ในปี 1920 กองเรือจัรวรรดิญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ต้นกำเนิดของกองทัพเรือญี่ปุ่นสามารถสืบย้อนไปถึงตอนต้นของการเชื่อความสัมพันธ์ระหว่งปะรเทศในทวีปเอเชีย การปฏิรูปสมัยเมจิและการกลับมาสืบเชื้อสายจักรพรรดิในยุคใหม่และประบไปสู่อุตสาหกรรม กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้น
พลเรือเอกฮิโซโรกุ ยามาโมโต้เป็นผู้บัญชาการในการวางแผนในสงครามหลัก เช่น สงครามที่อ่านเพิร์ลฮาร์เบอร์ ยุทธการมิดเวย์ เขาเสียชีวิตระหว่งไปให้กำลังใจทหารที่หมู่เกาะโซโลมอน โดยการลอบสังหารของสหรัฐโดยใช้เครื่องบินขับไล่ดักสังหาร
หลังจากถล่มเพิร์ลฮาเบิร์ลกองเรือญี่ปุ่นทำการพิชิตทั่งแปซิฟิค แต่ปัญหาของญี่ปุ่นคือกาองเรือแปซิฟิคของสหรัฐ โดยกองเรือบรรทุกเครื่องบินยังอยู่ในฐานะที่มีศักยภาพในการต่อต้านและรบกวนทัพเรือญี่ปุ่นได้ ยามาโมโต้ทราบดีว่ากำลังการผลิตของสหรัฐสามารถที่ทดแทนเรือรบและอากาศยานของสหรัฐที่สูญเสียไปในการโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาเบิร์ล
18 เมษายน 1942 เรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่คือฮอร์เนตที่นำเครืองบิน บี 25 จำนวน15 เครื่องโจมตีโตเกียวแม้ญี่ปุ่นจะไม่เสียหายมากมายนักแต่ภายในระยะเวลา 3 เดือนเศษหลังการโจมตีเพิร์ลฮาเบิร์ลสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือรบอื่นๆ ขึ้นมาทดแทนการสูญเสียด้แล้วและยงอยู่ในฐานะที่จะทำการรุกรานญี่ปุ่นได้อีกด้วย ซึ่งสร้างความวิตกกังวลให้แก่ยามาโมโต้เป็นอย่างมาก
ด้านกำลังรบญี่ปุ่นมีเรือบรรทุกเครื่องบิน 11 ลำ สหรัฐอเมริกามีเพียง 5 ลำ ซาราโตกา,ยอร์คทาวน์,เล็กซิงตัน,เอนเตอร์ไพร์,และฮอร์เนตตามลำดับ นักบินญี่ปุ่นทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือก็มีความชำนาญในการรบมีประสบการณ์สูงจากการรบในจีนและแปซิฟิค เครื่องบินซีโร่ของี่ปุ่นก็พิสูจน์แล้วว่มีสมรรนะสูงกว่าเครื่องยินทุกแบบของสหรัฐ นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังต้องแบ่งกำลังไปช่วยอังกฤษอีกด้วย
แต่ข้อได้เปรียบของสหรัฐอเมริกาคือ สามารถถอดรหัสของญี่ปุ่นสามารถดักจับความแคลื่อนไหวของญี่ปุ่นได้ตลอด อีกด้านหนึ่งคือการสื่อสารของเครื่องบินญี่ปุ่นไม่มีวิทยุติดต่อระหว่างเครื่องบินด้วยกัน มีเพียงวิทยุที่ใชส่งข่าวติดต่อกับฐานบินเท่านั้น ซึ่งความผิดพลาดในจุดนี้ต้องชดใช้ด้วยชีวิตพนายพลยามโมโตซึ่งเสียชีวิตเพราะสหรัฐสามารถถอดรหัสและรู้ความเคลื่อนไหวของยามาโมโต้ และส่งฝูงบินดักซุ่มโจมตี
แผนการของญี่ปุ่นขณะนั้นต้องการยึดชวาเพียงอีกแห่งเดียว แล้วจะยุติการขยายแนวรบ แต่กองเรือในน่านน้ำแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา ทำการ
ตอบโต้ด้วยการเข้ายึดหมู่เกาะมาร์แชล โจมตีเกาะเวก โจมตีเกาะมาร์คัส ทิ้งระเบิดที่เกาะลาบวด หลังจากนั้นตั้งฐานทัพที่ออสเตรเลียแล้วสร้างทางคมนาคมแปซิฟิกใต้
ญึ่ป่นตัดสินใจขยายแนวรุกออกไปอีกเพื่อตัดเส้นทางคมนาคมทางเรือระหว่างสหรัฐกับออสเตรีย ญีปุ่นจึงต้องเข้ายึดปมู่เกาะนิว คาลิโดเนียว หมู่เกาะฟิจิ หมู่เกาะซามัว แล้วยึดนิวกินีตะวันออกเพื่อคุกคามออสเตรเลีย ญี่ปุนต้องสร้างฐานทัพอากาศที่ปอร์ต มอร์สบี เพื่อบรรลุแผนการนี้ญี่ปุ่นจึงส่งกองทหารเข้ายึด แล ซาลาเมาในนิวกินี และบูกาในหมู่เกาะโซโลมอน และหมู่แอดมิรัลติ ทางเหนือของนิวกินี
อเมริกาทราบแผนการของญีปุ่นที่จะเข้ายึดปอร์ตมอร์สบี ทางภาคใต้ของหมู่เกาะโซโลมอนสหรัฐอเมริกาจึงขัดขวาง
ยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล Battle of the Coral Sea เสนาธิการญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นเพียงการแสดงสลับฉากซึ่งในขณะที่ยุทธนาวีที่ทะเลคอรับกำลังดำเนินอยู่นั้นแผนการโจมตียึดมิดเวย์ก็สำเร็จลงเเล้ว โดยมองข้ามหลักยุทธศาสตร์ที่ว่าการรุกทางบกจะไม่มีทางสำเร็จถ้าปราศจากกองรเอบรรทุกเครื่องบินที่เข้มแข็งในการสนับสนุนการรบที่ทะเลคอรัลฝ่ายสหรัฐอเมริกาสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำเสียหายหนัก 1 ลำ ฝ่ายญี่ปุ่นเสียหาย 2 ลำ ในแง่ยุทธศาสตร์สหรัฐสามารถต้านทานญี่ปุ่นไว้ได้แม้จะเสียหายมากกว่า แต่ญี่ปุ่นก็ล้มเลิกการเข้ายึดพอร์ตเมอร์เรสบี้ ซึ่งตรงกันข้ามกับฝ่ายญี่ปุ่นที่ต้องหัวเสียกับเรือบรรทุกเครื่องบินที่ดีที่สุดต้องออกจากการรบกลับไปซ่อมถึง 2 ลำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น