วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561

Poet’s poet (Edmund Spenser )

         
 เอ็ดมันด์สเปนเซอร์ Edmund Spenser เป็นกวีชาวอังกฤษ ได้รับฉายาว่า Poet's poet ได้ปรับปรุงฉันทลักาณ์จากบทกวีสมัยกรีโรมันและมีกวีรุ่นหลังต่างก็เดินตามรอยเขา ชีวประวัติของเอ็มันด์ สเปนเซอร์รับราชการอยู่ในพระราชวัง ในรับสมับยพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 หรือ เวอร์จิน ควีน แห่งอังกฤษทรงครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1588-1680 (ตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจนถึงปลายรัชสมัยสมเด็จพระนนเรศมหาราชของกรุงสยาม) พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลา 45 ปี เป็นยุคแห่งการฟื้อผุศิลปวิทยาการ อังกฤษ และมีความเจริญรุ่งเรืองหลายด้านโดยเฉพาะด้นการเดินเรือได้แพร่ขยายอำนาจไปครอบครองดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ทั้งความเจริญรุ่งเรื่องนั้นได้ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งอันเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก
             สเปนเซอร์ได้เข้าออกในรั่วในวัง ได้เห็นสังคมชั้นสุงความหรูหราและความยากจนข้นแค้นของราษฎร เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนอ่านบทกวีเก่าๆ ไปด้วยก็ย่อมจะรู้จักวิะีถ่ายทอดในเหมาะสมกับยุคสมัยตนเอง โดยเฉพาะเรื่องราวเสียดสีสังคมhttp://oknation.nationtv.tv/blog/nn1234/2012/03/11/entry-1
          ผลงานที่ได้รับการยกย่อง อาทิ The Faerie Queene , fantastical allegory celebrating the Tudor dynasty, และ Elizabeth I.เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในกวีที่ย่งิที่สุดในภาษาอังกฤษ
       
 สเปนเซอร์ได้ใช้รูปแบบบทกวีที่โดดเด่นเรียกว่า ฉันท์ สเปนเซอร์เลียน ในงานวรรณกรรมหลายๆ งานขงอเขา รวมทั้งราชินีพราย และเขายังในช้รูปแบบสัมผัสเป็น ababbcbcc  และ รูปแบบโคลงขเองเขา บรรทัดสุท้ายของบรรทัดคำสั่งทั้งหมดจะเชื่อมโยงกับรรทัดแรกของบรรัดถัดไปทำให้เป็นรูปแบบ abhabbcbccdcdee
           นักวิชาการได้ตั้งข้อสังเกตว่าบทกวีของเขา เป็นของเขาเองอย่างชัดเจน ซึ่งทำได้ดีกว่ากวีในสมัยที่ผ่านมา อย่าง เฝอ และโอวิด ที่พยายามจะเลียนแบบกวีโรมันโบราณ ภษากวีของเขาคือจงใจโบราณชวนให้นึกถึงผลงานของกวีทีสเปนเชอน์ชื่นชม
           ราชินีพราย I - III ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1590 และถูกตีพิมพ์ซ้ำในปี ค.ศ. 1596 พร้อมกับ เล่ม IV -VI ราชินีพรายเป็นหนึ่งใบทกวีในภาษาอังกฤษท่ยาวที่สุด และเป็นรูปแบบที่รุ้จักในบท สเปนเซอร์เลียน บทกวีกล่าวถึง การตรวจสอบคุณธรรมของอัศวิน แม้ว่ามันจะเป็นหลักเปรียบเที่ยบของอัศวิน แต่สามารถตีความไปในทางสรรเสิรญได้เช่นกัน  พระนางอริสเบธที่ 1 กล่าวว่าทั้งบทกวีมหากพย์คือ"Cloudily enwrapped in allegorical devises" และจุดหมายของการ ราชินีพรายคือ "สร้างความเป็นบุรุษหรือการเป็นคนชั้นสูงในระเบียบวินัยที่สุภาพอ่อนโยน"
          ราชินีพราย ได้รับความโปรดปรานจาก พระนางอริสเบธที่ 1 สเปนเซอรืได้รับเงินบำนาญเป้นจำนวน 50 ปอนด์ต่อปีแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานอื่นใดที่กล่าวว่าพระนาง อ่านกวีก็ตาม พระบรมราชูปถัมภ์นี้ช่วยให้บทกวีดังกล่าวประสบความสำเร็จในระดับที่เป็นมาตรฐานของสเปนเซอร์https://en.wikipedia.org/wiki/The_Faerie_Queene
   

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

็็Hamlet (William Shakespeare)

 วิลเลียม เชกสเปียร์ เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกยอ่งทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผุ้ย่ิง
ใหญ่ของอังกฤษ และของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "กวีแห่งเอวอน" งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบันประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง  กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด
          เชกเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่อ อายุ 18 ปี เขาสมารสกับแนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคื อซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1585-1592เขาประสบความสำเร็จในการเป็นนักแสดงในกรุงลอนดอน รวมถึงการเป็นนักเขียน ได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในคณะละครลอร์เชมเอบร์เลน ซึ่งในภายหลังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้ักในชื่อ King's Man เชกสเปียร์เกษียณตัวเองกลับไปยังสแตรทฟอร์ดในราวปี ค.ศ. 1613 และเสียชีวิตในอีกสามปีต่อมา ไม่ค่อยมีบันทึกใดเกี่ยวกับชีวติส่วนตัวของเชอเปียร์มากนัก จึงมีทฤษฎีมากายที่คาดกันไปต่างๆ นานา เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว ความเชื่อทางศษสนาและแรงบันดาลใจในงานเขียนของเขา
          ผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเชกสเปียร์ประพันธ์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1590 - 1613 ในยุคแรกๆ บทละครของเขาจะเป็นแนวชวนหัวและแนวอิงประวัติศาสตร์ ซ฿่งเป็นแนวทางบทละครที่เป็นที่นิยมอย่างมากใช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาเขาเขียนบทละครแนงโศกนาฎกรรมหลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง แฮมเล็ต  King Lear และ แม็คเบธ ซึ่งถือว่าเป็นบทละครตัวอย่างชั้นเลิศของวรรณกรรมอังกฤษ ในช่วงปลายของการทำงาน งานเขียนของเขาจะเป็นแนวสุข โศกนาฎกรรม หรือแนวโรมานซ์ และยังร่วมมือกับนักเขชียนบทละครคนอื่นๆ อีกมาก บทละครของเขาตีพิมพ์เผยแพร่ในหลายรูปแบบโดยมีรายละเดียดและเนื้องหาต่างๆ กันตลอดช่วงที่เขามีชีวิตอยุ่ ในปี ค.ศ.1623 เพื่อนร่วมงานสองคนในคณะละครของเขาได้ตีพิมพ์นังสือ First Folio เป็นการรวบรวมงานเขียนของเขาขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้บรรจุบทละครที่ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นงานเขยนของเชกเปียร์เอาไว้ทั้งหมด (ขาดไป 2 เรื่อง)
     
ในยุคของเขา เชกสเปียร์เป้นกวีและนักเขยนบทละครที่ได้รับการยกย่องอยู่พอตัว แต่เขาได้รับการยกย่องเป็นอย่างสุงเช่นในปัจจุบันนับตั้งแต่รวมคริสต์ศตวรรษที่ 19 กวียุคโรแมนติกยอย่องนับถือเชกสเปียร์ในฐานะอัจฉริยะ ขณะที่กวียุควิตอรเียเคารพนับถือเชกสเปียร์อย่างยิ่ง กระทั่ง จอร์จ เบอร์นาร์ ชอว์ เรียกเขาว่า Bardotatry (คำยกย่องในทนอง "จอมกวี" หรือ "เทพแห่งกวี") ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการดัดแปลงานประพันะ์ของเขาออกไปเป็นรูปแบบแนวทางใหม่ๆ ดดยเหล่านักวิชาการและนักแสดงมากมาย ผลงานของเขายังคงเป็นที่นิยมอย่างสุงจนถึงปัจจุบันและมการแสดงออกในรุปแบบต่างๆ ในทุกประเทศทุกวัฒนธรรมทั่วโลก...
           แฮมเลต เป้นบทละครแนวโศกนาฎกรรมเขียนขึ้นดดย วิลเลียม เชกสเปียร์ เชื่อกัว่าประัพันะ์ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1599 และ 1601 บทละครนี้ฉากกำหนดให้ดำเนินเรื่องในประเทศเดนมาร์กเรื่องราวเีกยวกับความพยายาที่จะล้างแค้น ลุง หรือกษัตริย์คลอดิอัสของเจ้าชายแฮมเลต เนืองจากลุงของแฮมเลตเป็นผุ้แบลอลสังหารบลิดาของแฮมเลต หรืออดีตกษัตริย์แฮมเลต เืพ่อที่จะชิงราชบังลังก์และมารดาของแฮมเลต หรือราชินีเกอทรูด
          First Quarto (Q1), Second Quarto (Q2) และ First Folio(F1) แต่ละฉบับนั้นต่างมีบรรทัดหรือฉากที่ขาดเกินกันไป เชึเสเปียร์นั้นอาจจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากตำนานของกษัตริย์แฮมเลท ที่เรื่องที่ถุกเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 13 จนมาถึงศตวรรษที่16 และส่วนหนึ่งอาจจะมาจากบทละครที่สาบสูญไปของยุคอลีซบีเธน ชื่ออูรแฮมเลต(Ur-Hamlet)
บทละครมุ่งสำรวจเกี่ยวกับความวิกลจริตโดยแท้จริง และาการแสร้งวิกลจริโดยเกิดจากความโศกเศร้าทวีไปถึงความโกรธเกรียว โครงเรื่องนั้นมีทั้งการทรยศ การล้างแค้น อศีลธรมและการแต่างงานภายในครอบครัว ปีที่เชคสเปียร์ประพันธ์บทละครแฮลเมตที่แน่ชัดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บทละครที่รอดมาได้มีอยู่ด้วยกัน 3 ฉบับที่รู้จักกันในชื่อ
           เนืองจากบทละครนี้มีการสร้างตัวละครไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง แฮมเลตจึงเป็นบทละครที่สามารถวิเคราะห์ตีความได้จากลายมุมอง ยกตัวอย่างเช่นมีผุ้ตั้งขอ้สังเกตุมากว่าศตวรรษเกี่ยวกับความลังเลที่จะฆ่าลุงหรือกษัตริย์คลอดิอัสของแฮมเลต
           เช่นเดียวกับที่บางกลุ่มสามารถตีความในมุมองของสตรีนิยมในเรื่องของราชินีเกอทรูดและโอฟีเลีย ได้บทละครแฮลเลตเป็นบทละครที่มีความยาวที่สุดในบรรดาบทละครโศกนาฎกรรมของวรรณคดีอังกฤษ ระหว่างช่วงชีวิตของเชคสเปียร์บทละครนี้เป้ฯหนึ่งในงานที่ไ้รับความนิยมมากที่สุดของเขาและยังถุกจัดให้เป็หนึ่งผลงานที่ได้รับการนำไปเล่นละครเวทีมากที่สุด นอกจากนี้บทละครแฮมเลตยังมีส่วนสร้างแรงดลใจให้แก่นักประพันธ์หลายคนเช่น เกอรเธ ดิดเกนส์ และเจมส์ จอยซ์ เป็นต้น
           โดยเนื้อเรื่องเป็นเรื่องของ กษัตริย์แห่งเดนมาร์กถุกพี่ชายชือ  คลอดิอัส ลอบปลงพระชนม์เพื่อแยงบัลลัก์และอดีตราชินี วิญญาณของกษัตริย์แฮมเลตจึงได้มาหาโอรสหรือเจ้าชาย แฮมเลต และบัญชาให้ล้างแค้น เจ้าชาย แฮมเลตกลัดกลุ้มพระทัยมากจึงแกล้งทำเป็นบ้าและผลกัไสนางโอฟิเลีย หญิงสาวที่ตนหลงรัก ทรงวางแผนเปิดโปง คลอดิอัส โดยให้คณะละครเร่มาแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการลอลปลงพระชนม์ แฮมเลตได้ฆ่าโพโลนีอัสพ่อของโอฟิเลีย โดยเข้าใจผิดคิดว่าเป้นคลอดิอัส ส่วนคลอดิอัสก็วางแผนกำจัดเขาเช่นเดียวกันแต่ไม่สำเร็จ โอฟิเลียโดน้ำตายเพราะความทุกข์ลาเอร์เทสพี่ชายของโอฟิเลียท้าแฮมเลตดวลดาบ บทละครจบลงด้วยตัวละครสำคัญตายหมด สุดท้าย แจ้าชายฟอร์ทินบราส์แห่งนอร์เวย์ได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ทั้งหมดhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%95

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2561

Renaissance literature

           เรอนาสซองส์ Renaissance แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ เป็นช่วงเวบาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในวทีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเร่ิมต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14-17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม
วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง
            ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เป้นช่วงเวลาเหนึ่งที่อยุ่ในช่วงปลายสมัยกลางถึงต้นสมัยใหร่ ซึ่งการเร่ิมต้นของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในช่วงปลายสมัยกลาง เป็นปัจจัยสำคัญที่ชันำโลกเข้าสู่สมัยใหม่ คือ ยวิทยาการต่างๆ จากโรมัน เริ่มถูกฟื้นฟูขึ้นมาและแผ่กระจายไปในแถบยุโรป
           วรรณกรรมใน ยุคฟื้นฟู
           จากลักษณะที่เคยอิงอยู่กับศาสนามาเป็นลักษณะของการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์หรือไม่ก็เป็นการแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึกซาบซึ้งในความงดงามของสิ่งธรรมชาติทั้งหลาย ละเมียดละไม่ มีความไพเราะเพราะพริ้งเสนาะโสตประสาทมากย่ิงขึ้น แสดงความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ลักาณะการเปลี่ยนแปลงฟื้นฟูด้านวรรณกรรมบุกเบิกแนวคิดด้านมนุษย์นิยมในแหลมอิตาลี ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งมนุษยนิยม ผู้ซึ้งชีให้เห็นถึงความงดงามของภาษาละตินและการใช้ ภาษาละตินท่ถภูกต้อง
            ฟรานเชสโก เปตรากา Francesco Petrarca หรือที่รู้จักในชื่อภาษอังกษว่า เป-ตราก เป็นกวีและนิกวิชาการชาวอิตาลี หนึ่งในบรรดานักวิชาการในช่วงแรกๆ ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเขาเป้นที่รุ้จักยอย่องในฐานะ "บิดาแห่งมนุษยนิยม จากงานเขียนของ เป-ตราก และส่วนอื่นๆ ของ Pietro Bemboได้สร้างรูปแบบของภาษาอิตาลี ในปัจจุบันขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16
          เป-ตราก ได้ชื่อว่าเป็นผุ้ประดิษฐ์ ซอนเน็ต ( รูปแบบ ฉัทลักษณ์ งานกวีนิพนธ์ ในภาษาอังกฤษ แบบหนึ่ง พบมาในงานกวีนิพนธ์ของประเทศยุโรป คำว่า "ซอนเน็ต" มาจากคำ sonet ในภาษาอ็อกซิตัน และ sonetto ในภาษาอิตาลี มีความมหายว่า "บทเพลงน้อยๆ " ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เร่ิมมีการใช้ซอนเน็ตกับบทกวี 14 บรรทัด ซึ่งมีรูปแบบสัมผัสที่เคร่งครัดและมีโครงสร้งางพิเศษ ผู้เขียนโคลงซอนเน็ตมักมีคำเรียกเฉพาะว่า " soneteer" งานกวีนิพนธ์แบบซอนเน็ตทีมีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ซอนเน็ตของเชกสเปียร์ ซึงได้ประพันธ์โคลงซอนเน็ตไว้ถึง 154 บท...) งานกวีนิพนธ์ซอนเน็ตของเขาได้รับยกย่องและเป็นที่รุ้จักทั่วไปในยุโรปตลอดยุคเรอเนซองส์ ซึ่งได้กลายเป็นเแบบมาตรฐานสำหรับงานกวีนิพนธ์ในยุคต่อมา...
       
 ในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยานั้นมีนักคิด นักเขียน และผุ้ที่มีชื่อเสียงหลากหลายทั้งทางศิลปะ และวิทยาการ ในสมัยต่อมา แม้จะได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์ แต่ก็นับเป็นนักคิดนักเขียน และมีชื่อเสียง พร้อมกับไดัการยกย่องในปัจจุบัน อาทิ
           นิกโกเลาะ ดี แบร์นาโด เดย์ มาเกี่ยเวลลี Niccolò di Bernardo dei Machiavelli นักปรัชญา นักเขียนและนักรัฐศาสตร์ชาวอิตาลี นับเป็นหนึ่งในบบิดารัฐศาสตร์ยุคใหม่ มีชีวิตอยุ่ในยุคเรอเนซองส์ ซึ่งเขาเป้นนักวิชาการ นักปรัชญาการเมือง นักดนตรี กวี นักเขียนบทละคร แต่ที่คำํญคือเขาเป็นอาสาสมัครสาะารณกิจแห่งสาธารณะรัฐฟลอเรนไทน์ หลังจาก จิโรมาโม ซาโวนาโรลา ถูกไล่ออกและประหารชีวิต สภา เกรท คอนซิล ได้เลือกให้มาเกียเวลลีเป็นเลขานุการสถานทูตที่สองของสาะารณรัฐฟลอเรนซ์  ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งรัฐศาสตร์สมัยใหม่
          มาเคียเวลลบี นับได้ว่าเป้นบุคคลตัวอย่างของยุคเรนอนซองส์ เช่นเดียวกับลีโอนาร์โด ดา วิชี เขามีชื่อเสียงจากงานเขียนเรื่องสั้นการเมืองเรื่อง เจ้าผุ้ปกครอง "เดอะ พรินต์" ซึ่งเล่าถึงทฤษฎีทางการเมืองแบบที่เป็นจริง แต่งานเขียนของมาเคียเวลลีไม่ได้ับการตีพิมพ์จนกรทั่งหลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว โดยมากเขาจะส่งกันอ่านในหมู่เพื่อฝูงเท่านั้น ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดระบบการเมืองแบบรัฐชาติ งานเขียนเพียงชิ้นเดียวที่ได้รับตีพิมพ์ในระหว่างที่เขามีชีวิตอยุ่คือ  The Art of War
          นามสกุลของเขา ได้กลายเป็นคำศัพท์ในทางการเมืองว่า "มาเคียวเวลลี" ผุ้เฉียบแหลมมีปฏิภาณ และ "มาเคียเวลเลียน" การใช้เลห์เหลี่ยมอุบายในการเมืองhttps://prezi.com/tz5pv3omj-ee/renaissance/
         

วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561

Fable

            นิทานเป็นวรรณกรรม ร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง ซึ่งสมมุติ สัตว์ สิ่งมีชีวิตในตำนาน พืช วัตถุหรือกองกำลังของธรรมชาติ พูดภาษามนุษย์ได้ และนำไปสู่ ศีลธรรมอันดี
            นิทานเป็นเรื่องเล่าที่มนุษย์ทุกเผ่าพันธ์ุสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นจุดเร่ิมต้นในการสร้างงจินตนาการให้เด็ก ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง เป็นเครื่องมือบ่มเพราะคุณธรรม จริยธรรมมาแต่โบราณ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมขอวขนชาติ และเป็นตัวช่วยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมที่ได้ับความนิยมในหมู่ชนทุกระดับขั้น ในทุกวัฒนธรรมมัีนักเล่านิทาน ทั้เงที่เล่าเพื่อความบันเทิง เพื่อถ่ายทอดความรู้ หรือเพื่อเลี้ยงชีพ จนก่อเกิดนักเล่านิทานที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เช่น สุนทรภูมิ อีสป, ฌ็อง เดอ ลาฟนอเต ชาร์ล แปโร ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สันพี่น้องตระกูลกริมม์ และวอลเตอร์ อีเลียส ดิสนีย์ และยังต่อยอดเป็นธุรกิจใหญ่ระดับโลกได้อีกด้วย
     

  นิทานสัตว์ในยุโรปสมัยกลาง หรือ fable เป็นลักษณะของนิทานอีสป ที่มีชื่อเสียงคือ นิทาน ชุดโรมานซ์ออฟรีนาร์ด เนื้อหาล้อเลียนเสียดสีสังคมฝรั่งเศสในสมัยกลาง ประณามระบบฟิวดัง กระบวนการยุติธรรม และวงการศาสนา
            ฌ็อง เดอ ลา ฟอนเต มีผลงานชิ้นสำคัญที่ทำให้เขามีชื้อเสียงอย่างสูง นั้นคือการรวบรวม เรียบเรียงและตีพิมพ์นิทานขึ้นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิทานสัตว์ แรงบันดาลใจสำคํยของเขาก็คื อีสป นักเล่านิทานชาวกรีกโบราณ, นิโโคไล มาเคียวเวลลี นักปรัชญา นักเขีน และนักรัฐศาสสตร์ชาวอิตาลี, จิโอวานนิ โบคคาชโซ นักเขียน กวี และนักมานุษยวิทยาเรอเนสซองซืขาวอิตาลี เป้นต้น โดยเขาได้นำต้นเค้าเรื่องราวจากหนังสือ ของ Gilbert Gaulmin และผลงานนิทานเล่มแรกของเขาก็ตีพิมพ์ขึ้นเมือวัน ปี 16ุ68 ในชื่อ Fables Choisies
         
นิทานของฌ็อง เอด ลา ฟอนเตขึ้นชื่อในเรื่องของความช่างคิดในกระบวนการเสริ้มสร้างศีลธรรม การแผงความรู้ ตระหนักในธรรมชาติของมนุษย์ในสาระสำคัญของเรื่อง ซึ่งทำให้ลักษณะตัวละครในนิทานของเขานั้นดุโหดร้ายไม่เหมาะสมกับนิทานสำหรับเด็ก ซึ่งเขาต้องการให้นิทานมีลักาณะในเชิงเสียดสี วิพากษ์สังคม ศาสนา ความเชื่อของยุคสมัยนั้นมากกว่าอ่านเพื่อความบันเทิง จึงจำเป็นต้องทำให้มีเนื้อหาโหดร้าย ป่าเถื่อนอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง
           
            "มาเธอร์ กุส " หยิงชาวบ้านเป้นแม่ม่อารมณ์ดีคนหนึ่ง ๙่งเธอมีลูกติดสิบคนเธอโดงดังในฐานะนักเล่านิทานและลำนำจำนวนมากมายเหลื่อเฟือ ที่นำมาเล่าให้ลุกของเธอฟังอยบ่างไม่รู้กหมดสิ้น และเมื่อ ชาร์ลส์ เพอโรลท์ ยอดนักเขียนของฝรั่งเศส ได้ทำการรวบรวมนิทานและเรื่องราวปรัมปราที่นำมาเล่าใหม่ เพื่อจัดทำหนังสือรวมนิทานของเขาชื่อว่า "นิทานมาเธอร์ กูส"ซึ่งมีเรื่องเดนหลายเรื่อง อย่างเช่น เจ้าหญิงนิทรา หนูน้อยหมวกแดง ซินเดอเรลลา...https://sites.google.com/site/pattrasiriphorn11/bukhkhl-sakhay-haeng-lok-nithan/ch-xng-dex-la-fxn-te
           

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2561

The Decameron

            Fabiau หรือ fabliaux เป็นเรื่องขนาดสั้น ทำให้เป็นที่นิยมในยุคกกลาง ใฝรั่งเศส ซึ่งจะมีควาาม
โดดเด่นด้วยรายละเอียดที่ชัดเจนจากการสังเกตจากประสบการณ์จริง และมักจะเป้นเรื่องหยาบคาย และเหยียดหยายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักนวลสงวนตัวของพวกผู้หญิง
          กว่า 150 เรื่อง ที่ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน  เมื่อได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง fabliaux เป็นตัวแทนของวรรณกรรมของชนชั้นกลาง บางเรื่องได้รับการยอมรับเวลา และได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ 
          The Decameron  ตำนานสิบราตรี เป็นจุบนิยาย ร้อยเรื่องที่เขียนโดย โจวันนี บอกัชโช นักประพันะ์ชาวอิตาลี ที่อาจจะรเ่มราวผี ค.ศ. 1350 และจบลงในปี ค.ศ. 1353 "ตำนานสิบราตรี" เป็นหนังสือที่เขียนเป็นอุปมานิทัศน์ที่เป็นเรื่องราวของความรักแบต่างๆ ตั้งแต่รักที่ยั่วยวนไปจนถึงรักที่จบลงด้วยโศกนฎกรรม บางท่านก็เชื่อว่าบางส่วนองหนังสือได้รับอิทธิพลมาจาก "ตำราแห่งความรัก" (The Book of Good Love) โดย ฆวน ราอุส
        All's Well That Ends Well โดย เวิลเลียม เชกสเปียร์ ที่มีรากฐานมาจากเล่มสามเร่องที่เก้า หรือ โคลง "อสาเบลลาและกรถางใบโหระพา" Isabella, or the Pot of Basilโดย จิห์น คีตส์ ที่มาจากเรื่องของลิสาเบ็ตตา
 "ตำนานสิบราตรี" มีอิทธิพลต่องานปรพะันธ์และงานจิตรกรรมต่อมอีกมากเช่น "ตำนานแคนเตอร์บรี" โดยเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ื หรือ "
          ชื่เอรืงมาจากคำภาษากรีกสองคำผสมกัน  เนื้อเรื่อง "ตำนานสิบราตรี" เป็นหนังสือที่เขียนโดยใช้ดครงสร้างแบลบที่เรียกว่า " เฟมส์ นาราทีฟ" และถือกันว่เป้นวนิยายเล่มแรกที่เขียนเสร็จโดย โจวันนี บอกกัชโช ในปี ค.ศ. 1353 บอกกัชโซเริ่มด้วยการบรรยายถึงกาฬโรค  (กาฬโรคระบาดในยุดรป) และนำไปสู่การแนะนำหลุ่มชายหนุ่มสามคนและหญิงสาวอีกเจ็ดคนที่เป้นตัวละรในเรื่อง ที่หลบหนีจากโรคระบาดในฟลอเรนซ์ ไปยังพำนักอยู่ที่คฤหาสน์ในเนเปิลส์ เืพ่อเป้นการฆ่าเวลา สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มก็จะเล่าเรื่องหนึ่งเื่องต่อแต่ละคือนที่พำนักอยุ่ในคฤหาสน์
          "ตำนานสิบราตรี" เป็นงานชิ้นสำคญตรงที่ให้คำบรรยายอย่างละเอียดถึงผลกระทบกระเทื่นทั้งทางกาย ทางใจ และทางสังคมของกาฬโรคต่อยุโรป และส่ิงที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือเรื่องหลายเรือ่ง มาปรากฎใน "ตำนานแคนเตอร์บรี" โดยเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ แต่ไม่เป้ฯที่ทราบแน่นอนว่าชอเซอร์รู้จัก "ตำนานสิบราตรี" หรือไม่
         
  แพรริเนีย ตัวละครสตรีคนหนึ่งได้รับเลือกให้เป็นราชินีของวันแรก แต่ละวันราชินีหรือราชาของวัก่อนหน้านั้นก็จะเลือกหัวข้อของวันต่อไป แต่ละวันก็จะเป็นหัวเรื่องใหม่ นอกจากวันแรกและวันที่เก้าหัวข้อต่างๆ ก็รวมท้งหัวข้อที่เีก่ยวกับเหตุกาณณ์ร้ายที่ในที่สุก็นำความสุขที่มิได้คาดหวังมาให้ ผุ้ที่ได้รับความสำเร็จตาที่หวังไว้หรือพบส่ิงที่หายไป เรื่องรักที่จบลงด้วยความไม่มความสุข เรื่องรักที่รอดจาภัยพิบัติอันร้ายแรง , ผุ้ที่สามารถรอดจาอนตราย, กลเม็ดของสรีที่ใช้กับสามี, กลเม็ดของทั้งชายและหญิงที่ใช้ต่อกัน และผุ้ที่ได้รับสิ่งต่างๆ อย่างมากไม่วาจะเป็นความรักหรืออื่นๆ
           บรรยากาศของเรืองที่บรรยายใน "ตำนานสิบราตรี" มีอทิะพลเป็นอย่างมากมาจากความเชื่อและความสำคํยของเลขศาสตร์ ของยุคกลาง เช่นเป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าสตรีเจ็ดคนในเรื่องเป็นสัญลักษณ์ของคุณธรมสีประการ (ความรอบคอบ ความพอประมาณ ความอดทน และความยุติธรรม) และคุณธรรมสามประการของคริสต์ศาสนา (ความศรัทธา ความวหัง และความรัก) และมีผุ้เสนอต่อไปว่าชายสามคนเป้ฯสัฐลักษณ์ของการแบ่งสภาวะของกรีกสามอย่าง (ความมีเหตุผล ความโกรธ และความหลง)
          ชื่อตัวละครในเรื่องของสตรีเจ็ดคนก็ได้แก่ แพนพิเนีย ฟามเม็ตตา ฟิโลเมนา เอมิเลีย ลอเร็ตตา เนฟิเล และเอลิสสา ตัวละครชายก็ได้แก่ พานฟิโล ฟิโลสตราโต และดิโอเนโอ...https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5
         
                   

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561

The Canterbury Tale

           Lyric คีตกานท์ เกิดจากนักร้องเร่ที่เรยกตัวเองว่า ตรูบาดูร์ จะแต่งบทกวี ขับร้องกับพิณ นิยม
บรรเลงกันในปราสาทของขุนนางและราชสำนัก เป็นเรื่องเกี่ยวกับควารักแบบเทิดทูนต่อสตรีสูงศักด์ ซึ่งได้รับอิทะิพลมาจากราชสำนักของพวกมุสลิม การเทิดทุนสตรีที่สูงศกด์ก่อให้เกิดระเบียบวิะีปฏิบัติที่บุรุษควรมีต่อสตรีเพศ หรือที่เรียกว่า ธรรมเนียมวีรคติ ซึ่งถือปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในหมู่อัศวินมีคุณค่าและมีเกียรติยศยิ่งนัก
           Lyric คีตกานต์ เป้นวรรคดีประเภทหนึ่งเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 14 โดยมีความสนและการแสดงออกทางอารมร์ ดยปกติแล้วเนื้อเพลงจะกล่าวถึง "ช่วงเวลา" โดยปกติแล้วจะพุดหรือแสดงในบุรุษที่ หนึ่ง แม้ว่าเนื้อบางส่วนจะมีเรื่องเล่าก้ตาม แต่จะมีเพียงครั้งคราว เนื่องจากเนื้อร้องสะท้อนถึง
"คุณสมบัติชุน" และการระบุผุ้เขียนเป็นเรื่องยากมาก เนื้อเพลงส่วนใหญ่มักยกเลิกการจับยคุ่และปรากฎในคอลเล็กชันที่ไม่มีความเป็นเอกภาพในตัว มีหลายเพลงที่ยังคงดำรงมาถึงปัจจุบัน ได้รับการกล่าวขวัยกันอย่างแพร่หลายในหลายรูปแบบต่างๆ ก่อนที่จะถูกเขียนลงเป็นหลักฐาน ซึ่งปรากฎในบทกวีภาษอังกฤษ ยุคกลาง โดยเฉาพะเรื่อง The Canterbury Tale  ของ Geoffrey Chaucer..
         The Canterbury Tales ตำนานแคนเตอร์บรี เป้ฯวรรณกรรมที่เขียนโดย เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องยอ่ยที่รวบรวมกันเป็น
หนังสือ (สองเล่เป็นร้อยแก้ว อีกยี่สิบสองเล่มเป็นร้อยกรอง( ทีเป็นตำนานที่เล่าดดยนักแสวงบุญแต่ละคนจากซัทเธิร์ด ในลอนดอนที่เินทางกันไปแสวงบุญที่ซาเปลของนักบุญทอมัส เบ็ดเค็ทที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี ไตำนานแคนเตอร์บรี" เขียนเป็นภาษาอังกฤษสมัยกลาง เรื่องราวต่างถือกันว่าเป้นหนึงในมหาวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจาก "ตำนานสิบราตรี" ที่เขียนโดยกวีชาวอิตาลี จิโอวานนิ โบคคาชโช ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่กล่าวกันว่าชอเซอร์ได้อ่านเมื่อเดินทางไปท่องเที่ยวในอิตาลีก่อนหน้านั้น แต่ผุ้ที่เล่าเรื่องในตำนานของชอเซอร์เป็น "มนุษย์เดินดิน" แทนที่จะเป็นเรื่องของชนชั้นขุนนางเช่นใน "ตำนานสิบราตรี" ของโบคคาชโช
         https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B5
เรื่องย่อ ในวันหนึ่งในเดือนเมษายนกลุ่มนักแสวงบุญพบปะกันหน้าโรงแรมทาบาร์ดไม่ไกลจากลอนดอนพร้อมกับเจ้าของโรงแรม เืพ่อจะเดินทางจากลอนดอนไปยังแคนเอตร์บรี เพื่อจะไปสักการะหลุ่มศพของนักบุญทอมัส เบ็ดเค็ทที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี ชอเซอร์บรรยายสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอย่างละเอียดที่มาจากชนชั้นต่างๆ ทั้งชนชั้นสูง ชั้นกลาง และชั้นต่ำ ที่ีอาชีพต่างๆ กันทั้งนักบวช แม่ชี คนเรือ คนสีข้าว ช่างไม้ เจ้าหน้าที่ ผุ้ดีท้องถ่ิน อัศวิน และอื่นๆ แฮรี เลลีย์เจ้าของโรงแรมเสนอให้ทุกคนในกลุ่มเล่าเรื่องของตนเองระหว่างการเดินทางซึ่งก็เป็นที่ตกลงกันว่าแต่ละคนเล่าเรื่องคนละสีเรื่องสองเรื่องขาไปและอีกสองเรื่องขากลับผุ้ที่เล่าเรื่องที่น่าฟังที่สุดที่ตัดสินโดยเบบีย์ก็จะได้กินอาหารฟรีโดยสมาชิกช่วยกันจ่ายให้ ผุ้เล่าเรื่องคนแรกคือ ขุนนาง เื่องแต่ละเรื่องก็สะท้อนให้เห็นถึงฐานะทางสังคมของผุ้เล่า หรือบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เล่าขึ้นเพ่อเสียดสีผ้อื่นในกลุ่ม แต่ในตอนจบก็ไม่มีเรื่องใดที่ได้รับเลือกว่าเป็นเรื่องที่ดีที่สุด และนักแสวดงบุญก็ไม่ได้เล่าเรื่องกันทุกคน ในบทสุดท้ายชอเซอร์ก็กล่าวขอขมาถ้าเรื่องราวที่เล่าไปก้าวก่ายผุ้ใด...

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

Romance

            อัศวิน คือ บรรดาศักดิ์อย่างหนึ่ง พื้นฐานดั้งเดิมของพวกเขา "นักรบ" และไม่ใช่นักรบธรรแต่เปนนักรบบนหลังม้า ซึ่งในยุคสมันนั้นถือว่าเป็นหัวหมู่ทะลวงฟันในสงคราม บรรดาอัสวินในยุคนั้นจะเป็น
เสมือนทหารรับจ้างไปประจำอยุ่ตามปราสาทต่างๆ ตามแต่จะถูกขุนนางคนไหนจ้างไป แต่ถึงจะบอกว่าเป้นนักรบบนหลังม้าแต่ก็ใช่ว่าพวกเขาจะไม่เก่งถ้าไม่มีม้า เพราะคนที่ต้องสวมเกราะเหล็กตั้งแต่หัวจรดเท้าสะพายดาบ รวมๆ หลานสิบกิโลออกไปฟาดฟันในสนามรบเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันๆ ได้ย่อมไม่ธรรมดาอยู่แล้ว เพียงแต่พวกเขาจะแข็.แกร่งมากเมืออยู่บนหลังม้า เรพาะนักรบและม้าติดเกราะในยุคสมัยนั้นไม่ต่างอะไรจากรถที่วิ่งชนคนให้กระเด็นได้ง่ายๆ เมื่ออัศวินได้รับชัยชนะจากการต่อสุ้ (ปบบมีชีวตกลับมา) ก็อาจได้รับเงินทองที่ดิน ตามแต่รางวัลที่ตกลง หรืออาจได้แต่งงานเข้าตระกูลขุนนาง เรพาะใครๆ ก็อยากมีนักรบที่เก่งกล้าไว้ใกล้ตัวในยามมีศึกสงคราม ทำให้มนักรบมากมายที่ใช้สงครามดันตัวเองจากการเป็นชนชั้นล่างขึ้นเป็นลกุ่มชนชั้นกลางในยุคสมัยนั้น ในภายหลังอัศวินจึงไม่ใช่แค่ทหารรับจ้าง แต่อาจเป้นได้ถึงขุนนางผุ้ครองที่ดินมีปราสาทมีเขตแดนของตัวเอง
           ระบบวีรคติ  อย่างที่เราทราบกันดีว่าแผ่นดินยุโรปในยุคสมัยนั้นมีสองสิ่งเป็นส่ิงยึดเหนียวของคนทั่วไป นั้นคือ ศาสนาคริสต์และสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทั้สองอย่างต่างก็มีความสัมพันะ์กันอย่างใกล้ชิด และใช้อัศวินเป็นเครื่องมือในการทำสงครามเหมือนกัน อัศวินในสังกัดจึงเป็นทั้งหยาตาของกษัตริย์และศาสนาด้วย จึงต้งอมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อประชาชนทั่วไป ระบบวีรคติจึงถุกสร้างมา (แน่นอนว่ามันถุกใช้เพื่อควบคุมพฤติกรรมอัศวิน้วย) โดยอัศวินที่ดีจะต้องเก่่งกาจ กล้าหาญ เด็ดขาด มีวินัยในฐานะนักรบ แต่ก็ต้องมีความสุภาพ เมตตา เสียสละ ให้เกี่ยรติแก่ข้าศึกเมืองอีกฝ่ายยอมแพ้ ช่วยเหบลือเมือสตรีตกอยู่ในอัตราย ปกป้องคนชรา เด็ก หญิงหม้าย เป้ฯที่พึงพิงในแก่คนอ่อนแอ
         http://www.enter-books.com/chivalry_knight/
ด้วยเหตุนี้จึงมีบรรดาตำนานเรื่องเล่าต่าง ๆเกี่ยวกับอัศวินที่เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญอยู่เต็มไปหมด เพราะมันคือเงือนไขสำคัญในการเป้นอัศวินนันเอง และชุดเกราะกับม้ก็เป็นเครื่องแบบที่ทุกคนต้องมี จึงกลายเป้นภาพจำของทุกคนว่ากองทัพอัศวินขี่ม้าคือผุ้ผดุลคุณธรรมที่แสนกล้าหาญแต่ภายหลังการที่นักรบทั่วไปจะก้าวไปเป็นอัศวินด้ยตนเองจะไม่ง่ายอีกแล้ว เรพาะรรดาขุนนางจะให้ลูกหลานตนเองมาฝึกเป็นอัศวินตั้งแต่อายุไม่ถึงสิบปี โดยให้ฝึกกับอัศวินตัวจริง และการห้าม้าและชุดเกราะที่ดีก็เกิดกำลังกว่าคนยากจนจะหาได้..
         
        Sir Gawain and the Green Knight  เป็นเรื่องของเซอร์กาเวน หลายชายของกษัตริย์อาเธอร์ ที่ประลองกับอัศวินมรกต ซึ่งว่ากันว่า "ดูลาฮาน" กำเนิดจากตำนานเรื่องนี้เช่นกัน
          อัศวินมรกตได้ทำการท้าเซอร์กาเวน หนึ่งในอัศวินโต๊ะกลมหใ้ต่อสู้กันด้วยเงื่อไขที่ว่าใครก้ตามที่ตายในครั้งนี้จะถือว่าเป็นการตายเอง ไม่มีผุ้ใดสังหาร ด้วย กฎ "a year and one day " ซึ่งถ้าพ่ายแพ้จะหมายถึงการสูญเกี่ยติแห่งนักรบ แต่เซอร์การเวนก็ยังวรับยคำท้านี้ เซอร์กาเวนรับขวานมาจากอัศวินมรกต และต่อสุ้กันในเวลาไม่นาน เขาก็ฟันหัวอัศวิน
          มรกตขาดในฉับเดียว ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป้นการรักษาสัญญาที่ว่าผุ้แพ้จะต้องตายด้วยกฎ นี้ อัศวินมรกต จึงก้มลง ห้ิวหัวตอนเองแ ละควบทยาม้าออกไป
          เพื่อไม่ให้ใครรุ้ว่าตนสิ้นใจ้อวยคมดาบแห่งเซอร์กาเวน ทางด้านเซอร์การเวนก็ถึงกับทึ่งในสัจจะของอัศวินมรกต จึงเล่าเรื่องของอัศวินมรกต ให้กษัตริย์อาเธอร์ฟัง พอกษัตริย์ อาเธอร์ได้ผฟังจึงเล่าเรื่องี้ต่อๆ ไป เพื่อยกย่องเซอร์กาเวนในความเก่งกาจและความซื้อสัตย์ของอัศวินมรกต...https://sites.google.com/site/zakurakamisama/sir-gawain-and-the-green-knight
       หรืออีกเรื่องหนึ่ง  A Knight's Tale ซึ่งถูกนำมาทำเป็นภาพยนต์ในปี 2544
     
 " ถ้ามีความศรัทธา มนุษย์สามารถทำได้ทุกอย่าง" แธ๊ตเขอร์ผุ้ยากจนกล่าวกับบุตรชายเช่นนั้น "มนุษย์สามรถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมได้" แต่ในยุโรป ยุคสตวรรษ?ี่ 14 ชะตากรรมมีิอาจกำหนด เพราะชะตากรรมมนุษย์ได้ถุกกำหนดไว้แล้ว
          สำหรับวิลเลียม บุตรชายแธ๊ตเชอร์ที่ยากไร้ ผุ้มีชาติกำเินดแสนต่ำต้อย มันดุเป็นเาืองที่ยากจะเข้าใจที่เขาจะทำใจรับได้ว่าความฝันที่จะได้เป็นอัศวินนั้นเป็นเพียงความฝันล้มๆ แล้ง ๆในวัยเด็กในยุคสมัยที่การเลื่อนสถานะยังไม่ใช้แนวคิดที่ผุ้คนยอมรับได้ ชะตากรรมจึงมิอาจเปลียนแปลงในชั่วข้ามคือนผุ้คนต้องตายไปในสถานะเดิมกับเมืองถือกำเนิดมา นันคือข้อกำหนดแห่งธรรมชาติ ซึ่งในภายหลังวิลเลี่ยมก็สามารถยกระดับฐานนะของตนขึ้นสูงกว่าเดิม...https://www.siamzone.com/movie/m/410
         รายการ นิยายวิรคติในสมัยกลางของยุโรป อาทิ
         - Chrétien de Troyes, Lancelot-Grail, Perceforest, The Knight in the Panther's Skin, Valentine and Orson , King HornThe Squire of Low Degree,Roman de la Rose , เป็นต้นhttps://en.wikipedia.org/wiki/Chivalric_romance
         
       

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...