วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:The Greater East Asia Co-Prosperity Sphere

     วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเซียบูรพา เป็นความพยายามของญี่ปุ่นที่รวบรวมแลสร้างแนวป้องกันแห่งชาติเอเซียเพื่อหลุดพ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยเป็นความคิดริเริ่มของนายพลฮะชิโร อะริตะ ซึ่งขณะนั้นตำรงค์ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีอุดมการณ์ทางการทหารอย่างแรงกล้าที่จะสร้างมหาเอเซียตะวันออก “เอเซียเพื่อชาวเอเซีย”(Asia for Asians) โดยเนื้อหานั้นจะพูดถึงเกี่ยวกับการปลดปล่อยชาติในเอเซียให้หลุดพ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม โดยทำการบุกประเทศเพื่อนบ้านและขับไล่ทหาร อังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกา ออกไปจากภูมิภาคนี้
     ญี่ปุ่นมีความคิดว่าญี่ปุ่นมีชาติพันธุ์ที่เหนือกว่าชาติอื่นในเอซีย ในเมือปกครองโดยพระจักรพรรดิผู้ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์มาอย่างไม่ขาดสายจึงมีสิทธิชอบธรรมที่จะเป็นใหญ่คุ้มครองชาติอื่น
     ญี่ปุ่นคิดว่าวัฒนธรรมตะวันตกหรือปรัชญาตะวันตกเป็นยาพิษของตะวันออกและเป็นวัฒนธรรมที่เสือมทราม จึงจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟู่ระเบียบสังคมและวัฒนธรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของตะวันออกที่เป็นแบบอำนาจนิยมขึ้นมาแทนระบอบประธิปไตยแบบตะวันตก เพื่อให้เอเซียเป้นของชาวเอเซียเท่านั้น
      แผนสงครามของญี่ปุ่นที่ร่างขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ได้วาดภาพแปรทั้งพื้นที่ไปสู่เขตวงไพบูลย์ของเอเซียบูรพา โดยมีญี่ปุ่นจีนภาคเหนือและแมนจูเรียเป็นฐานอุตสาหกรรม ประเทศอื่น ๆ ต้องส่งวัตถุดิบแก่ญี่ปุ่นและเป็นส่วนของการบริโภคที่กว้างใหญ่ไพศาล เป็นการสร้างพลังเศรษฐกิจในระดับหนึ่งที่จะทำให้ญี่ปุ่นสามารถเผชิญและตั้งรับการรุรานจากภายนอกได้เป็นประการแรก และถ้าทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี ก็รวมอินเดีย ออสเตรเลียและบรรดามณฑลไซบีเรียของรุสเซียไว้ด้วยในการสงครามครั้งนี้
      ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเข้าครอบครอง ครอบงำแทนที่ตะวันตก อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเป็นเช่นนั้น เป็นการตัดสินใจด้วยเหตุเสมือนสงครามครูเสดทางวัฒนธรรม โดยการสอนเผยแพร่ภาษาญี่ปุ่น ปฏิรูปการศึกษาที่ขจัดอิทธิพอันมิพึงปรารนา การจัดตั้งการประชุมทางวรรณกรรมและวิทยาศาสรตร์ แม้จนถึงพยายามที่จะขจัดการนอนอกลางวันและดนตรีแจ๊ส รวมทั้งการสร้างขอบข่ายงานความร่วมมือทางการเมืองอย่างใกล้ชิดกัน บางประเทศก็มีอิสระเอกราชพอควรตั้งแต่แรกเริ่ม 
     อินโดจีนก็ยังตกอยู่ในการปกครองฝรั่งเศส
     สยามยังคงมีกษัตริย์และการบริหารราชการโดยให้ความอนุเคราะห์เป็นพิเศษแก่ญี่ปุ่นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญเป็นพันธมิตร 
     จีนที่ถูกยึดครองก็มีระบอบของ หวัง ชิง เวย เป็นจัวแทนก็ได้ทำข้อตกลงสันติภาพ และถูกเกลี้ยกล่อมให้ประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ นีถือได้วาเป็นยุคแห่งความเสมอภาคอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นโดยญี่ปุ่นยกเลิกสัมปทานมากมายในเมืองท่าต่าง ๆ ตามสนธิสัญญาเก่าในปีนั้น แน่นอนว่า รัฐ       แมนจูก็ยังคงเป็นรัฐเอกราช ทั้ง ๆ ที่กองทัพกวันตุงยังคงประจำการอยู่ สถานการณ์นี้เหมือนสถานะการณ์แห่งการเป็นอาณานิคมแบบเกาหลี
     ในบรรดาดินแดนที่ได้รับจากชัยชนะใหม่ๆ นั้น พม่ามีผุ้นำเป็นหุ่นเชิดคือนาย บา เมา ซึ่งเป็นผู้นำการบริหารภายใต้การอุปภัมถ์ของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม อำนาจที่แท้จริงอยู่ในมือที่ปรึกษาทางทหาร และทหารได้ยึดอำนาจนั้นภายหลังที่ประเทศได้รับเอกราชในปีต่อมาเมือได้ประกาศสงครามกับพันธมิตร
     ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเอกราชโดยความช่วยเหลือของผุ้ร่วมกิจการที่นิยมญี่ปุ่น แม้รัฐบาลจะสามารถหลีกเลี่ยงการประกาศสงคราต่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้
     ในอีกแง่หนึ่ง ในมลายูและหมู่เกาะอินเดียของเนเธอร์แลนด์ซึ่มีค่าจำเป็นยิ่งทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นไม่เต็มใจทางที่จะยินยอมปล่อยมือจากการควบคุมญี่ปุ่นได้ให้มีการบริหารราชการโดยทหารในสองแห่งนั้น ดดยรวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางและใช้กรรมวิธีของราชการประจำแทนระเบียบราชการเดิมของบรรดามหาอำนาจเจ้าของอาณานิคมสองแห่งนั้น  การเคลื่อนไหวเพื่อเอราชใรรูปใดก็มิได้รับความสนับสนุนในสองปีแรก แม้จนถึงภายหลังก็มิได้ให้คำมั่นอะไรมากมายนัก แม้ว่ายอมให้มีการตั้งสภาระดับภูมิภาคและผุ้ว่าการระดับท้องถิ่นให้มีบทบาทบ้างในการปกครอง อันที่จริง ในมลายูนั้น คือสิ่งที่ได้ปฏิบัติกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระยะสงครามที่เหลือ แม้ในหมู่เกาะอินเดียจะพัฒนาการเคลื่อนไหวชาตินิยมและท้ายสุดญี่ปุ่นเองยอมรับรองเมือเห็นความปราชัยชัดแจ้ง ข้อเท็จริงนั้นทำให้ผู้นำการเคลื่อนไหว คือ ดร.ซูการณ์โน ประกาศอินโดนีเซียเป็นเอกราชทันทีหลังจากที่ญี่ปุ่นยอมแพ้ในเดือนสิงหาคมปีนั้น
     นอกจากปัญหาระยะยาวของการรักษาเอกราชของรัฐเหล่นั้นแล้ นโยบายอาณานิคมของญี่ปุ่นก็มุ่งตรงไปที่เสี่ยงใช้ความรู้สึกแอนตี้ตะวันตกของประเทศเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์และเบียดบังทรัพยากรธรรมชาติทางเศรษฐกิจในการบำรุงกำลังรบของตน ในนโยบายเชนนี้ ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จน้อยกว่าเป็นอย่างมาก ประการแรกการปกครองที่เข้มแข็งรุนแรงมีแนวโน้มที่จะทำให้ประชาชนเอาใจออกห่าง ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นพยายามที่จะเอาชนะใจประชาชนเหล่านั้นให้มีความเห็นอกเห็นใจญี่ปุ่น การตัดสินประหารชีวิตและการทรมานที่บ่อยครั้งเกินไปได้ก่อให้เกิดความเกลียดชังและการต่อต้านมากกว่าร่วมมือ จึงเป็นเรื่องที่ฝ่ายริราชศัตรูค้นพบและง่ายที่จะนำมาใช้ อีกทั้งยังมีความไร้ประสิทธิภาพด้วย ตั้งแต่กระทรวงเอเซียตะวันออกที่ยิ่งใหญ่กว่า ที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งได้เรียกใช้ผู้คนมาร่วมงานโดยส่วนใหญเป็นพวกนักการทูต และตัวแทนจากวงการค้าซึ่งล้วนถูกเรียกตัวกลับจากยุโรปและจากที่อื่น ๆ เกมือเกิดสงคราม หรือมาจากนักหนังสือพิมพ์และพ่อค้าซึ่งมีเคยทำงานในดินแดนเหล่นี้จนคุ้นเคยกับพื้นที่ปกครองนั้น ๆ นักหนังสือพิมพ์ขาดความรู้ระดับท้องถิ่น ส่วนพ่อค้าขาดประสบการณ์ในการบริหารราชการและขาดุ้ชำนาญการ ในขณะที่ทั้งนักหนังสือพิมพ์และพ่อค้าก็ไม่อาจจะดำเนินนโยบายใดที่ขัดแย้งกับทัศนติ ของฝ่ายผู้บัชาการของกองทัพบก อุปสรรคนี้ยังมีอีกเรื่องคือ การขาดนักเทคนิคที่ได้รับกาฝึกอบรมพอที่จะสามารถฟื้นฟุ้การค้าและอุตสาหกรมในเอเซียอาคเนย์ให้มีประสิทธิภาพเหมือนเดิมได้ โดยเฉพาะการผลิตน้ำมัน ดังนั้แผนสร้างกล่มเศรษฐกิจที่ทรงอำนาจและพึ่งตนเองได้นั้นก็ได้ความยากลำบากตั้งแต่เริ่มต้น
    ความยากลำบากทวีขึ้นโดยผลของความล้มเหลวทางทหาร การโจมตีของเรือดำน้ำฝายสัมพันธมิตร ได้แทรกแซงการติดต่อคมนาคมทางทะเลกับหมู่เกาะต่างๆ มากในต้นปี ต่อมาเมื่อมีการเสริมด้วยการโจมตีทางอากาศ ญี่ปุ่นก็พบตัวเองถูกตัดขาดจากดินแดนของตนที่ไกลโพ้น ความสูญของเรือพาณิชย์เกิดจากการพยายามจะรักษาเส้นทางเดินเรือให้เปิดไว้ ผละประการหนึ่งก็คือมันกลายเป็นอุปสรรคต่อการผลิตทางอุตสาหกรรมภายในประเทศจนการแข่งขันกันระหว่างทหารบกกับทหารเรือทวีขึ้นดดยเหตุข้อพิพาทด้วยเรื่องการจัดสรรปันส่วนยุทธปัจจัย ถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการประสานงานในการปฏิบัติการร่วมกัน

     การที่กองทัพได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ ในการให้ได้มาซึ่งดินแดนขยายสู่รอบนอกในขณะที่ญ่ปุ่นต้องเสริมกำลังให้เต็มด้วยกำลังกองหนุน เพื่อให้อเมริกาถูกเกลี้ยกล่อมให้ยอมรับสันติภาพอันประนีประนอมต่อกัน ไม่เพียงแต่การพัฒนาเศรษฐกิจในเขตวงไพบูลย์จะช้าลงมากแล้วเท่านั้นหากแต่การรบรุกตอบโต้ของฝ่ายอเมริกายังรวดเร็วกล่วที่คาดมากด้วยยุทธนาวีในทะเลคอรัล และในเกาะมิดเวย์ในเดือนต่อมายับยั้งญี่ปุ่นมิให้บุกทะลวงไปสู่ออสเตรเลียและฮาไวอิตามลำดับ ในกรณีออสเตรเลียเป็นการยืนยันได้ เพราะออสเตรเลียได้ปกป้องนิวกินี ตอนใต้สำเร็จในปีนั้น แล้วอเมริกาได้ยึดกัวดาคาแนลในหมู่เกาะโซโลมอน เป้นการรุกไล่ครั้งใกม่บนแผ่นดิน หลังจากที่สู้รบกันอน่างหนักอยู่หกเดือน ในเดือนกุมภาพันธ์ ปฏิบัติการทางทหารเหล่านั้นได้ปรากฎต่อมาว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อทางยุทธศาสตร์
      การปกิบัติการทางทหาร ด้วยกลยุทธอย่างใหม่ในด้วยยุทธนาวี การปฏิบัติการในระยะยาวได้ใช้เครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นอาวุธสำคัญในการรบรุก เป็นพัฒนาการซึ่งทำให้ญี่ปุ่นสิ้นสุดความได้เปรียบที่จะเป็นฝ่ายลงมือปฏิบัติการจาเรือรบหลัก ในการบตามเกาะ การให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทหารบก ทหารเรือ และกำลังทางอากาศก็เป็นการเลือกที่จะเป็นการรบภายใต้การบัญชาการอันเดียวกัน นี่คือส่วนหนึ่งของเทคนิคการรบอเมริกาแบบ “กระโดดที่ละเกาะ” โดยมิได้มุ่งยึดดินแดนตามความหมายทั่วไปหากแต่มุ่งรบเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานทัพเพื่อให้เรือรบและเครื่องบินสามารถครอบงำทั้งพื้นที่ในน่านน้ำแปซิฟิคตะวันตกทั้งหมด…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...