มกราคม เริ่มต้นปีด้วยการก่อตั้ง “สหประชาชาติ”โดยมีฝ่านสัมพันธมิตร 26 ประทเศลงนามในการประกาศต่อต้านฝ่ายอักษะ เป็นครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า “สหประชาชาติ”แทนความหมายของฝ่ายสัมพันธมิตร
ญี่ปุ่นบุกยึดมะนิลา ยึดกัวลาวัมเปอร์,มาลายาประกาศสงครามกับเนเธอร์แลนด์และโจมตีหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ รุกรานอินโดนีเซีย ยกพลขึ้นบกที่เกาะเซลีเบส ญี่ปุ่นจับตัวทหารชาวอังกฤษจำนวนมากเป็นนักโทษในสิงคโปร์,ทัพญี่ปุ่นรุกรานหมู่เกาะโซโลมอน
ประเทศไทยประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ทัพอเมริกันขึ้นเกาะมัว ซึ่งเป็นส่วนของแผนป้องกันการรุกคืบของญี่ปุ่นในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก กองกำลังอังกฤษถอนกำลังทั้งหมดไปยังสิงคโปร์ กองทัพอเมริกันกลุ่มแรกไปถึงยุโรป
บาซิลตัดสัมพันธ์กับฝ่ายอักษะ ฮิตเลอร์ปราศัยที่เบอร์ลิน เรื่องยิวกับการทำลายล้างชาวยิว รวมถึงแจ้งว่าความล้เหลวในการบุกโซเวียตเนื่องมาจากสภาพอากาศไม่ดี เยอรมันถอยทัพจากแนวรบด้านตตะวันออกหลายจุด
กุมภาพันธ์
แนวรบด้านตะวันออก:กองทัพเยอรมันในสหภาพโซเวียตถูกขับออกจากเคิร์สค์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในแผนการของเยอรมนี,กองทัพเยอรมันในสหภาพโซเวียตถูกขับออกจาดเคิร์สค์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในแผนการของเยอรมนี
เอเซียบูรพา:นายพลโจเซฟ สติลเวล ได้เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของเจียง ไคเช็ค ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสัมพันธมิตรในประเทศจีน กองทัพอากาศญี่ปุ่นมุ่งไปโจมตีเกาะชวา,ทัพอังกฤษเสริมกำลังพลไปยังสิงคโปร์เพื่อเตรียมการต่อสู้ครั้งสุดท้าย,สิงคโปร์ยอมจำนนต่อญี่ปุ่น เป้ฯความสูญเสียครั้งใหญ่ของทัพอังกฤษ ,กองทัพญี่ปุ่นข้ามแม่น้ำสาละวิน,ญี่ปุ่นรุกรานบาหลีและติมอร์,ประธานาธิปดีโรสเวลด์ออกคำสั่งให้นายพลดักลาส แมกอาเธอร์ถอนตัวออกจากฟิลิปปินส์,
สหรัฐอเมริกา:ผู้นำทางการทหารของสหรัฐอเมริกาประชุมอย่างเป็นทากการครั้งแรกเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา,แคนาดาประกาศเกณฑ์ทหาร,การกักตัวพลเมืองชาวอเมริกัน-ญี่ปุ่นเร่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกาจากความวิตกที่เพิ่มมากขึ้น
มีนาคม
แนวรบด้านตะวันออก:การรุกของกองทัพแดงในคาบสมุทรไครเมียเริ่มต้นขึ้น
เอเซียบูรพา:ญี่ปุ่นตีเมืองย่างกุ้งแตก,นาพลดักลาส แมกอาเธอร์ได้รับคำสังให้ถอนออกจากฟิลิปินส์ เขากล่าวถ้อยคำที่เป็นที่จดจำเอาไว้ว่า “แล้วผมจะกลับมา” i shall return กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกบนเกาะมินดาเนา,กองทัพญี่ปุนยกพลขึ้นบกบนหมู่เกาะโซโลมอน,นายพลแมกอาเธอร์เดินทางถึงออสเตรเลีย
ภาพพื้นยุโรป:มีการออกกฏหมายการเกณฑ์ทหารฉบับใหม่ในสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมถึงชายหญิงทุกคนจนถึงอายุ 45 ปี , กองทัพอากาศอังกฤษส่งเครื่องบินไปทำลายเป้าหมายหลายแห่งในฝรั่งเศสและเยอรมนี
เมษายน
เอเซียบูรพา:กองทัพผสมอเมริกัน-ฟิลิปินส์ถูกปิดล้อมที่คาบสมุทรบาตาน,กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่เกาะนิวกินี,กองทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นโจมตีกรุงโคลัมโบ บนเกาะศรีลังกา,กองทัพญี่ปุ่นยึดครองคาบสมุทรบาตาน เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรถูกบังคับใหเดินเท้าไปยังค่ายกักกันทางตอนเหนือ,กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่เกาะเซบู,
แนวรบต้านตะวันออก:กองทัพเยอรมันเริ่มการบุกในคาบสมุทรไครเมีย
พฤษภาคม
เอเซียบูรพา: แมนดาเลและเมืองท่าอื่นๆ ในพม่าอยูภายใต้การยึดครององญี่ปุ่น,ญี่ปุ่นยึดครองพม่าอย่างสมบูณ์
แนวรบตะวันออก:กองทัพโซเวียตเริ่มต้นการโจมตีครั้งใหญ่ที่เมืองคาร์คอฟ,มีการลงนาในสนธิสัญญาอังกฤษ-โซเวียตโดยทั้งสองฝ่ายตกลงว่าจจะไม่มีการลงนามเป็นพันธฒิตรกับชาติใดๆโดยต้องได้รับการับรองจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน,กองทัพเยอรมันได้รับชัยชนะที่เมืองคาร์คอฟ,
เม็กซิโกประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ,ยุทธนาวีทะเลคอรอลเริ่มต้นขึ้น,กองทัพอังกฤษเริ่มปฏิบัติการไอรอนแคลดโดยเริ่มบุกดามากัสการ์ของวิชีฝรั่งเศสเพื่อป้องกันการโจมตีจากจักรวรรดิญี่ปุ่น
มิถุนายน
เอเซียบูรพา:ยุทธนาวีแห่งมิดเวย์เริ่มต้นขึ้น,
ภาคพื้อนยุโรป:สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับบัลแกเรีย ฮังการีและโรมาเนีย
สมรภูมิแอฟริกาเหนือ: กองทัพเยอรมันขับไล่กองทัพสัมพันธมิตรออกจากแนวกาซาลา,กองทัพเยอรมันสามารถยึดเมืองโทรบรุคคืนได้ ,กองทัพอังกฟษล่าถอยไปยังอิยิปต์ด้วยขวัญกำลังใจที่ตกต่ำ,กองทัพอังกฤษล่าถอยไปยังเมืองเอล อาลาเมน ซึ่งอยู่ห่างจากนครอเล็กซานเดรีย 60 ไมล์เพื่อเตรียมตัวต่อสู้ครั้งสุดท้าย,กองทัพเยอรมันเคลื่อนพลถึงเอล อาลาเมน
แนวรบด้านตะวันออก:กองทัพเยอรมันมุ่งหน้าไปยังเมืองรอสตอฟ,ปฏิบัติการสีน้ำเงินเริ่มต้นขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะยึดครองสตาลินกราดและเทือกเขาคอเคซัส
กรกฎาคม
สมรภูมิแอฟริกาเหนือ:ยุทธการแห่งเอล อาลาเมนครั้งที่หนึ่งเริ่มต้นขึ้น รอมเมลเริ่มการโจมตีแนวตั้งรับของอังกฤษเป็นครั้งแรก แต่ต้องหยุดชงักเนื่องจากขาดแคลนเครื่องกระสุน
แนวรบด้านตะวันออก:กองทัพเยอรมันสามรถยึดเมืองซาเวสโตปอลได้สำเร็จเป็นการยุติการรบต้านทานของทหารโซเวียตในคาบสมุทรไครเมีย
เอเซียบูรพา:กองทัพญี่ปุ่นยึดเกาะกัวดาคาแนล
สิงหาคม
เอเชียบูรพา:ยุทธนาวีเกาะชาโวเกิดขึ้นใกล้กับเกาะกัวดาคาแนล เรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับความเสียหายจำนวนหนึ่ง มหาตมะ คาธีถูกจับกุมตัว เนืองจากการก่อจลาจลในอินเดีย
สมรภูมิแอฟริกาเหนือ:พลโท เบอร์นาร์ต มอนโกเมอรี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพที่แปดแห่งสหราชอาณาจักรในแอฟริกาเหนือ ยุทธการแห่งอลาม เอล ฮัลฟา ไม่ไกลจากดอล อาลาเมนเกิดขึ้นเป็นความพยายามที่จะเจาะทะลุแนวป้องกันของอังกฤษ
แนวรบด้านตะวันออก:จอมพล เกออร์กี้ จูคอฟ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการป้องกันในนครสตาลินกราด สตาลันกราดถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักจากกองทัพอากาศเยอรมัน
ภาคพื้นยุโรป:ลักเซมเบิร์กถูกผนวกเข้ากับเยอมนีอย่างเป็นทางการ
กันยายน
แนวรบด้านตะวันออก:นครสตาลินกราดถูกปิดล้อมโดยกองทัพเยอรมัน,นายพล วาซิชี ซุยคอฟได้รับแต่งตั้งให้บัญชาการการป้องกันเมือง แดงทัพเยอรมันบางส่วนถูกผลักดันออกไป ทหารโซเวียตส่งกำลังข้ามแม่น้ำโวลก้าในยามค่ำคืน
สมรภูมิแอฟริกาเหนือ:นายพลรอมเมลถูกส่งกลับเยอรมนีเพื่อรักษาตัว
ตุลาคม
เอเซียบูรพา:ยุธนาวีแห่งแหลมเอสเปอเรนซ์ ทางชายฝั่งด้านตะวันตกเฮียงเหนือของเกาะกัวดาคาแนลกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาสามารถขัดขวางการเสริมกำลังทางเรือของญี่ปุ่นได้ ยุทธนาวีแห่งซานตา ครูซเริ่มต้นขึ้น ฝ่ายญี่ปุ่นได้เสริมกำลังของตนไปยังเกาะกัวดาคาแนล
แนวรับด้านตะวันออก:การรุกของกองทัพเยอรมันในสตาลินกราดหยุดชะงัก
สมรภูมิแอฟริกาเหนือ:ยุทธการแห่งเอล อาลาเมนครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น ฝ่ายสัมพันธมิตทิ้งระเบิดที่ตั้งของกองทัพเยอรมันอย่างหนัก นายพลรอมเมลถูกส่งตัวกลับไปบัญชาการรบที่เอล อาลาเมน แม้วาจะยังไม่หายจากอาการเจ็บป่วย ยามเกราะฝ่ายสัมพันธมิตรเจาะผ่านแนวตั้งรับของเยอรมนี่ ทุ่งระเบิดไม่ประสบผลในการรุกครั้งนี้
พฤศจิกายน
สมรภูมิแอฟริกาเหนือ: ฝ่ายสัมพันธมิตรเร่มตีฝ่าออกจากเอล อาลาเมน กองทัพเยอรมันล่าถอยจากเอล อาลาเมนในยามค่ำคืน ปฏิบัติการคบเพลิง ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่อัลจีเรียและโมร็อกโก พลโทมอนโกเมอรี่เริ่มต้นการบุกที่โซลลุมตามแนวชายแดนลิเบีย-อียิปต์เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัศวินและเลื่อนยศขึ้นเป็นพลเอก กองทัพที่แปดแห่งสหราชอาณากรปลดปล่อยนครโทรบรุค กองทัพอักฤษมุ่งหน้าต่อไปยังตูนิเซีย
เอเชียบูรพา:กองเรือสหรัฐอเมริกาสูญเสียอย่างหนักในยุทธนาวีรอบเกาะกัวดาแนลแต่ก็คงยังควบคุมน่านน้ำได้อยู่
แนวรบด้านตะวันออก:กองทัพโซเวียตภายใต้การบัญชการของจอมพล เกออร์กี จูคอฟ เริ่มต้น ปฏิบัติการยูเรนัสโดยมีเป้าหมายเพื่อโอบล้อมกองทัพเยอรมันในสตาลินกราด กองทัพเยอรมันถูกปิดล้อมที่นครสตาลินกราด ฮิตเลอร์สังนายพลลัสห้ามถอยทหารจานคร
ธันวาคม
สมรภูมิแอฟริกาเหนือ:การรุกตูนิเซียของพันธมิตรหยุดชะงัก กองทัพเจอร์เกน ฟอนอาร์นิมเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในการป้องกันตูนิเซีย สภาพดินฟ้าอากาศเป็นอุปสรรคต่อฝ่ายพันธมิตร ในช่วงปลายเดือนสัมพันธมิตรวางแผนการบุกครั้งใหม่แต่ได้รับคำสั่งให้หยุดยั้งไว้ก่อน
แนวรบตะวันออก:ฝ่ายเยอรมนีเร่งส่งกองทหารไปยังรัสเซียพยายามอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือสตาลินกราดจการถูกล้อม กองทัพที่ 6 ในสตาลินกราดกำลังอดอยากและอ่อนแดเกินก่าจะตีฝ่าออกมาบรรจบกับกำลังที่ส่งมาช่วย ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว กองพลแพนเซอร์ถูกย้ายมาสามกองพล ซึ่งเร่งรุดเคลื่อนที่จากโคเทลนีโคโวมุ่งสู่แม่น้ำอัคไซ แต่ถูกหยุดขณะห่างจากจุดหมาย 65 กิโลเมตร เพื่อเบนความสนใจ ฝ่ายโซเวียตตัดสินใจเข้าบทขยี้อิตาลีและขัดขวางความพยายามสับเปลี่ยนกำลังหากทำได้ โซเวีตสามารถทำลายอากาศยานจำนวนมากท่ีส่งกำลังบรรเทาไปยังสตาลินกราด
เอเซียบูรพา:ญี่ปุ่นบุกฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ฮ่องกงตกเป็นของญี่ปุ่น