ก่อนหน้านั้นฤดุใบไม้ร่วง ปี 1941 เมื่อทัพเยอรมันบุกประชิดมอสโกเจ้าหน้าที่รัฐบาลและคณะทูตได้ย้ายไปอยู่ที่กุยบีเซฟบนฝั่งแม่น้ำโวลก้า
ทัพโซเวียตหยุดกำลังเยอรมันที่โวโรเนซ ขวางการรุกคืบของนาซีสู่แดนตอนกลางของแม่นำโวลก้า ทัพนาซี่มุ่งเป้าไปทางใต้สู่คอเคซัสไปหยุดอยู่ที่แหล่งน้ำมัน สตาลินกราดกลายเป็นหัวใจของการบที่ตัดสินแพ้ชนะ กองทัพภาคที่ 6 ของนายพลฟอน เปารุส ยึดเมืองไว้ได้เป็นส่วนใหญ่แต่ต้องสูญเสียอย่างมากและไม่สามารถข้ามฝั่งโวลก้าเพื่อล้มสตาลินกราดได้ โซเวียตป้องกันเมืองของตนเองอย่างยอมตาย โดยได้กำลังสนับสนุนเสบียงและอาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน ทัพโซเวียตสามารถตัดแนวทัพรูมาเนียและอิตาลีให้ขาดจากกาองทัพภาคที่ 6 ของฌอยรมนีได้ ฟอนเปารุสต้องยอมปราชัย ซึ่งมีผลต่อจิตวิทยาและเป็นจุดหักเหทางการยุทธ
สงครามในสมรภูมินี้ใช้เวลาในการสู้รบทั้งสิ้น 6 เดือน เป็นสงครามที่เกิดความสูญเสียทั้งกำลังทหารพลเรือน และทรัพย์สิน จำนวนมาก สตาลินกราดตั้งตามชื่อของผุ้นำการยึดเมืองนี้จึงมีผลต่อขวัญและกำลังใจร่วมถึงการเล่งผลทางจิตวิทยาต่อทหารเป็นอย่างมาก
สตาลินกราด หรือ วอลโกกราด เป็นสมรภูมิรบที่บ้าคลั่ง ฝ่ายหนึ่งต้องการยึด ทำลาย อีกฝ่ายต้องรักษามาตุภูมิ กองศพมากมายแม่น้ำโวลกากลายเป็นสีเลือด การรุกเข้าสู่สาลินกราด ทุกเมตร ทุกหลาเต็มไปด้วยการต่อสู้อย่างนองเลือด เยอรมันพยายามทำลายตึกรามต่าง ๆ ด้วยปืนใหญ่และการทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน แต่สตาลินกราดเป็นเมืองสมัยใหม่ การโจมตีของเยอรมันจึงเพียงทำลายรูปทรงอาคารเท่านั้น ตึกที่พังทลายเป็นเสมือนป้อมปรากการให้ฝ่ายรัสเซีย ที่ใช้ทุกซอก ทุกมุมของตัวอาคารที่พังทลาย ต่อต้านทหารเยอรมัน ภายหลังการต่อสู้อย่างหนัก เยอรมันก็เข้าถึงใจกลางเมืองได้ และมุ่งหน้าสู่เขตอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโรงงานขนาดหนัก
29 กันยายน นายพลซุยคอฟ เข้าตีตอบโต้ และ เกออร์กี้ จูคอฟ นายพลรัสเซียได้เตรียมกำลังคอยตอบโต้เยอรมันที่อ่อนล้า ภายใน 24 ชั่วโมง กองทหารเยอรมัน และรูเมเนีย ถูกตีแตกและถูกโอบล้อมทหารเยอรมันกว่า 270,000 นายตกอยู่ในวงล้อมในสตาลินกราด ฝ่ายเสนาธิการเสนอต่อฮิตเลอร์ให้เยอรมันถอนกองทัพที่ 6 ออกจากสตาลินกราด ในขณะที่การโอบล้อมยังไม่แน่นหนา แต่ฮิตเลอร์ให้การปฏิเสธพร้อมกับออกคำสั่งให้ทหารเยอรมันสู้จนคนสุดท้าย
การรบในครั้งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงระเบียบวินับและความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่าย แม้ว่าจะเป็นวินัยที่ได้มาจากสายบังคับบัญชาที่เข้มงวดและเหี้ยมโหด ในช่วงแรกของการรบ โซเวียตเป็นฝ่ายตั้งรับ โดยตั้งมั่นอยู่ในเมืองสตาลินกราด เป็นช่วงที่โซเวียตสูญเสียทหารไปเป็นจำนวนมาก ทหารที่เกณฑ์เข้ามาใหม่ทั้งหมด เฉลี่ยมีชีวิตอยู่ไม่ถึงหนึ่งวัน กระนั้นฝ่ายโซเวียตยังสามารถทีจะคงวินัยในหมู่ทหารไว้ได้ ทหารโซเวียตจำนวนมากยอมที่จะสละชีวิตมากกว่าการถอยหรือการถูกจับเป็นเชลย “ทหารของโรดิมสเตฟได้สู้และตายที่นี่ เพื่อมาตุภูมิของตน” เป็นข้อความที่เขียนไว้บนกำแพงที่สถานีรถไฟหลักของเมือง
กองทัพเยอรมันก็สามารถแสดงถึงวินัยทีสามารถคงไว้ได้อย่างน่าทึ่ง แม้ว่าจะถูกกองทัพโซเวียตโอบล้อมอยู่ในเมือง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายเยอรมันต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบ โดยถูกตัดขาดจากกำลังสนับสนุนทำให้เสบียงร่อยหลอลงเรื่อยๆ ทั้งยังขาดเครื่องนุ่งห่มที่จะต่อสู้กับความหนาวของรัสเซีย ทหารเยอรมันอดอาหารและหนาวตายเป็นจำนวนมากในช่วงหลังของการปิดล้อม อย่างไรก็ดี ทหารก็ยังปฏิบัติตามระเบียบวินัยและเชื่อฟังคำสั่งของนายทหารที่มียศสูงกว่า
ในการต่อสู้ครั้งนี้ผู้นำทั้งสองฝ่ายต่างออกคำสั่งให้สู้จนตัวตายห้ามถอยและยอมให้แก่ฝ่ายตรงข้ามเป็นอันขาด นายพลฟรีดริช พอลลุม แห่งกองทัพเยอรมันเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะสู้ต่อไปเขาจึงฝ่าฝืนคำสั่งโดยตรงของผู้นำนาซี คือยอมจำนนต่อฝ่ายโซเวียตในที่สุด
สตาลินกราด ถูกขนานนามว่า เป็นเมืองหุ้มเกราะ เป็นสมรภูมิที่มีทหารเสียชีวิตมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ความรักชาติของคนรัสเซียเป็นสิ่งที่ช่วยให้รักษาเมืองไว้ได้ เรื่องราวของเด็กหนุ่มเลี้ยงเเกะจากแคว้นอูราเป็นทั้งสิ่งบำรุงขวัญฝ่ายรัสเซียและทำลายขวัญฝ่ายตรงข้ามชื่อเสียงของเขาทำให้พลตรีเยอรมันมือดีที่สุดซึ่งเป็นอาจารย์อยู่ที่โรงเรียนพลซุ่มยิงต้องเดินทางจากเบอร์ลินเพื่อมากำจัดเขาโดยเฉพาะแต่สุดท้าย Vassali Zaitsev เป็นฝ่ายชนะ
น้ำตาแห่งความยินดี เสียงโห่ร้อง ดังทั่วสตาลินกราด เมื่อสิ้นสุดสงครามประชากรครึ่งเมืองเสียชีวิต ควาพลัดพรากจากคนที่รัก จากครอบครัว ความพินาศของเมือง เป็นสิ่งที่สงครามทิ้งไว้