วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Liberalism

           ภาวะเศราฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในปี 1929 ซึ่งเร่ิมขึ้นภายใต้การนำของประธานาธิบดี เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ แห่งพรรค รีพับลิกัน และรัฐสภาของพรรครีพับลิกันได้้สร้างเวทีสำหรับรัฐบาลเสรีนิยมมากขึ้น เนื่องจากพรรคเดโมแครตควบคุมสภาผู้แทนราษฎรอย่างแทบไม่หยุดชะงักตั้งแตปี 1930 ถึงปี 1994 เป็นเวลา 44 ปี จากทั้งหมด 48 ปี  กระทั้งการมาถึงของ แฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ ได้รับเลือกเป้นปรธานาธิบดีในปี 1932 

           แฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ Franklin D. Roosevelt "FDR" เป็นนักการเมืองชาวอเมริกาที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1933 กระทั้งเสียชีวิตในปี 1945 เป็นประธานาธิบดีที่่ำรงตำแนห่งยาวนานที่สุด และเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งมากกว่า 2 วาระ  โดยสองวาระแรกเขา มุ่งเน้นไปที่การต่อสุ้กับภาวะเศราฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ในขณะที่วาระที่สามและสี่ของเขา เน้นไปที่การมีส่วนร่วมของอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 

            รูสเวลต์ เสนอนโยบาย นิวดีล เป็นนโยบายเสรีนิยมที่หมายถึงการควบคุมธุรกิจ (โดยเฉพาะการเงินและการธานาคาร) และการส่งเสริมสหภาพแรงงาน รวมถึงการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางเพื่อช่วยเหลือผุ้ว่างงาน ช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อน และดำเนินโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่่ ซึ่งถือเป็นจุดเร่มต้นของรัฐสวัสดิการของอเมริกา ฝ่ายต่อต้านที่เน้นการต่อต้านสหภาพแรงงาน การสนับสนุนธุรกิจ และภาษีต่ำ เร่ิมเรียกตัวเองว่า "อนุรักษ์นิยม"

           กระทั่งช่วงทศวรรษท 1980 พรรคเดโมแครตเป็นแนวร่วมของพรรคการเมืองสองพรรคที่แบ่งแยกกัน


ตามแนวทาง เมสัน-ดิกสัน ได้แก่ พรรคเดโมแครตเสรีนิยมทางเหนือและผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อนุรักษ์นิยมทางวัฒนธรรมทางใต้ ซึ่งแม้จะได้รับประดยชน์จากโครงการสาธารณูปโภคของ นโยบายนิวดีลจำนวนนมาก แต่ก็คัดค้่าน การริเร่ม สิทธิพลเมือง ที่เพิม่มากขึ้น ซึ่งสนับสนุนโดยพรรคเสรีนิยมทางตะวันออกเฉียงเหนือ ความขัดแย้่งรุนแรงขึ้นหลังจากที่รูเวลต์เสียชีวิต พรรคเดโมแครตทางใต้เป็นส่วนสำคัญของแนวร่วมอนุรักษ์นิยม สองพรรค ในพันธมิตรกับพรรครีพับลิกัน ในแถบมิดเวสต์ส่วนใหญ่ ปรัชญาการเคลื่อหนไหวทางเศราฐกิจของ รูสเวลต์ ส่งอิทธิพลอย่างมาก ต่อ เสรีนิยมอเมริกัน ได้กำหนดวาระทางเศราฐกิจของพรรคเป็นส่วนใหญ่หลังปี 1932 ตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ถึกลางทศวรรษท 1960 แนวรวมเสรีนิยมนิวดีล มักควบคุมตำแหน่งประะานาธิบดี ในขณที่แนวร่วมอนุรักษ์นิยมมักควบคุมรัฐสภา

           เสรีนิยมในสหรัฐอเมริกา มีพื้นฐานอยู่บนแนวคิดเรื่องสิทธิของปัจเจกบุคคลที่ไม่สามารถโอนให้ผุ้อื่นได้ อุดมคติเสรีนิยมพื้นฐานเกี่ยวกับเสรีภาพในการพุดเสรีถาพของสื่อ เสรีภาพในการนับถือศาสนาการ แยก ศาสนากับรัฐสิทธิในการดำเนินกระบวนการทาง กฎหมาย และความเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นรากฐานร่วมกันของเสรีนิยมซึ่แตกต่างจากเสรีนิยมทั้วโลกเนื่องจากสหรัฐอเมริกาไม่เคยมีชนชั้นสุง ที่สือบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษและหลีกเลี่ยงสงครามชนชั้นที่เกิดขึ้นในยุโรปได้มาก ตามที่นักปรชญาชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า "พรรคการเมืองทั้งหมดของสหรัฐฯ เป็เสรีนิยมและเป็นเช่นนั้นมาโดยตลอดโดยพื้นฐานแล้วพรรคการเมืองเหล่านี้สนับสนุนเสรีนิยมแบบคลาสสิก ซึ่งเป็นรุปแบบหนึ่งของรัฐะรรมนูยแบบ "วิก" ( Whiggism หรือ Whiggeryเป็นปรัชญาการเมืองที่เติบโตมาจาก
กลุ่มฝ่าย รัฐสภาในสงครามสามก๊ก 1639-1651 กลุ่ม Whigs สนับสนุนอำนาจสูงสุดของรัฐสภา ตรงข้ามกับอำนาจของกษัตริย์ การยอมรับผุ้เห็นต่างที่เป็นโปรเตสเตนต์ และการต้ต้าน นิกายโรมันคาะอลิก บนบัลลังก์ โดยเฉพาะพรเจ้าเจมส์ที่ 2 หรือพระโอรสของพระองค์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมในยุคแรก  ) ที่ประชาธิปไตย บวกกับตลาดเสรี จุดที่แตกต่างกันนี้เกิดจากอิทธิพลของเสรีนิยมทางสังคมและบทบาทที่เหมาะสมของรัฐบาล

            ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมา คำว่า เสรีนิยมมักใช้โดยไม่มีคำคุณศัท์ในสหรัฐฯ เพื่ออ้างถึงเสรีนยิมสมัยใหม่ ซึงเป็นเสรีนิยมประเภทหนึ่งที่สนับสนุน เศรษฐกิจ ตลาดที่มีการควบคุมและการขยายิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยถือวาประดยชน์ส่วนรวมนั้นสอดคล้องหรือเหนือกว่าเสรีภาพของปัจเจกบุคคล ปรัชญาการเมืองนี้เป็นตัวอย่างจากนโยบาย 

          New Deeal  ของ "รูสเวลต์" โครงการสาะารณะการปฏิรุปทางการเงิน และกฎระเบียบ Great Society ของ Lyndon B. Johnson  เป้าหมายหลักคือการขจัดความจนและความอยุติะรรมทางเชื่อชาติโดยสิ้นเชิง และ WorksProgress Administration WPA เป็นการจ้างงานคนหางานหลายล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผุ้ชายที่ไม่ได้รับการศึกษา เพื่อดพำเนินโครงการสาธารฯูปโภค รวมถึงการก่อสร้างอาคารสาธารณะและถนน Social Security Act of 1935 พระราชบัญญัติประกันสังคม ปี 135 เป็นกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาชุดที่ 74 ของสหรัฐฯ และงนามเป็นกฎหมายโดยประธานาธิบดี รูสเวลต์ กฎหมายนี้สร้าง โตรงการประกันสังคมรวมถึงประกันการว่างงานกฎหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการในประเทศ ของ รูสเวลต์ ภายใต้นโยบายนิวดีล ตลอดจน Civil Right และ Vote Right เสรีนิยมประเภทนี้เรียกอีกอย่างว่า  "เสรีนิยมสมัยใหม่" เพื่อแยกความแตกต่างจากเสรีนิยมแบบคลาสิสิกซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับอนุรักษนิยมแบบอเมริกันสมัยใหม่

            ปัจจุบัน เสรีนิยมอเมริกันสมัยใหม่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่นการแต่งงานของเพศเดียวกัน สิทะิของ บุคคลข้ามเพศการยกเลิกโทษประหารชีวิตสิทธิในการสืบพันธุ์และสิทธิสตรี อื่นๆ สิทธิในการลงคะแนนเสียงของพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคน สิทธิพลเมืองความยุติะรรมด้านสิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองสิทธิในการมีมาตฐานการครองชีพที่เหมาะสม ของรัฐบาล บริการสังคมแห่งชาติเช่น โอกาสทางการศึกาาที่เท่าเที่ยมกัน การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนสง มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองต่อความรับผิดชอบในการส่งเสริมสวัสดิการทั่วไปของพลเมืองทุกคนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาเสรีนิยมบางคนที่เรียกตัวเองว่า เสรีนิยมคลาสสิกอนุรักษ์ นิยมทางการเงินหรือ เสรีนิยมเห็นด้วยกับอุดมคติเสรีนิยมเพื้นฐาน แต่แตกต่างจากความคิดเสรีนิยมสมัยใหม่ด้วยเหตุผลที่ว่าเสรีภาพทางเศรษฐกิจ มีความสำคัญมากกว่าความเท่าเทียมทางสังคม...

                  ที่มา : ;วิกิพีเดีย



วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Populism..(elite)

          ประชานิยมและองคาพยพต่างๆ 

           The people ประชาชน 

            สำหรับประชานิยม "ประชาชน" ถูกมองว่าเป็นเนื้อเดียวกัน และยังมีคุณธรรมอีกด้วย แนวคิดเรื่อง "ประชาชน"นั้นคลุมเครือและยืดหยุนได้  ซึ่งความยืดหยุนเป้นประโยชน์ต่อนักประชานิยมา และสามารถ "ขยายหรือย่อ" แนวคิดให้เหมาะกับเกณฑ์ที่เลือกสำหรับการรวมหรือการกีดกัน ในเวลาใดก็ได้ ในการใช้แนวคิดเรื่อง "ประชาชน" นักประชานิยมสามารถส่งเสริมความรู้สึกถึงเอกลักษฒ์ร่วมกันระหว่างกลุ่มตางๆ ภายในสังคม และอำนวยความสะดวกในการระดมพลเพื่อมุ่งสู่จุดหมายร่วมกัน 

           วิธีหนึ่งที่นักประชานิยมใชความเข้าใจเรื่อง "ประชาชน" คือแนวคิดที่ว่า ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในรัฐประชาธิปไตย การตัดสินใจของรัฐบาลควรขึ้นอยุ่กับประชาชนและหากพวกเขาถูกเพิกเฉย พวกเขาอาจระดมพลหรือกก่อกบฎ นี้คือความหมายของ "ประชาชน" ที่พรรคประชาชนใช้ในช่วงปลายศตควรรษที่ 19 ในสหรัฐอเมริกา และยังใช้โดยขบวนการประชานิยมในภายหลังในประเทศนั้นด้วย

               วิธีที่สอง ที่นักประชนิยมคิดว่า "ประชาชน" คือการรวมหมวดหมู่ตามสังคมเศราฐฏิจหรือชนชั้นเข้ากับหมวดหมู่ที่อ้างถึงประเพณีวัฒนธรรมและค่านิยมที่เป็นที่นิยมบางประการ แนวคิดนี้มุ่งหวังที่จะพิสุจน์ศักดิ์ศรีของกลุ่มสังคมที่มองว่าตนเองถูกกดขี่โดย "ชนชั้นสูง" ที่มีอำนาจ ซึ่งถูกกว่างหาว่าปฏิบัติต่อค่าานิยม การตัดสิน และรสนิยมของ "ประชาชน" ด้วยความสงสัยหรือดุถูก นักประชานิยมยังใข้คำว่า "ประชาชน" เป็นคำพ้องความหมายกับคำว่า "ชาติ" ไม่ว่าจะในแง่ ชาติพันธุ์ หรือ พลเมืองก็ตาม ในกรอบดังกล่าว บุคคลทุกคนที่ถือว่าเป็น "คนพื้นเมือง" ของรับใดรัฐหนึ่ง ไม่ว่าจะโดยกำเนิดหรือโดยชาติพันธุ์ ก็สามารถถือได้ว่เป็นส่วนหนึ่งของ "ประชาชน" 

           ประชานิยมโดยทั่วไปหมายถึงความ "การยกยองพวกเขาในฐานะประชาชน" ถ่ินที่อยุ่อาศัยของประชาชน ซึ่งถุกเสนอคำว่า "หัวใจ" แทนคำว่าที่อยู่อาศัย เพื่อสะท้อนความหายของนักประชานิยมในวาทศิลป์ของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น "หัวใจคือสถานที่ที่ในจินตนาการของนักประชนิยม ประชากรที่มีคุณธรรมและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอาศัยยอยู่ ดังนั้น หัวใจในหมุ่นักประชานิยม อาจแตกต่างกันไป แม้ในประเทศเดียวกัน มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สำหรับนักประชานิยมแล้วว "ประชาชน" ไม่ใช่ทุกอย่าง แต่เป็นกลุ่มย่อยที่ถูกสร้างขึ้นจากประชากรทั้งหมด พวเกเขาเป็นชุมขนในจินตนาการที่ได้รับการโอบรัดและส่งเสริมโดยชาตินิยม

           นักประชานิยมมัพยายามเปิดเผยให้ "ประชาชน" ทราบว่าพวกเขาถูกกกอขี่อย่างไร ในการทำเช่นนี้ พวกเขาไม่ได้พยายามเปลี่ยนแปลง "ประชาชน" แต่พยายามรักษา "วิถีชีวิต"ของประชาชนไ ไว้ในรูปแบบปัจจุบัน โดยถือว่าเป็นแหล่งที่มาของความดี สำหรับนักประชานิยม วิถีชีวิตของ "ประชาชน" ถูกนำเสนอว่ามีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์และประเพณี และเอื้อประโยยชน์ต่อสาธารณะ

            ประชานิยมยังแบ่งเป็นรูปแบบ "รวม" และ "แยก" ซึ่งให้ความหมาย "ประชาชน" แตกต่างกัน ประชนิยมแบบรวมมีแนวโน้มที่จะกำหนด "ประชานไ ในวงกว้างกว่า โดยยอมรับและสนับสนุนกลุ่มชนกลุ่มน้อยและกลุ่มที่ถูกละเลย ในขณะที่ประชานิยมแบบแยกจะกำหนด "ประชาชนไ ในความมหายทีแคบกว่า โดยทั่วไปจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มสังคมวัฒนะรรมเฉดพาะและต่อตจ้านกลุ่มชนกลุ่มน้อย อย่างไรก็ตามนักประชานิยมยังสามารถรวมผุ้ที่รู้สึกถูกละเลยจากสถานทางการเมืองได้หากเป็นประโยชน์ ในขณะท ี่นักประชานิยมแบบรวมกลุ่มอาจมีความแตกต่างกันย่างมากในแง่ของการรวมกลุ่มที่แท้จริง นอกจากนี้ ประชานิยมทุกรูปแบบล้วนมีลักษณะกีดกันโดยปริยาย เนื่องจากประชานิยมเหล่านี้กำหนดนิยามของ "ประชาชน" เที่ยบกับ "ชนชั้นสูง" นักวิชาการบางท่านจึงโต้แย้งว่า ความแตกต่างระหวางประชานิยมไม่ได้อยู่ที่ว่าประชนิยมรูปแบบใดจะกีดกันออกไป แต่อยุ่ที่วาประชนิยมรูปแบบใดจะกีอกันใครออกจากแนวคิดเรือ่ง "ประชาชน" ของประชานิยม

            The Elite "ชนชั้นสูง" 

            การต่อต้านชนชั้นสูงถือเป็นลักษระเด่นที่สำคัญของลัทะิประชนิยม แม้จะมีผู้โต้แย้งว่าไม่ใชัลักษณะของนักประชานิยมเพียงอย่างเดียว มีผุ้กล่าวว่า ในวาทกรรมของลัทะิประชนิยม "ลักษณะเด่นพื้นฐานของชนชั้นสูง คือการที่พวกเขามี ความสัมพันะ์ที่เป็นปฎิปักษ์กับประชาชน ในการกำหนดนิยมของ "ชนชั้นสูง" นักนิยมลัทะิประชานิยมมักจะประณามไม่เฉพาะสถาบันทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชนชั้นสูงทางเศราฐกิจ ชนชั้นสูงทางวัฒนธรรม ชนชั้นสูงทางวิชาการ และชนชั้นสูงทางสื่อ ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นกลุ่มเดียวกันที่ฉ้อฉล ในประชาธิปไตยเสรีนนิยม ประชนิยมมักจะประณามพรรคการเมืองที่มีอำนาจว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "ชนชั้นสูง" แต่ในขณเดียกันก็ไม่ปฏิเสะระบการเมืองของพรรคโดยสิ้นเชิง แต่กลับเรียกร้องหรืออ้างว่าเพรรคประเภทใหม่ที่แตกต่างจากพรรคือ่น แม้จะประณามผุ้ที่มีอำนาจเกือบทั้งหมดในสังคมใดสังคมหนึ่ง จึงเกิดความย้องแย้งเมื่อพวกเขาขึ้นสมาอยุ่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ อาทิ ในออสเตลีย พรรคเสรีถาพแห่งออสเตรีย เป็นกลุ่มประชานิยมขวาจัด มักประฒาม "สื่อ" ในออสเรียที่ปกป้อง "ชนชั้นสูง" แต่ หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางซึ่งสนับสนุนพรรค และผุ้นำ กลับถูกกีดกันออกจากกลุ่มดังกล่าว

           เมื่อนักประชานิยมเข้ายึคดอำนาจรัฐบาล เขาต้องเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากตอนนี้พวกเขาเป็นตัวแทนของชนชั้นผุ้นำกลุ่มให่ เช่น ชาเวซในเวเนวุเอลา และ วลาดิมีร์ เมเซียร์ในสโลวาเกี่ย นักประชนิยมยังคงใช้คำพูดต่อต้านการสถาปนารัฐโดยเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่อง "ชนชั้นนำ" เพื่อให้เหมาะกับ


สถานการณ์ใหม่ ดดยอ้างว่าอำนาจที่แท้จริงไม่ได้ตกเป้นของรับบาล แต่เป็นพลังที่มีอำนาจอื่นๆ ที่ยังคงบ่อนทำลายรัฐบาลประชานิยมและเจตจำนงของ "ประชาชน" เอง ในกรณีเหล่านี้ รัฐบาลประชานิยมมักมองว่า "ชนชั้นนำ" เป็นผุ้มีอำนาจทางเศราฐกิจ  ในขณะที่ กรีซ นายกรัฐมนตรีฝ่ายซ้าอยของประชานิยมกล่าวหา "นักล้อบบี้และกลุ่มผุ้มีอำนาจในกรีซ"ว่าบ่อทำลายรัฐบาลของเขา ในกรณีของัทธิประชานิยมเช่นนี้ ผละประโยชน์ทางธุรกิจพยายามที่จะบ่อนทำลายการปฏิรูปเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นฝ่ายซ้าย 

         แม้ว่ากลุ่มประชานิยมใฝ่ายซ้ายที่ผสมผสามแนวคิดประชานิยมกับรูปแบบสังคมนิยมมักจะนำเสนอ "ชนชั้นสูง" ในแง่เศรษฐกิจ แต่กลุยัุทะเดียวกันนี้ยังใช้โดยกลุ่มระชานิยมฝ่ายขวาบางส่วนด้วย ในสหรัฐเมิรกาช่วงปลายทศวรรษท 2000 ขบวนการ "ที ปาตี้ร์ฺ" ซึค่งแสดงตนเป็นผุ้ปกป้อง ตลาดเสรี แบบทุนนิยม ได้โต้แย้งว่าธุรกิจขนาดใหญ่และพันะมิตรในรัฐสภาพยายามที่จะบ่อนทำลายตลาอดเสรีและทำลายการแข่งขันโดยการปิดกั้นธุรกิจขนาดเล็ก ในกลุ่มประชนิยมฝ่ายขวาในศตวรรษที่ 21 "ชนชั้นสูง" ถูกนำเสนอว่าเป็นพวกหัวรุนแรงฝ่ายซ้ายที่ยึดมั่นใความถูกต้องทางการเมือง ผุ้นำกลุ่มประชานิยมฝ่ายขวาชาวดัตช์เรียกกลุ่มนี้ว่า "คิรสตจักรแห่งฝ่ายซ้าย

          ในละตินอเมริกาและแอฟริกา "ชนชั้นสุง" ไม่พพียงแต่ถูกมองในแง่เศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในแง่ชาติพันธ์ด้วย ซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่นักรัฐศาสตร์เรียกว่าประชนิยมทางชาติพันธุ์ ซึ่งไม่ได้มาพร้อมกับแนวทางการกีดกันทางเชื้อชาติ แต่มาพร้อมกับความพยายามที่จะสร้างพันะมิตรแบบรวมกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่ง"ชนชั้นสูง"ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป 

            ผุ้นำและขบวนการประชานิยมบางกลุ่ม คำว่า "ชนชั้นน" ยังหมายถึงสถาบันทางวิชาการหรือปัญญาชน และในความหมายนั้น หมายถึงนักวิชาการ ปัญญาชน ผุ้เชี่ยวชาญหรือวิทยาศาสตร์โดยรวม ผุ้นำและขบวนการดังกล่าวอาจวิพากษ์วิจารณ์ความรุ้ทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นส่ิงที่เป็นนามธรรม ไร้ประโยชน์ และมีอคติทางอุดมการณ์ และเรียกร้องสำมัญสำนัคความรู้จากประสบการณ์ และวธีแก้ปัญหาในทางปฏิบัติให้เป็น "ความรู้ที่แท้จริง"แทน

            ในหลายกรณี ผุ้สนับสนุนประชานิยมอ้างว่า ไกลุ่มชนชั้นนำ" กำลังทำงานที่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ ตัวอย่างเช่น ในสหภาพยุโปร EU กลุ่มผุ้สนับสนุนประชานิยมต่างๆ อ้างว่ากลุ่มชนชั้นำทางการเมืองในประเทศของตนห้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของสหภาพยุโรปมากว่าผลประโยชน์ของรัฐชาติของตนเอง ในทำนองเดียวกัน ในละตินอเมริกา ผุ้สนับสนุนประชานิยมมักกล่าวหาวากลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเหนอืผลประดยชน์ของประเทศของตนเอง

            กลยุทธ์ทั่วไปอีกประการหนึ่งในหมุ่นักประชนิยม โดยเฉพาะในยุโรป คือการกล่าวหาว่า "กลุ่มคนชั้นสูง" ให้ความสำคัญกับผลประดยชน์ของผู้อพยพมากกว่าผลประโยชน์ของประชากรพื้นเมือง เช่นน นักประชนิยมชาวแซเบียได้แสดงท่าทีต่อต้านชาวต่างชาติระหว่างการณรงค์หาเสียง ดดยเน้นการวิพากษ์วิจารณืชนกลุ่มน้อยชาวเอเชียของประเทศโดยประณามการเป็นเจ้าของธุรกิจและเหมืองแร่ของชาวจีนและชาวอินเดีย ในดอินเดีย ผุ้นำฝ่ายขวาจัดของประชานิยมได้รวบรวมผุ้สนับสนุนต่อต้านผุ้อพยพชาวมุสลิมบังคลาเทศ โดยสัญญาวาจะเนรเทศพวกเขา ในกรณีนักประชนิยมต่อต้าน ชาวยิวด้วย เหตุการ "จ็อบบิก"ในฮังการีและเหตุการณ์โจมตีในลัลแกเลีย ชนชั้นนำจะุฏกล่าวหาว่าสนัีบสนุนผลประโยชน์ของอิสราเอลและของชาวยิวในวงกว้างมากกว่าผลประโยชน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ นักประชานิยมต่อต้านชาวยิวมักกล่าวหาวา "กลุ่มคนชั้นสูง" ประกอบด้วยชาวยิวจำนวนมากเช่นกัน เมื่อนักประชนิยมเน้นย้ำถึงความเป็นชาติพันธุ์เป็นส่วนหนึงของการอภิปราย "ชนชั้นสูง" อาจถูกนำเสนอเป็น "ผู้ทรยศต่อชาติพันธุ์"อีกด้วย

            Genaral will เจตจำนงค์พื้นฐาน

            เจตจำนงค์ทั่วไปจากคำปราศรัยของ ซาเวซ ในปี 2007 เมื่อเขากล่าวว่า "บุคคลทุกคนอยุ่ภายใต้ข้อผิดพลากและการล่อลวง แต่ไม่ใช่ประชาชน ซึ่งมีความสำนึกในความดีของตนเองในระดับสุงและระดับคามเป็นอิสระของตนเอง ด้วยเหตุนี้ การตัดสินใจจึงบริสุทธิ์ เจตจำนงจึงเข้มแข็ง และไม่มีใครสามารถทุจริตหรือคุกคามมันได้ สำหรับนักประชานิยม เจตจำนงทั่วไปของ "ประชาชน" เป็นสิ่งที่ควรมีความสำคัญเหนือกว่าวความต้องการของ "ชนชั้นสูง" 

           แนวคิดประชานิยมเกี่ยวกับเจตจำนงทั่วไปนั้นเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องเสียงข้ามากและความแ้จริง


โดยเน้นย้ำว่านักประชานิยมดึงดูดอุดมคติของ "ความแท้จริงและความธรรมดา" อย่างไร เขาสังเกตว่าสิ่งที่สำคัีญที่สุดสำหรับนักประชานิยมคือ "การดึงดูดความคิดเกี่ยวกับประชาชนที่แท้จริง" และปลูกฝังความคิดที่ว่าพวกเขาเป็นตัวแทน "ที่แท้จริง" ของ "ประชาชน" และระยะห่างจาก "ชนชั้นสุง" มีผุ้ตั้งข้อสังเกตุว่า ในขณะที่นักประชานิยมมักจะใช้วาทกรรมที่เป็นประชาธิปไตย พวกเขามักจะละเลยหรือลดคุรค่าของพรรทัดฐานของประชาธิปไตยเสรีนิยม เช่น เสรรีภาพในการพูด เสรีภาพชของสือ เสรีภาพของฝ่ายค้านที่ถุกต้อง การแบ่งแยกอำนาจ และการจำกัดอำนาจของประธานาธิบดี

         ในการเน้นย้ำถึงเจตจำนงทัวไป นักประชานิยมหลายคนเห็นด้วยกับการวิจารณืรัฐบาลประาธิปไตยแบบมีตัวแทนซึงเคยได้รับการสนับสนุนดดยนักปรชญาชาวฝรั่งเศส แนวทางนี้ถือว่าการปกครองแบบมีตัวแทนเป็นระบบของชนชั้นสุงและชนช้นสุงซึ่งพลเมืองของประเทสถุกมองว่าเป็นหน่วนที่ไม่ทำอะไรเลย แทนที่จะเลือกฎหมายสำหรับตนเอง พลเมืองเหล่านี้จะถูกระดมพลเพื่อการเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งทางเลือกเดียวของพวกเขาคือการเลือกตัวแทนของพวกเขา แทนที่จะมีบทบาทโดยตรงมากขึ้นในการออกกฎหมายและการปกครอง นักประชานิยมมักสนับสนุนการใช้ มาตรการ ประชาธิปไตยตรงเช่น การลงประชามติ "อาจโต้แย้งได้ว่ามีความสัมพันธ์ในการเลือตั้งระหว่างลัทะิประชานิยมและประชาธิปไตยโดยตรง" แม้ว่า "การสนับสนุนประชาธิปไตยโดยตรงไม่ใช่คุณลักษณะที่จำเป็นของลัทธิประชนิยม" แนวคิดประชานิยมเกี่ยวกับ "เจตจำนงค์ทั่วไป" และความเชื่อโยงกับผุ้นำประชนิยมนั้น มักจะอิงตามแนวคิดเรื่อง "สามัญสำนึก" (ในช่วงศตวรรษที่ 18 คำศัพท์ทางปรัชญาเก่าแก่นี้ได้รับความหายในภาษาอังกฤษสมัยใหม่เป็นครคั้งแรกว่า "ความจริงที่ชัดเจนและชัดเจนหรือภูมิปัญญาแบบเดิมที่ไม่จำเป็นต้องซับซ้อนเพื่อเข้าใจและไม่จำเป็นต้องพิสุจน์เพื่อยอมรับ เพราะสิงเหล่านี้สอดคล้องกับความสามารถทางปัญญาพื้นฐาน(สามัญสำนึก)และประสบการณ์ของสังคมดดยรวมเป็นอย่างดี")

            Mobilisation การชุมนุม

            รูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่นักประชานิยมใช้มีอยุ่สามรูปแบบ ได้แก่ ผุ้นำของนักประชานิยม พรรคการเมืองของนักประชานิยม และขบวนการทางสังคมของนักประชานิยม เหตุผลที่ผุ้มีสิทธิเลือกตั้งสนใจนักประชานิยมนั้นแตกต่างกันไป แต่ตัวเร่งปฏิกิริยาทั่วไปสำหรับการเพ่ิมขึ้นของนักประชนิยม ได้แก่ การตกต่ำทางเศราฐกิจอย่างรุนแรงหรือเรืองอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตอย่างเป็นระบบที่ทำลาย
พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้น  ตัวเร่งปฏิกิริยาอีกประการหนึ่งสำหรับการเติบโตของลัทธิประชานิยมคือการรับรุ้ที่แพร่หลายในหมุ่ผุ้มีสิทธิเลือกตั้งว่าระบบการเมืองไม่ตอบสนองต่อพวกเขา สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อรับบาลที่ได้รับการเลือกต้งเสนอนดยบายที่ไม่เป็นที่นิยมในหมุ่ผุ้มีสิทธิเลือกตั้งของตน แต่ได้รับการนำไปปฏิบัติเพราะถือวานโยบายที่ไม่เป็นที่นิยมในหมุ่ผุ้มีสิทธิเลือกตั้งของตน แต่ได้รับการนำไปปฏิบัติเพราะถือว่านโยบายเหล่านั้น "มีความรับผิดชอบ" หรือถุกกำหนดโดยองค์กรเหนือชาติ

           Leader ผุ้นำ

           ลัทธิประชานิยมมักเกี่ยวข้องกับผุ้นำที่มีเสน่ห์และมีอำนาจเหนือกว่า และผุ้นำลัทธิประชนิยมคือ "รูป
แบบการชุนุมแลลลัทะิประชานิยมแบบสมบูรณืแบบ" บุคคลเหล่านี้หาเสียงและดึงดุการสนับสนุนโดยอาศัยอารอุทธรณ์ส่วนตัว จากนัน ผุ้สนับสนุนของพวกเขาจะพัฒนาความสัมพันธ์ส่วนตัวที่รับรุ้ได้กับผุ้นำสำหรับผุ้นำเหล่านี้ วาทกรรมของลัทะิประชานิยมทำให้พวกเขาอ้างได้ว่าพวกเขามีความสัมพันธ์โดยตรงกับ "ประชาชน" และในหลายๆ กรณี พวกเขาอ้างว่าตนเองเป็นตัวแทนของ "ประชาชนไ เอง โดยนำเสนอตัวเองว่าเป็น "เสียงของประชาชน" ผุ้นำประชานิยมสามารถแสดงตนเป็นผุ้กอบกู้ประชาชนได้เนื่องจากความสามารถและวิสัยทัศน์อันโดดเด่นของพวกเขา และด้วยการกระทำดังกล่าว ผุ้นำเหล่านี้จึงสามารถอ้างได้ว่าเสียสละตนเองเพื่อประโยชน์ของประชาชน เนื่องจากความภักดีต่อผุ้นำประชานิยมจึงถือเป็นตัวแทนของความภักดีต่อประชาชน ดังนั้น ผุ้ต่อต้านผุ้นำจึงสามารถถูกตราหน้าว่าเป็น "ศัตรูของประชาชน" ได้ ผุ้นำประชานิยมส่วนใหญ่ เป็นผุ้ชาย แม้ว่าจะมีผุ้หญิงหลายคนดำรงตำแหน่งนี้ ผุ้นำประชานิยมหญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้ตำแหน่งอาวุโสจาการมีสายสัมพันะ์กับผุ้ชายที่เคยมีอำนาจเหนือกว่า 

            Rhetorical styles รูปแบบการพูด

            มีผุ้ตั้งข้อสังเกตว่า นักประชนิยมมักใช้ "ภาษาที่มีสีสันและไม่ใช่การทูตไ เพื่อแยกตัวเองออกจากชนชั้นปกครอง ในแอฟริกา ผุ้นำประชนิยมหลายคนโดดเด่นด้วยการพูดภาษาพื้นเมืองแทนที่จะเป็นภาษาฝรั่งเศสหรืออังกฤษ ผุ้นำประชนิยมมักแสดงตนว่าเป็นคนลงมือทำมากว่าจะพูด โดยพูดถึงความจำเป็นของ "การกระทำที่กล้าหาญ" และ "วิธีการแก้ปัญหาตามสามัญสำนึก" สำหรับปัญหาที่พวกเขาเรียกว่า "วิกฤต ผุ้นำประชานิยมชายมักแสดงออกโดยใช้ภาษที่เรียบง่ายและบางครั้งก็หยาบคารย เพื่อพยายามแสดงตนว่าเป็น "คนธรรมดา" หรือ "หนึ่งในเด็กผู้ชายไ เพื่เพ่ิมเสน่ห์แบบประชานิยม

           ผุ้นำประชนิยมมักจะแสดงตนเป็นคนนอกที่แยกตัวจาก "ชนชั้นสูง" ผุ้นำประชนิยมหญิงบางครั้งอ้างถึงเพศของตนเองเพื่อแยดตัวออกจาก "ชมรมชายชรา" ที่มีอำนาจเหนือกว่าในขณะที่ในละตินอเมริกา นักประชานิยมจำนวนหจนึ่ง เน้นย้ำถึงภูมิหลังทางชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่คนขาวของตนเพื่อแยกตัวออกจากชนชั้นสูงที่คนขาวครอบงำ นักประชนิยมคนอื่นๆ ใช้เสื้อผ้าเพื่อแยกพวกเขาออกจากกัน

             ที่มา : วิกิพีเดีย

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Populism is..

             ประชานิยมเป็นแนวคิดทางการเมืองที่เน้นย้ำถึงแนวคิดเรื่อง "ประชาชน" แและมักจะเปรียบเทียบกลุ่มนี้กับ "ชนชั้นสูง" มักเชื่อมโยงกับความรู้สึกต่อต้านสภาบันและต่อต้านการเมือง คำนี้ได้รับการพัฒนาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และภูกนำไปใช้กับนักการเมือง พรรคการเมือง และขบวนการต่างๆ ตั้งนั้นเป็นต้นมา โดยมักจะใช้เป็นคำที่มีความหมายเชิงลบ ในศาสตร์ทางการเมืองและสังคมศาสตร์ ศาตร์อื่นๆ มีการใช้คำจำกัดความของประชานิยมหลายแบบ โดยนักวิชาการบางคนเสอนว่าควรปฏิเสธคำนี้โดยสิ้นเชิง

             กรอบแนวคิดทั่วไปสำหรับการตีความประชานิยมเรียกว่า แนวทาง เชิงอุดมการซึ่งกำหนดให้ประชานิยมเป็นอุดมการณ์ที่นำเสนอ "ประชาชนไ ให้เป็นพลังที่มีคุณธรรม และเปรียบเทียบกับ "ชนชั้นสูง" ซึ่งถุกพรรณนาว่าทุจริตและห็นแก่ตัว 


            นักประชานิยมมีความแตกต่างกันในการกำหนด "ประชาชน" แต่สามารถอิงตามชนชั้น ชาติพันธ์ุ หรือชาติได้  โดยทั่วไป นักประชนิยมจะนำเสนอ "ชนชั้นสูง" ว่าประกอบด้วยสถาบัทางการเมือ งเศรฐกิจ วัฒนธรรม และสื่อ ซึ่งมักจะเอาผลประดยชน์ของกลุ่มอื่น เช่น บริษัทขนาดใหญ่ต่างประเทศ หรือผู้อพยพ ไว้เหนือผลประโยชน์ของ "ประชาชน" ตามแนวทางเชิงอุดมการณ์ ประชานิยมมัก จะถูกผสมผสานเข้ากับ อุดมการณ์อื่นๆ เช่น ชาตินิยม เสรีนิยม สังคมนิยม ทุนนิยม หรือบริโภคนิยม ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถพบนักประชนิยมได้ในหลายสถานที่ตลอดทั้ง การเมืองฝ่ายซ้าย และฝ่ายขวา และมีทั้งนักประชานิยมฝ่ายซ้าย และประชานิยมฝ่ายขวา

          คำว่า "ประชานิยม" มีที่มาที่คลุมเคลื่อ ครั้งแรกที่มีการใช้คำนี้ คือ สมาชิกของพรรคประชาชนทีเคลื่อนไหวในสหรัฐช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งในจักรวรรดิรัสเซียในชข่วงเวลาเดียวกันก็มีกลุ่มที่แตกต่างจากในอิมริกาใข้คำที่เรียกตวเองและเมืองแปลเป็นภาษาอังฤษ เป็น populist ซึ่งเพิ่มความสับสนให้กับคำนี้ ในช่วงทศวรรษ 1920 คำนี้เข้าสู่ภาษาฝรั่วเศส ซึ่งใช้เพื่อธิบายกลุ่มนักเขียนที่แสดงความเห็นอกเห็นใจคนธรรมดา ในสือต่างๆ มักถุกนำมาผสมกับแนวคิดอื่นๆ เช่นการปลุกปั่น และมักถูกนำเสนอว่าเป็นสิ่งที่ "น่ากลัวและสื้อมเสียชื่อเสียง" 

        กระทั่งปี 2016 โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกเป็นปรธานาะิบดีสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรลงมติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งทั้งสองเหตุการณืมีความเก่ยวข้องกับลัทธิประชานิยม คำว่าลัทธิประชานิยมจึงกลายเป้นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดโดยนักวิจารณืการเมืองระดับนานาชาติ ในปี 2017 พจนานุกรมเคมบิดจ์ ได้ประกาศให้คำนี้เป็นแห่งปี

          แนวทางทั่วไปในการกำหนดประชานิยมเรียกว่าแนวทางเชิงอุดมคติ ซึ่งเน้นนย้ำถึงแนวคิดที่ว่าประชานิยมควรได้รับการกำหนดตามแนวคิดเฉฑาะเจาะจงที่เป็นพื้นฐาน ตรงข้ากับนโยบายเศราฐกิจหรือรูปแบบความเป็นผุ้นำบางอย่างที่นักการเมืองประชานิยมอาจแสดงออกมา ในคำจำกัดความนี้ คำว่า



"ประชานิยม"ใช้กับกลุ่มการเมืองและบุคคลที่พยายาทดึวดูด "ประชาชน" จากนั้เปรียบเทียบกลุ่มนี้กับ "ชนชั้นสูง" โดยใช้แนวทางนี้ นักวิชาการให้คำจำกัดความของประชานยิมว่า "เป็นอุดมการณ์ที่ นำเอาคนดีและมีความเหมือนกันมาต่อสู้กับกลุ่มชั้นชั้นำและ "คนอื่น" ที่อันตรายซึ่งร่วมกันมองว่ากำลังกีดกัน(หรือพยายามกีดกัน) สิทธิ คุณค่า ความเริญรุ่งเรือง อัตลักาณ์ และเสียงของประชาชนที่มีอำนาจสูงสุด" ในทำนองเดียวกัน นักรัฐศาสตร์บางท่่านในคำจำกัดความว่าเป็น "วาทกรรมแบบมานิเคียนที่แบ่งแยกการเมืองและสังคมว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างสองค่ายที่ไม่อาจปรองดองและเป็นปฏิปักษ์กัน : ประชาชนและกลุ่มผุ้มีอำนาจ" และคำจำกัดความอื่นตามที่นักวิชาการและนักรัฐศาตร์ได้เสนอไว้ อาทิ "ประชานิยมมักเกี่ยวข้องกับการวิากษ์วิจารณ์สถาบันและการยกย่องคนทั่วไป" "ความสัมพันธ์ที่เป็นปฏิปักษ์ ระหว่าง "ประชาชน" และ "ชนชั้นสูง" และแผงอยู่ทึกที่ที่มีโอกาสเกิดการแบ่งแยกเช่นนี้" "คนในชุมชนที่เป็นเนื้อเดียวกัน" ซึ่ง "มองว่าตนเองเป็ผู้ถืออำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยสมบูรณ์ และ แสดงทัศนคติต่อต้านสถาบัน" ด้วยความเข้าใจนี้ถือว่า "ประชานิยมเป็นวาทกรรมอุดมกาณ์หรือโลกทัศน์" คำจำกัดความเล่านี้ใช้ครั้งแรกในยุโรปตะวันตกเป็น่ส่วนใหญ่ และต่อมาได้รับความนิยมในยุดรปตะวันออกและอเมริกา

          ประชานิยมถูกมองว่าเป็น "thin ideology" ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว ถือว่าไม่ม่ีสาระพอที่จะเป็นแนวทางสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ ดังนั้น ประชานิยมจึงแตกต่างจากอุดมกาณ์ "thick-centred" หรือ อุดมการณ์เต็มรูปแบบ เช่น ฟาสซิสต์ เสรีนิยมและสังคมนิยม ซึ่งให้แนวคิดที่กว้างไกลกว่าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในฐานะอุดมกาณ์เต็มรูปแบบ ประชานิยมจึงถุฏผูกติดกับอุดมกาณ์เต็มรูปแบบโดยนักการเมืองประชานิยมทำหใ้แน่ใจได้ว่าในทางปฏิบัติแล้ว ประชานิยมเป็นอุดมทการณ์ที่เสริมซึ่งกันและกัน ไม่เพียงแค่ทับซ้อนกับอุดมการณ์เต็มรูปแบบเท่านั้น

        นักวิชาการยังกล่าวว่า ประชานิยม "เป็นแผนที่ความคิดชนิดหนึ่งที่บุคคลใช้วิเคราะห์และทำความเข้าใจความเป็นจริงทางการเมือง และตั้งข้อสังเกตุว่า "เน้นเรื่องศีละรรมมากกว่าการวางแผน" ประชานิยม ส่งเสริมมุมองโลกแบบแบ่งขั่วซึ่งทุกคนแบ่งออกเป็น "มิตรและศัตรู" โดดยที่ศัตรูไม่ได้ถุกอมงว่าเป็นเพียงผุ้คนที่มี ลำดับความสำคัญและค่านิยมที่แตกต่างำัน เท่านั้น แต่ยังถูกมองว่าเป็น คนชั่วร้าย โดยพื้นฐาน การเน้นย้ำความบริสุทธิ์และไม่ถูกแตะต้อง ประชานิยมจะป้องกันการประนีประนอมระหว่างกลุ่มต่างๆ 

       การเพิ่มขึ้นของการวิจัยและอภิปรายเกี่ยวกับประชานิยม ทั้งในเชิงวิชาการและทางสังคม เกิดจากความพยายารมของนักวิชาการด้านแยวคิดที่จะให้ความสำคัญกับความสำคัญของการดึงดูดผุ้คน ให้อยู่เหนือความแตกต่างทางอุดการณ์ และเืพ่อสร้างแนวคิดเกี่ยวกับประชานิยมในฐานะ ประากฎการณ์ เชิงวาทกรรมอย่างไรก็ตาม แนวทางของสกนักอุดมกาณืต่อประชานิยมนั้นมีปัญหาเนื่องจากสมมติฐานเชิงเนื้อหาจำนวนมากทีกำหนดว่าประชานิยมทำงานอย่างไรในฐานะปรากธกาณ์เชิงวาทกรรมทั้งนี้ การให้คำนิยามอยางเป็นทางการและเป็นพื้นฐาน ได้ระบุว่า "ในการกำหนดลัทธิประชนิยมว่าเป็นรูปแบบของวาทกรรม ที่มีลักษณะเฉพาะคือการแบ่งแยกระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำ และอ้างวาสามารถพูดในนามของ "ประชาชน"ได้

           ที่มา : วิกิพีเดีย

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Populism

           


          นักวิชาการด้านการศึกษาคนดำได้วิเคราะห์โดยเชื่อมโยงประเด็น white Supermacy กับการเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐฯ ว่ามีพื้นฐานมาจากการเกิดขึ้นของแรงงานทาศผิวดำที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ระบบทุนนิยมของสหรัฐฯ นำไสู่สังคมแห่งการแบ่งชนชั้นโดยมีเชื้อชาติเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งในบทความวิชาการของ "คอลิต้า นิโคลส์ แฟร์แฟค" ได้ชี้ให้เห็นว่า ในยุคค้าทาสที่มีการใช้แรงงานทาสเพื่อประโยชน์ในการทำเกษตรกรรมในพื้นที่อาณานิคมของอังกฤษ ช่วยหล่อหลอมความคิดว่าคนผิวสีโดยพื้นฐานเป็นผุ้ที่อ่อนแอกว่าเพราะเป็นเพียงแรงงานไร้ซึ่งอำนาจ ต้องตกอยุ่ใต้การควบคุมของคนผิวขาว ทัศนคติลบต่อคนผิวสีจึงถูกปลูกฝังในสังคมอเมริกันและยุโรปมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแนวคิดยึดยุโรปเป็นศูนย์กลาง ได้นำไปสู่การใช้สถาบันหรือนโยบายตางๆ ทางการเมือง เศรษฐกิจและการค้า กฎหมาย สวัสดิการต่างๆ ตลอดจนการศึกษา เป็นเครื่องมือในการกีดกันคนผิวสีไม่ให้ได้รับสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกับคนผิวขาว

         นอกจากนี้ยงมีงานวิจัย ที่เสนอว่า กระแสการเหยียดเชื้อชาติ และ  "ไว้ท์ ซูเปอร์เมซี่" ดำเนินอยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจรัฐด้วยยกตัวอยางกรณีที่สภาคองเกรสพิจารณาเห็นชอบให้พระราชบัญญัติกีดกันชาวจีน ปี 1882 มีผลบังคับใช้เพื่อเป็นมาตรการปกป้องประโยชน์ของคนอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจาการอพยพเข้ามาของกลุ่มแรงงานชาวจีนในยุคตื่นทาองตั้งแต่ช่วงปี 1848 พระรชบัญญัติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นวาการแบ่งแยกทางเชื้อชาติและ "ไวท์ ซูเปอร์เมซี่" ในสังคมอเมริกัน ถุกขับเคลื่อนไปด้วยโครงสร้างอำนาจทางกฎหมายร่วมด้วย จึงเห็นได้ว่ารัฐได้บังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่จำกัดเพียงคนผิวสีเท่านั้น

              นอกจากปัญหาการเหยียดเชื้อชาติในอเมริกาจะเร่ิมต้นจากประวัติศสตร์สมัยอาณานิคมอังกฤษแล้ว ภูมิภาคยุโรปยัวมีอิทธิพลในการส่งต่อกระแสความเกลี่ยดชังทางชาติพันธุ์มายังสหรัฐฯ ด้วย ดดยในงานวิจัยของ พีท เซมิ และ โรเบิร์ต ฟัทรีล ได้อธิบายอิทธิพลของลัทะินาซีใหม่ที่ตกทอดมาจากระบอบนาซีเยอรมันในสมัยสงคราม ว่าได้นำไปสู่การสนับสนุนความคิดคนขาวเป็นใหญ่ภายใต้วามเชื่อเร่องความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติอารยัน เนื่องจากชาวอเมริกันผิวขาวต่างต้องการกลับมาเป็นใหญ่เหนือชนชาติอื่นที่มิใช่อารยัน ในสภาวะที่โลกมีการแลเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย นขาวจึงรู้สึกว่าตนถุกคุกคามจากชนชาติอืน รวมทั้งเชื้อชาติอารยันอันสูงส่งและบริสุทธิ์ของตนกำลังถุกลอทอนคุณค่าด้วยเช่นกัน ดังนั้น กระแสการเหยียดเชื้อชาติจึงกลับมามีความเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นในอเมริกา ภายใต้การขับเคลื่อนลัทะินาซีใหม่โดยขบวนการเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐฯ ที่สั่งสมความเกลี่ยดชังในคนผิวสีจนนำไปสู่การก่อความรุนแรง เช่นกลุ่ม "คู คลัค แคลน" KKK ที่มีการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วยการขับเคลื่อนและแพร่กระจายลัทะินาซีใหม่ในสหรัฐฯ ช่วงปลายศตวรรษที่ 20...


           ในบทความวิจารณ์ของ คาส มัดด์ ได้อธิบายที่มาของความนิยมในมวลชนต่อระบอบการปกครองแบบประชานิยมขวาจัด ในยุคหลังสงครามแย็นไวว่ากระแสฝ่ายขวาประชานิยมได้ปรากฎอย่างชัดเจนจึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2010 ดดยมีสาเหตุหลักมาจากเหตุกาณ์ก่อการร้าย 9/11 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและุสังคม การเพ่ิมขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศ ซึ่งล้วนสืบเนื่องมาจากกระแสดลกาภิวัตน์และการอพยพย้ายถ่ินฐานหลายประเทศจึงเล็งเห็นวาปัฐหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงของรัฐ ในช่วงทศวรรษดังกล่าวเราจึงเห็นผุ้นำหลายประเทศในยุดรปจากพรรคการเมืองฝ่ายขวาได้รับคะแนนนิยมและชนะการเลือกตั้ง ผุ้นำในยุคนี้ต่างมีทัศนคติเชิงลบต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม 

         ในศตวรรษที่ 21  สหรัฐฯเผชิญปัญหาการก่อความรุแแรงโดยกลุ่มขวาจัดที่เพิ่มมากขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งรายงานวิจัยหนึ่งระบุว่า กลุ่มหัวรุนแรงขวาจัดในสหรัฐฯ ได้ก่ออาชญากรรมเพ่ิมขึ้น "..ระหว่างปี 2007-2017 ในเกือบทุกมลรัฐ และการเคลื่อนไหวของลัทธินาซีใหม่ที่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้นในสังคมอเมริกัน ในต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา นอกจากกระแสนิยมขวาจัดจะเกิดขึ้นจากความเกลียดกลัวคนต่างชาติจนนำไปสู่การก่ออาชญากรรมของกลุ่มหัวรุนแรงแล้ว ฝ่ายขวาประชานิยมยังก้าวขึ้นมาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางสืบเนืองจากวิกฤติทุนนิยมที่สงผลให้ประชาชนหลายกลุ่มต้องเปชิญกับภาวะความไม่มั่นคงทางเศราฐกิจอีกดั้วย โดยตังแต่สิ้นสุดสงครามเย็น การล่มสลายขงอค่ายคอมมิวนิสต์ทำให้ระบบเศราฐกิจทุนนิยมกลายเป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนการเมืองและเศรษฐกิจ จนนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคมทั่วทุกมุมโลก


           ในการศึกษาของ "ไอแลน คาพัว" เกี่ยวกับการขึ้นมาของระบอบประชานิยมในการเมืองโลกได้
อธิบายว่า เนื่องจากระบอบการเมืองฝ่ายซ้ายไม่อาจแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเพื่อสร้างการกระจายรายได้อยางเป็นธรรมได้อย่างแท้จริง ทำให้มวลชนจำนวนมากหันมาหวังพึงระบอบอนุรัาษ์นิยมฝ่ายขวาซึ่งได้อาศัยความดกระและความเกลียดชังของกลุ่มประชาชนที่กำลังตกทุกข์ไ้ยากาสร้างเป็นวาทกรรมการเมืองเพื่อเป็นพื้นที่แบ่งปันความรู้สึกร่วมกันของมวลชนและผุ้นำทางการเมือง เห็นไ้จากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา อุดมการณืประชานิยมขวาจัดที่ขึ้นมามีชัยชนะเหนือการเมืองฝ่ายเสรีในหลายภูมิภาค ล้วนแล้วแต่มีสาเหตะมาจาการดำเนินนดยบายเศราฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่นำไปสู่การแปลงทรัพย์สินของรัฐให้เป็นของเอกชน ทำให้กลุ่มนายทุนและทุนต่างชาติเข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศมากขึ้น และได้เข้ามาพรากความกินดีอยุ่ดีของประชาชนคนทั่วไปด้วย เพราะรัฐที่มีภาระหนี้่สินมหาศาลก็ไม่สามารถเข้ามาช่วยเยียวยาประชาชนให้ได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเท่าเที่ยม "คาพัว" สรุปว่า วิกฤติทุนนิยมได้สร้างความโกธเคืองแก่ประชาชนขนานใหญ่ เพราะพวกเขารู้สึกว่าถูกทอดทิ้งจากการปกป้องคุ้มครองของรับที่มีนโยบายเื้อประดยชน์ต่อชนชาติอื่นที่อพยพเข้ามาในประเทศมากขึ้น ดังเช่นวิกฤติเศราฐกิจในสหรัฐฯ ปี 2008 

           การเข้ามามีบทบาทอย่างโดดเด่นของฝ่ยขวาอนุรักษ์นิยมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจึงสะท้อนความไม่พอใจของประชาชนต่อการพัฒนาเศรษกิจของรัฐแบบเสรีนิยมใหม่ทีททำให้พวกเขารุ้สึกลายเป็นคนชายขอบที่สูญเสียผลประดยชน์ไปจากสังคมแสหลัก อีกทั้งระบอบการเมืองฝ่ายซ้ายก็ไม่อาจแก้ปัญหาช่องว่างทางรายได้ที่เกิดขึ้น มวลชนจึงหันไปพึ่งพิงฝ่ายขวาประชานิยมที่มุ่งหมายจะเข้ามาลดบทบาทของชาวต่างๆ ชาติและขจัดอิทธิพลของทุนต่างชาติ ตามที่ สเลวอจ ซิซีค ได้วิเคราะห์การสร้างวาทกรรมของฝ่ายประชานิยมเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามภายนอก ด้วยการสร้างตราบาปแก่ผุ้อพยพลี้ภัยต่างๆ ว่าได้เขามาแย่งงานที่ควรจะเป็นคนในชาติไป รวมทั้งเข้ามาก่อเหตุล่วงละเมิดทางเพศในกลุ่มสตรี "..วาทกรรมฝ่ายประชนิยมจึงเป็นการแบ่งแยกระหว่างพวกเราและพวกเขา เพื่อยกย่องความเป็นพวกพ้องเดียวกันของกลุ่มคนให้สุงส่งเหนือคนอื่น.." 

            ที่มา : https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=8355&context=chulaetd

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Mongoloid

            มองโกลอยด์ เป็นหลุ่มเชื้อชาติที่ล้าสมัยของกลุ่มชนพื้นเมืองต่างๆ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียอเมริกาและบางภูมิภาคในยุโรปและโอเชียเนย คำนี้มาจากทฤษำีเกี่ยวกับเชื้อชาติทางชีววิทยาที่ปจจุบนพิสูจน์แล้วว่าผิด ในอดีตมีการใขช้คำศัพท์อื่นๆ เช่น "เผ่าพันธ์ุมองโกลอยด์" "ผิวเหลือง" เอเชียติก" และตะวันออก" เป็นคำพ้องความหมาย

           แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกมนุษยชาติออกเป็นเผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ คอเคซอยด์ และนิโกร ได้รับการแนะนำในช่วงปี 1780 โดยสมาชิกของสำนักประวัติศาสตร์เกิททิงเงน แนวคิดนี้ ได้รับการพัฒนาเพื่อเติมโดยนักวิชาการตะวันตกในบริบทของ อุดมการณ์ "เหยียดเชื้อชาติในยุคอาณานิคม" ด้วยการเพื่อขึ้นของพันธุศาสตร์ สมัยใหม่ แนวคิดเรื่องเผ่าพันธุ์ มนุษย์ที่แตกต่างกันในเชิงชีววิทยาจึงล่าสมัยไปแล้ว ในปี 2019 สมาคมนักมานุษยวิทยาชีววิทยาแห่งอเมริกา ได้กล่าวว่า "ความเชื่อใน "เผ่าพันธุ์"ในฐานะองค์ประกอบทางธรรมชาติของชีววิทยาทยามนุษย์ และโครงสร้างของความไม่เท่าเที่ยมกัน)การเหยียดเชื้อชาติ) ที่เกิดขึ้นจากความเชื่อดังกล่าว คือเป็นองค์ประกอบที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประสบการณ์ของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอดีต


        คำว่า "มองโกลอยด์"ได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งที่สอง โดยอ้างถึงผุ้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรม ซึ่งปัจจุบันถือกันว่าน่ารังเกียจมาก ผุ้ที่ได้รับผลกระทบมักถูกเรียกว่า "มองโกลอยด์" หรือเรียกอีกอย่างว่า "ความโง่เขลาของชาวมองโกล"

        คำว่า "มองโกลเลียในฐานะคำที่ใช้เรียกเชื้อชาติถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1785 โดยคริสดอฟ ไมเนอร์ส นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงน ซึ่งทันสมัยในขณะนั้น ไม่เนอร์สแบ่งมนุษย์ออกเป็นสองเชื้อชาติ เขาเรียกว่า "ชาวตาตาร์-คอเคเซียน" และ "ชาวมองโกล" โดยเชื้อว่าเชื้อชาติแรกมีความสวยงามส่วนเชื้อชาติหลัง" มีร่างกายและจิตใจอ่อนแอ ไม่ดี และขาดคุณธรรม

       โยอันน์ ฟรีดริช บลูเมนบัด เพื่อร่วมงานของเขาที่ เกิดททิงเงน นำไปใช้ในการแบ่งมนุษยชาติออกเป็น 5 เชื้อชาติ ซึ่งนำมาซึ่ง "ลัทธิเหยียดเชื้อชาติทางวิทยาศาสตร์ไ ในภายหลัง แต่ข้อโต้แย้งของเขานั้นต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติโดยพื้นฐาน เนื่องจากเขาเน้นย้ำวามนุษยชาติโดยรวมแล้วก่อตัวเป็นสายพันธุ์เดียวกัน และชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อชาติหนึ่งไปสู่อีกเชื้อชาติหนึ่งนั้นค่อยเป็นค่อยไปมาก จนทำให้ความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติที่เขาเสนอนั้น "ไม่แน่นอนอย่างมาก" 

         การอภิปรายเกี่ยวกับเชื้อชาติในหมู่นักวิชากรตะวันตกในช่วงศตวรรษที่ 19 เกิดขึ้นท่ามกลางการโต้เถียงระหว่างนักวิชาการที่เชื่อว่ามีเชื้อสายเดียวและนักวิชาการที่เชื่อว่ามีเชื้อสายหลายเชื้อชาติ โดยนักวิชาการที่เชื่อว่ามีเชื้อสายเดียวสนับสนุนให้มนุษยชาติทั้งหมดมีต้นกำเนิดเดียวกัน ส่วนนักวิชาการที่เชื่อวย่าแต่ละเผ่าพันธุ์มนุษย์มีต้นกำเนิดเฉพาะ นักวิชาการที่เชื่อว่ามีเชื้อสายเดียวสนับสนุนการโต้แย้งของตนโดยอาศยการตีความ เรื่องราว "ในพระคัมภีร์" เกี่ยวกับ อาดัมและเอวา ตามตัวอักษรหรือจาการศึกษาวิจัยทางโลกเนื่องจากนักวิชาการที่ เชื่อว่ามีเชื้อสายหลายเชื้อชาติเน้นย้ำถึงความแตกต่างที่รีบรู้ได้ จึงเป็นที่นิยมในหมุ่นักวิชาการ  ที่เชื่อว่ามีเชื้อสายหลายเชื้อชาติเน้นย้ำถึวความแตกต่างที่รับรู้ได้ จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักวิชาการ ที่เชื่อว่า คนผิวขาวเหนือกว่าโดยเฉพาะเจ้าของทาสในสหรัฐอเมริกา...

         ในบทความ เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันของผ่าพันธุ์มนุษยตีพิมในปี 1853-55 ซึ่งต่อมามอิทธิพลต่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ขุนนางฝรั่งเศส อาเธิร์ เดอ โกบิโน ได้นิยามเผ่าพันธุ์สามเผ่าพันธุ์ที่เขาเรียกว่า "ผิวขาว" ผิวดำ" และ "ผิวเหลือง" เผ่าพันธุ์ผิวเหลืองของเขาสอดคล้องกับ เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ ของนักเขียนท่านอื่นๆ แม้ว่าเขาจะมองว่า เผ่าพันธุ์ผิวขาว เหนือกว่า แต่เขาก็อ้างว่า "เผ่าพันธู์ผิวเหลือง นั้นะรรมดาทั้งทางร่างกายและสติปัญญา แต่มีลัทธิวัตถุนิยมที่เข้มแข็งมากซึ่งทำให้พวกเขาบรรลุผลบางอย่างได้...

       เมื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ของสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ลีโอนาร์ด ลิเบอรืแมนกล่าว่าแนวคิดที่ว่าโลกทั้งใบประกอบด้วยเชื้อชาติที่แตกต่างกันสามเชื้อชาติ ได้แก่ คอเคซอยด์ มองโกลลอยด์ และนิโกร ดูเหมือนจะน่าเชื่อถือเนื่องจากประวัติศาสตร์การอพยพเข้าสู้สหรัฐอเมริกา โดยผุ้อพยพส่วนใหญ่มาจากสามพื้นที่ ได้แก่ จีนตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ และ แอฟริกาตะวันตก สิ่งนี้ทำให้มุมองของเชื้อชาติทั้งสามนี้ดู "เป็นจริง เป็นธรรมชาติและหลีกเลี่ยงไม่ได้"

            ปี 1950 ยูเนสโก ได้เผยแพร่คำชี้แจงเรืองคำถามเรื่องเชื้อชาติ ซึ่งประณามการเหยยดเชื้อชาติทุกรูปแบบโดยระบุว่า "หลักคำสอนเรื่องความไม่เท่าเที่ยมกันระหว่างมนุษย์และเชื้อชาติ เป็นหนึ่งในสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเสนอให้แทนที่คำว่า "เชื้อชาติ" ด้วย "กลุ่มชาิตพันธุ์" เหนืองจาก ข้อผิดพลากร้ายแรง มักเกิดขึ้นเป็นประจำเมืองใช้คำว่า "เชื้อชาติ" ในภาษาพูดทั่วไป

          "ภัยเหลือง" คำนี้บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนความหวาดกลัวและการดุแคลนคนเอเชียในช่วงร้อยปีของประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา คำนั้เร่ิมใช้ครั้งแรกในปี 1868 เมื่อสหรัฐอนุญาตให้ชาวจีนหลายหมือนคนเข้ามาทำงานที่สเียงอันตราย เช่น การทำเหมืองแร่ เป็นแรงงานในการสร้างทางรถไฟ และอนุญาตให้คนเหล่านี้ขอสัญชาติและตั้งรกตากในสหรัฐอเมริกาได้ ตรมสนะิสัญญาเบอรลิงเกม และยังได้ออกกฎหมายเพจ เพื่อสนับสนุนชาวจีนเหล่านี้่ให้ตั้งรกรากในสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งก็เพราะสหรัฐฯ ต้องการแรงงานมหาศาลในการช่วยสร้างประเทศ

           ช่วงนั้นมีคนจีนทะลักเข้าในสหรัฐฯ เป็นจำนวนมากหลังจากชาวจีนก็มีชาวญี่ปุ่นที่อพยพตามในช่วงปี 1907-1930 ทศวรรษที่ยาวนานนั้นเอง ก็เร่ิมมีกระแสความหวาดกลัวคนเอเชียเพื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ชนวน


ส่วนหนึ่งเป็นควาามไม่มั่นใจในความปลอดภัยของคนขาวเองเพราะในเวลาไล่เลี่ยกัน ญี่ปุ่นสามารถเอาชนะในการทำสงครามกับรัสเซีย ในปี 1905 กระแสความหวาดกลัวของคนยุโรปก็เร่ิมส่งมาถึงอเมริกา ท้ายสุดเกิดการต่อต้านและประท้วงโดยคนขาวซึ่งเป็นห่วงว่าคนเหล่านี้จะมาแย่งงานหรือสวัสดิการต่างๆ ที่พวกเขาพึงได้ และต่อต้านไม่ใหั้คนเอเชียได้รับสะทิธิในการถือสัญชาติอเมริกัน การต่อต้านบรรลุผลเมือมีการจำกัดจำนวนคนเอเชียเข้าประเทศภายหลังการสร้างทางรถไฟข้ามประเทศเสร็จสิ้น และมีการออกกฎหมายตั้งเขตที่อยุ่อาศัยเฉพาะคนเอเชียขึ้นมาตามเมืองต่างๆ ด้วย 

          คำว่า "ภัยเหลือง" มาสุ่จุดสุงสุดเมือสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญุี่ปุ่นถล่มฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอตร์ของสหรัฐฯฯ  และทวีความหวาดกลัวคนเอเซียของคนขาวทั้งหลายก็ว่าได้ จนเป็นที่มาของการตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูในเวลาต่อมา หลังสงครามโลกเมือสหรับควบคุมสภานะการณ์ได้ ความหวาดกลัวคนเอเชียจึงเร่ิมซาลง กระทั้งถูกปลุกให้ตื่อนอีกครั้งในสมัยประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ โดย ใช้เรียก covid 19 ว่า "ไวรัสคนจีน"

        โควิด เปิดจุดอ่อนและด้านลบของปัญหาการเมืองในประเทสนั้นๆ ปรากฎออกมาเด่นชัดใน สหรัฐฯ ไม่มีเรื่องอะไรมากกว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำ กดขี่ เหยียดเชื้อชาติสีผิวที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น กรณีของสหรัฐฯ ในสมัยประะานาะิบดีทรัมป์ผุ้ประกาศคำขวัญว่า "อเมริกาก่อน" 

            ที่มา : วิกิพีเดีย

                     https://www.the101.world/us-covid19-war/

           

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Emancipation Proclamation...(2)

           การเลือกตั้งประธานาะิบดี ปี 1860 ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการครองอำนาจทางการเมืองในอเมริกาของฝ่ายใต้ เนื่องจาก 2 ใน 3 ของจำนวนประะานาะิบดีทั้งหมดล้วนมาจากภาคใต้ นับแต่จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกเป็น ปธนคนแรกในปี 1789 ความพ่ายแพ้นี้ทำให้รัฐฝ่ายใต้รุ้สึกุุกบีบคั้นอย่างมา และกลายเป็นจุดแตกหักทางการเมือง โดยเพียงสองเดือนหลังชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วประเทศ มลรัฐเซาท์แคโรไลน ซี่งเป็นตัวตั้งตัวตีที่สำคัญในการผลักดันประเด็นเรื่องสิทธิของมลรัฐที่จะปกครองและกำหนดตนเอง ก็ประกาศแยกตัวออกเป็นรัฐแรก ปลพมลรัฐเกษตรกรรมไร่ฝ่้ายอีกหกมลรัฐ ก็ทยอยประกาศแยกตัวออกตามในอีกสองเดือนถัดมา 

            อับราฮัม ลินคอล์๋น เข้าสาบานตนเป็นปรธานาะิบดีคนที่16 ของสหรับในวันที่ 4 มีนาคม 1861 ท่านกล่าวในสุทรพจน์เข้ารับตำแหน่งว่า ภายใต้รัฐะรรมนูญของสหรัฐฯ ความพยายามแยกรัฐออกเป็นอิสระย่อมเป็นโมฆะแต่ก็ให้คำยืนยันว่ารับบาลของตนจะไม่เร่ิมต้นสงครามกลางเมือง ดดยกล่าวต่อ "รัฐทางใไต้" ว่า "ข้าเจ้าไม่มีจุดหมายโดยตรงหรือโดยอ้อมที่จะแทรกแทรงสถาบันการครองทาสที่ยังมีอยุ่ในประเทศสหรัฐ เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าข้าเจ้าไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะทำเช่นนั้นไ ลินคอล์นทำอย่างดีที่สุดที่จะใช้สุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่งในการหว่านล้อมเพื่อนร่วมชาติให้หันมาปรองดองกัน ให้เห็นความเป็นครอบครัวอเมริกันครอบครัวเดียวกัน...

            "พวกเราไม่ใช่ศัตรุกัน เราเป็นเพื่อน เราจะเป็นศัตรูกันไม่ได้ ถึงความรุ้สึกจะบอบช้ำไปบ้าง แต่จะให้สิ่งนี้มาทำลายสายใยของมิตรภาพหาได้ไม่ สายพิณที่นาพิศวงของความทรงจำ ที่ดยงเอาทุกสมารภูมิรบและหลุมศพของวีรบุรุษ เข้าไว้กับทุกหัวใจที่ยังมใีชีวิตอยุ่ และหินหน้าเตาไฟของทุกครัวเรือน ทั่วดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ จะยังส่งเสียงประสานของความกลมเกลี่ยวแห่งสหาภาพอย่างแน่นอน ยามเมือมันถุกดีดให้ดังขึ้นอีครั้ง โดยเทวทูตที่ดีกว่าแห่งธรรมชาติของเรา.."- อับราฮัม ลินคอล์น, สุนทรพจน์เขารับตำแหน่งครั้งแรก 4 มีนาคม 1861

            อับราอัม ลินคอล์น 12 กุมพาพันธ์ 1809-15 เมษายน 1865 เป็นทนายความนักการเมือง และรัฐบุรุษชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่ง ประะานาะิบดีคนที่ 16 ของหสรัฐอเมริกตั้งแต่ปี 1861 กระทั้งถูกลอบสังหาร ปี 1865 ลินคอล์นเป็นผุ้นำสหรัญฯ ผ่านสงครามกลางเมือง อเมริกาปกป้องประเทศในฐานะสหภาพ ตามรัฐะรรมนูญ ปราบสมาพันธรัฐกบฎ มีบทบาทสำคัญในการยกเลิกทาส ขยายอำนาจของรับบาลกลางและปรับปรุงเศรษฐกิจสหรัฐฯให้ทันสมัย 

          ลินคอล์น เกิดในครอบครัวยากจน ในกระท่อมไม่ซุงในรัฐเคนตักกี้และเติบโตบนชายแดนโดยเฉพาะในรัฐอินเดียนาเขาศึษาด้วยตนเองและหลายมาเป็นทนายหัวหน้าพรรค "วิง" สมาชิกรัฐสภาอิลินอยซ์ และผุ้แทนสหรัฐฯจากอิลินอยส์ ในปี 1849 เขากลับไปประกอบอาชีพทหนายความที่ประสบความสำเร้๗ในเมืองสปริงฟิลด์ รัฐอิลลินอยส์ในปี 1854 เขาดกรธเคืองต่อพระราชบัญญัติเคนซัส เนแบรสกา ซึ่งเป็นพื้นที่ให้มีการค้าทาส เขาจึงกลับเข้าสุ่วงการเมืองอีกครั้งในไม่ช้าเขาก็กลายเป็นผู้นำของพรรครีพับลิกันใหม่ เขาได้รับความสนใจจากทั่วประเทศในการดีเบตหาเสยงในวุฒิสภาในปี 1858 เพื่อต่อต้านสติเฟน เอ. ดักลาส ลินคอล์นเองสมัครับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 1860 และได้รับชัยชนะในภาคเหนือ กลุ่มสนับสนุนการมีทาสในภาคใต้มองว่าการเลือตั้งของเขาเป็นภัยคุกคามต่อการค้าทาส 

           สหพันธรัฐอเมริกา เป็นรัฐบาลแยกตัวออกซึ่งสถาปนาในปี 1861  ภายในดินแดนของสหรัฐโดยเจ็ดรับทาส คือ รัฐที่อนุญาตความเป็นทาสทางใต้ซึ่งประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 1860  ซึ่ง อับราอัม ลินคอล์น ชนะเจ็ดรัฐเหล่านี้สถาปนาชาติใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ 1861 ก่อนลินคอล์นเข้าดำรงตำแหน่งในเดือนมีนาคม หลังสงครามเร่ิมขึ้นในเดือน เมษายน สี่รัฐอัปเปอร์เซาท์ ก็ประกาศแยกตัวออกและเข้าร่วมสาพันธรัฐเช่นกัน ภายหลัง สมาพันธรัฐยอมรับอีกสองรัฐเข้าเป็นสมาชิก คือ รัฐมิสซุรี และรัฐเคนทักกี แม้สองรัฐนี้ไม่ได้ประกาศแยกตัวออกหรือถูกกำลังสมาพันธ์รัฐควบคุมอย่างเป็นทางการ 

          รัฐบาลสหรัฐ (สหภาพ) ปฏิเสธการแยกตัวออกและมองว่าสมาพันธรัฐมิชอบด้วยกฎหมาย สงครามกลางเมืองอเมริกาเร่ิมขึ้นด้วยการเข้าตีค่ายซัมเทอร์ของสมาพันธรัฐ ปี 1861 ซึ่งเป็นค่ายทหารบนทาเรือชาร์ลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา ถึงปี 1865 หลังการสู้รบอย่างหนัก ซึ่งสวนใหญ่ในดินแดนสมาพันธรัฐกำลังสมาพันธรัฐปราชัยและสมาพันธล่มสลายลง ไ่มีรัฐต่างประเทศใดรับรองสมาพันธรัฐเป็นประเทศเอกราช แต่อังกฤษและฝรั่งเศสให้สภาพคู่สงคราม

          สหรัฐฯ สู้รบกันในสงครามกลางเมืองระหว่างปี 1861-1865 โดยมีการสุ้รบกันใน 23 มลรัฐ และในพื้นที่ที่ขณะนั้นยังไม่มีสถานะเป็นมลรัฐ รวมไปถงพื้นที่ทางน้ำสงครามกลางเมืองอเมริกา สุ้รบกันในพื้นที่นับไม่ถ้วย ตั้งแต่ วาลเวอร์ด, รัฐนิวเม็กซิโก และ ตุลลาโฮมา, รัฐเทนเนสซี ไปจนถึง เซนต์อัลแบนส์, รัฐเวอร์มอนท์ และเฟอร์นานดินา ณ ชารรฝั่งรัฐฟลอลิดา สมารภูมิที่มีชื่อบันทึกอย่าเป้นทางการมีถึง 237 สมรภูมิ คนอเมริกันมากกวา่สามล้านคนเข้าร่วมสุ้รบในสงครามกลางเมือง และมีคนกว่าหกแสนคนล้มตายในสงครามนี้ หรือคิดเป็นร้อยละสอง ของประชากรอเมริกันทั้งหมด

           ต้นปี 1864 ลินคอล์มอบอำนาจสั่งการกองทัพทังหมดให้กับ จอมพล ยูลิสซิส เอส. แกรนด์ โดยแกรนด์ใช้กองทัพโพโทแม็ค เป็นกองบัญชาการ และให้อำนาจบัญชาการกองกำลังทางแนวรบตะวันตกเกือบทังหมดแก่ พลตรี วิลเลียม ที.เชอร์แมน จอมพลแกรนด์มีความเข้าใจแนวคิดของสงครามเบ็ดเสร็จ ทั้งยังเห็นตรงกับลินคอล์นและเชอร์แมนว่า วิะีเดียวทีจะพิชิต่ายสมาพันธรัฐและยุติสงครามได้ ก็คือ การทำลายทังกองกำลัง และฐานทางเศราฐกิจของฝ่ายข้าศึกโดยสิ้นเชิง แต่เน้นย้ำว่าเป้าหมายไม่ใช่พลเรือนของฝ่ายตรงข้าม หากแต่เป็นการเข้ายึดเสบียงอาหาร และทำลายบ้าน เรือนเรือกสวนไร่นา และทางคมนาคมทางรถไฟซึ่งมิแะัั้นทรัพยากรเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ทงการสงครามโดยฝ่ายกบฎ

          นายพลโรเบิร์ต อี. ลี ได้รับสารจากนายพลแกรนด์ขอให้ยอมจำนนเสียลียังพยายามสุ้ต่อ และพยายามจะฝ่ากองกำลงของเชอริเดอที่ปิดถนนใกล้กับแอพโพแมตท็อกซ์ คอร์ทเฮ้าส์ ไว้ แต่เมือพบว่าทางเหลือกเดียวที่เหลือคือต้องรบแบบกองโจรในป่า ลีจึงตัดสินใจยอมวางอาวุะ แล้วส่งสารถึงแกรนด์กงทัพเวรอืจิเนียเหนือว่าขอยอมจำนน สงครามกลางเมืองอเมริกาเป็นอันสิ้นสุดลงเมือวันที่ 9 เมษายน ปี 1865 ณ บ้านของ วิลเมอร์ แม็คลีน กองกำลังสมาพันธรัฐที่ยังไม่ยอมทิ้งอาวุธ ก็ทยอยกันยอมจำนนเมืองข่าวการยอมแพ้ของนายพลลีทราบไปถึง

          ในวันที่ 14 เมษายน ปี 1865 ประธานาธิบดีลินคอล์น ถูกผุ้ฝักใฝ่ฝ่ายสมาพันธรัฐลอบยิง ลินคอล์นเสียชีวิตในรุ่งเช้าวันถัดไป และแอนดรุว์ จอห์นสัน กลายเป็นประธานาธิบดีแทนที่ และในวั้นที่ 23 มิถุนายน 1865 นายพลฝ่ายสมาพันธรัฐคนสุดท้ายก็ยอมจำนน

         ราคาของสงคราม 

         สงครามกลางเมืองทำให้มีผุ้บาดเจ็บล้มตายไม่น้อยกว่า ล้านคน คิดเป็นร้อยละสามของประชากรทั้งหมด การสำรวจสำมะโนครัวปี 1860 พบว่าร้อยละ 6 ของชายอเมริกาผิวขาวในรัฐทางเหนือ อายุระหว่าง 13-43 ตายในสงคราม ในภาคใต้อัตรานี้สุงถึงร้อยละ 18 ทหารประมาณ 56,000 คนตายในค่ายนักโทษระหว่างสงครามและผุ้ที่พิการสูญเสียแขนขาประมาณ 60,000 คน

        จากการสำรวจบันทึกโดย นักประวัติศาสตร์ ฝ่ายเหนือมีทหารรวม 359,528 นาย คิดเป็นร้อยละ 15 ของทหารกว่า 2 ล้านนายที่เข้ารับใช้ชาติ โดย

       110,070 ตายในสนามรบ 67,000 หรือเนื่องจากทนพิษบาดแผลไม่ไหว 43,000 

        199,790 ตายเพราะดรคภัยไข้เจ็บ (ร้อยละ 75 เกี่ยวข้องกับสงคราม) 

         24,866 ตายในค่ายกักกันนักโทษของฝ่ายสมาพันธรัฐ

          15,741 ตายเพราะสาเหตุอื่นๆ

         อย่างไรก็ดีนี่เป็นจำนวนที่ต่ำหว่าจำนวนผุ้บาดเจ็บ -เสียชีวิตอย่างเป็นทางการที่ประเมินโดย  US Nation Park Service

           สหภาพ 853,838 

           110,100 ตายในสนามรบ

           224,580 ตายเพราะโรค

           275,154 บาดเจ็บในการปฏิบัติหน้าที่

           211,411 ถูกจับ(รวมถึง 30,192 นาย ที่ตายในฐานะเชลยสงคราม) 

           สมาพันธรัฐอเมริกา 914660 

           94,000 ตายในสนามรบ

           164,000 ตายเพราะโรค

           194,026 บาดเจ็บในกาปฏิบัติหน้าที่ 

           462,634 ถูกจับผรวมถึง 31,000 นาย ที่ตายในฐานะเชลยสงคราม) 

            การประกาศเลิกทาศ เป็นคำสั่งของฝ่ายบริหารที่อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาะิบดีสหรัฐ ออกเมืองันที่ 1 มกราคม 1863 ในช่วงสงครมแลางเมืองอเมริกัน โดยใช้อำนาจยามสงครามของตน จึงมิใช่กฎหมายที่รัฐสภาสหรัฐอนุมัติ คำสั่งดังกล่าวประกาศให้เสรีภาพแก่ทาสในรัฐสิบแห่งซึ่งเป็นกบฎอยุ่ขณะนั้น ามีผลต่อทาศ 3.1 ล้านคน จากทั้งหมด 4 ล้านคน ในสหรัฐในเวลานั้น การประกาศดังกล่าวปลดปล่อยทาศทันที่ 50,000 คน และเกือบทั้งหมด จาก 3.1 ล้านคน ได้รับการปลกปล่อยเมืองกองทัีพสหภาพรุกหน้า คำประกาศดังกล่าวมิได้ให้เงินชดเชยแก่เจ้าของทาศ มิได้ประกาศให้สภานะทาสเป็นความผิดต่อกฎหมายและมิได้ทำให้อดีตทาสที่ได้รัยบการปลดปล่อยแล้วได้สถานพลเมือง

           22 กันยายน 1862 ลินคอล์นออกการประกาศเบื้องต้นว่า จนจะสั่งการเลิกทาสในรัฐทุกแห่งของสมาพันธรัฐอเมริกาที่ไม่กลับคืนสุ่การควบคุมของสหภาพภายในวันที่ 1 มกราคม 1863 เนืองจากไม่มีรัฐใดกลับคืนสู่การควบคุมของสหภาพ คำสั่งซึ่งนามและอนุมัติเมือวันที่ 1 มกราคม 1863 จึงมีผลใช้บังคับ ยกเว้นในสถานที่ซึ่งฝ่ายสหภาพกลับเข้าควบคุมได้ป็นส่วนใหญ่แล้ว คำประกาศดังกล่าวทำให้การเลิกทาสตกเป็นเป้าหมายศูนย์กลางของสงคราม(นอกเหนือจากการรวมประเทศ) สร้างความดกระแก่ชาวใต้ยิวขาวซึ่งหวังทำสงครามเชื้อชาติ และนักประชาธิปไตยทางเหนือบางส่วน การะตุ้นกองกำลังที่ต่อต้านระบบทาส และทำให้กำลังในยุโรปที่ต้องการแทรกแซงโดยเข้าช่วยเหลือสมาพันธรัฐอ่อนแอลง

          การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่สิบสาม ซึ่งมีผลใช้บังคับเมืองเดือนะันวาคม 1865 ทำให้ความเป็นทาสกลายเป็นความผิดทางกฎหมาย

          ข้อมูล : ;วิกิพีเดีย

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Emancipation Proclamation


              การขยายตัวอย่างรวดเร็วมากของดินแดนในอาณัติของสหรัฐ ระหว่างการประกาศอิสรภาพจนถึงช่วงสงครามกลางเมือง เป็นปัจจัยที่ก่อเกิดความขัดแย้ง ระหว่างคตินิยมที่สนับสนุนสถาบัทาส และคตินิยมที่สนับสนุนแผ่นดินที่ปลอดทาส ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 สหรัฐได้ที่ดินแดนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวภายในระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งจากการซื้อ การเจรจา และการสงคราม เร่ิมจากการได้รับโอนพื้นที่ลุยเซียนามาจากนโปเลียนในปี 1803 ต่อมาการออกเสียงให้ผนวกเท็กซัส ซึ่งประกาศตัวเป็นอสระจากเม็กซิโาในปี 1836 เขามาเป็นส่วนหนึ่งของสหรับในปี 1845 กลายเป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามเม็กซิโก-อเมริกา ในระหว่างปี 1846-1848 ชัยชนะของอเมริกาในสงคราม เป็นผลให้สหรัฐได้ผนวกดินแดนใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก แต่การขยายดินแดนอย่างต่อเนื่องก็ก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งไม่รู้จบ ในเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของการมีทาศในดิแนดที่ถูกผนวกเข้ามา ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ส้่งผลกระทบดดยตรงต่อทิศทางทางเศราฐกิจในพื้นที่ใหม่ โดยก่อนหน้านี้ การประนีประนอมมิสซูรี ปี 1820 ตกลงห้ามการขยายตัวของสถาบ้นทาสไปในพื้อนที่ตอนเหนือของพื้นที่รับโอนหลุยส์เวีนนาที่ยังไม่ได้จัดตั้งเป็นเขตปกครอง งเพื่อแลกเปลี่ยนกับการยอมให้มีการสถาปนามิสซูรีขึ้นเป็นรัฐที่การมีทาสเป็นสิ่งถุกกฎหมาย สำหรับกรณีพิพาทในพื้นที่อันผนวกเข้ามาใหม่หลังสงครามเม็กซิโก-อเมริกันมีการเสนอ เงื่อนไขวิลม็อท โดยเงื่อนไขนี้ต้องการให้ดินแดนใหม่ที่ผนวกเข้าเป็นดินแดนที่ปลดจากสถาบันทาส แต่ในขณะนั้นนักการเมืองจากฝ่ายไใต้ครองที่นั่งมากกว่าในวุฒิสภา เงื่อนไขวิลม็อทจึงถุกสกัดกั้นและได้รับการโหวตให้ตกไป

          การประนีประนอมเกิดขึ้นในปี 1850 โดยมีการแก้ไข รัฐบัญญํติไล่ล่าทาศหลบหนี ให้เข้มงวดขึ้นไป
อีก เพื่อชดเชยกับการยอมให้รัฐแคลิฟอร์เนยที่รับเข้ามาใหฒ่เป็นรัฐปลอดทาส มีการกำหนดโทษกับผู้รักษากฎหมายในมลรัฐใดๆ ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามและยังคับใหช้กฎหมายนี ดงนี้นสำหรับรัฐทางฝ่ายเหนือแล้วกฎหมายไล่ล่าทาศหลบหนีฉบับแก้ไขปี 1850 จึงมีนยว่าประชาชนอเมริกันทัี่วๆ ไปก็มีหน้าทต้องให้ความช่วยเหลือนักล่าทาศหลบหนีจากทางใต้ ความรุ้สึกต่อต้านสถาบัทาสในจิตใจคนอเมริกันจึงเพ่ิมขึ้นเป็นวงกว้าง มีผุ้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวในเครื่อข่าย Underground Railroad (เป็นคเรือข่ายเส้นทางลับและบ้านพักที่ปลอดภัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในสหรัฐฯ ใช้เส้นทางนี้เป็นกลักเพื่อหลบหนีไปยังรัฐที่เป็นอิสระและไปยังแคนาดา) ของขบวนการเลิกทาสเพื่อขึ้นอย่างต่อเนื่อง

           แม้ประชาชนส่วนใหญ่ของสหรัฐ ซึ่งอาศัยกระจุกตัวอยุ่ในพื้นที่ทางตอนเหนือ จะไม่เห็นด้วยกับการคงไว้ซึ่งสถาบันทาส แต่การแทรกแซงโดยตรงจากรัฐสภาให้มีการยกเลิกหรือเพียงแต่จำกัดการขยายตัวของสถาบันทาสไม่ว่าในพื้นที่ใดของสหรัฐ ก้ยังเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เนื่องจากแนวคิดทาง

กฎหมายรัฐะรรมฯูญในขณะนั้นยังไม่มีบทคุ้มครองห้ามเหลือปฏิบัติต่อประชาชนอเมริกันด้วยเหตุผลทางสีผิว หรือศาสนา และยังคงถือว่าแต่ละรับมีอำนาจจะกำหนดสิทธิหน้าที่ (ซึ่งรวมถึงสิทธิเลือกตั้ง) ของพลเมืองในรัฐอย่างไรก็ได้ แนวคิดหนึ่งที่ยอมรับอย่างกว้างขวางคือ การถือว่าประเด็นเรื่องสถาบันทาสเป็นเรื่องของอำนาจอธิปไตยของปวงชน มากกว่ที่จะเป็นการเมืองในรัฐสภา และคนท้องถ่ินย่อมมีสิทธิจะโหวตเสียกำหนดเอาเองในพื้นที่ที่ตนอาศัยอหรือท้องที่ซึ่งตนเข้าไปบุกเบิก แนวคิดเรืองอธิปไตยปวงชนนี้ถูกสอดเข้าไปในนธยบายของรัฐบาลกลาง ที่สนับสนุนการขยายการตั้งรกรากของประชกรเข้าในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการบุกเบิกในทิศตะวันตก ตั้วอย่างที่สำคัญคือ กฎหมายแคนซัส-เนบรสาก ปี 1854 ซึ่งร่างโดย วุฒิสมาชิก สตีเฟน เอ. ดักลาส กฎกมายฉบับนี้มีวัตถุปรสะงค์จะให้คนเข้าไปจับจองพื้นที่ที่ทำินตามแนวทางรถไฟข้ามประเทศที่กำลังก่อสร้าง โดยผนวกเอาแนวคิดเรื่องอธิปไตยของปวงชนไว้ แต่กลับว่านำไปสู่การนองเลือดที่รู้จักกันในชื่อ  "แคนซัสหลังเลือด" Bleeding Kansas เมือนักบุกเบิกอุดมการณ์ " แผ่นดินเสรี" เข้าปะทะกับนักบุกเบิกที่สนับสนุนสถาบันทาสจากรัฐมิสซุรีใกล้เคียง ซึ่งแห่กันเข้ามาในแคนซัสเพียงเพื่อที่จะออกเสียงลงมติรับรัฐะรรมนูญของรัฐ การใช้ความรุนแรงดังกลาวเกิดขึ้นอยุ่นานหลายปี ทำให้มีผุ้เสียชีวิตอยางน้อยหกสิบคน และอาจถึงสองร้อยคนภายในแค่สามเดือนแรก

          "(พวกนิโกร) เป็นพวกที่ถูกถือว่าเป็นมนุษย์ในอันดับที่อ้ยกวามาเป็นเวลากวาหนึ่งศตวรรษท จึงบ่อมเป็นการไม่เหมาะสมในทงใดๆ ที่จะนำพวกนี้มาเปรียบเทียบกับคนผิวขาว ไม่ว่าจะในทางความสัมพันะ์ทางสังคม หรือในทางการเมือง และต่ำชั้นกว่าอย่างไกลลิบ จนถึงขนาดว่าพวกนี้ไม่มีสิทธิใดๆ ที่คนผิวขาวจำเป็นจะต้องเคารพ และพวกนิโกรจึงอาจลดฐานะลงมาเป็นทาาสเพื่อประโยชน์ของคนขาว โดยชอบด้วยความยุติะรรม โและโดยชอบด้วยกฎหมาย"

           คำพิพากษาคดี เคร็ด สก็อตต์ ถุกวิพิากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ทั้งโดยสือ่ และนักากรเมืองฝ่ายเหนือซึ่งถือว่าคำพิพากษานี้ในคำปราศัย ไครัวเรือนไหนแตกแยกกันเอง ครัวเรือนนั้นจะตั้งอยุ่ไม่ได้" ของคนที่รัฐอิลินอยส์ ในปีเดียวกัน โดยเตือนถึงภัยของคำพิพากษา เดร็ต สก็อตต์ Dred Scott ที่จะเปลี่ยนอเมริกาทั้งประเทศให้กลายเป็นดินแดนที่การมีทาศป็นเรื่องชอบด้วยกฎมหาย และท่านยังทำนายว่าอเมริกาจะไม่แบ่งแยกตลอดไป แต่มีชะตากรรมที่จะต้องเปลี่ยนไปในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งหากไม่ใช่ว่าการมีทาศจะหลายเป็นเรื่องถุกฎหมายทั้งประเทศ ก็ต้องเป็นว่าการมีทาสจะต้องไม่มีอยุ่อีกต่อไป นอกจากนี้คำพิพากษา เดรด สก็อต ยังม่ส่วนผลักดันให้ขบวนการ จอห์ บราวน์ที่พยายามติดอาวุธให้กับทาสผิวดำเพื่อให้ก่อจลาจลที่ ฮาร์เปอร์ส เฟอร์รี่ เวอร์จิเนีย ในเดือนตุลาคม 1859

           การเลือกตั้งประะานาะิบดีสหรับปี 1860 เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ผลักดันสหรัฐเข้าสุ่สงครามกลางเมือง ประธานาธิบดี เจมส์ บุแคนั้น ในขณะนั้นเป็นชาวอเมริกันทางตอนหนือที่มีความคิดเห็เข้าข้างฝ่ายใต้  โดยเเป็นคนเขียนจดหมายชักจูงให้ตุลาการสมทบแห่งศาลสุงสุดสหรับ โหวตร่วมกับฝ่ายเสียงข้างมากในคณะศาล ให้ เดรด สก็ตต์ แพ้คดี เพื่อให้ศาลเขียนคำพิพากษาปฏิเสะอำนาจของรับบาลกลางในประเด็นที่เกี่ยวกับควาชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาสแบบเด็ดขาด การเข้ากดดันตุลาการในคดี เครด สก็ตต์ ของ ประธานาธิบดี บูแคนั้น กลายเป็นเรื่องอื้ฉาว และก่อเกิดผลสะท้อนกลับเชิงลบทางการเมืองต่อพรรคเดโมแครด เป็นอย่างยิ่ง ความไม่พอใจในคำพิพากษา ของชาวอเมริกันในรัฐทางเหนือ ช่วยให้พรรครีพับลิกัน ได้รับชัชนะใด้ที่นั่งในสภาผุ้แทนเพื่อในการเลือกตั้งกลางเทอม ปี 1858 และเข้าควบคุมได้ทั้งสภาคองเกรสในการเลือกตั้งใหญ่ปี 1860

          ชัยชนะของ อับราฮัม บินคอล์น แห่งพรรครีพับลิกัน เป็นผลจากความระส่ำระสายภายในของพรรเดโมแครต เหนืองจากตัวแทนจากรัฐทางตอนใต้ซึ่งเป็นพวกสนับสนุนสถาบันทาศ และคำพิพากษา เครด สก็ตต์ พากัน "วอล์กเอ้าท์ไ จาการประชุมแห่งชาติของพรรคเดโมแครต เพื่อประท้วงการที่ที่ประชุมปฏิเสธไม่รัีบมติสนับสนุนนดยบายขยายสถาบันทาส โดยการใช้กฎหมายทาส ในทุกพื้นที่ของสหรัฐ สมาชิกของพรรคเดโมแครตจึงแตกออกเป้ฝ่ายเหนือและใต้ ที่มา : วิกิพีเดีย

          

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...