ความทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อให้เกิดความเกลียดชังและอาฆาตกันอย่างรุนแรงระหว่างประเทศคู่สงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ฝ่ายชนะบีบบังคับฝ่่า่ยแพ้ให้ยอมรับเงื่อนไขในสนธิสัญญาสันติภาพที่รุนแรง โดยเฉพาะสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซาย Treaty of Versailles ที่เยอรมันถูกบับบังคับให้ลงนาม มีผลให้เยอรมนีสูญเสียดินแดนในแก่ประเทศรอบข้าง สูญเสียพลเมืองคิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนพลเมืองเยอรมันก่อนสงคราม กองทัพบกเยอรมันถูกจำกัดกำลัง ห้ามสร้างอาวุธ ยกเลิกกองเสนาธิการ รวมทั้งส่งมอบเรือรบและอาวูยุทธภันฑ์ทั้งหมดให้แก่ผู้ชนะ
ประเด็นที่ทำให้ชาวเยอรมันไม่พอใจมากที่สุดคือ สนธิสัญญาแวร์ซายข้อที่ 231 ซึ่งระบุว่าสงครามเกิดจากเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน ซึ่งการยกความผิดให้ตกอยู่กับเยอรมนีฝ่ายเดียวนั้น ทำให้เยอรมนีต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดที่เกิดในการสงคราม การบีบบังคับให้เยอรมนีจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามในอัตราปีละห้าพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากจะเกินกำลังที่จะจ่ายแล้วผู้ชนะนังใช้มาตรการที่ทำให้เศรษฐกิจฝ่ายตรงข้ามต้องทรุดอีก เช่น ต้องส่งมอบเรือพาณิชย์ทั้งหมดและหนึ่งในสี่ของกองเรือประมงและรางรถไฟสำรองทั้งหมดให้แก่ผู้ชนะ ต้องสร้างเรือที่มีระวางบรรทุกสองแสดนตันทุกปี เพื่อชดใช้เรือฝ่ายพันธมิตรที่ถูกจม ต้องส่งถ่านหินจำนวนมหาศาลให้แก่ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียมเป็นรายปี ฝรั่งเศสยังมีอำนาจควบคุมเศรษฐกิจในแคว้นซาร์ ของเยอรมนีซึ่งมั่งคั่งด้วยถ่านหินและเหล็ก ิยอรมนีต้องรับภาระค่าใ้ช้จ่ายของกองทัพฝ่ายพันธมิตรที่ยึดครองแควนไรน์ ..
การระบุความผิดให้ตกอยู่กับเยอรมัน นั้นทำให้ถูกกีดดันจากสันนิบาติชาติ (ุ้นำทั้งทางการเมืองและการทหารถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม และถูกส่งตัวให้ศาลระวห่างประเทศ พิจารณาความผิด ห้ามการรวมตัวทางการเมืองระหว่างออสเตรียและเยอรมนี
การปฏิบัติอันเลวร้ายที่ผุ้แทนเยอรมนีได้รับระหว่างการเจรจาขอลดหย่อนมาตรการที่รุนแรง ทำให้คนเยอมันรู้สึกแค้นเคืองอย่างยิ่ง และเชื่อว่าเยอรมนีถูกหักหลัง เพราะบัญญัติ 14 ประการของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ซึ่งเสมือนคำสัญญาว่าเยอรมนีจะได้รับการปฏิบัติอย่างดีในการยอมแพ้สงคราม
ประเทศผู้แพ้สงครามอื่นๆ ก็ได้รับการปฏิบัติที่รุนแรง ออสเตรีย-ฮังการี จักวรรดิของราชวงศ์ฮับส์บวร์กถูกแบ่งออกเป็นประเทศเล็กๆ ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นภายหลังสงคราม ออสเตรียและฮังการีถูกแยกออกโดยเด็ดขาด บัลแกแรียและตุรกีได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตุรกี มุสตาฟา อคมาล ทำากรปฏิบัติและเรียร้องให้มีการเจรจาทำในธิสัญญาฉบับใหม่
วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น