เช้าของวันที่ 22 มิถุนายน 1941 ฝ่ายอักษะอันประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี รูเมเนีย เชโกสโลวะเกีย ฟินแลนด์ และฮังการีเข้าร่วมรบกับรุสเซีย โดยทำลายเครือข่ายสายโทรเลขในมณฑลทหารบกทางชายแดนด้านตะวันตกของสหภาพโซเวียตทั้งหมดเพื่อทำลายการติดต่อสือสารของโซเวียต กองพล 190 กองพลของเยอรมนี 10 กองพลของโรมาเนีย 9 กองพลน้อยของโรมาเนียและ 4 กองพลน้อยของฮังการีเข้าสมทบ
เพื่อสถาปนาความเป็นเจ้าอากาศลุฟท์วัฟเฟอร์เริ่มการเข้าโจมตีฉับพลัน ทำลายสนามบินโซเวีตและทำลายกองสนามบินกองทัพอากาศ เป็นเวลากว่าเดือนที่โซเวียตไม่สามารถหยุดยั้งการรุกของเยอรมัน กำลังแพนเซอร์โอบล้อมกองทหารโซเวียนนับแสนในวงล้อมขนาดใหญ่
เป้าหมายกองทัพกลุ่มเหนือ คือ เลนินกราด ผ่านรัฐบอลติก กองทัพกลุ่มแลง เคลื่อที่ไปทางเหนือและใต้ของเบรสท์ -ลีดอฟสก์และมาบรรจบกันทางตะวันออกองมินสก์ และข้ามแม่น้ำนเปอร์ ในวันที่ 11 กรกฎาคม และเข้ตีสโมเลนสก์ ได้ในวันที่ 16 กรกฎาแต่การต้านทานอย่างดุเดือดของโซเวียตในพื้นที่สโมเลนสก์และความล่ช้าในการุกทางเหนือและทางใต้บีบให้ฮิตเลอร์หยุดการผลักดันตรงกลางที่กรุงมอสโกและเบนกำลังกลุ่มแพนเซอร์ไปทางเหนือและใต้โดยกองทหารราบทกของกองทัพกลุ่มกลางแทบไม่เหนือการสนับสนุนจากยานเกราะในการดำเนินการรุกยุงมอสโก
การตัดสินใจนี้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ภาวะผู้นำอย่างรุนแรง ผู้บังคับบัญชาสนามของเยอรมนีสนับสนุนการรุกไปยังกรุงมอสโกทันที่ทันใดแต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ โดยอ้างความสำคัญของทรัพยการเกษตรกรรม เชื่อกันว่ามีผลกระทบร้ายแรงต่อผลของยุทธการมอสโกโดยยอมเสียความเร็วในการุกคืบไปยังกรุงมอสโกไปโอบล้อมกองทหารโซเวียตขนาดใหญ่รอบเคียฟ…
เมื่อกลุ่มแพนเซอร์ที่ 1 เชื่อมกับส่วนใต้ของกองทัพกลุ่มใต้ที่อูมัน ก็สามารถจับเชลยโซเวียตได้กวา 100,000 นาย และเมื่อพลยานเกราะของกองทัพกลุ่มใต้ที่กำลังรุกคืบพบกับกลุ่มแพนเซอร์ในเดือนกันยายน ก็สามารถจับเชลยโซเวียตไปกว่า 400,000 คนเมื่อเคียฟยอมจำนน ในวันที่ 19 กันยายน
การสู้รบกับเยอรมนีเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งสำหรับรุสเซีย แม้สหรัฐอเมริกาจะประกาศศึกกับญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม เป็นการทำลายภาวะศึกกระหนาบข้างให้แก่รุสเซียแล้วก็ตาม เยอรมนียึดครองรุสเซียตะวันตก ซึ่งเป็นแหลงที่มีโรงงานผลิตยุทโธปกรณ์ กว่า 70 เปอร์เซ็นของทั้งประเทศ เมือสิ้นปี 1941 รุสเซียย้ายโรงงานอุตาสาหกรรมไปที่อินแดนตะวันออกของตนคือไซบีเรีย เอเชียกลาง ลุ่มน้ำโวลกาตอนล่างและบริเวณเทือกเขาอูราล
ชัยชนะที่ได้รับในการบุกรุสเซียเป็นชัยชนะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่แน่ใจในผลลัพท์เท่าใดนัก เพราะเยอรมนีเองก็เกรงว่า รุสเซียอาจบุกเปอร์เซียแล้วประสานงานแนวรบกับอังกฤษ อีกทั้งการรบรุกเองเริ่มเผชิญความยากลำบากในด้านการส่งกำลังบำรุง ฤดูหนาวก็บั่นทอนพลกำลังและขวัญกำลังใจของทหารมาก เยอรมนีได้ส่งทหารจากแนวรบตะวันตกสู่รุสเซียมากไม่ขาดสาย แต่การรบเองนั้นเริ่มขากการริเริ่มปฏิบัติการ กำลังทหารเพียงแต่รักษาที่มั่นประจำการมากกว่าจะรุกคืบหน้าเมื่อถึงคราวจำเป็น ทหารเยอรมันจึงจะรุก
ในการรบที่ดำเนินมานั้นรัสเซียใช้แผนการตั้งรับโดยดัดแปลงมาจาอดีตที่รุสเซียใช้กับสวีเดนและฝรั่งเศส โดยใช้ธรรมชาติเข้าช่วย ภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ไพศาลเป็นผลดีต่อการใช้กลยุทธ์กองโจร และความหนาวเย็นจะบั่นทอนพลกำลังข้าศึกถึงขั้นเสียชีวิต ความหนาวเย็นจะทำให้การรบไม่สามารถดำเนินไปได้โดยสะดวก
ยอมสละพื้อที่บ้างเพื่อหวังยึดครองเมื่อเวลาผ่านไปกระทั่งศัตรูสิ้นสุดกำลังที่จะรักษาพื้นที่นั้น
ทำลายทุกอย่างมิให้เป็นประโยชน์แก่ข้าศึก
ดำเนินสงครามกองโจร
โฆษณาชวนเชื่อ ปลุกระดมมวลชนให้รักชาติ โดยใช้วัฒนธรรมเป็นสือให้เกิดสำนึกในเชื้อชาติเผ่าพันธ์และอดีตอันรุ่งโรจน์ของรุสเซีย ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือให้เกิดความสามมัคคีกัน และรณรงค์ลัทธินิยมเผ่าพันธ์สลาฟเพื่อเรียกร้องให้สลาฟในบอลข่านคุ้มครองรุสเซียดินแดนมาตุภูมิของชนเผ่าสลาฟ ตลอดจนการเปลี่ยนนโยบายของตนต่อไปอีด้วยการยินยอมให้ฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองเข้าร่วมการปกครองบ้านเมือง
รุสเซียเร้าใจผู้คนให้รักชาติยิ่งขึ้น ด้วยการวาดภาพเอยรมนีว่าเป็นผู้ที่จะมาเป็น “เจ้าเข้าครองรุสเซีย”กล่าวหาเยอรมันว่าทำสงครามอย่างไร้มนุษยธรรมโดยชี้ถึงการทารุณกรรมอย่างเหี้ยมโหดที่เยอรมันปฏิบัติต่อเชลยศึก
มหาพันธมิตร
อริชศัตรูทรงพลังกระทั่งรุสเซียตระหนักดีว่า ลำพังรุสเซียนั้นไม่อาจจะพิชิตศึกสงครามได้โดยง่าย รุสเซียต้องแสวงหาพันธมิตร รุสเซียจำเป็นต้องหันหลังให้อุดมการณ์ด้วยการทาบทามทางไม่ตรีจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำประเทศโลกทุนนิยม เพื่อจะให้เปิดแนวรบตะวันตกผ่อนคลายภารหนักที่รุสเซียต้องรับศึกเยอรมันในแนวรบตะวันออก และต้องการให้สหรัฐประกาศสงครามกับเยอรมันด้วย
อังกฤษและสหรัฐอเมริกาเองนั้นมิได้วางใจรับไมตรีรุสเซียเท่าที่ควรในชั้นต้น เพราะได้คาดประเมินการไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงมากว่า ศักยภาพทางทหารของรุสเซียคงต่ำมากด้วยเหตุที่สตะลินกำจัดคู่แข่งทหารจนสิ้น ปฏิบัติการรบรุกแบบสายฟ้าแลยของเยอรมนีจึงสมารถจะพิชิตบดขยี้รุสเซียจนราบเป็นหน้ากลองได้โดยง่ายภายในสามเดือน
อังกฤษและสหรัฐฯก็ยังไม่ลืมว่า รุสเซียเองนั้นเคยเล่นบทบาทประทับใจ “พลิก”ความคาดหมายเพียงใด รุสเซียอาจเล่นบทบาทเหยียบเรือสองแคมโดยหวังทางไมตรีเยอรมนี่อีก มากว่าทางไมตรีจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับรุสเซียอย่างระมัดระวัง โดยจำกัดความร่วมมือ อังกฤษลงนาในข้อตกลงความช่วยเหลือร่วมกับรุสเซีย ซึ่งระบุว่า จะไม่แยกทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฝ่ายอักษะ ส่วนสหรัฐฯก็ทำข้อตกลงให้เช่ายืม ความร่วมมือที่จำกันเช่นนั้นย่อมไม่เพียงพอและไม่ทันกับภาวะคับขันที่รุสเซียเผชิญอยู่ รุสเซียเข้าตาจนถึงขั้นพร้อมที่จะขอกองทัพอังกฤษและสหรัฐอเมริกาไปช่วยตนรบภายในประเทศ แต่แล้วภาวะคับขันกลับค่อยคลี่คลายลงไปเองเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกเต็มตัวในเดือนธันวาคมและทุ่มความช่วยเหลือแก่รุสเซียเต็มที่ (ศัตรูของศัตรูคือเพื่อน) มหาพันธฒิตรเท่าที่ปรกกฎยืนอยู่บนพื้นฐานแห่งความเข้สใตอันดีว่า ศัตรูร่วมกันคือฝ่ายอักษะ แต่ก็เต็มไปด้วยความไม่จริงใจและระแวงต่อกัน ปัญหาที่ทำให้พันธมิตรยังคิดข้องใจในการกระทำของรุสเซีย คือ ปัญหาเรือ่งยุโรปตะวันออกและภูมิภาคทะเลบอลติก รุสเซียได้ยืนกรานมั่นคงที่จะเรียกร้องให้มีการแรบแนวพรมแดนในถูกต้องโดยระบุว่า ต้องเป็นการปรับตามแนวพรมแดนเดิมของรุสเซีย และต้องการให้โปแลนด์ขยายพรมแดนโดยได้ปรัสเซียตะวันออก ซึ่งเป็นการตัดดินแดนของเยอรมนีนั้นเอง พันธมิตรได้แต่รับพิจารณาโดยมิอาจยินยิมรับรองตามความต้องการของรุสเซีย โดยเฉพาะอังกฤษเองได้แสดงจุดยืนแน่วแน่ว่ารุสเซียจะผนวกโปแลนด์ตะวันออกและรูเมเนียไม่ได้ เมื่อการเจรจาหยุดชะงัก รุสเซียมิได้นิ่งนอนใจ ทำการเจรจาทางการทูตหาหนทางสร้างความมั่นคงแก่พรมแดนของตนต่อไป ด้วยการเจรจาทำสนธิสัญญาร่วมช่วยเหลือกัน กับเชโกสโลวะเกียและกับโปแลนด์
เมื่อสงครามดำเนินต่อไปในลักษณะที่เข้าสู่ภาวะคับขันมากขึ้น พันธมิตรก็จำต้องหันหน้ามาเจรจากับรุสเซียใหม่ โดยพยายามแก้ไขปัญหาที่ติดค้างอยู่คือ ปัญหายุโรปตะวันออกและภูมิภาคทะเลบอลติก เหล่าพันธมิตรจำต้องรับตู้ความต้องการของรุสเซียในดินแดนดังกล่าวโดยพฤตินัย และเพื่อเป็นการผู้มัดรุสเซีย อังกฤษได้ลงนามในสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรกับรุสเซียในวันที่ 26 พฟษภาคม ปัญหายุโรปตะวันออก บอลข่านและภูมิภาคทะเลบอลติก ยังคงมีปรากฎและรุสเซียก็พร้อมที่จะรอคอยจังหวะเหมาะที่จะทำให้พันธมิตรต้องยอมรับความต้องการของรุสเวยในภายภาคหน้า สิ่งที่รุสเซียไม่เคยวางมือคือ เรื่องโปแลนด์ รุสเซียได้ตัดความสัมพันธ์กับรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์ เพราะรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์นี้ได้รับความอุปถัมจากพันธมิตร รุสเซียต้องการรัฐบาลโปแลนด์ที่เป็นคอมมิวนิสต์เพื่อสะดวกต่อการกลืนโปแลนด์ ปัญหาโปแลนด์เป็นจุดที่ชี้ชัดถึงการที่พันธมิตรต้องหวานอมขมกลืนกับพฤติกรรมรุสเซีย เพราะรุสเซียแสดงที่ท่าพร้อมที่จะหวนกลับไปสู่ความเป็นมิตรกับเยอรมนีอีกครั้งหนึ่ง เมือพันธมิตรไม่อาจรับปากรับคำที่จะเปิดแนวรบตะวันตก รุสเซยย่อมต้องดิ้นรนฝ่านคลายภาวะเสียวความั่นคงของตน ด้วยการหันไปหาเยอรมนีอีกครั้งหนึ่งเมือ่พันธมิตรไม่อาจรับปากที่จะเปิดแนวรบตะวันตก รุสเซียก็ย่อมต้องดิ้นรนผ่อนคลายภาวะเสี่ยงความมั่นคงของตน ด้วยการหันไปหาเยอรมนี เยอรมันได้ใช้ญี่ปุ่นเป็นคนกลางเจรจาหาทางทำสนธิสัญญาสันติภาพกับรุสเซีย การเจราทาบทามรุสเซียได้ดำเนินไปถึง 4 ครั้ง พร้อมๆ กับการที่การรบยังคงมีปรากฎในดินแดนรุสเซียเป็นเหตุให้พันธมิตรจำต้องปฏิบัติการยกพลขึ้นบกในทวีปแอฟริกาเหนือ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น