ทฤษฎีดุลญือำนาจ องค์ประกอบทฤษฎีมีดังนี้
- จะต้องมีชาติหลายชาติจำนวนมากเข้าเกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละชาตินอกจากจะมีกำลังอำาจที่แตกต่างกันออกไปแล้ว ยังพยายามหาทางที่จะเพิ่มกำลังอำนาจของตนให้มีมากยิ่งขึ้น ในกรณีอังกล่าว จะมีแนวโน้มทำให้เกิดดุลยภาพในระบบโลกตราบเท่าที่อำนาจที่เข้มแข็งเหนือกว่า เมื่อใดก็ตาม มีรัฐที่มีกำลังอำนาจเหนือกว่ารัฐอื่นๆ รัฐนั้นจะถูกถ่วงดุลย์จากชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ หรือจากพวกที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม ตราบใดที่กำลังอำนาจของชาติในแต่ละค่ายมีความทัดเทียมกัน ดุลยภาพหรือสภาพความสมดุลจะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสันติภาพโลก
- จะต้องมีชาติทุกหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุล ในกรณีที่กำลังอำนาจที่อยู่ด้านหนึ่งของตราชั่งได้เพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดเสียดุลยภาพ
ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจอธิบายการแบ่งกำลังอำนาจอย่างทัดเทียมกันระหว่างชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ต่อกัน และบางครั้งใช้ปะปนกับคำว่า "ดุลยภาพ"ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้าง ๆ ซึึ่งถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ดีแล้ว อาจเกิดความสับสนได้ นอกจากนี้แล้ว ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจบางครั้งอธิบายถึงการมีอำนาจครอบงำที่เด่นของชาติที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุลย์
ริดชาร์ด คอบเดน Richard Cobden กล่าวเตือนใจไว้ว่า "ดุลย์แห่งอำนาจเป็นเรื่องความฝันที่แสนจะเพ้อเจ้อ ไม่ใช่เป็นเรื่องการเข้าใจผิดผลาดหรือเป็นการหลอกลวง แต่เป็นเรื่องที่ไม่อาจจะอธิบายให้เห็นชัดได้ สุดเหลือที่จะพรรณนาได้ และไม่อาจเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีลัษณะที่ยังพอรับฟังได้"
ทฤษฎีแห่งความหวาดกลัว วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ " นักศีลธรรมอาจมีจิตใจห่อเหี่ยวเมื่อเจอกับแนวความคิดที่ว่า โลกเราจะไม่มีสันติภาพอันมั่นถาวรจนกว่าจะมีวิธีที่ทำให้ชาติต่างๆ มีความเหรงขามหวาดกลัวซึ่งกันและกัน"
ดุลย์แห่งความหวาดกลัว มีความหมายในแง่ที่ว่า จะต้องมีชาติสองชาติหรือมากกว่านั้นขึ้นไป มีความหวาดกลัวเกรงขามซึ่งกันและกัน และไม่กล้าที่จะเสี่ยงภัยกระทำการใด ๆ อันเป็นการกรุตุ้นให้อีกฝ่าหนึ่งโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์กล่าวคือต่างฝ่ายต่างเกรงกลัวว่าเกิดเป็นสงครามนิวเคลียร์จงมีความเกรงขามซึ่งกันและกัน
ทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวมีสาระที่สำคัญคือ
- ตราบใดที่ระบบป้องกันการโจมตี ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ยังไม่มีประสิทธิภาพเียงพอ ประเทศที่ถูกโจมตีก่อนด้วยอาวุธนิวเคลียร์ จะโจมตีตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์อย่างเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งพฤติรรมดังกล่าวมีส่วนทำให้แต่ละฝ่ายไม่กล้าที่จะลงมือโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก่อน และทำให้ต่างฝ่ายต่างอยู่ในสภาวะของดุลย์แห่งควาหวาดกลัว
- ความเสียหายอันเกิดจากการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ต้องอยู่ในลักษณะที่ไม่อาจยอมรับได้ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวเพราะถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายสามารถยอมรับความเสียหายจากการโจมตีได้อย่างไม่สะทกสะท้านแล้วดุลย์แห่งความหวาดกลัวคงจะเกิดได้ยาก
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Human Rights
มักเชื่อกันว่ามนุษย์โดยทั่วไปเป็นส่ิงมีชีวิตที่มีความรุนแรงอยู่โดยธรรมชาติ มีคนสรุปว่า "มนุษย์" คือสัตว์ล่าเหยื่อที่มีการฆ่าโดยใช้อาวุธเป็ฯสัญชาตญาณตามธรรมชาติผู้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางคนก็เชื่อว่า ความก้าวร้าวรุนแรงนั้นเป็ฯสิ่งที่มีคุณต่อสิงมีชีวิตทั้งนี้เพราะความก้าร่วงรุนแรงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หากปราศจากสัญชาติญาณนี้แล้วสิ่งมีชีวิตก็จะอดตาย ยิ่งไปกว่านั้นความก้าวร้าวรุนแรงนี้เป็ฯสิ่งที่เกิดขึ้น-ายในตัวส่ิงมีชีวิตและไม่ใ่ผลของปัจจัยแวดล้อม ความรุนแรงก็เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ด้วยประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เคยว่างเว้นความขัดแย้ง ไม่ว่าะเป็นในระดับบุคคล หรือในระดับสังคม มนุษย์มิได้ถือกำเนิดมาเหมือนกันทุกประการ หากมีความแตกต่างอันเป็นผลมาแต่ "พันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมทางสังคม ความแตกต่างทำนองนี้มักเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งแต่ขณะเดียวกันบ่อยครั้งที่ความขัดแย้งเป็น "พลังทะยานชีวิต"ของมนุษย์เพราะมันโน้มนำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อันยังประโยชน์แก่สังคมมนุษย์ แต่จุดสำคัญนั้นคือความรุนแรงหรือสงครามมิใช่ผลของความขัดแย้ง หากเป็นวิธีการแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้แก้ไขหาข้อยุติให้กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่างๆ
กฎบัติสหประชาชาติ แม้นว่าในแต่ละระบบการเมืองจะมีความกังวลห่วงใยต่อมนุษย์อันเป็นองค์ประกอบมูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์มูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์ต่างๆ ที่ดีขึ้น แต่ในสังคมของมนุษยชาตินั้น การกดขี่และการฆ่าฟันต่อกลุ่มชนต่างๆ ก็เกิดขั้นมากมาย ชีวิตและเสรีภาพของแต่ละบุคคลต่างก็ดูไร้ค่า ไม่มีราคาแต่อย่งใด มีผู้คนล้มตายผู้อพยพและผู้ไร้ถิ่นฐานเป็นจำนวนนับล้าน ๆ คน สหประชาชาติจึงมีจุดมุ่งมั่นและได้กล่วยืนยันไว้ในคำปรารภของกฎบัติสหประชาชาติโดยยืนยันถึงความตั้งใจที่จะรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมเพื่อประชาชนแห่งสหประชาชาติ และนับเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวรับรองเรื่องสิทธิมนุญชนไว้โดยตรงในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีองค์การระหว่างประเทศทำหน้าที่เป็นกลไกการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในคำปรารภได้ยืนยันถึงหลักการนี้ว่า "..ยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุาย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาิตใหญ่น้อย" จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นได้ว่า สหประชาชาติมีความปรารถนาในความตั้งมั่นและจริงจังโดยความผูกพันทางกฎหมายที่จะตามมา
แม้จะมีการยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วยการร่วมมือระหว่างประเทศแล้วก็ตามแต่การเคารพสิทธิมนุษยชนโดยหลักการไม่เลือปฏิบัตินั้นก็กลายเป็นปัญหาในการคุ้มครองระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะภายใต้กฎบัติสหประชาชาติไม่ได้มีการกำนหดถึงรายละเอียดของสิทธิว่ามีอะไรบ้าง ดังนั้งจังมีการพิจารณาจากกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยพันธกรณีที่กำหนดไว้ให้มีการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอันเป็นหลักมูลมีความหมายค่อยช้างกว้าง และกฎบัติสหประชาชาติเองก็ไม่ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าอะไรคือสิทธิมนุษยชน และอะไรคืออิสรภาพอันเป็นหลักมูลที่สามารถเห็นได้โดยชัดเจนคือการส่งเสริมให้มีการเคารพโดยสกกลและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการยอมรับหลักการพื้นฐานใหม่ที่สำคัญอันเป็นสากลคือบุคคลทุกๆ คนควรจะได้รับสิทธิมนุษยชนซึ่งพึงมี ดังนั้นเพื่อให้การเคารพและปฏิบัติตามเป็นจริงได้นั้น รัฐสมาชิกและองค์การระหว่างประเทศจะต้องดำเนินการโดยเป็นรูปธรรมและมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ
รัฐสมาชิกนอกจากจะต้องดำเนินการตามพันธกรณีในรัฐของตนแล้วยังต้องดำเนินการร่วมมือกบรัฐอื่น ๆ และกับองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ด้วยโดยเฉพาะอย่งยิ่งกับองค์กรซึ่งมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนซึ่งเปรีบเสมือนกฎหมายที่มีการอกล่าวอ้างโดยทั่วไปในเวลทีระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตา สิทธิมนุษยชนตามกฎบัติสหประชาชาตินั้น ย่อมไม่มีลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะสิทธิมนุษยชนในแต่ละรัฐเป้ฯเรื่องเขตอำนาจภายในของแต่ละรัฐนั้น
แต่เดิมนั้นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยโดยเฉพาะเท่านั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า "รัฐ" นั้นเป็น "เป้าประสงค์" ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่สามารถใช้หรือดำเนินการตามขอบเหขตที่กำนดแม้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศจะพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ แต่ในช่วงระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่างประเทก็ยังเป็นเพียง "ผลของเป้าประสงค์" อยู่เหมือนเดิม ขณะเดียวกันเมื่อสิทธิมนุษยชนเข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่งปรเทศก็ค่อย ๆ เปลี่ยนสถานะ จาก "ผลของเป้าประสงค์" เป็น "เป้าประสงค์" แทน และยัะงเป็น "เป้าประสงค์" ที่กระตือรือร้นส่งผลตามมาให้เกิดกฎกมายและการดำนเนนการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ด้วย ดังนั้นองค์การระวห่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันใก้เป็นจริงทั้งในระดับภูมิภาคและสากร สิทธิมนุษยชนจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญส่้วนกนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศนับตั้งแต่นี้ไป
สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ และเราคงไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากสิทธิมนุษยชน โศกนาฎกรรมที่เกกิดขึ้นต่อมวลมนุษยชาติ ความไม่สงบสุขที่เกิดขึ้นในทางสังคมและทางการเมือง ความรุนแรงในสังคมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกเป็นมูลเหตุที่ผลักดันให้ประเทศต่างๆ รวมตัวกันเพื่อจัดทำข้อกำหนดในการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพข้นมูลญานต่างๆ นับได้ว่าเป็นแนวความคิดร่วมกันของประชาชนทุกคนและของรัฐต่างๆ ทุกรัฐในความปรารถนาให้มีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป้นมนุษชาติอันเป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพในโลก
เป็นที่ยอมรับกันว่า กฎหมายพื้นฐานที่มีเนื้อหาไม่มากนักได้ส่งผลต่อมา ทำให้เกิดเป็นกฎหมายของประชาคมระหว่างประเทศร่วมกันซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมกันของมนุษย์ กฎหมายดังกล่าวจึงเป็ฯของทุกชนชาติและศาสนาโดยไม่อาจมีการแบ่งแยกได้ปฏิญญาสากำลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเปรียบเสมือนเป็นกฎหมายพื้นฐนของสิทธิมนุษยชนทั้งมวล ปฏิญญาฯนี้ไม่มีผลผูกพันให้รัฐต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม แต่ก็เป็นผลให้เกิดกฎหมายต่างๆ ตามมา ทั้งกฎหมายระหว่างปะเทศและกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็กล่าวอ้างถึงหลักการสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไม่โดยตรงก็โดยอ้อมด้วยสำหรับกฎหมายภายในประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญของหลายประเทศได้บัญญัติถึงสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไว้
คงกล่าวได้ว่ากฎหมายระหว่างปรเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิของปัจเจกชน ส่วนกฎหมายภายในของแต่ละประเทศนั้นเป็นกฏหมายที่ให้การเคารพต่อความเป็นมนุษยชนแย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็นการให้ความเคารพและคุ้มครองประชาชนให้มีศักดิ์ศรีสิทธิและเสรีภาพ อันเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมโดยเท่าเทียมกันกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยกับสิทธิมนุษยชนโยทั่วไป นั้นจะมีการกำหนดถึง "สิทธิและเสรรีภาพบางประการที่ไม่อาจหลักเลี่ยงได้ไว้ด้วย" สิทธิต่างๆ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญจึงมีการบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือยกเว้นไม่ปฏิบัติตามได้ กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสิทธิและเสรีภาพบางประการทีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มีอยู่ 3 ฉบับ
หลักการและจุดมุ่งหมายของสหประชาชาติ
" เราบรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเจตจำนง ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณนามาสู่มนุษยชาติในชั่วชีวิตของเราถึงสองครั้งแล้ว และที่จะยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาติใหญ่น้อย และที่จะสถาปนาภาวการณ์ อันจะธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความเคารพต่อข้อผูกพันทั้งปวงอันเกิดมาจากสนธิสัญญาและที่มาอื่นๆ ของกฎหมายระหว่างประเทศ และที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคม และมาตรฐานอันดีย่ิงขึ้นแห่งชีวิตในอิสรภาพที่กว้างขวางยิ่งขึ้น"
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องในระดับประเทศและระว่างประเทศ ประเทศต่างๆ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเมื่อพิจารณากฎบัติสหประชาชาติแล้วะเห็นว่า องค์การสหประชาชาติมีหลักการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ มีการดำเนินการร่วมกันหรือแยกกันเพื่อให้มีการเคารพและปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนโดยสากล แต่ขณะเดียวกันก็ขัดแย้งกับหลักการไม่แทรกแซงซึ่งเป็นหลักการสน่วนหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
กลไกในการทำงานและดำเนินงานที่สหประชาชาติจะต้องจัดตั้งขึ้นจัดทำกฎหมายและพัฒนามาตรฐานของกฎหมาย ติดตามเผ้าดูสถานการณ์ทางสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทุกมุมโลก และผลักดันให้กฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ มีผลใช้บังคับและมีการปฏิบัติตามอย่างได้ผล การจัดตั้งกลไกในการทำงานเพื่อให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนแาจจะเกิดขึ้นได้โดยกฎบัติสหประชาชาติส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งจากฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ
วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
The Mass
มวลชน มีลักษณะดังนี้ คือ มีผลประโยชน์ร่วมกัน ในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างเดียวกัน แต่ละคนก็ยังมีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล กล่าวคือมีความรู้สึกแยกตนเองออกจากผู้อื่นโดยต่างคนต่างไม่เคยรู้จักกันมาก่อนและไม่มีความประสงค์ที่จะรู้จักกัน ทั้งนี้เพราะมวลชนนั้นแต่ละคนต่างมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่ผิวเผิน มีความรู้สึกร่วมเป้ฯอันหนึงอันเดียวกันหรือเป็นนำ้หนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งเป็นผลทำให้มีการหล่อหลอมจิตใจของสมาชิกเข้าด้วยกัน แม้จะยังไม่เกิดขึ้น หรือมีอยู่น้อยก็ตามที ก็จัดว่าเป็นมวลชน
มวลชนเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ จัดเป็นปรากฎณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักกัน แต่มาอยู่ใกล้กัน ในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันแต่เพียงหลวม ๆ โดยต่างคนต่างมีอารณ์ร่วมกันหรือมวัตถุประสงค์ตรงกัน พฤติกรรมรวมอมู่บางรูปแบบอาจเกิดขึ้นกับบรรดาบุคคลต่าง ๆ ซึ่งกระจัดกระจายกันออกไป และไม่มีการกระทำอย่งใดต่อกันทางสังคมกับคนอื่นเช่นในสังคมปกติ แม้ว่าบุคคลจะขาดการติดต่อกันก็ตาม แต่ทิศทางแห่งการกระทำต่างก็ลู่เข้าสู่วัตถุประสงค์ร่วมกันได้
พฤติกรรมรวมหมู่เช่นนี้จัดเป็น "มวลชน" คือบรรดาบุคคลจำนวนมากที่ต่างคนต่างอยู่ต่างมีแบบแห่งการดำเนินชีวิตซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีความสัมพันธ์ติดต่อกันกับคนจำนวนหนึ่ง โดยแต่ละบุคคลจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดเดียวกันอย่างที่สุดที่มีอยู่ในสมัยนิยมชนิดเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ มวลชนจึงเป็นเรื่องของคนที่กระจัดกระจายต่างคนต่างอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะปรากฎในสังคมเมืองหลวงหรือสังคมอุตสาหกรรม อันเป็นสังคมที่รวมของชนกลุ่มต่าง ๆ ที่เรามักรู้จักกันในนามว่าชนกลุ่มน้อยหรือชนต่างวัฒนธรรม คือคนจำนวนมากที่มาจากแหล่งต่างๆ และมาอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันนั้นเอง
สมาชิกของมวลชนมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ รู้เรื่องของกันและกัน โดยผ่านทางสื่อสามมวลชน นกอจากนั้น ทุกคนยังต่างมีความสนใจและความคิดเห็นต่าง ๆ ตามอิทธิพลของสื่อมวลชนเป็นสวนใหญ่ ที่เป็นสื่อชี้นำมวลชนจนอาจก่อมติมวลชนได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปลุกระดมของสื่อมวลชนที่จะมีอิทธิพลเพียงใดต่อมวลชนนั้นๆ
มวลชนโดยลำพังตนเองไม่สามารถกรทะการสำคัญร่วมกันได้ เพราะสมาชิกต่างคนต่างมีภูมิหลังความสนใจ และประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกันแต่เพียงเล็กน้อยความรู้สึกเป็นอนหนึ่งอนเดียวกันในลักษณะการผนึกกำลังกันจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้
มวลชนอาจถูกปลุกปั่นยุยงโดยนักโฒษณาชวนเชื่อหรือผู้เข้าใจจุดอ่อน ความกดดันและปัญหาต่างๆ ที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่ามีอยู่ร่วมกันและมวลชนที่ถูกปลุ่กปั่นยุยงนี้อาจกลายสภาพเป็นฝูงชนวุ่นวาย(mob)ที่มีอารมณ์ร้อนแรงร่วมกัน ต่างมีความเห็นตรงกันและสามารถกระทำการรุนแรงได้
ความคิดเห็นของมวลชนที่เกิดขึ้นจากการถูกปลุกปั่นยุยงนี้จัดเป็ฯ มติมวลชน จะมีความแตกต่างกับมติมหาชนซึ่งถือว่าเป็นความเห็นหรือมติที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในกลุ่มมหาชนต่าง ๆ ได้ปรึกษาหารือถกเถียงกันโดยใช้หลักเหตุผลในกลุ่มมหาชนต่าง ๆ เช่น สมาคม - อาชีพ สโมสร สหภาพแรงงานพรรคการเมือง สภาท้องถิ่น ประชาชนะมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด เมื่อมีประเด็นที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นในสังคม กลุ่มต่าง ๆ เลห่านี้จะนำมาพิจารณา และเมื่อส่วนใหญ่ตัดสินใจอยางไร ก็จะหลายเป็น "มติมหาชน" ไปในที่สุด
จากลักษณะของมวลชนดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่ามวลชนมีความหลากกหลายในด้านต่างๆ ซึ่งในลักษณะเหล่นนั้นมวลชนยังจะคงความเป็นปัเจกบุคคลเป็นจุดเด่นอยู่เสมอ เราะมวลชนย้ำความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่มีลักษณะหลวมๆ อยู่ในสังงคมแบบตัวใครตัวมันดังกรณีประชาชในเมืองหลวงหรือในสังคมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่รวมของชนต่างวัฒนธรรม จึงทำให้เป็นที่รวมของวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ หรือเป็นศูนย์กลางของอนุวัฒนธรรม และความเป็ฯอยู่ของประชาชนก็สามารถเห็นได้จากการอยู่อาศัยในบ้านจัดสรร แฟลต ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเมนท์ ตลอดจนตามแหล่งเสื่อมโทรม เป็นต้น ซึ่งประชาชนที่อยู่ตามที่อยู่อาศัยดังกล่าวเหล่านั้น ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้จักกัน มีความสนิทสนมคุ้นเคยกันน้อยมาก ดังนั้น ความเป็นปัจเจกชนที่มีความสัมพันธ์อย่างหลวมๆ จะเห็นอย่างเด่นชัดเจนที่เดียว
มวลชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระทำทางสัคม โดยการติดต่อกับกลุ่มที่มีการจัดระดับขั้นทางสังคมหรือจัดเป็ฯประเภทที่ยอมรับกันในรูปแบบอื่นๆ โดยจัดให้เก็นความหลากหลายของการรวมกลุ่มทั้งที่เป็ฯระดับ ทั้งที่เป็นประเภทโดยใช้เป็นคำรวมๆ ว่า "กลุ่ม - Category โดยใช้เป็นการแบ่งออกเป็นประเภทตามระดับทางสังคม "มวลชนนันเป็นเพียงระดับชั้นประเภทหนึ่งของบรรดาชั้นทั้งของกลุ่มทางสังคมขั้นพื้นฐาน" ระดับชั้นประเภทอื่น ๆ ที่ควรกล่าวถึง ได้แก่ ชุมชน มิตรภาพ และสังคม ซึ่งแต่ละคำต่างล้วนมีความหมายแสดงถึงมวลชนทั้งนั้น เพราะต่างมีลักษณะเช่นเดี่ยวกับมวลชนทั้งสิ้น
สังคมมวลชนนั้นจัดเป็ฯสังคมอีกรูปแบบหนึ่งขอพฤติกรรมรวมหมู่ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอันแตกต่างจากพฤติกรรมรวมหมู่ประเภทอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมฝูงชน พฤติกรรมสาธารณชน เป็นต้น กล่าวโดยทั่วๆ ไปแล้ว ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก สังคมมวลชนเป็นสังคมที่ใช้หลักการและเหตุผลมากกว่าความสัมพันธ์กันส่วนตัว เป็นสังคมของประชาชนต่างวัฒนธรรมที่มารวมตัวประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่มีความหลากหลายด้านพฤติกรรม ส่วนใหญ่แล้วมักปรกกฎในสังคมเมืองหลวง หรือสังคมอุตสาหกรรมอันเป้ฯสังคมที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ หรือเป็นสังคมอุดโภคา และเป็นสังคมที่รวมของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ ที่รู้กันว่าเป็นชนต่างวัฒนธรรม ซึ่งสังคมลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นสังคมผู้อื่นนำสมาชิกส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นองค์ประกอบอันแตกต่างไปจากสังคมดั้งเดิม เพราะส่วนใหญ่ลักษณะของความเป้ฯกลุ่มทุติยภูมิที่ต่างคนต่างอยู่ไม่ค่อยรู้จักคุ้นเคยกันเป็นส่วนตัว แต่ละคนจึงต่างมีแบบฉบับในการดำเนินชีวิตของตนเอง ขาดความไว้วางใจในกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในลักษณะเช่นนี้จึงมักไม่ค่อยแน่นแฟ้น เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยุ่บนเพื้นฐานของกฎเกฑณ์ทางสังคมมากกว่าส่วนตัว การสื่อสารจึงมีบทบาทมาก ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันที่เป็นส่วนตัวมักไม่ค่อยแน่นแฟ้น เพราะสมาชิกสังคมมวลชนต่างอาศัยการสื่อสารเป้นสื่อในการติดต่อ
จากลักษณะดังกว่าง สังคมมวลชนนั้นเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาทางสังคม โดยถือว่าการพัฒนานั้นจะเน้นด้านวัตถุเป็นหลัก และที่สำคัญที่สุดของวามเปลี่ยนแปลงก็คือการแสดงง
หาความสะดวกสบายมาสนองความต้องการของสังคมมวลชนโดยการลดพฤติกรรมบางอยางบางประเภทที่ขัดต่อความสำนึกของมวลชนออกไป โดยเน้นด้านผลประโยชน์เป้ฯสำคัญ
มติมวลชน โดยปกติ มวลชนหากปราศจากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ควบคุมสังคมแล้ว ไม่อาจทำการใดๆ ที่สำคัญๆ ร่วมกันได้ เพราะสมาชิกมวลชนต่างมีความสัมพันธ์กับอย่างหลวมๆ แต่ละคนมักจะมีภูมิหลังความสนใจ และประสบกาณ์ต่างๆ ร่วมกันเพียงเล็กน้อย จึงทำให้ขาดความรู้สึกมีอารมณ์ร่วมผนึกกำลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ความสัมพันธ์กันในรูปของญาติสนิทก็ดี ความเป็นผู้ครอบครอชุมชนก็ดี จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ มติมวลชนที่เกิดขึ้น จึงเป็ฯเพียงปรากฎการณ์ทางสังคมรูปแบบหนึ่งเท่านั้น และไม่อาจนำไปใช้ในสังคมโดยทั่วไปได้
ดังนั้น มติมวลชนนั้นเป็นข้อสรุปความคิดเห็นของกลุ่มบุคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สมาชิกต่างมีความสัมพันธ์กันหลวมๆ และแต่ละฝ่ายมักมีภูมิหลังต่าง ๆกัน อันทำให้ความสัมพันธ์ของมวลชนไม่แน่นแฟ้นเท่าที่ควร แม้ว่าสมาชิกมวลชนนั้น จะมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันก็ตา สภาพดังกล่าวแล้ว ฏ็ไม่อาจทำให้มติมวลชนเป็นที่ยอมรับในวงการทั่วไปได้
พฤติกรรมมวลชน เมื่อเราถือว่า ฝูงชนเป็นรูปแบบของพฤติกรรมรวมหมู่รูปแบบหนึ่งที่สมาชิกต่างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้านกายภาพแต่นั้นเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก พฤติกรรมรวมหมู่บางรูปแบบอาจเกิดขึ้นระหว่างบุคคลได้เหมือนกัน แม้ต่างคนต่างแยกกระจัดกระจายกันอยุ่ และแต่ละคนก็ไม่ได้มีการกระทำระหว่างกัและกันกับคนอื่น ๆ เลย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้บรรดาสมาชิกขาดการติดต่อกันแต่มีการกระทำที่แสดงออกถึงวัตถุปรเสงค์ร่วมกัน การแสดงออกลักษณะนี้ จัดเป็น "มวลชน" ซึ่งหมายถึงคนจำนวนมากที่กระจัดกระจายกันอยู่ โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนต่างตอบสนองโดยความเป็นอิสระของตนต่อสิ่งเร้าอย่างเดียวกัน การแสดงออกของมวลนส่วนใหญ่มักเอาอย่างหรือเลีวยแบบผู้อื่นหรือสังคมอื่น ซึ่งจะปรากฎในรูปของพฤติกรรมมวลชน เรื่องพฤติกรรมมวลชนนี้ หากดูเผินๆ แม้จะไม่มีความรุนแรงก็ตาม แต่มีอิทธิพลบางอย่างอันเกิดขึ้นจากปัจจัยทางสังคม เป็ฯตัวการที่จะทำให้พฤติกรรมมวลชนเป็นที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับในสังคมต่อไป
รูปแบบของพฤติกรรมมวลชน เป็นพฤติกรรมมวลชนมีกาจัดรูปแบบออกไปเป็นประเภทต่างๆ ดันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ ข่าวลือ ความคลั่งนิยมชั่วขณะ สมัยนิยม ความคลั่งไคล้ ฮีสทีเรียหมู่
"ข่าวลือ" เ็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ๋มักออกจากปากคนคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง แพร่กระจายออกไปทั่วทั้งกลุ่ม จนบางครั้งสมารถแพร่ไปทั่วทั้งสังคม ดดยไม่มีการตรวจตรา ให้ถูกต้องถี่ถ้วน ข่าวลือจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในบางสงคม แต่ส่วนใหญ่แล้วข่าวลือจเป็นเสมือนเกิดขึ้นในสถานกาณ์ที่เน้นด้านสังคมมากที่สุด
"ความคลั่งนิยมชัวขณะ" เป็ฯพฤติกรรมมวลชนรูปแบบหนึ่ง อันเป็นรูปแบบที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และยินดีรับมาใช้ระหว่างช่วงเวลาอันจำกัดของสังคม ความคลั่งนิยมชั่วขณะนี้จะมีความแตกต่างกับสมัยนิยม ก็โดยอาศัยความพึงพอใจในช่วงเวลาที่ถูกจำกัดมากว่า และมักจะดำรงอยุ่ในเวลาอันสันด้วย จะเห็นได้ว่าความคลั่งนิยมชัวขณะนี้เป็นพฤติกรรมที่ดำรงอยู่ไม่นาน โดยขึ้นอยู่กับความพอใจและยินดียอมรับของสังคมที่จะนไมาใช้ด้านพฤติกรรมมากน้อยเพียงใด
" สมัยนิยม" เป็นรูปแบบของพฤติกรรมหนึ่งขอพฤติกรรมมวลชน อันเป็นที่ยอมรับกันในสังคมตามระยะเวลที่กำหนดไว้ แต่อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย สมัยนิยมจึงเป็ฯการเปลี่ยนแปลงที่มีรูปแบบในปทัสถานที่แน่นอน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในแง่ของวัฒนธรรม และมีเป้าหมายต่อการเปลี่ยนแปลง การยึดติดสมัยนิยมนั้น เป็นวิธีการอันหนึ่งในการผนวกเอาความเบี่ยงเบนและความคล้ายคลคงกันเข้าไว้ด้วย นั้นคือความเบี่ยงเบนนั้นเนื่องมาจากการปฏิบัติตามประเพณีและความคล้ายคลึงกันตามมาตรฐานที่นิยมกันอย่างจริงจัง การขยายตัวของสมันนิยมอาจจะยอมรับว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ และมีความลงรอยเดียวกัน ตามสมัยนิยมอันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง โดยปกติสมัยนิยมจะถูกบังคับด้านรูปแบบที่ไม่เป็นทางการด้านการควบคุมทางสังคม เพราะเป็นไปตามพอใจและนิยมยอมรับของสังคมเอง สังคมหนึ่ง ๆ อาจจะยอมรับสมัยนิยมรูปแบบหนึ่ง ๆในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นเวลายาวนานพอสมควร แต่ในขณะเดียวกันสมัยนิยมนั้นอาจไม่เป็นที่นิยมยอมรับของสังคมอื่นๆ ก็ได้เป็นต้น
" ความบ้าคลั่ง" เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมมวลชน เช่นเดียวกับรูปแบบอื่นๆ ของพฤติกรรมมวลชน จัดเป็ฯพฤติกรรมที่ขาดเหตุผลามากที่สุดในบรรดาพฤติกรรมมวลชนทุกประเภท เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่ปราศจากการพิจารณาไตรีตรองตามเหลักเหตุผล จึงเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถคงทนดำรงอยู่ในสังคมได้นาน โดยผูกพันอยู่กับความพอใจและอารมณ์ของตนเองเป็นหลัก ตามหลักการทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่ถือว่าความบ้าคลั่นนั้นเป็นปทัสถานที่เกิดขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติมักจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบางอย่างที่ฉาบฉวยและผิวเผินมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกทางอารมณ์ของคน
" ฮีสทีเรียหมู่" เป็นเรื่องของปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งอันเป็นปรากฎการณ์ด้านรูปแบบพฤติกรรมมวลชน ความจริงแล้วมักเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางจิตของสมาชิกสังมเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากปรากฏการณ์ทางจิตประเภทหนี้ มักเกิดกับสมาชิกสังคมบางส่วนหรือบางคนเท่านั้น ไม่ทั่วไปทั้งสังคมจึงไม่่ค่อยปรากฎเด่นชัดมากนัก
ฮีสทีเรียหมู่ เป็นปรากฏการ์ทางสังคมประเภทหนึ่งในรูปแบบของพฤติกรรมมวลชน อันเป็ฯพฤติกรรมที่เกิดจากความวิปลาสหรือความผิดปกติทางจิต ในลักษณะของความฝังใจจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่ได้ประสบมาทั้งทางตรงและทางอ้อม อันถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิต ทำให้เกิดความกระวนกระวายใจ ไม่เป็นระเบียบและสับสนทางพฟติกรรมพฤติกรรมที่แสดงออกมามักปราศจากการควบคุม ส่วนใหญ่จะปรกกฏในอาการต่าง ๆ เช่น จิตหลอน อารมณ์ไม่มั่นคง คือมีอาการทางอารมณ์หวั่นไหวไม่คงที่แน่วแน่และอ่อนแอ
พึงเข้าใจว่าฮีสทีเรียหมู่นั้น เป็นโรคจิตชนิตหนึ่งของสังคม เป็ฯโรคที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ แต่อาจถ่ายทอดกันทางพฟติกรรมได้ เพราะฉะนั้นฮีสทีเรียหมู่จึงเป็นเพียงปรากฏกาณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น และอาจมีอิทธิพลทำให้สังคมเกิดความอ่อนแอ ในรูปแบบต่าง ๆ ก็เป็นได้
วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Crowd
การรวมกลุ่มกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่งที่ต่างมีจุหมายหรือความสนใจตรงกันโดยแต่ละคนจะมีความใกล้ชิดกันด้านกายภาพ และไม่เคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับการกระทำ ความสัมพันธ์ ความรู้จักมักคุ้นสนิทสนมต่อกันและกันเป็นส่วนตัวมาก่อนเลย โดยปกติแล้วเมื่อแต่ละคนต่างมีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน สภาพฝูงชนก็จะสลายตัวไป เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของมวลรวมกันเท่านั้น เพื่อทำความเข้าใจและป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการศึกษาฝูงชน จะของแยกอธิบายตามแนวต่อไปนี้
การที่คนจำนวนหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนบ้าง เคยรู้จักกันมาบ้าง มารวมกัน ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง จะโดยนดหมายกันมาก่อนหรือไม่ได้นัดหมายกันมากก่อนก็ตา แต่ละคนที่มารวมกันนั้นต่างมีเป้หมายหรือวัตถุประสงค์ของการมารวมกันนั้นตรงกัน หรือร่วมอย่างเดียวกัน และเมื่อได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการแล้ว สภาพการรวมกันก็สลายไป ลักษณะเช่นนี้ จัดเป้น "ฝูงชน" เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งไม่มีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ควบคุมสภาพฝูงชน การรวมตัวกันใรรุ)ของฝูงชน จึงมีความหลากหลายออกไปตามปัจจัยแวดล้อมอันทำให้มีการจัดประเภทแก่งพฤติกรรม
"ฝูงชน"ตามแนวสังคมวิทยา เป็นการศึกษาสังคมทั้งสังคมมิใช่ศึกษาเจาะจงเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น
อนึ่งในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่ คำว่า "ฝูงชน" ที่เรานำมาใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่นั้น ยังได้ถูกนำมาใช้ในขอบข่ายที่กว้างขวางมาก โดยใช้แสดงถึงการรวมตัวกันของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่างมีการแสดงออกหรือการกระทำตามวัตถุประสงค์อันเป็นเป้าหมายของตน และการที่ใช้ฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ นั้น จึงเป็ฯการแสดงให้เห็นถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของบบรรดาสมาชิกฝูงชนดังได้กล่าวแล้ว
ในจิตวิทยาสังคม ได้กล่าวถึงฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้แสดงนัยอันเป็นความหมายทีบ่งบอกให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมของคนจำนวนหนึ่ง ๆ ซึ่งต่างมีการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ตามปัจจัยอันเป็นสาเหตุให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยใช้คำที่มีัลัษณะและความหมายที่สามารถเข้ากันได้และลงรอยเดียวกัน การศึกษาฝูงชนตามแนวจิตวิทยาสังคมนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็ฯพฤติกรรมที่แสดงออกตามความรู้สึกของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งมีทั้งความรุนแรงก้าวร้าว และความสมานฉันท์ด้านนันทนาการ
ตามปกติ ฝูงชนจะมัลัษณะสำคัญที่เป็นที่ยอมรับกัน คือ เป็นผลของการแสดงออกของพฤติกรรมรวมหมู่ในด้านรูปธรรม อันทำให้พฤติกรรมรวมหมู่ปรากฎเป็นรูปร่างตัวตนขึ้นมา โดยอาศัยเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรากฎออกมาตามลักษณธที่เห็นว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยจะมีภพความปั่นป่วนระสำ่ระสายของฝูงชนในลักษณธของการวนเวียนจับกลุ่ม การเดินไปเดินมาโดยไร้จุดหมายที่แน่นอน และยังถือว่าเป็นความกระวนกระวายอย่างหนึ่ง เป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวโดยไร้จุดหมายของคนในฝูงชน อันหมายถึง ภาวะขัดแย้งที่ปราศจากผู้นำ และความกระวนกระวายนี้ยังเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปลุกเร้าทางจิตอันเป็ฯความผิดปกติทางอารฯ์ร่วมกันระหว่างสมาชิก ซึ่งเป็ยผลมาจากการที่สามชิกมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน มีการเร้าทางอารณ์ ทำให้บรรดาสมาชิกเกิดความตื่นเต้น และมีอารมณ์ร่วมเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยภาวะแห่งการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เหล่านั้นไปยังบุคคลอื่นๆ อีกด้วย ดอันเป็นการช่วยกระจายความรู้สึกให้ขยายเป็นวงกว้างออกไป ซึ่งสภาพเช่นนี้ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพฝูงชนขึ้น และสามารถลงมือกระทำการต่างๆ ได้
อีกประการหนึ่ง ยังมีฝูงชนอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างออกไปจากผู้รับสร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าทางอารมณ์ที่แต่ละคนต่างมีข้อกำหนดระหว่างบุคคลแต่ละบุคลที่ต่างมีความเกี่ยวข้องกัน และยังมีความแตกต่างจากมหาชน อีกด้วย โดยที่แต่ละคนจะมีความใกล้ชิดด้านกายภาพระหว่างสมาชิกด้วยกัน ดังกรณีนักศึกษาตามสถานศึกษาต่างๆ ขณะที่มีการแข่งขันกีฬาต่างก็จะมีอารมณ์ร่วมกัน และมีสภาพการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนในรูปของความเป็นฝูงชนได้ ประชาชนต่างมายืนรอรถประจำทางตามป้ายจอดรถก็จะดเป็นฝูงชนเช่นกัน เรียกว่า ฝูงชนบังเอิญ แม้พฤติกรรมฝูงชนก็จัดเป็นรูปแบบพื้นฐานของพฟติกรรมรวมหมู่ การพิจารณาฝูงชนดังกล่าวข้างต้นเป็นการกล่าวในแง่ของสังคมวิทยา ที่พิจารณาฝูงชนทั้งฝูงชนหรือพิจารณาหมดทั้งกลุ่ม มิได้พิจารณาเฉพาะเจาะจงบุคคลใดบคคลหนึ่งหรือบางกลุ่มบางส่วนในฝูงชนนั้น
สภาวะรวมหมู่ ฝูงชนมัเป็นที่ยอรับกันว่า เป็นสภาวะรวมหมู่ทั้งนี้ เนื่องจากมีลักษณะที่แน่นอน ซึ่งมักจะไ้รับการกล่าวขานในด้านโครงสร้างทางจิตวิทยาโดยตรงแต่บรรดนักการศึกษาต่างพยายามหานิยามอันเป็นที่ยอมรับกัน จนเป็ฯที่ตกลงด้านจำนวนเป้าหมายที่กำนดตายตัวลงไปเท่านั้นว่า
- ฝูงชนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกลุ่มที่เป็ฯทางการในบางรูปแบบ
- ฝูงชน เป็ฯการรวมตัวกันเพียงชัวคร้งชั่วคราวเท่านั้น โดยอาจจะก่อรูปขึ้นมาเป็ฯกลุ่มที่เป็นทางการก็ได้ หรือกาจเกิดขึ้นในรูปขององค์การที่ถาวรก็ได้
- มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนของบรรดาปัจเจกบุคคลประเภทหนึ่ง ทั้งนี้ จะเป็ฯไปตามเงื่อนไขตามที่ยอมรับกันหรือไม่ก็ตาม แต่ถือว่าสามารถสื่อความหมายกันภายฝูงชนนั้น ๆ ได้ แม้กระน้นก็ตามก็ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่จะทำให้คนมารวมกัน หรือทำให้คนเหล่านั้นได้รับความรู้เหมือนกันกับคนอื่น ๆ ในกรณีเช่นนี้ ฝูงชนจึงประกฎเป็นรูปร่างทางกายภาพขึ้นโดยทันทีทันใด..
- ฝูงชนนั้นยังอยู่ในกระบวนการตลอดไป เนื่องจากมีลักาณะเป็ฯเด็กหลงพ่อแม่ อย่างหนึ่ง
- ฝูงชนนั้น ส่วนใหญ๋แล้วจะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก คนเพียงสามคนไม่อาจจัดเป็นฝูงชนได้
ทั้งนี้เนื่องจากฝูงชนเป็นเรื่องของคนแต่ละคนที่ต่างมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินการต่าง ๆ เฉพาะตน ฝูงชนจึงเป็นผลรวมหรือมวลรวมทางพฤติกรรมของสมาชิกเองเมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ฝูงชนในฐานะสภาวะรวมหมู่ พอสรุปได้ดังนี้
- บางรูปแบบมัลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มที่เป็นทางการ
- เป็นการรวมกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่ง
- แต่ละคนสามารถสื่อความหมายกันได้
- อยู่ในกระบวนการตลอดไปคือมีความเป็นไปโดยไร้ระเบียบแบบแผนตายตัว
- ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก
ดังนั้น ฝูงชนในสภาวะรวมหมู่จึงมีลักาณะการรวมกันที่ไม่ได้มีการวางแผนกำหนดการแน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องการรวมหลุ่มกันตามความพอใจและความประสงค์ของแต่ละคนนั้นเอง
ลักษณะเฉพาะของฝูงชน ที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่
- มีสภาวะนิรนาม ฝูงชนจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ทั้งด้านชื่อเสียง และภูมิหลังของกนและกัน มักปรากฎในช่วงเวลาอันั้น โดยเป็นไปเพียงชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ผู้ที่มารวมกันนั้นแต่ละคนจะไม่สนใจในกันและกน คือไม่มีความรู้สึกต่อกันและกันในฐานะส่วนตัว หรือเป็นส่วนบุคคลเลย ทุกคนจะถือว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การแสดงออกทางพฤติกรรมก็เป็นไปในรูปของกลุ่ม ความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดีต่าง ๆ ทางสังคมไม่ว่าจะด้านกฎหมายและด้านศีลธรรมจะถูกลืมและขจัดออกไป ทุกคนจะมีความรู้สึกว่าอิสระเสรีในการกระทำและแสดงออก การกระทำบางอย่างก็ดี การแสดงออกก็ดีในเวลาปกติจะไม่กรทำ เพราะถือว่าขัดต่อบรรทัดฐานทางสังคม
- มีลักษณะเป็นอบุคลิก เป็นสภาวะที่ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะลักษณะเช่นนี้เป้ฯลักษณะที่ไม่คำนึงถึงตัวบุคคลเป็นสำคัญ โดยแตละคนต่างทำหน้าที่ของตนตามบทบาทที่เกิดจากสถานภาพเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้จะปรากฎเด่นชัด เมื่อมีการจลาจลวุ่นวายที่เกิดจาปัญหาเชื้อชาติไม่ว่าจะโดยทางชาติพันธุ์ หรือความสัมพันธ์ทางเชื่อชาติ แม้คนในฝ่ายตรงข้ามจะไม่เคยประพฤติผิดเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จะเป็นคนดีเพียวใดก็ตาม ในกรณีที่เกิดเหตุกาณ์เชนนั้นขึ้น เกณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องวัด "ความดี" ก็ดี "ความเป็นเพื่อน" ก็ดี ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีเช่นนี้ได้ เพราะไร้ประโยชน์ ต่อเมื่อเหตุการณ์สวบหรือสลายตัวแล้ว ความสัมพันธ์ที่มีอยูต่อกันก็จะกลับกลายมาเป้นสวนบุคคลเช่นเดิม
- สภาวะแนะนำง่าย สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดฝูงชนนั้นไม่ได้กำหนดสถานภาพและบทบาทของฝูงชนมาแต่เดิม เป็นแต่เพียงกำหนดระเบียบและโครงสร้างไว้ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงไม่มีผู้นำที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหรือได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยเฉพาะรวมถึงไม่มีรูปแบบของพฤติกรรมอันเป็นที่ยอมรับกัน ฝูงชนในลัษณะเช่นนี้จึงมีความว้าเหว่ อ้างว้างขาดที่พึ่งพิง ปราศจากหลักยึดเหนี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักทางใจ เพื่อที่จะให้ฝูงชนดำเนินการและปฏิบัติตามความรับผิดชอบที่แต่ละคนจะพงมี กลุ่มจึงเป็นผู้รับผิดชอบโดยการสร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นมาให้สมาชิกปฏิบัติ ในกรณีเช่นนี้สถานะของกลุ่มจึงมักมีการชัดแย้งกันและสร้างความยุ่งเหยิงเสมอในภาวะของสถานกาณ์เช่นนั้นประชาชนอาจปฏิบัติตากการชี้แนะของใครก็ได้..
- การแพร่ติดต่อทางสังคม หรือการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เป็นการกระทำระหว่างกันทางสังคม โดยที่แรงดลเหรือความรู้สึกที่แพร่จากบุคคลไปยังบุคคลอื่น ยังผลไใ้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน มักใช้ในสถานกาณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคลั่งไคล้ ความแตกตื่น หรือความระเริงใจ...
- คุณสมบัติเฉพาะของฝูงชน ฝูงชนเป็ฯสภาพแห่งการรวมตวกันตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของปัจเจกบุคคล อันเกิดขึ้นจากปัจจัยบางอย่างที่เป็นตัวการเร้าหรือจูงใจให้เกิดขึ้นมาดังนี้นเรื่องของฝูงชน แม้ว่าเราจะทราบกันแล้วว่าเป็นการรวมกันของคนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ไม่ว่าจะโดยการนัดหมายกันหรือมิได้นัดหมายกันไว้ก็ตาม แต่พึงเข้าใใจว่าฝูงชนนั้มีจุดรวมอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นเครื่องจูงใจให้แต่ละคนมารวมตัวกันก่อสภาพเป็นฝูงชนขึ้น นั้นคือ จุดประสงค์ หรือเป้าหมายที่แต่ละคนมีอยู่ จุดประสงค์หรือเป้าหมายอันนี้ จะเป็นตัวการหรือเป็นปัจจัยจูงใจให้คนมารวมกันในสภาพของฝูงชนขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวมันเองว่ามีคุณสมบัติเช่นใดอันจะทำให้เห็นสภาพที่แท้จริงของฝูงชนได้
- นิยาม "ฝูงชน" ฝูงชนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีคนจำนวนหนึงมารวมกัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดดยแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันด้านการกระทระหว่างกันเฉพาะตัวบุคคลหรือต่างมีความรู้สึกและพฤติกรรมตรงกันก็ได้ คำว่า "ฝูงชน" นี้ บางครั้งในที่บางแห่งถูกนำมาใช้หมายถึงกลุ่มของคนที่เป็ฯโรคจิตชนิดหนึ่ง หรือภาวะของจิตภาวะหนึ่ง ที่อยู่ในภาวะของความเป็นฝูงชน ที่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้
มีข้อน่าสนใจเกี่ยวกับฝูงชนอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ฝูงชนนั้นถึงแม้จะเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมก็ตามแต่จะมีข้อจำกัดด้านเวลาและมักจะปรากฎอยู่ในสถานที่เดียวกันโดยมักจะปรากฎในสภาพที่มีลัษณะของการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ และอาจรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นการเคลื่อไหวที่บางครั้งไม่เคยมีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าอีกด้วย
เมื่อว่ากันตามลักษณะของปรากฎการณ์แล้ว ฝูงชน เป็ฯการรวมกลุ่มกันอย่งหนึ่งของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ในลักษณะที่มีการกระทำทางสังคมระหว่างกันและกัน เพียงแต่ว่ากลุ่มนั้นไม่ใช่การรวมตัวกันของบรรดาบุคคลต่าง ๆ ที่อาจจะพอนับกันได้ แต่เป็นการติดต่อเกี่ยวขข้องกันของบรรดาบุคคลที่อยู่ในระดับเดียวกัน ด้านการให้และการรับ นั้นคือการกระตุ้นและการตอบสนองระหว่างบรรดาสมาชิกด้วยกัน
วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Stratification and Social Change (ช่วงชั้นและการเปลี่ยนแปลงทาสังคม)
แม้ว่าช่วงชั้นจะมีอยู่ในทุกสังคม แต่รูปแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสังคมและเป็นการยากที่จะใช้เกณฑ์อันใดเพียงอันเดียว เช่น ความมั่นคง การศึกษา ความกล้าหาญ อำนาจฯ เป็นตัวกำหนดในตำแหน่งทางสังคมให้กับบุคคล จะเป็นการช่วยได้มากหากคิดว่า ช่วงชั้นทางสังคมเป็ฯเสมือนบันไดไปสู่ชั้นสูงสุดในสถานภาพของบุคคลจากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง ช่วงชั้นจะเป็นรากฐานซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่ง บุคคลผู้ซึ่งอยู่ในชั้นต่ำสุดจะถูกมองว่าต่ำต้อยที่สุด เช่นเดียวกับผู้ซึ่งอยู่ในชั้นสูงสุด จะถูกมองอย่งยกย่องชื่นชมในสังคมหนึ่ง ๆ ระดับความแตกต่างที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับค่านิยมของคนในสังคมนั้น ตำแหน่งของบุคคลถูกกำหนดโดยค่านิยมซึ่งสมาชิกของสังคมได้ให้ไว้ในการแสดงบทบาทางสังคมและใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินโดยการใช้ค่านิยมแบบอัตตวิสัย อย่างไรก็ตาม การตัดสินนี้อาจพบว่าขึ้นอยู่กับการพิจารณาโดยฝช้วัตถุวิสัย เข้าเกี่ยวข้องด้วย ระบบช่วงชั้นทางสังคมเป็นสิ่งต่อเนื่องซึ่งเมื่อทุกคนมีตำแหน่งและตำแหน่งนั้นในทางกลับกันได้แบ่งแยกในพื้นฐานของสิทธิและอภิสิทธิ์
ในทุกสังคม ถ้ามองในแง่ปฏิบัติแล้วจะเห็นว่ามนุษย์มีบทบาทและความแตกต่างกันในศักดิ์ศรีหรือสถานภาพซึ่งขึ้นอยู่กับบทบาทเหล่านี้ ถ้าพูดง่าย ๆ มนุษย์ทุกคนไม่มีสิ่งที่เท่ากัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเที่ยมกัน อาจกล่าวได้ดังนี้
- ตัวการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเราไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น อายุ เพศ ความสามารถทางร่างกาย สมองสติปัญญา เป็นต้น
- ลักษณะที่ได้มาโดยการสร้างขึ้นหรือหามาภายหลัง เป็นสิ่งซึ่งได้รับเนื่องจากความสามารถ
- เป็นลักษณะที่เห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ แต่เกือบจะหลายเป็นเรื่องติดตัว เช่น ยศฐาบรรดาศักดิ์ วรรณะ
การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม เป็นระบบซึ่งใช้เพื่อแบงแยกระดับความแตกต่าง ของตำแหน่งของแต่ละบุคคล หรือช่วงชั้นของศักดิ์ศรี หรือสถานภาพของบุคคลและลักษณะความแตกต่างของชุมชนเมื่อเปรียบเทียบกัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระดับของคนในแต่ละสังคมแต่ละกลุ่ม
หน้าที่และประโยชน์ของช่วงชั้นทางสังคม การแบ่งช่วงชั้นทางงสังคมมีทั้ง หน้าที่ ประโยชน์ โดยตรง และโดยทางแอบแฝง ซึ่ง มีผลต่อสังคมทัี้งหมดและจะมีผลต่อกลุ่มต่างๆ ในสังคม ผลบางอย่งของช่วงชั้นเป็นไปในทางที่ยอมรับเป็นประโยชน์ บางอย่างก็เป็นไปในทางปฏิเสธหรือไม่เป็นประโยชน์
หน้าที่ ประโยชน์ของช่วงชั้นก็เพื่อคงไว้ซึ่งระบบสังคมโดยเป็นกลไก ซึ่งบุคคลที่อยู่ในช่วงชั้นที่ได้รับการยกย่องนับถือของสังคม เข้าใจในบทบาทและอภิสิทธิ์ สิทธิ์ ที่เขาคาดหวังหรือต้องรการ ซึ่งเป็นผลจากการมีบทบาทของเขา ระบบช่วงชั้นก่อให้เกิดแบบแผนพฤติกรรมของแต่ละบทบาทสถานภาพซึ่งจะแตกต่างกัน แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะมีวัฒนธรรมทั่งไปที่คล้ายคลึงกัน
การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม มี 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- วรรณะ ระบบวรรณะเป็นการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมโดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพซึ่งจำกัดบุคคลที่จะหใ้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่าเมือเขาเกิด ระบบวรรณะเป็นระบบช่วงชั้นซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว
- ฐานันดร เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นซึ่งตายตัวน้อยกว่าวรรณะ แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับประเพณีและความไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อที่ดิน การเขยิบฐานะเป้นไปได้และม่มีศาสนาค้ำจุนเหมือนอย่างระบบวรรณะ ฐานนัดรเกิดขึ้นตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง เดิมมีเพียงสองฐานันดร ได้แก่ ฐานัดร นักบวช และฐานันดรขุนนาง ต่อมาภายหลังมีเพิ่มขึ้นอีก ระบบฐานันดรเป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนชั้นต่างๆ แตกต่างกันไ โดยทั่วไป ชนชั้นและฐานันดรเป็นคำแทนกันได้ ฐานันดรจะเปลี่ยนเป็นชนชั้นเมื่อมีความเกี่ยวข้องผูกพ้นกับการกระทำที่ท้าทาย เช่น การขัดกันระหว่างชั้นจะหลายเป็นการต่อสู้ของชนชั้น แม้จะเรียกว่าการชัดกันระหว่างฐานันดรก็ตาม โดยปกติเราจะแยกความแตกต่างของคำทั้งสองในลักษณะที่ว่า ฐษนันดรจะถูกมองในส่วนของชุมชน และชนชั้นจะเกี่ยวข้องทั้งสังคม
- ชนชั้น ในระบบวรรณะ ตำแปน่งทางสังคมถูกกำหนดขึ้นเมื่อบุคคลเหล่านั้นได้ถือกำเนิโดยขึ้นอยู่กับวรรณะของบิดามารดา ชนชั้นของสังคมประกอบด้วยจำนวนของบุคคลผุ้ซึ่งมีความเท่าเที่ยมกันในตำแหน่งซึ่งจะได้รับโดยความสามารถมากกว่าจะเป็นไปโดยกำเนิด มีโอกาสที่จะขยิบฐานะขึ้นหรือลงจากชั้นหนึ่ง Max weberได้เขียนถึง "ชนชั้น" วาประกอบด้วย กลุ่มของคนซึ่งมีโอกาสในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สภาพชีวิตความเป็นอยู่ภายนอกและประสพการณ์ในชีวิตของบุคคล ซึ่งถูกกำหนดโดยเงื่อนไขแห่งอำนาจ เพื่อช่วยการจัดระเบียบรายได้แลเศรษฐกิจ Ely Chinoy จำกัดความตาย "ชนชั้น" โดยเน้นถึงด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่า ได้แก่ กลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีความสามารถในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ
ชนชั้นทางสังคมประกอบด้วยจำนวนคนผู้ซึ่งมีสถานภาพโดยเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเราถือว่าเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ตามความคิดนี้ใช้กับกลุ่มคนซึ่งถูกแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ซึ่งได้แก่ ชนชั้นสูง ซึ่งเป็ฯพวกที่มีสถานภาพสูงและมีเกียรติ ชนชั้นกลาง และชนชั้นต่ำ ซึ่งเป็นพวกที่มีสถานภาพต่ำที่สุดและมีเกียรติน้อย
ความไม่เท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีเกียรติยศ
หลักในการศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับ เกียรติของอาชีพ ศักดิ์ศรีเกี่ยติยศมีส่วนสัมพันธ์กับรายได้และการศึกษาของผู้ที่ทำงาน แต่มีข้อที่น่าสนใจ คื อรัฐมนตรี และ ครู มีศักดิ์สูงกว่ารายได้ แต่สัปปะเหร่อกับนักร้อง จะมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าเมื่อเทียบกับรายได้ที่เขาได้รับ และเกียรติซึ่งได้รับในชุมชน
ชนชั้นทางสังคมเป็นเสมือวิถีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น ตำแหน่งชั้นของบุคคลกลายเป็นวิถีชีวิตของเขา โดยมีอิทธิพลต่อรูปแบบของทัศนคติและค่านิยม ความคิดทางการเมือง พฤติกรรมทั่วไปของเขา สิ่งซึ่งจะแสดงให้เห็นได้ คือ
- ความแตกต่างของชนชั้นในจำนวนเด็กที่เกิดในครอบครัวต่างๆ ซึ่งเขาจะมีวิถีชีวิต ตามแบบของครอบครัวของเขา ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ของเขาเอง
- ชนชั้นจะแตกต่างกันเนื่องจากค่านิยมซึ่งขึ้นกับการศึกษาในระดับต่างๆ
- จะมีความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของชนชั้นและพฤติกรรมทางการเมือง
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาจะผูกพันกับชนชั้นหนึ่ง ๆ ของสังคม
- ชนชั้นทางสังคมใหญ่ ๆ ทั้งสาม อันได้แก่ ชนชั้นสูง ชั้นกลาง และต่ำ แต่ละชั้นมีแนวโน้มในการประพฤติตามบันทัดฐานและระบบค่านิยมที่เข้มงวดอย่างมีความสุขและความพอใจต่างกันไป
การเปลี่ยนแปลงในชาติที่กำลังพัฒนา
สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสังคมหรือการทำให้นำสมัยใหม่เสมอ ในอัฟริกา และเอเชีย ซึ่งได้รับประสบการณ์จากตะวันตก ในกรณีของช่วงชั้นก็เช่นเดี่ยวกัน
ชาติต่างๆ เหล่านนี้เดิมถูกปกครองโดยพวกขุนนาง ในอินเดียและประเทศส่วนมากในอัฟริกาปัญญาชนได้แก่พวกที่ส่งมาปกครอง ซึ่งพวกนี้จะอยู่ในชั้นที่เหนือกว่าคนที่เป็นเจ้าของประเทศ แม้จะมีเกี่ยรติก็ตาม ในลาตินอเมริกา ปัญญาชนประกอบไปด้วยพวกศักดินา ขุนนางเจ้าของที่ดิน ซึ่งโครงสร้างนี้่อนข้างจะเป็นช่วงชั้นที่ตายตัว และเป็นปิรามิดสูงชัน ปัญญาชนที่มีอำนาจมีเพียงจำนวนน้อย ซึ่งอยู่บนส่วนสูงสุดของปิรามิด และที่เหลือซึ่งเป็นคนส่วนมากของประเทศเป็นพวกชาวนา
จากการผสมผสานของพลังงานทางสังคมต่าง ๆ การจัดแจงสิ่งซึ่งคงอยู่เป็นการท้าทายในสังคม ซึ่งมีผล คือ มีการปรับปรุง ตัวแทนสังคมที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ พวกซึ่งเป็นชสชั้นกลางใหม่ของประเทศซึ่งจะต้องเข้าใจว่า ชนชั้นกลางเช่นนี้ ไม่ใช่แบบซึ่งพบในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เป็นชนชั้นกลางซึ่งมีอยู่ในสมัยเริ่มแรกของประเทศ เป็นกลุ่มซึ่งเรียกว่า Bourgeoisec ในประวัติศาสตร์ของตะวันตก กลุ่มนี้ประกอบด้วยพวกที่เป็นเจ้าของกิจการทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอำนาจทางเศรษฐกิจและเป็นผลถึงการเมืองเพื่อว่าจะได้รักษาตำแหน่งของตนไว้อย่างมั่นคง
พวกชนชั้นกลางในประเทศที่กำลังพัฒนา ปัจจุบันไม่ใช่พวกเจ้าของกิจการ แต่จะเป็นพวกที่ทำงานทนายความ ครู นักการเมือง ทหาร ซึ่งส่วนประกอบของชนชั้นนี้จะต่างจากตะวันตก เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และมีอาชัพอื่นๆ ที่สำคัญกว่า และเนื่องจากการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และเครื่องมือต่างๆ เป็นไปได้อย่างมากสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา รัฐบาลมีส่วนช่วยให้กิจการต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจสำเร็จลุล่วงไปได้มากกว่าบุคคลแต่ละคนได้ทำ
ชนชั้นกลางเปลี่ยนจากซึ่งเคยเป็น ในตะวันตกกลุ่มชนชั้นกลางที่ทำกิจการซึ่งช่วยให้กิจการปฏิวัติทางสังคมในประวัติศาสตร์ ปัจจุบันชาติที่กำลังพัฒนา หน้าที่เช่นนี้เป็นของชนชั้นกลางเช่นกัน การแสดงบทบาทของชนชั้นกลางก็ได้รับความสำเร็จในการพัฒนาจากสังคมแบบประเพณีมเป็นความนำสมัย และเืพ่การมีอำนาจและการบังคับ กลุ่มนี้ซึ่งส่วนมากได้รับการศึกษาจากตะวันตก ซึ่งต้องท้าทายต่อชนชั้นที่สนับสนุนพวกขุนนางเก่า เขาจะได้ชัยชนะก็โดยที่ำทความเชื่อมั้นแก่มวลชน ซึ่งคนพวกนี้ในอนาคตจะมีส่วนผูกพันต่อความสำเร็จของชนชั้นกลาง อุดมกาณ์ รายได ความสำเร็จเหล่านี้ได้กลุ่มเป็นชาตินิยม
วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Perjudice
Discrimination การแบ่งแยก หรือการแบ่งพรรคแบ่งพวกมีผู้ให้คำจำกัดความดังนี้
David Dressler กล่าวว่า คือการกีดกันคนอื่นโดยแบ่งคนอื่นแยกพวกออกไปอย่างไม่ยุติธรรมและเป็นวิธีการที่ไม่มีความเสมอภาค
Williams ให้คำจำกัดความว่าเป็นการแยกพวกแยกกลุ่มโดยปฏิบัติต่อกลุ่มคนแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไปอยา่งเลือกที่รักมักที่ชัง แล้วแต่ว่าบุคคลเหล่านั้นมาจากกลุ่มสังคมใด
Simpson and Yinger กล่าวว่า โดยปกติหมายถึงการแสดงออกที่ปรากฎอย่างเปิดเผย หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมเมื่อมีอคติอยู่ในใจ เป็นการปฏิบัติตอบต่อบุคคลโดยแบ่งประเภทของเขาแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นเป็นสมาชิกจากกลุ่มใดแน่ และโดยทั่วไปบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติดังกล่าวจะถูกกีดกันสิทธิ หรือสิทธิพิเศษบางอย่างที่คนอื่นๆ ในสังคมซึ่งไม่ได้มาจากลุ่มชนกลุ่มน้อยจะมี หรือได้รับ
นอกจากนี้ยังอาจเกิดจาdโดยไม่มีความรู้สึกอคติด้วย เช่นคนๆ หนึ่งปฏิเสธที่จะรับเป็นสมาชิกผู้อุปถัมภ์ของกลุ่มชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง เพราะรู้สึกว่าการทำเช่นนั้นอาจจะกระทบกระเทือนกับธุรกิจของตนที่ดำเนินอยู่ โดยอาจไม่มีอคติอยู่ด้วยเลยเป็นส่วนตัว เพียงรู้สึกว่าตัวอขาต้องคำนึงถึงธุรกิจก่อนอื่นเท่านั้น ดังนี้เป็นต้น
อคติและ discrimination เกิดขึ้นจากต้นเหตุหลายเรื่อง หรือหลายคน หลายพวก และอาจจะเป็นหลายสิ่งก็ได้ แต่ในที่นี้กล่าวถึงในแง่ที่เกี่ยวข้องในเรื่อง เชื้อชาติ ชาติพันธ์ และคนกลุ่มน้อย
ลัทธิชาติพันธ์อาธิ ลัทธิชาติพันธ์ในหมู่นาซีที่ถือว่าประชากรของแต่ละเผ่าพันธ์นั้นมีลักษณะทางกายเด่นเฉพาะอย่าและมีคุณลักษณะกรรมพันธ์ทางปัญญาและอารณ์ ไปตามเผ่าพันธ์ทีมีลักษณะทางกายนั้นๆ ซึ่งจะไม่มีการเปล่ียนแปลงไม่วาจะไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร และกลุ่มเผ่าพันธ์นั้นๆ จะประพฤติในวิถีทางของตนอยู่เสมอตลอดไป ด้วยเหตุนี้นาซีจึงเชื่อว่ากลุ่มคนบางกลุ่มเกิดมาเพื่อเป็นนายพวกอื่นๆ และเชื่อว่าชาติพันธ์บางเหล่าเกิดมาเพื่อเป็นทาสหรือเพื่อรับใช้คนอื่น ลักษณะความเชื่อของพวกนาซีโดยพื้นฐานแล้วจะคล้ายคลึงกับทฤษฎี "Negro Inferiority"
ลักษณะบ่งชี้ทางชาติพันธ์เป็นความแตกต่างทางสังมที่สำคัญอยางหนึ่งที่จะมีผลต่อการแสดงออกและพฤติกรรมของคนเราภายในสังคม
ทัศนคติทางชาติพันธ์ุกับพฤติกรรมที่แสดงออก
- ในสังคมมนุษย์ส่วนมากแล้ว คนมักมีความโน้มเอียงที่จะชื่นชมกับคุณสมบัติของตัวเองแล้วและจะแสดงออกกับคนนอกกลุ่มที่ต่างชาติพันธ์ุออกไปในทางลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพวกที่มีสถานภาพต่ำต้อยกว่าทั้งหลาย
ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ที่เป็นแบบตายตัว นั้นเป็นพฤติกรรมที่มีต่อสมาชิกของกลุ่มชาติพันธ์ุที่มาเกี่ยวข้องด้วย และบ่อยครั้งที่ลักษณะนี้ก็มักจะได้รับการยอมรับจากสมาชิกภายในชนกลุ่มนั้นๆ เองด้วย
ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์แบบตายตัว มักจะเป็นตัวกำหนดวางเงื่อนไขให้คนเรามีปฏิกิริยาโต้ตอบไปในลักษณะใดลัษณะหนึ่ง แนวใดแนวหนึ่ง ในระหวา่งคนกลุ่มใหญ่ กับคนกลุ่มน้อย และมักไม่ค่อยเปลี่ยนง่ายๆ
- องค์ประกอบของโครงสร้างบางอย่างในสังคมก็อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกอคติ หรือ พรีจูดิช Prejudice และการแบ่งพวกแบ่งหล่าต่อชนกลุ่มน้อยได้เช่นเดียวกัน
ผู้ที่มีอคตินั้นปกติจะประเมินความรู้สึกอคติที่ตัวเองมี น้อยไปกว่าความรู้สึกจริงๆ ที่ตนมีอคติอยู่ คนที่มีอคติมักจะไม่ทันนึกถึงอิทธิพลของความรู้สึกอคติที่จะมีผลต่อการแสดงออกของตน และมักไม่อายที่ตนมีควมรู้สึกเช่นนั้ ตรงข้ามมักจะมองเห็นว่าความรู้สึกรุนแรงหรือความรู้สึกชิงชังของตนที่มีต่อชนกลุ่มน้อยที่ตนไม่ชอบนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมชาติและสาสมกันแล้วกับความประพฤติไม่ดีไม่งามของชนกลุ่มน้อยนั้นๆ ซึ่งตนไม่ชอบ
ในสหรัฐอเมริกา "แรกเริ่มที่เดียว อคติทางเชื้อชาตินั้นมีจุดเร่ิมจากความจำเป็นทางด้านอุตสาหกรรม ระยะนั้นคนจีนเป็นพวกครต่างด้าวหรือพวกอพยพเข้าเมืองที่ถือกันว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นพลเมืองที่ขยันขันแข็ง อยู่ในระเบียบวินัยดีถือกันว่าเป็นพวกอพยพที่ดีที่สุดสำหรับรัฐแคลิฟอร์เนีย เพราะเป็นพวกขีเหนียวไม่ขี้เหล้าเมายา ว่าง่ายไม่เกะกะระรานใคร เพราะเคารพกฎหมายดี ทั้งยังมีความสามารถรอบด้าน ปรับตัวได้เก่ง...หลายปีต่อมา พวกยุโรปอพบพเข้ามา ปัญหาเกิดขึ้นจากากรที่นจีนไม่เลืองานและขยันทำได้หลายอย่าง ทำให้ก่อสถานการณ์ไปในรูปของการแข่งขันเชื่อดเฉือนกับการทำมาหากินรับจ้างของพวกยิวขาวหรือพวกฝรั่ง ในระยะนี้ใครๆ ก็แยกคนจนที่นั้นออกเป็นพวกต่างหาก ว่าเป็นพวกที่ไม่ยอมทำตัวเข้ากับเจ้าของประเทศ ยึดมั่นในขนบประเพณีกับกฎเกณฑ์กฎหมายเฉพาะของพวกตัวเอง เกิดความรู้สึกว่าพวกคนจีนที่เข้ามานั้นไม่ได้มาตั้งรกรากหลักฐานในอเมริกา แต่เข้ามาเพื่อขนทรัพย์สมบัติ กลับประเทศตน เกิดทัศนคติว่าชาวจีนมีเลห์เหลี่ยม โกหกมดเท็ด..ต่ำกว่าพวกอินเดียแดงที่เคยดูถูก
ความรู้สึกฯ อย่างนี้มีอยู่ภายในสังคมหนึ่ง ๆมักมีแนวโน้มที่บุคคลในสังคมนั้นๆ จะร่วมรับไปเลียนแบบตามกันไปด้วยอย่างไม่รู้ตัว
สงครามผิวในสหรัฐอเมริกา คนชาตินิโกร หรือถ้าเรียกให้ถูกต้อง เชื้อชาตินิโกรสัญชาติอเมริกันได้เข้าสมัครสอบและเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี ขณะที่เรียนก็เกิดการจลาจลขึ้น เพราะมีพวกผิดขาวบางคนต่อต้านไม่ให้เข้าเรียน การจลาจลครั้งนี้ร้ายแรงมากมีผู้เสียชีวิตสองน เป็นเหตุให้รัฐบาลกลางต้องส่งทหารและตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์และความปลอดภัย
ลัทธิเหยียดผิดในสังคมประเทศคอมมิวนิสต์
การเหยียดผิวมิได้เกิดขึ้นเฉพาะโลกเสรี แม้แต่คอมมิวนิสต์ยังมีลัทธิเหยียดผิว ดังจะเห็นได้จากการแตกกันระหว่างจีนแดงกับรัสเซีย ซึ่่งเป็นชาติผิวเหลือและผิวขาวที่เป็นคอมมิวนิสต์ด้วยกันบาดหมางกัน จีนแดงโจมตรรัสเซียเป็นฝรั่งเหมือนกับอังกฤษและอเมริกา ซึ่งคนผิวดำผิวเหลืองควรจะต่อต้าน...
การสังหารหมู่ชาวยิว ซึ่งเป็นต้วอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นอคติในเรื่องเกี่ยวกับชาติพันธ์ุ...
เงื่อนไขของอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ความเกี่ยวพันระหว่างการที่คนเราจะมีอคติ มีความรุนแรง หรือมีมิตรภาพไม่ตรีจิตกับคนนอกกลุ่ม หรือกลุ่มชาติพันธ์ที่ไม่ใช่พวกตนนั้นพบว่า สืบเหนื่องมาจากต้นตอหลายอย่างด้วยกันอาจท้าวความจากจุดเร่ิมจากความโน้มเอียงตั้งแต่อดีตในประวัติศาสตร์ ไปจนถึงต้นตอจากแผงผลักดันทางจิตใจในส่วนลึกต่างๆ นานาส่วนบุคคลก็ได้
- "อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่ใช่เรื่องที่มีมาแต่กำเนิ ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เป็นิส่งที่มีขึ้นที่หลังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัว จะเป็นหน่วยสำคัญที่จะปลูกฝังหรือสร้างอคติ การแบ่งพรรคแบ่งพวกให้กับเด็กในครอบครัวและมักเป็นไปโดยที่ไม่ทันได้ตั้งใจที่จะสร้างภาวะเช่นนั้น"
"อคติต่างๆ นั้น โดยทั่วไปแล้วจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ กินเวลานานกินเวลาสักระยะหนึ่ง เด็กจะได้รับ จะได้เรียนรู้คุณค่า หรือค่านิยมเกี่ยวกับชาติพันธุ์และรับรู้รับเอาทัศนคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ในแนวต่างๆ ตลอดเวลาที่ไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนอื่นในสังมคสิ่งแวดล้อมครอบตัว อาจเป้นจากผู้ใหญ่จากเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน และจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตของตนเองตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยมาก็ได้ คนจะเรียนรู้ที่จะทึกทัก หรือสรุปเอาว่า กลุ่มใดที่แยกออกไปต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่โรงเรียนหรือภายในชุมนุมชนนั้นๆ ถือว่ามีความด้อยกว่าเดกทึกทักเช่นนั้นด้วยเหตุว่า สังคมคคประพฤติกับพวกนั้นอย่างที่เหยีดพวกนั้นว่าต่ำกว่า ด้อยกว่านั้นเอง..."
โดยทั่วไปอคติจะก่อตัวเพ่ิมมากขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้นตอนวัยรุ่น ซึ่งอคติที่มีขึ้นจะเกิดควบคู่กันไปกับทัศนคติคต่างๆ ที่ซับซ้อน ก่อตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงวัยนี้ ตลอดจนการแสดงออกที่เป็นอคติ จะมีชัดขึ้น และเป็นไปสม่ำเสมอมากกว่าวัยเด็ก
อคติกับการแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นไปในทำนองเดียวกับพฤติกรรมแบบอื่นๆ ส่วนมาก ซึ่งจะเป็นไปหรือตามรอยแบบอย่างของขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคมที่ประพฤติปฏิบัติกันมาในชุมชนนั้น ๆ
ผลจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ประการหนึ่ง คือคนทั้งในกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย ต่างก็รู้ตัวขึ้นใจว่าลักษณะเด่นชัดของชนกลุ่มน้อยคืออะไร เป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปไปให้ความหมาย ขอบเขตข้อจำกัด ความสัมพันธ์ระหว่างกันควรจะมีแค่ไหน อย่างไร ตลอดจนนำไปสร้างความรู้สึกและความคิดต่อชาติพันธ์อย่างตายตัว ซึ่งกันและกัน
ผลอีกประการหนึ่งซึ่งสืบเนื่องจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกแยกกลุ่มแยกเหล่าก็คือ สมาชิกในหมู่ชนกลุ่มน้อยมักจะสงสัยตนเอง,เกลียดตัวเอง,มีพฤติกรรมแบบเชื่อถือโชคลาภและหุนหันพลันแล่น,ประพฤติปฏิบัติเกเร ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ข้อบังคับ,มีปมด้อย,ความไม่เป็นสุขภายในครอบครัว,สุขภาพจิตเสื่อมโทรม..
ในบางกรณีสภาวะที่ก่อร่างสร้างอคติและความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์เป็นแบบตายตัว ขึ้นมาอาจจะค่อนข้างเห็นได้ชัดและองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้อคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกคงอยู่เป็นช่วงเวลาระยะหนึ่งๆ นั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก โดยอาจมององค์ประกอบที่ยังให้อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกคงอยู่เป็น 3 ระดับคือ องค์ประกอบจากโครงสร้างของสังคม ความเป็นมาหรือพ้นฐานของบุคลิกภาพส่วนตัว และวัฒนธรรม
องค์ประกอบจากโครงสร้างทางสังคม
การทำตามบรรทัดฐานทางอคติซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมมีอยู่แล้ว
"เมื่อใดที่อคติและความรู้สึกความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ุแบบตายตัว ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นบรรทัดฐาน อย่างหนึ่งสำหรับสังคมนั้นแล้ว การแสดงออกซึ่งอคติและการแสดงออกซึ่งการแบ่งพวกแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดแจ้งกน่าจะเปนไปเนื่องจากตค้องการ การคยอมรคับจากสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมนั้นๆ
และการแสดงทัศนคติฉันท์มิตรกับสมาชิกที่เป็นชนกลุ่มน้อย หรือไม่ยอมแบ่งพวกแบ่งกลุ่มแยกตัวต่างหากออกจากพวกคนนอกกลุ่มหรือพวกชนกลุ่มน้อยก็จะมีผลเท่ากับว่าท้าทายบรรทัดฐานแห่งอคติของสังคมนั้ และมักจะจุดชนวนนำมาซึ่งการโต้แย้งไม่ยอมรับ และการตัดสินด้วยวิธีการต่างๆ จาบรรดาสมาชิกในกลุ่ม"
รูปแบบการมีปฏิกิริยาตอบโต้กัน
อคติคและการแบ่งพรรคแบ่งพวกจะนำให้เกิดรูปแบบของปฏิกริยาบางอย่างขึ้นมา เพื่อที่จะทำหน้าที่ช่วยรักษาสถานภาพให้คงที่เอาไว้ มีรูปแบบของปฏิกริยาอยู่หลายอย่างที่ช่วยเพิ่มพูนความสามัคคีเหนียวแน่นและเพิ่มพลังอำนาจให้กับกลุ่มในอันที่จะผลักดันการกระทำตามบรรทัดฐานแห่งอคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกนั้นให้เข้มข้นคงตัว องค์ประกอบใดก็ตามที่ทำให้บรรดาสมาชิกในกลุ่มต้องพึงพาอาศัยคนในกลุ่มด้วยกันแล้ว ก็มักช่วยเพิ่มความสามัััคคีของกลุ่มขึ้นไปด้วย
การสนับสนุนจากผู้นำ
ความคงอยู่ของอคติและการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยังมาจากการสนับสนุนของหัวหน้าหรือตัวผู้นำกลุ่ม ดังที่เคยกล่าวนั้น พวกผู้นำทางการเมือง เป็นต้น หากเอาใจผู้มีสิทธิออกเสียงเลื่อกตัวด้วยประเด็นของลักษณะเกี่ยวกับบรรทัดฐานบางอย่างทางสังคม บุคคลที่ยึดถือทัศนคติแตกต่างไปจากบรรทัดฐานมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการสมัครรับเลื่อกตั้ง ดังน้นบรรดาผู้นำเล่รนี้เมื่อได้อำนาจแล้วก็จะใช้อิทธิพลแห่งตำแหน่งที่ได้ไปในทางที่จะสนับสนุนส่งเสริมสถานภาพของตนให้ลอยตัว คงตัวอยู่ได้เรื่อยๆ โดยคงรักษาคสภาพความอคติและการแบงพรรคแบ่งพวกที่กลุ่มมีอยู่เอาไว้ เป็นต้น
ความสัมพันธ์สนับสนุนทารงสิ่งแวดล้อมให้คงความอคตินั้นๆ
Krech และ Cruchfield ได้สังเกตเห็นว่า ที่ใดซึ่งมีอคติอยู่อย่างแพร่หลายบุคคลจะสามารถสังเกตได้ว่า ที่นั้นมีสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวในรูปแบบต่าง ๆ นานา ที่ต่างก็จะช่วยสนับสนุนเสริมทัศนคติในทางอคติที่มีอยู่เดิมของเขาอย่างมาก
การแบ่งพวกเกิดขึ้นมาได้จากความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างคนในกลุ่มกับคนนอกกลุ่ม แล้วทัศนคติต่อคนนอกกลุ่มที่มีขึ้นจะมีลักษณะตามบรรทัดฐานที่เป็นอยู่และเท่าที่เห็นพ้องปฏิบัติตามกันมา
พื้นฐานส่วนตัวทางบุคคลิกภาพ
อคติเกิดขึ้นและคงอยู่ได้ในแต่ละบุคคลคด้วยเหตุผลเฉพาะตัวทางบุคลิกภาพของแต่ละคนในหลายๆ แง่ ซึ่งจะมองข้ามไม่ได้คือ
ความขับข้องใจกับการก้าวร้าวโดยใช้วิธีแพาะรับบาป ปกติเมื่อคนเราถูกกีกกั้น ขัดขวางไม่ให้เราสมความต้องการในบางสิ่งบางอย่างเราก็มักจะมีพฤติกรรมแบบก้าวร้าว แต่เมื่อใดสิ่งที่นำมาคับข้องใจมาให้ ไม่สามารถเป็นที่รองรับระบายอารณ์ก้าวร้าว อารมณ์ผิดหวังที่ถูกขัดขวางกีดกันได้ ความรุนแรงทางอารมณ์หรือความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะพุ่งไปสู่คนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวที่เรียกกันว่า "แพะรับบาป"
ภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่และสถานภาพที่ได้รับ วิธีการป้ายโทษไปยังแพระรับบาปดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด ในที่ที่ซึ่งมีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันอย่างรุนแรง และในที่ซึ่งสถานภาพถูกคุกคาม สภาพการณ์เหล่านนี้ดูเหมือนจะกระตุ้นความรู้สึกอคติได้มากที่สุด
ความต้องการส่วนบุคคล อาทิ ความไม่ทนต่อความคลุมเคลือกำกวม คนเราจะวุ่นวายใจแตกต่างกันไม่เท่ากันเมื่อพบกับสภาพการณ์ที่สับสนหรือคลุมเคลือคกำกวม พวกที่จัดว่าอยู่ในแบบสุดกู่อาจเป็นในลักษณะที่ว่าต้องการให้ทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ๋วไปเลยทุกอย่าง ทุกเมื่อ ว่าขาว หรือดำ หรืออย่างไรให้แน่นอน กับอีกพวกหนึ่งซึ่งไม่สนใจแยแส ไม่ทุกข์ร้อยวุ่นวายใจเลยแม้แต่สักนิดเมื่อพบสภาพการณ์คลุมเคลือกำกวม โดยคนที่ไม่อดทนต่อสภาวการณ์คลุมเคลือมักจะมีอคติมากกว่าด้วย
ความต้องการที่จะมีสถานภาพดีกว่าคนอื่น ที่ทำให้จุดชนวนอคติได้ง่ายมาก เพราะความรู้สึกอคติจะทำให้บุคคลที่มีความต้องการนั้น ๆ จัดแยกคนคบางกลุ่มออกไปเสร็จสรรพว่าตำ่ต้อยในทางสถานภาพกว่าตนแน่ๆ แล้วก็อาจจะเกิดความรู้สึกที่จะเลี่ยนแบบอย่างคนพวกเดียวกันโดยอาศัยความอคติเป็นสื่อชักนำ
Allport กล่าวไว้ว่า "คนเราอาจจะย้อเน้นการยกย่องตัวเอง ชื่นชมกับตัวเองโดยการยกตัวเองไว้เหนือคนอื่น ยกตัวเองดีกว่าคนอื่น เบนความสนใจไปที่คนนอกกลุ่มเพื่อช่วยคงเกียรติภูมิของตัวเองเอาไว้"
ความต้องการที่จะมีความมั่นคง ความต้องการแบบนี้จะสมใจได้เหมือนกันจากการใช้วิธีการกีดกันคนนอกกลุ่ม มีหลายคนตั้งข้อสังเกตไว้ว่าความขัดแย้งระหว่างคนในกลุ่ม กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกับพวกนอกกลุ่ามจะช่วยนำปสู่การรวมพลังเหนียวแน่นในหมู่สมาชิกของพวกคคนในกลุ่มนั้นๆ ดังนั้น จึงอาจคาดได้ว่าการคกีคดกัคนแบ่งพรรคแบ่งพวก กับความขัดแย้งกับคนนอกกลุ่มมีทางที่จะชวยทำให้บุคคลรู้สึกมั่นคงในการเป็นสมาชิกในกลุ่มที่ตนสังกัดอยู่มากขึ้นและทั้งกินความหมายถึงว่าทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกเป็นพวกเป็นพ้องกับกลุ่มของตนมากขึ้น
บุคลิกภาพแบบวางอำนาจเผด็จการ เป็นแบบแผนของอุปนิสัยซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยข้องกับอคติเป็นอย่างมาก นักจิตวิทยาที่สำคัญหลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบวางอำนาจมักจะมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ชอบใช้ระเบียบวิธีอย่างเคร่งครัด อบรมสั่งสอนมาอย่างเข้มงวดกวดขันมีการวางเงื่อนไขว่า จะให้ความรักใคร่หรือไม่โดยขึ้นกับว่าได้ทำตัวหรือประพฤติปฏิบัติสอดคล้องกับที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองวางเกณฑ์กำนหดไว้หรือไม่ เพียงใด พ่อแม่หรือผู้ปกครองยอมรับเห็นด้วยกับการแสดงออกต่าง แค่ไหน จึงเกิดความเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกเพื่อให้มีนิสัยยอมตามและรองรับการวางอำนาจข่มขู่บังคม ตลอดจนการถูกกำหนดสถานภาพส่วนตัวไว้แตกต่างออกไป ผลจึงนำไปสู่การขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับอารมณ์แท้จริงของตนได้ ทั้งยังทำให้ก่อเกิดทัศนคติท่าทีที่กระด้าง ไม่มีความยือหยุ่นในการติดต่อหรือคบหาสมาคมกับคนอื่น ได้ง่ายมาก
บุคลิกภาพและท่าที่ในแนวนี้เป็นพ้ืนฐานการก่อตัวของอคติต่อคนนอกกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มหรือชนกลุ่มน้อย อย่างสำคัญเมื่อเติบโตขึ้น
ด้วยภาวะที่ต้องเก็บกดความรู้สึกก้าวร้าวเกลียดชังรุนแรงเป็นเวลานาน แต่มาเรียนรู้ว่าการมีอคติกับพวกนอกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มกลับเป็นสิ่งที่สังคมของตนยอมรับและสนับสนุนดังนั้น อติก็จะทำหน้าที่กลายเป็นเสมือนทางออกทางหนึ่งให้แก่ความกดดันที่รู้สึกเกลียดชังอย่างจะก้าวร้าวแต่ไม่เคยแสดงออกได้โดยที่คนในครอบครัวยอมรับมาก่อน
ความคงที่ทางทัศนคติ บุคคลมักดิ้นรนให้คงตัวอยู่ในภาวะพอดีพอ กันระหว่างอารฒ์การรับรู้ และการแสดงออก ดังนั้น พลังใด ที่จะมาผลักดันให้เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบส่วนใดส่วนใหนึ่งใน 3 อย่างดังกล่าวจะได้รับการต่อต้าน ตราบเท่าที่ส่วนประกอบอีก 2 ส่วนที่เหลือยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ด้วยหลักการนี้ทำให้คนเราตีความหมยหรือรับรู้การแสดงออกหรือพฤติกรรมของคนนอกกลุ่มหรือคนที่ไม่ใช้พวกตน ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนไปจากที่เป็นจริงที่ควรจะมองหรือรับรู้ ถ้าหากรับรู้เกี่ยวกับคนนอกลุ่มหรือต่างกลุ่มเป็นไปในแบบไหน และมีความพร้อมจะรู้สึกต่อคนเหลานนันไปในแนวใดแล้ว การณ์กลับเป็นว่าคนต่างกลุ่มอกกลุ่มที่ว่านั้นกระทำผิดแผกไปจากแบบที่ตั้งไว้ ก็จะถูกตีความหมายให้ผิดเพี้ยนไปในแนวทางที่ให้สอดคล้องกับความรู้สึกและการรับรู้ที่มีอยู่เดิมแล้ว
องค์ประกอบทางวัฒนธรรม
ค่านิยมกับอคติ ทัศนคติที่บุคคลมีต่อชนกลุ่มน้อยอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในลัทธิทางวัฒนธรรมหรือความเชื่อทางวัฒนธรรม ลัทธิทางวัฒนธรรม าหรือความเชื่อทางวัฒนธรรมคือระบบอันซับซ้อนเกี่ยวกับความเชื่อต่าง และเกี่ยวกับไอเดียนานาประการที่ทั้งหมดต่างสัมพันธ์ื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับค่านิยมทางวัฒนธรรม
ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็ก จากผลการวิจัยของ Horowizt พบว่าอคติเป็ฯผลสืบเนื่องจากขบวนการเรียรรู้ทางสังคม โดยตรง เขาศึกษาโดยเปรียบเทียบพัฒนาการอคติต่อพวกนิโกร ในหมู่เด็กนักเรียนที่เมืองเทนเนสซี่ หลายต่อหลายกลุ่ม และกลุ่มเด็กที่เมืองนิวอร์ค ทัศนคติในหมู่เด็กจากเทนเนสซี่ กับนิวยอร์คคล้ายคลึงกัน โดยมีแนวโน้มแสดงชัดถึงอคติที่มีต่อนิโกร แต่ความแตกต่างที่น่าสนใจพบว่ามีอยู่ในระหว่างกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ย่านโครงการณ์สหกรณ์เคนะ ที่องคการคอมมิวนิสต์แห่งหนึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ซึ่งแตกต่างจากเด็กกลุ่มอื่น ทั้งหมดระยะที่ทำการวิจัยอยูในช่วงปี 1930 ซึ่งช่วงนั้นคอมมิวนิสต์เน้นอยู่ที่ความเสมอภาคของทุกเชื้อชาติ ดังน้ันเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่เป็นคอมมิวนิสต์ก็จะเรียนรู้ความเชื่อเช่นนี้จากพ่อแม่ของตน
ทัศนคติต่อชนกลุ่มน้อยจะผสมผสานรวมตัวอย่างซับซ้อนเป็นแบบแผนของความคิดเห็น ท่าทีความรู้สึกและความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งจะสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับค่ีานิยมทางวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด ลัทธิความเชื่อที่มีอยู่แพร่หลายเช่นนั้น ยิ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดมีอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกกีดกันเด่นชัดขึ้น และเมื่อ Prejudice และ ความรู้สึกนึกคิด..ที่มีต่อชนกลุ่มน้อยแบบตายตัวขยายวงกว้างออกไปทั่วถึงภายในสังคมหนึ่ง ๆ ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กที่จะเป็นไปในลักษณะของการยอมรับเอาลัทธิความเชื่อที่มีอยู่ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมต่อคนกลุ่มน้อย นั้นจะเป็นไปได้อย่งแน่นอน
David Dressler กล่าวว่า คือการกีดกันคนอื่นโดยแบ่งคนอื่นแยกพวกออกไปอย่างไม่ยุติธรรมและเป็นวิธีการที่ไม่มีความเสมอภาค
Williams ให้คำจำกัดความว่าเป็นการแยกพวกแยกกลุ่มโดยปฏิบัติต่อกลุ่มคนแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไปอยา่งเลือกที่รักมักที่ชัง แล้วแต่ว่าบุคคลเหล่านั้นมาจากกลุ่มสังคมใด
Simpson and Yinger กล่าวว่า โดยปกติหมายถึงการแสดงออกที่ปรากฎอย่างเปิดเผย หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมเมื่อมีอคติอยู่ในใจ เป็นการปฏิบัติตอบต่อบุคคลโดยแบ่งประเภทของเขาแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นเป็นสมาชิกจากกลุ่มใดแน่ และโดยทั่วไปบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติดังกล่าวจะถูกกีดกันสิทธิ หรือสิทธิพิเศษบางอย่างที่คนอื่นๆ ในสังคมซึ่งไม่ได้มาจากลุ่มชนกลุ่มน้อยจะมี หรือได้รับ
นอกจากนี้ยังอาจเกิดจาdโดยไม่มีความรู้สึกอคติด้วย เช่นคนๆ หนึ่งปฏิเสธที่จะรับเป็นสมาชิกผู้อุปถัมภ์ของกลุ่มชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง เพราะรู้สึกว่าการทำเช่นนั้นอาจจะกระทบกระเทือนกับธุรกิจของตนที่ดำเนินอยู่ โดยอาจไม่มีอคติอยู่ด้วยเลยเป็นส่วนตัว เพียงรู้สึกว่าตัวอขาต้องคำนึงถึงธุรกิจก่อนอื่นเท่านั้น ดังนี้เป็นต้น
อคติและ discrimination เกิดขึ้นจากต้นเหตุหลายเรื่อง หรือหลายคน หลายพวก และอาจจะเป็นหลายสิ่งก็ได้ แต่ในที่นี้กล่าวถึงในแง่ที่เกี่ยวข้องในเรื่อง เชื้อชาติ ชาติพันธ์ และคนกลุ่มน้อย
ลัทธิชาติพันธ์อาธิ ลัทธิชาติพันธ์ในหมู่นาซีที่ถือว่าประชากรของแต่ละเผ่าพันธ์นั้นมีลักษณะทางกายเด่นเฉพาะอย่าและมีคุณลักษณะกรรมพันธ์ทางปัญญาและอารณ์ ไปตามเผ่าพันธ์ทีมีลักษณะทางกายนั้นๆ ซึ่งจะไม่มีการเปล่ียนแปลงไม่วาจะไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร และกลุ่มเผ่าพันธ์นั้นๆ จะประพฤติในวิถีทางของตนอยู่เสมอตลอดไป ด้วยเหตุนี้นาซีจึงเชื่อว่ากลุ่มคนบางกลุ่มเกิดมาเพื่อเป็นนายพวกอื่นๆ และเชื่อว่าชาติพันธ์บางเหล่าเกิดมาเพื่อเป็นทาสหรือเพื่อรับใช้คนอื่น ลักษณะความเชื่อของพวกนาซีโดยพื้นฐานแล้วจะคล้ายคลึงกับทฤษฎี "Negro Inferiority"
ลักษณะบ่งชี้ทางชาติพันธ์เป็นความแตกต่างทางสังมที่สำคัญอยางหนึ่งที่จะมีผลต่อการแสดงออกและพฤติกรรมของคนเราภายในสังคม
ทัศนคติทางชาติพันธ์ุกับพฤติกรรมที่แสดงออก
- ในสังคมมนุษย์ส่วนมากแล้ว คนมักมีความโน้มเอียงที่จะชื่นชมกับคุณสมบัติของตัวเองแล้วและจะแสดงออกกับคนนอกกลุ่มที่ต่างชาติพันธ์ุออกไปในทางลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพวกที่มีสถานภาพต่ำต้อยกว่าทั้งหลาย
ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ที่เป็นแบบตายตัว นั้นเป็นพฤติกรรมที่มีต่อสมาชิกของกลุ่มชาติพันธ์ุที่มาเกี่ยวข้องด้วย และบ่อยครั้งที่ลักษณะนี้ก็มักจะได้รับการยอมรับจากสมาชิกภายในชนกลุ่มนั้นๆ เองด้วย
ความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์แบบตายตัว มักจะเป็นตัวกำหนดวางเงื่อนไขให้คนเรามีปฏิกิริยาโต้ตอบไปในลักษณะใดลัษณะหนึ่ง แนวใดแนวหนึ่ง ในระหวา่งคนกลุ่มใหญ่ กับคนกลุ่มน้อย และมักไม่ค่อยเปลี่ยนง่ายๆ
- องค์ประกอบของโครงสร้างบางอย่างในสังคมก็อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกอคติ หรือ พรีจูดิช Prejudice และการแบ่งพวกแบ่งหล่าต่อชนกลุ่มน้อยได้เช่นเดียวกัน
ผู้ที่มีอคตินั้นปกติจะประเมินความรู้สึกอคติที่ตัวเองมี น้อยไปกว่าความรู้สึกจริงๆ ที่ตนมีอคติอยู่ คนที่มีอคติมักจะไม่ทันนึกถึงอิทธิพลของความรู้สึกอคติที่จะมีผลต่อการแสดงออกของตน และมักไม่อายที่ตนมีควมรู้สึกเช่นนั้ ตรงข้ามมักจะมองเห็นว่าความรู้สึกรุนแรงหรือความรู้สึกชิงชังของตนที่มีต่อชนกลุ่มน้อยที่ตนไม่ชอบนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมชาติและสาสมกันแล้วกับความประพฤติไม่ดีไม่งามของชนกลุ่มน้อยนั้นๆ ซึ่งตนไม่ชอบ
ในสหรัฐอเมริกา "แรกเริ่มที่เดียว อคติทางเชื้อชาตินั้นมีจุดเร่ิมจากความจำเป็นทางด้านอุตสาหกรรม ระยะนั้นคนจีนเป็นพวกครต่างด้าวหรือพวกอพยพเข้าเมืองที่ถือกันว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นพลเมืองที่ขยันขันแข็ง อยู่ในระเบียบวินัยดีถือกันว่าเป็นพวกอพยพที่ดีที่สุดสำหรับรัฐแคลิฟอร์เนีย เพราะเป็นพวกขีเหนียวไม่ขี้เหล้าเมายา ว่าง่ายไม่เกะกะระรานใคร เพราะเคารพกฎหมายดี ทั้งยังมีความสามารถรอบด้าน ปรับตัวได้เก่ง...หลายปีต่อมา พวกยุโรปอพบพเข้ามา ปัญหาเกิดขึ้นจากากรที่นจีนไม่เลืองานและขยันทำได้หลายอย่าง ทำให้ก่อสถานการณ์ไปในรูปของการแข่งขันเชื่อดเฉือนกับการทำมาหากินรับจ้างของพวกยิวขาวหรือพวกฝรั่ง ในระยะนี้ใครๆ ก็แยกคนจนที่นั้นออกเป็นพวกต่างหาก ว่าเป็นพวกที่ไม่ยอมทำตัวเข้ากับเจ้าของประเทศ ยึดมั่นในขนบประเพณีกับกฎเกณฑ์กฎหมายเฉพาะของพวกตัวเอง เกิดความรู้สึกว่าพวกคนจีนที่เข้ามานั้นไม่ได้มาตั้งรกรากหลักฐานในอเมริกา แต่เข้ามาเพื่อขนทรัพย์สมบัติ กลับประเทศตน เกิดทัศนคติว่าชาวจีนมีเลห์เหลี่ยม โกหกมดเท็ด..ต่ำกว่าพวกอินเดียแดงที่เคยดูถูก
ความรู้สึกฯ อย่างนี้มีอยู่ภายในสังคมหนึ่ง ๆมักมีแนวโน้มที่บุคคลในสังคมนั้นๆ จะร่วมรับไปเลียนแบบตามกันไปด้วยอย่างไม่รู้ตัว
สงครามผิวในสหรัฐอเมริกา คนชาตินิโกร หรือถ้าเรียกให้ถูกต้อง เชื้อชาตินิโกรสัญชาติอเมริกันได้เข้าสมัครสอบและเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี ขณะที่เรียนก็เกิดการจลาจลขึ้น เพราะมีพวกผิดขาวบางคนต่อต้านไม่ให้เข้าเรียน การจลาจลครั้งนี้ร้ายแรงมากมีผู้เสียชีวิตสองน เป็นเหตุให้รัฐบาลกลางต้องส่งทหารและตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์และความปลอดภัย
ลัทธิเหยียดผิดในสังคมประเทศคอมมิวนิสต์
การเหยียดผิวมิได้เกิดขึ้นเฉพาะโลกเสรี แม้แต่คอมมิวนิสต์ยังมีลัทธิเหยียดผิว ดังจะเห็นได้จากการแตกกันระหว่างจีนแดงกับรัสเซีย ซึ่่งเป็นชาติผิวเหลือและผิวขาวที่เป็นคอมมิวนิสต์ด้วยกันบาดหมางกัน จีนแดงโจมตรรัสเซียเป็นฝรั่งเหมือนกับอังกฤษและอเมริกา ซึ่งคนผิวดำผิวเหลืองควรจะต่อต้าน...
การสังหารหมู่ชาวยิว ซึ่งเป็นต้วอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นอคติในเรื่องเกี่ยวกับชาติพันธ์ุ...
เงื่อนไขของอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ความเกี่ยวพันระหว่างการที่คนเราจะมีอคติ มีความรุนแรง หรือมีมิตรภาพไม่ตรีจิตกับคนนอกกลุ่ม หรือกลุ่มชาติพันธ์ที่ไม่ใช่พวกตนนั้นพบว่า สืบเหนื่องมาจากต้นตอหลายอย่างด้วยกันอาจท้าวความจากจุดเร่ิมจากความโน้มเอียงตั้งแต่อดีตในประวัติศาสตร์ ไปจนถึงต้นตอจากแผงผลักดันทางจิตใจในส่วนลึกต่างๆ นานาส่วนบุคคลก็ได้
- "อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่ใช่เรื่องที่มีมาแต่กำเนิ ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เป็นิส่งที่มีขึ้นที่หลังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัว จะเป็นหน่วยสำคัญที่จะปลูกฝังหรือสร้างอคติ การแบ่งพรรคแบ่งพวกให้กับเด็กในครอบครัวและมักเป็นไปโดยที่ไม่ทันได้ตั้งใจที่จะสร้างภาวะเช่นนั้น"
"อคติต่างๆ นั้น โดยทั่วไปแล้วจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ กินเวลานานกินเวลาสักระยะหนึ่ง เด็กจะได้รับ จะได้เรียนรู้คุณค่า หรือค่านิยมเกี่ยวกับชาติพันธุ์และรับรู้รับเอาทัศนคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ในแนวต่างๆ ตลอดเวลาที่ไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนอื่นในสังมคสิ่งแวดล้อมครอบตัว อาจเป้นจากผู้ใหญ่จากเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน และจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตของตนเองตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยมาก็ได้ คนจะเรียนรู้ที่จะทึกทัก หรือสรุปเอาว่า กลุ่มใดที่แยกออกไปต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่โรงเรียนหรือภายในชุมนุมชนนั้นๆ ถือว่ามีความด้อยกว่าเดกทึกทักเช่นนั้นด้วยเหตุว่า สังคมคคประพฤติกับพวกนั้นอย่างที่เหยีดพวกนั้นว่าต่ำกว่า ด้อยกว่านั้นเอง..."
โดยทั่วไปอคติจะก่อตัวเพ่ิมมากขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้นตอนวัยรุ่น ซึ่งอคติที่มีขึ้นจะเกิดควบคู่กันไปกับทัศนคติคต่างๆ ที่ซับซ้อน ก่อตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงวัยนี้ ตลอดจนการแสดงออกที่เป็นอคติ จะมีชัดขึ้น และเป็นไปสม่ำเสมอมากกว่าวัยเด็ก
อคติกับการแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นไปในทำนองเดียวกับพฤติกรรมแบบอื่นๆ ส่วนมาก ซึ่งจะเป็นไปหรือตามรอยแบบอย่างของขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคมที่ประพฤติปฏิบัติกันมาในชุมชนนั้น ๆ
ผลจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวก ประการหนึ่ง คือคนทั้งในกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย ต่างก็รู้ตัวขึ้นใจว่าลักษณะเด่นชัดของชนกลุ่มน้อยคืออะไร เป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปไปให้ความหมาย ขอบเขตข้อจำกัด ความสัมพันธ์ระหว่างกันควรจะมีแค่ไหน อย่างไร ตลอดจนนำไปสร้างความรู้สึกและความคิดต่อชาติพันธ์อย่างตายตัว ซึ่งกันและกัน
ผลอีกประการหนึ่งซึ่งสืบเนื่องจากอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกแยกกลุ่มแยกเหล่าก็คือ สมาชิกในหมู่ชนกลุ่มน้อยมักจะสงสัยตนเอง,เกลียดตัวเอง,มีพฤติกรรมแบบเชื่อถือโชคลาภและหุนหันพลันแล่น,ประพฤติปฏิบัติเกเร ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ข้อบังคับ,มีปมด้อย,ความไม่เป็นสุขภายในครอบครัว,สุขภาพจิตเสื่อมโทรม..
ในบางกรณีสภาวะที่ก่อร่างสร้างอคติและความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์เป็นแบบตายตัว ขึ้นมาอาจจะค่อนข้างเห็นได้ชัดและองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้อคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกคงอยู่เป็นช่วงเวลาระยะหนึ่งๆ นั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก โดยอาจมององค์ประกอบที่ยังให้อคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกคงอยู่เป็น 3 ระดับคือ องค์ประกอบจากโครงสร้างของสังคม ความเป็นมาหรือพ้นฐานของบุคลิกภาพส่วนตัว และวัฒนธรรม
องค์ประกอบจากโครงสร้างทางสังคม
การทำตามบรรทัดฐานทางอคติซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมมีอยู่แล้ว
"เมื่อใดที่อคติและความรู้สึกความคิดเห็นต่อคนต่างชาติพันธ์ุแบบตายตัว ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นบรรทัดฐาน อย่างหนึ่งสำหรับสังคมนั้นแล้ว การแสดงออกซึ่งอคติและการแสดงออกซึ่งการแบ่งพวกแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดแจ้งกน่าจะเปนไปเนื่องจากตค้องการ การคยอมรคับจากสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมนั้นๆ
และการแสดงทัศนคติฉันท์มิตรกับสมาชิกที่เป็นชนกลุ่มน้อย หรือไม่ยอมแบ่งพวกแบ่งกลุ่มแยกตัวต่างหากออกจากพวกคนนอกกลุ่มหรือพวกชนกลุ่มน้อยก็จะมีผลเท่ากับว่าท้าทายบรรทัดฐานแห่งอคติของสังคมนั้ และมักจะจุดชนวนนำมาซึ่งการโต้แย้งไม่ยอมรับ และการตัดสินด้วยวิธีการต่างๆ จาบรรดาสมาชิกในกลุ่ม"
รูปแบบการมีปฏิกิริยาตอบโต้กัน
อคติคและการแบ่งพรรคแบ่งพวกจะนำให้เกิดรูปแบบของปฏิกริยาบางอย่างขึ้นมา เพื่อที่จะทำหน้าที่ช่วยรักษาสถานภาพให้คงที่เอาไว้ มีรูปแบบของปฏิกริยาอยู่หลายอย่างที่ช่วยเพิ่มพูนความสามัคคีเหนียวแน่นและเพิ่มพลังอำนาจให้กับกลุ่มในอันที่จะผลักดันการกระทำตามบรรทัดฐานแห่งอคติและการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกนั้นให้เข้มข้นคงตัว องค์ประกอบใดก็ตามที่ทำให้บรรดาสมาชิกในกลุ่มต้องพึงพาอาศัยคนในกลุ่มด้วยกันแล้ว ก็มักช่วยเพิ่มความสามัััคคีของกลุ่มขึ้นไปด้วย
การสนับสนุนจากผู้นำ
ความคงอยู่ของอคติและการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยังมาจากการสนับสนุนของหัวหน้าหรือตัวผู้นำกลุ่ม ดังที่เคยกล่าวนั้น พวกผู้นำทางการเมือง เป็นต้น หากเอาใจผู้มีสิทธิออกเสียงเลื่อกตัวด้วยประเด็นของลักษณะเกี่ยวกับบรรทัดฐานบางอย่างทางสังคม บุคคลที่ยึดถือทัศนคติแตกต่างไปจากบรรทัดฐานมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการสมัครรับเลื่อกตั้ง ดังน้นบรรดาผู้นำเล่รนี้เมื่อได้อำนาจแล้วก็จะใช้อิทธิพลแห่งตำแหน่งที่ได้ไปในทางที่จะสนับสนุนส่งเสริมสถานภาพของตนให้ลอยตัว คงตัวอยู่ได้เรื่อยๆ โดยคงรักษาคสภาพความอคติและการแบงพรรคแบ่งพวกที่กลุ่มมีอยู่เอาไว้ เป็นต้น
ความสัมพันธ์สนับสนุนทารงสิ่งแวดล้อมให้คงความอคตินั้นๆ
Krech และ Cruchfield ได้สังเกตเห็นว่า ที่ใดซึ่งมีอคติอยู่อย่างแพร่หลายบุคคลจะสามารถสังเกตได้ว่า ที่นั้นมีสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวในรูปแบบต่าง ๆ นานา ที่ต่างก็จะช่วยสนับสนุนเสริมทัศนคติในทางอคติที่มีอยู่เดิมของเขาอย่างมาก
การแบ่งพวกเกิดขึ้นมาได้จากความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างคนในกลุ่มกับคนนอกกลุ่ม แล้วทัศนคติต่อคนนอกกลุ่มที่มีขึ้นจะมีลักษณะตามบรรทัดฐานที่เป็นอยู่และเท่าที่เห็นพ้องปฏิบัติตามกันมา
พื้นฐานส่วนตัวทางบุคคลิกภาพ
อคติเกิดขึ้นและคงอยู่ได้ในแต่ละบุคคลคด้วยเหตุผลเฉพาะตัวทางบุคลิกภาพของแต่ละคนในหลายๆ แง่ ซึ่งจะมองข้ามไม่ได้คือ
ความขับข้องใจกับการก้าวร้าวโดยใช้วิธีแพาะรับบาป ปกติเมื่อคนเราถูกกีกกั้น ขัดขวางไม่ให้เราสมความต้องการในบางสิ่งบางอย่างเราก็มักจะมีพฤติกรรมแบบก้าวร้าว แต่เมื่อใดสิ่งที่นำมาคับข้องใจมาให้ ไม่สามารถเป็นที่รองรับระบายอารณ์ก้าวร้าว อารมณ์ผิดหวังที่ถูกขัดขวางกีดกันได้ ความรุนแรงทางอารมณ์หรือความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะพุ่งไปสู่คนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวที่เรียกกันว่า "แพะรับบาป"
ภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่และสถานภาพที่ได้รับ วิธีการป้ายโทษไปยังแพระรับบาปดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด ในที่ที่ซึ่งมีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันอย่างรุนแรง และในที่ซึ่งสถานภาพถูกคุกคาม สภาพการณ์เหล่านนี้ดูเหมือนจะกระตุ้นความรู้สึกอคติได้มากที่สุด
ความต้องการส่วนบุคคล อาทิ ความไม่ทนต่อความคลุมเคลือกำกวม คนเราจะวุ่นวายใจแตกต่างกันไม่เท่ากันเมื่อพบกับสภาพการณ์ที่สับสนหรือคลุมเคลือคกำกวม พวกที่จัดว่าอยู่ในแบบสุดกู่อาจเป็นในลักษณะที่ว่าต้องการให้ทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ๋วไปเลยทุกอย่าง ทุกเมื่อ ว่าขาว หรือดำ หรืออย่างไรให้แน่นอน กับอีกพวกหนึ่งซึ่งไม่สนใจแยแส ไม่ทุกข์ร้อยวุ่นวายใจเลยแม้แต่สักนิดเมื่อพบสภาพการณ์คลุมเคลือกำกวม โดยคนที่ไม่อดทนต่อสภาวการณ์คลุมเคลือมักจะมีอคติมากกว่าด้วย
ความต้องการที่จะมีสถานภาพดีกว่าคนอื่น ที่ทำให้จุดชนวนอคติได้ง่ายมาก เพราะความรู้สึกอคติจะทำให้บุคคลที่มีความต้องการนั้น ๆ จัดแยกคนคบางกลุ่มออกไปเสร็จสรรพว่าตำ่ต้อยในทางสถานภาพกว่าตนแน่ๆ แล้วก็อาจจะเกิดความรู้สึกที่จะเลี่ยนแบบอย่างคนพวกเดียวกันโดยอาศัยความอคติเป็นสื่อชักนำ
Allport กล่าวไว้ว่า "คนเราอาจจะย้อเน้นการยกย่องตัวเอง ชื่นชมกับตัวเองโดยการยกตัวเองไว้เหนือคนอื่น ยกตัวเองดีกว่าคนอื่น เบนความสนใจไปที่คนนอกกลุ่มเพื่อช่วยคงเกียรติภูมิของตัวเองเอาไว้"
ความต้องการที่จะมีความมั่นคง ความต้องการแบบนี้จะสมใจได้เหมือนกันจากการใช้วิธีการกีดกันคนนอกกลุ่ม มีหลายคนตั้งข้อสังเกตไว้ว่าความขัดแย้งระหว่างคนในกลุ่ม กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกับพวกนอกกลุ่ามจะช่วยนำปสู่การรวมพลังเหนียวแน่นในหมู่สมาชิกของพวกคคนในกลุ่มนั้นๆ ดังนั้น จึงอาจคาดได้ว่าการคกีคดกัคนแบ่งพรรคแบ่งพวก กับความขัดแย้งกับคนนอกกลุ่มมีทางที่จะชวยทำให้บุคคลรู้สึกมั่นคงในการเป็นสมาชิกในกลุ่มที่ตนสังกัดอยู่มากขึ้นและทั้งกินความหมายถึงว่าทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกเป็นพวกเป็นพ้องกับกลุ่มของตนมากขึ้น
บุคลิกภาพแบบวางอำนาจเผด็จการ เป็นแบบแผนของอุปนิสัยซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยข้องกับอคติเป็นอย่างมาก นักจิตวิทยาที่สำคัญหลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบวางอำนาจมักจะมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ชอบใช้ระเบียบวิธีอย่างเคร่งครัด อบรมสั่งสอนมาอย่างเข้มงวดกวดขันมีการวางเงื่อนไขว่า จะให้ความรักใคร่หรือไม่โดยขึ้นกับว่าได้ทำตัวหรือประพฤติปฏิบัติสอดคล้องกับที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองวางเกณฑ์กำนหดไว้หรือไม่ เพียงใด พ่อแม่หรือผู้ปกครองยอมรับเห็นด้วยกับการแสดงออกต่าง แค่ไหน จึงเกิดความเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกเพื่อให้มีนิสัยยอมตามและรองรับการวางอำนาจข่มขู่บังคม ตลอดจนการถูกกำหนดสถานภาพส่วนตัวไว้แตกต่างออกไป ผลจึงนำไปสู่การขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับอารมณ์แท้จริงของตนได้ ทั้งยังทำให้ก่อเกิดทัศนคติท่าทีที่กระด้าง ไม่มีความยือหยุ่นในการติดต่อหรือคบหาสมาคมกับคนอื่น ได้ง่ายมาก
บุคลิกภาพและท่าที่ในแนวนี้เป็นพ้ืนฐานการก่อตัวของอคติต่อคนนอกกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มหรือชนกลุ่มน้อย อย่างสำคัญเมื่อเติบโตขึ้น
ด้วยภาวะที่ต้องเก็บกดความรู้สึกก้าวร้าวเกลียดชังรุนแรงเป็นเวลานาน แต่มาเรียนรู้ว่าการมีอคติกับพวกนอกลุ่มหรือพวกต่างกลุ่มกลับเป็นสิ่งที่สังคมของตนยอมรับและสนับสนุนดังนั้น อติก็จะทำหน้าที่กลายเป็นเสมือนทางออกทางหนึ่งให้แก่ความกดดันที่รู้สึกเกลียดชังอย่างจะก้าวร้าวแต่ไม่เคยแสดงออกได้โดยที่คนในครอบครัวยอมรับมาก่อน
ความคงที่ทางทัศนคติ บุคคลมักดิ้นรนให้คงตัวอยู่ในภาวะพอดีพอ กันระหว่างอารฒ์การรับรู้ และการแสดงออก ดังนั้น พลังใด ที่จะมาผลักดันให้เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบส่วนใดส่วนใหนึ่งใน 3 อย่างดังกล่าวจะได้รับการต่อต้าน ตราบเท่าที่ส่วนประกอบอีก 2 ส่วนที่เหลือยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ด้วยหลักการนี้ทำให้คนเราตีความหมยหรือรับรู้การแสดงออกหรือพฤติกรรมของคนนอกกลุ่มหรือคนที่ไม่ใช้พวกตน ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนไปจากที่เป็นจริงที่ควรจะมองหรือรับรู้ ถ้าหากรับรู้เกี่ยวกับคนนอกลุ่มหรือต่างกลุ่มเป็นไปในแบบไหน และมีความพร้อมจะรู้สึกต่อคนเหลานนันไปในแนวใดแล้ว การณ์กลับเป็นว่าคนต่างกลุ่มอกกลุ่มที่ว่านั้นกระทำผิดแผกไปจากแบบที่ตั้งไว้ ก็จะถูกตีความหมายให้ผิดเพี้ยนไปในแนวทางที่ให้สอดคล้องกับความรู้สึกและการรับรู้ที่มีอยู่เดิมแล้ว
องค์ประกอบทางวัฒนธรรม
ค่านิยมกับอคติ ทัศนคติที่บุคคลมีต่อชนกลุ่มน้อยอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในลัทธิทางวัฒนธรรมหรือความเชื่อทางวัฒนธรรม ลัทธิทางวัฒนธรรม าหรือความเชื่อทางวัฒนธรรมคือระบบอันซับซ้อนเกี่ยวกับความเชื่อต่าง และเกี่ยวกับไอเดียนานาประการที่ทั้งหมดต่างสัมพันธ์ื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับค่านิยมทางวัฒนธรรม
ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็ก จากผลการวิจัยของ Horowizt พบว่าอคติเป็ฯผลสืบเนื่องจากขบวนการเรียรรู้ทางสังคม โดยตรง เขาศึกษาโดยเปรียบเทียบพัฒนาการอคติต่อพวกนิโกร ในหมู่เด็กนักเรียนที่เมืองเทนเนสซี่ หลายต่อหลายกลุ่ม และกลุ่มเด็กที่เมืองนิวอร์ค ทัศนคติในหมู่เด็กจากเทนเนสซี่ กับนิวยอร์คคล้ายคลึงกัน โดยมีแนวโน้มแสดงชัดถึงอคติที่มีต่อนิโกร แต่ความแตกต่างที่น่าสนใจพบว่ามีอยู่ในระหว่างกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ย่านโครงการณ์สหกรณ์เคนะ ที่องคการคอมมิวนิสต์แห่งหนึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ซึ่งแตกต่างจากเด็กกลุ่มอื่น ทั้งหมดระยะที่ทำการวิจัยอยูในช่วงปี 1930 ซึ่งช่วงนั้นคอมมิวนิสต์เน้นอยู่ที่ความเสมอภาคของทุกเชื้อชาติ ดังน้ันเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่เป็นคอมมิวนิสต์ก็จะเรียนรู้ความเชื่อเช่นนี้จากพ่อแม่ของตน
ทัศนคติต่อชนกลุ่มน้อยจะผสมผสานรวมตัวอย่างซับซ้อนเป็นแบบแผนของความคิดเห็น ท่าทีความรู้สึกและความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งจะสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับค่ีานิยมทางวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด ลัทธิความเชื่อที่มีอยู่แพร่หลายเช่นนั้น ยิ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดมีอคติและการแบ่งพรรคแบ่งพวกกีดกันเด่นชัดขึ้น และเมื่อ Prejudice และ ความรู้สึกนึกคิด..ที่มีต่อชนกลุ่มน้อยแบบตายตัวขยายวงกว้างออกไปทั่วถึงภายในสังคมหนึ่ง ๆ ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กที่จะเป็นไปในลักษณะของการยอมรับเอาลัทธิความเชื่อที่มีอยู่ตลอดจนการเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมต่อคนกลุ่มน้อย นั้นจะเป็นไปได้อย่งแน่นอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...