การรวมกลุ่มกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่งที่ต่างมีจุหมายหรือความสนใจตรงกันโดยแต่ละคนจะมีความใกล้ชิดกันด้านกายภาพ และไม่เคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับการกระทำ ความสัมพันธ์ ความรู้จักมักคุ้นสนิทสนมต่อกันและกันเป็นส่วนตัวมาก่อนเลย โดยปกติแล้วเมื่อแต่ละคนต่างมีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน สภาพฝูงชนก็จะสลายตัวไป เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของมวลรวมกันเท่านั้น เพื่อทำความเข้าใจและป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการศึกษาฝูงชน จะของแยกอธิบายตามแนวต่อไปนี้
การที่คนจำนวนหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนบ้าง เคยรู้จักกันมาบ้าง มารวมกัน ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง จะโดยนดหมายกันมาก่อนหรือไม่ได้นัดหมายกันมากก่อนก็ตา แต่ละคนที่มารวมกันนั้นต่างมีเป้หมายหรือวัตถุประสงค์ของการมารวมกันนั้นตรงกัน หรือร่วมอย่างเดียวกัน และเมื่อได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการแล้ว สภาพการรวมกันก็สลายไป ลักษณะเช่นนี้ จัดเป้น "ฝูงชน" เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งไม่มีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ควบคุมสภาพฝูงชน การรวมตัวกันใรรุ)ของฝูงชน จึงมีความหลากหลายออกไปตามปัจจัยแวดล้อมอันทำให้มีการจัดประเภทแก่งพฤติกรรม
"ฝูงชน"ตามแนวสังคมวิทยา เป็นการศึกษาสังคมทั้งสังคมมิใช่ศึกษาเจาะจงเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น
อนึ่งในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่ คำว่า "ฝูงชน" ที่เรานำมาใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่นั้น ยังได้ถูกนำมาใช้ในขอบข่ายที่กว้างขวางมาก โดยใช้แสดงถึงการรวมตัวกันของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่างมีการแสดงออกหรือการกระทำตามวัตถุประสงค์อันเป็นเป้าหมายของตน และการที่ใช้ฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ นั้น จึงเป็ฯการแสดงให้เห็นถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของบบรรดาสมาชิกฝูงชนดังได้กล่าวแล้ว
ในจิตวิทยาสังคม ได้กล่าวถึงฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้แสดงนัยอันเป็นความหมายทีบ่งบอกให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมของคนจำนวนหนึ่ง ๆ ซึ่งต่างมีการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ตามปัจจัยอันเป็นสาเหตุให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยใช้คำที่มีัลัษณะและความหมายที่สามารถเข้ากันได้และลงรอยเดียวกัน การศึกษาฝูงชนตามแนวจิตวิทยาสังคมนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็ฯพฤติกรรมที่แสดงออกตามความรู้สึกของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งมีทั้งความรุนแรงก้าวร้าว และความสมานฉันท์ด้านนันทนาการ
ตามปกติ ฝูงชนจะมัลัษณะสำคัญที่เป็นที่ยอมรับกัน คือ เป็นผลของการแสดงออกของพฤติกรรมรวมหมู่ในด้านรูปธรรม อันทำให้พฤติกรรมรวมหมู่ปรากฎเป็นรูปร่างตัวตนขึ้นมา โดยอาศัยเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรากฎออกมาตามลักษณธที่เห็นว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยจะมีภพความปั่นป่วนระสำ่ระสายของฝูงชนในลักษณธของการวนเวียนจับกลุ่ม การเดินไปเดินมาโดยไร้จุดหมายที่แน่นอน และยังถือว่าเป็นความกระวนกระวายอย่างหนึ่ง เป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวโดยไร้จุดหมายของคนในฝูงชน อันหมายถึง ภาวะขัดแย้งที่ปราศจากผู้นำ และความกระวนกระวายนี้ยังเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปลุกเร้าทางจิตอันเป็ฯความผิดปกติทางอารฯ์ร่วมกันระหว่างสมาชิก ซึ่งเป็ยผลมาจากการที่สามชิกมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน มีการเร้าทางอารณ์ ทำให้บรรดาสมาชิกเกิดความตื่นเต้น และมีอารมณ์ร่วมเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยภาวะแห่งการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เหล่านั้นไปยังบุคคลอื่นๆ อีกด้วย ดอันเป็นการช่วยกระจายความรู้สึกให้ขยายเป็นวงกว้างออกไป ซึ่งสภาพเช่นนี้ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพฝูงชนขึ้น และสามารถลงมือกระทำการต่างๆ ได้
อีกประการหนึ่ง ยังมีฝูงชนอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างออกไปจากผู้รับสร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าทางอารมณ์ที่แต่ละคนต่างมีข้อกำหนดระหว่างบุคคลแต่ละบุคลที่ต่างมีความเกี่ยวข้องกัน และยังมีความแตกต่างจากมหาชน อีกด้วย โดยที่แต่ละคนจะมีความใกล้ชิดด้านกายภาพระหว่างสมาชิกด้วยกัน ดังกรณีนักศึกษาตามสถานศึกษาต่างๆ ขณะที่มีการแข่งขันกีฬาต่างก็จะมีอารมณ์ร่วมกัน และมีสภาพการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนในรูปของความเป็นฝูงชนได้ ประชาชนต่างมายืนรอรถประจำทางตามป้ายจอดรถก็จะดเป็นฝูงชนเช่นกัน เรียกว่า ฝูงชนบังเอิญ แม้พฤติกรรมฝูงชนก็จัดเป็นรูปแบบพื้นฐานของพฟติกรรมรวมหมู่ การพิจารณาฝูงชนดังกล่าวข้างต้นเป็นการกล่าวในแง่ของสังคมวิทยา ที่พิจารณาฝูงชนทั้งฝูงชนหรือพิจารณาหมดทั้งกลุ่ม มิได้พิจารณาเฉพาะเจาะจงบุคคลใดบคคลหนึ่งหรือบางกลุ่มบางส่วนในฝูงชนนั้น
สภาวะรวมหมู่ ฝูงชนมัเป็นที่ยอรับกันว่า เป็นสภาวะรวมหมู่ทั้งนี้ เนื่องจากมีลักษณะที่แน่นอน ซึ่งมักจะไ้รับการกล่าวขานในด้านโครงสร้างทางจิตวิทยาโดยตรงแต่บรรดนักการศึกษาต่างพยายามหานิยามอันเป็นที่ยอมรับกัน จนเป็ฯที่ตกลงด้านจำนวนเป้าหมายที่กำนดตายตัวลงไปเท่านั้นว่า
- ฝูงชนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกลุ่มที่เป็ฯทางการในบางรูปแบบ
- ฝูงชน เป็ฯการรวมตัวกันเพียงชัวคร้งชั่วคราวเท่านั้น โดยอาจจะก่อรูปขึ้นมาเป็ฯกลุ่มที่เป็นทางการก็ได้ หรือกาจเกิดขึ้นในรูปขององค์การที่ถาวรก็ได้
- มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนของบรรดาปัจเจกบุคคลประเภทหนึ่ง ทั้งนี้ จะเป็ฯไปตามเงื่อนไขตามที่ยอมรับกันหรือไม่ก็ตาม แต่ถือว่าสามารถสื่อความหมายกันภายฝูงชนนั้น ๆ ได้ แม้กระน้นก็ตามก็ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่จะทำให้คนมารวมกัน หรือทำให้คนเหล่านั้นได้รับความรู้เหมือนกันกับคนอื่น ๆ ในกรณีเช่นนี้ ฝูงชนจึงประกฎเป็นรูปร่างทางกายภาพขึ้นโดยทันทีทันใด..
- ฝูงชนนั้นยังอยู่ในกระบวนการตลอดไป เนื่องจากมีลักาณะเป็ฯเด็กหลงพ่อแม่ อย่างหนึ่ง
- ฝูงชนนั้น ส่วนใหญ๋แล้วจะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก คนเพียงสามคนไม่อาจจัดเป็นฝูงชนได้
ทั้งนี้เนื่องจากฝูงชนเป็นเรื่องของคนแต่ละคนที่ต่างมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินการต่าง ๆ เฉพาะตน ฝูงชนจึงเป็นผลรวมหรือมวลรวมทางพฤติกรรมของสมาชิกเองเมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ฝูงชนในฐานะสภาวะรวมหมู่ พอสรุปได้ดังนี้
- บางรูปแบบมัลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มที่เป็นทางการ
- เป็นการรวมกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่ง
- แต่ละคนสามารถสื่อความหมายกันได้
- อยู่ในกระบวนการตลอดไปคือมีความเป็นไปโดยไร้ระเบียบแบบแผนตายตัว
- ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก
ดังนั้น ฝูงชนในสภาวะรวมหมู่จึงมีลักาณะการรวมกันที่ไม่ได้มีการวางแผนกำหนดการแน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องการรวมหลุ่มกันตามความพอใจและความประสงค์ของแต่ละคนนั้นเอง
ลักษณะเฉพาะของฝูงชน ที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่
- มีสภาวะนิรนาม ฝูงชนจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ทั้งด้านชื่อเสียง และภูมิหลังของกนและกัน มักปรากฎในช่วงเวลาอันั้น โดยเป็นไปเพียงชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ผู้ที่มารวมกันนั้นแต่ละคนจะไม่สนใจในกันและกน คือไม่มีความรู้สึกต่อกันและกันในฐานะส่วนตัว หรือเป็นส่วนบุคคลเลย ทุกคนจะถือว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การแสดงออกทางพฤติกรรมก็เป็นไปในรูปของกลุ่ม ความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดีต่าง ๆ ทางสังคมไม่ว่าจะด้านกฎหมายและด้านศีลธรรมจะถูกลืมและขจัดออกไป ทุกคนจะมีความรู้สึกว่าอิสระเสรีในการกระทำและแสดงออก การกระทำบางอย่างก็ดี การแสดงออกก็ดีในเวลาปกติจะไม่กรทำ เพราะถือว่าขัดต่อบรรทัดฐานทางสังคม
- มีลักษณะเป็นอบุคลิก เป็นสภาวะที่ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะลักษณะเช่นนี้เป้ฯลักษณะที่ไม่คำนึงถึงตัวบุคคลเป็นสำคัญ โดยแตละคนต่างทำหน้าที่ของตนตามบทบาทที่เกิดจากสถานภาพเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้จะปรากฎเด่นชัด เมื่อมีการจลาจลวุ่นวายที่เกิดจาปัญหาเชื้อชาติไม่ว่าจะโดยทางชาติพันธุ์ หรือความสัมพันธ์ทางเชื่อชาติ แม้คนในฝ่ายตรงข้ามจะไม่เคยประพฤติผิดเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จะเป็นคนดีเพียวใดก็ตาม ในกรณีที่เกิดเหตุกาณ์เชนนั้นขึ้น เกณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องวัด "ความดี" ก็ดี "ความเป็นเพื่อน" ก็ดี ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีเช่นนี้ได้ เพราะไร้ประโยชน์ ต่อเมื่อเหตุการณ์สวบหรือสลายตัวแล้ว ความสัมพันธ์ที่มีอยูต่อกันก็จะกลับกลายมาเป้นสวนบุคคลเช่นเดิม
- สภาวะแนะนำง่าย สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดฝูงชนนั้นไม่ได้กำหนดสถานภาพและบทบาทของฝูงชนมาแต่เดิม เป็นแต่เพียงกำหนดระเบียบและโครงสร้างไว้ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงไม่มีผู้นำที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหรือได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยเฉพาะรวมถึงไม่มีรูปแบบของพฤติกรรมอันเป็นที่ยอมรับกัน ฝูงชนในลัษณะเช่นนี้จึงมีความว้าเหว่ อ้างว้างขาดที่พึ่งพิง ปราศจากหลักยึดเหนี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักทางใจ เพื่อที่จะให้ฝูงชนดำเนินการและปฏิบัติตามความรับผิดชอบที่แต่ละคนจะพงมี กลุ่มจึงเป็นผู้รับผิดชอบโดยการสร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นมาให้สมาชิกปฏิบัติ ในกรณีเช่นนี้สถานะของกลุ่มจึงมักมีการชัดแย้งกันและสร้างความยุ่งเหยิงเสมอในภาวะของสถานกาณ์เช่นนั้นประชาชนอาจปฏิบัติตากการชี้แนะของใครก็ได้..
- การแพร่ติดต่อทางสังคม หรือการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เป็นการกระทำระหว่างกันทางสังคม โดยที่แรงดลเหรือความรู้สึกที่แพร่จากบุคคลไปยังบุคคลอื่น ยังผลไใ้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน มักใช้ในสถานกาณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคลั่งไคล้ ความแตกตื่น หรือความระเริงใจ...
- คุณสมบัติเฉพาะของฝูงชน ฝูงชนเป็ฯสภาพแห่งการรวมตวกันตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของปัจเจกบุคคล อันเกิดขึ้นจากปัจจัยบางอย่างที่เป็นตัวการเร้าหรือจูงใจให้เกิดขึ้นมาดังนี้นเรื่องของฝูงชน แม้ว่าเราจะทราบกันแล้วว่าเป็นการรวมกันของคนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ไม่ว่าจะโดยการนัดหมายกันหรือมิได้นัดหมายกันไว้ก็ตาม แต่พึงเข้าใใจว่าฝูงชนนั้มีจุดรวมอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นเครื่องจูงใจให้แต่ละคนมารวมตัวกันก่อสภาพเป็นฝูงชนขึ้น นั้นคือ จุดประสงค์ หรือเป้าหมายที่แต่ละคนมีอยู่ จุดประสงค์หรือเป้าหมายอันนี้ จะเป็นตัวการหรือเป็นปัจจัยจูงใจให้คนมารวมกันในสภาพของฝูงชนขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวมันเองว่ามีคุณสมบัติเช่นใดอันจะทำให้เห็นสภาพที่แท้จริงของฝูงชนได้
- นิยาม "ฝูงชน" ฝูงชนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีคนจำนวนหนึงมารวมกัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดดยแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันด้านการกระทระหว่างกันเฉพาะตัวบุคคลหรือต่างมีความรู้สึกและพฤติกรรมตรงกันก็ได้ คำว่า "ฝูงชน" นี้ บางครั้งในที่บางแห่งถูกนำมาใช้หมายถึงกลุ่มของคนที่เป็ฯโรคจิตชนิดหนึ่ง หรือภาวะของจิตภาวะหนึ่ง ที่อยู่ในภาวะของความเป็นฝูงชน ที่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้
มีข้อน่าสนใจเกี่ยวกับฝูงชนอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ฝูงชนนั้นถึงแม้จะเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมก็ตามแต่จะมีข้อจำกัดด้านเวลาและมักจะปรากฎอยู่ในสถานที่เดียวกันโดยมักจะปรากฎในสภาพที่มีลัษณะของการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ และอาจรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นการเคลื่อไหวที่บางครั้งไม่เคยมีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าอีกด้วย
เมื่อว่ากันตามลักษณะของปรากฎการณ์แล้ว ฝูงชน เป็ฯการรวมกลุ่มกันอย่งหนึ่งของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ในลักษณะที่มีการกระทำทางสังคมระหว่างกันและกัน เพียงแต่ว่ากลุ่มนั้นไม่ใช่การรวมตัวกันของบรรดาบุคคลต่าง ๆ ที่อาจจะพอนับกันได้ แต่เป็นการติดต่อเกี่ยวขข้องกันของบรรดาบุคคลที่อยู่ในระดับเดียวกัน ด้านการให้และการรับ นั้นคือการกระตุ้นและการตอบสนองระหว่างบรรดาสมาชิกด้วยกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น