วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

T- decision


                 การตัดสินใจ -                      การตัดสินใจคือการกระทำตามที่ตั้งใจเพื่อให้บรรลุผลที่ตั้งไว้-                      เป็นกระบวนการประเมินผลเกี่ยวกับทางเลือกหรือตัวเลือก หรือตัวเลือกที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและการคาดคะเนผลทีเกิดทางเลือกปฏิบัติที่จะส่งผลถึงการบรรลุเป้าหมายได้มากที่สุด-                      คือความสามาถรถในการทำงานหรือการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้างานหรือผู้บริหารก็คือ การตัดสินใจ การตัดสินใจเปรียบเสมือนหัวใจของการปฏิบัติงานและบริหารงานทั้งนี้เพราะการตัดสินใจจะมีอยู่แทบทุกขั้นตอนและทุกขบวนการของการปฏิบัติงาน แม้แต่บุคคลทั่วไปก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงต่อการตัดสินใจได้คือวิธีการเชิงวิเคราะห์ และเชิงระบบที่ใช้ในการแก้ปัญหาและช่วยทำให้ได้การตัดสินใจที่ดี การตัดสิน หมายถึง การตัใจที่ใช้หลัตรรกศาตร์ด้วยการพิจารณาข้อมูลและทางเลือก หรือกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด จากนั้นใช้วิธีการเชิงปริมาณที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ในบางครั้งอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจก็ตาม รวมทั้งบางครั้งการตัดสินใจที่ดีมีผลลพธ์ที่ไม่ได้คาดคะเนไว้เกิดขึ้นได้แต่เรายังคงถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี  การตัด                                    ขั้นตอนของทฤษฎีการตัดสินใจ1 กำหนดปัญหาที่ม่ในมือให้ชัดเจน2 ระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด3 ระบุหาผลได้ที่เป็นไปได้ทั้งหมด4 กำหนดหาผลลัพธ์ตามเงื่อนไขแต่ละส่วนประสมของทางเลือกและผลได้5 คัดเลือกตัวแบบทฤษฎีการตัดสินใจเชิงคณิตศาสตร์หนึ่งตัวแบบมาใช้งาน6 ประยุกต์ใช้ตัวแบบนั้นแล้วทำการตัดสินใจ            รูปแบบการตัดสินใจ-                      การตัดสินใจภายใต้ความแน่นอน  สภาวการณ์ที่ผู้ตัดสินใจทราบผลที่แน่นอนของทุกๆ ทางเลือก ผู้ตัดดสินใจจะเลื่อกทางเลื่อกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด-                      การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง ผู้ตัดสินใจทราบโอกาสของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ทราบความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นของผลลัพธ์..ใช้วิธีการตัดสินใจโดยการหาค่าคาดหวังของผลตอบแทร-                      การตัดสินภายใต้ความไม่แน่นอน  ผู้ตัดสินใจไม่ทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ต่าง ๆ ..วิธีการเพื่อใช้ในกรณีภายใต้ความไม่แน่นอน
Maximax            To Maximaze the Maximums = Maximax เป็นวิธีการเลือกค่าสูงสุด ของทางเลือกที่มีค่าสูงสุดทั้งหลายที่เลือกได้ ในการลงทุนจะเลือกค่าตอบแทนตอบแทนที่สูงสุดของทางเลือกที่ดีที่สุดของแต่ละทางเลือก คนที่ชอบใช้หลักการนี้จะถูกเรียกว่า ผู้มองโลกในแง่ดี หรือด้านบวก            To Maximize The Maximums = Maximin เป็นวิธีการเลือกค่าสูงสุดของทางเลือกที่มีค่าต่ำสุด เลือกค่าสูงสุด(ดีที่สุด)จากทางเลือกที่เลวที่สุดของแต่ละทางเลือก คนที่ใช้หลักการนี้จะถูกเรียกว่า ผู้มองโลกในแง่ร้ายหรือด้านลบ            Equally Likely ทางสายกลาง Equally Likely= Maximax+Maximin   เป็นแนวคิดที่ผสมกัน

                                                                                                           2

ระหว่าง Maximax กับ Maximin ผู้ที่ใช้แนวคิดนี้อาจถูกเรียกได้ว่าเป็นพวกสายกลาง หลักคิด คือ คิดจากแต่ละทางเลือกของ Maximax และ Maximin มิฉะนั้นจะไม่ได้คำตอบของทางเลือก
                                                                                                          


Prof nash


            ปี พ.ศ.2537 คณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประกาศให้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์แก่ เจ ซี ฮารซานยี่ เจ.เอฟ.และ อาร์.เซลเทน ในฐานะที่ได้ร่วมกันคิดสร้างทฤษฎีเกม ซึ่งมีคุณประโยชน์อเนกอนันต์ ให้นักเศษฐศาสตร์ใช้ในการหาทางออกที่ดีเวลาที่ดีแก้วปัญหาการแข่งขั้นเชิงธุรกิจ เพราะปัญหาต่าง ๆ ทางเศรษฐศาสตร์นั้น สลับซับซ้อนอันเนื่องมาจากการมีตัวแปรต่าง ๆ มากมาย  การตัดสินใจดำเนินการของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะมีผลกระทบและเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคลรอบข้าง และในขณะเดียวกัยรูปแบบการตัดสินใจของคนรอบข้ารง ก็เป็นตัวกำหนดตัวเลือกในการตัดสินใจของบุค
คลนั้นด้วย เมื่อคนทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กันเช่นนี้ ทฤษฏีเกมจะช่วยชี้นำรูปแบบการตัดสินใจที่เหมาะสมให้ทุกคนพอใจ
            นักคณิตศาสตร์ได้คิดสร้างทฤษฏีเกมขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์วิธีเล่นหมากรุก โปกเกอร์ และบริดจ์ เพราะในการเล่นเกมดังกล่าวนี้ การล่วงรู้ใจ ความสามารถและนแวคิดของคุ่ต้อสู้จะทำให้ได้เปรียบ และในเวลาต่อมานักเศรษฐศาสตร์ได้หันมาสนใจศึกษาทฤษฎีนี้บ้าง เพราะคิดจะนำทฤษีนี้ไปใช้ในการวิเคราห์สถานการณ์ทางเศษฐกิจ และต่อมานักวิชาการสาขาอื่นๆ ก็ได้พบว่าทฤษฎีเกมสามารถแก้ปัญหาและตอบคำถามต่าง ๆ ได้มากมาย จนะราอาจจะกล่าวได้ว่า ทฤษฏเกมมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้น ในโลกวิทยาการในอนาคต
            ดังที่ได้ อ่านและชมภาพยนต์ ในชื่อเดียวกัน “A beautiful Mild” ชีวิตของแนชแสดงให้เห็นว่า คนบางคนได้รับพรสวรรค์พร้อมกับคำสาป โลกอัฉริยะของ “จอห์น แนช” แตกต่างจากอัจริยะคนอื่นๆ ตรงที่โลกอัจฉริยะและโลกความผิดปกติเป็นโลกใบเดียวกัน 4 ปีก่อนที่เขาจะได้รับการประกาศให้เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมพิชิตรางวัลโนเบล คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ถกเถียงกันว่า คน”โรคจิต”สมควรได้รับรางวัลโนเบลหรือไม่
            เมื่อ แนช มีอายุ 21 ปี และกำลังศึกษาเศรษฐศาตร์ระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลับ พริสตัน ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นหนึ่ง ที่ทำให้นักคณิตศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกตะลึง งานวิจัยเรื่องทฤษฎีเกมของเขาซึ่งมีความยาวเพียง 27 หน้า แสดงให้เห็นว่าในการเล่นเกมทุกชนิดจะมีคนบางคนได้เปรียบและคนบางคนจะเสียเปรียบ แต่ แนช ก็ได้พบการเล่นที่จะทำให้คนทุกคนที่เล่นเกมนั้นได้เปรียบ สมดุลของ แนช จึงเป็นหลักการที่ประเทศมหาอำนาจ(ซึ่งต่างมีอาวุธปรมาณู)ใช้ในการถ่วงอำนาจซึ่งกันแลลกัน และเป็นหลักการให้กองทัพเรื่อสหรัฐฯใช้ป้องกันการโจมตีโดยเรือดำน้ำรัสเซีย
            แนช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ทางคณิตศาตร์แห่ง แมสซาซูเสส อินติติวส์ ออฟ เทคโนโลยี(เอ็มไอที)ของสหรัฐฯเมื่ออายุเพียง 29 ปี และตั้งแต่นั้นมาโลกของศาสตรจารย์หนุ่มก็เริ่มพังทลาย เขาปวยเป็นโรคจิตเภท ที่มีอาการประสาทหลอน ดดยมักจะอ้างว่าได้สนทนากับพระเจ้าและกับมนุษย์ต่างดาวอยู่เนื่องๆ เมื่ออาการป่วยทวีความรุนแรง เขาถูกปลดจากตำแหน่งอาจารย์ของ เอ็มไอที และเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

            ปัจจุบัน แนชมีความรู้สึกนึกคิดที่ดีขึ้นมาก และได้ออกจากโรงพยาลาลมาใช้ชีวิตอยู่กบภรรยาและลูก 2 คน อย่างเงียบๆที่มหาวิทยาลัย พริสตันส์ บรรดานิสิต และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมักจะห็น แนช เขียนข้อความที่มีความหมายประหลาดๆ บนกระดานดำอยู่เนื่องๆ ชีวิตของ แนช จึงเป็นชีวิตที่นาสนใจ และน่าสงสาร วิถีชีวิตของเขาคงจะทำให้คนหลายคนอยากเดินตามเพื่ประสบความสำเร็จในชีวิตเช่นเขา แต่คงไม่มีใครที่อยากจะมีชีวิตในสภาพเช่นเขา

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

โคจร


ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้พละ

ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง

เพราะมีสภาวะเป็นธรรมเครื่องนำออก ให้มรรคประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ

ให้สติปัฏฐานประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมัปปธานประชุมลง

เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งความเพียร ให้อิทธิบาทประชุมลง เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ

ให้สัจจะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ ให้สมถะประชุมลง เพราะมีสภาวะ

ไม่ฟุ้งซ่าน ให้วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ให้สมถะและ

วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ให้ธรรมเป็นคู่กัน

ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ให้สีลวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะสำรวม

ให้จิตตวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ทิฏฐิวิสุทธิประชุมลง เพราะ

มีสภาวะเห็น ให้วิโมกข์ประชุมลง เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ให้วิชชาประชุมลง

เพราะมีสภาวะแทงตลอด ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะสละ ให้ญาณใน

ความสิ้นไปประชุมลง เพราะมีสภาวะตัดขาด ให้อนุปปาทญาณประชุมลง เพราะมี

สภาวะระงับ ให้ฉันทะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นมูล ให้มนสิการประชุมลง

เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ให้ผัสสะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม

ให้เวทนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ให้สมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะ

เป็นประธาน ให้สติประชุมลงเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้สติสัมปชัญญะประชุมลง

เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร

ให้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด บุคคลนี้

ให้ธรรมเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้ธรรม

ทั้งหลายประชุมลง”

คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร

ของบุคคลนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์ของบุคคลนั้น

“สุตตันตปิฎก ขฺทกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค”


วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Russian Federation

     การล่มสลายของสหภาพโวเวียต เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่างปี 1985-1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลที่มีฮาอิล กอบาชอฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียต เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียต ภายใต้นโยบายกลาสนอสต์-เปเรสทรอยกา ซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็จเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล การปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต ต่อมาจึงส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 russia3
     มิฮาอิล เซร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ เป็นอดีตประธานาธิบดีและรัฐบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต รวมทังยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยิตุสงครามเย็น ด้วยเหตุนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
    กอร์บาชอฟได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยผู้บิรหารสูงสุดของ “สหภาพสาะรณรัฐสังคมนิยมFederal_subjects_of_Russia_(by_number)โซเวียต”และเป็นสมาชิกกรรมการกลางของพรรคในปี 1971 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระหว่างปี 1980-1985 เป็นสมาชิกโปลิตบูโร(คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง) และเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสค์ แทนเชร์เนนโกที่เสียชีวิต กระทั่งได้เป็นประธานคณะผู้บริหารโซเวียตสูงสุด ในปี 1990 ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนสุดท้ายของระบอบใหม่ก่อนการล่มสลายของสหภาพ
      ในระหว่างการดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค กอร์บาชอฟได้ริเริ่มโครงการปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและการเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ด้วยนโยบายที่รู้จักกนในชือ “เปเรสตรอยกา”เป็นการให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้นยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ และนโยบาย “กลาสนอสต์”ที่ยอมให้มีการประเมินและแก้ไขประวัติศาสตร์ของประเทศRussianFederalDistricts
     ด้านนโยบายการต่างประเทศและกลาโหม กอร์บาชอฟได้ตัดทอนลดงบประมาณด้านการทหาร นนโยบาย “การผ่อนคลายสงครามเย็น”กลับมาใช้ใหม่ ลดอาวุธนิวเคลียร์กับฝ่ายตะวันตก พร้อมทั้งถอนทหารออกจากระเทศอัฟกานิสถาน ในที่สุดฝ่ายอนุรักษนิยมในกองทัพยอมไม่ได้จึงกระทำรัฐประหารในเดือนสิงหาคม  ซึ่งกอร์บาชอฟรอดมาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ จากการประท้วงของประชานนำโดยบอริส เยลต์ซิน แต่ในที่สุดถูกบังคับให้ลาออก หลังพรรคคิมมิวนิสต์ถูกยุบและสหภาพล่มสลายในเดือนธันวาคมของปีเดียวกันRussia1
     บอริส นีโคลาเยวิช เยลต์ซิน เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ดำรงตำแหน่งระหว่าง1991-1999 เดิมเป็นผู้สนับสนุนมิคาอิล กอร์บาชอฟ เยลต์ซินเกิดขึ้นภายใต้การปฏิรูปเปเรสตรอยกาเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการเมืองที่ทรางพลังที่สุดของกอร์บาชอฟ ในปี 1999 เขาได้รับเลื่อกด้วยเสียงประชาชนเป็นประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียซึ่งเป็นตำแหน่างที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ขณะนั้นเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญสหภาพโซเวียต เขาได้รับคะแนนเสียงชนะผู้เข้าชิงตำแหน่งอีก 5 คน และเป็นผู้นำที่ได้รับเลื่อกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตยคนที่สองของรัสเซียในประวัติศาสตร์ หลังมิคาอิล กอร์บาชอฟลาออกจากตำแหน่างและสหภาพโซเวียตยุบลงครั้งสุดท้าย เยลต์ซินยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัพนธรัฐรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐสืบทอดของสหภาพโซเวียต

Glasnost&Perestroika

     นโยบายกาสนอสต์ คือ การ “เปิด”ประเทศให้กว้างขึ้น ให้เป็ประชาธิปไตยมากขึ้น ดดยให้ปรชาชนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตน
     นโยบายเปเรสตรอยกา คือ การ “ปรับ”สภาพเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพโซเวียตให้คลายจากความชะงักงัน เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนชาวโซเวียตให้ดีกว่าเดิม
      มิคคาอิล กอร์บาชอฟ ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายทั้ง 2 มาปฏิรูปการปกครองให้เป็น
ประชาธิปไตยมากขึ้น มีการจัดตั้งสมัชชาผู้แทนประชาชนขึ้น ประกอบด้วยสมาชิก 2,250 คน ดดยรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสได้เลือกตั้งบุคคลที่ตนเชื่อมั่นและศรัทธาในความสามารถ ซึ่งก่อนหน้านี้จะต้องเป็นผู้ที่รัฐเป็นผู้กำหนดตัวไว้ มีการให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชน ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการชุมนุมกัน และเลือกนับถือศาสนา ปล่อยนักโทษการเมือง ล่าสุดสมัชชาผู้แทนประชาชนได้ลงมติด้วยเสียงข้างมากให้กอร์บาชอฟเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจลริหารอย่างหว้างขวาง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติต่าง ๆ ของประเทศ
     แต่กอร์บาชอฟประสบความล้มเหลวด้ารเศรษฐกิจและสังคม เพราะชาวโซเวียตยังคงดำรงชีวิตอย่างยากแค้นต่อไป อาหารและปัจจัยในการดำรงชีวิตยิ่งขาดแคลนมากขึ้นกว่าเดิม เงินเฟ้อ และราคาสินค้าแพงขึ้นมาก
      ชาวโลกจึงพากันตั้งคำถามว่า “ประธานาธิบดีอาร์บาชอฟจะไปรอดหรือไม่”ขณะดียวกันนโยบายกลาสนอสต์ก็ได้นำผลกระทบมาสู่โซเวียตโดยปริยาย โดยประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก 6 ประเทศ ถือโอกาส “เปิด”และ “ปรับ”ตนเองเช่นกัน ทำให้ระบบสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ในยุโรปต้องล่มสลายลงทั้งยังเกิดปัญหาเชื้อชาติในโซเวียตติดตามา 15 สาธารณรัฐอันประกอบเป็นสหภาพโซเวียตนั้น ประกอบด้วยประชาชนที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านเชือชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม แต่ที่ตลอดเวลาสามารถอยู่ร่วมกันได้เพราะกลไกการบริหารและควบคุมที่เคร่งครัดเฉียบขาดของพรรคคอมมิวนิสต์ ครั้นเมื่อรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงออกได้ ความรู้สึกเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมจึงปะทุขึ้นอย่างเปิดเผย ดังจะเห็นได้จาการปะทะกันระหว่างชาวอาเซอร์ไบจาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม กับชาวอาร์เมเนีย ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ เพื่อแย่งกันถือสิทธิครอบครองดินแดน นากอร์โน-การาบาฮ์ ซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขได้จนทุกวันนี้
     นอกจากนี้ สาธารณรัฐต่าง ๆ บนชายฝั่งทะเลบอลติกยังพากันเคลื่อไหวเรียกร้องเอกราชและขอแยกตัวเป็นอิสระจากการปกครองของโซเวียต โดยเฉพาะลิทัวเนียได้ตัดสินใจประกาศเอกราช ทำให้ลัตเวีย เอสโตเนีย ประสงค์จะดำเนินรอยตา รวมทั้งรัฐยูเครน จอร์เจีย และมอลตาเวีย ด้วย  กอร์บาชอฟจึงตัดสินใจอย่างเฉียบขาดโดยส่งกำลังทหารไปยังเมืองหลวงของลิทัวเนีย ยึดสำนักงานหนังสือพิมพ์และสำนักงานกรมอัยการ และตัดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ให้เกิดปัญหาร้ายแรงเกิดตามมา คือการล่มสลายของสหภาพโซเวียตถ้าสาธารณรัฐอื่นๆ พากันแยกตัวเป็นอิสระ
     นโยบาย “เปิด”และ “ปรับ” จึงเป็นเสมือนดาบสองคม ทำให้ประธานาธิบดีกอร์บอชอฟต้องตกอยู่ในภาวะลำบาก ถ้าต้องยอมผ่อนตามข้อเรียกร้องของสาธารณรัฐต่าง ๆ สภาพโซเวียตคงเลหือแต่มอสโกและบิรเวณรอบ ๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตไม่สามารถจะยอมได้  เมือเป็นเช่นนี้ชาวโลกจงพากนติดตามผลงานของประธานาธิบดีกอร์บาชอฟอย่างใจจดใจจ่อและเอาใจช่วยเพื่อให้นโยบายดังกล่าวบรรลุผลแม้จะไม่แน่ใจว่าเขาจะสามารถอยู่ในอำนาจได้นานสักเพียงไร

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Soviet-Afganistan

     เป็นการต่สู้ระหว่างกองโจรมุสลิมต่อต้านมูจาฮีดีน กับรัฐบาลอัฟกันฯ และกองทัพโซเวียต สงครามเริ่มต้นจากการทำรัฐประหาร ในปี 1978 โค่นล้มประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน คือ ซาร์ดาร์ เดาวด์ คาน ผู้ซึ่งขึ้นมามีอำนาจโดยการโค่นล้มกษัตริย์ ตัวประธานาธิบดีถูกลอบสังหารและ รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ฝักใฝ่โซเวียตภายใต้การปกครองของ นัวร์ มูฮามัด ทารากิ ก็ถูกจัดตั้งในปี 1979 การทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งได้ทำให้ ฮาฟิซูลล่าห์ อามิน มีอำนาจ เป็นปัจจัยให้โซเวียตเข้ามารุกราน และตั้งให้ บาบราก คาร์มาล เป็นประธานาธิบดี   

     การรุกรานของโซเวียตซึ่งทำให้ชาวอัฟกันลุกขึ้นต่อต้าน เกิดจากกองทหารเพียง 30,000 นาย ซึ่งได้เพิ่มขึ้นในที่สุดเป็น 100,000 นาย โดยได้รับการสนับสนุนจาก อเมริกา ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล จีน ปากีสถาน และกลุ่มอิสลามมู จาฮีดีน จากประเทศมุสลิมอื่น ๆ ทั้งโลก ผ่านปากีสถาน ถึงแม้ว่าโซเวียตจะมีอาวุธที่เหนือกว่า และมีกำลังอากาศเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายต่อต้านก็สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นได้ สงครามได้กลายเป็นการปักหลักสู้กันโดยกองทัพของโซเวียตควบคุมพื้ที่ในเมือง และกลุ่มกองโจรได้ปฏิบัติการอย่างเป็นอิสระในพื้นที่ชนบท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขา เมือสงครามได้ขยายตัว ฝ่ายต่อต้านได้ปรับปรุงองค์กรและเริ่มใช้อาวุธที่ได้รับการสนับสนุน และที่ยึดได้รวมไปถึง อาวุธต่อต้านอากาศยานของอเมริกา ทำให้โซเวียตไม่ได้เปรียบในเรืองของอาวุธที่ทันสมัย คาร์มัล ลาออก และมูฮามัด นาจิบูลลาห์ ได้ลกายเป็นผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสจ์ ประธานาธิบดีมิคคาเอล กอร์บาชอฟ ประกาศการถอนกองทัพโซเวียต ซึ่งเพราะประชาชนของโซเวียตนั้นเร่มไม่พอใจกับสงครามซึ่งยือเยื้อและไม่มีท่าทีจะประสบความสำเร็จนอกจากการสูญเสียของทหารไปเรื่อยๆ

       จากเอกสารจากหอจดหมายเหตุของโซเวียตเก่าและบันทึกช่วยจำของผู้นำทางการเมืองและกองทัพของโซเวียตได้นำเสนอภาพอันน่าเศร้าและซับซ้อนของการเข้าเกี่ยวข้องของกองทัพโซเวียตเป็นเวลสสิบปีในอัฟกานิสถาน ผู้สังเกตการณ์เกือบทั้งหมดเห็นร่วมกันว่าสงครามครั้งสุดท้ายของโซเวียตได้ก่อให้เกิดากรเคลื่อไหวภายในซึ่งทำให้เกิดการล่มสลายของประเทศตัวเอง เอกสารซึ่งถูกนำเสนอในที่นี้จะให้ความกระจ่างแก่ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน นั้นคือการร้องขอของรัฐบาลอัฟกัน.สำหรับความช่วยเหลือ และการปฏิเสธในช่วงแรก ๆ ของโซเวียตในการส่งกำลังทหาร การผกผันนโยบายนี้โดยคณะโปลิสบูโรกลุ่มเล็ก ๆ และการตัดสินใจของโซเวียตในการเข้ารุกราน และการขยายตัวของปฏิบัติการช่วงเริ่มต้นซึ่งรวมไปถึงการทำสงครามกับฝ่ายต่อต้านชาวอัฟกัน และการวิพากษ์ในช่วงต้น ๆ ต่อนโยบายของโซเวียตและรัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน และการตัดสินใจการถอนกองกำลังทหาร เอกสารเหล่านั้นเมือนำมารวมกันแล้วก็ได้ให้บทเรียนบลางประการซึ่งอาจจะเกิดจากการประสบการณ์ของโซเวียตในการทำสงครามในอัฟกานนิสถาน
     การตัดสินใจในการส่งกองกำลังทหารเกิดขึ้นภายหลังการแสดงความตั้งใจอย่างยานานและการร้องขอซ้ำๆ ซาก ๆ จากผู้นำของพีดีพีเอนั้นคือประธานาธิบดีฮาฟิซูลลาห์ อามินและประธานาธิบดีนูร์ มุฮามัด ทารากิ การถกเถียงกันในคณะโปลิสบูโรแสดงให้เห็นบรรดาผู้นำโซเวียตนั้นลังเลใจอย่างมากในการส่งกองกำลังทหารและตอบสนองความต้องการของรัฐบาลอัฟกัน..โดยการส่งอุปกรณ์การทหารทาให้แต่ไม่ใช่กำลังทหารตลอดฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนในปี 1979 อย่างไรก็ตามการโค่นล้มทารากิโดยอามินในเดือนกันยายนภายหลบงจากที่ทรารกิได้เดินทางกลับจากรุงมอสโคว์ได้ทำให้ความวิตกกังวลของโซเวียตว่าอามินอาจจะหันไปพังสหรัฐฯเพื่มสูงขึ้น การตัดสินใจที่แท้จิรงในการรุกรานนันมีขึ้นอย่งลับ ๆ โดยกลุ่มเล็ก ๆในคณะโปลิสบูโร ซึ่งต้องพบกับการต่อต้านอย่างเปิดเผยและแข็งขันของกองทัพและโดยสมาชิกคณะโปลิสคนอื่นๆ ผุ้นำของกองทัพคือจอมพล โอการ์คอฟและผุ้ช่วยของเขาคืออาค์โรมีฟแสดงความไม่เห็นด้วอย่างมากในการส่งกองกำลังเข้าไปในพื้นที่ซึ่งกองกำลังซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
     การตัดสินใจส่งทหารเข้าไปตั้งบนพื้นฐานของข้อมูลที่จำกัน เนื่องจากอิทธิพลของประธานเคจีบีคือ ยูริ อันโดรปอฟผู้ซึ่งควบคุมข้อมูลที่ถูกส่งไปยังเลขาธิการพรรคคือเบรซเนฟผู้ซึ่งป่วยและเริ่มบกพร่องเรื่องความสามารถในการตัดสินใจ ตลอดปี 1979 รายงานของเคจีบีจากอัฟกานิสถานได้สร้างภาพของความจำเป็นอันเร่งด่วนและได้มุ่งเน้นอย่งมากต่อความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ของอามินและซีไอเอและกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลของสหรัฐฯในภูมิภาคต่างๆ อัฟการนิสถานนั้นไม่ได้เข้ากับกรอบทางอุดมการณ์และแผนที่ความคิดของเหล่าผู้นำโวเวียตเลย พวกเขามองไม่เห็นความเป็นจริงของสังคมชนเผ่าซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณของประเทศนี้ พวกเขามองอัฟกันฯว่าเป็น “มองโกเลียแห่งที่สอง” นำมาสู่ความพยายามในการนำวิธีการปฏิบัติแบบต่างชาติมาสู่สังคมอัฟกันเช่นการปฏิรูปที่ดินเชิงบังคับ  และในส่วนของบทบาทความสำคัญของอิสลามชาวอัฟกันมองโซเวียตว่าเป็น “ผู้ทรยศ” รายงานจากอัฟกันฯแสะงให้เห็นถึงความตระหนักต่อ “ปัจจัยของศาสนาอิสลาม”ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของนายทหารและนักการเมืองของโซเวียต
     กองทัพโซเวียตตระหนักต่อการเตีรยมตัวและการวางแผนที่ไม่ดีของตนต่อภารกิจนอัฟกันฯ ภารกิจช่วงตนคือการป้องกันเมืองสำคัญ ๆ และการบูรณะประเทศในไม่ช้กายเป็นการต่อสู้ ซึ่งเพิ่มความรุนแรงอย่างรวดเร็ว กองหนุนในฐานะส่วนใหญ่ของกองทัพของโซเวียตในช่วงแรก ๆ ทีถูกส่งไปนั้นถูกดึงเข้าปสู่การสู้รบเต็มรูปแบบกับฝ่ายต่อต้าน ในขณะที่กองทัพประจำของอัฟกันฯนั้นมักจะไม่ได้รับความไว้วามใจเพระมีแต่คนหนีทหารและขาดวินัย
     กองทัพโซเวียตไมได้รับการฝึกให้พบกับการสู้รบแบบกองโจร ในขณะที่ภารกิจแบบเป็นทางการ
ของกองทัพนั้นคือกาปกป้องพลเรือนจากพวกต่อต้านรัฐบาล ตามความเป็นจริงแล้ว ทหารดซเวียตมักจะพบว่าพวกตนต่อสู้กับพลเรือนที่เคยตั้งใจจะมาปกป้อง สิ่งที่หลายครั้งได้นำปสู่การฆ่าชาวบ้านแบบไม่เลือกหน้า  ปกิบัติการในการติกตามและจับกุมกลุ่มต่อต้านนั้นมักจะไร้ผลสำเร็จและต้องถูกทำซ้ำ ๆ กันในพื้นที่เดียวกันเพราะกองกำลังต่อต้านนั้นมัจะล่าถอยไปยงภูเขาและกลับไปยังปมู่บ้านของพวกตนทันที่ที่กองทัพโซเวียตกลับไปที่ค่ายทหาร อาวุธและอุทกรณ์ทางทหารของโซเวียตโดยเฉพาะรถและรถถังหุ้มเกราะนั้นเปราะบางอย่างมากต่อพื้นที่ของอัฟกานิสถาน
     กองทัพโซเวียตยังต้องสับสนในเป้าหมายของตัวเองนั้นคือภารกิจอย่งเป็นทางการในครั้งแรกคือการปกป้องรัฐบาลของพีดีพีเอ แต่เมือกองทัพเข้าถึงกรุงคาบูล คำสั่งที่พวกเขาได้รับคือการโค่นล้มรัฐบาลของอามิน และคำสั่งก็เปลี่ยนอีกครั้ง แต่บรรดาผุ้นำไม่ได้ตั้งใจที่จะยอมรับว่ากองทัพโซเวียตนั้นที่จริงแล้วต่อสู้ในสงครามกลางเมืองของอัฟกานิสถานเพื่อพีดีเอ ความคิดว่า “หน้าที่ของวัรบุรุษแห่งโลก “ซึ่งกองกำลังที่มีอยู่อย่างจำกัดของโซเวียตกำลังปฏิบัติอยู่นั้นเป็นอุดมการณ์แบบล้วน ๆ เกิดจากความคิดที่ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตกำลังปกป้องการปฏิวัติของสังคมนิยมในอัฟกานิสถาน ในขณะที่ประสบการณ์ภาคพื้นดินก็ได้ทำลายเหตุผลเหล่านั้น…

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

KGB Komitet gosudarstvennoi bezopasnost'i

     คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ หรือ เคจีบีเป็นอดีตหน่วยงานกลาง ดูแลการข่าว ความมั่นคง ตำรวจสันติบาล และ กิจการชายแดนของสหภาพโซเวียตั้งแต่ปี 1954-1991 โดย เคจีบีถูกยุบไปหลังจากหัวหน้าเคจีบีได้ร่วมก่อกบฏรัฐบาลประธานาธิบดี กอร์บาชอฟแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกแทนที่โดยสำนักงานความมั่นคงกลางFederalnaya sluzhba bezopasnosti, FSB แทน
     มีนาคม ปี 1954 องค์การมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ ได้แยกเป็นกองอิสระเรียกว่า “KGB” มีหน้าที่ควบคุมตำรวจลับ ตำรวจตระเวณชายแดน และกองทหารรักษาความปลอดภัยภายในให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐบาลและสมาชิกพรรคในระดับสูง ทำการจารกรรมในต่างประเทศ ตำรวลับประเทสและในประเทศควบคุมการติดต่อในต่างประเทศ ควบคุมแหล่งข่าวต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความไม่จงรักภักดีต่อรัฐบาล
     เคจีบีมีสัญลักษณ์ ดาบและโล่ คอยพิทักษ์สังคมโซเวียต มีอำนาจและอิทธิพลมาก พรรคคอมมิวนิสต์จึงต้องควบคุมอย่างใกล้ชิดอีกต่อหนึ่ง เพราะอาสเป็นอันตรายต่อพรรคได้ หลังจากสตาลินถึงแก่รรม อำนาจความทะเยอทะยานของแบเวีย  หัวหน้าเคจีบี  ทำให้คณะกรรมการ โปลิสบูโร หวาดกลัวมาก จึงตั้งข้อหาเขาว่ามีความผิดฐานทรยศและฝ่าฝืนกฎหมายแห่งรัฐ จนถูกัดสินประหารชีวิตในที่สุด ตั้งแต่นั้นมา ภายใต้การนำของแอนโตรปอฟ เคจีบี จึงคำนึงถึงเรื่องความจรงรักภักดีต่อพรรค รัฐบาล และความถูกต้องของสังคมนิยม แอนโดรปอฟ ได้เป็นหัวหน้าเคจีบีในเดื่อนพฤษภาคม ปี 1967 ทำให้เคจีบี เป็นหน่วยสืบราชการลับที่ทันสมัย กระตือรือร้นและเด็ดขาด และฉับไว มีชื่อเสียงเป็นที่น่าเกรงขามมาก
     เคจีบี เป็นหน่วยงานที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับซีไอเอและเอฟบีไอ ผสมกัน โดยเฉพาะในหน่วย โบเดอร์ การ์ด ที่ทำหน้าที่ปกป้องผู้นำคนสำคัญ ๆ และคอยรักษาความปลดภัย หน่วยงานของรัฐ ยิ่งกว่านั้นเคจีบียังมีหน้าที่ ให้การอบรมและควบคุมงานราชการลับของประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ ด้วยที่ สำคัญ คือ หน่วยสตาซี่ ของประเทศเยอรมันตะวันออกและของประเทศคิวบา แอนโดรบอฟ ได้ทำการปฏิรูปเคจีบี ใหม่ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น คัดเลือกคนดีและมีความสามารถเข้าเป็นสายลับ มีรายได้เป็น 3 เท่า ของศลยแพทย์ผ่าตัดสมองและเป็น 5 เท่าของวัศวกร มีอพาร์ตเม้นท์ให้อยู่ฟรี มีรถยนต์ให้ใช้ มีอภิสิทธิ์จองตั้งดูกีฬาหรือการแสดงต่าง ๆ ก่อนผู้อื่น เขาได้บริหารองค์การได้เป็นอย่างดียิ่ง ปรับปรุงโครงสร้าง และทิศทางของหน่วยงานนี้จนเป็นที่ยอมรับว่า เป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งสถาบันหนึ่งของโซเวียต
      ในช่วงสมัยของ เบรนเนฟ เคจีบี กลายเป็นตัวจักรสำคัญที่ใช้ต่อต้านการคอร์รัปชั่น ต่อต้านอาชญากรรมด้านเศรษฐกิจ คุ้มครองผู้นำ รักษาความสงบบริเวณชายแดน สร้างสายลับ เคจีบีในยุคนี้จึวมีอนาจมาก และหัวหน้า KGB ที่มีชื่อเสียงในยุคนี้คือ Yuri Andropov ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้นำประเทศต่อจาก เบรสเนฟ ซึ่งดำรงตำแหน่งในปี 1983-1984 เป็นปรธานาธิบดีคนที่ 9 แห่งสหภาพโซเวียต เป็นประธานเคจีบีคนที่ 4 ดำรงตำแหน่งปี 1967-1982

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...