ลักษณะและปัญหาสังคมซึ่งเกิดจากการแบ่งชั้นทางสังคม
ในการอบรมเลี้ยงดู ครอบครัวชนชั้นสูงและชั้นกลาง ที่พ่อมแมการศึกษาดีหรือมีพื้นฐานดี มักจะเคีงครัดกับบบุตร เน้นในการสร้างนิสัย รักความสะอาด ความสวยงามรู้จักหน้าทีและความรับผิดชอบแต่เด็ก และมักสั่งสอนมิให้ใช้อารมณ์ง่ายๆ ให้เป็นคนสุภาพรักความสงบไม่รุกรานผู้อื่น ซึ่งตรงข้ามกับบุตรของชนชั้นต่ำที่ถูกเลียงมาอย่าง ปล่อยปละละเลย ขาดความเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน จนไม่รู้ถึงระเบียบแบบแผนแห่งชีวิตที่ดีงามในการสัมพันธ์กับผู้อื่น
การจัดลำดับชนชั้นทางสังคม เป็นการแสดงสภานภาพหรือตำแหน่งของบุคคล ในสังคมที่เขาอยู่ ในลักาณะที่ลดหลั่นกันลวงงมา หรือในลักาณะที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน ระบบการจัดลำดับชั้นเกิดจากการที่สมาชิกในสังคม มีการจำแนกแนกกันในเรื่องต่าง ๆเช่นการจำแนกตามฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และอาชีพ เป็นต้น การแยกกันในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจำแนกตามฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษาและอาชีพ เป็นต้น การจัดชั้นของบุคคลอับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมานี้ จึงเป็นการนำไปสู่การจัดระเบียบทางสังคม ที่มีความแตกต่างกันมาก ในแบบแผนความเป็นอยู่ของชีวิตของบุคคล ที่เกี่ยวกับ การแต่งกาย การพูดจา บุคลิกภาพ ทัศนะแห่งชีวิต ความสนใจ แรงจูงใจ ความสามรถ ตลอดจนการดำเนินชีวิตและการอบรมเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
ในการอบรมเลี้ยงดู ครอบครัวชนชั้นสูงและชั้นกลาง ที่พ่อมแมการศึกษาดีหรือมีพื้นฐานดี มักจะเคีงครัดกับบบุตร เน้นในการสร้างนิสัย รักความสะอาด ความสวยงามรู้จักหน้าทีและความรับผิดชอบแต่เด็ก และมักสั่งสอนมิให้ใช้อารมณ์ง่ายๆ ให้เป็นคนสุภาพรักความสงบไม่รุกรานผู้อื่น ซึ่งตรงข้ามกับบุตรของชนชั้นต่ำที่ถูกเลียงมาอย่าง ปล่อยปละละเลย ขาดความเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน จนไม่รู้ถึงระเบียบแบบแผนแห่งชีวิตที่ดีงามในการสัมพันธ์กับผู้อื่น
ความแตกต่างทั้งหลายที่กล่าวมา ได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตบุคคลส่วนใหญ่อย่างมาก และกลายเป็นปัญหาสังคมอันใกญ๋หลวง ควบคู่กับความเจริญของโลก
ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งของสังคมปัจจุบัน ที่กอ่ไกดความกินแหนงแคลงใจความขมขื่น และการต่อสู้กันระหว่างชนชั้น ก็คือ “ความไม่เท่าเทียมกันของชีวิตของมนุษย์ในสังคม”
ทฤษฎีของมาร์กซ์แยกความแตกต่างโดยใช้อำนาจทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องวัด พวกที่มีกรรมสิทธิในปัจจยการผลิตเป็นพวกหนึ่ง พวกไม่มีกรรมสิทธิเป็นอีกพวกหนึ่ง ส่วนฝ่ายตะวันตกมีความเห็นว่า การต่อสู้ทางการเมืองเกิดจากมูลเหตุจูงใจของปันเจกชนเป็นส่วนสำคัญที่สุด ความสามารถส่วนบุคคลและสภาวะทางจิตใจเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้ทางการเมือง ในสมัยกลาง นักเทววิทยาอธิบายว่าคนมีกิเลส 3 อย่าง คือ กิเลสทางร่างกาย ทางจิตใจ และอำนาจ อำนาจคือกิเลสที่จะแสวงหาประโยชน์และความสุขจากการปกครองสังคม เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการต่อสู้ทางการเมือง ต่อมพวกเสรีนิยมใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวของแต่ละบุคคลในการที่ทำให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุดใช้แรงให้น้อยที่สุด เป็นฐานของความขัดแย้งในสังคม ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเห็นว่าความสำคัญของปัจจัยทางจิต คือ เมตตาธรรมของกลุ่มผู้นำ
ซิกมันด์ ฟรอยด์
ค้นหาหลักฐานเพื่อใช้หักล้างหลักการของมาร์กซ์ โดยพยายามหาสาเหตุอื่นว่าเป็นปัจจัยของความแตกต่างระหว่างคนมากกว่าความแตกต่างระหว่างชนชั้น ทฤษฎีดังกล่าวนี้บางทีก็เกินความจริงไปมาก เช่นการพยายามที่จะให้เหตุผลวาการต่อสู้ทางการเมืองทุกอย่างมีสาเหตุมาจากพื้นฐานทางจิตที่วุ่นวายของมนุษย์เท่านั้นความพยายามที่จะหยั่งลึกให้ถึงจิตใจที่เป็นส่วนลึกล้ำของมนุษย์ เป็นผลให้การวิเคราะห์ทางจิตยังสับสนอยู่มาก และแตกต่างกันตามแต่คำวิจารณ์ของแต่ละผุ้เสนอคำอธิบาย ในที่นี้จะกล่าวโดยย่อ ๆ พอให้มีความเข้าใจอย่างกว้าง ๆ ในเรื่องพื้นฐานทางจิตใจทีเกี่ยวข้องกับการขัดแย้งทางการเมืองคือ
1 ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญในวัยเด็ก ซึ่งเป็นระยะที่มนุษย์มีความสนุกสนานเพลิดเพลินและเสรีภาพโดยไม่ต้องอยู่ใต้กฎหมายอันเข้มงวดของสังคม ถึงแม้เขาไม่สามารถบังคับคนอื่นให้ตามใจได้ แต่คนอื่นก็ไม่สามารถบังคับให้เขาเลิกทำตามความต้องการของตัวเองได้ วัยเด็กจึงเป็นวัยแห่งความเพลิดเพลินโดยแท้ มนุษย์เมื่อโตขึ้นก็ยังหวลคิดถึงสวรรค์ที่หายไปพร้อมกับวัยเด็กอยู่เสมอ ต่อมาความจำเป็นในการที่ต้องเข้าสู่ชีวิตทางสังคมได้ทำให้มนุษย์ต้องหัมารับหลักแห่งความเป็นจริงแทนที่หลักการแห่งความสนุกเพลิดเพลิน การยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคมและละทิ้งสัญชาติญาณตั้งเดิม รวมทั้งความอยากต่าง ๆ ด้วย แต่ความต้องการความสนุกสนานก็ยังฝังอยู่ในตัวบุคคล การขัดแย้งกันระหว่างชีวิตในสังคมกับสัญชาติญาณของความต้องการความสนุกเพลิดเพลินจึงก่อให้เกิด “ความวุ่นวายแลความกดดันทางจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการขัดแย้งในสังคม
นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ว่า อารยธรรมของสังคมอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มของระบบกลไก ประสิทธภาพและการแข่งขันทำให้สัญชาติญาณของความสนุกเพลิดเพลินแบบไร้เดียงสาต้องถูกทำให้หมดสิ้นไปเพื่อจะอยู่รอดได้ในสังคม ลักษณะดังกล่าวนี้อาจนำมนุษย์ไปสู่ความรู้สึกก้าวร้าวและการใช้กำลังรุนแรงเป็นการชดเชยกัน ฟรอยด์ กล่าวว่า “การก้าวร้าวเป้นผลจากการปฏิวัติของสัญชาติญาณต่อโลกที่ไม่รู้เรื่องเพศอย่างเพียงพอ หรือการขาดแคลนสิ่งที่ต้องการ”เราจะเห็นว่าทฤษฎีนี้ขัดกันกับทฤษฎีที่ว่า พัฒนาการทางเทคนิคและการยกระดับการครองชีพให้สูงขึ้นเป็นที่มาของความตึงเครียด และทำให้มีการรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมได้ง่ายขึ้น แต่ทฤษฎีของบราวน์กลับเห็นว่าความก้าวหน้าทางเทคนิคทำให้สัญชาติญาณดั้งเดิมของมนุษย์ไม่มีที่จะอยู่ ดังนั้นมนุษย์จึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความก้าวร้าว รุนแรง เผด็จการ ซึ่งล้วนแต่ยิ่งทำให้เสริมความแตกแยกยิ่งขึ้นกว่าที่จะรวมกันไว้ ทฤษฎีเรื่องคงามกดดันทางจิตจึงถูกนำเอามาใช้เป็นพ้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการวิเคราะห์ว่า จิตของมนุษย์แต่ละคนมีความเกี่วข้องกับเรื่องทางการเมืองอย่างไรบ้าง ต่อมา ฟรอยต์ มีความเห็ฯเพ่มเติมว่า อารมร์ก้าวร้าว รุนแรงไม่ได้อยู่กับสัญชาติญาณความสนุกเพลิเพลินของวัยเด็กที่ถูกอัดไว้ภายในอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยความรู้สึกกลัวตายด้วย กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทอาจจะถูกกระตุ้นให้มีคามสนุกเพลิดเพลินพร้อมกันไปกับการพยายามหาทางทำลายด้วยวิธีต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำลายตัวเองหรือทำลายตัวเองหรือทำลาผุ้อื่น
อารมณ์ก้าวร้าว การใช้กำลังรุนแรง การชอบใช้อำนาจเหนือผู้อื่น อาจเป็นผลมาจากการแสดงออกเอพื่ชดเชยในสิ่งที่ขาดไป หรือซ่อนเร้นความอ่อนแอภายใน สำหรับเรื่องนี้ได้มีการค้นคว้าที่มีชื่อเสียงขึ้นในสหรัฐในปี 1950 ว่าด้วยการวิเคราะห์ถึงลักษณะของคนที่ชอบใช้อำนาจข่มขู่ผู้อื่น นักวิเคราะห์ทางจิตชาวอเมริกันอธิบายว่า โดยทั่วไปแล้วทัศนคติของพวกอนุรักษ์นิยมทางการเมืองมีความสัมมพันธ์กับลักษณะบางชนิดของโครงสร้างทางจิต บุคคลิกภาพนิยมอำนาจถูกกำหนดขึ้นจากการยอมทำตามขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันอยู่อย่างเคร่งครัด โดยการยอมรับนับถืออย่างงมงายในระบบค่านิยมั้งเดิมต่าง ๆ โดยการเคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจอย่างซื่อสัตรย์ และโดยการมองสิ่งรอบ ๆ ตัวในสังคมอย่างผิวเผิน แต่กลับตัดสินส่งที่เป็นนามธรรมอย่างเด็ดขาด เช่น ดีก็ดีบริสุทธิ เลวก็เลวบริสุทธิ หรือดำก็ดำสนิท ขาวก็ขาว ไม่มีปะปนกัน ทุกสิ่งทุกอย่างกำหนดไว้อย่างเป็นระเบียบจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ผู้มีกำลังอำนาจสมควรเป็นผู้ออกคำสั่ง เพราะว่าเขาเป็นคนดีที่สุด ผู้อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะอยู่ในสภาพต่ำกว่า เพราะเขาด้อยกว่าในทุกเรื่องคุณค่าของมนุษย์ถูกกำหนดจากบรทัดฐานภายนอกที่สร้างขึ้นมาจากสภาพสังคมเท่านั้น ทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของการชอบใช้อำนาจกับความบ้มเหลวส่วนตัวของุคคลอธิบายเพ่มเติมว่าคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่สามารถสร้างบุคลิกเฉพาะตัว จะผูกพันตัวเองกับสังคมภายนอก และยึดมั่นว่าความมั่นคงของระเบียบสังคมเป็นเป็นเสมือนความั่นคงของบุคคลิกภาพของตน ทั้งนี้เป็นการหาดุลยภาพทางจิตของยุคคลในการที่จะใช้ปกป้องระเบียบของสังคมที่มีอยู่ และเป็นที่มาของความรู้สึกก้าวร้าวและความเกลียดต่อฝ่ายตรงข้าม ดดยเฉพาะต่อผู้ที่คิดจะเปลี่ยนระเบียบของสังคมที่มีอยู่บุคคลิกภาพนิยมอำนาจจึงผูกพันอยู่กับพรรคอนุรักษ์นิยม ถ้าระเบียบของสังคมถูกคุกคามเมือใด ความรู้สึกก้าวร้าวของฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะเพิ่มขึ้นตามกันไป และอาจจะรุนแรงถึงขนาดผลักดันให้ใช้วิธีในลักษณะ “ฟาสซิสม์”ได้
ทฤษฎีของ Eysenk
(นักสังคมจิตวิทยา) ว่าด้วยท่าทีและแนวโน้มทางการเมือง ได้อธิบายถึงความแตกต่างที่สำคัฐเกี่ยวกับท่าที่และแนวโน้มและการเมืองของบุคคลแต่ละคนโดยเฉพาะอยางยิงการขัดกันระหว่างฝ่ายขวากับฝ่ายซ้ายสมัยก่อนหน้านี้การจัดประเภทแนวดน้มการเมืองเป็นการวิเคราะห์ด้านเดียว โดยการจัดแกนซ้าย-ขวา หรือแกนนิยมอำนาจ กับนิยมประชาธิปไตย แต่ Eysenk จัดประเภทด้วยการวิเคราะห์หลายด้านพร้อมกันไป กล่าวคือ เขาแบ่งสองฝ่ายที่มีความแตกต่างกันในพื้นฐานเอาไว้ตรงกันข้ามกันก่อน คือซ้ายกับขวาหรือพวกหัวก้าวหน้า กับพวกอนุรักษ์นิยม และความแตกต่างนั้นก็มีความเมหือนอยู่ด้วยคือความแข็งหรือจัดกับความอ่น เช่นในฝ่ายขวาก็มีทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมธรรมดากับพวกอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรง ที่เราเรียกกันว่าขวาอ่อนและขวาจัด ส่วนทางฝ่ายซ็ยก็มีทั้งพวกหัวอ่อนและพวกนิยมความรุนแรง กลุ่มช้ายอ่อนก็คือพวกสังคมนิยมประชาธิปไตย ซ้ายรุนแรงก็คือกลุ่มคอมมิวนิสต์นี้การวิเคราะห์แนวโน้มทางกาเมืองแบบนี้เป็นการหาปัจจัยพื้นฐานทางจิตที่มีความสัมพันธ์กับท่าที่ทางการเมืองของปัจเจกชน ด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ การแยกขวากับซ้ายไม่ค่อยมีปัญหาถกเถียงมากนัก แต่การแยกระหว่างแข็ง อ่อน หรือที่มีกลุ่มความคิดอื่นที่แยกนักปฏิบัติ หรือการจำแนกประเภท ของวิลเลียม เจมส์ เรื่องจิตใจอ่อนและจิตใจแข็ง ยังมีปัฐหาภกเถียงกันอีกมาก เพราะมีส่วนของการศึกษาที่ต้องใช้ปัจจัยอีกลายอย่างอันเป็นภูมิหลังของแต่ละคนซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดแน่ชัดไม่ได้
ขวาและซ้าย ปฏิรูปและปฏิวัติ
ในการแบ่งซ้ายแบ่งขวาในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อจะสามารถทำความเข้าใจได้อย่างกว้าง ๆ ว่าแตะละฝ่ายมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองอย่างไรในสงคมและละสังคมไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ พัฒนแล้วหรือยังไม่พัฒนา จะต้องประกอบด้วยพวกที่พอใลพวกที่ไม่พอใจ การต่อสู้ทางการเมืองก็คือการต่อสู้ระหว่างฝ่ายที่พอใจในระเบียบที่มีอยู่แล้ว และต้องการรักษาไว้ เรียกว่า ฝ่ายขวา และฝ่ยี่ไม่พอใจระเยีบที่เป็นอยู่ ดังันั้นจึงต้องการที่ใหมีการเปลียนแปลง ฝ่ายนี้เรียกว่า ฝ่ายซ้าย แต่ละฝ่ายต่างก็มียุทธศาสตร์เฉพาะของตน เป็นแนวทางไปสู่ชัยชนะทางการเมืองในที่สุด
การแบ่งกลุ่มปฏิวัติและกลุ่มปฏิรูปภายในฝ่ายซ้ายเป็นเรื่องที่ได้ทำกันมานานจนเป็ฯธรรมชาติของฝ่ายซ้าย กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงระเบียบในสังคมทำได้ 2 วิธี วิธีของกลุ่มปฏิวัติคือการทำลายระบอบสังคมที่เป็นอยู่ ส่วนวิธีของกลุ่มปฏิรูปคือการค่อยๆ ทำลายระเบียบที่มีอยู่อย่างค่อยเป็นค่อยไป เปลี่ยนไปที่ละอย่าง ๆ ขณะเดียวกันก็นำระเบียบใหม่เข้ามาแทนที่ทุกครั้งที่มีการทำลายของเก่า
ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ภายในพรรคสังคมนิยมจะมีกรโต้เถียงและขัดแย้งกัยอย่างรุนแรงเมอระหว่างกลุ่มปฏิวัติและกลุ่มปฏิรูป แต่ต่อมาในยุคปัจจุบันนี้เมื่อพรรคสังคมนิยมเลิกล้มจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติ การขัดแย้งกันเองในเรื่องดังกล่าวก็พลอยยุติไปด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามสำหรับพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นหลุ่มปฏิวัติทั้งหมด ปัญหาการขัดแย้งระหว่างกลุ่มปฏิรูปและกลุ่มปฏิวัติก็ไม่มีไปด้วย
การโต้เถียงระหว่างกลุ่มปฏิรูปและกลุ่มปฏิวัติในค่ายฝายซ้ายนั้น บางทีก็เป็นเรื่องของการใช้อารมณ์ บางที่ก็เป็นเรื่องเหตุผล กล่าวคือการปฏิวติเป็นความฝันเดิมของพรรคสังคมนิยมในฝรั่งเศส แต่เป็นอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์โดยทั่วไป ดังนั้นกลุ่มปฏิรูปในค่ายซ้ายจึงถูกมองในแง่ที่ว่าเป็นกลุ่มที่ทรยศต่อหลักการในสายตาของกลุ่มปฏิวัติ ส่วนในแง่ของเหตุผลกลุ่มปฏิวัติมีความเห็นว่าการปฏิรุปเป็นเพียงภาพหลอนเท่านั้น เพราะว่าการทำลายระเบียบเก่าของสังคมจะค่อย ๆ เผลี่ยนไปที่ละอย่างไม่ได้ วิธีการปฏิรูปนั้นจะทำได้ก็แต่เพียงเรื่องที่สำคัญอันดับรองเท่านั้น แต่เมือไดที่ฝ่ายซ้ายเข้าไปแตะต้องส่วนที่เป็นแก่นเป็นหลักของฝ่ายขวา แล้วฝ่ายขวาจะต้องโต้ตอบด้วยกำลังรุนแรงและโดยทั่วไปแล้วฝ่ายขวาก็เป็นฝ่ยที่กำลังกุมอำนาจรัฐอยู่ซึ่งก็เป็นฝ่ายที่ต้องชนะอยู่ดี กล่าวโดยสรุปแล้ว ยุทธศาสตร์ของฝ่ายซ้ายก็มีอยู 2 แบบคือ แบบที่ใช้การปฏิรูปและแบบที่ใช้การปฏิวัติ พรรคการเมืองบางพรรคก็นิยมการปฏิรูและบางพรรคก็นิยมวิธีการปฏิวัติ
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นทำให้เห็นว่ามีการกระจายความแตกต่างของค่ายระหว่างขวากับซ้ายไปเป็นพื้นฐานยุทธศาสตร์การเมืองที่กำหนดจากจุดมุ่งหมายและวิธีการ 4 แบบ ด้วยกันคึอ ขวาจัด ขวาอ่อน ซ้ายปฏิรูป ซ้อยปฏิวัติ การต่อต้านหรือการเป็นแนวร่วมระหว่างกันในท่าทีการเมือง 4 แบบนี้ขึ้นอยู่กับสถานะการ์ที่แตกต่างกันในแต่ละสังคมแต่ละสมัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น