วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:The Greater East Asia Co-Prosperity Sphere

     วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเซียบูรพา เป็นความพยายามของญี่ปุ่นที่รวบรวมแลสร้างแนวป้องกันแห่งชาติเอเซียเพื่อหลุดพ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยเป็นความคิดริเริ่มของนายพลฮะชิโร อะริตะ ซึ่งขณะนั้นตำรงค์ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีอุดมการณ์ทางการทหารอย่างแรงกล้าที่จะสร้างมหาเอเซียตะวันออก “เอเซียเพื่อชาวเอเซีย”(Asia for Asians) โดยเนื้อหานั้นจะพูดถึงเกี่ยวกับการปลดปล่อยชาติในเอเซียให้หลุดพ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม โดยทำการบุกประเทศเพื่อนบ้านและขับไล่ทหาร อังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกา ออกไปจากภูมิภาคนี้
     ญี่ปุ่นมีความคิดว่าญี่ปุ่นมีชาติพันธุ์ที่เหนือกว่าชาติอื่นในเอซีย ในเมือปกครองโดยพระจักรพรรดิผู้ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์มาอย่างไม่ขาดสายจึงมีสิทธิชอบธรรมที่จะเป็นใหญ่คุ้มครองชาติอื่น
     ญี่ปุ่นคิดว่าวัฒนธรรมตะวันตกหรือปรัชญาตะวันตกเป็นยาพิษของตะวันออกและเป็นวัฒนธรรมที่เสือมทราม จึงจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟู่ระเบียบสังคมและวัฒนธรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของตะวันออกที่เป็นแบบอำนาจนิยมขึ้นมาแทนระบอบประธิปไตยแบบตะวันตก เพื่อให้เอเซียเป้นของชาวเอเซียเท่านั้น
      แผนสงครามของญี่ปุ่นที่ร่างขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ได้วาดภาพแปรทั้งพื้นที่ไปสู่เขตวงไพบูลย์ของเอเซียบูรพา โดยมีญี่ปุ่นจีนภาคเหนือและแมนจูเรียเป็นฐานอุตสาหกรรม ประเทศอื่น ๆ ต้องส่งวัตถุดิบแก่ญี่ปุ่นและเป็นส่วนของการบริโภคที่กว้างใหญ่ไพศาล เป็นการสร้างพลังเศรษฐกิจในระดับหนึ่งที่จะทำให้ญี่ปุ่นสามารถเผชิญและตั้งรับการรุรานจากภายนอกได้เป็นประการแรก และถ้าทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี ก็รวมอินเดีย ออสเตรเลียและบรรดามณฑลไซบีเรียของรุสเซียไว้ด้วยในการสงครามครั้งนี้
      ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเข้าครอบครอง ครอบงำแทนที่ตะวันตก อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเป็นเช่นนั้น เป็นการตัดสินใจด้วยเหตุเสมือนสงครามครูเสดทางวัฒนธรรม โดยการสอนเผยแพร่ภาษาญี่ปุ่น ปฏิรูปการศึกษาที่ขจัดอิทธิพอันมิพึงปรารนา การจัดตั้งการประชุมทางวรรณกรรมและวิทยาศาสรตร์ แม้จนถึงพยายามที่จะขจัดการนอนอกลางวันและดนตรีแจ๊ส รวมทั้งการสร้างขอบข่ายงานความร่วมมือทางการเมืองอย่างใกล้ชิดกัน บางประเทศก็มีอิสระเอกราชพอควรตั้งแต่แรกเริ่ม 
     อินโดจีนก็ยังตกอยู่ในการปกครองฝรั่งเศส
     สยามยังคงมีกษัตริย์และการบริหารราชการโดยให้ความอนุเคราะห์เป็นพิเศษแก่ญี่ปุ่นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญเป็นพันธมิตร 
     จีนที่ถูกยึดครองก็มีระบอบของ หวัง ชิง เวย เป็นจัวแทนก็ได้ทำข้อตกลงสันติภาพ และถูกเกลี้ยกล่อมให้ประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ นีถือได้วาเป็นยุคแห่งความเสมอภาคอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นโดยญี่ปุ่นยกเลิกสัมปทานมากมายในเมืองท่าต่าง ๆ ตามสนธิสัญญาเก่าในปีนั้น แน่นอนว่า รัฐ       แมนจูก็ยังคงเป็นรัฐเอกราช ทั้ง ๆ ที่กองทัพกวันตุงยังคงประจำการอยู่ สถานการณ์นี้เหมือนสถานะการณ์แห่งการเป็นอาณานิคมแบบเกาหลี
     ในบรรดาดินแดนที่ได้รับจากชัยชนะใหม่ๆ นั้น พม่ามีผุ้นำเป็นหุ่นเชิดคือนาย บา เมา ซึ่งเป็นผู้นำการบริหารภายใต้การอุปภัมถ์ของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม อำนาจที่แท้จริงอยู่ในมือที่ปรึกษาทางทหาร และทหารได้ยึดอำนาจนั้นภายหลังที่ประเทศได้รับเอกราชในปีต่อมาเมือได้ประกาศสงครามกับพันธมิตร
     ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเอกราชโดยความช่วยเหลือของผุ้ร่วมกิจการที่นิยมญี่ปุ่น แม้รัฐบาลจะสามารถหลีกเลี่ยงการประกาศสงคราต่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้
     ในอีกแง่หนึ่ง ในมลายูและหมู่เกาะอินเดียของเนเธอร์แลนด์ซึ่มีค่าจำเป็นยิ่งทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นไม่เต็มใจทางที่จะยินยอมปล่อยมือจากการควบคุมญี่ปุ่นได้ให้มีการบริหารราชการโดยทหารในสองแห่งนั้น ดดยรวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางและใช้กรรมวิธีของราชการประจำแทนระเบียบราชการเดิมของบรรดามหาอำนาจเจ้าของอาณานิคมสองแห่งนั้น  การเคลื่อนไหวเพื่อเอราชใรรูปใดก็มิได้รับความสนับสนุนในสองปีแรก แม้จนถึงภายหลังก็มิได้ให้คำมั่นอะไรมากมายนัก แม้ว่ายอมให้มีการตั้งสภาระดับภูมิภาคและผุ้ว่าการระดับท้องถิ่นให้มีบทบาทบ้างในการปกครอง อันที่จริง ในมลายูนั้น คือสิ่งที่ได้ปฏิบัติกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระยะสงครามที่เหลือ แม้ในหมู่เกาะอินเดียจะพัฒนาการเคลื่อนไหวชาตินิยมและท้ายสุดญี่ปุ่นเองยอมรับรองเมือเห็นความปราชัยชัดแจ้ง ข้อเท็จริงนั้นทำให้ผู้นำการเคลื่อนไหว คือ ดร.ซูการณ์โน ประกาศอินโดนีเซียเป็นเอกราชทันทีหลังจากที่ญี่ปุ่นยอมแพ้ในเดือนสิงหาคมปีนั้น
     นอกจากปัญหาระยะยาวของการรักษาเอกราชของรัฐเหล่นั้นแล้ นโยบายอาณานิคมของญี่ปุ่นก็มุ่งตรงไปที่เสี่ยงใช้ความรู้สึกแอนตี้ตะวันตกของประเทศเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์และเบียดบังทรัพยากรธรรมชาติทางเศรษฐกิจในการบำรุงกำลังรบของตน ในนโยบายเชนนี้ ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จน้อยกว่าเป็นอย่างมาก ประการแรกการปกครองที่เข้มแข็งรุนแรงมีแนวโน้มที่จะทำให้ประชาชนเอาใจออกห่าง ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นพยายามที่จะเอาชนะใจประชาชนเหล่านั้นให้มีความเห็นอกเห็นใจญี่ปุ่น การตัดสินประหารชีวิตและการทรมานที่บ่อยครั้งเกินไปได้ก่อให้เกิดความเกลียดชังและการต่อต้านมากกว่าร่วมมือ จึงเป็นเรื่องที่ฝ่ายริราชศัตรูค้นพบและง่ายที่จะนำมาใช้ อีกทั้งยังมีความไร้ประสิทธิภาพด้วย ตั้งแต่กระทรวงเอเซียตะวันออกที่ยิ่งใหญ่กว่า ที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งได้เรียกใช้ผู้คนมาร่วมงานโดยส่วนใหญเป็นพวกนักการทูต และตัวแทนจากวงการค้าซึ่งล้วนถูกเรียกตัวกลับจากยุโรปและจากที่อื่น ๆ เกมือเกิดสงคราม หรือมาจากนักหนังสือพิมพ์และพ่อค้าซึ่งมีเคยทำงานในดินแดนเหล่นี้จนคุ้นเคยกับพื้นที่ปกครองนั้น ๆ นักหนังสือพิมพ์ขาดความรู้ระดับท้องถิ่น ส่วนพ่อค้าขาดประสบการณ์ในการบริหารราชการและขาดุ้ชำนาญการ ในขณะที่ทั้งนักหนังสือพิมพ์และพ่อค้าก็ไม่อาจจะดำเนินนโยบายใดที่ขัดแย้งกับทัศนติ ของฝ่ายผู้บัชาการของกองทัพบก อุปสรรคนี้ยังมีอีกเรื่องคือ การขาดนักเทคนิคที่ได้รับกาฝึกอบรมพอที่จะสามารถฟื้นฟุ้การค้าและอุตสาหกรมในเอเซียอาคเนย์ให้มีประสิทธิภาพเหมือนเดิมได้ โดยเฉพาะการผลิตน้ำมัน ดังนั้แผนสร้างกล่มเศรษฐกิจที่ทรงอำนาจและพึ่งตนเองได้นั้นก็ได้ความยากลำบากตั้งแต่เริ่มต้น
    ความยากลำบากทวีขึ้นโดยผลของความล้มเหลวทางทหาร การโจมตีของเรือดำน้ำฝายสัมพันธมิตร ได้แทรกแซงการติดต่อคมนาคมทางทะเลกับหมู่เกาะต่างๆ มากในต้นปี ต่อมาเมื่อมีการเสริมด้วยการโจมตีทางอากาศ ญี่ปุ่นก็พบตัวเองถูกตัดขาดจากดินแดนของตนที่ไกลโพ้น ความสูญของเรือพาณิชย์เกิดจากการพยายามจะรักษาเส้นทางเดินเรือให้เปิดไว้ ผละประการหนึ่งก็คือมันกลายเป็นอุปสรรคต่อการผลิตทางอุตสาหกรรมภายในประเทศจนการแข่งขันกันระหว่างทหารบกกับทหารเรือทวีขึ้นดดยเหตุข้อพิพาทด้วยเรื่องการจัดสรรปันส่วนยุทธปัจจัย ถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการประสานงานในการปฏิบัติการร่วมกัน

     การที่กองทัพได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ ในการให้ได้มาซึ่งดินแดนขยายสู่รอบนอกในขณะที่ญ่ปุ่นต้องเสริมกำลังให้เต็มด้วยกำลังกองหนุน เพื่อให้อเมริกาถูกเกลี้ยกล่อมให้ยอมรับสันติภาพอันประนีประนอมต่อกัน ไม่เพียงแต่การพัฒนาเศรษฐกิจในเขตวงไพบูลย์จะช้าลงมากแล้วเท่านั้นหากแต่การรบรุกตอบโต้ของฝ่ายอเมริกายังรวดเร็วกล่วที่คาดมากด้วยยุทธนาวีในทะเลคอรัล และในเกาะมิดเวย์ในเดือนต่อมายับยั้งญี่ปุ่นมิให้บุกทะลวงไปสู่ออสเตรเลียและฮาไวอิตามลำดับ ในกรณีออสเตรเลียเป็นการยืนยันได้ เพราะออสเตรเลียได้ปกป้องนิวกินี ตอนใต้สำเร็จในปีนั้น แล้วอเมริกาได้ยึดกัวดาคาแนลในหมู่เกาะโซโลมอน เป้นการรุกไล่ครั้งใกม่บนแผ่นดิน หลังจากที่สู้รบกันอน่างหนักอยู่หกเดือน ในเดือนกุมภาพันธ์ ปฏิบัติการทางทหารเหล่านั้นได้ปรากฎต่อมาว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อทางยุทธศาสตร์
      การปกิบัติการทางทหาร ด้วยกลยุทธอย่างใหม่ในด้วยยุทธนาวี การปฏิบัติการในระยะยาวได้ใช้เครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นอาวุธสำคัญในการรบรุก เป็นพัฒนาการซึ่งทำให้ญี่ปุ่นสิ้นสุดความได้เปรียบที่จะเป็นฝ่ายลงมือปฏิบัติการจาเรือรบหลัก ในการบตามเกาะ การให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทหารบก ทหารเรือ และกำลังทางอากาศก็เป็นการเลือกที่จะเป็นการรบภายใต้การบัญชาการอันเดียวกัน นี่คือส่วนหนึ่งของเทคนิคการรบอเมริกาแบบ “กระโดดที่ละเกาะ” โดยมิได้มุ่งยึดดินแดนตามความหมายทั่วไปหากแต่มุ่งรบเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานทัพเพื่อให้เรือรบและเครื่องบินสามารถครอบงำทั้งพื้นที่ในน่านน้ำแปซิฟิคตะวันตกทั้งหมด…

WWII:China,Pacific,South East Asia

     สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มด้วยการประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการเปิดสงครามทางเอเชียและแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 11 ธันวาคม 1941 สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมนีและอิตาลี
     จากการที่ญี่ปุ่นบุกโจมตีท่าเรือเพิร์ล ฮาเบิร์ลของสหรัฐอเมริกา สหรัฐรู้ดีว่าญี่ปุ่นต้องรุกรานโจมตีและยึดหมู่เกาะในแปซิฟิก ดินแดนเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แยนการรบของสหรัฐอเมริกาประการแรกคือต้องปกป้องออสเตรเลียจากการยึดครองของญี่ปุ่น ประทการที่สองต้องยุติการรบในแอฟริกาให้เร็วที่สุดเพราะเยอรมนีจะบุกโจมตีอเมริกาใต้โดยฝ่านแอฟริกา ที่เมืองท่าดาการ์ ในเซเนกัล อาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นดินแดนที่ใกล้ชายฝั่งตะวันออกของบราซิลในอเมริกาใต้มากที่สุด เยอรมนีจะใช้เครื่องบุกโจมตีทิ้งระเบิดบราซิล เป้นการเริ่มยึดครองอเมริกาใต้ และเปิดศึกกับสหรัฐอเมริกาในภาคพื้นทวีปอเมริกา ประการที่สามกอบกู้และยุติการรบในยุโรป แระการที่สี่กอบกู้และยุติการรบในแปซิฟิกและเอเซีย

     ญี่ปุ่นกดดันต่อรัฐบาลยุโรปในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลดัตช์ยินยอมที่จะส่งมอบทรัพยากรน้ำมันจากมู่เกาะอนิเดียตะวันออกของดัตช์แต่ปฏิเสธที่จะยินยามให้ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงทางการเมืองภายในอาณานิคม ฝรั่งเศสเขาวีชียินยอมให้ญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส รัฐบาลอเมริกา,สหราชอาณาจักรและประเทศตะวันตกตอบโต้การยึครองดับกล่าวด้วยการอายัดทรัพย์ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในอเมริกา ญี่ปุ่นถูกบีบให้เลือกว่าจะล้มเลิกความทะเยอทะยานในการยึดครองทวีปเอเซียและหันกลับไปดำเนินการรบในจีนต่อไปหรือเขายึดแหล่งทรัพยากรที่ต้องการด้วยกำลังทหาร กองทัพญี่ปุ่นไม่พิจารณาทางเลือกแรก ญี่ปุ่นวางแผนในการยึดครองอาณานิคมชองชาติยุโรปในทวีปในทวีปเอเซียอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะสร้างแนวป้องกันขนาดใหญ่ซึ่งลากยาวเพื่ออำนวยความสะดวกในการแสวงหาทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ในเอเซียตะวันออกเฉพียงใต้อย่งอิสระขณะทำสงครามป้องกันตนและเพื่อป้องกันการเข้าแทรกแซงจากภายนอก  วันเดียวกับที่ญี่ปุ่นโจมตี อ่าวเพิร์ล ฮาเบิร์ล เป็นวันเดียวกับที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในไทยและมาลายา
      ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 1942 กองกำลังทางเรือและทางบกของญี่ปุ่นปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพในสมรภูมิแปซิฟิกและเอเซียกล่าวคือ กองกำลังญี่ปุ่นสามรถเข้ายึดกรุงมนิลาเมืองหลวงฟิลิปินส์ได้เป็นผลให้กองกำลังอเมริกันภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโทดักกลาส แมคอาเธิต้องถอยออกจากกรุงมนิลาเข้าตั้งมั่นที่คอร์เรจิดอร์ ในอ่าวมนิลา
- 11 มกราคม กองกำลังญี่ปุ่นเคลื่อนลงใต้เข้ารุกรานหมู่เกาะเนเทอร์แลนด์อินดีส ปลายเดือนมกราปะทะกันทางเรือในทะเลชวาบริเวณช่องแคบมาคาซา ระหว่างเกาะบอร์เนียว กับเกาะเซเลเบส เรือรบญ่ปุ่นได้รับความเสียหายจากการบุกโจมตีของกองกำลังสัมพันธมิตรประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ละดัชต์ ทั้งทางเรือและทางอากาศ
- 15 กุมภาพันธ์ กองกำลังญี่ปุ่นเข้ายึดมาเลเซียและสิ่งค์โปร์ของอังกฤษ ฝ่านไทยรุดเข้าพม่าของอังกฤษ
- 25 กุมภาพันธ์ กองกำลังญี่ปุ่นยึดกรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงพม่าจากอังกฤษได้
- 27 กุมภาพันธ์-9 มีนาคม มีการปะทะกันทางเรืออีกครั้งในทะเลชวา โดยกองกำลังญี่ปุ่นมุ่งยึดเกาะชวาอันเป็นที่ตั้งของกรุงปัตตาเวีย (จาร์กาต้า)ศูนย์กลางการปกครองของดัชต์ ผลคือญี่ปุ่นชนะยึดเกาะชวาได้ในที่สุด
ในเดือนญี่ปุ่นยึดอาณานิคมดังต์คืออินโดนิเซียในปัจจุบันได้ทั้งหมด ยคดครองทรัพยากรธรรมชาติหลักคือน้ำมัน ยางพารา ดีบุก และแร่ธาตุอื่นเพื่อใช้ในกิจการสงครามตลอดจนยึดครองพม่าของอังกฤษมีผลให้ญี่ปุ่นสามรถตัดเส้นางลำเลียงเสลบียงและยุทธปัจจัยของสัมพันธมิตรที่จัดส่งให้แก่จีน
     ต้นเดือนมีนาคม 1942 นาพลโทดังกลาส แมคอาเธอร์ซึ่งคุมกองกำลังอเมริกันตั้งมั่นที่คอร์เรจิดอร์ในอ่าวมนิลาได้รับคำสั่งจากประธานาธิบดีรูสเวลท์ให้เดินทางไปออสเตรเลียเพื่อบัญชาการกองกำลังสัมพันธมิตรในแปซิฟิกได้ ดังลาส แมคอาเธอร์เดินทางถึงออสเตรเลียในวันที่ 17 มีนาคม กองกำลังอเมริกันที่คอร์เรจิดอร์ ต้องต่อสู้กับความหิวโหยโรคภัยไข้เจ็บ และการบุกโจมตีของญี่ปุ่นจำต้องยอมจำนนต่อญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิงในวันที่ 6 พฤษถา
      ต้นเดือนมิถุนายน ญี่ปุ่นนำกองเรือรบมุ่งบุกโจมตีหมู่เกาะอะลูแทนเป็ฯปมู่เกาะรอบนอกทางตะวันตกของอะลาสก้าของสหรัฐอเมริกา ผลการปฏิบัติการโจมตีนั้นญี่ปุ่นสามารถยึดเกาะเอทตู และคิสก้า สองเกาะทางตะวันตกของหมู่เกาะอะลูแทนได้สรุปได้ว่านับจาก 7 ธันวา – 21 มิถุนา การปฏิบัติการรบในเอเซียและแปซิฟิก เขตอำนาจของญี่ปุ่นทางเหนือจรดหมุ่เกาะอุลูแทนเกาะทางตะวันตกของอะลาสก้าของสหรัฐอเมริกา ทางใต้จรดนิวดินีและออสเตรเลีย ทางตะวันออกจรดเกาะมิดเวย์ของสหรัฐอเมริกา ทางตะวันตกจรดอินเดียอังกฤษ

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Nazi Germany vs Red Army of CCCP

     หลังจากเยอรมนีเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เยอรมนีได้เจรจาเชิญชวนให้สหภาพโซเวียตเข้าเป็นสมาชิกด้วย หลังการเจรจาสงอวันในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนีส่งข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่หไภาพ

โซเวียตเพื่อเชิญชวน ทางฝ่ายสหภาพโซเวียตได้ส่งข้อเสนอของตนกลับมา แต่ไร้การตอบสนองจากเยอรมนี ความเป็นอริของสองประเทศเพิ่มขึ้นทุกที และเมื่อเกิข้อพิพาทในยุโรปตะวันออก จึงเป็นผลใหการปะทะกันทางทหารเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก การกระทำของสตาลินทำให้นาซีเยอรมนีชใช้อ้างเป็นเหตุผลเพื่อเตียมการรุกราน นาซีโฆษณาชวนเชื่อ โดยใช้ ความโหดร้ายของสตาลินในปี 1930 ซึ่งสั่งประหารและคุมขังประชาชนจำนวนหลายล้านคน ระหว่างการกว้าดล้างครั้งใหญ่ เป็นเครื่องสนับสนุน เนื้อความว่า กองทัพแดงเตรียมการที่จะรุกรานเยอมนีและการรุกรานของเยอรมนีเป็นการกทำเพื่อป้องกันตัว
     เหล่านนายพลของฮิตเลอร์แย้งว่าการยึดครองสหภาพโซเวียตจะทำให้เกิดความส้ินเปลื่องมากกว่าจะเป็นการแำ้ก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ฮิตเลอร์มองการไกลกว่านั้น
- เมื่อสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้แล้วจะทำให้สามรถปลดประจำการทหารส่วนนใหญ่ในกองทัพเื่พอนำไปแก้ปัญหาการขาดแรงงานของเยอรมนีในขณะนั้นเนื่องจากเมืองการรบสำคัฐสิ้นสุดลงแล้วจึงไม่ต้องการทหารจำนวนมากอีกต่อไป
- ยูเครนจะหลายเป็นแหล่งอาหารราคาถูกที่อุดมสมบูรณ์ให้กับชาวเยอรมันี เนื่องจากมีความเหมาะสมต่อเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง
- เนื่่องจากสหภาพโซเวียตมีประชากรมากมาย ฮิตเอล์มองโซเวียตเป็นแหล่งแรงงานทาสราคาถูกซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางภูมิยุทธศาสตร์ให้กับประเทศเยอรมนีอย่างมาก
- ความพ่ายแพ้ของสหภาพโซเวียตจะยิ่งทำให้จักวรรดิอังกฤษ ซึ่ง
กำลังจะพ่ายแพ้ ถูกโดเดี่ยวมากขึ้นไปอีก
- สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำมันบากู เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้
   นายทหารส่วนใหญ่เห็นด้วยกับฮิตเลอร์ว่าการบุกโซเวียตนั้นหลีกเลึ่ยงไม่ได้ และจะต้องเกิดขึ้นในวันใดก็วันหนึ่ง
      เมื่อสหภาพโซเวียตเข้าสู ปี 1940 สหภาพโซเวียตคือชาติมหาอำนาจจากการแปรรูปอุตสหกรรมอย่างรวดเร็วของโซเวียตในทศวรรษที่แล้วทำให้ผลผลิตทางอุตสาหกรรมของโซเวียตเป็นรองแค่
สหรัฐอเมริกาและมีผลผลิตเท่าเทียมกับประเทศนาซีเยอรมนี การผลิตยุทโธปกรณ์นั้นเพ่ิมขึ้นอย่างคงที่โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองที่เศรษฐกิจของโซเวียตนั้นถูกกำหนดไปที่การผลิตอุปกรณ์ทางทหารอย่างต่อเนื่องขนาดของกองทัพโดยรวมของกองกำลังโซเวียตในเดือนกรกฎา ปี 1941 นั้นรวมแล้วมีกำลังพลกว่า ห้าล้านนาย ซึ่งมีจำนวนมากกว่ากองกำลังภาคพื้นดอินของเยอรมนี้ที่ใช้บุกโซเวียต การสะสมกำลังของกองทัพแดงยังแข็งแกร่งขึ้นอย่งคงที่ และยังมีความสามรถในการวางกำลังที่เป็นต่อกว่าเยอรมนีในสมรภูมิตะวันออก แต่อย่างไรก็ดี ในการรุกรานของเยอรมนีครั้งนี้ทั้งสองมีความใกล้เคียงกันมากในเรื่องกำลังพล
     ยุทโธปกรณ์ที่สำคัญ ทางฝ่ายโซเวียตนั้นมีอยู่มาก กองทัพแดงมีความเหนือกว่าอย่างมากในกองกำลังยานเกราะที่มีรถถังประจำการถึง 24,000 คัน 12,782 คันประจำการอยู่ในเขตทหารภูมิภาคตะวันตำของประเทศ (ซึ่งมีสามเขตในภูมิภาคที่สามารถปะทะกับกองทัพอยรมันในสมรภูมิตะวันออก)
     เวอร์มัคท์ Wehmacht หรือกองทัพบกเยอรมนีมีรถถังประจำการอยู่ทั้งหมด 5,200 คัน โดยใช้ในการบุกโซเวียต 3,350 คัน ดังนั้นอัตราส่วนเป็น 4:1 เป็นความได้เปรียบของกองทัพแดง นอกจานี้T-34 ของโซเวียต เป็นรถถังที่ล้ำหน้าที่สุดและทันสมัยที่สุดในเวลานั้น รถถังรุ่น BT-8 เป็นรถถังที่เร็วที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบกับรถถังเยอรมันแล้ว รถถังเยอรมันมีความล้าหลังกว่ามาก
      อาวุธปืนใหญ่และเครื่องบินรบซึ่งโซเวียตมีมากกว่าเยอรมนี ซึ่งรวมไปถึงปืนใหญ่สนาม A-19 ที่วากันว่าเป็นปืนใหญ่ที่ดีที่สุดในโลกในเวลานั้น
      ความได้เปรียบในเรื่องปริมาฯของโซเวียตถกหักล้างด้วยคุณภาพที่เหนือกว่ามากของเครื่องบินรบเยอรมัน รวมถึงการฝึกฝนกองกำลังเยอรมันที่เหนือกว่าและเตรียมพร้อมมามากกว่า การขาดแคลนทหารอาชีพที่เป็นเจ้าหน้าที่และผู้บัญชาการระดับสูงในการกว้างล้างครั้งใหญ่นั้น ถูกทดแทนด้วยนายทหารที่มีแนวโน้มที่ "ไว้ใจได้ทางการเมือง" อายุโดยเฉลี่ยของผู้บัญชาการกองพลของโซเวียตนั้นน้อยกว่าอายุโดยเฉลี่ยของผู้บัญชาการกองร้อยของเยอรมนีถึง 12 ปี นายทหารเหล่านนี้่มีทีท่าที่ไม่เต็มใจที่จะริเริ่มในการทำส่ิงใดๆ และส่วนใหญ่ขาดการฝึกฝนในการบัญชาการ
      การจอดเครื่องบินของกองทัพอากาศโซเวียตที่จอดกันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งตกเป็นเป้าตอ่การโจมตีจากอากาศสู่พื้นดินได้ง่าย ๆ และอีกผลหนึ่งคือการที่กองทัพอากาศโซเวียตถูกสังห้ามไม่ให้โจมตีเครื่องบินสอดแนมของเยอรมัน เครื่องบินขับไล่โซเวียตประกอบไปด้วย เครื่องบินรุนล้าสมัยย้อนไปถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เช่นเครื่องบินปีกสองชั้น I-15 และเครื่องบินปีกชั้นเดียวรุ่นแรกของโซเวียต I-16 และเครื่องขับไล่รุ่นใหม่กว่าเช่นมิก MiG และ LaGG เพียงไม่กี่ลำที่ใช้งานได้
     โดยเครื่องบินจำนวนไม่มากที่ติดตั้งวิทยุสื่อสารอีกทั้งวิทยุไม่กี่รุ่นที่มีอยู่นั้นก็ไม่ได้ถูกเข้ารหัสและมีสภาพการใช้งานที่ไม่แน่นอน รวมถึงยุทธวิธีต่อสู้ทางอากาศที่ยังล้าสมัย
      กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตกระจัดกระจาย กันออกไปไม่มีความพร้อมในการทำศึก และมีกองกำลังหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่แยกจากกันโดยไม่มีการลำเลียงไปยังจุดรวมพลเมืือการรบเกิดขึ้น แม้ว่ากองทัพแดงจะมีปืนใหญ่ชั้นดีจำนวนมาก แต่ปืนส่วนใหญ่กลับไม่มีกระสุนกองปืนใหญ่ไม่สามารถเข้าสู่การรบได้เพราะขาดการลำเลียงพล กองกำลังรถถังมีขนาดใหญ่และคุณภาพดีแต่ขาดการฝึกและการสนับสนุนทางเสบียง รวมถึงมาตรฐานในการบำรุงรักษายังแย่มากกองกำลังถูกส่งงเข้าสู่การรบโดยไม่มีการจัดการเติมเชื้อเพลิง ไม่มีการสนับสนุนกระสุน หรือทดแทนกำลังทหารที่สูญเสียไปบ่อยครั้งที่หลังจากการปะทะเพียงครั้งเดียว หน่วยรบถูกทำลายกระทั่งหมดสภาพรวมไปถึงความจริงที่ว่ากองทัพโซเวียตกำลังอยู่ในช่วงจัดระบบหน่วยยานเกราะให้กลายเป็นกองพลรถถังยิ่งเพิ่มความไม่เป็นระบบของกองกำลังรถถัง
      ด้วยเหตุผลที่ว่ากองทัพแดงนั้นประกอบด้วยนายทหารที่ไร้ความสามารถ การขาดแคลนยุทโธปกรณ์ การสนับสนุนเสบียงยานเกราะที่ไม่เพียงพอ ทหารที่ได้รับการฝึกในระดับต่ำ กองทัพแดงจึงเสียเปรียบกองทัพเยอรมันอย่างมากเมื่อปะทะกัน
      การชิงไหวชิงพริบในการเข้าโจมตีก่อน เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ และจากการศึกษาอย่างจริงจังโดยนักประวัติศาสตร์ทางทหารชาวรัสเซีย มิคาเอล เมลทฮูคอฟ กล่าวว่า กองกำลังโซเวียตทำการรวมพลเพื่อเตรียมเปิดการโจมตีเยอรมนีอยู่จริง แต่เขาปฏิเสธต่อคำกล่าวที่ว่าการบุกของเยอรมนี่เป็นการชิงเปิดการโจมตีก่อน แต่เขาเชื่อว่าทั้สองฝ่ายต่างกำลังเตรียมทำการบุกอยู่เช่นกัน แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่เชื่อว่าฝ่ายหนึ่งจะเปิดการโจมตีอีกฝ่ายหนึ่ง
     โจเซฟ  สตาลิน เขาจะได้รับรายงานเฉพาะที่เขาต้องการได้ยินเท่รนั้น สตาลิน มีความเชื่อมั่นอย่างไร้มูลเหตุในสนธิสัญญวว่าก้วยการไม่โจมตีต่อกัน สตาลินถูกชักนำให้เชื่อว่าสถานภาพของสหภาพ
โซเวียตช่วงปี 1941 นั้นแข็งแกร่งกว่าที่เป็นจริง มาก  หน่วยงานข่าวกรงอของสตาลินทำการเตือนถึงการโจมตีของเยอรมนี่ที่กำลังจะเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งความเชื่อมั่นของสตาลินในนายทหารและกำลังทหาร ถึงแม้จะทราบดีถึงความเป็นไปได้ที่เยอรมันจะเข้าตี นายทหารตามแนวชายแดนไม่อยู่ในสถนาะเตรียมพร้อม เขาเรียนรู้จากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสและเตรียมการรับมือกับการบุกของเยอรมัน
     ขนาดกำลังของกองทัพทั้งสองฝ่ายบนแนวรบด้านตะวันออกในวันที่ 22 กรกฎาคม 1941

                                                     กองทัพแดง              กองทัพเยอรมัน                  อัตราส่วน
จำนวนกองพล                                     190                              166                              11:1
จำนวนทหาร                                   3,289,851                     4,306,800                          1:1.3
จำนวนอาวุธปืนและปืนครก                59,787                           42,601                        1.4:1
รถถัง(รวมถึงปืนจู่โจม)                        15,687                             4,171                        3.8:1
อากาศยาน                                         10,745                              4,846                       2.2:1

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Form of government

     สถานะการโลกในปี ค.ศ. 1941 ภายหลังจากสงครามในยุโรปเริ่มต้นโดยนาซีเยอรมัน และฟาสซิสต์อิตาลีทำการรุกรานโปแลนด์ ต่อจากนั้นอักษะใช้กำลังทางการทหารเข้าบุกบังคับ ยึด จับกุม รวมถึงปกครอง ประเทศต่าง ๆในยุโรปไม่กี่ประเทศที่จะรอดพ้นจากอำนาจทางการทหารของเผด็จการนาซีและเผด็จการทางการทหาร
     ก่อนหน้านี้ด้วยการมีอิทธิพลทางการค้าและอำนาจทางการทหาร สหภาพโซเวียตประกาศนโยบายปฏิวัติโลกด้วยลัทธิคอมมูลนิสต์ ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จในยุโรป แต่ค่อยๆ ไปเจริญเติบโตในแผ่นดินจีน
     มหาอำนาจประชาธิปไตยประเทศผู้เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากสนธิสัญญาที่ทำให้ทั้งประเทศที่แพ้สงครามและรวมถึงประเทศที่ชนะสงครามเองไม่พอใจในหลายๆ ประเทศจึงเกิดผลสืบเนื่องให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาต่อมานั้น ประเทศมหาอำนาจประชาธิไตยพวกนี้อันได้แด่ อังกฤษและฝรั่งเศสไม่กล้าที่จะใช้มาตรการรุนแรงต่อต้านและตอบโต้ประเทศเผด็จการเนื่องจากเกรงว่าจะเกิดสงครามขึ้นอีก และไม่พร้อมที่จะทำสงคราม จึงเป็นเหตุผลให้ประเทศเผด็จการเติบโตขึ้นอย่างเข้มแข็ง
    สเปนเป็นการขยายอิทธิพลของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์และเผด็จการโดยเยอรมันและอิตาลีให้การสนับสนุนฝ่าย..ในสงครามกลางเมืองสเปนในขณะที่ สหภาพโซเวียตในการสนับสนุนฝ่าย..โดยฝ่ายที่ได้รับการสนับสนุนโดยเผด็จการเป็นฝ่ายชนะ
    จีนรับการรุกรานจากเผด็จการทางทหารของจักรวรรดิญี่ปุ่น ก่อนหน้านั้นรุสเซียได้ให้การสนับสนุน พรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งคำแนะนำทางการทหาร และแนวทางคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นนโยบายปฏิวัติโลกของสตาลิน ประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมีรุสเซียให้การสนับสนุน โดยชาวจีนเอง มีพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนหลักในการปฏิวัติ กระทั้ง ดร.ซุน ยัด เซ็น ถึงแก่อสัญกรรม ก๊กมินตั๋งจึงแตกออกเป็น ก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของ เชียง ไค เชค และ ก๊กมินตั๋งที่ได้รับการสนับสนุนจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นพรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ตกเป็นเป้าการโจมตีของญี่ปุ่น จึงเจริญเติบโตและเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ

    สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามเนื่องจากการถูกโจมตีที่อ่าวเพิร์ล ฮาเบิร์ล โดยก่อนหน้านี้มีนโยบายวางตนเป็นกลาง มีการค้าขายกับประเทศพันธมิตร และให้การสนับสนุนประเทศที่ทำสงครามกับเผด็จการ (เยอรมัน,อิตาลี,ญี่ปุ่น) ทั้งจากการโจมตีในยุทธการที่บริเทน และการรุกรานจีนจากญี่ปุ่น
     ประเทศคอมมิวนิสต์ซึ่งมีรัสเซียเป็นผู้นำนั้นจากการที่มาตราการสันนิตบาติโลกไม่สามารถหยุดยั้งประเทศเผด็จการได้จึงนำมาซึ่งสนธิสัญญาระหว่างรัสเซียและเยอรมัน ทำให้เกิดการผันผวน ทั้งทางการเมืองและการทหาร ความไม่ไว้วางใจในพรรคคอมมิวนิสต์ในชาติประชาธิปไตยว่าจะเข้ากับฝ่ายอักษะหรือไม่ทำให้เกิดภาวะความไม่ไว้วางใจกันในประเทศยุโรปต่างๆ
    หากจะเปรียบอักษะ กับประเทศประชาธิปไตย โดยประเทศอักษะทำการรุกรานและเข้ายึดครองประเทศต่างๆ โดยมีรัฐบาลหุ่นเชิด ทั้งจักรวรรดิญี่ปุ่นและเยอรมัน อิตาลีนั้น จำนวนพื้นที่การยึดครองมีมากทั้งทวีปเอเซีย แอฟริกาและยุโรป ชาติจักรวรรดิอาณานิคม หรืออังกฤษนั้น มีการปกป้องอาณานิคมโดยการปะทะกันในเขตอาณานิคมทั้งในแอฟริกา และฝรั่งเศสในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อังกฤษได้ให้เช่าพื้นที่เกาะในแปซิฟิกแก่สหรัฐเพื่อสร้างเป็นฐานปฏิบัติการในแปซิฟิก เมือครั้งสหรัฐส่งเรื่อรบ 50 ลำให้แก่อังกฤษเมือครั้งยุทธการที่บริเทนเป็นการตอบแทน
    ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้กระทั่งปี 1941 ลัทธิและอุดมการณ์ร่วมทั้งนโยบายในการบริหารประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเชื้อชาติซึ่งจะเห็นได้จากการปฏิบัติการที่ดันเคิร์กซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่าฮิตเลอร์ปล่อยอังกฤษเพราะเหตุว่าฮิตเลอร์เชื่อว่าชนชาติอังกฤษเป็นชนชาติที่มีความใกล้เคียงกับชนชาติเยอรมัน ในทางกลับกันกับการตัดสินใจเข้าโจมตีสหภาพโซเวียตเพราะเชื่อว่าชาวสลาฟเป็นชนชาติที่ต่ำกว่ามนุษย์ ควรที่จะเนรเทศและปกครองรวมถึงใช้ดินแดนของสลาฟในการอยู่อาศัย..เรื่องเชื้อชาตินั้นจึงเป็นแรงขับและเป็นตัวที่จะพลิกพลันชะตาสงครามและชะตาของเยอรมันในเวลาต่อไป หลังการสร้างประหลาดใจในการตัดสินใจเข้ารุกรานสหภาพโซเวียต ซึ่งได้ทำข้อตกลงไม่รุกรานกันนั้น หรือความตั้งใจที่แท้จริงของเยอรมัน ยุโรปมิใช่เป้าหมายที่แท้จริงแต่แรก..
        นาซีเยอรมันนั้น เรียกได้ว่าฮิตเลอร์ เป็นผู้นำที่มีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว อิตาลีนั้นมุสโสลินีแม้อำนาจจะไม่เด็ดขาดเท่ากับฮิตเลอร์แต่ก็เป็นผู้นำเผด็จการที่มีอำนาจมาก โครงสร้างภายในมีความเข้มแข็งประชาชนพร้อมจะทำตามนโยบายผู้นำซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศเผด็จการซึ่งทำให้สามารถรุกไล่และโจมตีประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้แทบจะทุกประเทศ
      ญี่ปุ่นแม้จะเป็นเผด็จการทางการทหารแต่ความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิที่ได้รับการปลูกฝั่งให้แก่ชาวญี่ปุ่นทุกๆคน การนำกองทัพเข้ารุกรานจีนซึ่งจะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชจึงเป็นช่วงเวลาที่ได้เปรียบของญี่ปุ่น ภายในประเทศจีน มีทั้งการปราบปรามจากพวกนิยมกษัตริย์ พวกชาตินิยมประชาธิไตยและ คอมมิวนิสต์ที่เกิดใหม่ จึงเป็นการได้เปรียบของญี่ปุ่นในการรุกรานจีน
     รุสเซีย ภายใต้การนำของสตาลิน ผู้มีนโยบายปฏิวัติโลก ผู้ที่ทอดทิ้งจีนหลังจากการช่วยให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองเนื่องจากปัญหาการรุกรานจากญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นความผิดพลาดของนโยบายปฏิวัติโลกกระทั่งต้องล้มโครงการไป รุสเซียหลังจากการปฏิวัติสตาลินผู้ขึ้นครองอำนาจต่อจากเลนิน โดยการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ผู้ซึ่งไม่เชื่อในศาสนา สตาลินจึงเล่นบทเป็นพระเจ้าในระบอบการปกครองนี้ด้วย ภายในประเทศจึงมีสภาพที่แตกต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สตาลินไม่ประกาศสงครามกับประเทศอักษะใด ๆ แม้จะได้รับเตื่อนความเคลื่อนไหวที่น่าไว้ใจของนาซี กระทั่งถูกโจมตีจึงประกาศสงคราม..
    อังกฤษเป็นประเทศเดียวที่ทั้งก่อนการเข้าร่วมสงครามของสหรัฐอเมริกาและหลังการเข้าร่วมสงคราม ที่เป็นแกนสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศอังกฤษได้ผู้นำอย่างเชอร์ชิล ที่มีนโยบายไม่โอนอ่อนต่อเผด็จกลาง ความมีใจมุ่งมั่นแสดงให้เห็นเมือครั้ง ยุทธการที่บริเทน

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Eastern Front


      แนวรบด้านตะวันออกประกอบไปด้วย การเผชิญหร้าทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
มัลัษณะของความรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน การทำลายไม่เลือกหน้า การเนรเทศขนานใหญ่ตลอดจนการสูญเสียชีวิตมหาศาลอันเนื่องมาจากการสู้รบ ความอดอยาก การทอดท้ง โรคระบาด การสังหารหมู่ แนวรบด้านตะวันออกอันเป็นเหล่งค่านมรณะ การเดินขบวนแห่งความตาย เกตโต และโพกรมแทบทั้งหมด ถือเป็นศูนย์กลางของฮิโลคอสต์ จากตัวเลขประเมินผู้เสียชีวิตในงครามโลครั้งที่สอง 70 ล้านคน ผุ้เสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันออก เป็น 30 ล้านคน แนวรบตะวันออกเป็นส่วนสำคัญของการกำหนดผลของสงครามครั้งนี้ และเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งอันนำไปสู่การปราชัยของเยอรมัน
     อุดมการณ์ของเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กล่าวถึง ความจำเป็นของแนวคิดเลเบนซเราม์ ซึ่งเป็นการเข้ายึดดินแดนใหม่เพื่อการตั้งถิ่นฐานชาวเยอรมันในที่นั้นเป็นเชื้อชาติปกครอง ขณะที่กำจัดหรือเนรเทศผู้อยู่อาศัยส่วนมากไปยังไซบีเรียและใช้ที่เหลือเป็นแรงงานทาส สำหรับพวกนาซีทียึดมั่นในหลักการสงครามกับสหภาพโซเวียตเป็นการต่อสู้ของนาซีต่อคอมมิวนิสต์ และเชื้อชาติอารยันต่ออุนแทนเมนซเชน(ต่ำกว่ามนุษย์) สลาฟ ฮิตเลอร์เอ่ยถึงโดยใช้คำพิเศษว่า “สงครามแห่งการทำลายล้าง”ในแผนการชื่อ “เจเนรัลพลันโอสท์” ประชากรยุโรปกลางและสหภาพโซเวียตที่ถูกยึดครองจะถูกเนรเทศไปยังไซบีเรียตะวันตกบางส่วน บางส่วนตกเป็นทาสและถูกกำจัดทิ้งไปในที่สุด ชาวเยอรมันหรือ “ผุ้ที่แผลงเป็นเยอรมัน” จะตั้งนิคมในดินแดนที่พิชิตได้ นอกจานี้พวกนาซียังมุ่งกวาดล้างประชากรชาวยิวขนาดใหญ่ในยุโรแหลางและตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนาซีที่มุ่งกำจัดชาวยิวทุกคนในยุโรป
     ทฤษฎีของนาซีที่มีต่อสหภาพโซเวียต ฮิตเลอร์เขียนเจตนาของเขาในการรุกรานสหภาพโซเวียตอย่างชัดเจนใน เมียนคัมพ์(การต่อสู้ของข้าพเจ้า) โดยระบุถึงความเชื่อของเขาที่ว่าชาวเยอรมันเป็นชนที่พึงได้พื้นที่อยู่อาศัย (อาทิ ที่ดิน ทรัพยากรและวัตถุดิบ) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนั้นความเสาะแสวงหาในดินแดนตะวันออกอีกทั้งนโยบายทางเชื้อชาติของนาซียังระบุว่าเชื้อชาติที่ตำกว่ามนุษย์ ซึ่งอยู่ภายมต้การปกครองของ “ยิวบอลเซวิค”ใหนหนังสือ “เมียนคัมพ์”ฮิตเลอร์ยังเขียนไว้อีกว่าชะตากรรมของเยอรมันคือการมุ่งสู่ตะวันออก อย่างที่เคยเกิดขึ้นเมือหกร้อยปีก่อนหน้านั้น และ “เพื่อยุติการปกครองของชาวยิวในรัสเซีย ซึ่งจะเป็นการยุติความเป็นรัฐของรัสเซียลงไปด้วย”หลังจากนั้นฮิตเลอร์ได้กล่าวถึงการต่อสู้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับ "แนวคิดรวมเชื้อชาติสลาฟ” และชัยชนะที่ได้จะนำไปสู่ “ความเป้นเจ้าโลกนิรันดร”แม้ก่อนหน้านั้น ฮิตเลอร์จะเคยกล่าวว่า “เราจะต้องเดินทางเดียวกับพวกรัสเซีย ถ้านั้นเป็นประโยชน์ต่อเรา” ฉะนั้น นโยบายของรัฐบาลนาซี คือ สังฆ่า เนรเทศ หรือจับชาวรัสเซียหรือชาวสลาฟเป็นทาส และให้ดินแดนเหล่านนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเยอรมันแทน..
     อุดมการณ์โซเวียต ระบอบโซเวียต ซึ่งมีโจเซฟ สตาลินเป็นผู้นำ วางแผนการขยายอุดมการณ์ลัทธิมากซ์-เลนินและให้ความช่วยเหลือแก่ความคืบหน้าของการปฏิวัติโลก ในความเป็นจริง สตาลินได้ยึดหลักการสังคมนิยมประเทศเดียว และใช้หลักการนั้นสร้างความชอบธรรมแก่การปรับให้สหภาพโซเวียตเป็นประเทศอุตสาหกรรมช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอมันซึ่งวางตัวเป็นรัฐที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์มาอย่างต่อเนือและได้ยืนยันฐานะอย่างเป็นทางการด้วยการลงนามในกติกาต่อต้านโคมินเทิร์นกับญี่ปุ่น และอิตาลีนับเป็นขั้วตรงข้ามทางอุดมการณ์โดยตรงกับสหภาพโซเวียต
     ความตรึงเครียดจากอุดมการณ์เปลี่ยนเป็นสงครามตัวแทนระหว่างนาซีเยอมรมันและสหภาพโซเวียต สงครามกลางเมืองสเปน เป็นเวลที่ซึ่งเยอรมันและอิตาลีเผด็จการเข้าแทรแซงการเมืองโดยสนับสนุนฝ่ายชาตินิยมสเปนและคอมมิวนิสต์สหภาโซเวียตสนับสนุนสาธารณรับสเปนที่สอง ซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์อย่างโดดเด่น
     เหตุการณ์อันซลูสส์ออสเตรียของเยอรมันในปี 1938 และการตัดเชโกสโลวาเกียแสดงถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างระบบความมั่นคงร่วมในทวีปยุโรปซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจาก มักซิม ลิตวินอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศโซเวียต ความล้าเหลวดังกล่าวตลอดจนความไร้ความสามรถของผุ้นำอังกฤษและฝรั่งเศสที่จะลงนามพันธมิตรทาการเมืองและทางทหารเพื่อต่อต้านเยอรมันเต้ฒขั้นกับสหภาพโซเวียตนำไปสู่สนธิสัญญาโมโลดอฟ-ริบเบนทรอพ ระหว่างสหภาพโซเวียตกับเยอมันการลงนามดังกล่าวนำไปสู่การพลิกผลัน อย่างไรก็ดีหลังเยอรมันบุกรัสเซีย ฐานะของรัฐบาลโซเวียตก็เปลี่ยนมาเป็นต่อต้านนาซีเต็มตัว

WWII:USA 1941

     ในปี 1941 ประธานาธิบดีรูสเวลท์เสนอแผนให้ยืม-ให้เช่า อาวุธและยุทธปัจจัยแก่ชาติผู้ต้อต้านฝ่ายอักษะต่อรัฐสภาที่มาของแผนให้ยืม-ให้เช่า ด้วยประธานาธิบดีรูสเวทท์มั่สใจว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องยือเยื้ออีกยาวนาน ฝ่านสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษใกล้ขาดเงินสดซื้ออาวุธและยุ่ธปัจจัยจากสหรัฐอเมริกา และการรบขยายตัวลงมหาสมุทรแดตอลนติกอาจเคลื่อนไข้ใกล้สหรัฐอเมริกได้ในอนาคต
- 6 มกราว่าด้วยแผนให้ยืนมให้เช่าอาวุธและยุทธปัจจัยของสหรัฐอเมริกาแก่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะเป็นผลให้สามารถปราบปรามฝ่ายอักษะได้ และสหรัฐอเมริกาจะคงรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพ 4 ประการ คือเสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น,เสรีภาพในการนับถือศาสนา,เสรีภาพในการได้มาซึ่งสิ่งทีต้องการ,เสรีภาพในการหลุดพ้นจากความหวาดกลัว..
- 11 มีนาคม ฝ่านเป็นกฏหมายให้ยืม-ให้เช่าปี 1941
- 9 เมษายน รัฐบาลเดนมาร์คยินยอมให้สหรัฐอเมริกาตั้งฐานทัพในกรีนแลนด์ เพื่อปกป้องกรีนแลนด์จากการอาจถูกรุกรานโดยกาองกำลังเยอรมันและอิตาลี
- 11 เมษายน สหรัฐอเมริกและแคนาดาร่วมลงนามในคำประกาศไฮเด พาร์ค ปี 1941 กำหนดร่วมมือระหว่งกันเพื่อปกป้องดินแดนทางตอนเหนือของภาคพื้นทวีปอเมริกาเหนือรวมทั้งร่วมมือกันเพือการผลิตยุทธปัจจัย
-7 กรกฎา สหรัฐอเมริกาลงนามกับรัฐบาลไอซ์แลนด์ เข้าตั้งฐานทัพในเกาะไอซ์แลนด์เพื่อปกป้องไอซ์แลนด์จากการอาจถูกรุกรานโดยเยอรมันและอิตาลี
-26 กรกฎาคม สหรัฐตอบโต้ทางเศรษฐกิจการค้าและการเงินทันทีต่อการก้าวร้าวของญี่ปุ่นด้วยการยึดทรัพย์สินและอายัดเงินของชาวญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริก หยุดทำการค้ากับญี่ปุ่นโดยสั่งห้ามเรือขนสินค้าส่งญี่ปุ่นอันได้แก่น้ำมัน เครื่องยนต์ เครื่องจักรและเหล็กออกจากท่าเรืออเมริกา(ญี่ปุ่นตอบโต้ทันที่ด้วยมาตรการในทำนองเดียวกัน)
-27 กรกฎาคม ประธานาธิบดีรูสเวลท์ เรียกกองกำลังฟิลิปินส์เข้าประจำการในกองกำลังอเมริกาภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท ดักลาส แมคอาเธอร์ Lieutenant General Douglas MacArthur  เพื่อลดความตรึงเครียดญี่ปุ่นเป็นฝ่ายของเปิดการเจรจากับสหรัฐอเมริกา
-4 กันยายน ประธานาธิบดีรูสเวลท์ประกาศให้เรื่อรบอเมริกันทุกลำปฏิบัติการยิงทันที่ที่เห็นเรืออักษาในเขตน่านน้ำภาคพื้นทวีปอเมริกาตามข้อตกลงปานามาปี 1939
     ในเดือน สิงหาคม ประธานาธิบดีรูสเวลท์ร่วมปรึกษาหารือกับนากยกรัฐมนตรีเชอร์ชิล ผู้นำทั้งสองพบกันบนเรือรบพรินซ์ออฟเวลส์ Prince of Wales ชายฝั่งนิวฟาวแลนด์พูดเรื่องปัญหาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรวมถึงความก้าวร้าวของญี่ปุ่นในเอเซียตะวันออก ผุ้นำทั้งสองร่วมกันลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก ปี่ 1941 The Atlantic Charter 1941 โดยมีพื้นฐานจากหลักสันติภาพ 14 ประการและต่อมมาจึงเป็นสันนิบาตชาติใหม่คือ องค์การสหประชาชาติในปี 1945
     ในเดือนสิงหาคม เช่นกัน สหรัฐอเมริกาเสนอความช่วยเหลือด้ารอาวุธและยุทธปัจจัยในรูปแบบให้ยืม-ให้เช่าแก่จีนเพื่อใช้ต้านการรุกรานของญี่ปุ่นในดินแดนจีน สร้างความไม่พอใจอยางมากแก่ญ่ปุ่น
-18 สิงหาคม ประกาศขยายระยะเวลาการรับราชการของทหารเกณฑ์จากเดิม
-11 กันยายน กลุ่มชาติต้านฝ่ายอักษาะ 11 ชาติร่วมลงนามรับรองในข้อกำหนดแห่งกฎบัตรแดตแลนติก
-13 พศจิกายน รัฐสภาเพิ่มข้อความในกฎหมายวางตนเป็นกลาง กำหนดให้เรือสินค้าอเมริกันติดอาวุธ จากการที่ญี่ปุ่นรุกรานและยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสได้สำเร็จ
-20 พฤศจิกายน การเจรจาโดยฝ่ายญี่ปุ่นนำโดยตัวแทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีนายพลฮิเดกิ โตโจ General Hideki Tojo และทูตญี่ปุ่นประจำสหรัฐอเมริกา คือ คิชิซาบูโร โนมูรา ฝ่ายสหรับนำโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา คอร์เดล ฮัล ญี่ปุ่นเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาเลิกยึดทรัพย์สินนและอายัดเงินของชาวญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกา คงทำการค้ากับญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจัดส่งน้ำมันแก่ญี่ปุ่น เลิกให้ควมช่วยเหลือใดๆ แก่จีน และยุติการขยายแสยานุภาพกองทัพเรืออเมริกาในน่านน้ำแปซิฟิก
-26 พฤศจิกายน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศให้ญี่ปุ่นถอนกำลังออกจากจีนและอินโดจีนของฝรั่งเศส และลงนามในข้อตกลงไม่ก้าวร้าวรุกรานในดินแดนใดกับสหรัฐอเมริกา อันจะมีผลฟื้นฟูใหม่ในความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาข้อเรียร้องของสหรัฐอเมริกาสร้างความไม่พอใจแก่ญี่ปุ่น
-27 พฤศจิกายน กองกำลังอเมริกันในภาคพื้นแปซิฟิกได้รับการเตือนว่าเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีของญี่ปุ่นเคลื่อนออกจากท่าเรือญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาอาจถูกโจมตี
- 6 ธันวาคม ประธานาธิบดีรูสเวลท์ร้องของต่อจักรพรรดิญี่ปุ่นให้รักษาสันติภาพ แต่เพราะในเช้าวันอาทิตย์ของวันที่ 7 ธันวาคม ฝูงบินกองกำลังญี่ปุ่นบุกโจมตีท่าเรือเพิร์ล สร้างครามเสียหายอย่างมากแก่สหรัฐอเมริกาเป็นผลให้ในวันที่ 8 ธันวาคม รัฐสภาประกาศสงครามกับญี่ปุ่น (วุมิสภให้การยินยอมด้วยเสียงเอกฉันท์ และสภาผุ้แทนราษฎรมีการคัดค้านหนึ่งเสียง) อังกฤษประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในวันที่ 8 ธันวาคมใ เช่นกัน
-11 ธันวาคมเยอรมันและอิตาลีประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมันและอิตาลี รวมทั้งประกาศสงครามกับชาติบริวารเยอรมัน
-19 ธันวาคม รัฐสภาประกาศขยายอายุทหารเกณฑ์จาก 21-35 เป็น 20-44 ปี

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Dai Nippon Teikoku:KMT:CCP

     หลังจากเหตุการณ์ที่นานกิง ญี่ปุ่นทำการรุกไล่จีนแม้จีนจะแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ไม่อาจทำลายขวัญและกำลังใจของกองทัพก๊กมินตั๋ง กองทัพจีนขวัญกำลังใจดีตรงข้ามกับญี่ปุ่นที่กำลังขวัญเสีย แม้ญี่ปุ่นจะยึดนานกิงซึ่งเป็นเมืองหลวงได้และคิดว่าจะจบเพียงแค่นั้น แต่ชาวจีนมิได้คิดเช่นนั้นเลย เมือยึดได้ก็สร้างขึ้นใหม่ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดีแม้จะประสบปัญหาด้านกำลังพล ในเดือนมีนาคม 1940 ญี่ปุ่นสามารถจัดตั้งรัฐบาลหุ่นขั้นได้สำเร็จ โดยมี หวัง ชิง ไหว เป็นประทธานาธิบดี
     ความไม่พร้อมของกองทัพญี่ปุ่นส่งผลกรทบต่อทั้งพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนเท่าๆกัน แต่ทั้งสองพรรคใช้วิธีการที่แตกต่างกัน เชียง ไค เชค ใช้วิธีการตั้งรับมากกว่าหลังจากยุทธการที่แม่น้ำแยงซี พรรคคอมมิวนิสต์ใช้ความได้เปรียบจากความไม่พร้อมขยายอิทธิพลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อร่างต่อเนื่องและรวดเร็ว และเป็นความโชคดีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกเช่นกันที่ญี่ปุ่นเห็นว่าการเข้าครอบครองจีนได้หรือไม่อยู่ที่ว่าจะปราบกองทัพก๊กมินตั๋งได้หรือไม่ โดยไม่เห็นคอมมิวนิสต์จีนอยู่ในสายตา จากเหตุผลนี้ ในปี 1940 ภาคเหนือทั้งหมดก็ตกเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์โดยไม่ต้องสู้รบแม้แต่น้อย ประชากรวมแล้วมีประมาณ 100 ล้านคน จากนั้นก็เริ่มเข้าทำลายเส้นทางรถไฟและการสือสารคมนาคม เมื่อถึงจุดนี้ ญี่ปุ่นเริ่มต่อต้านบ้างแต่ก็ช้าเกินไป คอมมิวนิสต์เข้มแข็งเกินกว่าจะกวาดล้างได้อย่างง่ายดาย
     ในช่วงเวลานี้คอมมิวนิสต์ทำการจัดตั้งอำนาจรัฐได้อย่างสมบูรณืแบบที่สุดมีอิทธิพลเหนือทณฑลซันซี กันสู และหนิงเซีย  โดยมียีนาน เป็นศูนย์กลางบัญชาการ พรรคได้สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มชาวไร่ชาวนา กลุ่มนักศึกษา ปัญญาชน  ซึ่งต่อมาได้เป็นขุมกำลังทางปัญญาให้แก่พรรค ทุกคนใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย อุทิศชีวิตให้แก่อุดมการณ์โดยำม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยหรือแม้แต่ชีวิต  ในช่วงนี้จึงได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “ยุคทองของพรรค”และเป็นแบบอย่างของนักปฏิวัติจีนในอีกหลายปีต่อมา
     “กองพลที่ 8”  เป็นกองกำลังหลักที่อยูไกลจากเมืองเยนานไปทางภาคตะวันออก และอยู่แนวหลังกองกำลังหลักญี่ปุ่น “กองพลที่ 8” เป็นความสำเร็จของพรรคอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากการจัดระเบียบองค์การปฏิวัติชาวไร่ชาวนาอย่างมีประสิทธิภาพ กองพลนี้นอกจากจะเป็นองค์การสูงสุดทางทหารของพรรคที่ยึดถือระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด และเป็นกองทัพของประชาชนแล้ว ยังมีสายสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชาวไร่ชาวนาโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ปลดปล่อย และต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือกันและกัน
     ในการรุกรานจีนสร้างความประหลาดใจให้แก่ญี่ปุ่น จีนผุ้เป็นเจ้าของประเทศไม่คิดที่จะต่องสู้อย่งจริงจัง แม้จะพ่ายแพ้นับครั้งไม่ถ้วนแต่จีนไม่มีทีท่าว่าจะวางอาวุธ นอกจานี้ ญี่ปุ่นเริ่มเผลิญกับปัญหาใหม่ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ คือประเทศที่มิใช่คู่ศึกโดยตรง อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศมีอินแดนในปกครองในจีนเช่นเดียวกัน และญี่ปุ่นต้องการดินแดนเลห่านั้น แม้ทั้งสองประเทศจะไม่สามารถยับยั้งญี่ปุ่นได้โดยตรง เนื่องจากอยุ่ในระหว่งการต่อสู้ในยุโรป แต่ญี่ปุ่นก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เพราะทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสยินยอมให้มีการใช้อาณานิคม โดยเฉพาะในพม่าและเวียดนาม เพื่อลำเลียงเสบียงสัมภาระ อาวุธยุทโธปกรณ์เข้าช่วยเหลือรัฐบาล เชียง ไค เชค ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการบังคับในตัวให้ญี่ปุ่นต้องเคลื่อนทัพสู่ภาคใต้เข้าสู่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อตัดเส้นทางลำเลียง

     สหรัฐอเมริกา เองไม่พอใจต่อการรุกรานจีนของญี่ปุ่น และไม่พอใจมากกับการที่ญี่ปุ่นรุกรานภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างชัดเจนมากกว่าประเทศมหาอำนาจตะวันตกซึ่งเป็นผู้ปกครองในภูมิภาคนี้  ประธานาธิบดีรูสเวลด์มีทีท่าต่อต้านการรุกรานของเยอรมันและญี่ปุ่นนั้น ทำให้นับแต่ปี 1940 เป็นต้นมา รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาเรอ่มทุ่มเทความช่วยเลหืออย่างมากแก่รัฐบาลเชียง ไค เชค
     สหรัฐอเมริกา ลอประมาณการซื่อขายสินค้ากับญี่ปุ่น ถึงกับทำให้ญี่ปุ่นต้องตัดสินใจว่าจะหยุดการรุกรานหรือไม่ เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องย่อยยับ ถ้าขาดวัตถุดิบว฿งส่วนหใญ่นำเข้าจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าถ้าจะให้คงการค้าขายต่อไป ญี่ปุ่นจะต้องยุติการรุกรานจีนในปัญหานี้ผุ้นำทางทหารของญี่ปุ่นถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และมองว่าเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของกองทัพแห่งองค์มหาจักรพรรดิ ทางออกของญี่ปุ่นก็คือต้องแสวงหาดินแดนอื่นที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะน้ำมันและยางพารา ในที่สุดก็มาตกที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...