วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Crowd


        การรวมกลุ่มกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่งที่ต่างมีจุหมายหรือความสนใจตรงกันโดยแต่ละคนจะมีความใกล้ชิดกันด้านกายภาพ และไม่เคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับการกระทำ ความสัมพันธ์ ความรู้จักมักคุ้นสนิทสนมต่อกันและกันเป็นส่วนตัวมาก่อนเลย โดยปกติแล้วเมื่อแต่ละคนต่างมีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน สภาพฝูงชนก็จะสลายตัวไป เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของมวลรวมกันเท่านั้น เพื่อทำความเข้าใจและป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการศึกษาฝูงชน จะของแยกอธิบายตามแนวต่อไปนี้

     การที่คนจำนวนหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนบ้าง เคยรู้จักกันมาบ้าง มารวมกัน ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง จะโดยนดหมายกันมาก่อนหรือไม่ได้นัดหมายกันมากก่อนก็ตา แต่ละคนที่มารวมกันนั้นต่างมีเป้หมายหรือวัตถุประสงค์ของการมารวมกันนั้นตรงกัน หรือร่วมอย่างเดียวกัน และเมื่อได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการแล้ว สภาพการรวมกันก็สลายไป ลักษณะเช่นนี้ จัดเป้น "ฝูงชน" เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งไม่มีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ควบคุมสภาพฝูงชน การรวมตัวกันใรรุ)ของฝูงชน จึงมีความหลากหลายออกไปตามปัจจัยแวดล้อมอันทำให้มีการจัดประเภทแก่งพฤติกรรม
        "ฝูงชน"ตามแนวสังคมวิทยา เป็นการศึกษาสังคมทั้งสังคมมิใช่ศึกษาเจาะจงเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น
        อนึ่งในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่ คำว่า "ฝูงชน" ที่เรานำมาใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่นั้น ยังได้ถูกนำมาใช้ในขอบข่ายที่กว้างขวางมาก โดยใช้แสดงถึงการรวมตัวกันของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่างมีการแสดงออกหรือการกระทำตามวัตถุประสงค์อันเป็นเป้าหมายของตน และการที่ใช้ฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ นั้น จึงเป็ฯการแสดงให้เห็นถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของบบรรดาสมาชิกฝูงชนดังได้กล่าวแล้ว
        ในจิตวิทยาสังคม ได้กล่าวถึงฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้แสดงนัยอันเป็นความหมายทีบ่งบอกให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมของคนจำนวนหนึ่ง ๆ ซึ่งต่างมีการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ตามปัจจัยอันเป็นสาเหตุให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยใช้คำที่มีัลัษณะและความหมายที่สามารถเข้ากันได้และลงรอยเดียวกัน การศึกษาฝูงชนตามแนวจิตวิทยาสังคมนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็ฯพฤติกรรมที่แสดงออกตามความรู้สึกของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งมีทั้งความรุนแรงก้าวร้าว และความสมานฉันท์ด้านนันทนาการ
        ตามปกติ ฝูงชนจะมัลัษณะสำคัญที่เป็นที่ยอมรับกัน คือ เป็นผลของการแสดงออกของพฤติกรรมรวมหมู่ในด้านรูปธรรม อันทำให้พฤติกรรมรวมหมู่ปรากฎเป็นรูปร่างตัวตนขึ้นมา โดยอาศัยเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรากฎออกมาตามลักษณธที่เห็นว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยจะมีภพความปั่นป่วนระสำ่ระสายของฝูงชนในลักษณธของการวนเวียนจับกลุ่ม การเดินไปเดินมาโดยไร้จุดหมายที่แน่นอน และยังถือว่าเป็นความกระวนกระวายอย่างหนึ่ง เป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวโดยไร้จุดหมายของคนในฝูงชน อันหมายถึง ภาวะขัดแย้งที่ปราศจากผู้นำ และความกระวนกระวายนี้ยังเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปลุกเร้าทางจิตอันเป็ฯความผิดปกติทางอารฯ์ร่วมกันระหว่างสมาชิก ซึ่งเป็ยผลมาจากการที่สามชิกมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน มีการเร้าทางอารณ์ ทำให้บรรดาสมาชิกเกิดความตื่นเต้น และมีอารมณ์ร่วมเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยภาวะแห่งการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เหล่านั้นไปยังบุคคลอื่นๆ อีกด้วย ดอันเป็นการช่วยกระจายความรู้สึกให้ขยายเป็นวงกว้างออกไป ซึ่งสภาพเช่นนี้ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพฝูงชนขึ้น และสามารถลงมือกระทำการต่างๆ ได้
        อีกประการหนึ่ง ยังมีฝูงชนอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างออกไปจากผู้รับสร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าทางอารมณ์ที่แต่ละคนต่างมีข้อกำหนดระหว่างบุคคลแต่ละบุคลที่ต่างมีความเกี่ยวข้องกัน และยังมีความแตกต่างจากมหาชน อีกด้วย โดยที่แต่ละคนจะมีความใกล้ชิดด้านกายภาพระหว่างสมาชิกด้วยกัน ดังกรณีนักศึกษาตามสถานศึกษาต่างๆ ขณะที่มีการแข่งขันกีฬาต่างก็จะมีอารมณ์ร่วมกัน และมีสภาพการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนในรูปของความเป็นฝูงชนได้ ประชาชนต่างมายืนรอรถประจำทางตามป้ายจอดรถก็จะดเป็นฝูงชนเช่นกัน เรียกว่า ฝูงชนบังเอิญ แม้พฤติกรรมฝูงชนก็จัดเป็นรูปแบบพื้นฐานของพฟติกรรมรวมหมู่ การพิจารณาฝูงชนดังกล่าวข้างต้นเป็นการกล่าวในแง่ของสังคมวิทยา ที่พิจารณาฝูงชนทั้งฝูงชนหรือพิจารณาหมดทั้งกลุ่ม มิได้พิจารณาเฉพาะเจาะจงบุคคลใดบคคลหนึ่งหรือบางกลุ่มบางส่วนในฝูงชนนั้น
        สภาวะรวมหมู่ ฝูงชนมัเป็นที่ยอรับกันว่า เป็นสภาวะรวมหมู่ทั้งนี้ เนื่องจากมีลักษณะที่แน่นอน ซึ่งมักจะไ้รับการกล่าวขานในด้านโครงสร้างทางจิตวิทยาโดยตรงแต่บรรดนักการศึกษาต่างพยายามหานิยามอันเป็นที่ยอมรับกัน  จนเป็ฯที่ตกลงด้านจำนวนเป้าหมายที่กำนดตายตัวลงไปเท่านั้นว่า
   - ฝูงชนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกลุ่มที่เป็ฯทางการในบางรูปแบบ
   - ฝูงชน เป็ฯการรวมตัวกันเพียงชัวคร้งชั่วคราวเท่านั้น โดยอาจจะก่อรูปขึ้นมาเป็ฯกลุ่มที่เป็นทางการก็ได้ หรือกาจเกิดขึ้นในรูปขององค์การที่ถาวรก็ได้
   - มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนของบรรดาปัจเจกบุคคลประเภทหนึ่ง ทั้งนี้ จะเป็ฯไปตามเงื่อนไขตามที่ยอมรับกันหรือไม่ก็ตาม แต่ถือว่าสามารถสื่อความหมายกันภายฝูงชนนั้น ๆ ได้ แม้กระน้นก็ตามก็ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่จะทำให้คนมารวมกัน หรือทำให้คนเหล่านั้นได้รับความรู้เหมือนกันกับคนอื่น ๆ ในกรณีเช่นนี้ ฝูงชนจึงประกฎเป็นรูปร่างทางกายภาพขึ้นโดยทันทีทันใด..
   - ฝูงชนนั้นยังอยู่ในกระบวนการตลอดไป เนื่องจากมีลักาณะเป็ฯเด็กหลงพ่อแม่ อย่างหนึ่ง
   - ฝูงชนนั้น ส่วนใหญ๋แล้วจะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก คนเพียงสามคนไม่อาจจัดเป็นฝูงชนได้
            ทั้งนี้เนื่องจากฝูงชนเป็นเรื่องของคนแต่ละคนที่ต่างมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินการต่าง ๆ เฉพาะตน ฝูงชนจึงเป็นผลรวมหรือมวลรวมทางพฤติกรรมของสมาชิกเองเมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ฝูงชนในฐานะสภาวะรวมหมู่ พอสรุปได้ดังนี้
   - บางรูปแบบมัลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มที่เป็นทางการ
   - เป็นการรวมกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่ง
   - แต่ละคนสามารถสื่อความหมายกันได้
   - อยู่ในกระบวนการตลอดไปคือมีความเป็นไปโดยไร้ระเบียบแบบแผนตายตัว
   - ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก
ดังนั้น ฝูงชนในสภาวะรวมหมู่จึงมีลักาณะการรวมกันที่ไม่ได้มีการวางแผนกำหนดการแน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องการรวมหลุ่มกันตามความพอใจและความประสงค์ของแต่ละคนนั้นเอง
         ลักษณะเฉพาะของฝูงชน ที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่
         - มีสภาวะนิรนาม ฝูงชนจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ทั้งด้านชื่อเสียง และภูมิหลังของกนและกัน มักปรากฎในช่วงเวลาอันั้น โดยเป็นไปเพียงชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ผู้ที่มารวมกันนั้นแต่ละคนจะไม่สนใจในกันและกน คือไม่มีความรู้สึกต่อกันและกันในฐานะส่วนตัว หรือเป็นส่วนบุคคลเลย ทุกคนจะถือว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การแสดงออกทางพฤติกรรมก็เป็นไปในรูปของกลุ่ม ความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดีต่าง ๆ ทางสังคมไม่ว่าจะด้านกฎหมายและด้านศีลธรรมจะถูกลืมและขจัดออกไป ทุกคนจะมีความรู้สึกว่าอิสระเสรีในการกระทำและแสดงออก การกระทำบางอย่างก็ดี การแสดงออกก็ดีในเวลาปกติจะไม่กรทำ เพราะถือว่าขัดต่อบรรทัดฐานทางสังคม
         - มีลักษณะเป็นอบุคลิก  เป็นสภาวะที่ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะลักษณะเช่นนี้เป้ฯลักษณะที่ไม่คำนึงถึงตัวบุคคลเป็นสำคัญ โดยแตละคนต่างทำหน้าที่ของตนตามบทบาทที่เกิดจากสถานภาพเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้จะปรากฎเด่นชัด เมื่อมีการจลาจลวุ่นวายที่เกิดจาปัญหาเชื้อชาติไม่ว่าจะโดยทางชาติพันธุ์ หรือความสัมพันธ์ทางเชื่อชาติ แม้คนในฝ่ายตรงข้ามจะไม่เคยประพฤติผิดเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จะเป็นคนดีเพียวใดก็ตาม ในกรณีที่เกิดเหตุกาณ์เชนนั้นขึ้น เกณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องวัด "ความดี" ก็ดี  "ความเป็นเพื่อน" ก็ดี ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีเช่นนี้ได้ เพราะไร้ประโยชน์ ต่อเมื่อเหตุการณ์สวบหรือสลายตัวแล้ว ความสัมพันธ์ที่มีอยูต่อกันก็จะกลับกลายมาเป้นสวนบุคคลเช่นเดิม
          - สภาวะแนะนำง่าย สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดฝูงชนนั้นไม่ได้กำหนดสถานภาพและบทบาทของฝูงชนมาแต่เดิม เป็นแต่เพียงกำหนดระเบียบและโครงสร้างไว้ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงไม่มีผู้นำที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหรือได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยเฉพาะรวมถึงไม่มีรูปแบบของพฤติกรรมอันเป็นที่ยอมรับกัน ฝูงชนในลัษณะเช่นนี้จึงมีความว้าเหว่ อ้างว้างขาดที่พึ่งพิง ปราศจากหลักยึดเหนี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักทางใจ เพื่อที่จะให้ฝูงชนดำเนินการและปฏิบัติตามความรับผิดชอบที่แต่ละคนจะพงมี กลุ่มจึงเป็นผู้รับผิดชอบโดยการสร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นมาให้สมาชิกปฏิบัติ ในกรณีเช่นนี้สถานะของกลุ่มจึงมักมีการชัดแย้งกันและสร้างความยุ่งเหยิงเสมอในภาวะของสถานกาณ์เช่นนั้นประชาชนอาจปฏิบัติตากการชี้แนะของใครก็ได้..
          - การแพร่ติดต่อทางสังคม หรือการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เป็นการกระทำระหว่างกันทางสังคม โดยที่แรงดลเหรือความรู้สึกที่แพร่จากบุคคลไปยังบุคคลอื่น ยังผลไใ้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน มักใช้ในสถานกาณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคลั่งไคล้ ความแตกตื่น หรือความระเริงใจ...
          - คุณสมบัติเฉพาะของฝูงชน ฝูงชนเป็ฯสภาพแห่งการรวมตวกันตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของปัจเจกบุคคล อันเกิดขึ้นจากปัจจัยบางอย่างที่เป็นตัวการเร้าหรือจูงใจให้เกิดขึ้นมาดังนี้นเรื่องของฝูงชน แม้ว่าเราจะทราบกันแล้วว่าเป็นการรวมกันของคนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ไม่ว่าจะโดยการนัดหมายกันหรือมิได้นัดหมายกันไว้ก็ตาม แต่พึงเข้าใใจว่าฝูงชนนั้มีจุดรวมอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นเครื่องจูงใจให้แต่ละคนมารวมตัวกันก่อสภาพเป็นฝูงชนขึ้น นั้นคือ จุดประสงค์ หรือเป้าหมายที่แต่ละคนมีอยู่ จุดประสงค์หรือเป้าหมายอันนี้ จะเป็นตัวการหรือเป็นปัจจัยจูงใจให้คนมารวมกันในสภาพของฝูงชนขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวมันเองว่ามีคุณสมบัติเช่นใดอันจะทำให้เห็นสภาพที่แท้จริงของฝูงชนได้
           - นิยาม "ฝูงชน" ฝูงชนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีคนจำนวนหนึงมารวมกัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดดยแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันด้านการกระทระหว่างกันเฉพาะตัวบุคคลหรือต่างมีความรู้สึกและพฤติกรรมตรงกันก็ได้ คำว่า "ฝูงชน" นี้ บางครั้งในที่บางแห่งถูกนำมาใช้หมายถึงกลุ่มของคนที่เป็ฯโรคจิตชนิดหนึ่ง หรือภาวะของจิตภาวะหนึ่ง ที่อยู่ในภาวะของความเป็นฝูงชน ที่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้
     มีข้อน่าสนใจเกี่ยวกับฝูงชนอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ฝูงชนนั้นถึงแม้จะเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมก็ตามแต่จะมีข้อจำกัดด้านเวลาและมักจะปรากฎอยู่ในสถานที่เดียวกันโดยมักจะปรากฎในสภาพที่มีลัษณะของการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ และอาจรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นการเคลื่อไหวที่บางครั้งไม่เคยมีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าอีกด้วย
     เมื่อว่ากันตามลักษณะของปรากฎการณ์แล้ว ฝูงชน เป็ฯการรวมกลุ่มกันอย่งหนึ่งของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ในลักษณะที่มีการกระทำทางสังคมระหว่างกันและกัน เพียงแต่ว่ากลุ่มนั้นไม่ใช่การรวมตัวกันของบรรดาบุคคลต่าง ๆ ที่อาจจะพอนับกันได้ แต่เป็นการติดต่อเกี่ยวขข้องกันของบรรดาบุคคลที่อยู่ในระดับเดียวกัน ด้านการให้และการรับ นั้นคือการกระตุ้นและการตอบสนองระหว่างบรรดาสมาชิกด้วยกัน

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Stratification and Social Change (ช่วงชั้นและการเปลี่ยนแปลงทาสังคม)


      แม้ว่าช่วงชั้นจะมีอยู่ในทุกสังคม แต่รูปแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสังคมและเป็นการยากที่จะใช้เกณฑ์อันใดเพียงอันเดียว เช่น ความมั่นคง การศึกษา ความกล้าหาญ อำนาจฯ เป็นตัวกำหนดในตำแหน่งทางสังคมให้กับบุคคล จะเป็นการช่วยได้มากหากคิดว่า ช่วงชั้นทางสังคมเป็ฯเสมือนบันไดไปสู่ชั้นสูงสุดในสถานภาพของบุคคลจากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง ช่วงชั้นจะเป็นรากฐานซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่ง บุคคลผู้ซึ่งอยู่ในชั้นต่ำสุดจะถูกมองว่าต่ำต้อยที่สุด เช่นเดียวกับผู้ซึ่งอยู่ในชั้นสูงสุด จะถูกมองอย่งยกย่องชื่นชมในสังคมหนึ่ง ๆ ระดับความแตกต่างที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับค่านิยมของคนในสังคมนั้น ตำแหน่งของบุคคลถูกกำหนดโดยค่านิยมซึ่งสมาชิกของสังคมได้ให้ไว้ในการแสดงบทบาทางสังคมและใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินโดยการใช้ค่านิยมแบบอัตตวิสัย อย่างไรก็ตาม การตัดสินนี้อาจพบว่าขึ้นอยู่กับการพิจารณาโดยฝช้วัตถุวิสัย เข้าเกี่ยวข้องด้วย ระบบช่วงชั้นทางสังคมเป็นสิ่งต่อเนื่องซึ่งเมื่อทุกคนมีตำแหน่งและตำแหน่งนั้นในทางกลับกันได้แบ่งแยกในพื้นฐานของสิทธิและอภิสิทธิ์

      ในทุกสังคม ถ้ามองในแง่ปฏิบัติแล้วจะเห็นว่ามนุษย์มีบทบาทและความแตกต่างกันในศักดิ์ศรีหรือสถานภาพซึ่งขึ้นอยู่กับบทบาทเหล่านี้ ถ้าพูดง่าย ๆ มนุษย์ทุกคนไม่มีสิ่งที่เท่ากัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเที่ยมกัน อาจกล่าวได้ดังนี้
     - ตัวการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเราไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น อายุ เพศ ความสามารถทางร่างกาย สมองสติปัญญา เป็นต้น
     - ลักษณะที่ได้มาโดยการสร้างขึ้นหรือหามาภายหลัง เป็นสิ่งซึ่งได้รับเนื่องจากความสามารถ
     - เป็นลักษณะที่เห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ แต่เกือบจะหลายเป็นเรื่องติดตัว เช่น ยศฐาบรรดาศักดิ์ วรรณะ
      การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม เป็นระบบซึ่งใช้เพื่อแบงแยกระดับความแตกต่าง ของตำแหน่งของแต่ละบุคคล หรือช่วงชั้นของศักดิ์ศรี หรือสถานภาพของบุคคลและลักษณะความแตกต่างของชุมชนเมื่อเปรียบเทียบกัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระดับของคนในแต่ละสังคมแต่ละกลุ่ม
       หน้าที่และประโยชน์ของช่วงชั้นทางสังคม การแบ่งช่วงชั้นทางงสังคมมีทั้ง หน้าที่ ประโยชน์ โดยตรง และโดยทางแอบแฝง ซึ่ง มีผลต่อสังคมทัี้งหมดและจะมีผลต่อกลุ่มต่างๆ ในสังคม ผลบางอย่งของช่วงชั้นเป็นไปในทางที่ยอมรับเป็นประโยชน์ บางอย่างก็เป็นไปในทางปฏิเสธหรือไม่เป็นประโยชน์
       หน้าที่ ประโยชน์ของช่วงชั้นก็เพื่อคงไว้ซึ่งระบบสังคมโดยเป็นกลไก ซึ่งบุคคลที่อยู่ในช่วงชั้นที่ได้รับการยกย่องนับถือของสังคม เข้าใจในบทบาทและอภิสิทธิ์ สิทธิ์ ที่เขาคาดหวังหรือต้องรการ ซึ่งเป็นผลจากการมีบทบาทของเขา ระบบช่วงชั้นก่อให้เกิดแบบแผนพฤติกรรมของแต่ละบทบาทสถานภาพซึ่งจะแตกต่างกัน แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะมีวัฒนธรรมทั่งไปที่คล้ายคลึงกัน
       การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม มี 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- วรรณะ ระบบวรรณะเป็นการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมโดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพซึ่งจำกัดบุคคลที่จะหใ้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่าเมือเขาเกิด ระบบวรรณะเป็นระบบช่วงชั้นซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว
- ฐานันดร เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นซึ่งตายตัวน้อยกว่าวรรณะ แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับประเพณีและความไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อที่ดิน การเขยิบฐานะเป้นไปได้และม่มีศาสนาค้ำจุนเหมือนอย่างระบบวรรณะ ฐานนัดรเกิดขึ้นตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง เดิมมีเพียงสองฐานันดร ได้แก่ ฐานัดร นักบวช และฐานันดรขุนนาง ต่อมาภายหลังมีเพิ่มขึ้นอีก ระบบฐานันดรเป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนชั้นต่างๆ แตกต่างกันไ โดยทั่วไป ชนชั้นและฐานันดรเป็นคำแทนกันได้ ฐานันดรจะเปลี่ยนเป็นชนชั้นเมื่อมีความเกี่ยวข้องผูกพ้นกับการกระทำที่ท้าทาย  เช่น การขัดกันระหว่างชั้นจะหลายเป็นการต่อสู้ของชนชั้น แม้จะเรียกว่าการชัดกันระหว่างฐานันดรก็ตาม โดยปกติเราจะแยกความแตกต่างของคำทั้งสองในลักษณะที่ว่า ฐษนันดรจะถูกมองในส่วนของชุมชน และชนชั้นจะเกี่ยวข้องทั้งสังคม
- ชนชั้น ในระบบวรรณะ ตำแปน่งทางสังคมถูกกำหนดขึ้นเมื่อบุคคลเหล่านั้นได้ถือกำเนิโดยขึ้นอยู่กับวรรณะของบิดามารดา  ชนชั้นของสังคมประกอบด้วยจำนวนของบุคคลผุ้ซึ่งมีความเท่าเที่ยมกันในตำแหน่งซึ่งจะได้รับโดยความสามารถมากกว่าจะเป็นไปโดยกำเนิด มีโอกาสที่จะขยิบฐานะขึ้นหรือลงจากชั้นหนึ่ง Max weberได้เขียนถึง "ชนชั้น" วาประกอบด้วย กลุ่มของคนซึ่งมีโอกาสในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สภาพชีวิตความเป็นอยู่ภายนอกและประสพการณ์ในชีวิตของบุคคล ซึ่งถูกกำหนดโดยเงื่อนไขแห่งอำนาจ เพื่อช่วยการจัดระเบียบรายได้แลเศรษฐกิจ Ely Chinoy จำกัดความตาย "ชนชั้น" โดยเน้นถึงด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่า ได้แก่ กลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีความสามารถในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ
           ชนชั้นทางสังคมประกอบด้วยจำนวนคนผู้ซึ่งมีสถานภาพโดยเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเราถือว่าเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ตามความคิดนี้ใช้กับกลุ่มคนซึ่งถูกแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ซึ่งได้แก่ ชนชั้นสูง ซึ่งเป็ฯพวกที่มีสถานภาพสูงและมีเกียรติ ชนชั้นกลาง และชนชั้นต่ำ ซึ่งเป็นพวกที่มีสถานภาพต่ำที่สุดและมีเกียรติน้อย
     ความไม่เท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีเกียรติยศ
     หลักในการศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับ เกียรติของอาชีพ ศักดิ์ศรีเกี่ยติยศมีส่วนสัมพันธ์กับรายได้และการศึกษาของผู้ที่ทำงาน  แต่มีข้อที่น่าสนใจ คื อรัฐมนตรี และ ครู มีศักดิ์สูงกว่ารายได้ แต่สัปปะเหร่อกับนักร้อง จะมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าเมื่อเทียบกับรายได้ที่เขาได้รับ     และเกียรติซึ่งได้รับในชุมชน
      ชนชั้นทางสังคมเป็นเสมือวิถีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น ตำแหน่งชั้นของบุคคลกลายเป็นวิถีชีวิตของเขา โดยมีอิทธิพลต่อรูปแบบของทัศนคติและค่านิยม ความคิดทางการเมือง พฤติกรรมทั่วไปของเขา สิ่งซึ่งจะแสดงให้เห็นได้ คือ
      - ความแตกต่างของชนชั้นในจำนวนเด็กที่เกิดในครอบครัวต่างๆ ซึ่งเขาจะมีวิถีชีวิต ตามแบบของครอบครัวของเขา ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ของเขาเอง
      - ชนชั้นจะแตกต่างกันเนื่องจากค่านิยมซึ่งขึ้นกับการศึกษาในระดับต่างๆ
      - จะมีความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของชนชั้นและพฤติกรรมทางการเมือง
      - การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาจะผูกพันกับชนชั้นหนึ่ง ๆ ของสังคม
      - ชนชั้นทางสังคมใหญ่ ๆ ทั้งสาม อันได้แก่ ชนชั้นสูง ชั้นกลาง และต่ำ แต่ละชั้นมีแนวโน้มในการประพฤติตามบันทัดฐานและระบบค่านิยมที่เข้มงวดอย่างมีความสุขและความพอใจต่างกันไป
     
        การเปลี่ยนแปลงในชาติที่กำลังพัฒนา
        สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสังคมหรือการทำให้นำสมัยใหม่เสมอ ในอัฟริกา และเอเชีย ซึ่งได้รับประสบการณ์จากตะวันตก ในกรณีของช่วงชั้นก็เช่นเดี่ยวกัน
        ชาติต่างๆ เหล่านนี้เดิมถูกปกครองโดยพวกขุนนาง ในอินเดียและประเทศส่วนมากในอัฟริกาปัญญาชนได้แก่พวกที่ส่งมาปกครอง ซึ่งพวกนี้จะอยู่ในชั้นที่เหนือกว่าคนที่เป็นเจ้าของประเทศ แม้จะมีเกี่ยรติก็ตาม ในลาตินอเมริกา ปัญญาชนประกอบไปด้วยพวกศักดินา ขุนนางเจ้าของที่ดิน ซึ่งโครงสร้างนี้่อนข้างจะเป็นช่วงชั้นที่ตายตัว และเป็นปิรามิดสูงชัน ปัญญาชนที่มีอำนาจมีเพียงจำนวนน้อย ซึ่งอยู่บนส่วนสูงสุดของปิรามิด และที่เหลือซึ่งเป็นคนส่วนมากของประเทศเป็นพวกชาวนา
        จากการผสมผสานของพลังงานทางสังคมต่าง ๆ การจัดแจงสิ่งซึ่งคงอยู่เป็นการท้าทายในสังคม ซึ่งมีผล คือ มีการปรับปรุง ตัวแทนสังคมที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ พวกซึ่งเป็นชสชั้นกลางใหม่ของประเทศซึ่งจะต้องเข้าใจว่า ชนชั้นกลางเช่นนี้ ไม่ใช่แบบซึ่งพบในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เป็นชนชั้นกลางซึ่งมีอยู่ในสมัยเริ่มแรกของประเทศ เป็นกลุ่มซึ่งเรียกว่า Bourgeoisec ในประวัติศาสตร์ของตะวันตก กลุ่มนี้ประกอบด้วยพวกที่เป็นเจ้าของกิจการทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอำนาจทางเศรษฐกิจและเป็นผลถึงการเมืองเพื่อว่าจะได้รักษาตำแหน่งของตนไว้อย่างมั่นคง
        พวกชนชั้นกลางในประเทศที่กำลังพัฒนา ปัจจุบันไม่ใช่พวกเจ้าของกิจการ แต่จะเป็นพวกที่ทำงานทนายความ ครู นักการเมือง ทหาร ซึ่งส่วนประกอบของชนชั้นนี้จะต่างจากตะวันตก เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และมีอาชัพอื่นๆ ที่สำคัญกว่า และเนื่องจากการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และเครื่องมือต่างๆ  เป็นไปได้อย่างมากสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา รัฐบาลมีส่วนช่วยให้กิจการต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจสำเร็จลุล่วงไปได้มากกว่าบุคคลแต่ละคนได้ทำ
       ชนชั้นกลางเปลี่ยนจากซึ่งเคยเป็น ในตะวันตกกลุ่มชนชั้นกลางที่ทำกิจการซึ่งช่วยให้กิจการปฏิวัติทางสังคมในประวัติศาสตร์ ปัจจุบันชาติที่กำลังพัฒนา หน้าที่เช่นนี้เป็นของชนชั้นกลางเช่นกัน การแสดงบทบาทของชนชั้นกลางก็ได้รับความสำเร็จในการพัฒนาจากสังคมแบบประเพณีมเป็นความนำสมัย และเืพ่การมีอำนาจและการบังคับ กลุ่มนี้ซึ่งส่วนมากได้รับการศึกษาจากตะวันตก ซึ่งต้องท้าทายต่อชนชั้นที่สนับสนุนพวกขุนนางเก่า เขาจะได้ชัยชนะก็โดยที่ำทความเชื่อมั้นแก่มวลชน ซึ่งคนพวกนี้ในอนาคตจะมีส่วนผูกพันต่อความสำเร็จของชนชั้นกลาง อุดมกาณ์ รายได ความสำเร็จเหล่านี้ได้กลุ่มเป็นชาตินิยม
    
       
      

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Perjudice

     Discrimination การแบ่งแยก หรือการแบ่งพรรคแบ่งพวกมีผู้ให้คำจำกัดความดังนี้
          David Dressler  กล่าวว่า คือการกีดกันคนอื่นโดยแบ่งคนอื่นแยกพวกออกไปอย่างไม่ยุติธรรมและเป็นวิธีการที่ไม่มีความเสมอภาค
          Williams ให้คำจำกัดความว่าเป็นการแยกพวกแยกกลุ่มโดยปฏิบัติต่อกลุ่มคนแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไปอยา่งเลือกที่รักมักที่ชัง แล้วแต่ว่าบุคคลเหล่านั้นมาจากกลุ่มสังคมใด
          Simpson and Yinger กล่าวว่า โดยปกติหมายถึงการแสดงออกที่ปรากฎอย่างเปิดเผย หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมเมื่อมีอคติอยู่ในใจ เป็นการปฏิบัติตอบต่อบุคคลโดยแบ่งประเภทของเขาแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นเป็นสมาชิกจากกลุ่มใดแน่ และโดยทั่วไปบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติดังกล่าวจะถูกกีดกันสิทธิ หรือสิทธิพิเศษบางอย่างที่คนอื่นๆ ในสังคมซึ่งไม่ได้มาจากลุ่มชนกลุ่มน้อยจะมี หรือได้รับ
            นอกจากนี้ยังอาจเกิดจาdโดยไม่มีความรู้สึกอคติด้วย เช่นคนๆ หนึ่งปฏิเสธที่จะรับเป็นสมาชิกผู้อุปถัมภ์ของกลุ่มชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง เพราะรู้สึกว่าการทำเช่นนั้นอาจจะกระทบกระเทือนกับธุรกิจของตนที่ดำเนินอยู่ โดยอาจไม่มีอคติอยู่ด้วยเลยเป็นส่วนตัว เพียงรู้สึกว่าตัวอขาต้องคำนึงถึงธุรกิจก่อนอื่นเท่านั้น ดังนี้เป็นต้น
         อคติและ discrimination เกิดขึ้นจากต้นเหตุหลายเรื่อง หรือหลายคน หลายพวก และอาจจะเป็นหลายสิ่งก็ได้ แต่ในที่นี้กล่าวถึงในแง่ที่เกี่ยวข้องในเรื่อง เชื้อชาติ ชาติพันธ์ และคนกลุ่มน้อย
         ลัทธิชาติพันธ์อาธิ ลัทธิชาติพันธ์ในหมู่นาซีที่ถือว่าประชากรของแต่ละเผ่าพันธ์นั้นมีลักษณะทางกายเด่นเฉพาะอย่าและมีคุณลักษณะกรรมพันธ์ทางปัญญาและอารณ์ ไปตามเผ่าพันธ์ทีมีลักษณะทางกายนั้นๆ ซึ่งจะไม่มีการเปล่ียนแปลงไม่วาจะไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร และกลุ่มเผ่าพันธ์นั้นๆ จะประพฤติในวิถีทางของตนอยู่เสมอตลอดไป ด้วยเหตุนี้นาซีจึงเชื่อว่ากลุ่มคนบางกลุ่มเกิดมาเพื่อเป็นนายพวกอื่นๆ และเชื่อว่าชาติพันธ์บางเหล่าเกิดมาเพื่อเป็นทาสหรือเพื่อรับใช้คนอื่น ลักษณะความเชื่อของพวกนาซีโดยพื้นฐานแล้วจะคล้ายคลึงกับทฤษฎี "Negro Inferiority"
        ลักษณะบ่งชี้ทางชาติพันธ์เป็นความแตกต่างทางสังมที่สำคัญอยางหนึ่งที่จะมีผลต่อการแสดงออกและพฤติกรรมของคนเราภายในสังคม
        ทัศนคติทางชาติพันธ์ุกับพฤติกรรมที่แสดงออก
- ในสังคมมนุษย์ส่วนมากแล้ว คนมักมีความโน้มเอียงที่จะชื่นชมกับคุณสมบัติของตัวเองแล้วและจะแสดงออกกับคนนอกกลุ่มที่ต่างชาติพันธ์ุออกไปในทางลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพวกที่มีสถานภาพต่ำต้อยกว่าทั้งหลาย
     ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ที่เป็นแบบตายตัว นั้นเป็นพฤติกรรมที่มีต่อสมาชิกของกลุ่มชาติพันธ์ุที่มาเกี่ยวข้องด้วย และบ่อยครั้งที่ลักษณะนี้ก็มักจะได้รับการยอมรับจากสมาชิกภายในชนกลุ่มนั้นๆ เองด้วย
      ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์แบบตายตัว มักจะเป็นตัวกำหนดวางเงื่อนไขให้คนเรามีปฏิกิริยาโต้ตอบไปในลักษณะใดลัษณะหนึ่ง แนวใดแนวหนึ่ง ในระหวา่งคนกลุ่มใหญ่ กับคนกลุ่มน้อย และมักไม่ค่อยเปลี่ยนง่ายๆ
- องค์ประกอบของโครงสร้างบางอย่างในสังคมก็อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกอคติ หรือ พรีจูดิช Prejudice และการแบ่งพวกแบ่งหล่าต่อชนกลุ่มน้อยได้เช่นเดียวกัน
      ผู้ที่มีอคตินั้นปกติจะประเมินความรู้สึกอคติที่ตัวเองมี น้อยไปกว่าความรู้สึกจริงๆ ที่ตนมีอคติอยู่ คนที่มีอคติมักจะไม่ทันนึกถึงอิทธิพลของความรู้สึกอคติที่จะมีผลต่อการแสดงออกของตน และมักไม่อายที่ตนมีควมรู้สึกเช่นนั้ ตรงข้ามมักจะมองเห็นว่าความรู้สึกรุนแรงหรือความรู้สึกชิงชังของตนที่มีต่อชนกลุ่มน้อยที่ตนไม่ชอบนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมชาติและสาสมกันแล้วกับความประพฤติไม่ดีไม่งามของชนกลุ่มน้อยนั้นๆ ซึ่งตนไม่ชอบ
      ในสหรัฐอเมริกา "แรกเริ่มที่เดียว อคติทางเชื้อชาตินั้นมีจุดเร่ิมจากความจำเป็นทางด้านอุตสาหกรรม ระยะนั้นคนจีนเป็นพวกครต่างด้าวหรือพวกอพยพเข้าเมืองที่ถือกันว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นพลเมืองที่ขยันขันแข็ง อยู่ในระเบียบวินัยดีถือกันว่าเป็นพวกอพยพที่ดีที่สุดสำหรับรัฐแคลิฟอร์เนีย เพราะเป็นพวกขีเหนียวไม่ขี้เหล้าเมายา ว่าง่ายไม่เกะกะระรานใคร เพราะเคารพกฎหมายดี ทั้งยังมีความสามารถรอบด้าน ปรับตัวได้เก่ง...หลายปีต่อมา พวกยุโรปอพบพเข้ามา ปัญหาเกิดขึ้นจากากรที่นจีนไม่เลืองานและขยันทำได้หลายอย่าง ทำให้ก่อสถานการณ์ไปในรูปของการแข่งขันเชื่อดเฉือนกับการทำมาหากินรับจ้างของพวกยิวขาวหรือพวกฝรั่ง ในระยะนี้ใครๆ ก็แยกคนจนที่นั้นออกเป็นพวกต่างหาก ว่าเป็นพวกที่ไม่ยอมทำตัวเข้ากับเจ้าของประเทศ ยึดมั่นในขนบประเพณีกับกฎเกณฑ์กฎหมายเฉพาะของพวกตัวเอง เกิดความรู้สึกว่าพวกคนจีนที่เข้ามานั้นไม่ได้มาตั้งรกรากหลักฐานในอเมริกา แต่เข้ามาเพื่อขนทรัพย์สมบัติ กลับประเทศตน เกิดทัศนคติว่าชาวจีนมีเลห์เหลี่ยม โกหกมดเท็ด..ต่ำกว่าพวกอินเดียแดงที่เคยดูถูก
      ความรู้สึกฯ อย่างนี้มีอยู่ภายในสังคมหนึ่ง ๆมักมีแนวโน้มที่บุคคลในสังคมนั้นๆ จะร่วมรับไปเลียนแบบตามกันไปด้วยอย่างไม่รู้ตัว
     สงครามผิวในสหรัฐอเมริกา คนชาตินิโกร หรือถ้าเรียกให้ถูกต้อง เชื้อชาตินิโกรสัญชาติอเมริกันได้เข้าสมัครสอบและเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี ขณะที่เรียนก็เกิดการจลาจลขึ้น เพราะมีพวกผิดขาวบางคนต่อต้านไม่ให้เข้าเรียน การจลาจลครั้งนี้ร้ายแรงมากมีผู้เสียชีวิตสองน เป็นเหตุให้รัฐบาลกลางต้องส่งทหารและตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์และความปลอดภัย
     ลัทธิเหยียดผิดในสังคมประเทศคอมมิวนิสต์
     การเหยียดผิวมิได้เกิดขึ้นเฉพาะโลกเสรี แม้แต่คอมมิวนิสต์ยังมีลัทธิเหยียดผิว ดังจะเห็นได้จากการแตกกันระหว่างจีนแดงกับรัสเซีย ซึ่่งเป็นชาติผิวเหลือและผิวขาวที่เป็นคอมมิวนิสต์ด้วยกันบาดหมางกัน จีนแดงโจมตรรัสเซียเป็นฝรั่งเหมือนกับอังกฤษและอเมริกา ซึ่งคนผิวดำผิวเหลืองควรจะต่อต้าน...
      การสังหารหมู่ชาวยิว ซึ่งเป็นต้วอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นอคติในเรื่องเกี่ยวกับชาติพันธ์ุ...

      เงื่อนไขของอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก  ความเกี่ยวพันระหว่างการที่คนเราจะมีอคติ มีความรุนแรง หรือมีมิตรภาพไม่ตรีจิตกับคนนอกกลุ่ม หรือกลุ่มชาติพันธ์ที่ไม่ใช่พวกตนนั้นพบว่า สืบเหนื่องมาจากต้นตอหลายอย่างด้วยกันอาจท้าวความจากจุดเร่ิมจากความโน้มเอียงตั้งแต่อดีตในประวัติศาสตร์ ไปจนถึงต้นตอจากแผงผลักดันทางจิตใจในส่วนลึกต่างๆ นานาส่วนบุคคลก็ได้
     - "อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่ใช่เรื่องที่มีมาแต่กำเนิ ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เป็นิส่งที่มีขึ้นที่หลังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัว จะเป็นหน่วยสำคัญที่จะปลูกฝังหรือสร้างอคติ การแบ่งพรรคแบ่งพวกให้กับเด็กในครอบครัวและมักเป็นไปโดยที่ไม่ทันได้ตั้งใจที่จะสร้างภาวะเช่นนั้น"
     "อคติต่างๆ นั้น โดยทั่วไปแล้วจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ กินเวลานานกินเวลาสักระยะหนึ่ง เด็กจะได้รับ จะได้เรียนรู้คุณค่า หรือค่านิยมเกี่ยวกับชาติพันธุ์และรับรู้รับเอาทัศนคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ในแนวต่างๆ ตลอดเวลาที่ไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนอื่นในสังมคสิ่งแวดล้อมครอบตัว อาจเป้นจากผู้ใหญ่จากเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน และจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตของตนเองตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยมาก็ได้ คนจะเรียนรู้ที่จะทึกทัก หรือสรุปเอาว่า กลุ่มใดที่แยกออกไปต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่โรงเรียนหรือภายในชุมนุมชนนั้นๆ ถือว่ามีความด้อยกว่าเดกทึกทักเช่นนั้นด้วยเหตุว่า สังคมคคประพฤติกับพวกนั้นอย่างที่เหยีดพวกนั้นว่าต่ำกว่า ด้อยกว่านั้นเอง..."
      โดยทั่วไปอคติจะก่อตัวเพ่ิมมากขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้นตอนวัยรุ่น ซึ่งอคติที่มีขึ้นจะเกิดควบคู่กันไปกับทัศนคติคต่างๆ ที่ซับซ้อน ก่อตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงวัยนี้ ตลอดจนการแสดงออกที่เป็นอคติ จะมีชัดขึ้น และเป็นไปสม่ำเสมอมากกว่าวัยเด็ก
     อคติกับการแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นไปในทำนองเดียวกับพฤติกรรมแบบอื่นๆ ส่วนมาก ซึ่งจะเป็นไปหรือตามรอยแบบอย่างของขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคมที่ประพฤติปฏิบัติกันมาในชุมชนนั้น ๆ
      ผลจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ประการหนึ่ง คือคนทั้งในกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย ต่างก็รู้ตัวขึ้นใจว่าลักษณะเด่นชัดของชนกลุ่มน้อยคืออะไร เป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปไปให้ความหมาย ขอบเขตข้อจำกัด  ความสัมพันธ์ระหว่างกันควรจะมีแค่ไหน อย่างไร ตลอดจนนำไปสร้างความรู้สึกและความคิดต่อชาติพันธ์อย่างตายตัว ซึ่งกันและกัน
     ผลอีกประการหนึ่งซึ่งสืบเนื่องจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกแยกกลุ่มแยกเหล่าก็คือ สมาชิกในหมู่ชนกลุ่มน้อยมักจะสงสัยตนเอง,เกลียดตัวเอง,มีพฤติกรรมแบบเชื่อถือโชคลาภและหุนหันพลันแล่น,ประพฤติปฏิบัติเกเร ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ข้อบังคับ,มีปมด้อย,ความไม่เป็นสุขภายในครอบครัว,สุขภาพจิตเสื่อมโทรม..
     ในบางกรณีสภาวะที่ก่อร่างสร้างอคติและความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์เป็นแบบตายตัว ขึ้นมาอาจจะค่อนข้างเห็นได้ชัดและองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้อคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกคงอยู่เป็นช่วงเวลาระยะหนึ่งๆ นั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก โดยอาจมององค์ประกอบที่ยังให้อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกคงอยู่เป็น 3 ระดับคือ องค์ประกอบจากโครงสร้างของสังคม ความเป็นมาหรือพ้นฐานของบุคลิกภาพส่วนตัว และวัฒนธรรม

      องค์ประกอบจากโครงสร้างทางสังคม
      การทำตามบรรทัดฐานทางอคติซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมมีอยู่แล้ว
     "เมื่อใดที่อคติและความรู้สึกความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ุแบบตายตัว ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นบรรทัดฐาน อย่างหนึ่งสำหรับสังคมนั้นแล้ว การแสดงออกซึ่งอคติและการแสดงออกซึ่งการแบ่งพวกแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดแจ้งกน่าจะเปนไปเนื่องจากตค้องการ การคยอมรคับจากสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมนั้นๆ
      และการแสดงทัศนคติฉันท์มิตรกับสมาชิกที่เป็นชนกลุ่มน้อย หรือไม่ยอมแบ่งพวกแบ่งกลุ่มแยกตัวต่างหากออกจากพวกคนนอกกลุ่มหรือพวกชนกลุ่มน้อยก็จะมีผลเท่ากับว่าท้าทายบรรทัดฐานแห่งอคติของสังคมนั้ และมักจะจุดชนวนนำมาซึ่งการโต้แย้งไม่ยอมรับ และการตัดสินด้วยวิธีการต่างๆ จาบรรดาสมาชิกในกลุ่ม"
     รูปแบบการมีปฏิกิริยาตอบโต้กัน
     อคติคและการแบ่งพรรคแบ่งพวกจะนำให้เกิดรูปแบบของปฏิกริยาบางอย่างขึ้นมา เพื่อที่จะทำหน้าที่ช่วยรักษาสถานภาพให้คงที่เอาไว้ มีรูปแบบของปฏิกริยาอยู่หลายอย่างที่ช่วยเพิ่มพูนความสามัคคีเหนียวแน่นและเพิ่มพลังอำนาจให้กับกลุ่มในอันที่จะผลักดันการกระทำตามบรรทัดฐานแห่งอคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกนั้นให้เข้มข้นคงตัว องค์ประกอบใดก็ตามที่ทำให้บรรดาสมาชิกในกลุ่มต้องพึงพาอาศัยคนในกลุ่มด้วยกันแล้ว ก็มักช่วยเพิ่มความสามัััคคีของกลุ่มขึ้นไปด้วย
      การสนับสนุนจากผู้นำ
      ความคงอยู่ของอคติและการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยังมาจากการสนับสนุนของหัวหน้าหรือตัวผู้นำกลุ่ม ดังที่เคยกล่าวนั้น พวกผู้นำทางการเมือง เป็นต้น หากเอาใจผู้มีสิทธิออกเสียงเลื่อกตัวด้วยประเด็นของลักษณะเกี่ยวกับบรรทัดฐานบางอย่างทางสังคม บุคคลที่ยึดถือทัศนคติแตกต่างไปจากบรรทัดฐานมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการสมัครรับเลื่อกตั้ง ดังน้นบรรดาผู้นำเล่รนี้เมื่อได้อำนาจแล้วก็จะใช้อิทธิพลแห่งตำแหน่งที่ได้ไปในทางที่จะสนับสนุนส่งเสริมสถานภาพของตนให้ลอยตัว คงตัวอยู่ได้เรื่อยๆ โดยคงรักษาคสภาพความอคติและการแบงพรรคแบ่งพวกที่กลุ่มมีอยู่เอาไว้ เป็นต้น
     ความสัมพันธ์สนับสนุนทารงสิ่งแวดล้อมให้คงความอคตินั้นๆ
     Krech และ Cruchfield ได้สังเกตเห็นว่า ที่ใดซึ่งมีอคติอยู่อย่างแพร่หลายบุคคลจะสามารถสังเกตได้ว่า ที่นั้นมีสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวในรูปแบบต่าง ๆ นานา ที่ต่างก็จะช่วยสนับสนุนเสริมทัศนคติในทางอคติที่มีอยู่เดิมของเขาอย่างมาก
      การแบ่งพวกเกิดขึ้นมาได้จากความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างคนในกลุ่มกับคนนอกกลุ่ม แล้วทัศนคติต่อคนนอกกลุ่มที่มีขึ้นจะมีลักษณะตามบรรทัดฐานที่เป็นอยู่และเท่าที่เห็นพ้องปฏิบัติตามกันมา

      พื้นฐานส่วนตัวทางบุคคลิกภาพ
      อคติเกิดขึ้นและคงอยู่ได้ในแต่ละบุคคลคด้วยเหตุผลเฉพาะตัวทางบุคลิกภาพของแต่ละคนในหลายๆ แง่ ซึ่งจะมองข้ามไม่ได้คือ
       ความขับข้องใจกับการก้าวร้าวโดยใช้วิธีแพาะรับบาป ปกติเมื่อคนเราถูกกีกกั้น ขัดขวางไม่ให้เราสมความต้องการในบางสิ่งบางอย่างเราก็มักจะมีพฤติกรรมแบบก้าวร้าว แต่เมื่อใดสิ่งที่นำมาคับข้องใจมาให้ ไม่สามารถเป็นที่รองรับระบายอารณ์ก้าวร้าว อารมณ์ผิดหวังที่ถูกขัดขวางกีดกันได้ ความรุนแรงทางอารมณ์หรือความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะพุ่งไปสู่คนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวที่เรียกกันว่า "แพะรับบาป"
       ภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่และสถานภาพที่ได้รับ วิธีการป้ายโทษไปยังแพระรับบาปดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด ในที่ที่ซึ่งมีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันอย่างรุนแรง และในที่ซึ่งสถานภาพถูกคุกคาม สภาพการณ์เหล่านนี้ดูเหมือนจะกระตุ้นความรู้สึกอคติได้มากที่สุด
       ความต้องการส่วนบุคคล อาทิ ความไม่ทนต่อความคลุมเคลือกำกวม คนเราจะวุ่นวายใจแตกต่างกันไม่เท่ากันเมื่อพบกับสภาพการณ์ที่สับสนหรือคลุมเคลือคกำกวม พวกที่จัดว่าอยู่ในแบบสุดกู่อาจเป็นในลักษณะที่ว่าต้องการให้ทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ๋วไปเลยทุกอย่าง ทุกเมื่อ ว่าขาว หรือดำ หรืออย่างไรให้แน่นอน กับอีกพวกหนึ่งซึ่งไม่สนใจแยแส ไม่ทุกข์ร้อยวุ่นวายใจเลยแม้แต่สักนิดเมื่อพบสภาพการณ์คลุมเคลือกำกวม โดยคนที่ไม่อดทนต่อสภาวการณ์คลุมเคลือมักจะมีอคติมากกว่าด้วย
       ความต้องการที่จะมีสถานภาพดีกว่าคนอื่น ที่ทำให้จุดชนวนอคติได้ง่ายมาก เพราะความรู้สึกอคติจะทำให้บุคคลที่มีความต้องการนั้น ๆ จัดแยกคนคบางกลุ่มออกไปเสร็จสรรพว่าตำ่ต้อยในทางสถานภาพกว่าตนแน่ๆ แล้วก็อาจจะเกิดความรู้สึกที่จะเลี่ยนแบบอย่างคนพวกเดียวกันโดยอาศัยความอคติเป็นสื่อชักนำ
      Allport กล่าวไว้ว่า "คนเราอาจจะย้อเน้นการยกย่องตัวเอง ชื่นชมกับตัวเองโดยการยกตัวเองไว้เหนือคนอื่น ยกตัวเองดีกว่าคนอื่น เบนความสนใจไปที่คนนอกกลุ่มเพื่อช่วยคงเกียรติภูมิของตัวเองเอาไว้"
     ความต้องการที่จะมีความมั่นคง ความต้องการแบบนี้จะสมใจได้เหมือนกันจากการใช้วิธีการกีดกันคนนอกกลุ่ม มีหลายคนตั้งข้อสังเกตไว้ว่าความขัดแย้งระหว่างคนในกลุ่ม กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกับพวกนอกกลุ่ามจะช่วยนำปสู่การรวมพลังเหนียวแน่นในหมู่สมาชิกของพวกคคนในกลุ่มนั้นๆ ดังนั้น จึงอาจคาดได้ว่าการคกีคดกัคนแบ่งพรรคแบ่งพวก กับความขัดแย้งกับคนนอกกลุ่มมีทางที่จะชวยทำให้บุคคลรู้สึกมั่นคงในการเป็นสมาชิกในกลุ่มที่ตนสังกัดอยู่มากขึ้นและทั้งกินความหมายถึงว่าทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกเป็นพวกเป็นพ้องกับกลุ่มของตนมากขึ้น
      บุคลิกภาพแบบวางอำนาจเผด็จการ เป็นแบบแผนของอุปนิสัยซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยข้องกับอคติเป็นอย่างมาก นักจิตวิทยาที่สำคัญหลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบวางอำนาจมักจะมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ชอบใช้ระเบียบวิธีอย่างเคร่งครัด อบรมสั่งสอนมาอย่างเข้มงวดกวดขันมีการวางเงื่อนไขว่า จะให้ความรักใคร่หรือไม่โดยขึ้นกับว่าได้ทำตัวหรือประพฤติปฏิบัติสอดคล้องกับที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองวางเกณฑ์กำนหดไว้หรือไม่ เพียงใด พ่อแม่หรือผู้ปกครองยอมรับเห็นด้วยกับการแสดงออกต่าง แค่ไหน จึงเกิดความเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกเพื่อให้มีนิสัยยอมตามและรองรับการวางอำนาจข่มขู่บังคม ตลอดจนการถูกกำหนดสถานภาพส่วนตัวไว้แตกต่างออกไป ผลจึงนำไปสู่การขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับอารมณ์แท้จริงของตนได้ ทั้งยังทำให้ก่อเกิดทัศนคติท่าทีที่กระด้าง ไม่มีความยือหยุ่นในการติดต่อหรือคบหาสมาคมกับคนอื่น ได้ง่ายมาก
       บุคลิกภาพและท่าที่ในแนวนี้เป็นพ้ืนฐานการก่อตัวของอคติต่อคนนอกกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มหรือชนกลุ่มน้อย อย่างสำคัญเมื่อเติบโตขึ้น
       ด้วยภาวะที่ต้องเก็บกดความรู้สึกก้าวร้าวเกลียดชังรุนแรงเป็นเวลานาน แต่มาเรียนรู้ว่าการมีอคติกับพวกนอกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มกลับเป็นสิ่งที่สังคมของตนยอมรับและสนับสนุนดังนั้น อติก็จะทำหน้าที่กลายเป็นเสมือนทางออกทางหนึ่งให้แก่ความกดดันที่รู้สึกเกลียดชังอย่างจะก้าวร้าวแต่ไม่เคยแสดงออกได้โดยที่คนในครอบครัวยอมรับมาก่อน
      ความคงที่ทางทัศนคติ บุคคลมักดิ้นรนให้คงตัวอยู่ในภาวะพอดีพอ กันระหว่างอารฒ์การรับรู้ และการแสดงออก  ดังนั้น พลังใด ที่จะมาผลักดันให้เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบส่วนใดส่วนใหนึ่งใน 3 อย่างดังกล่าวจะได้รับการต่อต้าน ตราบเท่าที่ส่วนประกอบอีก 2 ส่วนที่เหลือยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ด้วยหลักการนี้ทำให้คนเราตีความหมยหรือรับรู้การแสดงออกหรือพฤติกรรมของคนนอกกลุ่มหรือคนที่ไม่ใช้พวกตน ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนไปจากที่เป็นจริงที่ควรจะมองหรือรับรู้ ถ้าหากรับรู้เกี่ยวกับคนนอกลุ่มหรือต่างกลุ่มเป็นไปในแบบไหน และมีความพร้อมจะรู้สึกต่อคนเหลานนันไปในแนวใดแล้ว การณ์กลับเป็นว่าคนต่างกลุ่มอกกลุ่มที่ว่านั้นกระทำผิดแผกไปจากแบบที่ตั้งไว้  ก็จะถูกตีความหมายให้ผิดเพี้ยนไปในแนวทางที่ให้สอดคล้องกับความรู้สึกและการรับรู้ที่มีอยู่เดิมแล้ว

     องค์ประกอบทางวัฒนธรรม
     ค่านิยมกับอคติ ทัศนคติที่บุคคลมีต่อชนกลุ่มน้อยอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในลัทธิทางวัฒนธรรมหรือความเชื่อทางวัฒนธรรม ลัทธิทางวัฒนธรรม าหรือความเชื่อทางวัฒนธรรมคือระบบอันซับซ้อนเกี่ยวกับความเชื่อต่าง  และเกี่ยวกับไอเดียนานาประการที่ทั้งหมดต่างสัมพันธ์ื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับค่านิยมทางวัฒนธรรม
      ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็ก จากผลการวิจัยของ Horowizt พบว่าอคติเป็ฯผลสืบเนื่องจากขบวนการเรียรรู้ทางสังคม โดยตรง เขาศึกษาโดยเปรียบเทียบพัฒนาการอคติต่อพวกนิโกร ในหมู่เด็กนักเรียนที่เมืองเทนเนสซี่ หลายต่อหลายกลุ่ม และกลุ่มเด็กที่เมืองนิวอร์ค ทัศนคติในหมู่เด็กจากเทนเนสซี่ กับนิวยอร์คคล้ายคลึงกัน โดยมีแนวโน้มแสดงชัดถึงอคติที่มีต่อนิโกร แต่ความแตกต่างที่น่าสนใจพบว่ามีอยู่ในระหว่างกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ย่านโครงการณ์สหกรณ์เคนะ ที่องคการคอมมิวนิสต์แห่งหนึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ซึ่งแตกต่างจากเด็กกลุ่มอื่น ทั้งหมดระยะที่ทำการวิจัยอยูในช่วงปี 1930 ซึ่งช่วงนั้นคอมมิวนิสต์เน้นอยู่ที่ความเสมอภาคของทุกเชื้อชาติ ดังน้ันเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่เป็นคอมมิวนิสต์ก็จะเรียนรู้ความเชื่อเช่นนี้จากพ่อแม่ของตน
      ทัศนคติต่อชนกลุ่มน้อยจะผสมผสานรวมตัวอย่างซับซ้อนเป็นแบบแผนของความคิดเห็น ท่าทีความรู้สึกและความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งจะสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับค่ีานิยมทางวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด ลัทธิความเชื่อที่มีอยู่แพร่หลายเช่นนั้น ยิ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดมีอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกกีดกันเด่นชัดขึ้น และเมื่อ Prejudice  และ ความรู้สึกนึกคิด..ที่มีต่อชนกลุ่มน้อยแบบตายตัวขยายวงกว้างออกไปทั่วถึงภายในสังคมหนึ่ง ๆ ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กที่จะเป็นไปในลักษณะของการยอมรับเอาลัทธิความเชื่อที่มีอยู่ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมต่อคนกลุ่มน้อย นั้นจะเป็นไปได้อย่งแน่นอน

     

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

group behavior


      เมื่อนักจิตวิทยาสังคมพูดถึงโครงสร้างของกลุ่มนั้น เขามักจะเน้นเป็นพิเศษใน เรื่องของความสัมพันธ์ระดับบุคคล ระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง มากกว่าเรื่องบทบาทของกลุ่มและการศึกษาถึงโครงสร้างของกลุ่มก็มักจะมุ่งไปที่ตรวจดูความใกล้ชิด เช่นอยากอยู่ใกล้ หรืออยากออกห่างกันในระหว่างหมู่สมาชิก

     กลุ่ม  ในทางจิตวิทยา หมายถึง การที่บุคคลคจำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นขึ้นไปมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างหนึ่งอย่างได ดังนั้นบนรถเมย์สาย 17 จึงไม่จัดเป็นกลุ่มเพราะไม่มีใครสนใจใคร ไม่มีการพูดจากัน เกี่ยวข้อง หรือพบปะสังสรรค์กัน แม้ว่าจะเจอหน้ากันทุกวันก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากคนบนรถเมย์ สามคนได้ลงป้ายเดียวกันขณะเดินไปพบผู้ประสบอุบัติเหตและเข้าช่วยเหลือโดยทำหน้าที่ต่างๆร่วมกันพฤติกรรมของบุคคลคทั้งสามได้แปรสภาพเป็นกลุ่มในทางจิตวิทยาแล้ว
      นักจิตวิทยามักเห็นว่า ความใกล้ชิดหรือสภาพทางร่างกายภายนอกไม่ใช่ตัวแปรของการเป็นกลุ่ม แต่ต้องเกิดจากสภาพทางจิตใจที่ทำให้เกิดกลุ่ม
      นอกจากนี้ ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของกลุ่มคือ ความเปลี่ยนแปลงได้ หมายความว่ากลุ่มมิใช่เกิดขึ้นและจะอยู่คงที่ตลอดไป กลุ่มอาจเปลี่ยนแปลงจากความไม่ใช่กลุ่มในตอนแรกมาเป็นกลุ่ม และในขณะเดียวกันก็อาจเปลี่ยนจากกลุ่มเป็นไม่ใช่กลุ่มได้เช่นเดียวกัน
      เชอริฟ Sheriff ให้ข้อคิดว่า มูลเหตุการรวมกลุ่มของมนุษย์มักจะมาจากแรงจูงใจบุคคลจะต้องมีแรงผลักดันบางประการเกิดขึ้นเสียก่อน จึงเกิดมีพฤติกรรมการเข้ากลุ่มขั้น แรงจูงใจที่พูดถึงก็ได้แก่ความเหงา หรือศักดิ์ศรี เกียรติ์ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้บุคคลจะหามาได้ด้วยความลำบากถ้าไม่เข้าร่วมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  การเข้ากลุ่มจึงเป็นวิถีทางที่จะทำให้ความปรารถนาเหล่านี้สัมฤทธิ์ผลขึ้นมาได้
      โครงสร้างของกลุ่ม หมายถึงความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งถาวรของสมาชิกในด้านของการสื่อสาร พลังอำนาจ และความรู้สึกดึงดูดกันระหว่างสมาชิก
      โครงสร้างของกลุ่มจะกำเนิดพร้อมกับกลุ่ม และจัดเป็นหัวใจของพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม เมื่อกลุ่มกำหนดโครงสร้างแล้ว สมาชิกจะมีตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ กน เช่น หัวหน้า ลูกน้อง และความสำคัญก็จะถูกกำหนดให้มีลดหลั่นกันไป
      โครงสร้างของกลุ่ม มักจะเกี่ยวโยงไปถึงผลผลิต และประสิทธภาพของกลุ่มด้วย กลุ่มที่มีการจัดระบบโครงสร้างอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มักจะส่งผลไปถึงผลงานของกลุ่ม ถ้าโครงสร้างของกลุ่มใดเปิดโอกาสให้สมาชิกได้แสดงกิจกรรมตรงตามความถนัด ผลผลิตรวมทั้งขวัญและกำลังใจของสมาชิกในกลุ่มนั้นยอ่มดีตามไปด้วย
      กลุ่มทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ลักษณะบางประการทำให้กลุ่มแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน อาทิ ขนาดของกลุ่ม จุดมุ่งหมายของกลุ่ม ขวัญ การสื่อสารภายในกลุ่ม และความเป็นปึกแผ่นหรือความสามัคคีของกลุ่ม
      ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงลักษณะหรือองค์ประกอบต่างๆ ของกลุ่มเท่านั้น แต่ตามความหมายที่แท้จริงของกลุ่มอยู่ที่การปะทะสัมพันธ์กันระหว่างหมู่สมาชิก การรับรู้ร่วมกันตลอดจนถึงบทบาทความเกี่ยวข้องกัน อันนำไปสู่การเข้าใจถึงพลวัตของกลุ่มต่างหาก
     การขัดแย้งระหว่างกลุ่ม มักจะเกิดจากการที่ความต้องการถูกขัดขวาง บุคคลจะรู้สึกอึดอัด คับข้องใจโดยปกติแล้วการขัดแย้งมีหลายลักษณะ แต่ในที่นี้จะพูดเพียงการขัดแย้งระหวา่งกลุ่มเท่านั้น
      บุคคลเป็นสมาชิกของกลุ่มหลากหลายทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่และบ่อยครั้งที่กลุ่มเหล่านี้มีการแข่งขันหรือขัดผลประโยชน์กันเอง เกิดการปีนเกลียว และอาจรุนแรงถึงกับเป็นศัตรูต่อกัน และพยายามทำทุกวิถีทางให้อีกฝ่ายหนึ่งย่อยยับไป ดังเราจะเห็นจากตัวอย่างของสงครามระหว่างชนชั้น ระหว่างประเทศ หรือระหว่างเผ่าพันธ์ อาจกล่าวได้ว่าการขัดแย้งระหว่างกลุ่มนี้มีทุกยุคทุกสมัย และเกิดควบคู่มากับชาติพันธ์ของมนุษย์ก็ว่าได้
      เมื่อเกิดการขัดแย้งขึ้นระหว่างกลุ่ม สิ่งที่ตามมาก็คือความพยายามหาวิธีการที่จะลดความขัดแย้งนี้ลง การลดความขัดแย้งน้นมีหลายวิธี เช่น การใช้กำลังเข้าปราบปรามคือต่างฝ่ายตค่างกทุ่มกำลังเพ่อที่จะเอาชนะอีกฝ่าย และตามปกตคิแล้วถ้าฝ่ายใดมีทุนรอนและแสนยานุภาพมากกว่า กมักจะสามารถเผดจศึกไปได้ในที่สุด แต่การแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีเอากำลังเข้าหักหาญกันนั้น บ่อยครั้งไม่ได้เกิดผลดีกับฝ่ายใด ความสูญเสียที่เกิดขึ้นดูจะไม่คุ้มค่ากับชัยชนะที่ได้มา
     เมื่อเป็นเช่นนี้ กลุ่มที่มีความขัดแย้งกันมักนิยมใช้วิธีการแก้ปัญหาในลักษณะที่ไม่ต้องใช้กำลังแทน วิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมได้แก่ "การต่อรอง"
      ขบวนการของการต่อรองเป็นที่สนใจของนักจิตวิทยา นักสังคมวิทยา นักเศษฐศาสตร์ รวมทั้งนักคณิตศาสตร์ อาทิที่เป็นที่รู้จักกันเช่น กริทโมเดล GRIT Model ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือร่วมใจกันระหว่างกลุ่มที่มีความขัดแย้ง ลดระดับการแข่งขัน หรือได้รับชัยชนะบนความปราชัยของฝ่ายตรงข้าม
     การแสวงหาจุดหมายร่วมกัน นอกจากวิธีการต่อรองแล้ว ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสามารถแก้ไขได้อีกวิธีหนึ่งก้อคือ การแสวงหาจุดหมายร่วมกัน แต่จุดหมายชนิดนี้จะสำเรจได้ต้องเปนสิ่งที่ทั้ง 2 กลุ่มทำร่วมกันเท่านั้น คือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดจะทำตามลำพังนั้นไม่สำเร้จ วิธีการนำเสนอจุดมุ่งหมายร่วมกัน สามารถลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มลงได้ จึงน่าจะเป็นยุทธวิธีที่น่าจะนำมาใช้ให้แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต ไม่เฉพาะแต่การลดความขัดแย้งในระดับกลุ่มย่อยเท่านนั้น แต่ควรจะประยุกต์ไปใช้ได้กับความขัดแย้งระหวางประเทศหรือเผ่าพันธ์ด้วย


    

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Sigmund Freud

            ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดที่โมเรเวีย เมื่อ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1856 และถึงแก่กรรมในลอนดอน เมื่อ 23 กันยายน ค.ศ.1939 เขาอาศํยอยู่ในเวียนนา เกือบ 80 ปี ในวัยเด็กเขาปรารถนาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ และได้เลือกศึกษาวิชาแพทย์ศษสตร์ในมหาวิทยาลัยเวียนนา ปี 1873 เขาจบการศึกษาใน 8 ปีต่อมา ฟรอยด์ไม่เคยตั้งใจเรียนแพทย์ แต่เนื่องจากงานวิทยาศาสตร์ได้รับค่าตอบแทนน้อย โอกาสก้าวหน้าทางวิชาการจำกัดสำหรับยิว และความจำเป็ฯทางครอบครัวบังคับให้เขาต้องทำงานส่วนตัวซึ่งกลายเป็ฯผลดีให้เขามีเวลาวิจัย ผลิตงานเขียน และได้รับชื่อเสียงโด่งดัง


           ความสนใจในประสาทวิทยา เป็นเหตุให้ฟรอยด์ฝึกฝนการรักษาอาการโรคประสาท ซึ่งอาศัยศิลปการรักษาตามแบบฉบับของสมัยนั้น ฟรอยด์ได้สมัครเป็นลูกศิษย์ของจิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส ชื่อ ยีน ชาโค Jean Chacot เป็นเวลา 1 ปี เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคนิครักษา ชาโคใช้การสะกดจิตในการรักษาอาการฮีสทีเรีย ฟรอยด์ลองใช้การสะกดจิตกับคนไข้แต่เขาไม่พอใจกับผลที่ได้นัก เมื่อเขาได้ทราบว่า โจเซฟ บรูเออร์ Joseph Breuer  ชาวเวียนนาใช้วิธีใหม่รักษาคนไข้โดยการให้พูดถึงอาการและค้นหาสาเหตุ ฟรอยด์ก็ได้เขามาร่วมงานกับบรูเออร์ และพบว่าวิธีการดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการฮีสทีเรีย
           ต่อมาฟรอยด์แยกตัวจากบรูเออร์ เนื่องจากความเห็นขัดแย้งกันเรื่องสาเหตุทางเพศของอาการฮีสทีเรีย ฟรอยด์ เชื่อว่าความขัดแย้งเรื่องเพศเป็นสาเหตุของโรคฮีสทีเรีย บรูเออร์มีความเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องเพศ ฟรคอยอ์ได้พัฒนาความคิดของเขาต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของเขา คือ การแปลความหมายความผัน ซึ่งปลุกความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เขามีลูกศิษย์มากมายหลังจากนั้นไม่นานนัก อาทิ เอิร์นเนซ โจนส์ จากอังกฤษ คาร์ลจุง ชาวซูริค เอ.เอ.บริลล์จากนิวยอร์ก แซนเดอร์ เฟรนซี่ ชาวบูดาเปสท์ คาร์ล อับราฮัม ชาวเบอร์ลิน และอัลเฟรด แอดเล่อร์ ชาวเวียนนา

           ตัวขับเคลื่อนของบุคลิกภาพ
ในสมัยศตวรรษที่ 19 มนุษย์ถูกมองในฐานะระบบพลังงานที่ซับซ้อน พลังงานต่าง  ได้รับมาจากอาหารที่หล่อเลี้ยงร่างกายและถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์หลายอย่างเป็นต้นว่า การหมุนเวียนของโลหิต การหายใจ การเคลื่อนไหว การับรู้ การคิดและการจำ เป็นต้น ฟรอยด์ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างที่นำมาใช้ในการหายใจหรือย่อยอาหาร กับพลังงานในการคิดและการจำฟรอยด์เห็นว่าถ้าเป็นการทำงานทางจิตวิทยา เช่น การคิดก็น่าจะเรียว่าพลังงานจิต ตามความเชื่อเดิม พลังงานอาจแรสภาพไปสู่สภาพต่างๆ แต่ไม่มีการสูญหายไป ดังนั้นพลังงานจิตก็ย่อมจะเปลี่ยนเป็นพลังงานทางกาย หรือในทางกลับกัน อิด id จะเป็นสื่อให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจิตและพลังงานทางกายกลับไปกลับมาและเกิดบุคลิกภาพขึ้น ในการพิจารณาตัวขชับเคลื่อนของบุคลิกภาพหรือสาเหตุที่ทำให้บุคลิกภาพทำงานจึงต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของสิ่งต่อไปนี้
      สัญชาติญาณ Instict เป็นตัวแทนทางจิตวิทยาของการตื่นตัว ภายในร่างกายที่มีมาโดยกำเนิด ตัวแทนทางจิตมีชื่อเรียกว่า wish ความปรารถนา และการตื่นตัวจะรียกว่า ความต้องการ need เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราอาจอธิบายว่าสัญชาติญาณ คือ ธรรมชาติของความปรารถนา คือ เกิดภาวะขาดแคลนอาหารขึ้นตามเนื้อเยื่อของร่างกาย ตัวแทนหรือคำอธิบายทางจิตในสถาพที่คนหิว คือ เกิดความปรารถนาอาหาร หรือเกิดความปรารถนาตอบสนองวามหิวโ๕ดยอคาหารคนั่นเอง ความปรารถนา อยู่ในฐานะของแรงจูงใจที่นำไปสู่พฤติกรรมดังนั้นคนหิวจะแสวงหาอาหารด้วยเหตคุนี้สัญชาตคิญาณ๕ จคึงเปรคียบเสมือนตคัวการคในการขับเคลื่อนบุคลิกภาพ ไม่เพียงแต่ผลักดันบุคลิกภาพเท่านั้น แต่ยังกำหนดทิศทางในการแสดงพฤติกรรมอีกด้วย หรือ กล่าวได้ว่าสัญชาติญาณ ควบคุมและเลือกปฏิบัติทำให้บุคคล มีความไวต่อสิ่งเร้าบางประเภทเป็นพิเศษ เช่น คนหิวจะไวต่อสิ่งเร้าที่เป็นอาหารมากกว่าอย่างอื่น คนที่เกิดความต้องการทางเพศเลือกตอบนสนองสิ่งเร้าที่เย้ายวนทางเพศมากกว่า
     ฟรอยด์เห็นว่า ความตื่นตัวซึ่งเกิดจากการได้รับสิ่งเร้าภายนอกมีบทบาทในการทำงานของบุคลิกภาพน้อยกว่าสัญชาติญาณ และมีความซับซ้อนน้อยกว่าความต้องการภายในร่างกายสิ่งเร้าภายนอกเราสามารถหลีกหนีได้ แต่เราหนีความต้องการภายในไม่ได้ แม้ว่าฟรอยด์จะให้ความสำคัญสิ่งเร้าภายนอกน้อยกว่า เขาก็มิได้ปฏิเสธความสำคัญของมันจะเห็นได้จากการอธิบายทฤษฎีวามวิตกกังวลของฟรอยด์
     การทำงานของสัญชาติญาณ เป็นไปเพื่อลดความเครียด จึงทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมจนกว่าความเครียดจะหมดไปหรือลอน้อยลง aim ของสัญชาติญาณมีลักษณะถอยหลัง เพราะต้องการจะกลับไปสู่สภาพก่อนเกิดความเครียดหรือก่อนเกิดสัญชาติญาณ สัญชาติญาณจึงมีัลักษณะอนุรักษ์ของเก่า การทำงานของสัญชาติญาณจึงเกิดขึ้นซ้ำๆ ตลอดเวลาเป็นวัฏจักรวนเวียนเช่นนี้ ฟรอยด์เรียกลักษณธงานซ้ำแล้วซ้่ำอีกของสัญชาติญษณว่า repetition compulsion
     soure(แหล่งผลิตสัญชาติญาณ) และ aim ของสัญชาติญาณจะคงที่ตลอดชีวิต ยกเว้น แหล่งผลิตจะเปลี่ยนหรือสิ้นสุดลงเนื่องจากวุฒิภาวะทางกาย หรือเกิดสัญชาติญาณใหม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากร่างกายพัฒนาความต้องการใหม่ขึ้นมา ในทางตรงกันข้าม กิจกรรมในการสนองความต้องการจำแนกออกมากมายตลอดเวลา การที่กิจกรรมสนองความต้องการ แตกแยกออกไปมากเนื่องจากพลังงานจิตถูกทดแทนเมือ กิจกรรมสนองตอบบลางอย่างเกิดขึ้นไม่ได้เพราะไม่เหมาะสมขัดกับคุณงามความดีหรือถูกกีดขวาง พลังงานจิตจะหันเหไปสู่กิจกรรมใหม่จนกว่าจะค้นพบกจิกรรมที่เป็นไปได้ พฤติกรรมที่เกิดจากการทอแทน ของพลังงานจิตถือว่าเป็นสิ่งที่สัญชาติหามาได้ เช่นการตอบสนองทางเพศของเด็ก เมื่อถูกบังคับให้เลิกเด็กจะหาสิ่งทดแทน แต่ข้อสำคัญคือ เป้าหมายของสัญชาติญาณมิได้เปลี่ยนแปลง คือการกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อความสุขทางเพศ
     การทดแทนของพลังงานจิต เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของบุคลิกภาพ ความสนใจความชอบ รสนิยม นิสัย และทัศนคติ ล้วนเกิดจากการทอแทนพลังงานจิตของกิจกรรมที่แท้จริงทั้งนั้นหรือกล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สัญชาติญาณแสวงหาได้ในเงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมทฤษฎีการจูงใจของทฤษฎีวางอยู่บนความเชื่อว่าสัญชาติญาณคื้อที่มาของพฤติกรรมของมนุษย์
     ฟรอยด์ ให้ความสนใจกับกับสัญชาติญาตแห่งการอยู่รอด สนองจุดมุ่งหมายในการดำรงไว้ซึ่งชีวิตและการแพร่พันธ์ ความหิว ความกระหาย และความต้องการทางเพศจัดอยู่ในสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด พลังงานที่ก่อตัวขึ้นเพื่อการอยู่รอดเรียกว่า ลิบิโด
     ความต้องการทางเพศ ฟรอยด์เชื่อว่าในปฐมวัยเกือบทุกอย่างที่เด็กกระทำสืบเนื่องจากสัญชาติญาณทางเพศ ซึ่งกระจายอยู่หลายแห่งตามร่างกายสัญชาติญาณทางเพศก็มากมายหลายความว่าเกิดจากบริเวณต่างๆ ของร่างกายที่เกิดวามต้องการนี้ บริเวณร่างกายที่ทำให้เกิดความต้องการทางเพศขึ้นมีชื่อเรียกว่า eroge nous zones ซึ่งหมายถึงบางส่วนของผิวหรือเยื่อบุอัวัยวะที่มีความไวต่อการตื่นตัวสูงมากและบุคคลจะมีความสุขเมื่อปัดเป่าความตื่นตัวให้หมดไป บริเวณนี้ได้แก่ริมฝีปาก และช่องปาก การตอบสนองของบริเวณนี้ได้แก่การดูดกลืน อวัยวะขับถ่ายการตอบสนองคือการขับถ่าย และอวัยวะเพศ การตอบสนองคือการนวดหรือถู ในวัยเด็กสัญชาติญาณทางเพศจะเปนอิสระจากกัน แต่เมือย่างเข้าวัยรุ่นจะปะปนและมีเป้าหมายเพ่ือการสืบพันธ์
      สัญชาติแห่งความตาย ฟรอยด์เรียกว่า สัญชาติญษณแห่งการทำลายอีกชื่อหนึ่งมีการทำงานเด่นชัดน้อยกว่าสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด ท้ายที่สุดคนเราต้องตาย ความจริงอันนี้ทำให้ฟรอยด์กล่าวว่า "จุดมุ่งหมายของทุกชีวิติคือวามตาย" ความปรารถนาอันนี้เป็นจิตใต้สำนึกเขาไม่ได้แจงให้เห็ฯที่มาทางกายของสัญชาติญาณแห่งความตาย และไม่ได้ให้ชื่อพลังงานแห่งความตายไว้ ความเชื่อเบ้องต้นในเรื่องความตายคของฟรอยด์สืบเนื่องจากหลักความคงที่ของเฟชเน่อร์ ซึ่งกล่าวว่าขบวนการต่าง ๆ ของชีวิตมีแนวโน้มเพื่อกลับไปสู่โลกแห่งความไม่มีชีวิต ฟรอยด์อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการมาจากแรงกระทำของจักรวาลต่อสสารที่ไม่มีชีวิต การมีชีวิตเป็นสภาพที่ไม่ควที่และจะถอยกลับไปสู่สภาพไร้ชีวิตตามเดิม
      สิ่งที่หามาด้ของสัญชาติญาณแห่งความตาย คือ แรงขับของความก้าวร้าว ความก้าวร้าวคือ การทำลายตนเองที่เปลี่ยนออกมาเป็นสิ่งอื่นแทนเนื่องจากความปรารถนาความตายถูกขัดขวางโดยสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด ฟรอยด์ใช้เวลานานกว่าจะยอมรับว่าความก้าวร้าวเป็นแรงจูงใจสำคัญและมีอำนาจเช่นเดียวกับความต้องการทางเพศ
     การกระจายและการใช้พลังงานจิต The distribution and utilizaion of Phychic Engery เนื่องจากสัญชาติญษณมีผลให้เกิดการใช้พลังงานของระบบ id ego superego การขับเคลื่อนของบุคลิกภาพ จึงรวมถึงการแจกจ่ายพลังงานของระบบทั้ง 3 ซึ่งแข่งขันกันใช้พลังงานและควบคุมระบบอื่นถ้าระบบหนึ่งเข้มแข้้งขึ้น อีก 2 ระบบจะ่อนแอลง นอกจากพลังงานใหม่เพิ่มขึ้นในระบบ  การทำงานของบุคลิกภาพ ประกอบไปด้วยการทำงานของระบทั้ง 3 ซึ่งย่อมเกิดความขัดแย้งต่อต้านกันของระบบต่างๆ และส่งผลออกมาสู่บุคลิกภาพ
     ความวิตกกังวล Anxiety โลกภายนอกเป็นแหล่งผลิตสิ่งที่นำมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็มีส่วนในการปรับบุคลิกภาพด้วยเนื่องจากมีทั้งอันตรายและความไม่มั่นคงเท่าๆ กับสิ่งทีพึงปรารถนา ด้วยเหตุนี้สิ่งแวดล้อมจึงสามารถเพิ่มความเครียดให้กับบุคคลได้ และมีผลให้เกิดการทำงานของบุคลิกภาพ
      ปฏิกิริยาของบุคคลเมื่อกำลังจะได้รับอันตรายจากภายนอก คือ ความกลัว ถ้าสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความกลัวท่วมท้ันซึ่ง ego ควบคุมไม่ได้ อีโก้ จะเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ฟรอยด์แบ่งความวิตกกังวลออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
             ความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายจากภายนอก
             ความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวว่าจะไม่สามารถควบคุมสัญชาติญาณไว้ได้ ความกลัวในลักษณะนี้เป็นเหตุให้บุคคลแสดงอาการบางอย่างเพื่อจะถูกลงโทษ ความวิตกกังวลมิได้เกิดจากความกลัวสัญชาติญาณนั้น ๆ แต่เกิดวามกลัวการถูกลงโทษ เนืองจากทำตามสัญชาติญาณดังกล่าว มีพื้นฐานมาจากความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายเพราะว่าพ่อแม่และอำนาจต่างๆ ลงโทษเด็กเมือกระทำสิ่งที่รุนแรง
             ความกลัวผิดศีลธรรม เนื่องจากระบบซูเปอร์อีโก้พัฒนาไปไกลมาก ทำให้บุคคลรู้สึกสำนึกบาป เมื่อทำหรือเพียงแต่คิดจะทำสิ่งที่ขัดต่อศีลธรรม มีพื้นฐานมาจากความกลัวอันตรายเช่นกัน
             ความวิตกกังวลที่ไม่สามารถวัดได้ อาทิ การเกิด ชีวิตใหม่ถูกคุกคามโดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนและไม่สามารถจะปรับตัวได้

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...