มวลชน มีลักษณะดังนี้ คือ มีผลประโยชน์ร่วมกัน ในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างเดียวกัน แต่ละคนก็ยังมีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล กล่าวคือมีความรู้สึกแยกตนเองออกจากผู้อื่นโดยต่างคนต่างไม่เคยรู้จักกันมาก่อนและไม่มีความประสงค์ที่จะรู้จักกัน ทั้งนี้เพราะมวลชนนั้นแต่ละคนต่างมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่ผิวเผิน มีความรู้สึกร่วมเป้ฯอันหนึงอันเดียวกันหรือเป็นนำ้หนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งเป็นผลทำให้มีการหล่อหลอมจิตใจของสมาชิกเข้าด้วยกัน แม้จะยังไม่เกิดขึ้น หรือมีอยู่น้อยก็ตามที ก็จัดว่าเป็นมวลชน
มวลชนเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ จัดเป็นปรากฎณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักกัน แต่มาอยู่ใกล้กัน ในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันแต่เพียงหลวม ๆ โดยต่างคนต่างมีอารณ์ร่วมกันหรือมวัตถุประสงค์ตรงกัน พฤติกรรมรวมอมู่บางรูปแบบอาจเกิดขึ้นกับบรรดาบุคคลต่าง ๆ ซึ่งกระจัดกระจายกันออกไป และไม่มีการกระทำอย่งใดต่อกันทางสังคมกับคนอื่นเช่นในสังคมปกติ แม้ว่าบุคคลจะขาดการติดต่อกันก็ตาม แต่ทิศทางแห่งการกระทำต่างก็ลู่เข้าสู่วัตถุประสงค์ร่วมกันได้
พฤติกรรมรวมหมู่เช่นนี้จัดเป็น "มวลชน" คือบรรดาบุคคลจำนวนมากที่ต่างคนต่างอยู่ต่างมีแบบแห่งการดำเนินชีวิตซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีความสัมพันธ์ติดต่อกันกับคนจำนวนหนึ่ง โดยแต่ละบุคคลจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดเดียวกันอย่างที่สุดที่มีอยู่ในสมัยนิยมชนิดเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ มวลชนจึงเป็นเรื่องของคนที่กระจัดกระจายต่างคนต่างอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะปรากฎในสังคมเมืองหลวงหรือสังคมอุตสาหกรรม อันเป็นสังคมที่รวมของชนกลุ่มต่าง ๆ ที่เรามักรู้จักกันในนามว่าชนกลุ่มน้อยหรือชนต่างวัฒนธรรม คือคนจำนวนมากที่มาจากแหล่งต่างๆ และมาอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันนั้นเอง
สมาชิกของมวลชนมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ รู้เรื่องของกันและกัน โดยผ่านทางสื่อสามมวลชน นกอจากนั้น ทุกคนยังต่างมีความสนใจและความคิดเห็นต่าง ๆ ตามอิทธิพลของสื่อมวลชนเป็นสวนใหญ่ ที่เป็นสื่อชี้นำมวลชนจนอาจก่อมติมวลชนได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปลุกระดมของสื่อมวลชนที่จะมีอิทธิพลเพียงใดต่อมวลชนนั้นๆ
มวลชนโดยลำพังตนเองไม่สามารถกรทะการสำคัญร่วมกันได้ เพราะสมาชิกต่างคนต่างมีภูมิหลังความสนใจ และประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกันแต่เพียงเล็กน้อยความรู้สึกเป็นอนหนึ่งอนเดียวกันในลักษณะการผนึกกำลังกันจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้
มวลชนอาจถูกปลุกปั่นยุยงโดยนักโฒษณาชวนเชื่อหรือผู้เข้าใจจุดอ่อน ความกดดันและปัญหาต่างๆ ที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่ามีอยู่ร่วมกันและมวลชนที่ถูกปลุ่กปั่นยุยงนี้อาจกลายสภาพเป็นฝูงชนวุ่นวาย(mob)ที่มีอารมณ์ร้อนแรงร่วมกัน ต่างมีความเห็นตรงกันและสามารถกระทำการรุนแรงได้
ความคิดเห็นของมวลชนที่เกิดขึ้นจากการถูกปลุกปั่นยุยงนี้จัดเป็ฯ มติมวลชน จะมีความแตกต่างกับมติมหาชนซึ่งถือว่าเป็นความเห็นหรือมติที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในกลุ่มมหาชนต่าง ๆ ได้ปรึกษาหารือถกเถียงกันโดยใช้หลักเหตุผลในกลุ่มมหาชนต่าง ๆ เช่น สมาคม - อาชีพ สโมสร สหภาพแรงงานพรรคการเมือง สภาท้องถิ่น ประชาชนะมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด เมื่อมีประเด็นที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นในสังคม กลุ่มต่าง ๆ เลห่านี้จะนำมาพิจารณา และเมื่อส่วนใหญ่ตัดสินใจอยางไร ก็จะหลายเป็น "มติมหาชน" ไปในที่สุด
จากลักษณะของมวลชนดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่ามวลชนมีความหลากกหลายในด้านต่างๆ ซึ่งในลักษณะเหล่นนั้นมวลชนยังจะคงความเป็นปัเจกบุคคลเป็นจุดเด่นอยู่เสมอ เราะมวลชนย้ำความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่มีลักษณะหลวมๆ อยู่ในสังงคมแบบตัวใครตัวมันดังกรณีประชาชในเมืองหลวงหรือในสังคมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่รวมของชนต่างวัฒนธรรม จึงทำให้เป็นที่รวมของวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ หรือเป็นศูนย์กลางของอนุวัฒนธรรม และความเป็ฯอยู่ของประชาชนก็สามารถเห็นได้จากการอยู่อาศัยในบ้านจัดสรร แฟลต ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเมนท์ ตลอดจนตามแหล่งเสื่อมโทรม เป็นต้น ซึ่งประชาชนที่อยู่ตามที่อยู่อาศัยดังกล่าวเหล่านั้น ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้จักกัน มีความสนิทสนมคุ้นเคยกันน้อยมาก ดังนั้น ความเป็นปัจเจกชนที่มีความสัมพันธ์อย่างหลวมๆ จะเห็นอย่างเด่นชัดเจนที่เดียว
มวลชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระทำทางสัคม โดยการติดต่อกับกลุ่มที่มีการจัดระดับขั้นทางสังคมหรือจัดเป็ฯประเภทที่ยอมรับกันในรูปแบบอื่นๆ โดยจัดให้เก็นความหลากหลายของการรวมกลุ่มทั้งที่เป็ฯระดับ ทั้งที่เป็นประเภทโดยใช้เป็นคำรวมๆ ว่า "กลุ่ม - Category โดยใช้เป็นการแบ่งออกเป็นประเภทตามระดับทางสังคม "มวลชนนันเป็นเพียงระดับชั้นประเภทหนึ่งของบรรดาชั้นทั้งของกลุ่มทางสังคมขั้นพื้นฐาน" ระดับชั้นประเภทอื่น ๆ ที่ควรกล่าวถึง ได้แก่ ชุมชน มิตรภาพ และสังคม ซึ่งแต่ละคำต่างล้วนมีความหมายแสดงถึงมวลชนทั้งนั้น เพราะต่างมีลักษณะเช่นเดี่ยวกับมวลชนทั้งสิ้น
สังคมมวลชนนั้นจัดเป็ฯสังคมอีกรูปแบบหนึ่งขอพฤติกรรมรวมหมู่ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอันแตกต่างจากพฤติกรรมรวมหมู่ประเภทอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมฝูงชน พฤติกรรมสาธารณชน เป็นต้น กล่าวโดยทั่วๆ ไปแล้ว ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก สังคมมวลชนเป็นสังคมที่ใช้หลักการและเหตุผลมากกว่าความสัมพันธ์กันส่วนตัว เป็นสังคมของประชาชนต่างวัฒนธรรมที่มารวมตัวประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่มีความหลากหลายด้านพฤติกรรม ส่วนใหญ่แล้วมักปรกกฎในสังคมเมืองหลวง หรือสังคมอุตสาหกรรมอันเป้ฯสังคมที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ หรือเป็นสังคมอุดโภคา และเป็นสังคมที่รวมของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ ที่รู้กันว่าเป็นชนต่างวัฒนธรรม ซึ่งสังคมลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นสังคมผู้อื่นนำสมาชิกส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นองค์ประกอบอันแตกต่างไปจากสังคมดั้งเดิม เพราะส่วนใหญ่ลักษณะของความเป้ฯกลุ่มทุติยภูมิที่ต่างคนต่างอยู่ไม่ค่อยรู้จักคุ้นเคยกันเป็นส่วนตัว แต่ละคนจึงต่างมีแบบฉบับในการดำเนินชีวิตของตนเอง ขาดความไว้วางใจในกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในลักษณะเช่นนี้จึงมักไม่ค่อยแน่นแฟ้น เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยุ่บนเพื้นฐานของกฎเกฑณ์ทางสังคมมากกว่าส่วนตัว การสื่อสารจึงมีบทบาทมาก ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันที่เป็นส่วนตัวมักไม่ค่อยแน่นแฟ้น เพราะสมาชิกสังคมมวลชนต่างอาศัยการสื่อสารเป้นสื่อในการติดต่อ
จากลักษณะดังกว่าง สังคมมวลชนนั้นเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาทางสังคม โดยถือว่าการพัฒนานั้นจะเน้นด้านวัตถุเป็นหลัก และที่สำคัญที่สุดของวามเปลี่ยนแปลงก็คือการแสดงง
หาความสะดวกสบายมาสนองความต้องการของสังคมมวลชนโดยการลดพฤติกรรมบางอยางบางประเภทที่ขัดต่อความสำนึกของมวลชนออกไป โดยเน้นด้านผลประโยชน์เป้ฯสำคัญ
มติมวลชน โดยปกติ มวลชนหากปราศจากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ควบคุมสังคมแล้ว ไม่อาจทำการใดๆ ที่สำคัญๆ ร่วมกันได้ เพราะสมาชิกมวลชนต่างมีความสัมพันธ์กับอย่างหลวมๆ แต่ละคนมักจะมีภูมิหลังความสนใจ และประสบกาณ์ต่างๆ ร่วมกันเพียงเล็กน้อย จึงทำให้ขาดความรู้สึกมีอารมณ์ร่วมผนึกกำลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ความสัมพันธ์กันในรูปของญาติสนิทก็ดี ความเป็นผู้ครอบครอชุมชนก็ดี จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ มติมวลชนที่เกิดขึ้น จึงเป็ฯเพียงปรากฎการณ์ทางสังคมรูปแบบหนึ่งเท่านั้น และไม่อาจนำไปใช้ในสังคมโดยทั่วไปได้
ดังนั้น มติมวลชนนั้นเป็นข้อสรุปความคิดเห็นของกลุ่มบุคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สมาชิกต่างมีความสัมพันธ์กันหลวมๆ และแต่ละฝ่ายมักมีภูมิหลังต่าง ๆกัน อันทำให้ความสัมพันธ์ของมวลชนไม่แน่นแฟ้นเท่าที่ควร แม้ว่าสมาชิกมวลชนนั้น จะมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันก็ตา สภาพดังกล่าวแล้ว ฏ็ไม่อาจทำให้มติมวลชนเป็นที่ยอมรับในวงการทั่วไปได้
พฤติกรรมมวลชน เมื่อเราถือว่า ฝูงชนเป็นรูปแบบของพฤติกรรมรวมหมู่รูปแบบหนึ่งที่สมาชิกต่างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้านกายภาพแต่นั้นเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก พฤติกรรมรวมหมู่บางรูปแบบอาจเกิดขึ้นระหว่างบุคคลได้เหมือนกัน แม้ต่างคนต่างแยกกระจัดกระจายกันอยุ่ และแต่ละคนก็ไม่ได้มีการกระทำระหว่างกัและกันกับคนอื่น ๆ เลย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้บรรดาสมาชิกขาดการติดต่อกันแต่มีการกระทำที่แสดงออกถึงวัตถุปรเสงค์ร่วมกัน การแสดงออกลักษณะนี้ จัดเป็น "มวลชน" ซึ่งหมายถึงคนจำนวนมากที่กระจัดกระจายกันอยู่ โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนต่างตอบสนองโดยความเป็นอิสระของตนต่อสิ่งเร้าอย่างเดียวกัน การแสดงออกของมวลนส่วนใหญ่มักเอาอย่างหรือเลีวยแบบผู้อื่นหรือสังคมอื่น ซึ่งจะปรากฎในรูปของพฤติกรรมมวลชน เรื่องพฤติกรรมมวลชนนี้ หากดูเผินๆ แม้จะไม่มีความรุนแรงก็ตาม แต่มีอิทธิพลบางอย่างอันเกิดขึ้นจากปัจจัยทางสังคม เป็ฯตัวการที่จะทำให้พฤติกรรมมวลชนเป็นที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับในสังคมต่อไป
รูปแบบของพฤติกรรมมวลชน เป็นพฤติกรรมมวลชนมีกาจัดรูปแบบออกไปเป็นประเภทต่างๆ ดันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ ข่าวลือ ความคลั่งนิยมชั่วขณะ สมัยนิยม ความคลั่งไคล้ ฮีสทีเรียหมู่
"ข่าวลือ" เ็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ๋มักออกจากปากคนคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง แพร่กระจายออกไปทั่วทั้งกลุ่ม จนบางครั้งสมารถแพร่ไปทั่วทั้งสังคม ดดยไม่มีการตรวจตรา ให้ถูกต้องถี่ถ้วน ข่าวลือจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในบางสงคม แต่ส่วนใหญ่แล้วข่าวลือจเป็นเสมือนเกิดขึ้นในสถานกาณ์ที่เน้นด้านสังคมมากที่สุด
"ความคลั่งนิยมชัวขณะ" เป็ฯพฤติกรรมมวลชนรูปแบบหนึ่ง อันเป็นรูปแบบที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และยินดีรับมาใช้ระหว่างช่วงเวลาอันจำกัดของสังคม ความคลั่งนิยมชั่วขณะนี้จะมีความแตกต่างกับสมัยนิยม ก็โดยอาศัยความพึงพอใจในช่วงเวลาที่ถูกจำกัดมากว่า และมักจะดำรงอยุ่ในเวลาอันสันด้วย จะเห็นได้ว่าความคลั่งนิยมชัวขณะนี้เป็นพฤติกรรมที่ดำรงอยู่ไม่นาน โดยขึ้นอยู่กับความพอใจและยินดียอมรับของสังคมที่จะนไมาใช้ด้านพฤติกรรมมากน้อยเพียงใด
" สมัยนิยม" เป็นรูปแบบของพฤติกรรมหนึ่งขอพฤติกรรมมวลชน อันเป็นที่ยอมรับกันในสังคมตามระยะเวลที่กำหนดไว้ แต่อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย สมัยนิยมจึงเป็ฯการเปลี่ยนแปลงที่มีรูปแบบในปทัสถานที่แน่นอน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในแง่ของวัฒนธรรม และมีเป้าหมายต่อการเปลี่ยนแปลง การยึดติดสมัยนิยมนั้น เป็นวิธีการอันหนึ่งในการผนวกเอาความเบี่ยงเบนและความคล้ายคลคงกันเข้าไว้ด้วย นั้นคือความเบี่ยงเบนนั้นเนื่องมาจากการปฏิบัติตามประเพณีและความคล้ายคลึงกันตามมาตรฐานที่นิยมกันอย่างจริงจัง การขยายตัวของสมันนิยมอาจจะยอมรับว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ และมีความลงรอยเดียวกัน ตามสมัยนิยมอันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง โดยปกติสมัยนิยมจะถูกบังคับด้านรูปแบบที่ไม่เป็นทางการด้านการควบคุมทางสังคม เพราะเป็นไปตามพอใจและนิยมยอมรับของสังคมเอง สังคมหนึ่ง ๆ อาจจะยอมรับสมัยนิยมรูปแบบหนึ่ง ๆในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นเวลายาวนานพอสมควร แต่ในขณะเดียวกันสมัยนิยมนั้นอาจไม่เป็นที่นิยมยอมรับของสังคมอื่นๆ ก็ได้เป็นต้น
" ความบ้าคลั่ง" เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมมวลชน เช่นเดียวกับรูปแบบอื่นๆ ของพฤติกรรมมวลชน จัดเป็ฯพฤติกรรมที่ขาดเหตุผลามากที่สุดในบรรดาพฤติกรรมมวลชนทุกประเภท เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่ปราศจากการพิจารณาไตรีตรองตามเหลักเหตุผล จึงเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถคงทนดำรงอยู่ในสังคมได้นาน โดยผูกพันอยู่กับความพอใจและอารมณ์ของตนเองเป็นหลัก ตามหลักการทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่ถือว่าความบ้าคลั่นนั้นเป็นปทัสถานที่เกิดขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติมักจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบางอย่างที่ฉาบฉวยและผิวเผินมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกทางอารมณ์ของคน
" ฮีสทีเรียหมู่" เป็นเรื่องของปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งอันเป็นปรากฎการณ์ด้านรูปแบบพฤติกรรมมวลชน ความจริงแล้วมักเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางจิตของสมาชิกสังมเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากปรากฏการณ์ทางจิตประเภทหนี้ มักเกิดกับสมาชิกสังคมบางส่วนหรือบางคนเท่านั้น ไม่ทั่วไปทั้งสังคมจึงไม่่ค่อยปรากฎเด่นชัดมากนัก
ฮีสทีเรียหมู่ เป็นปรากฏการ์ทางสังคมประเภทหนึ่งในรูปแบบของพฤติกรรมมวลชน อันเป็ฯพฤติกรรมที่เกิดจากความวิปลาสหรือความผิดปกติทางจิต ในลักษณะของความฝังใจจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่ได้ประสบมาทั้งทางตรงและทางอ้อม อันถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิต ทำให้เกิดความกระวนกระวายใจ ไม่เป็นระเบียบและสับสนทางพฟติกรรมพฤติกรรมที่แสดงออกมามักปราศจากการควบคุม ส่วนใหญ่จะปรกกฏในอาการต่าง ๆ เช่น จิตหลอน อารมณ์ไม่มั่นคง คือมีอาการทางอารมณ์หวั่นไหวไม่คงที่แน่วแน่และอ่อนแอ
พึงเข้าใจว่าฮีสทีเรียหมู่นั้น เป็นโรคจิตชนิตหนึ่งของสังคม เป็ฯโรคที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ แต่อาจถ่ายทอดกันทางพฟติกรรมได้ เพราะฉะนั้นฮีสทีเรียหมู่จึงเป็นเพียงปรากฏกาณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น และอาจมีอิทธิพลทำให้สังคมเกิดความอ่อนแอ ในรูปแบบต่าง ๆ ก็เป็นได้