วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Sigmund Freud

            ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดที่โมเรเวีย เมื่อ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1856 และถึงแก่กรรมในลอนดอน เมื่อ 23 กันยายน ค.ศ.1939 เขาอาศํยอยู่ในเวียนนา เกือบ 80 ปี ในวัยเด็กเขาปรารถนาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ และได้เลือกศึกษาวิชาแพทย์ศษสตร์ในมหาวิทยาลัยเวียนนา ปี 1873 เขาจบการศึกษาใน 8 ปีต่อมา ฟรอยด์ไม่เคยตั้งใจเรียนแพทย์ แต่เนื่องจากงานวิทยาศาสตร์ได้รับค่าตอบแทนน้อย โอกาสก้าวหน้าทางวิชาการจำกัดสำหรับยิว และความจำเป็ฯทางครอบครัวบังคับให้เขาต้องทำงานส่วนตัวซึ่งกลายเป็ฯผลดีให้เขามีเวลาวิจัย ผลิตงานเขียน และได้รับชื่อเสียงโด่งดัง


           ความสนใจในประสาทวิทยา เป็นเหตุให้ฟรอยด์ฝึกฝนการรักษาอาการโรคประสาท ซึ่งอาศัยศิลปการรักษาตามแบบฉบับของสมัยนั้น ฟรอยด์ได้สมัครเป็นลูกศิษย์ของจิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส ชื่อ ยีน ชาโค Jean Chacot เป็นเวลา 1 ปี เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคนิครักษา ชาโคใช้การสะกดจิตในการรักษาอาการฮีสทีเรีย ฟรอยด์ลองใช้การสะกดจิตกับคนไข้แต่เขาไม่พอใจกับผลที่ได้นัก เมื่อเขาได้ทราบว่า โจเซฟ บรูเออร์ Joseph Breuer  ชาวเวียนนาใช้วิธีใหม่รักษาคนไข้โดยการให้พูดถึงอาการและค้นหาสาเหตุ ฟรอยด์ก็ได้เขามาร่วมงานกับบรูเออร์ และพบว่าวิธีการดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการฮีสทีเรีย
           ต่อมาฟรอยด์แยกตัวจากบรูเออร์ เนื่องจากความเห็นขัดแย้งกันเรื่องสาเหตุทางเพศของอาการฮีสทีเรีย ฟรอยด์ เชื่อว่าความขัดแย้งเรื่องเพศเป็นสาเหตุของโรคฮีสทีเรีย บรูเออร์มีความเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องเพศ ฟรคอยอ์ได้พัฒนาความคิดของเขาต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของเขา คือ การแปลความหมายความผัน ซึ่งปลุกความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เขามีลูกศิษย์มากมายหลังจากนั้นไม่นานนัก อาทิ เอิร์นเนซ โจนส์ จากอังกฤษ คาร์ลจุง ชาวซูริค เอ.เอ.บริลล์จากนิวยอร์ก แซนเดอร์ เฟรนซี่ ชาวบูดาเปสท์ คาร์ล อับราฮัม ชาวเบอร์ลิน และอัลเฟรด แอดเล่อร์ ชาวเวียนนา

           ตัวขับเคลื่อนของบุคลิกภาพ
ในสมัยศตวรรษที่ 19 มนุษย์ถูกมองในฐานะระบบพลังงานที่ซับซ้อน พลังงานต่าง  ได้รับมาจากอาหารที่หล่อเลี้ยงร่างกายและถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์หลายอย่างเป็นต้นว่า การหมุนเวียนของโลหิต การหายใจ การเคลื่อนไหว การับรู้ การคิดและการจำ เป็นต้น ฟรอยด์ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างที่นำมาใช้ในการหายใจหรือย่อยอาหาร กับพลังงานในการคิดและการจำฟรอยด์เห็นว่าถ้าเป็นการทำงานทางจิตวิทยา เช่น การคิดก็น่าจะเรียว่าพลังงานจิต ตามความเชื่อเดิม พลังงานอาจแรสภาพไปสู่สภาพต่างๆ แต่ไม่มีการสูญหายไป ดังนั้นพลังงานจิตก็ย่อมจะเปลี่ยนเป็นพลังงานทางกาย หรือในทางกลับกัน อิด id จะเป็นสื่อให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจิตและพลังงานทางกายกลับไปกลับมาและเกิดบุคลิกภาพขึ้น ในการพิจารณาตัวขชับเคลื่อนของบุคลิกภาพหรือสาเหตุที่ทำให้บุคลิกภาพทำงานจึงต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของสิ่งต่อไปนี้
      สัญชาติญาณ Instict เป็นตัวแทนทางจิตวิทยาของการตื่นตัว ภายในร่างกายที่มีมาโดยกำเนิด ตัวแทนทางจิตมีชื่อเรียกว่า wish ความปรารถนา และการตื่นตัวจะรียกว่า ความต้องการ need เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราอาจอธิบายว่าสัญชาติญาณ คือ ธรรมชาติของความปรารถนา คือ เกิดภาวะขาดแคลนอาหารขึ้นตามเนื้อเยื่อของร่างกาย ตัวแทนหรือคำอธิบายทางจิตในสถาพที่คนหิว คือ เกิดความปรารถนาอาหาร หรือเกิดความปรารถนาตอบสนองวามหิวโ๕ดยอคาหารคนั่นเอง ความปรารถนา อยู่ในฐานะของแรงจูงใจที่นำไปสู่พฤติกรรมดังนั้นคนหิวจะแสวงหาอาหารด้วยเหตคุนี้สัญชาตคิญาณ๕ จคึงเปรคียบเสมือนตคัวการคในการขับเคลื่อนบุคลิกภาพ ไม่เพียงแต่ผลักดันบุคลิกภาพเท่านั้น แต่ยังกำหนดทิศทางในการแสดงพฤติกรรมอีกด้วย หรือ กล่าวได้ว่าสัญชาติญาณ ควบคุมและเลือกปฏิบัติทำให้บุคคล มีความไวต่อสิ่งเร้าบางประเภทเป็นพิเศษ เช่น คนหิวจะไวต่อสิ่งเร้าที่เป็นอาหารมากกว่าอย่างอื่น คนที่เกิดความต้องการทางเพศเลือกตอบนสนองสิ่งเร้าที่เย้ายวนทางเพศมากกว่า
     ฟรอยด์เห็นว่า ความตื่นตัวซึ่งเกิดจากการได้รับสิ่งเร้าภายนอกมีบทบาทในการทำงานของบุคลิกภาพน้อยกว่าสัญชาติญาณ และมีความซับซ้อนน้อยกว่าความต้องการภายในร่างกายสิ่งเร้าภายนอกเราสามารถหลีกหนีได้ แต่เราหนีความต้องการภายในไม่ได้ แม้ว่าฟรอยด์จะให้ความสำคัญสิ่งเร้าภายนอกน้อยกว่า เขาก็มิได้ปฏิเสธความสำคัญของมันจะเห็นได้จากการอธิบายทฤษฎีวามวิตกกังวลของฟรอยด์
     การทำงานของสัญชาติญาณ เป็นไปเพื่อลดความเครียด จึงทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมจนกว่าความเครียดจะหมดไปหรือลอน้อยลง aim ของสัญชาติญาณมีลักษณะถอยหลัง เพราะต้องการจะกลับไปสู่สภาพก่อนเกิดความเครียดหรือก่อนเกิดสัญชาติญาณ สัญชาติญาณจึงมีัลักษณะอนุรักษ์ของเก่า การทำงานของสัญชาติญาณจึงเกิดขึ้นซ้ำๆ ตลอดเวลาเป็นวัฏจักรวนเวียนเช่นนี้ ฟรอยด์เรียกลักษณธงานซ้ำแล้วซ้่ำอีกของสัญชาติญษณว่า repetition compulsion
     soure(แหล่งผลิตสัญชาติญาณ) และ aim ของสัญชาติญาณจะคงที่ตลอดชีวิต ยกเว้น แหล่งผลิตจะเปลี่ยนหรือสิ้นสุดลงเนื่องจากวุฒิภาวะทางกาย หรือเกิดสัญชาติญาณใหม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากร่างกายพัฒนาความต้องการใหม่ขึ้นมา ในทางตรงกันข้าม กิจกรรมในการสนองความต้องการจำแนกออกมากมายตลอดเวลา การที่กิจกรรมสนองความต้องการ แตกแยกออกไปมากเนื่องจากพลังงานจิตถูกทดแทนเมือ กิจกรรมสนองตอบบลางอย่างเกิดขึ้นไม่ได้เพราะไม่เหมาะสมขัดกับคุณงามความดีหรือถูกกีดขวาง พลังงานจิตจะหันเหไปสู่กิจกรรมใหม่จนกว่าจะค้นพบกจิกรรมที่เป็นไปได้ พฤติกรรมที่เกิดจากการทอแทน ของพลังงานจิตถือว่าเป็นสิ่งที่สัญชาติหามาได้ เช่นการตอบสนองทางเพศของเด็ก เมื่อถูกบังคับให้เลิกเด็กจะหาสิ่งทดแทน แต่ข้อสำคัญคือ เป้าหมายของสัญชาติญาณมิได้เปลี่ยนแปลง คือการกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อความสุขทางเพศ
     การทดแทนของพลังงานจิต เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของบุคลิกภาพ ความสนใจความชอบ รสนิยม นิสัย และทัศนคติ ล้วนเกิดจากการทอแทนพลังงานจิตของกิจกรรมที่แท้จริงทั้งนั้นหรือกล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สัญชาติญาณแสวงหาได้ในเงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมทฤษฎีการจูงใจของทฤษฎีวางอยู่บนความเชื่อว่าสัญชาติญาณคื้อที่มาของพฤติกรรมของมนุษย์
     ฟรอยด์ ให้ความสนใจกับกับสัญชาติญาตแห่งการอยู่รอด สนองจุดมุ่งหมายในการดำรงไว้ซึ่งชีวิตและการแพร่พันธ์ ความหิว ความกระหาย และความต้องการทางเพศจัดอยู่ในสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด พลังงานที่ก่อตัวขึ้นเพื่อการอยู่รอดเรียกว่า ลิบิโด
     ความต้องการทางเพศ ฟรอยด์เชื่อว่าในปฐมวัยเกือบทุกอย่างที่เด็กกระทำสืบเนื่องจากสัญชาติญาณทางเพศ ซึ่งกระจายอยู่หลายแห่งตามร่างกายสัญชาติญาณทางเพศก็มากมายหลายความว่าเกิดจากบริเวณต่างๆ ของร่างกายที่เกิดวามต้องการนี้ บริเวณร่างกายที่ทำให้เกิดความต้องการทางเพศขึ้นมีชื่อเรียกว่า eroge nous zones ซึ่งหมายถึงบางส่วนของผิวหรือเยื่อบุอัวัยวะที่มีความไวต่อการตื่นตัวสูงมากและบุคคลจะมีความสุขเมื่อปัดเป่าความตื่นตัวให้หมดไป บริเวณนี้ได้แก่ริมฝีปาก และช่องปาก การตอบสนองของบริเวณนี้ได้แก่การดูดกลืน อวัยวะขับถ่ายการตอบสนองคือการขับถ่าย และอวัยวะเพศ การตอบสนองคือการนวดหรือถู ในวัยเด็กสัญชาติญาณทางเพศจะเปนอิสระจากกัน แต่เมือย่างเข้าวัยรุ่นจะปะปนและมีเป้าหมายเพ่ือการสืบพันธ์
      สัญชาติแห่งความตาย ฟรอยด์เรียกว่า สัญชาติญษณแห่งการทำลายอีกชื่อหนึ่งมีการทำงานเด่นชัดน้อยกว่าสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด ท้ายที่สุดคนเราต้องตาย ความจริงอันนี้ทำให้ฟรอยด์กล่าวว่า "จุดมุ่งหมายของทุกชีวิติคือวามตาย" ความปรารถนาอันนี้เป็นจิตใต้สำนึกเขาไม่ได้แจงให้เห็ฯที่มาทางกายของสัญชาติญาณแห่งความตาย และไม่ได้ให้ชื่อพลังงานแห่งความตายไว้ ความเชื่อเบ้องต้นในเรื่องความตายคของฟรอยด์สืบเนื่องจากหลักความคงที่ของเฟชเน่อร์ ซึ่งกล่าวว่าขบวนการต่าง ๆ ของชีวิตมีแนวโน้มเพื่อกลับไปสู่โลกแห่งความไม่มีชีวิต ฟรอยด์อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการมาจากแรงกระทำของจักรวาลต่อสสารที่ไม่มีชีวิต การมีชีวิตเป็นสภาพที่ไม่ควที่และจะถอยกลับไปสู่สภาพไร้ชีวิตตามเดิม
      สิ่งที่หามาด้ของสัญชาติญาณแห่งความตาย คือ แรงขับของความก้าวร้าว ความก้าวร้าวคือ การทำลายตนเองที่เปลี่ยนออกมาเป็นสิ่งอื่นแทนเนื่องจากความปรารถนาความตายถูกขัดขวางโดยสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด ฟรอยด์ใช้เวลานานกว่าจะยอมรับว่าความก้าวร้าวเป็นแรงจูงใจสำคัญและมีอำนาจเช่นเดียวกับความต้องการทางเพศ
     การกระจายและการใช้พลังงานจิต The distribution and utilizaion of Phychic Engery เนื่องจากสัญชาติญษณมีผลให้เกิดการใช้พลังงานของระบบ id ego superego การขับเคลื่อนของบุคลิกภาพ จึงรวมถึงการแจกจ่ายพลังงานของระบบทั้ง 3 ซึ่งแข่งขันกันใช้พลังงานและควบคุมระบบอื่นถ้าระบบหนึ่งเข้มแข้้งขึ้น อีก 2 ระบบจะ่อนแอลง นอกจากพลังงานใหม่เพิ่มขึ้นในระบบ  การทำงานของบุคลิกภาพ ประกอบไปด้วยการทำงานของระบทั้ง 3 ซึ่งย่อมเกิดความขัดแย้งต่อต้านกันของระบบต่างๆ และส่งผลออกมาสู่บุคลิกภาพ
     ความวิตกกังวล Anxiety โลกภายนอกเป็นแหล่งผลิตสิ่งที่นำมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็มีส่วนในการปรับบุคลิกภาพด้วยเนื่องจากมีทั้งอันตรายและความไม่มั่นคงเท่าๆ กับสิ่งทีพึงปรารถนา ด้วยเหตุนี้สิ่งแวดล้อมจึงสามารถเพิ่มความเครียดให้กับบุคคลได้ และมีผลให้เกิดการทำงานของบุคลิกภาพ
      ปฏิกิริยาของบุคคลเมื่อกำลังจะได้รับอันตรายจากภายนอก คือ ความกลัว ถ้าสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความกลัวท่วมท้ันซึ่ง ego ควบคุมไม่ได้ อีโก้ จะเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ฟรอยด์แบ่งความวิตกกังวลออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
             ความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายจากภายนอก
             ความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวว่าจะไม่สามารถควบคุมสัญชาติญาณไว้ได้ ความกลัวในลักษณะนี้เป็นเหตุให้บุคคลแสดงอาการบางอย่างเพื่อจะถูกลงโทษ ความวิตกกังวลมิได้เกิดจากความกลัวสัญชาติญาณนั้น ๆ แต่เกิดวามกลัวการถูกลงโทษ เนืองจากทำตามสัญชาติญาณดังกล่าว มีพื้นฐานมาจากความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายเพราะว่าพ่อแม่และอำนาจต่างๆ ลงโทษเด็กเมือกระทำสิ่งที่รุนแรง
             ความกลัวผิดศีลธรรม เนื่องจากระบบซูเปอร์อีโก้พัฒนาไปไกลมาก ทำให้บุคคลรู้สึกสำนึกบาป เมื่อทำหรือเพียงแต่คิดจะทำสิ่งที่ขัดต่อศีลธรรม มีพื้นฐานมาจากความกลัวอันตรายเช่นกัน
             ความวิตกกังวลที่ไม่สามารถวัดได้ อาทิ การเกิด ชีวิตใหม่ถูกคุกคามโดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนและไม่สามารถจะปรับตัวได้

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Behavioral (พฤติกรรม)

        การศึกษพฤติกรรมจะช่วยให้ทราบถึงลักษณะนิสัยของมนุษย์ซึ่งประกอบด้วย ความ เชื่อค่่านิยม และบุคลิกภาพ และยังมีสิ่งกำหนดพฤติกรรมและกระตุ้นพฤติกรรมอีกจำนวนหนึ่ง เช่น ทัศนคติ รวมทั้งสถานการณ์ต่าง  จึงเห็นได้ว่า สิ่งที่จะมากำหนดพฤติกรรมมีอยู่มากมาย หากนำมาปรับเข้ากับการวิเราะห์โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์
       สิ่งที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ แยกเป็น ๒ ส่วน
            ๑. ลักษณะนิสัยของมนุษย์
            ๒. สิ่งที่ไม่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยของมนุษย์
            โดยเฉพาะลักษณะนิสัยของมนุษย์จะมีลักษณะ ๓ ประการ คือความเชื่อ ค่านิยม และบุคลิกภาพ นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมอีก เช่น สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมและความเข้มข้นจากสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม ทัศนคติ สภานการณ์
             ในการศึกษาพฤติกจึงต้องใช้หลักจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) สังคมวิทยา (Socialogy) และมนุษย์วิทยา (Anthrology) เข้าช่วย นอกจากนี้ยยังต้องมีการเรียนรู้ทางด้านสถิติเพื่อการจัดสรรข้อมูล รวมทั้งการทดสอบความสัมพันธ์ในด้านการคำนวณ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทราบถึงพฤติกรรมศาสตร์ หรือกล่าวโดยสั้น ๆ ของแนววิเคราะห์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเมือง คือ การนำความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์และจิตวิทยามาผสมผสามช่วยกันอธิบายถึง พฤติกรรมของมนุษย์
            
             ๑. ลักษณะนิสัยของมนุษย์  หมายถึงสิ่ง ๓ ประการนี้คือ ความเชื่อ ค่านิยมและบุคลิกภาพ
             - ความเชื่อ หมายถึงสิ่งที่บุคคลคิดว่า การกระทำบางอย่างหรือปรากฎการณ์บางอย่างหรือสิ่งของบางอย่าง หรือคุณสมบัติของสิ่งของบุคคลบางอย่าง มีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริง ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือการที่บุคคลหนึ่งคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ของข้อเท็จจริง คือเขาคิดว่าข้อเท็จจริงมันเป็นเช่นนั้น ซึ่งความคิดของเขาอันนี้อาจไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็ได้แต่ถ้าเขาคิดว่าความจริงเป็นเช่นนั้นก็คือความเชื่อของเขา
                        การได้มา ความเชื่ออาจจะได้มาโดยการเห็น ได้สัมผัส ได้ยินกับหูหรือได้รับคำบอกกล่าวอ่านจากของเขียนสิ่งพิมพ์ รวมทั้งการคิดขึ้นเอง  ความเชื่อที่ได้มาง่าย อาจเปลี่ยนได้ง่าย
              - ค่านิยม เป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมที่สำคัญ ๆ
                คลีจ คลูซฮอล ให้คำจำกัดความของคำว่าค่านิยมไว้ว่า ค่านิยมคือแนวความคิดทั้งที่เห็นได้เด่นชัดและไม่เด่นชัด ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งเกี่ยกับว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งเป็นความิดที่มีอิทธิพลให้บุคลเหลือกระทำการอันใดอันหนึ่งจากวิชาการที่มีอยู่หลาย ๆ วิธีหรือเลือกเป้าหมายอันใดอันหนึ่งจากหลาย ๆ อันที่มีอยู่
                 เนล สเมลเซอ ให้คำจำกัดความของคำว่าค่านิยมคล้าย ๆ กัน โดยกล่าวว่า ค่านิยมเป็นิส่งที่บอกบุคคลอย่างกว้างๆ ว่าจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในชีวิตเป็นิส่งที่น่าปรารถนาฉะนั้นค่านิยมจึงเป็นเครื่องชี้แนวปฏิบัติอ่ย่างกว้างๆ ให้แก่บุคคล
                ดังนั้นค่านิยมอาจหมายถึงการคำนึง แนวประพฤติปฏิบัติ ว่าอะไรควรหรือไม่ควร เช่นควรจะเป็นคนซื่อสัตย์ อำอะไรก็ต้องทำด้วยความซื่อสัตย์หรืออาจหมายถึง จุดหมายของชีวิต เช่น คนควรจะหาความสุขทางใจให้มากกว่าสะสมความร่ำรวยในทางวัตถุดิบ คิดว่าความสุขทางใจสำคัญว่าการมีวัตถุต่างๆ มากๆ  ลักษณะที่สำคัญอีกอย่างคือ  เป็นลักษณะของความคิดที่ไม่จำเพาะเจาะจง
                           การได้มา ค่านิยมนั้นไอาจได้มาโดยการอ่านคำบอกเล่าหรือคิดขึ้นมาเอง  เช่นปรัชญาของศาสนาพุทธคือการเห็นว่าวัตถุไม่สำคัญเท่าควาสบลทางจิตใจจึงไม่เห็นความสำัญของวัตถุ คือไม่ให้ค่่านิยมแก่วัตถุ ค่านิยมจึงอาจะห้มาโดยการถ่ายทอดจากผู้อื่น คำบอกเล่า จากหนังสือ หรือคิดขึ้นเอง
               - บุคลิกภาพ เป็นอีกส่วนหนึ่งของลักษณะนิสัย คนทั่วไปมักจะนึกถึงบุคลิกภาพในแง่ของลักษณะหน้าตา การแต่งกาย วิธีการพูด วิธีการวางตัว ในที่ต่าง ๆ เพราะฉะนั้นคนที่บุคลิกภาพดีมักจะหมายถึงบุคคลที่รูปร่างหน้าตาดี วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะพูดจาฉะฉานไม่เคอะเขิน และคนที่บุคคลิกภาพไม่ดีก็หมายความถึงบุคคลที่รูปร่างหน้าตาไม่ดี วางตัวไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ พูดจาไม่ฉะฉานงกๆ เงินๆ
                 โรเบิร์ต ลันดิน ให้คำจำกัดความของคำว่าบุคลิกภาพว่า คือเครื่องมือในการกำหนดพฤติกรรมที่มีลักษณะเด่น หลายๆ ประการซึ่งบุคคลได้มาภายใต้สถานการณ์พิเศษ
                 เรย์มอน แคทเทิล ให้คำจำกัดความว่าบุคลิกภาพคือสิ่งที่บอกว่าบุคคลหนึ่งจะทำอะไรา ถ้าเขาอยู่ในสถานการณ์หนึ่ง
                 กอร์ดอน อัลพอร์ต ให้คำจำกัดความว่าบุคลิกภาพว่าคือระบบต่าง ๆ ทางกายและใจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้และเป็นเครื่องกำหนดอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวเองของเขาจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวเขาอย่างไร
                 ดังนั้นบุคลิกภาพคือสิ่งที่บอกว่าบุคคลจะปฏิบัติย่างไรในสถานการณ์หนึ่ง ๆ หมายความว่าถ้าสถานการณ์อย่างเดียวกันแล้ว คน ๒ คน มีพฤติกรรมต่างกัน เราก็อาจจะอธิบายได้ว่าคงเป็นเพราะเขามีบุคลิกภาพที่ต่างกัน และคน ๆ เดียวกันถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่ต่างกันก็ควรจะมีพฤติกรรมต่างกันออกไป
                             การได้มา  การจะอธิบายว่าบุคลิกภาพเกิดขึ้นมาได้อย่างไรนั้นต้องอาศัยทฤษฎีในทางวิชาจิตวิทยา ทฤษฎีหนึ่งคือทฤษฎีแห่งการเรียรรู้ หลักของทฤษฎีนี้บ่งว่าคนหรือสัตว์ ถ้าพฤติกรรมใดนำมาซึ่งรางวัล สัตว์หรือคนๆ นั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมนั้นอีกเมือมีโอกาส แต่ถ้าพฤติกรรมใดนำมาซึ่งการลงโทษ สัตว์หรือคนๆ นั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะไม่ทำเช่นนั้นอีกแม้มีโอกาส

     สิ่งกำหนดพฤติกรรม
๑. สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมและความเข้มข้นของสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม
๒. ทศนคติ
๓. สถานการณ์
                  ๑. สิ่งกระตุ้นพฤติกรรม และความเข้มข้นของสิ่งกระตุ้น
                      พฤติกรรม
      ลักษณะนิสัยของบุคคลคือ ความเชื่อ ค่านิยม บุคลิกภาพ นั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก็จิรงอยู่แต่พฤติกรรมจะเกิดขึ้นยังไม่ได้ถ้าไม่มีสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมนี้จะเป็นอะไรก็ได้ เช่น อาหาร เสียงปืน คำสบประมาท หนังสือ ความหิว ถ้าเราเดินไปตาถนนได้ยินเสียงดังปัง เราก็จะหันไปทางที่มาของเสียงปืนนั้น เสียงปืนนั้นคือสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม เมื่อมองแล้วเห็นคนยืออยู่และกำลังยกปืนเล็งมาทางเรา ๆ ก็จะกระโดดหลบ หรือวิ่งหนี
     สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมนี้มีพลังหรือความเข้มข้น เราจะต้องคำนึงถึงพลังของสิ่งกระตุ้นด้วย สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมอย่างหนึ่งอาจมีพลังในการกระตุ้นพฤติกรรมไม่เท่ากันสำหรับคน ๒ คน
                  ๒. ทัศนคติ คือการที่บุคคลคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง หรือการกระทำอันหนึ่งในทำนองที่ว่าดีหรือไม่ สมควรหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทัศนคตินั้นไม่ใช่พฤติกรรม ทัศนคติเป็นสิ่งที่มาก่อนพฤติกรรมและเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมด้วย ทัศนคติเป็นลักาณะจำเพาะเจาะจงหว่าค่านิยมหรือบุคลิกภาพ เพราะค่านิยมเช่นค่านิยมที่มีต่อระบอบประชาธิปไตย ต่อระบอบคอมมิวนิสต์ ต่อความซื่อสัตย์ ต่อวัตถุ นั้น จะมีลักษณะกว้าง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คนใดคนหนึ่ง
                   ๓. สถานการณ์ หมายถึงสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นบุคคลและไม่ใช้บุคคล ซึ่งอยู่ในสภาวะที่บุคคลกำลังจะมีพฤติกรรม

     "จิตวิทยาสังคม" เป็นการกล่าวถึงการศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลหนึ่งอาทิเช่น การแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก เจตติฯ ที่มีต่อบุคคลอื่นและสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมด้วยวิธีการที่มีระบบระเบียบโดยเฉพาะวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อเข้าใจและทำนายพฤติกรรมต่างก ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ หรือ ..คือสิ่งที่กล่าวถึงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างบุคคลกับบุคคล และบุคคลกับสิ่งแวดล้อมในสังคม



วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Yonisomanasikāra/10


องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ

ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ
  1. สืบสาวเหตุปัจจัย
  2. แยกแยะส่วนประกอบ
  3. สามัญลักษณะ – มองเห็นลักษณะพื้นฐานร่วมกันของสิ่งต่างๆ
  4. อริยสัจจ์ – คิดแยกแยะ แก้ปัญหา
  5. อรรถธรรมสัมพันธ์ – เข้าใจว่าหลักการ (ธรรม) นี้ มีจุดมุ่งหมายอะไร (อรรถ)
  6. เห็นคุณ โทษ ทางออก
  7. รู้คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม – รู้คุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนี้ รู้คุณค่าที่เสริมขึ้นมา
  8. เร้่าคุณธรรม
  9. อยู่กับปัจจุบัน
  10. วิภัชชวาท – คิดจำแนกแยกแยะให้ครบถ้วนทุกแง่มุม ทุกขั้นตอน ทุกทางเลือก

...

วิภัชชวาท

ความจริงวิภัชชวาท ไม่ใช่วิธีคิดโดยตรง แต่เป็นวิธีพูดหรือการแสดงหลักการแห่งคำสอนแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การคิดกับการพูดเป็นกรรมใกล้ชิดกันที่สุด ก่อนจะพูดก็ต้องคิดก่อน สิ่งที่พูดล้วนสำเร็จมาจากความคิดทั้งสิ้น ในทางธรรมก็แสดงหลักไว้ว่า วจีสังขาร(สภาวะที่ปรุงแต่งคำพูด) ได้แก่วิตกและวิจาร ดังนั้น จึงสามารถกล่าวถึงวิภัชชวาทในระดับที่เป็นความคิดได้ ยิ่งกว่านั้นคำว่าวาระต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่าวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีความหมายลึกซึ้งเล็งไปถึงระบบความคิดทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาแห่งระบบคำสอนทั้งหมด ที่เรียกกันว่าเป็นลัทธิหนึ่ง ศาสนาหนึ่งหรือปรัชญาสายหนึ่ง เป็นต้น
       คำว่าวิภัชชวาทนี้ เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา เป็นคำสำคัญคำหนึ่งที่ใช้แสดงระบบความคิดที่เป็นแบบของพระพุทธศาสนาและวิธี คิดแบบวิภัชชวาท
       วิภัชชวาท เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา หรือเป็นคำหนึ่งที่แสดงระบบความคิดของพระพุทธศาสนา
       การคิดแบบวิภัชชวาทนี้แบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

จำแนกในประเด็นของความจริง

  1. จำแนกตามประเด็นด้านต่าง ๆ ตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้น ๆ คือมองหรือกล่าวตามความเป็นจริง ให้ตรงประเด็นและครบทุกประเด็น ไม่นำเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาสรุปในภาพรวม เช่น กล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งว่าเขาดีหรือไม่ดี ก็ชี้ตามความเป็นจริงว่า เขาดีอย่างไร หรือเขาไม่ดีอย่างไร แต่ไม่เหมารวมว่าเขาดีทุกด้าน หรือไม่ดีทุกด้าน เป็นต้น
  2. จำแนกโดยมองหรือแสดงความจริงของสิ่งนั้น ๆ ให้ครบทุกแง่ ทุกด้าน ทุกประเด็น คือ เมื่อมองหรือพิจารณาสิ่งใดไม่มองแคบ ๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียว แง่เดียว หรือไม่มองในด้านเดียวของสิ่งนั้น ๆ เช่น เขาดีในแง่ใด ด้านใด หรือไม่ดีในแง่ใด ด้านใด เป็นต้น เป็นลักษณะเสริมในข้อแรก

จำแนกโดยส่วนประกอบ

จำแนกโดยส่วนประกอบ คือวิเคราะห์แยกแยะออกไปให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ เช่น มีองค์ประกอบย่อยอะไรบ้าง การคิดในลักษณะนี้ตรงกับวิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ

จำแนกโดยลำดับ

จำแนกโดยลำดับ คือ แยกแยะวิเคราะห์เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เช่น การคิดแบบอริยสัจ หรือการคิดแบบวิธีการวิทยาศาสตร์จะต้องคิดเป็นไปตามลำดับขั้นตอนคือ คิดวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น –> ตั้งสมมติฐาน –> ทดลอง –> วิเคราะห์ –> สรุปผล เป็นต้น

จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย

จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย คือสืบสาวสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์สืบทอดกันมาของสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทำให้มองเห็นความจริงที่สิ่งทั้งหลายไม่ได้ตั้งอยู่ลอย ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นอิสระจากสิ่งอื่น ๆ และไม่ได้ดำรงอยู่โดยตัวของมันเอง แต่เกิดขึ้นด้วยอาศัยเหตุปัจจัย จะดับไปและสามารถดับได้ด้วยการดับที่เหตุปัจจัย การคิดจำแนกในแง่นี้ เป็นวิธีคิดข้อสำคัญมากอย่างหนึ่ง ตรงกับวิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา ซึ่งได้อธิบายไว้ในบทว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
       ความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์ ทำให้คนโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดความเห็นสุดทางข้างใดข้างหนึ่ง ความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์ ทำให้คนโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดความเห็นสุดทางสืบทอดกัน เนื่องด้วยปัจจัยย่อยต่าง ๆ ความมีหรือไม่มีไม่ใช่ภาวะเด็ดขาดลอยตัว ภาวะที่เป็นจริงเป็นเหมือนอยู่กลางระหว่างความเห็นเอียงสุดสองอย่างนั้น ความคิดแบบจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยช่วยให้มองเห็นความจริงนั้น และตามแนวคิดนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมอย่างที่เรียกว่าเป็นกลาง ๆ คือไม่กล่าวว่า สิ่งนี้มี หรือว่าสิ่งนี้ไม่มี แต่กล่าวว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี หรือว่านี้มีในเมื่อนั้นมี นี้ไม่มีในเมื่อนั้นไม่มี การแสดงความจริงอย่างนี้ นอกจากเรียกว่าอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบาทแล้ว ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามัชเฌนธรรมเทศนา จึงอาจเรียกวิธีคิดแบบนี้อีกอย่างหนึ่งด้วยว่า วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรมเทศนา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรมการจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยนั้น นอกจากช่วยไม่ให้เผลอมองสิ่งต่าง ๆ หรือปัญหาต่าง ๆ อย่างโดดเดี่ยวขาดลอย และช่วยให้ความคิดเห็นได้เป็นสายไม่ติดตันแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงการที่จะให้รู้จักจับเหตุปัจจัยได้ตรงกับผลของมัน หรือให้ได้เหตุปัจจัยที่ลงตัวพอดีกับผลที่ปรากฏด้วย ความที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับความสับสนที่มักเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป 3 อย่างคือ
  1. การนำเอาเรื่องราวอื่น ๆ นอกกรณี มาปะปนสับสนกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี
  2. ความไม่ตระหนักถึงภาวะที่ปรากฏการณ์หรือผลที่คล้ายกัน อาจเกิดจากเหตุปัจจัยต่างกัน และเหตุปัจจัยอย่างเดียวกัน อาจไม่นำไปสู่ผลอย่างเดียวกัน ต้องตระหนักด้วยว่า เหตุปัจจัยอย่างเดียวกันที่ยกขึ้นพิจารณานั้น ไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยทั้งหมดที่จะให้ได้รับผลอย่างนั้น ความจริงสภาพแวดล้อมและเรื่องราวอื่น ๆ ก็เป็นปัจจัยร่วมด้วยที่จะให้เกิดหรือไม่ให้เกิดผล อย่าง นั้น
  3. การไม่ตระหนักถึงเหตุปัจจัยส่วนพิเศษนอกเหนือจากเหตุปัจจัยที่เหมือนกัน  กล่าวคือคนมักมองเฉพาะแต่เหตุปัจจัยบางอย่างที่ตนมั่นหมายว่าจะให้เกิดผล อย่างนั้น ๆ ครั้นต่างบุคคลทำเหตุปัจจัยอย่างเดียวกันแล้ว คนหนึ่งได้รับผลที่ต้องการ อีกคนหนึ่งไม่ได้รับผลนั้น ก็เห็นไปว่าเหตุปัจจัยนั้นไม่ให้ผลจริง เป็นต้น

จำแนกโดยเงื่อนไข

จำแนกโดยเงื่อนไข คือมองหรือแสดงความจริงโดยพิจารณาจากเงื่อนไขต่าง ๆ ประกอบด้วย ยกตัวอย่างเช่น อาจพิจารณาปัญหาทางการศึกษาว่า ควรปล่อยให้เด็กพบเห็นสิ่ง ๆ ต่าง ๆ ในสังคม เช่น เรื่องราวต่าง ๆ หรือการแสดงต่าง ๆ ทางสื่อมวลชน อย่างอิสระเสรีหรือไม่ หรือแค่ไหนเพียงไร ถ้าตอบตามแนววิภัชชวาทในข้อนี้ จะต้องวินิจฉัยได้โดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้คือ
  1. ความโน้มเอียง ความพร้อม นิสัย ความเคยชินต่าง ๆ ของเด็กแต่ละคนที่ได้สะสมไว้โดยการอบรมเลี้ยงดู และอิทธิพลทางวัฒนธรรม เป็น เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เป็นอย่างไรบ้าง พอที่จะรับรู้สื่อต่าง ๆ เหล่านั้นได้หรือไม่
  2. เด็กรู้จัดคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือคิดแบบแยบคาย รอบคอบ แยกแยก ฯลฯ ได้หรือไม่
  3. เด็กมีกัลยาณมิตร คือ มีบุคคลหรืออุปกรณ์คอยชี้แนะแนวทางความคิดความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อสิ่งที่พบเห็นอย่างไรบ้าง
  4. ประสบการณ์ หรือสิ่งที่เด็กได้พบเห็นนั้น มีลักษณะหรือมีคุณสมบัติที่เร้า กระตุ้น หรือยั่วยุ รุนแรงมากน้อยถึงระดับใดดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นคำตอบของคำถามดังกล่าวว่าควรให้เด็กได้ดูสื่อหรือไม่ควรดู อย่างไร
ทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นตัวแปรได้ทั้งนั้น แต่ในกรณีนี้ ยกเอาข้อ 4) ขึ้นตั้งเป็นตัวยืน คำตอบจะเป็นไปโดยสัดส่วนซึ่งตอบได้เอง เช่น ถ้าเด็กมีโยนิโสมนสิการดีจริงๆ หรือในสังคมหรือโดยเฉพาะที่สิ่งมวลชนนั้นเอง มีกัลยาณมิตรที่สามารถจริงๆ กำกับอยู่ หรือพื้นด้านแนวความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศลซึ่งได้สั่งสมอบรมกันไว้โดยครอบ ครัวหรือวัฒนธรรมมีมากและเข็มแข็งจริงๆ แม้ว่าสิ่งที่แพร่หรือปล่อยให้เด็กพบเห็นจะล่อเร้ายั่วยุมาก ก็ยากที่จะเป็นปัญหา และผลที่ต่างๆ ก็เป็นอันหวังได้ แต่ถ้าพื้นความโน้มเอียงทางความคิดกุศลก็ไม่ได้สั่งสมอบรมกันไว้ โยนิโสมนสิการก็ไม่เคยฝึกกันไว้ แล้วยังไม่จัดเตรียมให้มีกัลยาณมิตรไว้ด้วย การปล่อยนั้น ก็มีความหมายเท่ากับเป็นการสร้างเสริมสนับสนุนปัญหา และเป็นการตั้งใจทำลายเด็กโดยใช้ยาพิษเบื่อเสียนั่นเอง

วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง

วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง วิภัชชวาทปรากฏบ่อย ๆ ในรูปของการตอบปัญหาและท่านจัดเป็นวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง ในบรรดาวิธีตอบปัญหา 4 อย่าง มีชื่อเฉพาะเรียกว่า วิภัชชพยากรณ์ ซึ่งก็คือการนำเอาวิภัชชวาทไปใช้ในการตอบปัญหา หรือตอบปัญหาแบบวิภัชชวาทนั่นเอง
เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนี้ พึงทราบวิธีตอบปัญหา (ปัญหาพยากรณ์) 4 อย่างคือ
  1. เอกังสพยากรณ์ การตอบแง่เดียว คือตอบอย่างเดียวเด็ดขาด เช่น ถามว่า จักษุไม่เที่ยงใช่ไหม ? พึงตอบได้ทีเดียวแน่นอนลงไปว่า ใช่
  2. วิภัชชพยากรณ์ การแยกแยะตอบ เช่น ถามว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงได้แก่จักษุใช่ไหม พึงแยกแยะตอบว่า ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น แม้โสตะ ฆานะ เป็นต้น ก็ไมเที่ยง
  3. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ การตอบโดยย้อนถาม เช่น จักษุฉันใด โสตะก็ฉันนั้นโสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้น ใช่ไหม ? พึงย้อนถามว่า มุ่งความหมายแง่ใด ถ้าถามโดยหมายถึงแง่ใช้ดูหรือเห็น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามุ่งความหมายแง่ว่าไม่เที่ยง ก็ใช่
  4. ฐปนะ การยั้งหรือหยุด พับปัญหาเสีย ไม่ตอบ เช่น ถามว่า ชีวะกับสรีระคือสิ่งเดียวกัน ใช่ไหม? พึงยับยั้งเสีย ไม่ต้องตอบ

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Dialectical materialism(วัตถุนิยมวิภาษ)


        1. สรรพสิ่งสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว พึ่งพาอาศัยกัน บังคับกำหนดซึ่งกันและกัน ด้วย เหตุนี้ ในการมอง ศึกษาค้นคว้า และรับรู้ปรากฏการณ์ใด ๆ  ถ้าหากมองมันเป็นปรากฏการณ์ที่มีความสัมพันธ์อันแยกออกจากกันมิได้กับ ปรากฏการณ์ที่ห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ  และถูกบังคับกำหนดโดยปรากฏการณ์ที่ห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ แล้ว ก็จะเข้าใจและพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ กล่าวคือสรรพสิ่งมีบริบทของมันเสมอ

หลักวัตถุนิยมวิภาษวิธี หรือการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุของมาร์กซ์
 
       2. โลกธรรมชาติที่ดำรงอยู่จริงนั้น ล้วนอยู่ในภาวะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เกิดใหม่และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา  ภายในนั้น มีบางสิ่งบางอย่างกำลังเกิดและกำลังพัฒนา  มีบางสิ่งบางอย่างกำลังพังทลายและกำลังเน่าเปื่อย เป็นเช่นนี้เสมอไป ดังนั้นการพิจารณาปรากฏการณ์ใด ๆ จึงไม่อาจพิจารณาเฉพาะแง่มุมที่ปรากฏการณ์แต่ละอย่างสัมพันธ์และกำหนดซึ่งกันและกันเท่านั้น หากแต่ยังต้องพิจารณาจากแง่มุมที่มันเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงและพัฒนา  รวมทั้งแง่มุมที่มันเกิดขึ้นและการดับสูญไปของมันด้วย
       3.สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจากปริมาณไปสู่คุณภาพ กระบวนการพัฒนาใด ๆ ล้วนเป็นกระบวนการที่มิใช่มีแต่การเพิ่มพูนขึ้นแบบง่าย ๆ หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะทางปริมาณ แต่คุณภาพไม่เปลี่ยน  หากแต่เป็นกระบวนการพัฒนาจากการเปลี่ยนแปลงทางปริมาณที่ไม่เด่นชัดและแฝงเร้น ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดถึงแก่น
การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพมิใช่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แต่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กะทันหัน มันแสดงออกในรูปแบบก้าวกระโดด จากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง และมิใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากเกิดขึ้นอย่างมีกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นผลจากการสั่งสมของการเปลี่ยนแปลงทางปริมาณที่ไม่เด่นชัดและเชื่องช้าจำนวนมาก
      4. มูลเหตุแห่งการพัฒนา เปลี่ยนแปลง และดับสูญของสรรพสิ่ง มาจากปัจจัยภายในซึ่งแฝงไว้ด้วยความขัดแย้งสรรพสิ่งล้วนมีด้านตรงข้ามและด้านกลับ  มีด้านอดีตและอนาคต มีทั้งสิ่งที่กำลังเน่าเปื่อยและสิ่งที่กำลังพัฒนา การต่อสู้ของด้านที่เป็นปฏิปักษ์กัน การต่อสู้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ ระหว่างสิ่งที่กำลังดับสูญกับสิ่งที่เกิดใหม่  ระหว่างสิ่งที่เน่าเปื่อยกับสิ่งที่พัฒนา ก็คือเนื้อหาภายในของ "กระบวนการพัฒนา" และ "การแปรเปลี่ยนจากการเปลี่ยนแปลงทางปริมาณไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ" นั่นเอง
 วิภาษวิธีเห็นว่า กระบวนการพัฒนาจากขั้นต่ำไปสู่ขั้นสูง มิใช่ดำเนินไปโดยอาศัยการคลี่คลายอย่างปรองดองของปรากฏการณ์  หากแต่อาศัย
           1. การเปิดเผยความขัดแย้งที่ดำรงอยู่มาแต่ดั้งเดิมในตัวของสรรพสิ่งและปรากฏการณ์เอง
           2. การยึดกุม "การต่อสู้ของแนวโน้มที่เป็นปฏิปักษ์กัน" ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่บนพื้นฐานของความขัดแย้งเหล่านั้
     
      วิภาษวิธี พูดถึง “ความเปลี่ยนแปลง” — สิ่งต่างๆย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีอะไรหยุดนิ่ง ดังนั้นคนที่พูดว่า อะไรๆมีมานานแล้ว ไม่เปลี่ยนแปลง ก็ไม่จริง เช่น รูปแบบสังคม ความเชื่อ ภาษา ทุกอย่างย่อมอยู่กับการเปลี่ยนแปลง      วิภาษวิธี พูดถึง “ความขัดแย้ง” — สิ่งต่างๆเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างคู่รัก ชนชั้น ความขัดแย้งระหว่างความคิดในหัวเรา หรือแม้แต่ความขัดแย้งที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น การที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ก็เกิดจากความขึงตรึงของ แรงโน้มถ่วงและพลังงานหลายๆอย่าง เป็นต้น
     วิภาษวิธีให้ความสนใจกับ “ความสัมพันธ์” – สิ่งต่างๆในโลกไม่ใช่ “สิ่ง” หรือ thing เฉยๆ แต่ “สรรพสิ่ง” ในตัวมันเองเป็นความสัมพันธ์ชุดหนึ่ง และสรรพสิ่งอยู่ท่ามกลางความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆด้วยพร้อมๆกัน ดังนั้นเราจะเข้าใจโลก สังคม รวมทั้งความคิดในหัวเรา โดยไม่มองว่ามันเป็นความสัมพันธ์ไม่ได้

     กฎว่าด้วยความขัดแย้งแบบไดเลคติคเป็นทฤษฎีของนัก ปฏิวัติ    จะเป็นนักปฏิวัติแบบสังคมนิยมหรือประชาธิปไตยก็แล้วแต่     ย่อมเข้าใจเรื่องกฎเกณฑ์ของความขัดแย้งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้น เชิงของวัตถุเป็นแนวทางอันเป็นมูลเหตุของการ  ” ปฏิวัติ “ แบบวิทยาศาสตร์สังคมได้เป็นอย่างดี        วัตถุนิยมวิภาษวิธี หรือกฎไดเลคติค  ตามทฤษฎีที่เฮเกล (HEGEL)  พูดถึงการดำรงอยู่ของสิ่งหนึ่งที่มีอีกสิ่งหนึ่งเข้ามา ก่อให้เกิดการขัดแย้ง  สิ่งใหม่ที่เข้ามานั้นตามทฤษฎีจะเรียกว่า “ ปฏิกิริยา”   (ANTI  THESISX  สภาวะขัดแย้งระหว่าง  ANTI THESIS กับ “ กิริยา”   ( THESIS)     ก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูป  ไม่สามารถดำรงรูปเก่าได้  เกิดการเปลี่ยนรูปใหม่มาเป็น SYNTHESIS       ซึ่งก็หมายถึง “ สหกิริยา “    การเกิดการขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้คือการปฏิวัติ  เป็นสหกิริยาที่เกิดจากการสังเคราะห์เอาส่วนที่ดีของตัวเก่าและใหม่มารวมกัน ไว้    กล่าวโดยสรุปกฎนี้ว่าด้วยเรื่องการมีอยู่ของสรรพสิ่ง  มีของเก่า มีของใหม่  เกิดความขัดแย้งกันระหว่างของสองสิ่ง เกิดปฏิกิริยาและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงในที่สุด   การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงนี้คือการ “ปฏิวัติ”  เป็นข้อสรุปที่ว่าหากมีเหตุปัจจัยของการขัดแย้งในลักษณะนี้ในสถานการณ์ หนึ่งๆ ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เกิด “การปฏิวัติ”  ไม่ได้นั่นเองตามกฎเกณฑ์      ในสถานการณ์ที่สุกงอมตามกฎไดเลคติดที่ว่า ” การปฏิวัติ “  จึงย่อมดีกว่าการไม่ปฏิวัติแน่นอน    อันนี้เป็นกฎ   อุปมาดั่งเช่นว่า........ถ้าคุณสมบัติของน้ำตรงกันข้ามกับไฟ  มีความขัดแย้งกัน  แต่ถ้าเอากาน้ำไปตั้งบนเตาร้อนๆ  ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นตามลำดับ  อุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงนี่เราเรียกปฏิรูป  (Reform) น้ำจะร้อนไปเรื่อยๆไปจนถึงขั้น จุดเดือด  และเป็นจุดที่ไม่สามารถรักษารูปทรงเดิมไว้ได้ กลายเป็นควันพวยพุ่งออกมา  การเปลี่ยนรูปทันทีอย่างนี้เรียกว่าการปฏิวัติ (Revolution)
      เฮเกลพิสูจน์ว่ากฎไดเล็คติด เมื่อขัดแย้งกันแล้วเกิดรูปใหม่จะบริสุทธิ์กว่ารูปใหม่เสมอ  เหมือนดั่งเช่นน้ำกลั่นย่อมดีกว่าน้ำเดิม   กฎทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วจะดีขึ้นกว่าเดิมเสมอไป   มีนักวิชาการบางคนแย้งว่าถ้าเปลี่ยนแปลงแล้วไม่ดีขึ้น  อันนั้นไม่ใช่กฎ แต่เป็นการคิดเอาเอง   จากกฎที่เฮเกลคิดขึ้นมานี่เอง ทำให้มาร์กซ์นำมากำหนดเป็นทฤษฎีขึ้นและเป็นที่มาของกฎไดเล็คติค ซึ่งมีกฎพื้นฐานอยู่ 3 อัน คือกฎการเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพ  กฎสิ่งตรงข้ามกันต้องขัดแย้งกัน  และกฎปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ  หมายความว่าไม่คงที่   เหมือนกับว่าเราจะไปยึดให้มันเป็นตัวตนอยู่ไม่ได้  ไม่มีอะไรอยู่ที่เดิม  คลื่นลูกหลังจะต้องไล่คลื่นลูกหน้า  เฮเกลบอกว่าสิ่งที่ขัดแย้งกันนี้เรียกว่า “ วิภาษวิธีจิตนิยม ” 
     คาร์ลมาร์กซ์ เอาทฤษฎีนี้มาศึกษาเป็นการใหญ่   เกิดข้อสงสัย  เลยไปค้นคว้าเอาทฤษฎีของ ลุดวิก ฟอยเออบัค   ( LUDWIG FEUERBACH) ซึ่งเป็นคนละขั้ว  ฟอยเออบักบอกว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแต่เป็นวัตถุนิยม  ไม่ใช่จิต  แต่ว่าวัตถุนิยมมันเป็นธรรมชาติของมันเองและมีกลไกแต่ไม่ได้บอกว่ากลไกเป็น อย่างไร   มาร์กซ์ก็เลยผสมสองทฤษฎีนี้เข้าด้วยกันที่เรียกว่า “ วิภาษวิธีวัตถุนิยม ” 
  
     อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งมีความใกล้เคียงกับหรือคล้ายคลึงกับทฤษฎีดังกล่าวนั้น เป็นธรรมนิยาม เป็นความจริงแท้ของธรรมชาติทั้งปวง การจะยกจิตขึ้นไตรลักษณ์ได้นั้นต้องผ่านการฝึกฝน..ผ่านการปฏิบัติอย่า่งยิ่งยวด... เมื่อเข้าใจธรรมชาติและหลักของธรรมชาติของสรรพสิ่งแล้ว จึงค่อยๆพิจารณาปัญหา เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ปัญหาย่อมไม่เหมือนกัน สถานที่แต่ละสถานที่ปัญหาย่อมไม่เหมือนกัน คนแต่ละก็ย่อมมีัปัญหาที่แตกต่างกัน พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือญาณที่สามารถกำจัดกิเลสได้อย่างหมดสิ้น อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค ทุกข์คือการพิจารณาถึงปัญหาและสภาวะการณ์ซึ่งทุกข์ในทางพุทธศาสนายังแบ่งออกเป็น ทุกข์ ๑๐ มีทุกข์จร ทุกจากความโศกเศร้าเป็นต้น สมุหทัย เหตุแห่งทุกข์ เป็นการดูที่เผลคือทุกข์นั้นๆ ว่ามีเหตุที่มาอย่างไร และไรเรียงลำดับขึ้นตอนของเหตุแห่งทุกข์กระทั่งถึงตัณหา อันมีวิภาวะตันหาเป็นต้น..นิโรธ คือภาวะการณ์ที่ประสงค์ คือความสงบสันติจากทุกข์ต่างๆ และมรรคคือวิธีดับทุกข์หรือวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งประสงค์ คือความสงบสันติ ซึ่งเป็นการกระทำการปฏิบัติเพื่อไปยังเป้าหมายหรือไปยังผลที่ต้องการ คือจากเหตุที่ถูกต้องไปสู่ผลที่ต้องการ ในทีนี้ยังไม่ขอกล่าวถึงเรื่องปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นบรมสุขที่แม้แต่พระพุทธองค์  ยังทรงเสวยวิมุตติสุขหลังจากที่ตรัสรู้โดยการเข้านิโรธสมาบัติ พิจารณาปฎิจจสมุปบาทเป็นเวลาถึงเจ็ดวัน เป็นธรรมซึ่งละเอียดกระทั่งเกิดความไม่แน่ใจว่าจะมีมนุษย์ผู้ใดสามารถเห็นแจ้งแทงตลอด กระทั่งเกิดความลังเลใจเมื่อครั้งก่อนการที่จะเผยแพร่พระศาสนา.....

        หากพิจารณาความคลายคลึงกันของกฎวิภาษวิธีวัตถุนิยม แล้วคงเป็นการเข้าใจหรือมองเห็นถึงสรรพสิ่งตามที่เป็นโดยธรรมชาติ เพียงเท่านนั้นเอง...!


วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

T- decision


                 การตัดสินใจ -                      การตัดสินใจคือการกระทำตามที่ตั้งใจเพื่อให้บรรลุผลที่ตั้งไว้-                      เป็นกระบวนการประเมินผลเกี่ยวกับทางเลือกหรือตัวเลือก หรือตัวเลือกที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและการคาดคะเนผลทีเกิดทางเลือกปฏิบัติที่จะส่งผลถึงการบรรลุเป้าหมายได้มากที่สุด-                      คือความสามาถรถในการทำงานหรือการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้างานหรือผู้บริหารก็คือ การตัดสินใจ การตัดสินใจเปรียบเสมือนหัวใจของการปฏิบัติงานและบริหารงานทั้งนี้เพราะการตัดสินใจจะมีอยู่แทบทุกขั้นตอนและทุกขบวนการของการปฏิบัติงาน แม้แต่บุคคลทั่วไปก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงต่อการตัดสินใจได้คือวิธีการเชิงวิเคราะห์ และเชิงระบบที่ใช้ในการแก้ปัญหาและช่วยทำให้ได้การตัดสินใจที่ดี การตัดสิน หมายถึง การตัใจที่ใช้หลัตรรกศาตร์ด้วยการพิจารณาข้อมูลและทางเลือก หรือกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด จากนั้นใช้วิธีการเชิงปริมาณที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ในบางครั้งอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจก็ตาม รวมทั้งบางครั้งการตัดสินใจที่ดีมีผลลพธ์ที่ไม่ได้คาดคะเนไว้เกิดขึ้นได้แต่เรายังคงถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี  การตัด                                    ขั้นตอนของทฤษฎีการตัดสินใจ1 กำหนดปัญหาที่ม่ในมือให้ชัดเจน2 ระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด3 ระบุหาผลได้ที่เป็นไปได้ทั้งหมด4 กำหนดหาผลลัพธ์ตามเงื่อนไขแต่ละส่วนประสมของทางเลือกและผลได้5 คัดเลือกตัวแบบทฤษฎีการตัดสินใจเชิงคณิตศาสตร์หนึ่งตัวแบบมาใช้งาน6 ประยุกต์ใช้ตัวแบบนั้นแล้วทำการตัดสินใจ            รูปแบบการตัดสินใจ-                      การตัดสินใจภายใต้ความแน่นอน  สภาวการณ์ที่ผู้ตัดสินใจทราบผลที่แน่นอนของทุกๆ ทางเลือก ผู้ตัดดสินใจจะเลื่อกทางเลื่อกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด-                      การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง ผู้ตัดสินใจทราบโอกาสของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ทราบความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นของผลลัพธ์..ใช้วิธีการตัดสินใจโดยการหาค่าคาดหวังของผลตอบแทร-                      การตัดสินภายใต้ความไม่แน่นอน  ผู้ตัดสินใจไม่ทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ต่าง ๆ ..วิธีการเพื่อใช้ในกรณีภายใต้ความไม่แน่นอน
Maximax            To Maximaze the Maximums = Maximax เป็นวิธีการเลือกค่าสูงสุด ของทางเลือกที่มีค่าสูงสุดทั้งหลายที่เลือกได้ ในการลงทุนจะเลือกค่าตอบแทนตอบแทนที่สูงสุดของทางเลือกที่ดีที่สุดของแต่ละทางเลือก คนที่ชอบใช้หลักการนี้จะถูกเรียกว่า ผู้มองโลกในแง่ดี หรือด้านบวก            To Maximize The Maximums = Maximin เป็นวิธีการเลือกค่าสูงสุดของทางเลือกที่มีค่าต่ำสุด เลือกค่าสูงสุด(ดีที่สุด)จากทางเลือกที่เลวที่สุดของแต่ละทางเลือก คนที่ใช้หลักการนี้จะถูกเรียกว่า ผู้มองโลกในแง่ร้ายหรือด้านลบ            Equally Likely ทางสายกลาง Equally Likely= Maximax+Maximin   เป็นแนวคิดที่ผสมกัน

                                                                                                           2

ระหว่าง Maximax กับ Maximin ผู้ที่ใช้แนวคิดนี้อาจถูกเรียกได้ว่าเป็นพวกสายกลาง หลักคิด คือ คิดจากแต่ละทางเลือกของ Maximax และ Maximin มิฉะนั้นจะไม่ได้คำตอบของทางเลือก
                                                                                                          


Prof nash


            ปี พ.ศ.2537 คณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประกาศให้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์แก่ เจ ซี ฮารซานยี่ เจ.เอฟ.และ อาร์.เซลเทน ในฐานะที่ได้ร่วมกันคิดสร้างทฤษฎีเกม ซึ่งมีคุณประโยชน์อเนกอนันต์ ให้นักเศษฐศาสตร์ใช้ในการหาทางออกที่ดีเวลาที่ดีแก้วปัญหาการแข่งขั้นเชิงธุรกิจ เพราะปัญหาต่าง ๆ ทางเศรษฐศาสตร์นั้น สลับซับซ้อนอันเนื่องมาจากการมีตัวแปรต่าง ๆ มากมาย  การตัดสินใจดำเนินการของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะมีผลกระทบและเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคลรอบข้าง และในขณะเดียวกัยรูปแบบการตัดสินใจของคนรอบข้ารง ก็เป็นตัวกำหนดตัวเลือกในการตัดสินใจของบุค
คลนั้นด้วย เมื่อคนทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กันเช่นนี้ ทฤษฏีเกมจะช่วยชี้นำรูปแบบการตัดสินใจที่เหมาะสมให้ทุกคนพอใจ
            นักคณิตศาสตร์ได้คิดสร้างทฤษฏีเกมขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์วิธีเล่นหมากรุก โปกเกอร์ และบริดจ์ เพราะในการเล่นเกมดังกล่าวนี้ การล่วงรู้ใจ ความสามารถและนแวคิดของคุ่ต้อสู้จะทำให้ได้เปรียบ และในเวลาต่อมานักเศรษฐศาสตร์ได้หันมาสนใจศึกษาทฤษฎีนี้บ้าง เพราะคิดจะนำทฤษีนี้ไปใช้ในการวิเคราห์สถานการณ์ทางเศษฐกิจ และต่อมานักวิชาการสาขาอื่นๆ ก็ได้พบว่าทฤษฎีเกมสามารถแก้ปัญหาและตอบคำถามต่าง ๆ ได้มากมาย จนะราอาจจะกล่าวได้ว่า ทฤษฏเกมมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้น ในโลกวิทยาการในอนาคต
            ดังที่ได้ อ่านและชมภาพยนต์ ในชื่อเดียวกัน “A beautiful Mild” ชีวิตของแนชแสดงให้เห็นว่า คนบางคนได้รับพรสวรรค์พร้อมกับคำสาป โลกอัฉริยะของ “จอห์น แนช” แตกต่างจากอัจริยะคนอื่นๆ ตรงที่โลกอัจฉริยะและโลกความผิดปกติเป็นโลกใบเดียวกัน 4 ปีก่อนที่เขาจะได้รับการประกาศให้เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมพิชิตรางวัลโนเบล คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ถกเถียงกันว่า คน”โรคจิต”สมควรได้รับรางวัลโนเบลหรือไม่
            เมื่อ แนช มีอายุ 21 ปี และกำลังศึกษาเศรษฐศาตร์ระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลับ พริสตัน ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นหนึ่ง ที่ทำให้นักคณิตศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกตะลึง งานวิจัยเรื่องทฤษฎีเกมของเขาซึ่งมีความยาวเพียง 27 หน้า แสดงให้เห็นว่าในการเล่นเกมทุกชนิดจะมีคนบางคนได้เปรียบและคนบางคนจะเสียเปรียบ แต่ แนช ก็ได้พบการเล่นที่จะทำให้คนทุกคนที่เล่นเกมนั้นได้เปรียบ สมดุลของ แนช จึงเป็นหลักการที่ประเทศมหาอำนาจ(ซึ่งต่างมีอาวุธปรมาณู)ใช้ในการถ่วงอำนาจซึ่งกันแลลกัน และเป็นหลักการให้กองทัพเรื่อสหรัฐฯใช้ป้องกันการโจมตีโดยเรือดำน้ำรัสเซีย
            แนช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ทางคณิตศาตร์แห่ง แมสซาซูเสส อินติติวส์ ออฟ เทคโนโลยี(เอ็มไอที)ของสหรัฐฯเมื่ออายุเพียง 29 ปี และตั้งแต่นั้นมาโลกของศาสตรจารย์หนุ่มก็เริ่มพังทลาย เขาปวยเป็นโรคจิตเภท ที่มีอาการประสาทหลอน ดดยมักจะอ้างว่าได้สนทนากับพระเจ้าและกับมนุษย์ต่างดาวอยู่เนื่องๆ เมื่ออาการป่วยทวีความรุนแรง เขาถูกปลดจากตำแหน่งอาจารย์ของ เอ็มไอที และเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

            ปัจจุบัน แนชมีความรู้สึกนึกคิดที่ดีขึ้นมาก และได้ออกจากโรงพยาลาลมาใช้ชีวิตอยู่กบภรรยาและลูก 2 คน อย่างเงียบๆที่มหาวิทยาลัย พริสตันส์ บรรดานิสิต และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมักจะห็น แนช เขียนข้อความที่มีความหมายประหลาดๆ บนกระดานดำอยู่เนื่องๆ ชีวิตของ แนช จึงเป็นชีวิตที่นาสนใจ และน่าสงสาร วิถีชีวิตของเขาคงจะทำให้คนหลายคนอยากเดินตามเพื่ประสบความสำเร็จในชีวิตเช่นเขา แต่คงไม่มีใครที่อยากจะมีชีวิตในสภาพเช่นเขา

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

โคจร


ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้พละ

ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง

เพราะมีสภาวะเป็นธรรมเครื่องนำออก ให้มรรคประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ

ให้สติปัฏฐานประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมัปปธานประชุมลง

เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งความเพียร ให้อิทธิบาทประชุมลง เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ

ให้สัจจะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ ให้สมถะประชุมลง เพราะมีสภาวะ

ไม่ฟุ้งซ่าน ให้วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ให้สมถะและ

วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ให้ธรรมเป็นคู่กัน

ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ให้สีลวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะสำรวม

ให้จิตตวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ทิฏฐิวิสุทธิประชุมลง เพราะ

มีสภาวะเห็น ให้วิโมกข์ประชุมลง เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ให้วิชชาประชุมลง

เพราะมีสภาวะแทงตลอด ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะสละ ให้ญาณใน

ความสิ้นไปประชุมลง เพราะมีสภาวะตัดขาด ให้อนุปปาทญาณประชุมลง เพราะมี

สภาวะระงับ ให้ฉันทะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นมูล ให้มนสิการประชุมลง

เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ให้ผัสสะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม

ให้เวทนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ให้สมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะ

เป็นประธาน ให้สติประชุมลงเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้สติสัมปชัญญะประชุมลง

เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร

ให้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด บุคคลนี้

ให้ธรรมเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้ธรรม

ทั้งหลายประชุมลง”

คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร

ของบุคคลนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์ของบุคคลนั้น

“สุตตันตปิฎก ขฺทกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค”


Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...