรดิอังกฟษร่อยหรอ  สภาสงครามสูงสุดของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรถูกจัดตั้งขึ้นที่การประชุมดูล็อง พลเอกฟอค ถูกแต่งตั้งเป็นผูบัญชาการกองกำลัง
ูฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุด มีบทบาทประสานงาน มากกว่าบัญชาการ เฮก เปแตง และเพร์รี้ยังคงควบคุมยุทธวิธีในส่วนของตน
      กองบัญชาอังกฤษผรังเศสและสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นอิสระต่อกัน

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:การเข้าร่วมสงครามของประเทศต่าง ๆ

     นอกจากกลุ่มไตรภาคี และกลุ่มไตรสัมพันธมิตร ซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุโรปที่แบ่งเป็นสองขั้วอำนาจเพื่อทำสงครามซึ่ง
     กลุ่มไตรภาคีหรือ มหาอำนาจกลางได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน
     กลุ่มไตรสัมพันธมิตรได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
แล้วยังมีประเทศต่าง ๆ ที่ทยอยเข้าร่วมสงครามด้วยเหตุผลและแรงจูงใจที่ต่างกัน
       อิตาลี  เป็นพันธมิตรกับบเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี อิตาลีมีเจตนาของตนบนพื้นที่ออสเตีย จึงทำสัญญาอย่างลับ ๆ กับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการลบล้างพันธมิตรเก่าอย่างส้นเชิง อิตาลีปฏิเสธการเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางโดยอ้างว่าฝ่ายตนเป็นผู้กระทำผิด อันดับ-4-q
       ออสเตรีย-ฮังการี ได้เสนอในหอิตาลีวางตัวเป็นกลางโดยยื่นข้อเสนออาณานิคมตูนิเซียเป็นการตอบแทนแต่ทางสัมพันธมิตก็ยืนข้อเสนอเพื่อดึงอิตาลีมาเป็นพวกตนเช่นกัน จึงเป็นการนำมาซึ่งสนธิสัญญาลอนดอน หลังการรุกรานตุรกี อิตาลีจึงเข้าร่วมสงคราม โดยประกาศสงครามต่อออสเตรีย-ฮังการีในวันที่ 23 พฤษภาคม 1915 และอีก15 เดือนให้หลังจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี
    โรมาเนียเป็นอีกประเทศที่ประกาศตนเป็นกลางและให้เหตุผลว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางเป็นผู้รุกรานและโรมาเนียไม่มีข้อผูกมัดที่เข้าสู่สงคราม
     เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรสัญญาว่าจะยกดิอแนดขนาดใหญทางตะวันออกของฮังการี(ทรานซิลเวเนียและบานัท)ซึ่งมีประชากรโรมาเนียจำนวนมากอาศัยอยู่ใหแก่โรมานเนีย แลกเปลี่ยนกับกับการที่โรมาเนียต้องประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง..รัฐบาลโรมาเนียจึงสละความเป็นกลาง และเปิดฉากโจมตี ในวันที่ 27 สิงหาคม 1916 โดยได้รับความสนับสนุนส่วนหนึงจากรัสเซีย
      โรมาเนียถูกบีบให้ลงนามสงบศึกหลังจากรัสเซียถอนตัวจาสงครามเนื่องจากการปฏิวัติเดือนตุลาคม เมือ วันที่ 9 ธันวาคม 1917
       กองทัพโรมานเนียสถาปนาการควบคุมเหนือเบสซาราเบีย เมือกองทัพรัสเซียละทิ้งดินแดนดังกล่าว แม้การลงนามในสนธิสัญญาโดยรัฐบาลโรมาเนียและบอลเซวิค ให้กองทัพโรมาเนียถอนกำลังออกจากเบสซาราเบียภายในสองเดิน แต่โรมาเนียผนวกเบสซาราเบียเข้าเป็นดินแดนของตนโดยอาศัยอำนาจอยางเป็นทางการของมติที่ฝ่านโดยสภานิติบัญญัติท้องถิ่นของดินแดนในการรวมเข้ากับโรมาเนีย
       โรมาเนียยุติสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางอยางเป็นทางการโดยการลงนามในสนธิสัญญาบูคาเรศต์ ภายใต้สนธิสัญญากับกล่าว โรมาเนียมีข้อผูกมัดที่จะยุติสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางและยกอินแดนบางส่วนให้แก่ ออสเตรีย-ฮังการี ยุตกิรควบคุมช่องเขาบางแห่ง และยกสัมปทานน้ำมันแก่เยอรมนี เพื่อแลกเปลี่ยนกับฝ่ายมหาอำนาจกลางจะรับรองเอกราชของโรมาเนียเหนือเบสซาราเบีย สนธิสัญญาดังกล่าวถูกทำลายลงในเดือนตุลา และโรมาเนียเข้าสู่สงครามอีกครั้งเมือวันที่ 10 พฤศจิกายน 1918  สนธิสัญญาจึงเป้นโมฆะตามเงื่อนไขของการสงบศึกที่คองเปียญ..
     สหรัฐอเมริกา เดิมดำเนินนโยบายไม่แทรกแซง เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้งระหว่างประเทศและเป็นนายหน้าสันติภาพ เมื่อเรืออูเยอรมนีจมเรือโดยสารลูซิทาเนียของอังกฤษ ซึ่งมีชาวอเมริกันบนเรือ128 คน อเมริกาแสดงความอดกลั้น โดยประธานาธิบดีวิลสันได้สาบานว่า “อเมริกามีทิฐิมากเกินกว่าจะสู้” และเรียร้องให้ยกเลิการโจมตีเรือพลเรือน ซึ่งเยอรมันยอมตาม วิลสันพยายามเป็ฯไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทแต่ล้มเหลว เขาเตือนย้ำว่าอเมริกาจะไม่ทนต่อสงครามเรื่อดำน้ำไม่จำกัดขอบเขต.. อเมริกาประสบเหตุวินาศกรรมและสงสัยว่าเยอรมันอยู่เบื้องหลัง
      มกราคม 1917 เยรอมนีทำสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขตอีกครั้งรัฐมนตรีต่างประเทศ บอกแก่เม็กซิโก ผ่านโทรเลข..ว่า อเมริกมีแนวโน้มเข้าสู่สงครามหลังสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขตเริ่มขึ้น และเชิญเม็กซิฏกเข้าสู่สงครามเป็นพันธมิตรของเยอรมนีต่อสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน เยอรมนีจะส่งเงินให้เม็กซิโกและช่วยให้เม็กซิโกได้รับดินแดนเท็กซัส นิวเม็กซิโกและอริโซนาที่เม็กซิโกเสียไประหว่างสงครามเม็กซิฏ-อเมริกา สาธราณชนชาวอเมริกันมองว่าเป็นเหตุแห่งสงคราม
     อินเดีย.. สหราชอาณาจักรได้รับความจงรักภักดีอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนจากภายในเหล่าผู้นำทางการเมืองกระแสหลัง ตรงข้ามกับอังกฤษซึ่งหวาดกลัวการปฏิวัติชาวอินเดีย ในความเป็นจริงกองทัพอินเดียมีกำลังพลเหนือกว่ากองทัพอังกกฤษเมือสงครามเริ่มต้นใหม่ ๆ อินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤสนับสนุนความพยายามของสงครามของอังกฤษอย่างมากโดยการจัดหากำลังคนและทรัพยากร รัฐสภาอินเดียปฏิบัติเช่นนั้นด้วยหวังว่าจะได้รับสิทธิปกครองตนเอง อังฏฟษสรความผิดหวังให้แก่อินเดียกระทั่งนำไปสู่ยุคของมหาตมะคานธี..

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:Battlesship

   อังกฤษแสดงให้เห็นถึงการเป็นจ้าวแห่งทะเลกว่าศตรวรรษในยุทธนาวีจัตแลนด์ เป็นการปะทะเต็มอัตราศึกของกองทัพเรือทั้งสองฝ่าย ใช้เวลา 2 วัน ในทะเลเหนือนอกคาบสมุทรจัตแลนด์ แม้ผลของยุทธนาวีไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะ แม้กองเรื่อเยอรมนี่สมารถหลบหนีกองเรืออังกฤษที่มีกำลังเหนือกว่า และถึงแม้จะสร้างความเสียหายให้แก่กองเรืออังกฤษได้มากกว่า แต่ในทางยุทธศาสตร์ ฝ่ายอังกฤษแสดงสิทธิในการควบคุมทะเล และกองเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ของเยอรมนีถูกกักอยู่แต่ในท่ากระทั่งสงครามยุติMap_of_the_Battle_of_Jutland,_1916.svg
     เมื่อพระเจ้าไกเซอร์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่สนพระทัยและให้ความสำคัญในกิจการทหารเรือเป็นอยางมาก ทรงกำหนดนโยบาย พัฒนาสมุทานุภาพ เสริมสร้างกำลังทางทะเลเพื่อคุ้มครงอการค้าขายำบต่างชาติ อันจะเป็นหนทางของอาณาจักร เพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในที่สุด
    ราชนาวีอังกฤษจับตาการเติบโตอย่างไม่กระพริบตาประเมินว่าจะเป็นปัญหาต่อตนหรือไม่ จึงมีการแข่งขันการเสริมสร้างกำลังทางเรือขนานใหญ่ระว่างสองประเทศ รวมถึงการแบ่งข้างตั้งกลุ่มขึ้นอย่างชัดเจนเพื่อให้การคุ้มครอง การค้าทางทะเลและเป็นเหตุผลหนึ่งของสงครามโลกครั้งนี้
     เมื่อเข้าสู่สงคราม เยอรมันจึงตระหนักว่าแสนยานุภาพทางทะเลเทียบได้เพียงครึ่งของฝ่ายอังกฤษ และด้วยความได้ปรียบทางภูมิศาสตร์ ที่ตั้งเกาะอังกฤษสามารถปิดกั้นทางออกสู่ทะเลของฝ่ายเยอรมัน กองเรือทะเลลึกของเยอรมันจึงด้อยประสิทธิภาพ
     ฝ่ายเยอรมันรับรู้ถึงข้อเสียเปรียบนี้ครั้นจะบุกเข้าสู้ซึ่งๆ หน้าก็เกรงกริ่งอยู่ จึงใช้วิธี “ร้องท้าหน้าค่าย” หว้งจะให้อักฤษออกมาสู้รบด้วยซึ่งก็เป็นไปดังที่ฝ่ายเยอรมันคาดไว้ แต่กองเรือที่ออกมารบของอังกฤษนั้น..
      โดยประมาณที่มีการบันทึกไว้ เป็นการปะทะกันด้วยเรื่อผิวน้ำทั้งสิ้นทางฝ่ายอังกฤษมีประมาณ 150 ลำฝ่ายเยอรมันกว่า100ลำ เป็นการประทะในแบบเรือต่อเรือ ลำต่อลำ ปืนกระบอกต่อกระบอกคือเป็นการดวลกันนั้นเอง
       ทางด้านขวัญและกำลังใจของทหารเยอรมนีไม่เป็นรองฝ่ายอังกฤษ ซึ่งเทคโนโลยีบางอย่างเหนือกว่าทางฝั่งอังกฤษด้วยซึ่งทางฝ่ายอังกฤษก็ยอมรับในประเด็นนี้(เรื่อต่อใหม่ทันสมัยกว่า) ฝ่ายเยอรมนีสูญเสียทหาร 2,500 นาย ฝ่ายอังกฤษสูญเสียกว่า 6,000 พันนายซึ่งส่งผลให้บรรดาทหารในกองเรือเกิดความฮักเหิมคะนองเพราะมองด้วยสายตาตนแล้วฝ่ายตนได้เปรียบ แต่ฝ่ายยุทธศาสตร์กับมองในทางตรงกันข้าม..เยอรมันจะสูญเสียไปมากว่านี้ไม่ได้แล้ว จึงเปรียนบทบาทจากการรุกเป็นเพียงการรุกรานจากกองทัพเรืออังกฤษ
   จากเหตุผลดังกล่าวและความเหนือกว่าทั้งทางยุทธศาสตร์และจำนวนของอังกฤษ ฝ่ายบรรดาทหารซึ่งเห็นว่าจะต้องแพ้สงครามทั้งที่สงครามไม่แพ้จึงเกิดเป็นการสั่งสมและนำสู่การปฏิวัติรัฐประหาร การสละราชย์ของไกเซอร์ที่ 2 และนำมาสู่การสิ้นสุดของสงครามในที่สุด…











วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:บอลข่าน

      
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียน ของออสเตรีย-ฮังการี แล้วพระราชนัดดา อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดิมานด์ ได้รับตำแหน่งองค์รัชทายาทสืบต่อจากอาณ์คดยุครูดอล์ฟ ซึ่งถูกลอบปลงประชนเมื่อเสด็จราษฎรที่กรุงซาราเจโว โดยชาวเซอร์เบียจึงนำมาสู่ภาวะสงคราม
     การเคลื่อนไหวของเซอร์เบียมีรัสเซียคอยในการช่วยเหลืออยู่อิตาลีประกาศตัวเป็นกลางตั้งแต่เริ่มสงคราม เมื่อเริ่มสงครามกองทัพถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งบุกโจมตีเซอร์เบีย ขณะที่อีกส่วนโจมตีรัสเซีย การบุกเซอร์เบียนั้นไม่ประสบความสำเร็จ แต่การบุกรัสเซียสามารถเอาชนะรัสเซียได้ในสมรภูมิเล็มเบิร์ก และล้อมเมืองพริเซ็มมิวส์ได้แต่ก็ต้องถอนทัพออกในเดือนมีนาคม ปี 1915
     23 พฤษภาคม 1915 อิตาลีประกาศสงครามต่อ ออสเตรีย-ฮังการี และประกาศสงครามต่อเยอรมันในสิบห้าเดือนให้หลัง
     แม้ว่าในทางการทหาร อิตาลีจะมีความเหนือกวาทางด้านกำลังพลก็ตาม แต่ข้อได้เปรียบนี้ไม่ส่งผลดีแต่ประการในเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สลับซับซ้อนและยุทธศาสตร์และยุทธวีธีที่ใช้ด้วย ในช่วงสิบเดือนแรกของปี 1915 ออสเตรีย-ฮังการีใช้ทหารกองหนุนส่วนใหญ่สู้รบกับอิตาลี แต่ทูตเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการีสามารถชักชวนบัลแกเรียเข้าร่วมโจมตีเซอร์เบีย จังหวัดสโลวีเนีย โครเอเซียและบอสเนียของออสเตรีย-ฮังการีเป็นพื้นที่จัดเตรียมทหารให้แก่ออสเตรีย-ฮังการี  ซึ่งรุกรานเ.ซอร์เบียและสู้รบกับรัสเซีย อิตาลี มอนเตเนโกรเป็นพันธมิตรกับเซอร์เบีย
     เซอร์เบียถูกยึดครองนานกว่าหนึ่งเดือนเล็กน้อย เมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางเริ่มโจมตีทางเหนือตั้งแต่เดือนตุลาคม อีกสีวนถัดมา บัลแกเรียร่วมโจมตีจากตะวันออก กองทัพเซอร์เบียเผชิญกับความพ่ายแพ้ ถอยทัพไปยังอัลเบเนีย และหยุดป้องกันที่การโจมตีของแบลแกเรีย ชาวเซิร์ปประสบความพ่ายแพ้ยุทธการโคโซโว มอนเตเนโกรช่วยคุ้มกันการล่าถอยของเซอร์เบียไปยังชายฝั่งเอเดรียติกในยุทธการมอยคอแวทส์ เมื่อวันที่ 6-7 มกราคม ปี 1916 แต่สุดท้ายก็ส่งผลให้ออสเตรียยึดครองมอนเตเนโกรเช่นเดียวกัน กองทัพเซอร์เบียถูกอพยพสูกรีซโดยทางเรือ
     ปลายปี 1915 รัฐบาลฝรั่งศสและอังกฤษยกพลขึ้นบกที่ซาโลนิกาของกรีซ เพื่อเสนอความข่วยเหลือและกดดันรัฐบาลกรีซประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง พระมหากษัตริย์กรีซทรงนิยมเยอรมนี ทรงปลดรัฐบาลนิยมสัมพันธมิตรก่อนที่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรจะมาถึง
     ความร้าวฉานระหว่างกษัติรย์กรีซและสัมพันธ์มิตรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  กรีซถูกแบ่งเป็นภูมิภาคซึ่งยังภักดีต่อกษัตริย์และจงรักภักดีต่อรัฐบาลเฉพาะการณ์หลังการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายนิยมกษัตริย์และฝ่ายสัมพันธมิตร พระมหากษัตริย์ต้องยอมสละราชย์ โดยราชโอรสองค์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์และกรีซจึงรวมกันอีกครั้งและร่วมสงครามอย่างเป็นทางการโดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพกรีซทั้งหมดถูกระดมและเริ่มเข้าร่วมในปฏิบัติการทางการทหารต่อฝ่ายมหาอำนาจกลางบนแนวรบมาซิโดเนีย
   แนวรบมาซิโดเนียไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ  กองทัพออสเตรีย-ฮังการี และเยอรมันถอนกำลัง กองทัพบัลแกเรียประสบความพ่ายแพ้เพียงครังเดียวและไม่กี่วันให้หลัง บัลแกเรียก็สามารถเอาชนะกองทัพกรีซและอังกฤษได้ที่ยุทธการดอเรียนแต่เพื่อป้องกันการถูกยึดครอง บัลแกเรียได้ลงนามสงบศึก เมื่อวันที่ 29 กันยายน 1918
    โดยมีการสรุปว่าสมดุลทางยุทธศาสตร์และปฏิบัติการเอนเอียงไปทางฝ่านสัมพันธมิตรแล้วอย่างไม่ต้องสงสัยและหนึ่งวันหลังจากออกจากสงคราม ระหว่างการประชุมกับเจ้าหน้าทีรัฐ ยืนยันให้มีการเจรจรสันติภาพทันที
     การหายไปของแนวรบมาซิโดเนียหมายความถึง ถนนสู่บูดาเปสต์และเวียนนาเปิดกว้าง เมื่อบัลแกเลียยอมจำนนเท่ากับฝ่ายมหาอำนาจกลางสูญเสียทหารราบ 278 กองพัน ปืนใหญ 1,500 กระบอกซึ่งเทียบเท่ากับกองพลของเยรมนีราว 25 -30 กองพล ซึ่งเคยยึดแนวดังกล่าวก่อนหน้านี้ กองบัญชาการสูงสุดของเยอรมนีจึงตัดสินใจส่ง 7 กองพลทหารราบ และ 1 กองพลทหารม้ามายังแนวหน้า กองกำลังเหล่านี้ไม่เพียงพอที่จะสถาปนาแนวรบขึ้นมาใหม่ได้อีก

บัลแกเรียBulgaria เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก พรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ เซอร์เบียและมาซิโดเนียทางตะวันออก และโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบ ประกอบด้วยชนชาติสลาฟและชนชาติบัลการ์(ชนชาติยูเครนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบอลข่าน)ถูกปกครองโดยอาณาจักรไบแซนไทน์และออตโตมันตามลำดับ

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...