Stratification and Social Change (ช่วงชั้นและการเปลี่ยนแปลงทาสังคม)


      แม้ว่าช่วงชั้นจะมีอยู่ในทุกสังคม แต่รูปแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสังคมและเป็นการยากที่จะใช้เกณฑ์อันใดเพียงอันเดียว เช่น ความมั่นคง การศึกษา ความกล้าหาญ อำนาจฯ เป็นตัวกำหนดในตำแหน่งทางสังคมให้กับบุคคล จะเป็นการช่วยได้มากหากคิดว่า ช่วงชั้นทางสังคมเป็ฯเสมือนบันไดไปสู่ชั้นสูงสุดในสถานภาพของบุคคลจากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง ช่วงชั้นจะเป็นรากฐานซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่ง บุคคลผู้ซึ่งอยู่ในชั้นต่ำสุดจะถูกมองว่าต่ำต้อยที่สุด เช่นเดียวกับผู้ซึ่งอยู่ในชั้นสูงสุด จะถูกมองอย่งยกย่องชื่นชมในสังคมหนึ่ง ๆ ระดับความแตกต่างที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับค่านิยมของคนในสังคมนั้น ตำแหน่งของบุคคลถูกกำหนดโดยค่านิยมซึ่งสมาชิกของสังคมได้ให้ไว้ในการแสดงบทบาทางสังคมและใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินโดยการใช้ค่านิยมแบบอัตตวิสัย อย่างไรก็ตาม การตัดสินนี้อาจพบว่าขึ้นอยู่กับการพิจารณาโดยฝช้วัตถุวิสัย เข้าเกี่ยวข้องด้วย ระบบช่วงชั้นทางสังคมเป็นสิ่งต่อเนื่องซึ่งเมื่อทุกคนมีตำแหน่งและตำแหน่งนั้นในทางกลับกันได้แบ่งแยกในพื้นฐานของสิทธิและอภิสิทธิ์

      ในทุกสังคม ถ้ามองในแง่ปฏิบัติแล้วจะเห็นว่ามนุษย์มีบทบาทและความแตกต่างกันในศักดิ์ศรีหรือสถานภาพซึ่งขึ้นอยู่กับบทบาทเหล่านี้ ถ้าพูดง่าย ๆ มนุษย์ทุกคนไม่มีสิ่งที่เท่ากัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเที่ยมกัน อาจกล่าวได้ดังนี้
     - ตัวการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเราไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น อายุ เพศ ความสามารถทางร่างกาย สมองสติปัญญา เป็นต้น
     - ลักษณะที่ได้มาโดยการสร้างขึ้นหรือหามาภายหลัง เป็นสิ่งซึ่งได้รับเนื่องจากความสามารถ
     - เป็นลักษณะที่เห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ แต่เกือบจะหลายเป็นเรื่องติดตัว เช่น ยศฐาบรรดาศักดิ์ วรรณะ
      การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม เป็นระบบซึ่งใช้เพื่อแบงแยกระดับความแตกต่าง ของตำแหน่งของแต่ละบุคคล หรือช่วงชั้นของศักดิ์ศรี หรือสถานภาพของบุคคลและลักษณะความแตกต่างของชุมชนเมื่อเปรียบเทียบกัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระดับของคนในแต่ละสังคมแต่ละกลุ่ม
       หน้าที่และประโยชน์ของช่วงชั้นทางสังคม การแบ่งช่วงชั้นทางงสังคมมีทั้ง หน้าที่ ประโยชน์ โดยตรง และโดยทางแอบแฝง ซึ่ง มีผลต่อสังคมทัี้งหมดและจะมีผลต่อกลุ่มต่างๆ ในสังคม ผลบางอย่งของช่วงชั้นเป็นไปในทางที่ยอมรับเป็นประโยชน์ บางอย่างก็เป็นไปในทางปฏิเสธหรือไม่เป็นประโยชน์
       หน้าที่ ประโยชน์ของช่วงชั้นก็เพื่อคงไว้ซึ่งระบบสังคมโดยเป็นกลไก ซึ่งบุคคลที่อยู่ในช่วงชั้นที่ได้รับการยกย่องนับถือของสังคม เข้าใจในบทบาทและอภิสิทธิ์ สิทธิ์ ที่เขาคาดหวังหรือต้องรการ ซึ่งเป็นผลจากการมีบทบาทของเขา ระบบช่วงชั้นก่อให้เกิดแบบแผนพฤติกรรมของแต่ละบทบาทสถานภาพซึ่งจะแตกต่างกัน แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะมีวัฒนธรรมทั่งไปที่คล้ายคลึงกัน
       การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม มี 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- วรรณะ ระบบวรรณะเป็นการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมโดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพซึ่งจำกัดบุคคลที่จะหใ้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่าเมือเขาเกิด ระบบวรรณะเป็นระบบช่วงชั้นซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว
- ฐานันดร เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นซึ่งตายตัวน้อยกว่าวรรณะ แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับประเพณีและความไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อที่ดิน การเขยิบฐานะเป้นไปได้และม่มีศาสนาค้ำจุนเหมือนอย่างระบบวรรณะ ฐานนัดรเกิดขึ้นตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง เดิมมีเพียงสองฐานันดร ได้แก่ ฐานัดร นักบวช และฐานันดรขุนนาง ต่อมาภายหลังมีเพิ่มขึ้นอีก ระบบฐานันดรเป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนชั้นต่างๆ แตกต่างกันไ โดยทั่วไป ชนชั้นและฐานันดรเป็นคำแทนกันได้ ฐานันดรจะเปลี่ยนเป็นชนชั้นเมื่อมีความเกี่ยวข้องผูกพ้นกับการกระทำที่ท้าทาย  เช่น การขัดกันระหว่างชั้นจะหลายเป็นการต่อสู้ของชนชั้น แม้จะเรียกว่าการชัดกันระหว่างฐานันดรก็ตาม โดยปกติเราจะแยกความแตกต่างของคำทั้งสองในลักษณะที่ว่า ฐษนันดรจะถูกมองในส่วนของชุมชน และชนชั้นจะเกี่ยวข้องทั้งสังคม
- ชนชั้น ในระบบวรรณะ ตำแปน่งทางสังคมถูกกำหนดขึ้นเมื่อบุคคลเหล่านั้นได้ถือกำเนิโดยขึ้นอยู่กับวรรณะของบิดามารดา  ชนชั้นของสังคมประกอบด้วยจำนวนของบุคคลผุ้ซึ่งมีความเท่าเที่ยมกันในตำแหน่งซึ่งจะได้รับโดยความสามารถมากกว่าจะเป็นไปโดยกำเนิด มีโอกาสที่จะขยิบฐานะขึ้นหรือลงจากชั้นหนึ่ง Max weberได้เขียนถึง "ชนชั้น" วาประกอบด้วย กลุ่มของคนซึ่งมีโอกาสในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สภาพชีวิตความเป็นอยู่ภายนอกและประสพการณ์ในชีวิตของบุคคล ซึ่งถูกกำหนดโดยเงื่อนไขแห่งอำนาจ เพื่อช่วยการจัดระเบียบรายได้แลเศรษฐกิจ Ely Chinoy จำกัดความตาย "ชนชั้น" โดยเน้นถึงด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่า ได้แก่ กลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีความสามารถในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ
           ชนชั้นทางสังคมประกอบด้วยจำนวนคนผู้ซึ่งมีสถานภาพโดยเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเราถือว่าเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ตามความคิดนี้ใช้กับกลุ่มคนซึ่งถูกแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ซึ่งได้แก่ ชนชั้นสูง ซึ่งเป็ฯพวกที่มีสถานภาพสูงและมีเกียรติ ชนชั้นกลาง และชนชั้นต่ำ ซึ่งเป็นพวกที่มีสถานภาพต่ำที่สุดและมีเกียรติน้อย
     ความไม่เท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีเกียรติยศ
     หลักในการศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับ เกียรติของอาชีพ ศักดิ์ศรีเกี่ยติยศมีส่วนสัมพันธ์กับรายได้และการศึกษาของผู้ที่ทำงาน  แต่มีข้อที่น่าสนใจ คื อรัฐมนตรี และ ครู มีศักดิ์สูงกว่ารายได้ แต่สัปปะเหร่อกับนักร้อง จะมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าเมื่อเทียบกับรายได้ที่เขาได้รับ     และเกียรติซึ่งได้รับในชุมชน
      ชนชั้นทางสังคมเป็นเสมือวิถีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น ตำแหน่งชั้นของบุคคลกลายเป็นวิถีชีวิตของเขา โดยมีอิทธิพลต่อรูปแบบของทัศนคติและค่านิยม ความคิดทางการเมือง พฤติกรรมทั่วไปของเขา สิ่งซึ่งจะแสดงให้เห็นได้ คือ
      - ความแตกต่างของชนชั้นในจำนวนเด็กที่เกิดในครอบครัวต่างๆ ซึ่งเขาจะมีวิถีชีวิต ตามแบบของครอบครัวของเขา ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ของเขาเอง
      - ชนชั้นจะแตกต่างกันเนื่องจากค่านิยมซึ่งขึ้นกับการศึกษาในระดับต่างๆ
      - จะมีความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของชนชั้นและพฤติกรรมทางการเมือง
      - การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาจะผูกพันกับชนชั้นหนึ่ง ๆ ของสังคม
      - ชนชั้นทางสังคมใหญ่ ๆ ทั้งสาม อันได้แก่ ชนชั้นสูง ชั้นกลาง และต่ำ แต่ละชั้นมีแนวโน้มในการประพฤติตามบันทัดฐานและระบบค่านิยมที่เข้มงวดอย่างมีความสุขและความพอใจต่างกันไป
     
        การเปลี่ยนแปลงในชาติที่กำลังพัฒนา
        สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสังคมหรือการทำให้นำสมัยใหม่เสมอ ในอัฟริกา และเอเชีย ซึ่งได้รับประสบการณ์จากตะวันตก ในกรณีของช่วงชั้นก็เช่นเดี่ยวกัน
        ชาติต่างๆ เหล่านนี้เดิมถูกปกครองโดยพวกขุนนาง ในอินเดียและประเทศส่วนมากในอัฟริกาปัญญาชนได้แก่พวกที่ส่งมาปกครอง ซึ่งพวกนี้จะอยู่ในชั้นที่เหนือกว่าคนที่เป็นเจ้าของประเทศ แม้จะมีเกี่ยรติก็ตาม ในลาตินอเมริกา ปัญญาชนประกอบไปด้วยพวกศักดินา ขุนนางเจ้าของที่ดิน ซึ่งโครงสร้างนี้่อนข้างจะเป็นช่วงชั้นที่ตายตัว และเป็นปิรามิดสูงชัน ปัญญาชนที่มีอำนาจมีเพียงจำนวนน้อย ซึ่งอยู่บนส่วนสูงสุดของปิรามิด และที่เหลือซึ่งเป็นคนส่วนมากของประเทศเป็นพวกชาวนา
        จากการผสมผสานของพลังงานทางสังคมต่าง ๆ การจัดแจงสิ่งซึ่งคงอยู่เป็นการท้าทายในสังคม ซึ่งมีผล คือ มีการปรับปรุง ตัวแทนสังคมที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ พวกซึ่งเป็นชสชั้นกลางใหม่ของประเทศซึ่งจะต้องเข้าใจว่า ชนชั้นกลางเช่นนี้ ไม่ใช่แบบซึ่งพบในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เป็นชนชั้นกลางซึ่งมีอยู่ในสมัยเริ่มแรกของประเทศ เป็นกลุ่มซึ่งเรียกว่า Bourgeoisec ในประวัติศาสตร์ของตะวันตก กลุ่มนี้ประกอบด้วยพวกที่เป็นเจ้าของกิจการทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอำนาจทางเศรษฐกิจและเป็นผลถึงการเมืองเพื่อว่าจะได้รักษาตำแหน่งของตนไว้อย่างมั่นคง
        พวกชนชั้นกลางในประเทศที่กำลังพัฒนา ปัจจุบันไม่ใช่พวกเจ้าของกิจการ แต่จะเป็นพวกที่ทำงานทนายความ ครู นักการเมือง ทหาร ซึ่งส่วนประกอบของชนชั้นนี้จะต่างจากตะวันตก เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และมีอาชัพอื่นๆ ที่สำคัญกว่า และเนื่องจากการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และเครื่องมือต่างๆ  เป็นไปได้อย่างมากสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา รัฐบาลมีส่วนช่วยให้กิจการต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจสำเร็จลุล่วงไปได้มากกว่าบุคคลแต่ละคนได้ทำ
       ชนชั้นกลางเปลี่ยนจากซึ่งเคยเป็น ในตะวันตกกลุ่มชนชั้นกลางที่ทำกิจการซึ่งช่วยให้กิจการปฏิวัติทางสังคมในประวัติศาสตร์ ปัจจุบันชาติที่กำลังพัฒนา หน้าที่เช่นนี้เป็นของชนชั้นกลางเช่นกัน การแสดงบทบาทของชนชั้นกลางก็ได้รับความสำเร็จในการพัฒนาจากสังคมแบบประเพณีมเป็นความนำสมัย และเืพ่การมีอำนาจและการบังคับ กลุ่มนี้ซึ่งส่วนมากได้รับการศึกษาจากตะวันตก ซึ่งต้องท้าทายต่อชนชั้นที่สนับสนุนพวกขุนนางเก่า เขาจะได้ชัยชนะก็โดยที่ำทความเชื่อมั้นแก่มวลชน ซึ่งคนพวกนี้ในอนาคตจะมีส่วนผูกพันต่อความสำเร็จของชนชั้นกลาง อุดมกาณ์ รายได ความสำเร็จเหล่านี้ได้กลุ่มเป็นชาตินิยม
    
       
      

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)