




ต้นปี 1917 เยอรมนีประสบปัญหาและความยุ่งยากหลายประการ เนื่องจากประเทศเยรมนีใช้เงินที่มีอยุ่ในการทำสงครามจนหมด เกิดการปั่นป่วนทางภาวะการเงินและเศรฐกิจของประเทศ เสบียงอาหารและวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศไม่พอเลี้ยงทหารและประชาชน การติดต่อกับประเทศที่เป้นกลาง และพันธมิตรของตนถูกขัดขวางจากฝ่ายตรงข้าม โดยอังกฤษทำการปิดล้อมและขัดขวางการติดต่อของเยอรมนีกับโลกภายนอก ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรได้รับความช่วยเหลือจากอาณานิคมของตน และได้รับการสนับสนุนทางการเงินและอาวุธจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

แม้ว่ารัสเซียจะออกจากสงครามและเยอรมนีถอนกำลังพลจากทางตะวันออกมาเสริมทางตะวันตกและทำการรุกครั้งใหญ่แต่เมื่อไม่ประสบความผลใดๆ เยรมนีจึงเริ่มถอย
8 สิงหาคม 1918 นายพล ฮินเดนบาร์ก และนายพล ลูเดนดอร์ฟแนะนำในห้รัฐบาลเยอรมันหาทางทำสัญญาสงบศึก
3 ตุลาคม 1918 เจ้าชาย แ็ม็กส์ ฟอน บาเดน Max von Baden ไดัรับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจักรวรรดิเยอรมนี และติดต่อของทำสัญญาสงบศึกกับประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา วูดโร วิลสันในวันรุ่งขึ้น

8 สิงหาคม 1918 ทหารเยอมันไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของกองบัญชาการทหารสูงสุด ที่สั่งทหารว่างอาวุธ โดยเฉพาะทหารเรือไม่พอใจที่จะให้ทหารอังกฤษเข้ายึดเรือรบเยอรมัน
29 ตุลาคม 1918 ทหารเรือทำการจมเรือทั้งหมดของเยอรมันที่อยู่ ในฐานทัพ
4 พฤศจิกายน 1918 ทหารเรือและประชาชนในเมืองคีล Kiel ก่อความวุ่นวายและสามารถยึดครองเมืองคีลได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ทหารและประชาชนในเมืองต่าง ๆ เอาเป็ยเยี่ยงอย่าง เกิดความวุ่นวายขึ้นในหลายเมือง นายพลฮินเดนบวร์ก โทรเลขติดต่อและทูลแนะนำให้จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ขณะนั้นทรงบัฐชาการรบอยู่ที่เมือสปา ในเบลเยี่ยม ให้ทรงสละราชสมบัติ พระองค์ทรงลังเล เจ้าชาย แม็ก วอน บาร์เดน ซึ่งเกรงจะเกิดจราจลเเละเป็นอันตรายต่อเชื้อพระวงศ์และพระมหากษัตริย์เองจึงประกาศการสละราชสมบัติของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 และมกุฎราชกุมารเจ้าชายวิลเฮล์ม
ฟิลลิปป์ ชเดมันน์ Philipp Scheidemann ผู้นำสำคัญพรรคสังคมประชาธิปไตรเยอรมัน เรียร้องให้เยอรมนีมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ Republik ในวันต่อมาเจ้าชาย Max von Baden จึงมอบตำแหน่างนายกรัฐมนตรีห้กับหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิไตยเยอรมนี นายฟริคริคช์ เอเบอร์ท ในวันเดียวกันจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 เสด็จจากเมืองสปา ลี้ภัยทางการเมืองไปที่ประเทศฮอลแลนด์
11 พฤศจิกายน 1918 เวลา 11:00น. บนตู้รถไฟในคองเปียญ นายทัททิอัส แอสแบร์เกอร์ Matthias Erzberger ผู้แทนของประเทศเยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับผู้แทนของฝ่ายสัมพันธมิตร นายพลชาวฝรั่งเศส เฟอร์ดินานด์ ฟอค จึงเป็นอันยุติสงครามโลกครั้งที่ 1...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น