วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Stalinnization

     กระบวนการปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ตามกระบวนการที่สตารลินกำหนดขึ้น การะบวนการปฏิวัติให้เป็นคอมมิวนิสต์ แบบสตาลิน นั้นค่อยๆ ปรากฎขึ้นอย่างช้าๆ แต่ได้จังหวะเหมาะแน่นอนมั่นคง กระบวนการได้ปรากฎตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่2 นับแต่รุสเซียเป็นฝ่ายรุกไล่เยอมันสู่มาตุภูมิ ท่ามกลางความวิตกกังวลของฝ่ายมหาพันธมิตรเอง 



     ยุโรปตะวันออกนั้นมีความสำคัญต่อรุสเซียมาโดยตลอด รุสเซียต้องการขีดวงเขตยุโรปตะวันออกเป็นเขตอิทธิพลของตนให้ปลอดจากอิทธิพลเยอมัน ภูมิภาคนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ต่อความมั่นคงปลอดภัยของรุสเซียเป็นอย่างมากรุสเซียไม่ต้องการให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยขึ้นอีกครั้ง
     รุสเซียหยั่งท่าทีของมหาพันธมิตรของตนเด้วยการเสนอขอให้การปรับปรุงเศ้นพรมแนใหม่ในโรปตะวันออก มหาพัมธมิตรท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ ซึ่งมหาพันธมิตรยังคงต้องการที่จะรักษาโปแลนด์ไว้มิหใตกอยู่ใต้อำนาจของุเซีย ปัญหาโปแลนด์จึงเป็นปัญหาที่ทำให้มหาพันธมิตรเริ่มแตกแยกกัน
     อังกฤษมีนโยบายที่จะสกัดกั้นรุสเซียมิหใมโอกาสแผ่ขยายอำนาจอาณาเขตออกจาช่อแคบบอสโพรัสและดาร์คาเเนลสู่น่านน้ำเมติดิเตอร์เรเนียน นโยบายของอังกฤษจึงเน้นหนักให้ความสนใจแก่ช่องแคบ บอลข่านและตุรกี ซึ่งล้วนเป็นดินแดนทางฝ่านจากช่องแคบสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รุสเซียจะต้องไม่แผ่ขยายอำนาจครอบงำดินแดนเหล่านั้น  รุสเซียยอมรับความต้องการของอังกฤษและยอมรับการแบ่งเขตอิทธิพลในบอลข่าน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหรัฐไม่พึงพอใจ เพราะถือว่า เป็นการยอมรับในหลัการถ่วงดุลอำนาจอีกครั้งหนึ่งที่อาจจะทำให้โลกเกิดการแบ่งแยหและก่อเกิดสงครามอีกในอนาคต
    สหรัฐอเมริกาไม่ต้องการให้ปัญหายุโรปตะวันออกเป็นอุปสรรคทำลายความเป็นมิตรและความร่วมมือในการรบที่สหรัฐอเมริกาต้องการจากพันธมิตรของตน อีกทั้งปัญหายุโรปตะวันออกเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะกำหนดวินิจฉัยให้แน่นอน ลำพังการเจรจาตกลงกันในระหว่างการรบจะทำให้การวินิจฉัยมีข้อผิดพลาดและถ้าสหรัฐอเมริกายอมัยข้อวินิจฉัยเช่นนั้น ก็จะเป็นการผูกมัดสหรัฐอเมริกาเป็นภาระผูกพันและต้องเกี่ยวข้องในระยะยาวนานผิดจุดประสงค์ของสหรัฐฯที่ต้องการยุติสงครามและให้ทุกสิ่งเข้าสู่สภาวะปกติ สหรัฐจึงค่อนข้างวางเฉยต่อนโยบายและการกระทำของรุสเซียในยุโรปตะวันออกระหว่างสงครามโลก จะรู้สึกขุ่นเคืองใจบ้างก็เฉพาะเรื่องโปแลนด์
     ทรรศนะและทีท่าของสหรัฐอเมริกาเช่นนั้นเป็นคุณแก่รุสเซียมาก เพราะนอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ย่อมจะไม่มีประเทศใดแม้แต่อังกฤษจะสามารถตั้งตนเป็นอุปสรรบนเส้นทางสร้างจักรวรรดิของรุสเซียได้อีกแล้ว รุสเซียจึงใช้การทูตหว่านล้อมให้สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยินยิมเห็นชอบ ณ ที่ประชุมที่ยัลตารุสเซียได้ให้คำมั่นสัญญาแก่มหาพันธมิตรว่า รุสเซียจะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นในดินแดนที่ตนยึดครอง เป็นประชาิธิปไตยของปวงประชา กล่าวคือ รุสเซียยินยอมให้มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรคที่เป็นเสรีนิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์เพื้นเพมือง คำมั่นสัญญานั้นสอดคล้องกับหลักการหนึ่งที่มหาพันธมิตรได้ตกลงร่วมกันว่าจะใช้กับทุกหนแก่งที่กองทัพมหาพันธมิตรได้เข้าำปช่วยปลดแอกจากนาซี คือ หลักการหนึ่งของกฎบัติรขององค์การสหประชาชาติที่ว่าด้วยสทิธิของผวงประชาที่จะเลือกรูปแบบการปกครองของตนโดยอิสระ หลักกานนั้แม้สตาลินจะถือว่ามีแต่ข้อความที่ไม่มีความหมายชักแจ้งและเป็นข้อความที่มีแต่ความทั่วไปแต่สตาลินก็ยินดีที่จะยอมรับในหลักการโดยไม่ปฏิบัติตามอย่างจริงจังในกรณียุโรปตะวันออก

   
อาจกล่าวได้ว่า การประุชุมที่ยัลตาเองไม่สามารถที่จะช่วยยุโรปตะวันออกใไ้รดอพ้นเงื่อมมือรุสเซียไปได้ รุสเซียยังยืนกรานหนักแน่นห้ามมหาพันธฒตรแตะยุโรปตะวันออก เพื่อแลกกับการที่รุสเซียจะไม่แตะอิตาลี งฝรั่งเศส และกาีซ นับแต่นั้นมา ยุโรปตะวันออกก็ตกเป็นเหยื่อของรุสเซีย สุดวิสัยที่จะมีมหาอำนาจใดช่วยเหลือได้ อย่างไรก็ตาม ยุโรปย่อมดอมิได้ที่จะรู้สึกกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
     กระบวนการปฏิวัติแบบสตาลิน
เมื่อได้ดำเนินการทางการทูตแล้้ว รุสเซียก็เริ่มจัดการกับยุโรปตะวันออก กระบวนการปฏิวัีติยุโรปตะวันออกให้เป็นคอมมิวนิสต์แบบสตาลินมี่ 3 ประการ
- การใช้กองทัพรุสเซียเป็นกลไกสำคัญในการเข้าขึดครองและส่งเสริมการปฏิวัติให้เป็นคอมมิวนิสต์ อีกทั้งสร้างอำนาจคอมมิวนิสต์ในรัฐนั้น ๆ ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการคำ้ประกันการพัฒนาประเทศนั้น ๆ สู่ระบอบสังคมนิยมสมบูรณ์แบบ ประเทศที่ปฏิวัติโดยใช้ลักษณะนี้เป็นสำคัญคือ บัลแกเรีย รูเมเนีย โปแลนด์ โดยเฉพาะโปแลนด์นั้น ได้มีการใช้กองทัพแดงของรุสเซียเข้ายึดครอง ดำเนินการกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองโดยวิธีการจับกุมคุมขังและเนรเทศ
- การใช้ความเพียรอุตสาหะที่จะเข้าครอบครองทั้งประเทศ แม้จะนา่นเพียงใดก็ตาม ขั้นตอนนี้กำหนดให้ใช้วิธีการสร้างแนวร่วมกับทุกหมู่เหล่าในสังคมและเข้าร่วมในการปกครองและการพัฒนาประเทศ ประเศที่พัฒนาดดยใช้ขึ้นตอนนี้ คือ เชโกสโลวะเกีย
- การสร้างอำนาจรัฐที่ได้มาให้ีเอกภาพความเป็นปึกแผ่น ขึ้นตอนนี้กำหนดให้มีการปฏิวัติการปกครองไปสู่ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ประเทศที่ใช้ขึ้นตอนนี้ที่สำคัญคือ ยูโกสลาเวีย
     ขั้นตอนของการที่จะครอบครองอำนาจรัฐมีหลายวิธีการที่น่าศึกษามาก รุสเซียได้กำหนดให้คอมมิวนิสต์เป็นแกนนำหรือกำลังนำของขั้นตอนนี้ แม้คอมมิวนิสต์ในประเทศต่าง ๆ ของยุโรปตะวันออกระยะนั้นยังนับว่ามีจำนวนน้อย ถือได้ว่าเป็นกลุ่มน้อยของสังคมรุสเซียจะใช้ลัทธิชาตินิยมผสมผสานกับลัทธิคอมมิวนิสต์ให้เป็นประโยชน์ในการปฏิวัติ โดยพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงว่า ดินแดนยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ก่อนที่กองทัพแดงจะยาตราเข้าไปปลดแอกนาซีนั้น ย่อมมีกลุ่มผู้รักชาติแต่ไม่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์กลุ่มเหล่านี้มักตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นเป็นที่ยอมรับของฝ่ายมหาพันธมิตร เช่นกรณ๊โปแลนด์เป็นต้น หรือกลุ่มรักชาิตินั้นเพียงแต่ีความเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ภายในปรเทศเท่านั้น แต่กลุ่มรักชาติเหล่านี้เป็นกลุ่มบุคคลที่รุสเซียไม่ต้องการช่วยเหลือให้กู้เอกราชโดยตรง รุสเซียจึงมักนิยมใช้วิธีการจัดตั้งกลุ่มผู้รักชาติ ใหม่กอปรก้วยชาวพื้นเมืองที่นิยมรุสเซียและมีคอมมิวนิสต์พื้นเมืองร่วมอยู่ด้วย กลุ่มใหม่มักมีชื่อเรียกว่า กลุ่มรักชาติบ้าง แนวร่วมกู้เอกราชบ้างกลุ่มที่รุสเซียสนับสนุนหรือกลุ่มคอมมิวนิสต์ดพื้นเมืองจะต้องสร้างแนวร่วมกับชนทุกหมู่เหล่าในสังคมของตนเพื่อดำเนินการกู้เอกราชก่อนเป็นเบื้องต้น กลุ่มสำคัญในสังคมมี 3 กลุ่มคือ กลุ่มนักศึกษาปัญญาชนผุ้ต้องการระบอบประชาธิปไตย กลุ่มใหญ่ชาวไร่ชาวนาผุ้ต้องการให้มีการปฏิรูปที่ดินและกลุ่มกรรมกรผู้ใช้แรงงานต้องการให้มีการฟื้นฟูบูรณะเศรษฐกิจโดยมีรัฐเป็นผู้กำหนดแผนพัฒนา เป็นการค้ำประกันว่า กรรมกรจะมีงานทำและมีรายได้ดี รุสเซยกำหนดให้กลุ่มผู้รักชาติของตนเข้าสร้างแนวร่วมกับกลุ่มเหล่านั้นและให้ใช้นโยบายสร้างความร่วมือกับกลุ่มเหล่นนั้นในการกู้ชาติ
     รัสเซียกำหนดให้กลุ่มผุ้รักชาติ หรือกลุ่มคอมมิวนิสต์สร้างแนวร่วมต่อไปในระดับชาติด้วยการเข้าร่วมการจัดตั้งรัฐบาลผสม ในขึ้นตอนนี้ผุ้รักชาติพื้นเมืองยังคงมีความสำคัญสกหรับคอมมิวนิสต์อยู่ คอมมิวนิสต์จะเข้าร่วมกับพรรคการเมืองที่มีอยู่ในังคมไม่ว่าจะเป็นเพียงกลุ่มหรือจัดตั้งเป็นพรรคแล้ว จะต้องพยายามควบคุมกลไกอำนาจรัฐที่สำคัญไว้  คือ คอมมิวนิสต์จะต้องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มหาดไทย และสารนิเทศ เพื่อควบคุมกองทัพ ตำรวจ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และทุกกลไกของการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูล
     เมื่อคอมมิวนิสต์มีอำนาจมั่นคงขึ้นแล้ว จึงจะมีการดำเนินการขั้นตอนต่อไปของการครอบครองอำนาจรัฐ คือ การขจัดพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์ อาศัยอำนาจในกระทรวงสำคัญที่คอมมิวนิสต์เข้าควบคุมไว้แล้วคือกระทรวงมหาดไทย กลาโหม เป้นต้น คอมมิวนิสต์เป็นแหนนำในการทุจริตการเลือตั้งมิให้ฝ่ายตรงกันข้ามกับตนได้รับเลือกตั้งในขั้นตอนนี คอมมิวนิสต์เร่ิมจะคืบคลานเข้าควบคุมอำนาจรัฐหลัก เพราะฉะนั้น รุสเซียได้กลั่นกรองคัดเลอกคอมมิวนิสต์เฉพาะผุ้ที่นิยมรุสเซียเท่านั้นให้มีอำนาจและบทบาทสำคัญในพรรคอมมิวนิสต์ ส่วนคอมมิวนิสต์ที่รักชาติลแะม่นิยมรุสเซียถูกกำจัดกว่าล้างออกไป ทั้งนี้ รวมทั้งกลุ่มผู้รักชาติด้วย เพราะในขึ้นตอนนี้ รุสเซียจะเปิดโอกาสให้เฉพาะคอมมิวนิสต์ผู้นิยมรัสเซียเท่านั้น
     รัฐบาลผสมในขึ้นนี้เป็นรัฐบาลแต่ในนาม ซึ่งท้ายที่สุด เมื่อคอมมิวนิสต์มั่นใจในอำนาจแล้ว จึงดำเนินการฏิวัติเปลี่ยนประเทศนั้น ๆ เป็นคอมมิวนิสต์ด้วยวิธีการก่อรัฐประหาร หรือโดยวิธีการทุจริตการเลือกตั้งให้คอมมิวนิสต์ได้คะแนนเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล การเลือกตั้งในขึ้นตอนนี้ รัฐบาลเป็นผู้กำหนดตัวผู้สมัครให้ประชาชนเลือกตั้งเป็นผู้แทน และควบคุมทุกกลไกอำนาจรัฐและสังคมให้อยู่ในอำนาจของรัฐบาล การปกครองนับแต่ ปี 1948 เป็นการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ที่มีลักษณะเผด็จการเบ็ดเสร็จ โ่ดยพรรคเพียงพรรคเดียวคือ พรรคคอมมิวนิสต์โครงสร้างการเมืองการปกครองเลียนแบบอย่างของรุสเซีย คอมมิวนิสต์ได้อ้างว่า ยุโรปตะวันออกภายใต้การปกครองใหม่นี้ คือ ดินแดนแห่งการปฏวัติที่จะปรากฎเป็นจริงในท้ายสุด ภายใต้การนำของคอมิวนิสต์พ้นเมืองที่ได้รับความสนับสนุนและความคุ้มครองจากสหายร่วมอุดมการ์ผุ้เป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ คือ รุสเซีย
   

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

begin the Cold war

     Cold war หรือสงครามเย็นเป็นสงครามที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่เคอยปรากฎมีมาก่อน กล่าวคือ มีการต่อสู้กันทุกรูปแบบ ยกเว้นการเปิดฉากทำสงครามกันโดยตรง รูปแบบของการต่อสู้มีอาทิ การโฆษณาชวนเชื่อ การปลุกระดม มวลชน กลยุทธ์กองโจร การแข่งขันชิงดีชิงเด่น หาพวกหาพ้องในประเทศต่าง ๆ เป็นต้น สงครามเย็นไม่มีความร้อนแรงเพราะไม่มีการทำสงครามเผชิญหน้ากัน เป็นสงครามที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีกำหนดว่าเริ่มและยุติเมือใด ไม่มีการระดมพล ไม่มีการเคลื่อนไหวกองกำลัง ไม่มีการสัประยุทธ์กัน สงครามประเภทนี้ได้สร้างความเย็นเยือกขึ้นในจิตใจของผู้คนและทำให้เกิดความหวาดหวั่นทุกขณะจิตว่า สงครามอาจจะอุบัติขึ้นได้เมือมีเงื่อนไขอำนวย เพราะสงครามเย็นพร้อมที่จะแปรรูปเป็นสงครามที่แท้จริงได้



    อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ในทรรศนะของฝ่ายเสรีนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ชื่อว่าเป็นลัทธิอุดมการณ์เมื่อรุสเซียได้หลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ในปี 1918 รุสเซียถูกมองด้วยควารมหวาดระแวงว่าลัทธินี้จะครอบงำยุโรป ตั้งแต่ปี 1820 เป็นตนมาที่ยุโรปได้เผชิญการปฏิวัติหลายครั้งดวยแรงบันดาลใจของเสรีนิยม และด้วยอิทธิพลใหญ่หลวงของการปฏิวัติฝรั่งเศส ระบอบสมยูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรปค่อย ๆ เสื่อมถอยความนิยมลง ระบอบสาธารณรัฐหรือระบอบประชาธิปไตยแบบต่าง ๆ ได้ถูกทดลองใช้ในหลายประเทศที่สำคัญคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส เป็นต้น ลัทธิเสรีนิยมแบบต่าง ๆ อันปรากฏในยุโรปย่อมจะเป็นปฏิปักษ์โดยธรรมชาติวิสัยต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีหลักการใหญ่เป็นตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยม
     ความแตกต่างของทั้งสองระบอบนี้ไม่เป็นประเด็นที่สำคัญในชั้นต้น อุดมการ์มิได้เป็นอุปสรรคแก่การที่ฝ่ายเสรีจะผูกมิตรกับคอมมิวนิสต์ดังจะเห็นได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
     อุดมการณ์กลายเป็นสิ่งที่ใช้อ้างถคงเพื่อแสดงความแตกต่างกันก็เฉพาะเมื่อฝ่ายเสรีนิยม และฝ่ายคอมมิวนิสต์เริ่มมีความขัดแย้งกันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายเสรีนิยมหวาดระแวงรุสเซียที่ได้ดำเนินการยึดครองยุโรปตะวันออกด้วยเกรงว่า รุสเซียจะฉวยโอกาสอ้างการปลดแอกเยอมันเป็นจังหวะเหมาะที่จะเปลียนประเทศเหล่านั้นให้เป็นคอมมิวนิสต์ อันจะทำให้รุสเซียมีอำนาจยิ่งขึ้น
     ความวิตกในดุลยภาพแห่งอำนาจที่จะแปรเปลี่ยนเป็นคุณแก่ฝ่ายรุสเซียนี้เองที่ทำให้ฝ่ายเสรีนิยมมองการแผ่ขยายอำนาจรุสเซียว่าเป็นการแผ่ขยายทั้งอำนาจอิทธิพลและลัทธิอุดมการณ์ และถือว่าเป็นการแผ่ขยายอำนาจโดยอ้างลัทธิอุดมการณ์บังหน้า ทรรศนะนันได้ดูเป็นจริงมาก โดยเหตุที่รุสเซียได้แสดงเจตจำนงแต่เดิมมาเล้วว่า รุสเซียมีความผูกพันต่ออุดมการณ์ในการที่จะส่งสริมการปฏิวัติโลกในเป็นคอมมิวนิสต์และได้แสดงเจตนาจริงจังโดยการจัดตั้งองค์การโคมินเทอร์น แม้องค์การนั้นจะยุบเลิกไปเมื่อปลายสงครามโลกคร้งที่ 2 เพื่อแสดงเจตนาจริงใจที่จะผูกมิตรกับฝ่ายเสรีนิยมองค์การประเทภทนี้ย่อมฟื้อนคืนชีพขึ้นเมือใดย่อมได้ เพราะรุสเซียมิได้มีทีท่าว่าจะลือมความผูกพันต่ออุดมการ์
    ในการยึดครองยุโรปตะวันออกตั้งแต่ปี 1943 นั้นฝ่ายพันธมิตรมีความหวาดวิตกมากว่า รุสเซียจะฉวยโอกาสพลิกแผ่นดินภาคนั้นให้เป็นคอมมิวนิสต์ได้มีการเปิดการประชุมหลายครั้งเพื่อเจรจากับรุสเซียมิให้ถือเอาการยึดครองซึ่งเป็นความจำเป็นในการปฏิบัติการทางทหารนั้น เป็นโอกาสเหมาะที่จะปฏิวัติยุโรปตะวันออกเป็นคอมมิวนิสต์ การประชุมทีสำคัญที่มีการเจรจาประเด็นนี้คือ
     - การประชุมที่เตหะรานในเดือนพฤศจิกายน 1943 มีการเจรจาปัญหาโปแลนด์ และเชโกสโลวะเกีย
     - การประชุมที่ยับตาในระหว่างวันที่ 4-11 กุมภาพันธ์ 1945 มีการเจรจาถึงขึ้นที่ฝ่ายพันธมิตรับรู้การที่รุสเซียเข้ายึดครองยุโรปตะวันออกและรุสเซียให้คำมี่นสัญญาว่าจะดำเนินการเลือกตั้งทั่วไปใขตยึดครองเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิกำหนดวินิจฉัยชะตากรรมของตนได้โดยเสรี
     การที่รุสเซียให้คำมั่นแก่ฝ่ายพันธมิตรว่าจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเขตยึดครองนั้น ย่อมแสดงชัดเจนว่า ฝ่ายพันธมิตรมีความวิตกและเล็งเห็นภัยรุสเซียที่ได้อ้างลัทธิอุดมการณ์บังหน้าไว้ ตลอดจนคาดได้ว่า การแผ่ขยายอำนาจรุสเซียนี้จะเป็นการละเมิดดุลยภาพแห่งอำนาจในยุโรปด้วย คำมั่นนั้นจึงเป็นข้อตกลงผูกมัดเพื่อธำรงไว้ซึ่งดุลยภาพแห่งอำนาจและแสดงว่าอุดมการ์เป็นเรื่องสำคัญ ขีดคั่นให้เห็นความแตกต่างอยู่ในทีนับแต่นั้นมา
     ภัยคอมมิวนิสต์คุกคามยุโรป
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยุโรปได้อาศัยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ขึ้นครอบงไลก ความเป็นจ้าวโลกได้สิ้นสุดลงเมือสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 จริงอยู่ สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัริขึ้นดดยเหตุหนึ่งมาจากการที่บรรดามหาอำนาจไม่ยินยิมให้เอยมันตั้งตนเป็นใหญ่ในยุโรป ด้วยถือว่าเป็นการละเมิดดุลยภาพแห่งอำนาจและบรรดมหาอำนาจได้ย้ำเสมอว่า การปราบเยอมนเป็นการสถาปนาสันติภาพคืนสู่โลกใหม่ เป็นการทำสงครามเพื่อล้างอธรรมประชาชาตได้คาดหวังสันติสุขนั้นเช่นกัน แต่เมือสงครามโลกยุติลงในกลางปี 1945 สรรพสิ่งได้แปรเปลี่ยนไปอย่างผิดความคาดหวัง
     อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมันล้วนอยู่ในสภาพที่เสื่อมถอยอำนาจ ยุโรปได้สิ้นสุดการเป็นจ้าวโลก และแม้แต่ชะตากรรมของยุโรปก็อยู่ในดุลยพินิจของสองมหาอำนาจที่มิได้เป็นชาวยุโรปคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต สองอภิมหาอำนาจไลขิตยุโรปตามที่ตนพอใจมากกว่าจะคำนึกถึงผลประโยชน์หลักของยุโรปโดยตรง และเป็นการลิขิตยุโรปบนพื้นฐานแห่งความขัดแย้งหลากหลายระหว่างสองอภิมหาอำนาจต่างแข่งขันกันในการดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการแห่งดุลยภาพแห่งอำนาจ ยุโรปจึงกลายเป็นเสมือนเวทีโรมรันของสองอภิมหาอำนาจนั้นโดยปริยายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งอำนาจทางการเมือง และอุดมการณ์มีบทบาทสำคัญบนเวทีนั้น
     นับแต่สงครามโลกยุติลง ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้กลายเป็นภัยปรากฎตัวตนคุกคามยุโรปแทนที่ลัทธินาซีที่ถูกทำลายล้างลงไป ทั้งนี้ สือบเนื่องมาจากการที่ยุโรปได้เผชิญสภาพเศรษฐกิจทรุดหนักอันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของการเมืองการปกครองด้วย กล่าวคือ การเมืองการปกครองของยุโรปตะวันตกได้เอนเอียงสเมือนถูกเหวี่ยงโอนเอียงไปทางซ้าย ความทุกข์ยกอันเกิดจากเศรษฐฏิจทรถดหนักทำให้ประชาชนคิดแสวงหาวิธีแก้ไขเศรษฐกิจตามแบบอย่างเศรษฐกิจของลัทธิสังคมนิยม รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลผสมกับพรรคการเมืองที่นิยมลัทธิสังคมนิยม หรือหยิบบืมระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาทอลองแก้ไขเศรษฐกิจของตน รัฐบาลอังกฤษเป็นรัฐบาลมาจากพรรคกรรมกร ที่ได้นำเอาวิธการของสังคมนิยมมาใช้ คือ โครงการประหยัด ในฝรั่งเศสเอง แก้ไขเศรษฐกิจของตนด้วยโครงการสวัสดิการสังคม ในอิตาลีรัฐบาลก็เป็นรัฐบาลผสมพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยกับพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ เนเธอร์แลน สวิตเซอร์แลนด์ และสวีเดนก็ได้ใช้โครงการสวัสดิการสังคมและได้ใช้มาตรการสังคมนิยมโดยการโอนกิจการธุรกิจที่สำคัญมาเป็นของรัฐ การเมืองการปกครองที่เอียงซ้ายดังกล่าว ล้วนแสดงอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างมิต้องสงสัย
     ในยุโรปตะวันออก ชะตากรรมนั้นเป็นไปตามาลิขิตของรุสเซย แม้โปแลนด์จะเป็นปัญหาใหญ่ที่มหาพันธมิตรอังกฤษและสหรัฐอเมริกาจะพยายามช่วยเลหือมิให้ตกอยู่ภายใจ้อำนาจของรุสเซีย แต่โปแลนด์หนีไม่พ้นกรงเล็บของหมีขาวไปได้ รุสเซียพร้อมที่จะเสี่ยยงในเรื่องโปแลนด์ แม้จะต้องถึงขนาดสูญเสียความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายมหาพันธมิตรโปแลนด์จึงเป็นกรณ๊หนึ่งที่ทำให้มหาพันธฒิตรต้องร้าวนานอยู่ลึกๆ แล้วตั้งแต่ ปี 1943 และเป็นต้นเหตุสำคัญของสงครามเย็นที่เกิดขึ้นนับแต่นั้นมา ปี 1943 ถือเป็นปีที่รุสเซียประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการรุกรบขับกองทัพเยอมันออกจากยุโรปตะวันออก และกองทัพแดงได้เข้ายึดครองแทนทั้งภูมิภาคนั้น และภูมิภาคบอลข่านจนสำเร็จ  ต้นปี 1945 กองทัพแดงได้ประจำการตั้งอยู่ในภูมิภาคทั้งสองตั้งแต่เหนือ คือ ทะเลบอลติก จดใต้คือทะเลเอเดรียติก ความเป็นจริงนี้ย่อมดูน่าตื่นตระหนกยิ่งกว่าการที่ภัยคอมมิวนิสต์คุกคามยุโรปตะวันตก อาจจะกล่าวได้ว่า สหรัฐอเมริกาและอังกฤษมีส่วนสำคัญด้วยกับการเมืองที่พลิกไปเช่นนั้น เพราะในการประชุมที่ยัลตา สหรัฐอเมริกา และอังกฤษจำต้องยินยอมให้รุสเซียครอบครองยุโรปตะวันออกโดยพฤตินัย เพื่อแลกกับการที่รุสเซียเข้าร่วมปราบญี่ปุ่นในสงครามแปซิฟิก ชะตากรรมของยุโรปตะวันออกจึงถูกลิขิตในที่ประชุมยัลตาครั้งนั้น
      คอมมิวนิสต์รุกคืบหน้าในยุโรปอย่างน่าตื่นตระหนกสำหรับชาวยุโรป แต่ที่นับว่าอันตรายใหญ่หลวงคือ ภัยคอมมิวนิสต์ในกรีซและตุรกีประเทศเพื่อบ้านในเอเซียตะวันออกกลาง
     กรีซเป็นกรณีตัวอย่างเหมือนโปแลนด์ที่ชาวยุโรปมักจะให้ความสนใจสอดส่องกิจการบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่ในอดีต ประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ชี้ชัดว่า ยุโรปสนใจชะตากรรมของกรีซเพียงใด เมือกรีซได้พยายามกู้เอกาชจากตุรกีหรือจักรวรรดิออกโตมันความขัดแย้งด้วยเรืองกรีซได้ขยายตัวไปสู่ความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับบรรดามหาอำนาจตะวันตก และท้ายสุดกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับรุสเซีย รุสเซียเกียวข้องในการช่วยกู้เอกราชกรีซด้วยหวังจะแผ่อิทธิพลเข้าไปในบอลข่าน โดยกำหนดให้กรีซเป็นฐานปฏิบัติการ
     สถานการณ์ในกรีซทรุดลงและมีทีท่าว่าคอมมิวนิสต์อาจจะได้ครอบครองประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจทรุด การเมืองไม่มั่นคงด้วยเหตุเหล่านักการเมืองหังเอียงซ้ายและหัวเอียงขวาก่อเหตุร้ายพิฆาตกัน คอมมิวนิสต์ได้ซ้ำเกติมให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ดดยการส่งเสริมให้มีการนัดหยุดงานทั่วไป และรุสเซียได้เข้าเกี่ยวข้องในเหตุปั่นป่วนของกรีซอีกด้วยการฟ้องร้องต่อองค์การสหประชาชาติ กล่าวโทษเรื่องกองทัพอังกฤษประจำอยู่ในกรีซ สภาพการณ์ดังกล่าวย่อมจะเอื้ออำนายโอกาสให้คอมมิวนิสต์ได้ยึดอำนาจรัฐในเร็ววัน ความข่วยเหลือจากรุสเซยและหล่าประเทศเพื่อบ้านคือ ยูโกสลาเวียแอลบาเนียและบับแกเรีย จะช่วยเร่งให้การปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น อย่างน้อยคอมมิวนิสต์ก็หวังที่จะเปิดฉากทำสงครามและจัดตั้งภาคเหนือเป็นรัฐเอกราชทำนองแบ่งกรีซ เป็นกรีซเหนือและกรีซใต้
     ในวันที่ 3 ธันวา 1946 รัฐบาลกรีซได้ฟ้องร้องต่อองค์การสหประชาชาตกล่าวโทษว่า อังกฤษแทรกแซงกิจการภายใน แตการที่อังกฟษจะวางมือเรื่องกรีซนั้น เป็นเรื่องใหญ่อังกฤษไม่อาจจะยินยอมให้กรีซเป็ฯคอมมิวนสต์ภายใต้ฉายาอำจอิทธิพลของรุสเซีย เพราะการที่กรีซจะเป็นคอมมิวนิสต์ย่อมเป็ฯการเปิดหนทางให้รุสเซ๊ยสามารถแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลจากสองช่องแคบบอสโพรัสและดาร์ดาแนลส์ทะเลเมดิเตอร์เรเนีนยได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อังกฤษไม่สามารถจะนิ่งดูดายได้ ปัญกากรีซกลายเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขโดยเร็วก่อนที่จะสายเกินแก้
     นอกจากปัญหากรีซแล้ว โลกเสรียังต้องประสบกับปัญหาตุรกีอีกระบอบการปกครองของตุรกีมิได้ดีไปกวากรซเท่าใดนัก เพราะเป็นระบอบที่เต็มไปด้วยการประพฤติมิชอบและทุจริตในวงราชการราชการแผ่นดินจงขาดประสิทธิภาพ อำนาจเผด็จการของระบอบการปกครองนั้นมีมาตั้งแต่ ปี 1920 เมื่อเคมาล อตาเตอร์ก ปฏิวัติ การเลือกตั้งทั่วไปใน ปี 1946 ที่เต็มไปด้วยการทุจริตก็ไม่สามรถจะทำให้สถานการณ์ภายในประเทศดีขึ้นในขณะเยวกัน รุสเซียก็ได้ติตามสถานการณ์แล้วเห็นเป็ฯโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 ที่เต็มไปด้วยการทุจริตก็ไม่สามาถจะทำให้สถานการณ์ภายในปะเทศดีขึ้นในขณะเด่ยวกัน รุสเซียก็ได้ต้ตามสถานการณ์แล้วเห็นเป็นโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 รุสเซียก็ได้ติดตามสถานการ์แล้วเห็ฯเป็ฯโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 ที่เต็มไปด้วยการทุจริตก็ไม่สามรถจะทำให้สถานการ์ภายในประเทศดีขึ้นในขณะเดยวกัน รุสเซียก็ได้ติดตามสถานการณ์และวเห็ฯเป็ฯโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 รุสเซียได้ใช้อิทธิพลกดดันตุรกีและข่มขู่จะใช้กำลังทหาร เพื่อบังคับให้ตุรกียกดินแดนส่วนที่อยู่ติกดับบริสวฯเทือกเขาคอเคซัส ให้แก่รุสเซียและต้องการให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อเปิดทางฝายเข้าออกช่องแคบ บอสโพรัสและดาร์ดาแนส์
       การที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายออกครอบคลุมไปทั่วยุโรปดังกล่าว ย่อมทำให้สหรับอมเริกาและอังกฤษไม่อาจจะเห็นเป็นอื่นไปได้ นอกจากจะถือว่า เป็นการขยายอำนาจอาณาเขต ของรุสเซีย ภัยคอมมิวนิสอันปรากฎขึ้นในรูปของการนิยมกรรมวิธีของคอมมิวนิสต์และการส่งเสริมพรรคคอมมิวนิสต์อันปรากฎทั้งในรูปของการนิยมกรรมวิธีของคอมมิวนิสต์และการส่งเสริมพรรคคอมมิวนิสต์พื้นเมืองให้ขึดอำนาจรัฐ ย่อมถือได้ว่าเป็นอันตรายใหญ่หลวงสำหรับฝ่ายสหรัฐอโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การที่รุสเซียได้สร้างระบบรัฐบริวารขึ้นในยุโรปตะวันออก

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Different

      การต่อสู้ทางการเมืองเป็นการต่อสู้ที่สลับซับซ้อนและยิ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างสังคมใหญ่ขึ้นเท่าใดความสลับซับซ้อนยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การต่อสู้ยิ่งต้องมีแผนไว้ก่อนเสมอเพื่อกำหนดวิธีการเมือจะต้องเผชิญหน้ากับศัตรู การรุก การถอย การตอบโต้ แผนเหล่านี้ ประกอบขึ้นเป็นยุทธศาสตร์ และในการต่อสู้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การประเมินกำลังของตัวเองและของฝ่ายตรงกันข้ามและการวิเคราะห์หาความเหมือนและความแตกต่าง เพื่อรวมส่วนที่เหมือนกันไว้เป็นพวกเดียวกัน และแยกส่วนที่แตกต่างไว้เป็นฝ่ายตรงกันข้าม

    ลักษณะและปัญหาสังคมซึ่งเกิดจากการแบ่งชั้นทางสังคม
ในการอบรมเลี้ยงดู ครอบครัวชนชั้นสูงและชั้นกลาง ที่พ่อมแมการศึกษาดีหรือมีพื้นฐานดี มักจะเคีงครัดกับบบุตร เน้นในการสร้างนิสัย รักความสะอาด ความสวยงามรู้จักหน้าทีและความรับผิดชอบแต่เด็ก และมักสั่งสอนมิให้ใช้อารมณ์ง่ายๆ ให้เป็นคนสุภาพรักความสงบไม่รุกรานผู้อื่น ซึ่งตรงข้ามกับบุตรของชนชั้นต่ำที่ถูกเลียงมาอย่าง ปล่อยปละละเลย ขาดความเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน จนไม่รู้ถึงระเบียบแบบแผนแห่งชีวิตที่ดีงามในการสัมพันธ์กับผู้อื่น   
      การจัดลำดับชนชั้นทางสังคม เป็นการแสดงสภานภาพหรือตำแหน่งของบุคคล ในสังคมที่เขาอยู่ ในลักาณะที่ลดหลั่นกันลวงงมา หรือในลักาณะที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน ระบบการจัดลำดับชั้นเกิดจากการที่สมาชิกในสังคม มีการจำแนกแนกกันในเรื่องต่าง  ๆเช่นการจำแนกตามฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และอาชีพ เป็นต้น การแยกกันในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจำแนกตามฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษาและอาชีพ เป็นต้น  การจัดชั้นของบุคคลอับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมานี้ จึงเป็นการนำไปสู่การจัดระเบียบทางสังคม ที่มีความแตกต่างกันมาก ในแบบแผนความเป็นอยู่ของชีวิตของบุคคล ที่เกี่ยวกับ การแต่งกาย การพูดจา บุคลิกภาพ ทัศนะแห่งชีวิต ความสนใจ แรงจูงใจ ความสามรถ ตลอดจนการดำเนินชีวิตและการอบรมเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
     ในการอบรมเลี้ยงดู ครอบครัวชนชั้นสูงและชั้นกลาง ที่พ่อมแมการศึกษาดีหรือมีพื้นฐานดี มักจะเคีงครัดกับบบุตร เน้นในการสร้างนิสัย รักความสะอาด ความสวยงามรู้จักหน้าทีและความรับผิดชอบแต่เด็ก และมักสั่งสอนมิให้ใช้อารมณ์ง่ายๆ ให้เป็นคนสุภาพรักความสงบไม่รุกรานผู้อื่น ซึ่งตรงข้ามกับบุตรของชนชั้นต่ำที่ถูกเลียงมาอย่าง ปล่อยปละละเลย ขาดความเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน จนไม่รู้ถึงระเบียบแบบแผนแห่งชีวิตที่ดีงามในการสัมพันธ์กับผู้อื่น
     ความแตกต่างทั้งหลายที่กล่าวมา ได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตบุคคลส่วนใหญ่อย่างมาก และกลายเป็นปัญหาสังคมอันใกญ๋หลวง ควบคู่กับความเจริญของโลก
     ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งของสังคมปัจจุบัน ที่กอ่ไกดความกินแหนงแคลงใจความขมขื่น และการต่อสู้กันระหว่างชนชั้น ก็คือ “ความไม่เท่าเทียมกันของชีวิตของมนุษย์ในสังคม”
    ทฤษฎีของมาร์กซ์แยกความแตกต่างโดยใช้อำนาจทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องวัด พวกที่มีกรรมสิทธิในปัจจยการผลิตเป็นพวกหนึ่ง พวกไม่มีกรรมสิทธิเป็นอีกพวกหนึ่ง ส่วนฝ่ายตะวันตกมีความเห็นว่า การต่อสู้ทางการเมืองเกิดจากมูลเหตุจูงใจของปันเจกชนเป็นส่วนสำคัญที่สุด ความสามารถส่วนบุคคลและสภาวะทางจิตใจเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้ทางการเมือง ในสมัยกลาง นักเทววิทยาอธิบายว่าคนมีกิเลส 3 อย่าง คือ กิเลสทางร่างกาย ทางจิตใจ และอำนาจ อำนาจคือกิเลสที่จะแสวงหาประโยชน์และความสุขจากการปกครองสังคม เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการต่อสู้ทางการเมือง ต่อมพวกเสรีนิยมใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวของแต่ละบุคคลในการที่ทำให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุดใช้แรงให้น้อยที่สุด เป็นฐานของความขัดแย้งในสังคม ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเห็นว่าความสำคัญของปัจจัยทางจิต คือ เมตตาธรรมของกลุ่มผู้นำ

   ซิกมันด์ ฟรอยด์

 ค้นหาหลักฐานเพื่อใช้หักล้างหลักการของมาร์กซ์ โดยพยายามหาสาเหตุอื่นว่าเป็นปัจจัยของความแตกต่างระหว่างคนมากกว่าความแตกต่างระหว่างชนชั้น ทฤษฎีดังกล่าวนี้บางทีก็เกินความจริงไปมาก เช่นการพยายามที่จะให้เหตุผลวาการต่อสู้ทางการเมืองทุกอย่างมีสาเหตุมาจากพื้นฐานทางจิตที่วุ่นวายของมนุษย์เท่านั้น
     ความพยายามที่จะหยั่งลึกให้ถึงจิตใจที่เป็นส่วนลึกล้ำของมนุษย์ เป็นผลให้การวิเคราะห์ทางจิตยังสับสนอยู่มาก และแตกต่างกันตามแต่คำวิจารณ์ของแต่ละผุ้เสนอคำอธิบาย ในที่นี้จะกล่าวโดยย่อ ๆ พอให้มีความเข้าใจอย่างกว้าง ๆ ในเรื่องพื้นฐานทางจิตใจทีเกี่ยวข้องกับการขัดแย้งทางการเมืองคือ
      1 ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญในวัยเด็ก ซึ่งเป็นระยะที่มนุษย์มีความสนุกสนานเพลิดเพลินและเสรีภาพโดยไม่ต้องอยู่ใต้กฎหมายอันเข้มงวดของสังคม ถึงแม้เขาไม่สามารถบังคับคนอื่นให้ตามใจได้ แต่คนอื่นก็ไม่สามารถบังคับให้เขาเลิกทำตามความต้องการของตัวเองได้ วัยเด็กจึงเป็นวัยแห่งความเพลิดเพลินโดยแท้ มนุษย์เมื่อโตขึ้นก็ยังหวลคิดถึงสวรรค์ที่หายไปพร้อมกับวัยเด็กอยู่เสมอ ต่อมาความจำเป็นในการที่ต้องเข้าสู่ชีวิตทางสังคมได้ทำให้มนุษย์ต้องหัมารับหลักแห่งความเป็นจริงแทนที่หลักการแห่งความสนุกเพลิดเพลิน การยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคมและละทิ้งสัญชาติญาณตั้งเดิม รวมทั้งความอยากต่าง ๆ ด้วย แต่ความต้องการความสนุกสนานก็ยังฝังอยู่ในตัวบุคคล การขัดแย้งกันระหว่างชีวิตในสังคมกับสัญชาติญาณของความต้องการความสนุกเพลิดเพลินจึงก่อให้เกิด “ความวุ่นวายแลความกดดันทางจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการขัดแย้งในสังคม
     นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ว่า อารยธรรมของสังคมอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มของระบบกลไก ประสิทธภาพและการแข่งขันทำให้สัญชาติญาณของความสนุกเพลิดเพลินแบบไร้เดียงสาต้องถูกทำให้หมดสิ้นไปเพื่อจะอยู่รอดได้ในสังคม ลักษณะดังกล่าวนี้อาจนำมนุษย์ไปสู่ความรู้สึกก้าวร้าวและการใช้กำลังรุนแรงเป็นการชดเชยกัน ฟรอยด์ กล่าวว่า “การก้าวร้าวเป้นผลจากการปฏิวัติของสัญชาติญาณต่อโลกที่ไม่รู้เรื่องเพศอย่างเพียงพอ หรือการขาดแคลนสิ่งที่ต้องการ”เราจะเห็นว่าทฤษฎีนี้ขัดกันกับทฤษฎีที่ว่า พัฒนาการทางเทคนิคและการยกระดับการครองชีพให้สูงขึ้นเป็นที่มาของความตึงเครียด และทำให้มีการรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมได้ง่ายขึ้น แต่ทฤษฎีของบราวน์กลับเห็นว่าความก้าวหน้าทางเทคนิคทำให้สัญชาติญาณดั้งเดิมของมนุษย์ไม่มีที่จะอยู่ ดังนั้นมนุษย์จึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความก้าวร้าว รุนแรง เผด็จการ ซึ่งล้วนแต่ยิ่งทำให้เสริมความแตกแยกยิ่งขึ้นกว่าที่จะรวมกันไว้ ทฤษฎีเรื่องคงามกดดันทางจิตจึงถูกนำเอามาใช้เป็นพ้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการวิเคราะห์ว่า จิตของมนุษย์แต่ละคนมีความเกี่วข้องกับเรื่องทางการเมืองอย่างไรบ้าง ต่อมา ฟรอยต์ มีความเห็ฯเพ่มเติมว่า อารมร์ก้าวร้าว รุนแรงไม่ได้อยู่กับสัญชาติญาณความสนุกเพลิเพลินของวัยเด็กที่ถูกอัดไว้ภายในอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยความรู้สึกกลัวตายด้วย กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทอาจจะถูกกระตุ้นให้มีคามสนุกเพลิดเพลินพร้อมกันไปกับการพยายามหาทางทำลายด้วยวิธีต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำลายตัวเองหรือทำลายตัวเองหรือทำลาผุ้อื่น
     อารมณ์ก้าวร้าว การใช้กำลังรุนแรง การชอบใช้อำนาจเหนือผู้อื่น อาจเป็นผลมาจากการแสดงออกเอพื่ชดเชยในสิ่งที่ขาดไป หรือซ่อนเร้นความอ่อนแอภายใน สำหรับเรื่องนี้ได้มีการค้นคว้าที่มีชื่อเสียงขึ้นในสหรัฐในปี 1950 ว่าด้วยการวิเคราะห์ถึงลักษณะของคนที่ชอบใช้อำนาจข่มขู่ผู้อื่น นักวิเคราะห์ทางจิตชาวอเมริกันอธิบายว่า โดยทั่วไปแล้วทัศนคติของพวกอนุรักษ์นิยมทางการเมืองมีความสัมมพันธ์กับลักษณะบางชนิดของโครงสร้างทางจิต บุคคลิกภาพนิยมอำนาจถูกกำหนดขึ้นจากการยอมทำตามขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันอยู่อย่างเคร่งครัด โดยการยอมรับนับถืออย่างงมงายในระบบค่านิยมั้งเดิมต่าง ๆ โดยการเคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจอย่างซื่อสัตรย์ และโดยการมองสิ่งรอบ ๆ ตัวในสังคมอย่างผิวเผิน แต่กลับตัดสินส่งที่เป็นนามธรรมอย่างเด็ดขาด เช่น ดีก็ดีบริสุทธิ เลวก็เลวบริสุทธิ หรือดำก็ดำสนิท ขาวก็ขาว ไม่มีปะปนกัน ทุกสิ่งทุกอย่างกำหนดไว้อย่างเป็นระเบียบจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ผู้มีกำลังอำนาจสมควรเป็นผู้ออกคำสั่ง เพราะว่าเขาเป็นคนดีที่สุด ผู้อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะอยู่ในสภาพต่ำกว่า เพราะเขาด้อยกว่าในทุกเรื่องคุณค่าของมนุษย์ถูกกำหนดจากบรทัดฐานภายนอกที่สร้างขึ้นมาจากสภาพสังคมเท่านั้น ทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของการชอบใช้อำนาจกับความบ้มเหลวส่วนตัวของุคคลอธิบายเพ่มเติมว่าคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่สามารถสร้างบุคลิกเฉพาะตัว จะผูกพันตัวเองกับสังคมภายนอก และยึดมั่นว่าความมั่นคงของระเบียบสังคมเป็นเป็นเสมือนความั่นคงของบุคคลิกภาพของตน ทั้งนี้เป็นการหาดุลยภาพทางจิตของยุคคลในการที่จะใช้ปกป้องระเบียบของสังคมที่มีอยู่ และเป็นที่มาของความรู้สึกก้าวร้าวและความเกลียดต่อฝ่ายตรงข้าม ดดยเฉพาะต่อผู้ที่คิดจะเปลี่ยนระเบียบของสังคมที่มีอยู่บุคคลิกภาพนิยมอำนาจจึงผูกพันอยู่กับพรรคอนุรักษ์นิยม ถ้าระเบียบของสังคมถูกคุกคามเมือใด ความรู้สึกก้าวร้าวของฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะเพิ่มขึ้นตามกันไป และอาจจะรุนแรงถึงขนาดผลักดันให้ใช้วิธีในลักษณะ “ฟาสซิสม์”ได้

ทฤษฎีของ Eysenk

       (นักสังคมจิตวิทยา) ว่าด้วยท่าทีและแนวโน้มทางการเมือง ได้อธิบายถึงความแตกต่างที่สำคัฐเกี่ยวกับท่าที่และแนวโน้มและการเมืองของบุคคลแต่ละคนโดยเฉพาะอยางยิงการขัดกันระหว่างฝ่ายขวากับฝ่ายซ้ายสมัยก่อนหน้านี้การจัดประเภทแนวดน้มการเมืองเป็นการวิเคราะห์ด้านเดียว โดยการจัดแกนซ้าย-ขวา หรือแกนนิยมอำนาจ กับนิยมประชาธิปไตย แต่ Eysenk จัดประเภทด้วยการวิเคราะห์หลายด้านพร้อมกันไป กล่าวคือ เขาแบ่งสองฝ่ายที่มีความแตกต่างกันในพื้นฐานเอาไว้ตรงกันข้ามกันก่อน คือซ้ายกับขวาหรือพวกหัวก้าวหน้า กับพวกอนุรักษ์นิยม และความแตกต่างนั้นก็มีความเมหือนอยู่ด้วยคือความแข็งหรือจัดกับความอ่น เช่นในฝ่ายขวาก็มีทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมธรรมดากับพวกอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรง ที่เราเรียกกันว่าขวาอ่อนและขวาจัด ส่วนทางฝ่ายซ็ยก็มีทั้งพวกหัวอ่อนและพวกนิยมความรุนแรง กลุ่มช้ายอ่อนก็คือพวกสังคมนิยมประชาธิปไตย ซ้ายรุนแรงก็คือกลุ่มคอมมิวนิสต์นี้
     การวิเคราะห์แนวโน้มทางกาเมืองแบบนี้เป็นการหาปัจจัยพื้นฐานทางจิตที่มีความสัมพันธ์กับท่าที่ทางการเมืองของปัจเจกชน ด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ การแยกขวากับซ้ายไม่ค่อยมีปัญหาถกเถียงมากนัก แต่การแยกระหว่างแข็ง อ่อน หรือที่มีกลุ่มความคิดอื่นที่แยกนักปฏิบัติ หรือการจำแนกประเภท ของวิลเลียม เจมส์ เรื่องจิตใจอ่อนและจิตใจแข็ง ยังมีปัฐหาภกเถียงกันอีกมาก เพราะมีส่วนของการศึกษาที่ต้องใช้ปัจจัยอีกลายอย่างอันเป็นภูมิหลังของแต่ละคนซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดแน่ชัดไม่ได้
     ขวาและซ้าย ปฏิรูปและปฏิวัติ
ในการแบ่งซ้ายแบ่งขวาในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อจะสามารถทำความเข้าใจได้อย่างกว้าง ๆ ว่าแตะละฝ่ายมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองอย่างไรในสงคมและละสังคมไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ พัฒนแล้วหรือยังไม่พัฒนา จะต้องประกอบด้วยพวกที่พอใลพวกที่ไม่พอใจ การต่อสู้ทางการเมืองก็คือการต่อสู้ระหว่างฝ่ายที่พอใจในระเบียบที่มีอยู่แล้ว และต้องการรักษาไว้ เรียกว่า ฝ่ายขวา และฝ่ยี่ไม่พอใจระเยีบที่เป็นอยู่ ดังันั้นจึงต้องการที่ใหมีการเปลียนแปลง ฝ่ายนี้เรียกว่า ฝ่ายซ้าย แต่ละฝ่ายต่างก็มียุทธศาสตร์เฉพาะของตน เป็นแนวทางไปสู่ชัยชนะทางการเมืองในที่สุด
     การแบ่งกลุ่มปฏิวัติและกลุ่มปฏิรูปภายในฝ่ายซ้ายเป็นเรื่องที่ได้ทำกันมานานจนเป็ฯธรรมชาติของฝ่ายซ้าย กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงระเบียบในสังคมทำได้ 2 วิธี วิธีของกลุ่มปฏิวัติคือการทำลายระบอบสังคมที่เป็นอยู่ ส่วนวิธีของกลุ่มปฏิรูปคือการค่อยๆ ทำลายระเบียบที่มีอยู่อย่างค่อยเป็นค่อยไป เปลี่ยนไปที่ละอย่าง ๆ ขณะเดียวกันก็นำระเบียบใหม่เข้ามาแทนที่ทุกครั้งที่มีการทำลายของเก่า
     ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ภายในพรรคสังคมนิยมจะมีกรโต้เถียงและขัดแย้งกัยอย่างรุนแรงเมอระหว่างกลุ่มปฏิวัติและกลุ่มปฏิรูป แต่ต่อมาในยุคปัจจุบันนี้เมื่อพรรคสังคมนิยมเลิกล้มจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติ การขัดแย้งกันเองในเรื่องดังกล่าวก็พลอยยุติไปด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามสำหรับพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นหลุ่มปฏิวัติทั้งหมด ปัญหาการขัดแย้งระหว่างกลุ่มปฏิรูปและกลุ่มปฏิวัติก็ไม่มีไปด้วย
     การโต้เถียงระหว่างกลุ่มปฏิรูปและกลุ่มปฏิวัติในค่ายฝายซ้ายนั้น บางทีก็เป็นเรื่องของการใช้อารมณ์ บางที่ก็เป็นเรื่องเหตุผล กล่าวคือการปฏิวติเป็นความฝันเดิมของพรรคสังคมนิยมในฝรั่งเศส แต่เป็นอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์โดยทั่วไป ดังนั้นกลุ่มปฏิรูปในค่ายซ้ายจึงถูกมองในแง่ที่ว่าเป็นกลุ่มที่ทรยศต่อหลักการในสายตาของกลุ่มปฏิวัติ  ส่วนในแง่ของเหตุผลกลุ่มปฏิวัติมีความเห็นว่าการปฏิรุปเป็นเพียงภาพหลอนเท่านั้น เพราะว่าการทำลายระเบียบเก่าของสังคมจะค่อย ๆ เผลี่ยนไปที่ละอย่างไม่ได้ วิธีการปฏิรูปนั้นจะทำได้ก็แต่เพียงเรื่องที่สำคัญอันดับรองเท่านั้น แต่เมือไดที่ฝ่ายซ้ายเข้าไปแตะต้องส่วนที่เป็นแก่นเป็นหลักของฝ่ายขวา แล้วฝ่ายขวาจะต้องโต้ตอบด้วยกำลังรุนแรงและโดยทั่วไปแล้วฝ่ายขวาก็เป็นฝ่ยที่กำลังกุมอำนาจรัฐอยู่ซึ่งก็เป็นฝ่ายที่ต้องชนะอยู่ดี กล่าวโดยสรุปแล้ว ยุทธศาสตร์ของฝ่ายซ้ายก็มีอยู 2 แบบคือ  แบบที่ใช้การปฏิรูปและแบบที่ใช้การปฏิวัติ พรรคการเมืองบางพรรคก็นิยมการปฏิรูและบางพรรคก็นิยมวิธีการปฏิวัติ
     จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นทำให้เห็นว่ามีการกระจายความแตกต่างของค่ายระหว่างขวากับซ้ายไปเป็นพื้นฐานยุทธศาสตร์การเมืองที่กำหนดจากจุดมุ่งหมายและวิธีการ 4 แบบ ด้วยกันคึอ ขวาจัด ขวาอ่อน ซ้ายปฏิรูป ซ้อยปฏิวัติ การต่อต้านหรือการเป็นแนวร่วมระหว่างกันในท่าทีการเมือง 4 แบบนี้ขึ้นอยู่กับสถานะการ์ที่แตกต่างกันในแต่ละสังคมแต่ละสมัย

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

europe after world war two

      ในเดือนเมษายน ผู้แทรรัฐต่าง ๆ 11 รับในเยอรมันตะวันตกได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ให้ชื่อว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอมันมีเมืองหลวงที่กรุงบอนน์ ดร.คอนราด อาเดเนาว์ เป็นนายกรัฐมนตรี
     ในปี 1948 ประเทศมหาอำนาจตะวันตกได้ตำลงกันเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลในเยอมันตะวันตกให้มีอำนาจอย่างสมบูรณ์ จัดตั้งฐานทัพเพื่อเป็นแนวป้องกันการรุกรานของยุโรปตะวันออกและมหาอำนาจตะวันตกเลิกยึดครองเยรมันตะวันตก ต่อจากนั้นเอยมนตะวันตกและอิตาลได้รับเชิญให้เข้าประชุมกับอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนิทร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก จัดตั้งองค์การ สนธิสัญญาแห่งกรุงบรัสเซล เยอรมันตะวันตกได้เป็นสมาชิกอันดับที่ 15 ขององค์การนาโต้ และทำการตกลงกับฝรั่งเศสเกียวกับแคว้นซาร์ในที่สุดเคว้นซาร์ก็รวมอยู่กับเยอมันตะวันตก
     เยอรมันตะวันตะเริ่มบำรุงกองทัพ ปี 1957 เยอรมันตะวันตกมีทหารกว่า 2 แสนนาย และเป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจรองจากรุสเซีย มหาอำนาจตะวันตกกต้องการให้เยอมันตะวันตกและตะวันออกรวมกันเพื่อความเข้มแข็งทางการเมืองและเศรษฐกิจ มหาอำนาตตะวันตกร่วมกับรัฐบาลเยรมันตะวันตกได้ร่างคำประกาศแห่งเบอ์ลิน เพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และสนับสนุนให้มีการรวมเยอมันให้มีอำนาจการดำเนินนโยบายการต่างประเทศโดยลำพัง และป้องกันไม่ให้รุสเซียและประเทศในยุโรปตะวันออกเข้ามาขัดขวางการดำเนินงานของรัฐบาลชุดนี้  รุสเซียนั้นไม่เห็นด้วยและต้องการให้รัฐบาลเยอมันตะวันตกและตะวันออกเจรจาตกลงกันเองโดยที่ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายวางตัวเป็นกลาง
     เยอรมันตะวันตกได้รับความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาตามแผนการณ์มาร์แชล ดังนั้นรัฐบาลเยอมันตะวันตกจึงเร่งพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จนในปัจจุบันเยอมันตะวันตกมีผลผลิตทางอุตสาหกรรมได้เป็นอันดับที่ 3 ของโลก
     สาธารณรับประชาธิปไตยเยอมัน เยอรมันตะวันออกหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอมันอยู่ภายใต้อิทธิพลของรุสเซียในปี 1949 มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้น เยอรมันตะวันออกมีทรัพยากรธรรมชาติทางด้านการอุตสาหกรรมน้อยกว่าเยอรมันตะวันตก  เศรษฐกิจตกต่ำ ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมน้อยมากเมือเทียบกับจำนวนประชากร  ในปี 1953 ประชาชนในเยอมันตะวันอกจำนวนหว่าแสนคนอพยพเข้ามาในเขตเยอรมันตะวันตก เนื่องจากขาดแคลนอาหารและไม่พอใจการปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์ และในปี 1958 ประเทศมหาอำนาจตะวันตกก็เข้าไปมีบทบาทเข้าไปช่วยเลหือประชาชนในกรุงเบอร์ลิน โดยการขนส่งอาหารและปัจจับจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นไปให้ทางอากาศ รุสเซียสัญญาว่าจะเลิกเข้าไปมีอิทธิพลในเยอมันตะวันออก แต่รุสเซียก็ยังเข้าไปควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์และให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเยอรมันตะวันออกเหมือนเดิม
     องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เป็นองค์การร่วมือกันระหว่างประเทศเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่2 การกอตั้งนั้นเริ่มขึ้นในรระยะเวลาที่สงครามดำเนินอยู่ คือเกิดระหว่างสงคราม
      การประชุมในปี 1945 ที่ซาน ฟรานซิสโก มีผู้แทรจาก 44 ประเทศเข้าร่วมประชุม และประเทศที่เข้าร่วมใหม่อีก 6 ประเทศรวมเป็น 50 ประเทศ ผู้ร่วมประชุมกว่า 4,000 คนที่ประชุมรับรองกฎบัตรแห่งองค์การสหประชาชาติด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ โดยมีจุดมุ่งหมาย
     1 เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างชาติ มีการร่วมือกันป้องกันและขจัดการคุกคามต่อสันติภาพโดยสันติวะธี
      2 เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างชาติ เคารพสิทธิเสมอภาพ
      3 เพื่อบรรลุผลการร่วมมือระหว่างชาติในการแห้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ด้วยมนุษยธรรม ส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนดดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ เพศ ภาษาและศาสนา
     4 เพื่อเป็นหน่วยกลางประสานการปฏิบัติงานของนานาชาติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย
ในปี 1960 ประเทศต่าง ๆ ผลิตอาวุธขึ้นใช้อยางมาก แต่ประเทศต่าง ๆ ก็เกรงภัยจากสังครามนิวเคลีย สหรัฐอเมริกาทดลองระเบิดปรมาณูครั้งแรกปี 1945 รุสเซียในปี 1949 อังกฤษในปี 1953 ฝรั่งเศษในปี 1960 และจีนในปี 1964 นอกจากระเบิดปรมาฯแล้ว บังมีวิทยาการต่าง ๆที่ก้าวไกลกว่านั้น สามประเทศมหาอำนาจ คอ สหรัฐฯ รุสเซีย และอังกฤษ แสวงหาวิธีที่จะไม่ให้ประเทศอื่นๆ ใช้อาวุธนิวเคลีย
     การแข่งขันกันระหวางสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาสร้างความหวาดกลัวให้กับประเทศอื่นๆ มาก ประเทศมหาอำนาจทั่ง 2 ต่างก็ขยายอิทธิพลของตน ในระหว่างปี 1946-1965 สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือทางด้านทหารและอาวุธ ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ในขณะที่รุสเซียจัดตั้งอค์การช่วยเลหือทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศต่างๆ ในยุโรป และทั้ง 2 ประเทศมีนโยบายเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่าง  ๆ นโยบายเหล่านี้บางที่ก็เป็นผลดีและบางที่อาจเป็นผลร้าย
     อังกฤษ
ประเทศอังกฤษได้มีส่วนริเริ่มในการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ และเข้าร่วมในองค์การตาง ๆ เช่น องค์การอนามัยโลก กองทุนสงเคราะห์ระหว่างประเทศ “ไอเอ็มเอฟ” และองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมหรือ “ยูเนสโก” อังกฤษร่วมมือกับสหรัฐในการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉพียงใต้ โดยใช้ชื่อย่อว่า SEATO เข้าร่วมในองค์สนธิสัญญป้องกันอแตแลนติคเหนือ หรือ นาโต้
      ความเสียหารด้านต่าง ๆ ที่อังกฤษได้รับในระหว่างสงครามนั้น ทำให้อังกฤษมีเศรษฐกิจตกต่ำมาก และกลายเป็นปรเทศมหาอำจรองลงไป ประเทศที่เป็นมหาอำนาจแทนคือสหรัฐอเมริกและสหภาพโซเวียต ซึ่งมีความสามารถในด้านการอุตสาหกรรม ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมตลอดจนอาวุธที่ทันสมัย ด้วยเหตุนี้นโยบายต่างปรเทศของอังกฤษต้งอคล้อยตามสหรัฐอเมริกา
     อังกฤษต้องยอมให้เอกราชแก่อาณานิคมหลายแห่ง เช่นที่อินเดีย อินเดียถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือ พวกที่นับถือศาสนาอิสลามคือประเทศ ปากีสถาน และพวกที่นับถือศาสนาฮิดูปกครองอินเดีย
     อังกฤษมีส่วนร่วมในสงครามเกาหลี ดดยส่งกองทหารตามคำเรียร้องของสหประชาชาติไปช่วยเกาหลีใต้ทกสงครามกับเกาหลีเหนือ และฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงคราม นอกจานรี้อังกฤษยังเข้าไปมีบทบาทในตะวันออกกลาง กว่าวคืออังกฤษสนับสนุนพวกยิวให้กลับเข้าสู่ปาเลสไตน์ อังกฤษเข้าไปมีอิทธิพลในอียิปต์สนับสนุนให้ต่อต้านเตอรกี ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของอังกฤษเอง
     การสงครามทำให้เศรษฐกิจของประเสทรุดหนัก รัฐบาลต้องกู้เงินจาสหรัฐและแคนาดา เพื่อนำมาพัฒนาประเทศ รัฐบาลทุกคณะที่เข้ามาบริหารประเทศภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ต่างก็มีนโยบายเพื่อปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้า แล้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองให้ดีขึ้น รัฐบาลอังกฤษได้เข้าเป็นสมมาชิกขององค์การตลาดร่วม รัฐบาลแก้ปัญหาการเดินขบวนต่อต้านชนกลุ่มน้อยที่เข้าไปทำมาหากินในประเทศอังกฤษ
     ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสก็เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ภายหลังสงครามเศรษฐกิจตกต่ำพรรคการเมืองต่าง ๆ แข่งขันกับเข้าบริหารประเทศ ประธานาธิบดีเอดโกลจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวใน ค.ศ. 1946 และภายหลังการเลือตั้งทั่วไปใน ฝรังเศสมีการปกครองตามระบอบสาธารณรับครั้งที่ 4 มีนายพลเดอโกล เป็นประธานาธิบดี ในการบริหารประเทศ รัฐบาลต้องเผชิญเกี่ยวกับปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รัฐบาลได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาตามแผนการณ์มาร์แชล เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม รัฐบาลได้นำเงินนี้ไปพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
    กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
กลุ่มปะเทศยุโรปตะวันออกมีรุสเซียหนุนหลัง สนับสนุนใหพรรคคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซงทางการเมืองในประเทศต่าง ๆ เรื่อยมา ทไฐนะการเมืองปั่นป่วน และความตรึงเครียดของประเทศมหาอำนาจ 2 ค่ายทวีความรุนแรงมากขึ้น การเข้าแทรกซึมก่อการวุ่นวายให้แก่ฝ่ายตรงข้ามนี้เป็น สงครามเย็น และในบางครั้ง ก็เกิดเป็นสงครามในประเทศต่าง ๆ

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Under America of Occupation

     “แม้ว่าทุกคนจะทำอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม…สถานการณ์สงครามได้พัฒนาไปโดยไม่จำเป็นว่าจะทำให้ญี่ปุ่นเป็นผ่ายได้เปรียบ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือดต่อไป บางที่อาจจะถึง การทำลายอารยธรรมของมวลมนุษย์ชาติโดยสิ้นเชิง  ญี่ป่นุจะต้ออดทนในสิ่งที่เหลือจะอดทนได้และทนทุกข์ในส่งที่เหลือจะทนทุกข์ได้ “
     พระราชดำรัชซึ่งพระมหาจักรพรรดิทรงดำรัสต่อประชาชน
การยึดครองญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่อเมริกาดำเนินการเองในทุกด้าน ในทางปฏิบัติการดำเนินนโยบายต่างมีนายพลแมคอาเธอร์เป็นผู้ดำเนินการ ในฐานที่เป็ฯผุ้บัญชาการทหารอเมริกาในพื้นที่ เขารับคำสั่งจากวอชิงตันเท่านั้น แนวทางพื้นฐานที่จะปฏิบัติงานได้เริ่มมีกำหนดขึ้นโดยรัฐบาลอเมริกา และต่อมาคณะกรรมาธิการได้ให้ความเห็ฯชอบ แผนที่นับว่าตรงไปตรงมาที่สุดคือแผนสิ้นสุดกำลังแสนยานุภาพญี่ปุ่น  ไปตามครรลองที่ได้มีการทำลายยุทธปัจจัยและกรมกองต่าง ๆ สลายกองทัพที่มีกำลังกว่า 2 ล้าน ให้กลับบ้านและอพยพผู้คนกว่า 3 ล้าน จากดินแดนโพ้นทะเล  และการลงโทษญี่ปุ่นอีกแบบหนึ่งโดยกาลิดรอนดินแดนทุกแหงที่ญี่ปุ่นได้ไว้ในครอบครอง ตั้งแต่ปี 1869 รวมทั้งหมู่เกาะริวกิวและคูริล อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี อาชญากรสงครามต่อผู้นำที่ได้ก่อสงครามขึ้น ประมาณ 24 คน ถูกนำตัวขึ้นสาสพิจารณาที่โตเกียวโดยคณะผู้พิพากษาระหวางประเทศ
     การลงโทษมิได้เป็นเพียงจุดมุ่งหมายแรกเริ่มประการเดียวของการยึดครอง เวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น คำประกาศพอตสดัมได้ประกาศเจตจำนงของพันธมิตรที่จะ “ขจัดอุปสรรคทั้งปวงที่มีต่อการฟื้นผู้และการเสริมพลังอันแข็งแกร่งแก่แนวโน้มประชาธิปไตยท่ามกลางประชาชนญี่ปุ่น” มาตรการทันที่ประการหนึ่งทีดำเนินการแล้ว คือ การอภัยโทษทางการเมืองแดก่กลุ่มผุ้คนที่ได้พยายามอย่างไร้ผลในการที่จะต่อต้านรัฐบาลทั้งก่อนและระหว่างสงคราม ได้แก่พวกคอมมิวนิสต์ สังคมนิยมและเสรีนิยมในทุกรูปแบบมีหลายคนที่ถูกจำคุกมาหลายปีแล้ว ขั้นต่อมาคือการกีดกันออกจากสังคม จากตำแหน่างสำคัญๆ ทั้งในราชการแผ่นดิน การเมือง การศึกษา วงการหนังสือพิมพ์และวิทยุหรือแม้แต่วงการธุรกิจ “การกวาดล้าง”ครั้งนี้มีผลกระทบต่อผู้คนกว่า สองแสนคน  หนทางสู่การเป็นผู้นำญี่ปุ่นหนักหน่วงมากพอที่จะไม่เพียงแต่บั่นทอนพลังประเพณีนิยมที่ยึดถือสังคมไว้เท่านั้นหากแต่ยังลดประสิทธิภาพลงชั่วขณะ
     ในขณะเดียวกัน สหรัฐแมริกาได้สนับสนุนให้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นแทนสมาคมช่วยจักรพรรดิราชย์ ที่นับว่ามีอำนาจมากที่สุดคือพรรคเสรีนิยมแลพรรคก้าวหน้า ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นนักการเมืองหัวอนุรักษ์นิยมของก่อนสมัยสงครามที่รอดพ้นจากการกวาดล้าง กึ่งกลางของสองพรรคนั้นปรากฎเป็นการผสมกันอย่างไม่ใคร่จะดีนักระหว่างพวกหัวไม่รุนแรงกับพวสังคมนิยมเป็นพรรคสังคมประชาธิปไตย ในขณะที่บรรดาองค์กรของพวกหัวรุนแรงรอบนอกก็ยังมีปรากฏเป็นพวกซ้าย ที่สำคัญคือ พรรคคอมมิวนิสต์มีอิสระที่จะดำเนินการเป็นครั้งแรกเป็นเวลาหลายปี …
      ระหว่างการยึดครองสามปีแรกมีการเปลี่ยนแปลงทางรัฐธรรมนูญ การปกครองส่วนท้องถิ่น การศาล กฎหมาย ความสัมพันธ์แรงงาน การยึดถือที่ดินและการศึกษา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการปฏิบัติชีวิตญี่ปุ่น
     รัฐธรรมนูญซึ่งถูกร่างขึ้นในกองบัญชาการ นายพลแมคอมเธอร์ เมื่อปรากฎว่าข้าราชการญี่ปุ่นสนองตอบช้าเกินต่อข้อแนะโยนัยที่ให้ทำอะไรด้วยตนเอง ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 มีนาคม 1947
    ในช่วงแรกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์กระทั่งถึงขั้นเย้ยหยันทั้งในและนอกประเทศ ถึงกระนั้นการให้รัฐสภามีอำนาจอันมั่งคงยิ่งเป็นการกระทำที่ชาวญี่ปุ่นเองอาจเห้ฯว่ายากที่จทำได้ด้วยตนเอง ..
     จุดประสงค์หนึ่งที่บรรลุผลโดยการเตรียมการเรือ่งรัฐธรรมนูญก็คือ การสร้างระบบที่มีแกนกลางแห่งอำนาจควบคุมโดยคะแนนเสียงปวงชน แทนที่จะเป็นแกนกลางแห่งอำนาจที่ควบคุมโดยพระราชอำนาจพิเศษเป็นครั้งคราวซึ่งเป็นการใช้พระราชอำนาจพิเศษนั้นโดยหมู่คณะต่าง  ๆ ของพลเรือนและทหาร ระบบนี้จึงเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงมิได้กับการระบุอีกครั้งเรื่องฐานะของราชบัลลังก์ พระจักรพรรดิทรงกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งรัฐ..โดยฐานะของพระองค์เกิดจากเจตนารมย์ของประชาชนที่มีอำนาจอธิปไตย พระราชานุกิจต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐบาลและต้องมีการระบุพระราชานุกิจแน่นอนโดยเฉพาะ เป็นความเปลี่ยนแปลงซึ่งที่ปรึกษาแห่งราชสำนักยอมรับถึงขนาดให้การต้อนรับความเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นด้วย บรรดาที่ปรึกษากำหนดภาพพจน์ใหม่ของกษัตริย์โดยได้รับความสำเร็จดียิ่ง ภายในหนึ่งปี บรรดาที่ปรึกษาได้ทำให้พระจักรพรรดิทรงเป็นหลักแห่งความจงรักภักดีบนพื้นฐานแห่งความรักมากว่าความยำเกรงโดยการวางแผนอย่างรอบคอบยิ่งในเรื่องการเสด็จปรากฏพระองค์และเรื่องพระราชดำรัส วิธีดังกล่าว ทำให้ราชบัลลังก์มั่นคงและมีเกียรติภูมิในช่วงที่การปราชัยได้คุกคามราชบัลลักงก์และเกียรติภูมิอย่างรุนแรงยิ่ง ความเปลี่ยนแปลงในลำดับต่อมาคือ ในด้านการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยถูกยกเลิกและการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนใหญ๋ของกระทรวงได้ถูกกระจายออกไปโดยมอบหมายให้ระดับมณฑลและระบเมืองปฏิบัติราชการแทน  บรรดาผู้ว่าการมณฑลและนายกเทศมนตรีเป็นผู้ที่ต้องผ่านการเลือกตั้ง … สภาระดับท้องถิ่นต้องเป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้ง การศึกษากลายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีเจตจำนงที่จะ “ปลูกผั่งประชาธิปไตย” การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางถูกดำเนินไปโดยการแยการศาลออกจากการบริหาร  การประกาศกฎหมายตามระบอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการปกป้องเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวง  ความเสมอภาคระหว่างชายและหญิง
     การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานซึ่งมีผลต่อการสร้างผลประโยชน์อันทรงอำนาจยิ่งที่ต้องผุกมัดกับการธำรงไว้ซึ่งการปฏิรูปทั้งปวงพระราชบัญญัติสหภาพแรงงาน ทำให้เกิดการปั่นปวนซึ่งตรงกันข้ามกับการปฏิรูปที่ดินซึ่งได้ถูกวางแผนขึ้น ด้วยความเช่อว่า ความไม่สงบทางการเกษตรที่มีส่วนทำให้ญี่ปุ่นก้าวร้าวรุกรานนั้น ได้ช่วยลดความตึงเครียดในชนบทลงมาถึงจุดต่ำกว่าเดิมในสมัยใหม่ข้อเสนอครั้งแรกเพื่อปฏิรูปที่ดินได้ถูกเตรียมการขึ้นโดยข้าราชการญี่ปุ่นและยื่นจ่อรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน
     การปฏิรูปการศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการแบบเดียวกันแก่เด็กนักเรียนญี่ปุ่น เป้นการให้ผลต่อท่วงทีเท่าๆ กับให้ผลต่อเนื้อหาของการสอนและให้บรรยากาศที่เป็นอิสระมากกว่าแก่โรงเรียน  คณะผุ้แทนการศึกษาจากอเมริกาได้มาถึงญี่ปุ่น และข้อเสนอแนะของคณะนี้ได้รับปฏิบัติตามทันที่ให้เป็นแบบจัดการศึกษาตามแนวทางอเมริกา ดังที่ได้กล่าวว่า การบริหารราชการแผ่นดินเป็นแบบการะจายอำนาจภายใต้คณะกรรมการที่มารจากการเลือกตั้งระดับมณฑลและเมือง

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Berlin Blockade

       การปิดกั้นเบอร์ลิน เป็นหนึ่งในวิกฤ๖การณ์หลักของสงครามเย็น ทีเกิดขึ้นระหว่างปี 1948-1949 สหภาพโซเวียตซึ่งยึดครองเบอร์ลินอยู่ในเวลานั้นตั้งด่านปิดกั้นถนนไม่ให้สามมหาอำนาจฝ่ายตะวันตก เข้าถึงกรุงเบอร์ลินได้ วิกฤตกาณ์นี้คลีคลายลงหลังจากมหาอำนาจฝ่ายตะวันตกร่วมกันจัดตั้งการขนส่งทางอากาศที่เบอร์ลิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขนส่งเสบียงสู่พื้นที่ของตนพร้อมทั้งเป็นการแสดงขีดความสามารถทางการผลิตและแสนยานุภาพทางอากาศของฝ่ายตะวันตก
     การแบ่งเยอรมัน สัมพันธมิตรบรรลุข้อตกลงพอทสดัมซึ่งกำหนดให้แบงเอยมันออกเป็น 4 ส่วนโดยแต่ละส่วนจะถูกปกครองโดยชาติที่ครอบครองดินแดนในสวนนั้นอยู่ก่อนหน้าสงครามจะยุติ สหภาพโซเวียตต้องการเห็นเยอรมันไร้พิษภัย ฝ่ายสัมพันธ์มิตรจึงดำเนินแผน “มอร์เกนเทา” ซึ่งกำหนดฟืนฟูสภาพเศรษฐกิจเยอรมันเพียง 50
เปอร์เซ็น ซึ่งผลออกมาคือรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก สภาพเศรษฐกิจที่ตกตำอย่างสุดขีดของ
เยอรมันส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจยุโรปถดถอย ที่ปรึกษาประธานาธิปดี ทรูแมนกว่าว่า “ประชาชนหลายล้านคนกำลังอดตายอย่างช้าๆ” ในตอนแรกสหรัฐฯยังคงไม่เปลียนแปลงนโยบายที่มีต่อเยอรมัน กระทั่งบรรดาเสนาธิการสหรัฐฯเริ่มแสดงความกังวลต่อการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเยอรมันและเศรษฐกิจของยุโรป นายพลจิร์จ มาร์แชล รมต.ต่างประเศทศของสหรัฐฯได้โน้มน้ามให้ ทรูแมนยกเลิกแผนดังกล่าว ในที่สุด “JCS 1779” ก็ถูกนำมาใช้แทนแผนเก่าซึ่งมีทิศทางและแนวทางตรงกันข้าม สหรัฐเริ่มใช้นโยบายตามแผนมาเเชลล์ โดยส่งเงินจำนวนมากในกับประเทศยุโรปที่ต้องการเงินโจเซฟ สตาลิน เร่มสงสัยในแผนการของสหรัฐฯเขารู้สึกว่าสหรัฐฯกำลังใช้เงินซื้อประเทศในยุโรปเพื่อขยายอิทธิพลของตน เขากว่าว่า “นี่คืออุบายของทรูแมน มันต่างจากการช่วยให้ประเทศอื่นตั้งตัวได้ สหรัฐอเมริกาไม่ต้องการช่วยเราสิ่งที่สหรัฐอเมิรกาต้องการคือการแทรกซึ่มประเทศยุโรป” สตาลินสั่งห้ามไห้ประเทศในเครื่อข่ายคอมมิวนิสต์รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ความไม่ลงรอยในนโยบายเศรษฐกิจของสองมหาอำนาจ สหภาพโซเวียตจึงเริ่มใช้
นโยบายประชาสัมพันธ์ต่อต้านอเมริกาและเริ่มขัดขวางการดำเนินการในพื้นที่ทั้งสี่ส่วน สหรัฐอเมริกามีจุดยืนว่า “หากสหภาพโซเวียตไม่ให้ความร่วมือในการรวมเยอมันให้เป็นหนึ่งเดียวสหรัฐอเมริกาและมหาอำนาจตะวันตกจะพัฒนาระบบอุตสาหกรรมแบบตะวันตกขึ้นในเยอมันและจะรวมเยอรมันส่วนตะวันตก มหาอำนาจฝ่ายตะวันตกบรรลุข้อตกลงนี้ในการประชุมที่ลอนดอน ว่าจะให้เยอมันฝั่งตะวันตกมีรัฐที่เป็นอิสระปกครองในระบอบสาธารณรัฐ และฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจตามแบบสหรัฐอเมริกา
    ไม่นานนัก กรุงเบอร์ลินก็กลายเป็นจุดสนใจของทั้งสหรัฐและสหภาพโซเวียตดังคำกล่าวที่ว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นกับเบอร์ลินก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเยอมัน และสิ่งที่เกิดขึ้นกับเยอมันก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับยุโรป” ชาวเมืองใช้สิทธิเลือกผู้แทนที่ให้การสนับสนุนประชาธิปไตยเขาสู่สภาเทศบาลเมืองชนะผู้สมัครจากพรรคคอมมิวนิสต์กว่า 80 เปอร์เซ็น ดูเหมือนว่าการรวมเยอรมันนั้นไม่จำเป็นต้องมีสหภาพโซเวียต สภาปกครองฝ่ายพันธมิตรล้มจากการที่ตัวแทนจากสหภาพโซเวียตทั้งหมดลุกขึ้นและเดินออกจากห้องประชุม ซึ่งหมายถึงว่าสภาพปกครองฝ่ายพันธมิตรล่มสลายลง
     สหภาพโซเวียตกดดันมหาอำนาจฝ่ายตะวันตกด้วยการสั่งให้รถไฟขบวนที่จะเข้าสู่กรุงเบอร์ลินจากเยอมันตะวันตกต้องถูกตรวจค้น นายพลลูเซียส ดี. เคลย์ ผู้บัญชาการของเยอมันในส่วนยึดครองของสหรัฐฯจึงสั่งให้รถไฟทางทหารทุกขบวนยกเลิกการขนส่ง เขาใส่งให้เครื่องบินทำการขนส่งอาหารและอาวุธยุทธภันฑ์ให้กับทหารอเมริกันในกรุงเบอร์ลินแทน การขนส่งทางอกกาศครั้งนี้ดำเนินไปประมาณ 10 วัน
    เดือนกุมภาพันธ์  1948 สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยื่นข้อเสนอต่อสภาปกครองฝ่ายพันธมิตรให้สร้างสกุลเงินเยอมันใม่ แทนสกุลเงินไรซ์มาร์ค ที่มีประมาณล้นอยู่ใรระบบและขาดมูค่าอย่างแท้จริง
สหภาพโซเวียตปฏิเสธข้อเสนอนี้ เพราะต้องการให้อยมันคงสภาพอ่อนแอ ประเทศมหาอำนาจตะวันตกจึงร่วมมือกันสร้างสกุลเงินใหม่ขึ้นอย่างลับ ๆ และประกาศใช้ในพื้ที่ของตนในชื่อสกุลเงินดอยช์มาร์ค สหภาพโซเวียตไม่ยอมรับเงินสกุลนี้ แต่ทางฝ่ายตะวันตกลักลอบนำเงินเข้าเบอร์ลินกว่า สองร้อยห้าสิบล้านดอยช์มาร์คแล้วซึ่งไม่นานนัก ดอยช์ มาร์กก็กลายเป็นสกุลเงินมาตรฐานในทุกพื้นที่ของเยอมัน
    มิถุนายน 1948 สหภาพโซเวียตประกาศ “ปิดปรับปรุง” ถนนออโทบาน ซึ่งเป็นถนนจากเยอมันตะวันตกมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน  อีกสามวันถัดมาการจราจรทางบกระหว่งเอยมันในส่วนยึดครองของโซเวียตกับส่วนอื่น ๆ ถูกตัดขาด และ การจราจรทางน้ำสู่กรุงเบอร์ลินถูกตัดขาดในเวลาต่อมา และประกาศว่าจะไม่มีรถไฟเข้าสู่กรุงเอบร์ลินอีกต่อไปเนืองจาก “ปัญหาทางเทคนิค” ต่อมาสหภาพโซเวียตประกาศเลิกจัดส่งอาหารให้กรุงเบอร์ลินส่วนของประเทศมหาอำนาจตะวัตก

     หากทำสงครามกับโซเวียตฝ่ายตะวันตกต้องเสียกรุงเบอร์ให้กับโซเวียตอย่างแน่นอนเนื่องจากการลดขนาดกองทัพ
ต่อมาฝ่ายตะวันตกและสหภาพโซเวียตบรรลุข้อตกลงเปิดเส้นทางจราจรทางอากาศสู่กรุงเบอร์ลิน 3 เส้นทาง  อย่างไรก็ตาม การที่จะดำเนินการขนส่งทางอกาศได้นั้นจะต้องมั่นใจว่าจะสามาถส่งอาหารได้รวดเร็วพอมิฉะนั้นแล้ว ชาวเบอร์ลินอาจต้องของความช่วยเหลือจากโซเวียตในท้ายที่สุด
    เกล ฮัลเอวร์เซ็น หนึ่งในนักบินที่ปฏิบัติภารกิจขนส่งทางอากาศตัดสินใจใช้เวลาว่างของเขาบินไปยังกรุงเบอร์ลินและใช้กล้าองถ่ายวีดีโอของเขาถ่ายาภาพยนตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการโปรยช็อกโกแลตและขนมหวานในกับเด็กๆ ในกรุงเบอร์ลิน เขาโปรยขนมและช็อกโกเเล็คใรกับเด็ก ๆ ทุกวันซึ่งไม่นานนักก็มีจดหมายกองหนึ่งจ่าหน้ามาถึง “ลุงกระพือปีก” “ลุงช็อกโกแลต” และ “นักบิน
ช็อกโกแลต”ซึ่งต่อมานักบินคนอื่นก็ได้ทำด้วยเช่นกัน หลังจากที่ข่าวไปถึงสหรัฐอเมริกาแล้ว เด็กๆ จากทั่วประเทศก็ส่งลูกกว่าดไปช่วย และต่อมา บริษัทขนมหวานใหญ่ ๆ ในอเมริกาก็ส่งลูกกวาดไปช่วยด้วยเช่นกัน..
     สหภาพโซเวียตทำการตอบโต้โดยประกาศแจกอาหารฟรีแก่ผุ้ที่ข้ามายังเบอร์ลินฝั่งตะวันออก อย่างไรก็ตามมีแค่ไม่กี่คนที่ข้ามไปเพราะรู้ว่าเป็นแผนการหลอกล่อของโซเวียต
    การแบ่งเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกเป็นไปโดยปริยายเมื่อการเลือกตั้งผู้สนับสนุนประชาธิปไตยเป็นฝ่ายชนะ  ทหารโซเวียตเริ่มกอ่กวนเครื่องบินฝ่ายตะวันตก
     การขนส่งทางอากาศดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นายพลสหรัฐฯต้องการสร้างขวัญและกำลังใจ เขาต้องการสร้างเหตุกาณ์ใหญ๋ๆ เพื่อทำลายความซ้ำซากจำเจ เขาตัดสินใจว่า ในวันอีสเตอรื เขาจะจัดการขนส่งทางอากาศที่มากที่สุด ภายในหนึงอาทิตย์ ปริมาฯการขนส่งเสบียงเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่มากว่าการขนส่งด้วยรถไฟปฏิบัติการขนส่งทางอากาศประสบความสำเร็จในที่สุดและจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และไม่มีที่สิ้นสุด
     “พาเหรดวันอีสเตอร์”เป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้าย  ประเทศมหาอำนาจทั้งสี่เผชิญหน้าเจรจากันอย่างเคร่งเครียดหลังจานันได้ข้อยุติ ฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศวาจะยกเลิกการปิดกั้นในเสร็จสิ้นภายในเวลา 8 วัน การปิดกั้นของโซเวียตสิ้นสุดลงภายในหนึ่งนาที่หลังเทียงคืนวันที่ 12 พฤษภาคม 1949
    เดื

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

..the way is political

     ในสังคมระดับใหญ่ การต่อสู้ทางการเมืองเป็นการดำเนินการระหว่างองค์การกับองค์การที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจปกครององค์การเหล่านี้มีการจัดโครงสร้างที่เป็นระเบียบมีอำนาจบลลดหลั่นกันในระหว่างสามชิก ม่นโยบายและระบบสายบังคับบัญชา เพื่อใช้เป้นอาวุธในการต่อสู้ทางการเมืองโดยเฉพาะ องค์การดังกล่วจะเป็นตัวแทนของผลประโยชน์และจุดมุ่งหมายของพลังต่าง ๆ ในสังคม
       ลักษณะพลังต่าง ๆ ในสังคมที่รวมกลุ่ม  เพื่อเป็นตัวแทนเพื่อแสดงออกถึงประโยชน์และอุดมการณ์ต่าง ๆ ในสังคม รวมทั้งบทบาทของกองทัพในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะชององค์การแห่งอำนาจที่สำคัญของทุกๆ สังคม
      พรรคการเมืองของบุคคลที่มีชื่อเสียง พรรคการเมืองที่รวบรวมคนมีเงินและคนมีชื่อเสียงในสังคมเป็นสมาชิกเช่นนี้ จัดระเบียบภายในของพรรคจะอ่อนสมาชิกของพรรคจะเป็นพวกที่มีความคิดเสรีนิยม หรืออนุรักษ์นิยม กรรมการกลางของพรรคจะไม่ค่อยได้มีอำนาจเหนือผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคเพราะการได้รับเลือกตั้งขึ้นอยู่กับชื่อเสียงส่วนตัวของผู้แทน มากกว่า ดังนั้นชื่อเสียงส่วนตัวของผู้แทนจึงสำคัญกว่าชื่อเสียงหรือนโยบายของพรรค
      พรรคมวลชน ต้นศตวรรษที่ 20 อุดมการณ์ทางการเมืองในเรื่องความเสมอภาคได้แพร่ขยายออกไปสู่จำนวนมาก พลังมวลชนจึงกลายเป็นอาวุธทางการเมืองที่สำคัญขึ้นมาอีกชนิดหนึ่งความเหนือกว่าทางด้านพลังมวลชนเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของการต่อสู้ทางการเมืองทั้งระยะสั้นและระยะยาว
     พลังมวลชนจะเป็นอาวุธทางการเมืองได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมือมีการจัดมวลชลให้เข้าเป็นองค์การ ต้องทำให้องค์การกับพลังมวลชนเกาะเกี่ยวกันอย่างแยกไม่ออก จึงจะทำให้เป็นอาวุทธทางการเมื่องได้
          การใชพลังมวลชนภายในรัฐ เป็นปรากฎการณ์ของสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป้นผลที่ทำให้ค่าครองชีพและวัฒนธรรมของประชาชนส่วนใหญ่มีราคาสูงขึ้น
          สมัยโบราณการกุมอำนาจการปกครองอยู่ในระหว่างกลุ่มชนในวงจำกัด มาลชนส่วนใหญ่มีความรู้จำกัด ไม่รู้จักอำนาจของตนเอง นอกจากเหตุการณ์ที่พิเศษจริง ๆ มวลชนจะเข้าดำเนินการรุนแรงทันที่ เหมือนสัตว์ใหญ่โกรธ จะทำลายทุกอย่างที่ขว้างหน้า แต่เมื่อทำลายแล้วก็ไม่อาจสร้างขึ้นใหม่ได้
           สังคมสมัยใหม่ พลังมวลชนมีความสำคัญขึ้นมาก เพราะมีการให้สทิธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปอย่างเสมอภาค ไม่ว่าคนมีคนจนล้วนมีเสียงเท่ากัน ถึงแม้อุดมการประชาธิปไตยจะถูกสร้างขึ้นมาจากคนจำนวนน้อยที่ร่ำรวย แต่อาวุธอุดมการณ์ที่พวกนายทุนใช้ต่อสู้กับชนชั้นขุนนาง คือ ความเสมอภาค ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนพลอยได้ประโยชน์ไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีการรวมพลกันได้ เพราะหลักการประชาธิไตยคือเสียงส่วนมากเป็นเสียงตัดสินทางการเมือง
     พรรคสังคมนิยม ต้นศตวรรที่ 20 กลุ่มที่มีความคิดทางสังคมนิยมได้จัดตั้งพรรคการเมืองรูปใหม่ขึ้นด้วยวิธีนำพลังมวลชนมาใช้ให้เป็นประโยชน์และแก้ปัญหาเบื้องแรก คือปัญหาการเงิน พรรคสังคมนิยมในขณะนั้นอยู่ในฐานะ “นักปฏิวัติ” บรรดาคนมีเงิน เชน นายธนาคาร เจ้าของโรงงานอุตสาหรรมและเจ้าของที่ดินทั้งหลาย จึงให้เงินช่วยเหลือเฉพาะพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคเสรีนิยมเทานั้น ในเมือพรรคสังคมนิยมไม่สามารถได้เงินจากคนจำนนน้อยที่มีเงินมากจึงต้องคิดหาทางที่จะได้รับเงินมาจากจำนวนที่มีเงินน้อย และต้องไม่สม่ำเสมอด้วย
       จากปัญหาการเงินดังกล่าวนั้น พรรคสังคมนิยมจึงต้องเปิดให้มีการสมัคราเป็นสมาชิกของพรรคมากที่สุดเท่าที่จะทำได้คือแทนที่จะรวมกลุ่มจำนวนเป็นพันอย่าง “พรรคของคนมี่ชื่อเสียง พรรคมวลชน จะรวมสมาชิกเป็นร้อยๆ พัน หรือเป็นล้าน ๆ นอกจากเรื่องมาก่อนเลยด้วย และจากการที่มีสมาชิกเป็นจำนวนมาก พรรคจึงสามารถใช้วิธีของประชาธิปไตยเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมารชิกผู้แทนราษฎรด้วยกล่าวคือ แทนที่จะเลือกคือ แทนที่จะเลือกผู้สมัคร จากวงแคบๆ ของกลุ่มสรรหากลุ่มเล็กๆ ก็ให้มีการเลือกในสภาพท้งอถิ่น และสภาระดับชาติโดยสมาชิกโดยทั้งหมดหรือผู้แทนของสมาชิก
     ความเกียวพันอย่างใกล้ชิดอาจเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงระหว่างโครงส้างของพรรคการเมืองแบบใหม่นี้กับวิวัฒนาการของสังคมที่เป็นฐานของพรรคการเมืองพรรคที่ประกอบด้วยบุคคลสำคัญแบบดั้งเดิมเป็นตัวแทนอยู่เฉพาะการต่อสู้ของพวกขุนนางและของพวกคนมี เงิน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนน้อย ความแคบของพรรคทำให้เวที่การเมืองและลักษณะที่แท้จริงของประชาธิไปไตยแคบลงไปตาสวย ในทางตรงกันข้าม พรรคของมวลชนสอดคล้องกับการขยายวงกว้างของประชาธิปไตยเพราะเปิดให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีส่วนร่วมในเรื่องการเมืองอย่งถาวร ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เพียงแต่ได้ใช้สิทธิทางการเมือง  สี่หรือห้าปี ครั้งหนึ่งแล้วก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยอยางแท้จริง
       การล้อมกรอบสมาชิกจำนวนเป็นล้าน ๆ อย่างถาวรและการที่สมาชิกต้องจ่ายเงินค่าบำรุงแก่พรรค อย่างสม่ำเสมอ เป็นผลบังคับในตัวเองที่การบริหารองค์การจะต้องเป็นไปอย่างเข้มงวดกวดขัน และยิ่งเมืององค์การมีการพัฒนาในสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นทั้งโครงสร้างละสายการบังคับบัญชาผู้นำภายในของพรรคก็ยิ่งมีอำนาจยิ่งขึ้น และเหนือกว่าตัวผู้แทนราษฎรที่เป็นสมาชิกรัฐสภา ปรากฎการณ์ของการขัดกันระหว่างกลุ่มชั้นผู้นำทั้งสองของกลุ่ม (ผู้นำภายในของพรรคและผู้แทนราษฎร) เป็นที่น่าสนใจในเชิงสังคมวิทยา เพราะผู้นำทั้งสองฝ่ายถูกเลือกขึ้นมาจาฐานที่แตกต่างกัน ผู้นำรรคได้รับเลือกจากสมาชิกพรรค ส่วนผู้แทน ได้รับเลือกจากผู้มีสิทธิกเสียงเหลือกตั้งทั่วไป โดยธรรมดาแล้ว สมาชิกพรรคจะต้องผูกพันอยู่กับอุดมการของพรรคอย่างเหนียวแน่นมากกว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป ดังนั้นผู้นำของพรรคจึงเป็นพวกที่เข้มงวดในเรืองอุมการมากกว่า ตัวผู้แทนที่มีที่นั่งในรัฐสภา
       อย่างไรก็ตาม วิวัฒนากรของพรรคสังคมนิยมที่เบนเข็มไปทางสังคมนิยมประชธิปไตยและการรวมตัวเข้าไปสู่ระบอบรัฐสภา ทำให้สถานะการณ์ของการขัดแย้งระหว่างอำนาจของผุ้นำภายในพรรคกับผู้แทน อ่อนลงมากเพราะว่าเมืองยอมรับคุณค่าของระบอบรัฐสภาก็ต้องยอมรับความเหนือกว่าของบุคคลที่เป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของตนในรัฐสภา
     แต่ในพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคฟาสซิสต์นั้น สถานะกาณ์ตรงกันข้าม ผู้แทนในรัฐสภาจะต้องยอมอยู่ใต้อำนาจของผู้นำของพรรค ทั้งนี้เพราะระบบของคุณค่าในอุดการ์ที่แตกต่างกัน
     โครงสร้างพรรคการเมืองมวลชนที่พรรคสังคมนิยมเป็นผู้ริเริ่มดังกล่าวมาแล้วนั้นได้ถูกนำไปดัดแปลงใชกับพรรคกาเมืองอื่นที่สำคัญอื่นอีก 2 พรรค คือ พรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคฟาสซิสต์
     พรรคคอมมิวนิส ได้ดัแปลงโครงสร้างของพรรคสังคมนิยมในส่วนสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก แทนที่จะจัดกลุ่มสมากตามทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นเขตของหน่วนเลือกตั้ง กลับเปลี่ยนเป็นรวบรวมสมาชิกและกำหนดหน่วยเลือกตั้งตามสถานที่ทำงาน เช่น ตามโรงงาน ตามแหล่งการผลิตต่าง ๆ ประการที่สองพรรคคอมมิวนิสต์ เน้นน้ำหนักความสำคัญที่การรวมสูนย์อำนาจและระเบียบวินัยอย่างเข้มงวด เด็ดขาด
     “เลนิน แสดงความเห็นไว้ในหนังสือเรือง “จะทำอย่างไรว่า พรรคกรรมกรจะต้องจัดตั้งขึ้นเป็นศูย์กลางรรวมอำนาจอย่างเข้มววด ในฐานะเป็นชนชั้นนำที่ประกบขึ้นด้วย “นักปฏิวัติอาชีพ” เพราะในการต่อสู้ใต้ดินกับพระเจ้าซาร์ของรัสเซียน้นจะต้องใช้คนจำนวนน้อยที่เป็นนักปฏิวัติอาชีพจริง ๆ เป็นผู้ขึ้นนำทางปฏิบัติ จึงจะเป็นผลสำเร็จพรรคคอมมิวนิสต์จะไม่เปิดกว้างรับสมาชิกมากมายแบบสังคมนิยม ความเห็นของเลนินในเรื่องที่ว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ต้องเป็นชนชันนำและมีอำนาจเด็ดขาด จึงก่อให้เกิดการแตกแยกกันระหวางพวกบอล เชวิกของ เลนิน และพวกเมนเซวิกด้วย
           การจัดระเบียบภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ใช้หลัก “ประชาธิปไตยรวมศูนย์”และระบบการบังคับบัญชาคู่” จัดตั้งโครงสรางของพรรคขึ้นตามทฤษฎีของเลนินบวกกับทฤษฎีของรุสโซ
     ประชาธิปไตยรวมศูนย์ ถือหลักที่ว่า ผู้นำทุกคนมาจากการเลือกตั้ง มีการรายงานผลงานที่ปฏิบัติต่อองค์กรของพรรคตามระยะเลาที่กำหนดและมีการประชุมตัดสินปัญหาต่าง ๆ สมาชิกทุกคนมีสิทธิออกความเห็นและอภิปรายได้ ส่วนที่ว่า “รวมศูนย์” นั้นมาจากหลักที่ว่า คำตัดสินหรือมติขององค์กรที่สูงกว่มีลักษณะเด็ดขาด มีผลบังคับต่อองค์กรที่มีระดับต่ำกว่าเจตนารมย์ร่วมสำคัญกว่าเจตนารมย์ส่วนตัวเสมอ ไม่มีผ่ายค้านเมือมี่ประชุมตัดสินลงมติแล้ว
    การจัดระเบียบของพรรคคอมิวนิสต์เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการส่งผลให้พรรคมีอิทธิพลเป็นกองบัญชาการสูงสุดของอำนาจปฏิวัติได้
    “ มาตรา 126 ของรัฐธรรมนูญโซเวียต 1936 ความว่า “พลเมืองที่เเข็งขันที่สุดและมีจิตสำนึกอันแน่วแน่ผูกพันกับชนชั้นกรรมมาชีพ กับชาวนาผุ้ใช้แรงงาน และกับผู้ใช้แรงสติปัญญารวมกันอย่างเสรีภาพในพรรคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตรัสเซีย หน่วยแนวหน้าของผุ้ใช้แรงงานในการต่อสู้เพื่อสร้างสังคมคอมมิวนิสต์เป็นทั้งสายนำของทุกองค์การผู้และใช้แรงงาน องค์ทางสังคม และองค์การของรัฐ”
       โครงสร้างของพรรคเริ่มจาก หน่วยที่เล็กที่ที่สุดที่เป้นหน่วยการผลิตขั้นพื้นฐานเช่น โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยการผลิตชนิดต่าง ๆ และเขยิบขึ้นเป็นเขตการปกครองจากเล็กสุด ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับชาติทุก ๆ หน่วยดังกล่าวจะถูกวางซ้อนกันขึ้นไปในรูปพีระมิด และเชื่อมโยงด้วยสายบังคับบัญชาแนวดิ่ง กล่าวคือองค์กรที่อยู่ในระดับเดียวกัน เช่นโรงงานต่อโรงงาน หรือตำบลจะติดต่อกันเองไม่ได้ ต้องมีองค์กรที่มีระดับสูงกว่าถัดขขึ้นไปเป็นตัวกลาง องค์การของพรรคใรดับต่ำกว่งจะต้องรายงานการปฏิบัติงานต่อองค์กรพรรคใรระดับสูงถัดไป และของคำแนะนำเมืองต้องการตัดสินใจขององค์กรที่สูงกวาและองค์กรในระดับสูงกว่าต้องศึกษาประสบการณ์ขององค์กรที่ต่ำกว่า ในการวางระเบียบของพรรคแบบนี้ องค์กรที่สูงสุดจะรู้เรื่องขององค์กรระดับถัดลงมาเรื่อยๆ จนต่ำสุดที่เป็นฐานแต่ องค์กรที่ต่ำสุดจะไม่มีโอกาสรู้เรื่องของตนในระดับเดียวกัน หรือคนที่สูงกว่าเลย นอกจาฟังคำสั่งและต้องปฏิบัติตาม
      ขบวนการฟาสซิสต์  นักสังคมวิทยาการเมืองหลายท่านจัดขบวนการฟาสซิสต์ไว้ในพวกเยวกับพรรคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้เพราะทั้งคอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ต่างก็เป็นพวกที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จครอบครองอาวุทธการเมืองทุกชนิดเอาไว้หมด ดังที่นักสังคมวิทยาได้ให้ความหมายของคำว่าเบ็ดเสร็จว่า “การรวมของอาวุธ 6 ชนิด คือ อุดมการชนิหนึ่งชนิดใด พรรคการเมืองพรรคเดียว ความโหดเหี้ยมของตำรวจลับ การผูกขาดการสือสารการติดต่อ การผูกขาดกำลังอาวุธ และการรวมศูนย์อำนาจเศรษกิจ
   ทั้งคอมมิวนิสต์และฟาสซิต์ใช้การต่อสู้ที่เกินเลยออกไปจากบอลข่ายของระบอบการเมืองแบบประชาธปไตย และใช้เทคนิคการรวมพลล้อมกรบกิจกรรมทุกชนิดของสมาชิกไว้อย่างหนาแน่น
         เทคนิคการรวมพล ที่สำคัญคือ ระบบการบังคับบัญชาคู่ ผุ้นำสามารถล่วงรู้ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของสมาชิกที่ถูกล้อมกรอบไว้ได้อย่งทั่วถึง ขึ้นแรกของเทคนิคการรวมพลคือ การรวมคนให้เข้าร่วมกิจกรรมตามใจสมัคร กลุ่มกจิกรรมต่าง ๆ จะต้องเกียวข้องกันเป็นลูกโซ่ เช่นกรรมกรเข้าเป็นสมาชิกของเขตนั้น อยุ่ในหมู่บ้านใดก็เป็นสมาชิกของหมู่บ้านนั้น แม่บ้านเป็นสมาชิกสมาคมแม่บ้าน นักกีฬาเป็นสมาชิกสมาคมกีฬาเป็นต้น
      ในแง่ทฤษฎี เทคนิคนี้เป็นเรื่องของความสมัครใจ แต่ในทางปฏิบัติจะขึ้นอยุ่กับระบบของสังคมแต่ละสังคม ถ้าสังคมใดใช้ระบบเผด็จการปกครอง ประชาชนจะอยุ่ภายใต้การควบคุมของรัฐอย่างใกล้ชิด โดยฝ่ายองค์การหรือสหพันธ์ที่ประชาชนเป็นสามชิกอยุ่ ใครมไม่ยอมรวมเป็นสามชิกของหน่วยหรือองค์การใดเลย จะถูกสงสัยหรือถูกริดรอนโอกาสและบริการต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ที่สามารถผู้พันให้ประชาชนชอบที่จะเข้ามาเป้นสามชิกมากกว่าจะอยู่นอกวง เทคนิคอย่างนี้ ถ้าเป็นระบอบคอมมิวนิสต์หรือฟาสซิสต์ จะต้องมีการใช้วิธีโฆษณาชวยเชื่ออย่างมากและสม่ำเสมอ ซึ่งจะใช้พร้อมกันไปกับตำรวจการเมืองด้วย
     พวกฟาสซิสต์ลอกเลียนแบบคอมมิวนิสต์ในเรื่อง พรรคการเมืองพรรคเดียว และวิธีการจัดตั้งองค์การที่มีระเบียบแบบคอมมิวนิสต์ในเรื่อง พรรคการเมืองพรรคเดียว และวิธีการจัดตั้งองค์การที่มีระเบยบเข้มงวดกวดขัน อำนาจรวมอยู่ที่ศูนย์กลาง รวมทั้งความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง  
     แม้ว่าขบวนการฟาสซิสต์จะลอกเลียนแบบของพรรคผ่ายซ้ายเพื่อความสะดวกในการต่อสู้กัน แต่ความแตกต่างของฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ที่แท้จริงอยู่ที่ การใช้กำลังรุนแรงบังคับให้สังคมอยู่ในระเบียบดั้งเดิม เมื่อมีเหตุการณ์ที่ชวนให้น่าสงคสัยว่าสังคมจะเลี่ยนไปสู่ระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบสังคมนิยม หรือระบอบคอมมิวนิสต์
       การล้อมกรอบตามแบบทหาร พรรคฟาสซิสต์จะใช้เทคนิคทางทหารล้อมกรอบการเคลื่อนไหวทางการเมืองของมวบชนไว้ คือ หน่วยที่เล็กที่สุดไปถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุดจะจัดเป็น หมู่ กองร้อย กองพัน กองพล เป็นลำดับ หน่วยเล็กสุดจะรวมเป็นกลุ่มซ้อน ๆ กันในหน่วยที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ เหมือนลักษณของกองทัพ
    การต่อสู้ทางการเมืองแบบทหาร
นอกจกาสมาชิกของขบวนการฟาสซิสต์จะต้องมีเครื่องแบบแล้วจะต้องมีวิธีต่อสู้แบบทหารด้วย เช่น การสวนสนาม การแสดงพลังอาธการโจมตีฐานที่ตั้งของศัตรู เป็นต้น
      นอกจากนี้ พรรคฟาสซิจต์อาจมีบทบาทในหารต่อสู้ทางการเมืองตามวิธีการเลือกตั้งในระบบรัฐสภาด้วยก็ได้ แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็การทำลายระบบรัฐสภามากกว่า กล่าว โดยสรุป พรรคฟาสซิสต์ คือการจัดตั้งการใช้กำลังรุนแรงขึ้นให้เป็นระเบียบและมีลักษณธเป็นกองทัพของเอกชน ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะรักษาอำนาจไว้ด้วยการใช้กำลังอาวุธรุนแรง
     เผด็จการและบทบาทของกองทัพในการต่อสุ้ทางการเมือง การเมืองมิได้มีแต่แรวดน้มที่จะทำลายการใช้ลังรุนแรงด้วยอาวุธเทานั้น แต่เพื่อที่สังคมจะอยู่ได้อย่งมีระเบยบและรวมกันได้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเมืองจึงต้องถูกใช้ให้เป็นวิถีทางรวบรวมกำลังรุนแรงทั้งหลายที่กระจัดกระจายอยู่ในมือของเอกชน และกลุ่มต่าง ๆ มาไว้ในความควบคุมขงรัฐบาลอยางเด็ดขาด โดยให้รัฐเท่านั้นเป็นผุ้ผูกขาดการใช้กำลังบีบบังคับทั้งหมด กำลังของกองทัพซึ่งประกองด้วย ทหารและอาวุธจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จำเป็นการผูกขาดดังกล่วทำให้กำลังของชนชั้นต่าง ๆ ของพรรคการเมือง ต้องอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่าเพราะอำนาจที่คุ้มกันด้วยอาวุธเทานันจงจะสามารรุทำให้ประชาชนที่ไม่มีอาวุธเท่าเทียมต้องอยู่ภายใต้การบังคับได้

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...