วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

begin the Cold war

     Cold war หรือสงครามเย็นเป็นสงครามที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่เคอยปรากฎมีมาก่อน กล่าวคือ มีการต่อสู้กันทุกรูปแบบ ยกเว้นการเปิดฉากทำสงครามกันโดยตรง รูปแบบของการต่อสู้มีอาทิ การโฆษณาชวนเชื่อ การปลุกระดม มวลชน กลยุทธ์กองโจร การแข่งขันชิงดีชิงเด่น หาพวกหาพ้องในประเทศต่าง ๆ เป็นต้น สงครามเย็นไม่มีความร้อนแรงเพราะไม่มีการทำสงครามเผชิญหน้ากัน เป็นสงครามที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีกำหนดว่าเริ่มและยุติเมือใด ไม่มีการระดมพล ไม่มีการเคลื่อนไหวกองกำลัง ไม่มีการสัประยุทธ์กัน สงครามประเภทนี้ได้สร้างความเย็นเยือกขึ้นในจิตใจของผู้คนและทำให้เกิดความหวาดหวั่นทุกขณะจิตว่า สงครามอาจจะอุบัติขึ้นได้เมือมีเงื่อนไขอำนวย เพราะสงครามเย็นพร้อมที่จะแปรรูปเป็นสงครามที่แท้จริงได้



    อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ในทรรศนะของฝ่ายเสรีนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ชื่อว่าเป็นลัทธิอุดมการณ์เมื่อรุสเซียได้หลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ในปี 1918 รุสเซียถูกมองด้วยควารมหวาดระแวงว่าลัทธินี้จะครอบงำยุโรป ตั้งแต่ปี 1820 เป็นตนมาที่ยุโรปได้เผชิญการปฏิวัติหลายครั้งดวยแรงบันดาลใจของเสรีนิยม และด้วยอิทธิพลใหญ่หลวงของการปฏิวัติฝรั่งเศส ระบอบสมยูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรปค่อย ๆ เสื่อมถอยความนิยมลง ระบอบสาธารณรัฐหรือระบอบประชาธิปไตยแบบต่าง ๆ ได้ถูกทดลองใช้ในหลายประเทศที่สำคัญคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส เป็นต้น ลัทธิเสรีนิยมแบบต่าง ๆ อันปรากฏในยุโรปย่อมจะเป็นปฏิปักษ์โดยธรรมชาติวิสัยต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีหลักการใหญ่เป็นตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยม
     ความแตกต่างของทั้งสองระบอบนี้ไม่เป็นประเด็นที่สำคัญในชั้นต้น อุดมการ์มิได้เป็นอุปสรรคแก่การที่ฝ่ายเสรีจะผูกมิตรกับคอมมิวนิสต์ดังจะเห็นได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
     อุดมการณ์กลายเป็นสิ่งที่ใช้อ้างถคงเพื่อแสดงความแตกต่างกันก็เฉพาะเมื่อฝ่ายเสรีนิยม และฝ่ายคอมมิวนิสต์เริ่มมีความขัดแย้งกันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายเสรีนิยมหวาดระแวงรุสเซียที่ได้ดำเนินการยึดครองยุโรปตะวันออกด้วยเกรงว่า รุสเซียจะฉวยโอกาสอ้างการปลดแอกเยอมันเป็นจังหวะเหมาะที่จะเปลียนประเทศเหล่านั้นให้เป็นคอมมิวนิสต์ อันจะทำให้รุสเซียมีอำนาจยิ่งขึ้น
     ความวิตกในดุลยภาพแห่งอำนาจที่จะแปรเปลี่ยนเป็นคุณแก่ฝ่ายรุสเซียนี้เองที่ทำให้ฝ่ายเสรีนิยมมองการแผ่ขยายอำนาจรุสเซียว่าเป็นการแผ่ขยายทั้งอำนาจอิทธิพลและลัทธิอุดมการณ์ และถือว่าเป็นการแผ่ขยายอำนาจโดยอ้างลัทธิอุดมการณ์บังหน้า ทรรศนะนันได้ดูเป็นจริงมาก โดยเหตุที่รุสเซียได้แสดงเจตจำนงแต่เดิมมาเล้วว่า รุสเซียมีความผูกพันต่ออุดมการณ์ในการที่จะส่งสริมการปฏิวัติโลกในเป็นคอมมิวนิสต์และได้แสดงเจตนาจริงจังโดยการจัดตั้งองค์การโคมินเทอร์น แม้องค์การนั้นจะยุบเลิกไปเมื่อปลายสงครามโลกคร้งที่ 2 เพื่อแสดงเจตนาจริงใจที่จะผูกมิตรกับฝ่ายเสรีนิยมองค์การประเทภทนี้ย่อมฟื้อนคืนชีพขึ้นเมือใดย่อมได้ เพราะรุสเซียมิได้มีทีท่าว่าจะลือมความผูกพันต่ออุดมการ์
    ในการยึดครองยุโรปตะวันออกตั้งแต่ปี 1943 นั้นฝ่ายพันธมิตรมีความหวาดวิตกมากว่า รุสเซียจะฉวยโอกาสพลิกแผ่นดินภาคนั้นให้เป็นคอมมิวนิสต์ได้มีการเปิดการประชุมหลายครั้งเพื่อเจรจากับรุสเซียมิให้ถือเอาการยึดครองซึ่งเป็นความจำเป็นในการปฏิบัติการทางทหารนั้น เป็นโอกาสเหมาะที่จะปฏิวัติยุโรปตะวันออกเป็นคอมมิวนิสต์ การประชุมทีสำคัญที่มีการเจรจาประเด็นนี้คือ
     - การประชุมที่เตหะรานในเดือนพฤศจิกายน 1943 มีการเจรจาปัญหาโปแลนด์ และเชโกสโลวะเกีย
     - การประชุมที่ยับตาในระหว่างวันที่ 4-11 กุมภาพันธ์ 1945 มีการเจรจาถึงขึ้นที่ฝ่ายพันธมิตรับรู้การที่รุสเซียเข้ายึดครองยุโรปตะวันออกและรุสเซียให้คำมี่นสัญญาว่าจะดำเนินการเลือกตั้งทั่วไปใขตยึดครองเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิกำหนดวินิจฉัยชะตากรรมของตนได้โดยเสรี
     การที่รุสเซียให้คำมั่นแก่ฝ่ายพันธมิตรว่าจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเขตยึดครองนั้น ย่อมแสดงชัดเจนว่า ฝ่ายพันธมิตรมีความวิตกและเล็งเห็นภัยรุสเซียที่ได้อ้างลัทธิอุดมการณ์บังหน้าไว้ ตลอดจนคาดได้ว่า การแผ่ขยายอำนาจรุสเซียนี้จะเป็นการละเมิดดุลยภาพแห่งอำนาจในยุโรปด้วย คำมั่นนั้นจึงเป็นข้อตกลงผูกมัดเพื่อธำรงไว้ซึ่งดุลยภาพแห่งอำนาจและแสดงว่าอุดมการ์เป็นเรื่องสำคัญ ขีดคั่นให้เห็นความแตกต่างอยู่ในทีนับแต่นั้นมา
     ภัยคอมมิวนิสต์คุกคามยุโรป
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยุโรปได้อาศัยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ขึ้นครอบงไลก ความเป็นจ้าวโลกได้สิ้นสุดลงเมือสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 จริงอยู่ สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัริขึ้นดดยเหตุหนึ่งมาจากการที่บรรดามหาอำนาจไม่ยินยิมให้เอยมันตั้งตนเป็นใหญ่ในยุโรป ด้วยถือว่าเป็นการละเมิดดุลยภาพแห่งอำนาจและบรรดมหาอำนาจได้ย้ำเสมอว่า การปราบเยอมนเป็นการสถาปนาสันติภาพคืนสู่โลกใหม่ เป็นการทำสงครามเพื่อล้างอธรรมประชาชาตได้คาดหวังสันติสุขนั้นเช่นกัน แต่เมือสงครามโลกยุติลงในกลางปี 1945 สรรพสิ่งได้แปรเปลี่ยนไปอย่างผิดความคาดหวัง
     อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมันล้วนอยู่ในสภาพที่เสื่อมถอยอำนาจ ยุโรปได้สิ้นสุดการเป็นจ้าวโลก และแม้แต่ชะตากรรมของยุโรปก็อยู่ในดุลยพินิจของสองมหาอำนาจที่มิได้เป็นชาวยุโรปคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต สองอภิมหาอำนาจไลขิตยุโรปตามที่ตนพอใจมากกว่าจะคำนึกถึงผลประโยชน์หลักของยุโรปโดยตรง และเป็นการลิขิตยุโรปบนพื้นฐานแห่งความขัดแย้งหลากหลายระหว่างสองอภิมหาอำนาจต่างแข่งขันกันในการดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการแห่งดุลยภาพแห่งอำนาจ ยุโรปจึงกลายเป็นเสมือนเวทีโรมรันของสองอภิมหาอำนาจนั้นโดยปริยายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งอำนาจทางการเมือง และอุดมการณ์มีบทบาทสำคัญบนเวทีนั้น
     นับแต่สงครามโลกยุติลง ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้กลายเป็นภัยปรากฎตัวตนคุกคามยุโรปแทนที่ลัทธินาซีที่ถูกทำลายล้างลงไป ทั้งนี้ สือบเนื่องมาจากการที่ยุโรปได้เผชิญสภาพเศรษฐกิจทรุดหนักอันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของการเมืองการปกครองด้วย กล่าวคือ การเมืองการปกครองของยุโรปตะวันตกได้เอนเอียงสเมือนถูกเหวี่ยงโอนเอียงไปทางซ้าย ความทุกข์ยกอันเกิดจากเศรษฐฏิจทรถดหนักทำให้ประชาชนคิดแสวงหาวิธีแก้ไขเศรษฐกิจตามแบบอย่างเศรษฐกิจของลัทธิสังคมนิยม รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลผสมกับพรรคการเมืองที่นิยมลัทธิสังคมนิยม หรือหยิบบืมระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาทอลองแก้ไขเศรษฐกิจของตน รัฐบาลอังกฤษเป็นรัฐบาลมาจากพรรคกรรมกร ที่ได้นำเอาวิธการของสังคมนิยมมาใช้ คือ โครงการประหยัด ในฝรั่งเศสเอง แก้ไขเศรษฐกิจของตนด้วยโครงการสวัสดิการสังคม ในอิตาลีรัฐบาลก็เป็นรัฐบาลผสมพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยกับพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ เนเธอร์แลน สวิตเซอร์แลนด์ และสวีเดนก็ได้ใช้โครงการสวัสดิการสังคมและได้ใช้มาตรการสังคมนิยมโดยการโอนกิจการธุรกิจที่สำคัญมาเป็นของรัฐ การเมืองการปกครองที่เอียงซ้ายดังกล่าว ล้วนแสดงอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างมิต้องสงสัย
     ในยุโรปตะวันออก ชะตากรรมนั้นเป็นไปตามาลิขิตของรุสเซย แม้โปแลนด์จะเป็นปัญหาใหญ่ที่มหาพันธมิตรอังกฤษและสหรัฐอเมริกาจะพยายามช่วยเลหือมิให้ตกอยู่ภายใจ้อำนาจของรุสเซีย แต่โปแลนด์หนีไม่พ้นกรงเล็บของหมีขาวไปได้ รุสเซียพร้อมที่จะเสี่ยยงในเรื่องโปแลนด์ แม้จะต้องถึงขนาดสูญเสียความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายมหาพันธมิตรโปแลนด์จึงเป็นกรณ๊หนึ่งที่ทำให้มหาพันธฒิตรต้องร้าวนานอยู่ลึกๆ แล้วตั้งแต่ ปี 1943 และเป็นต้นเหตุสำคัญของสงครามเย็นที่เกิดขึ้นนับแต่นั้นมา ปี 1943 ถือเป็นปีที่รุสเซียประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการรุกรบขับกองทัพเยอมันออกจากยุโรปตะวันออก และกองทัพแดงได้เข้ายึดครองแทนทั้งภูมิภาคนั้น และภูมิภาคบอลข่านจนสำเร็จ  ต้นปี 1945 กองทัพแดงได้ประจำการตั้งอยู่ในภูมิภาคทั้งสองตั้งแต่เหนือ คือ ทะเลบอลติก จดใต้คือทะเลเอเดรียติก ความเป็นจริงนี้ย่อมดูน่าตื่นตระหนกยิ่งกว่าการที่ภัยคอมมิวนิสต์คุกคามยุโรปตะวันตก อาจจะกล่าวได้ว่า สหรัฐอเมริกาและอังกฤษมีส่วนสำคัญด้วยกับการเมืองที่พลิกไปเช่นนั้น เพราะในการประชุมที่ยัลตา สหรัฐอเมริกา และอังกฤษจำต้องยินยอมให้รุสเซียครอบครองยุโรปตะวันออกโดยพฤตินัย เพื่อแลกกับการที่รุสเซียเข้าร่วมปราบญี่ปุ่นในสงครามแปซิฟิก ชะตากรรมของยุโรปตะวันออกจึงถูกลิขิตในที่ประชุมยัลตาครั้งนั้น
      คอมมิวนิสต์รุกคืบหน้าในยุโรปอย่างน่าตื่นตระหนกสำหรับชาวยุโรป แต่ที่นับว่าอันตรายใหญ่หลวงคือ ภัยคอมมิวนิสต์ในกรีซและตุรกีประเทศเพื่อบ้านในเอเซียตะวันออกกลาง
     กรีซเป็นกรณีตัวอย่างเหมือนโปแลนด์ที่ชาวยุโรปมักจะให้ความสนใจสอดส่องกิจการบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่ในอดีต ประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ชี้ชัดว่า ยุโรปสนใจชะตากรรมของกรีซเพียงใด เมือกรีซได้พยายามกู้เอกาชจากตุรกีหรือจักรวรรดิออกโตมันความขัดแย้งด้วยเรืองกรีซได้ขยายตัวไปสู่ความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับบรรดามหาอำนาจตะวันตก และท้ายสุดกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับรุสเซีย รุสเซียเกียวข้องในการช่วยกู้เอกราชกรีซด้วยหวังจะแผ่อิทธิพลเข้าไปในบอลข่าน โดยกำหนดให้กรีซเป็นฐานปฏิบัติการ
     สถานการณ์ในกรีซทรุดลงและมีทีท่าว่าคอมมิวนิสต์อาจจะได้ครอบครองประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจทรุด การเมืองไม่มั่นคงด้วยเหตุเหล่านักการเมืองหังเอียงซ้ายและหัวเอียงขวาก่อเหตุร้ายพิฆาตกัน คอมมิวนิสต์ได้ซ้ำเกติมให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ดดยการส่งเสริมให้มีการนัดหยุดงานทั่วไป และรุสเซียได้เข้าเกี่ยวข้องในเหตุปั่นป่วนของกรีซอีกด้วยการฟ้องร้องต่อองค์การสหประชาชาติ กล่าวโทษเรื่องกองทัพอังกฤษประจำอยู่ในกรีซ สภาพการณ์ดังกล่าวย่อมจะเอื้ออำนายโอกาสให้คอมมิวนิสต์ได้ยึดอำนาจรัฐในเร็ววัน ความข่วยเหลือจากรุสเซยและหล่าประเทศเพื่อบ้านคือ ยูโกสลาเวียแอลบาเนียและบับแกเรีย จะช่วยเร่งให้การปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น อย่างน้อยคอมมิวนิสต์ก็หวังที่จะเปิดฉากทำสงครามและจัดตั้งภาคเหนือเป็นรัฐเอกราชทำนองแบ่งกรีซ เป็นกรีซเหนือและกรีซใต้
     ในวันที่ 3 ธันวา 1946 รัฐบาลกรีซได้ฟ้องร้องต่อองค์การสหประชาชาตกล่าวโทษว่า อังกฤษแทรกแซงกิจการภายใน แตการที่อังกฟษจะวางมือเรื่องกรีซนั้น เป็นเรื่องใหญ่อังกฤษไม่อาจจะยินยอมให้กรีซเป็ฯคอมมิวนสต์ภายใต้ฉายาอำจอิทธิพลของรุสเซีย เพราะการที่กรีซจะเป็นคอมมิวนิสต์ย่อมเป็ฯการเปิดหนทางให้รุสเซ๊ยสามารถแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลจากสองช่องแคบบอสโพรัสและดาร์ดาแนลส์ทะเลเมดิเตอร์เรเนีนยได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อังกฤษไม่สามารถจะนิ่งดูดายได้ ปัญกากรีซกลายเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขโดยเร็วก่อนที่จะสายเกินแก้
     นอกจากปัญหากรีซแล้ว โลกเสรียังต้องประสบกับปัญหาตุรกีอีกระบอบการปกครองของตุรกีมิได้ดีไปกวากรซเท่าใดนัก เพราะเป็นระบอบที่เต็มไปด้วยการประพฤติมิชอบและทุจริตในวงราชการราชการแผ่นดินจงขาดประสิทธิภาพ อำนาจเผด็จการของระบอบการปกครองนั้นมีมาตั้งแต่ ปี 1920 เมื่อเคมาล อตาเตอร์ก ปฏิวัติ การเลือกตั้งทั่วไปใน ปี 1946 ที่เต็มไปด้วยการทุจริตก็ไม่สามรถจะทำให้สถานการณ์ภายในประเทศดีขึ้นในขณะเยวกัน รุสเซียก็ได้ติตามสถานการณ์แล้วเห็นเป็ฯโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 ที่เต็มไปด้วยการทุจริตก็ไม่สามาถจะทำให้สถานการณ์ภายในปะเทศดีขึ้นในขณะเด่ยวกัน รุสเซียก็ได้ต้ตามสถานการณ์แล้วเห็นเป็นโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 รุสเซียก็ได้ติดตามสถานการ์แล้วเห็ฯเป็ฯโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 ที่เต็มไปด้วยการทุจริตก็ไม่สามรถจะทำให้สถานการ์ภายในประเทศดีขึ้นในขณะเดยวกัน รุสเซียก็ได้ติดตามสถานการณ์และวเห็ฯเป็ฯโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 รุสเซียได้ใช้อิทธิพลกดดันตุรกีและข่มขู่จะใช้กำลังทหาร เพื่อบังคับให้ตุรกียกดินแดนส่วนที่อยู่ติกดับบริสวฯเทือกเขาคอเคซัส ให้แก่รุสเซียและต้องการให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อเปิดทางฝายเข้าออกช่องแคบ บอสโพรัสและดาร์ดาแนส์
       การที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายออกครอบคลุมไปทั่วยุโรปดังกล่าว ย่อมทำให้สหรับอมเริกาและอังกฤษไม่อาจจะเห็นเป็นอื่นไปได้ นอกจากจะถือว่า เป็นการขยายอำนาจอาณาเขต ของรุสเซีย ภัยคอมมิวนิสอันปรากฎขึ้นในรูปของการนิยมกรรมวิธีของคอมมิวนิสต์และการส่งเสริมพรรคคอมมิวนิสต์อันปรากฎทั้งในรูปของการนิยมกรรมวิธีของคอมมิวนิสต์และการส่งเสริมพรรคคอมมิวนิสต์พื้นเมืองให้ขึดอำนาจรัฐ ย่อมถือได้ว่าเป็นอันตรายใหญ่หลวงสำหรับฝ่ายสหรัฐอโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การที่รุสเซียได้สร้างระบบรัฐบริวารขึ้นในยุโรปตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...