เป็นการต่สู้ระหว่างกองโจรมุสลิมต่อต้านมูจาฮีดีน กับรัฐบาลอัฟกันฯ และกองทัพโซเวียต สงครามเริ่มต้นจากการทำรัฐประหาร ในปี 1978 โค่นล้มประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน คือ ซาร์ดาร์ เดาวด์ คาน ผู้ซึ่งขึ้นมามีอำนาจโดยการโค่นล้มกษัตริย์ ตัวประธานาธิบดีถูกลอบสังหารและ รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ฝักใฝ่โซเวียตภายใต้การปกครองของ นัวร์ มูฮามัด ทารากิ ก็ถูกจัดตั้งในปี 1979 การทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งได้ทำให้ ฮาฟิซูลล่าห์ อามิน มีอำนาจ เป็นปัจจัยให้โซเวียตเข้ามารุกราน และตั้งให้ บาบราก คาร์มาล เป็นประธานาธิบดี
การรุกรานของโซเวียตซึ่งทำให้ชาวอัฟกันลุกขึ้นต่อต้าน เกิดจากกองทหารเพียง 30,000 นาย ซึ่งได้เพิ่มขึ้นในที่สุดเป็น 100,000 นาย โดยได้รับการสนับสนุนจาก อเมริกา ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล จีน ปากีสถาน และกลุ่มอิสลามมู จาฮีดีน จากประเทศมุสลิมอื่น ๆ ทั้งโลก ผ่านปากีสถาน ถึงแม้ว่าโซเวียตจะมีอาวุธที่เหนือกว่า และมีกำลังอากาศเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายต่อต้านก็สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นได้ สงครามได้กลายเป็นการปักหลักสู้กันโดยกองทัพของโซเวียตควบคุมพื้ที่ในเมือง และกลุ่มกองโจรได้ปฏิบัติการอย่างเป็นอิสระในพื้นที่ชนบท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขา เมือสงครามได้ขยายตัว ฝ่ายต่อต้านได้ปรับปรุงองค์กรและเริ่มใช้อาวุธที่ได้รับการสนับสนุน และที่ยึดได้รวมไปถึง อาวุธต่อต้านอากาศยานของอเมริกา ทำให้โซเวียตไม่ได้เปรียบในเรืองของอาวุธที่ทันสมัย คาร์มัล ลาออก และมูฮามัด นาจิบูลลาห์ ได้ลกายเป็นผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสจ์ ประธานาธิบดีมิคคาเอล กอร์บาชอฟ ประกาศการถอนกองทัพโซเวียต ซึ่งเพราะประชาชนของโซเวียตนั้นเร่มไม่พอใจกับสงครามซึ่งยือเยื้อและไม่มีท่าทีจะประสบความสำเร็จนอกจากการสูญเสียของทหารไปเรื่อยๆ
จากเอกสารจากหอจดหมายเหตุของโซเวียตเก่าและบันทึกช่วยจำของผู้นำทางการเมืองและกองทัพของโซเวียตได้นำเสนอภาพอันน่าเศร้าและซับซ้อนของการเข้าเกี่ยวข้องของกองทัพโซเวียตเป็นเวลสสิบปีในอัฟกานิสถาน ผู้สังเกตการณ์เกือบทั้งหมดเห็นร่วมกันว่าสงครามครั้งสุดท้ายของโซเวียตได้ก่อให้เกิดากรเคลื่อไหวภายในซึ่งทำให้เกิดการล่มสลายของประเทศตัวเอง เอกสารซึ่งถูกนำเสนอในที่นี้จะให้ความกระจ่างแก่ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน นั้นคือการร้องขอของรัฐบาลอัฟกัน.สำหรับความช่วยเหลือ และการปฏิเสธในช่วงแรก ๆ ของโซเวียตในการส่งกำลังทหาร การผกผันนโยบายนี้โดยคณะโปลิสบูโรกลุ่มเล็ก ๆ และการตัดสินใจของโซเวียตในการเข้ารุกราน และการขยายตัวของปฏิบัติการช่วงเริ่มต้นซึ่งรวมไปถึงการทำสงครามกับฝ่ายต่อต้านชาวอัฟกัน และการวิพากษ์ในช่วงต้น ๆ ต่อนโยบายของโซเวียตและรัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน และการตัดสินใจการถอนกองกำลังทหาร เอกสารเหล่านั้นเมือนำมารวมกันแล้วก็ได้ให้บทเรียนบลางประการซึ่งอาจจะเกิดจากการประสบการณ์ของโซเวียตในการทำสงครามในอัฟกานนิสถาน
การตัดสินใจในการส่งกองกำลังทหารเกิดขึ้นภายหลังการแสดงความตั้งใจอย่างยานานและการร้องขอซ้ำๆ ซาก ๆ จากผู้นำของพีดีพีเอนั้นคือประธานาธิบดีฮาฟิซูลลาห์ อามินและประธานาธิบดีนูร์ มุฮามัด ทารากิ การถกเถียงกันในคณะโปลิสบูโรแสดงให้เห็นบรรดาผู้นำโซเวียตนั้นลังเลใจอย่างมากในการส่งกองกำลังทหารและตอบสนองความต้องการของรัฐบาลอัฟกัน..โดยการส่งอุปกรณ์การทหารทาให้แต่ไม่ใช่กำลังทหารตลอดฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนในปี 1979 อย่างไรก็ตามการโค่นล้มทารากิโดยอามินในเดือนกันยายนภายหลบงจากที่ทรารกิได้เดินทางกลับจากรุงมอสโคว์ได้ทำให้ความวิตกกังวลของโซเวียตว่าอามินอาจจะหันไปพังสหรัฐฯเพื่มสูงขึ้น การตัดสินใจที่แท้จิรงในการรุกรานนันมีขึ้นอย่งลับ ๆ โดยกลุ่มเล็ก ๆในคณะโปลิสบูโร ซึ่งต้องพบกับการต่อต้านอย่างเปิดเผยและแข็งขันของกองทัพและโดยสมาชิกคณะโปลิสคนอื่นๆ ผุ้นำของกองทัพคือจอมพล โอการ์คอฟและผุ้ช่วยของเขาคืออาค์โรมีฟแสดงความไม่เห็นด้วอย่างมากในการส่งกองกำลังเข้าไปในพื้นที่ซึ่งกองกำลังซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
การตัดสินใจส่งทหารเข้าไปตั้งบนพื้นฐานของข้อมูลที่จำกัน เนื่องจากอิทธิพลของประธานเคจีบีคือ ยูริ อันโดรปอฟผู้ซึ่งควบคุมข้อมูลที่ถูกส่งไปยังเลขาธิการพรรคคือเบรซเนฟผู้ซึ่งป่วยและเริ่มบกพร่องเรื่องความสามารถในการตัดสินใจ ตลอดปี 1979 รายงานของเคจีบีจากอัฟกานิสถานได้สร้างภาพของความจำเป็นอันเร่งด่วนและได้มุ่งเน้นอย่งมากต่อความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ของอามินและซีไอเอและกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลของสหรัฐฯในภูมิภาคต่างๆ อัฟการนิสถานนั้นไม่ได้เข้ากับกรอบทางอุดมการณ์และแผนที่ความคิดของเหล่าผู้นำโวเวียตเลย พวกเขามองไม่เห็นความเป็นจริงของสังคมชนเผ่าซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณของประเทศนี้ พวกเขามองอัฟกันฯว่าเป็น “มองโกเลียแห่งที่สอง” นำมาสู่ความพยายามในการนำวิธีการปฏิบัติแบบต่างชาติมาสู่สังคมอัฟกันเช่นการปฏิรูปที่ดินเชิงบังคับ และในส่วนของบทบาทความสำคัญของอิสลามชาวอัฟกันมองโซเวียตว่าเป็น “ผู้ทรยศ” รายงานจากอัฟกันฯแสะงให้เห็นถึงความตระหนักต่อ “ปัจจัยของศาสนาอิสลาม”ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของนายทหารและนักการเมืองของโซเวียต
กองทัพโซเวียตตระหนักต่อการเตีรยมตัวและการวางแผนที่ไม่ดีของตนต่อภารกิจนอัฟกันฯ ภารกิจช่วงตนคือการป้องกันเมืองสำคัญ ๆ และการบูรณะประเทศในไม่ช้กายเป็นการต่อสู้ ซึ่งเพิ่มความรุนแรงอย่างรวดเร็ว กองหนุนในฐานะส่วนใหญ่ของกองทัพของโซเวียตในช่วงแรก ๆ ทีถูกส่งไปนั้นถูกดึงเข้าปสู่การสู้รบเต็มรูปแบบกับฝ่ายต่อต้าน ในขณะที่กองทัพประจำของอัฟกันฯนั้นมักจะไม่ได้รับความไว้วามใจเพระมีแต่คนหนีทหารและขาดวินัย
กองทัพโซเวียตไมได้รับการฝึกให้พบกับการสู้รบแบบกองโจร ในขณะที่ภารกิจแบบเป็นทางการ
ของกองทัพนั้นคือกาปกป้องพลเรือนจากพวกต่อต้านรัฐบาล ตามความเป็นจริงแล้ว ทหารดซเวียตมักจะพบว่าพวกตนต่อสู้กับพลเรือนที่เคยตั้งใจจะมาปกป้อง สิ่งที่หลายครั้งได้นำปสู่การฆ่าชาวบ้านแบบไม่เลือกหน้า ปกิบัติการในการติกตามและจับกุมกลุ่มต่อต้านนั้นมักจะไร้ผลสำเร็จและต้องถูกทำซ้ำ ๆ กันในพื้นที่เดียวกันเพราะกองกำลังต่อต้านนั้นมัจะล่าถอยไปยงภูเขาและกลับไปยังปมู่บ้านของพวกตนทันที่ที่กองทัพโซเวียตกลับไปที่ค่ายทหาร อาวุธและอุทกรณ์ทางทหารของโซเวียตโดยเฉพาะรถและรถถังหุ้มเกราะนั้นเปราะบางอย่างมากต่อพื้นที่ของอัฟกานิสถาน
กองทัพโซเวียตยังต้องสับสนในเป้าหมายของตัวเองนั้นคือภารกิจอย่งเป็นทางการในครั้งแรกคือการปกป้องรัฐบาลของพีดีพีเอ แต่เมือกองทัพเข้าถึงกรุงคาบูล คำสั่งที่พวกเขาได้รับคือการโค่นล้มรัฐบาลของอามิน และคำสั่งก็เปลี่ยนอีกครั้ง แต่บรรดาผุ้นำไม่ได้ตั้งใจที่จะยอมรับว่ากองทัพโซเวียตนั้นที่จริงแล้วต่อสู้ในสงครามกลางเมืองของอัฟกานิสถานเพื่อพีดีเอ ความคิดว่า “หน้าที่ของวัรบุรุษแห่งโลก “ซึ่งกองกำลังที่มีอยู่อย่างจำกัดของโซเวียตกำลังปฏิบัติอยู่นั้นเป็นอุดมการณ์แบบล้วน ๆ เกิดจากความคิดที่ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตกำลังปกป้องการปฏิวัติของสังคมนิยมในอัฟกานิสถาน ในขณะที่ประสบการณ์ภาคพื้นดินก็ได้ทำลายเหตุผลเหล่านั้น…
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น