รัฐอิสลามอิรักและลิแวนด์ Islamic State of Iraq and the Levant : ISIL หรือ รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย Islamic State of Iraq and Syria :ISIS, รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม Islamic State of Iraq and Syria :IS เป็นกลุ่มก่อการร้ายและกองกำลังติดอาวุธข้ามชาติที่ดำเนินการตามแนวคิดญิฮัดซาลาฟี ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีจากประเทศอิรักและซีเรีย เป็นผู้นำและเป็นกำลังส่วนใหญ่ ในปี 2015 "ไอเอส" ควบคุมดินแดนที่ประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิสถาน ผ่านกุ่ม ้องถ่ินที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเซียใต้
กลุ่มรัฐอิสลาม หรือ กลุ่มไอเอส Islamic State เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มนักรบหลายเครือข่ายถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สงครามอิรักเมือปี 2003 เดิมทีเป็นเครือข่ายของกลุ่มอัลกออิดะห์ประจำอิรัก ต่อมาแยกมาตั้งกลุ่มใหม่และค่อยๆ แข็งแกร่งขึ้นและมีบทบา มากกวากลุ่มอัลกออิดะฮ์เดิม ซึ่งกลุ่มไอเอมีควใามสามารถในกาปลุกระดมนักรบจากทั่วโลก ทั้งจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลางหรือแม้แต่ประเทศออสเตรเลีย ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่นที่เปลี่ยนมานับถืออิสลาม ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์
ผู้นำ "ไอเอส"คนปัจจุบัน คือ อาบู บากา แบกดาดี ชาวอาหรับเชื้อสายจอร์แดน ซึ่งประกาศตนเป็นกาหลิบ (ผู้ปกครองชาวมุสลิมทั่วทุกหนแห่ง) ในเมืองโมซุลของประเทศอิรักเมือปี 2014 เขาเป็นบุคคลลักลับ ทำตัวเงียบๆ ไม่ขอบสังคม ทางการหสรัฐรู้ข้อมูลของเขาน้อยมาก รู้เพียงเกิดในอิรักและจบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านศาสนาจากมหาวิทยาลัยในกรุงแบกแดด อิรัก เคยประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการควบคู่ไปกับการเป็นครูสอนศาสนาที่เชี่ยวชญด้านวัฒนธรรมและกฎหมายอิสลาม เข้ากับกลุ่มกบฎเพื่อต่อต้านสหรัฐอเมริกา หลังจากทหารอเมริกันบุกิรักเพื่อโค่นล้ม ซัดดัม ฮุสเซน ภายหลังถูกควบคุมตัวในเรือจำของกองทัพสหรัฐ เขาก้าวขึ้นเป็ฯผู้นำกลุ่มติดอาวุธกลุ่มหนึ่ง ก่อนจะร่วมมือกับกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ โดยใช้ชื่อกลุ่มว่ารัฐอิสลามแห่งอิรักเมือง พ.ศ.2011
กลุ่มไอเอสมีจุดมุ่งหมายในการสถาปนารัฐอิสลาม ที่ปกครองโดยผุ้นำการเมือง และผุ้นำศาสนาเพียงคนเดียวตามหลักกฎหมายอิสลาม หรือ "ชารีอะฺฮ์" แปลว่า "ทางไ หรือ "ทางไปสู่แหล่งน้ำ" กฎหมายชารีอะฮฺ คือดครงสร้างทางกฎหมายที่ครอบคลุมวิถุการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชนที่มีพื้นฐานมาจากหลักนิติศาสตร์ ของศาสนาอิสลามสำหรับใช้โดยมุสลิม กฎหมายชารีอิฮ์ครอบคลุมด้านต่างของชีวิตประจำวันที่รวมทั้งระบอการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการดำเนินธุรกิจ ระบบการธนาคาร ระบบการทำสัญญา ความสัมพันธ์ในครอบครัว หลักของความสัมพันธ์ทางเพศ หลักการอนามัย และปัญหาของสังคม กฎหมยชารีอะฮ์ในปัจจุบันเป็นกฎหมายที่ปรากฎบ่อยที่สุดของระบกฎหมายของโลกพอไ กับคอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์ ในระหวางยุคทองของอิสลาม กฎหมายอิสลามอาจถือว่ามีอิทธิพลต่อวัวิัฒนาการของคอมมอนลอว์อีกด้วย
อาจกล่าวได้ว่า จุดมุ่งหมายหลักของกลุ่มไอเอส คือการจัดตั้ง "รัฐอิสลาม" ทั่วพื้นที่ประเทศอิรักและประเทศซีเรีย ดดยเกฐภาษีกฎหมายอิสลามในเมือง แยกเด็กชายและหญิงออกจากกันในการศึกษาในดรงเรียน รวมทั้งกำหนดให้สตรีต้องสวมผ้ากลุ่มหน้าญิฮาในที่สาธารณะ ไอเอส ประกาศว่าจะทำลายพรมแดนของปรเทศจอร์แดนและเลบานอน พร้อมทั้งปลดปล่อยปาเลสไตน์ "ไอเอส" สามารถดังเสียงจากมุสลิมได้ทั่วโลก โดยเรียกร้องให้คนทั้งหมดเชื่อฟังต่อผุ้นำของกลุ่ม มีการประเมินว่า ไอเอส ยึดครองพื้นที่กว่า 40,000 ตารางกิโลเมตร บางคนก็ว่าถึง 90,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งในอิรักและซีเรีย เชื่อกันว่ามีคนประมาณ 8 ล้านคน ที่อาศัยอยุ่ในพื้นที่การควบคุมของกลุ่มไอเอส และอยู่ภายใต้การปกครองของกฎหมายชารีอะฮ์ นักรบไอเอส คาดการณ์ว่ามีราว 31,000 คน ทั้งประเทศอิรักและซีเรีย ซึ่งเป็นนักรบต่างชาติกว่า 12,000 คน จากประเทศต่างๆ อย่างน้อย 18 ประเทศ
ไอเอสตีความศาสนาอิสลามในแง่มุมที่ต้อต้านชาติตะวันตกอย่างสุดโต่ง สนับสนุนการใช้ความรุนแรง และกล่าวหาคนที่ไม่เห็นด้วยกับการตีความของพวกตนว่าเป็นพวกนอกรีตหรือคนไม่มีศาสนา
2 กันยายน 2021 นักรับจีฮัดทัวโลกต่างเฉลิมแลองหลังกลุ่มตาลีบันได้กลับขึ้นสู่อำนาจในอัฟกานิสถานอีกครั้ง ผุ้เชียวชาญต่างหวั่นเกรงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดยุคใหม่ของอุดมการณ์จีฮัด หรือการำสงครามศักดิ์สิทธิของชาวมุสลิมขึ้นในภุมิภาคตะวันออกกลางและเอเซียกลาง ทั้งจากกลุ่ม อัลเคดา และ ไอเอสในข้อตกลงที่ตาลีบันทำกับสหรัฐฯ คือรับปากว่าจะไม่ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มสุดดต่งที่มีเป้าหมายในการโจมตีชาติตะวันตก อย่าไรก็ตามสายสัมพันธืของตาลีบันกับกลุ่ม อัลเคดายังคงแน่นแฟ้น
กลุ่มไอเอสเค ISKP กลุ่มรัฐอิสลามแห่งจังหวัดโคราซัน ( เป็นกลุ่มติดอาวุธในท้องถิ่นทีปฏิบัติการอยุ่ทั้งในอัฟกานิสถานและปากีสภาน และเป็นกลุ่มที่เขั้าร่วมกับกลุ่ม ไอเอส ไอเอส-เค ถือเป็นหลุ่มนักรบสุดโต่งและรุนแรงมากที่สุดในบรรดากลุ่มนักรบจีฮัดในอัฟกานิสถาน ก่อตั้งกลุ่มาตั้งแต่ มกราคม 2015 ) ก่อเหตุโจมตีพื้นที่รอบนอกสนามบินกรุงคาบูลในวันที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา ผุ้เสียชีวิต 170 คน 13 คนเป็นเจ้าหน้าที่สกรัฐฯ
ลักษณะที่เหมือนกันของ ตาลีบัน, อัลเคดาและไอเอส คือแนวคิดของศาสนาอิสลามนิกายซุนนีแบบแข็งกร้าว อาจารย์จากมหาวิทยาลับชื่อดังแห่งลอนดอน ระบุว่า "ทั้งสามกลุ่มเชื่อว่าชีวิตทางสังคมและากรเมืองไม่สามรถแยกออกจากชีวิตทางศาสนาได้"
"พวกเขาเชื่อว่าความารุนแรงในนามของศาสนาดเป็นสิ่งชอบธรรม และยังเป็นภาระหน้าที่ ผุ้ที่ไม่สุ้
รบคือมุสลิมที่ไม่ดี"และเขายังบอกว่า แนวคิดดังกล่าวเกิดจากการตีความตามตัวอักษรศักดิ์สิทธิที่เขียนขึ้นในบริบที่มีภัยคุกคามแตกต่างออกไป แม้จะมีแนวคิดตรงกันในเรืองนี้แต่ ตาลีบัน,อัลเคดาและไอเอส กลับมีความสุดโต่งที่แตกต่างกันเมืองพิจารณาจากเป้าหมายของกลุ่ม ซึ่งบรรดาผุ้เชี่ยวชาญชี้ว่าเป็นความแตกต่างที่สำคัญของทั้งสามากลุ่มนี้ ซึ่งในขณะที่ผลประโยชน์ของตาลีบันจำกัดอยุ่ในอัฟกานิสถาน แต่อัลเคดาและไอเอสกลับมีเป้าหมายระดับโลก
ตาลีบันเคยบังคับใช้กฎหมารยชารีอะห์ ในยุคเรืองอำนาจเมืองช่วงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งมีข้อบังคับเข้มงวดและบทลงโทษรุนแรง ชาวอัฟกานิสถานเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีกจึงอพยพออกนอกประเทศ
ผุ้เชี่ยวชาญด้านก่อการร้ายและตะวันออกกลางแห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ระบุว่า หลักการขอกลุ่มอัลเคดาและไอเอสมีความสุดโต่งยิ่งกว่า เขากล่าวว่า "ในขณะที่ตาลียันมุ่งเป้าฟื้นฟูอัฟกานิสถานให้กลับคืนสู่สังคมมุสลิมในอุดมคติแบบในอดีต แต่กลุ่มไม่พยายามที่เปลี่ยนประเทศอื่นๆ แม้ทั้งอัลเคดาและไอเอส จะมีเป้าหมายในการสร้างรัฐอิสลามไปทั่วโลก แต่ก็มีความคิดที่แตกต่างกัน "ในขณะที่ไอเอสต้องการสร้างรัฐอิสลามขึ้นตอนนี้ แต่อัลเคดาคิดว่ายังเร็วเกินไป พวกเขาเชื่อว่ากลุ่มนักรบจีฮัดและสังคมมุสลิมยังไม่พร้อม และมันไม่ใช่เรื่องสำคัญอันดับแรกของพวกเขา"
ทั้งสามกลุ่มนี้ มีศตรูที่สำคัญร่วมกัน สหรัฐฯและชาติตะวันตก และกลุ่มพันธมิตรของประเทศเหล่านี้ที่มีแนวคิดเรืองการแยกรัฐออกจากศาสนา
ผู้เชียวชาญยังกล่าวต่อไปว่า "ตั้งแต่ต้น ไอเอสมีความรุนแรงมากกวาอัลเคดา" โดยนอกจากจะทำสงครามกับโลกตะวันตกแล้ว ยังทำสงครามกับชาวมุสลิมที่ไม่มีอุดมการณืเดียวกัน อีกความต่างที่สำคัญคือ ในขชณะที่สหรัฐฯ เป็นศัตรูสำคัญของอัลเคดา ไอเอสยังโจมตีชาวมุสลิมนิกายชีอะห์และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในศาสนาอิสลามในภูมิตะวันออกกลาง "แม้ว่าอัลเคดามองว่าชาวชีอะห์ฺเป็นละทิ้งศาสนา แต่ก็เชื่อว่าการเข่นฆ่าคนเหล่านี้เป็นเรื่องสุดโต่งเกินไป เป็นการสิ้นเปลื่องทรัพยากรและเป็นภัยต่อแผนการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์"
การที่ตาลีบันกลับขึ้นสู่อำนาจได้ทำให้เกิดความเห็นต่างยิ่งขึ้นเพราะไอเอสมองว่า ตาลีบันเป็น"ผู้ทรยส"จาการยอมเจรจาแผนการถอนกำลังทหารกับสหรัฐฯ
ที่มา : วิกิพีเดีย
https://www.bbc.com/thai/international-58418849
chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=31747
https://www.bbc.com/thai/international-58317645